หน้า: 1/2
การผสมปุ๋ยเกร็ดพ่นทางใบพืชใช้เอง
พืชที่ปลูกโดยทั่วไป รากจะทำหน้าที่โดยตรงในการดูดน้ำและธาตุอาหาร ส่วนใบมีหน้าที่สังเคราะห์แสง ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง และการหายใจจะผ่านเข้าออกจากใบทางปากใบ ใบยังมีช่องทางให้น้ำและธาตุอาหารต่างๆ เข้าสู่พืชได้อีกด้วย
เมื่อทำการพ่นปุ๋ยน้ำให้กับพืช จะห็นได้ว่าเมื่อเราพ่นพวกธาตุอาหารหลัก คือ N P K ต่อพืช เมื่อพืชดูดไปแล้วจะเคลื่อนไปยังส่วนที่ขาดได้สำหรับธาตุอาหารบางตัวเช่น B,Mg,Ca,Sr,Ba จะเคลื่อนย้ายไม่ได้ดังนั้นเมื่อตกลงจุดใดก็จะถูกพืชใช้ที่จุดนั้น(ตารางที่1)นอกจากนี้ธาตุอาหารชนิดเดียวกัน
นั้นพืชสามารถดูดใช้ได้ในอัตราที่แตกต่างกัน (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบการเคลื่อนย้ายของธาตุที่ให้ทางใบ โดยจัดเรียงตามลำดับความสามารถของการเคลื่อนย้าย
ดัดแปลงจาก Wittner
ฟอสฟอรัส
ความนิยมในการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตทางใบ ในปัจจุบันมีน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ
1. เมื่อปลูกพืชในดินที่ขาดฟอสฟอรัส พืชมักตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตทางดินอย่างมากในต้นฤดูปลูก ซึ่งขณะนั้นอยู่ในระยะต้นของการเจริญเติบโต ในต้นฤดูปลูกเช่นนั้น หากจะพ่นปุ๋ยฟอสเฟตทางใบแทนการใส่ในดินก็มักไม่ได้ผลดี เนื่องจากพืชยังเล็กและพื้นที่ผิวใบยังมีน้อย
2. ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใช้ในความเข้มข้นต่ำ หากใช้ความเข้มข้นสูงใบจะไหม้ ความเข้มข้นที่พอจะใช้ได้นั้น ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช
ตารางที่ 2 อัตราการดูดซับธาตุอาหารพืชที่พ่นทางใบ
โพแทสเซียม
ปุ๋ยโพแทสเซียมอาจจะใช้ทางใบได้ในความเข้มข้นค่อนข้างสูง เกลือที่เหมาะสมสำหรับเป็นปุ๋ยทางใบ ได้แก่ โพแทสเซียมไนเตรท(KNO3) หรือ โพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4)
ไนโตรเจน
ตารางที่ 3 แสดงความเข้มข้นของสารละลายยูเรียที่พแต่ละชนิดทนได้
ตารางที่ 3 อัตราของยูเรียที่พืชทนได้ (น้ำหนักของยูเรียเป็นกิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) %