เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี
จากกระแส ของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและราย
ทำไม ต้อง...เกษตรอินทรีย์ ?
จากกระแสของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและรายงานผลการวิจัยออกมามากมาย ถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของนักวิชาการจากทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ของห่วงโซ่อาหาร ผลเสียต่อสถานะการณ์ของโลกโดยเฉพาะการทำลายชั้นบรรยากาศ ผลกระทบทำให้โครงสร้างและคุณภาพของดินเปลี่ยนแปลง ตลอดจนผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอันเกิดจากการปนเปื้อน หรือสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ทั้งหมดที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรของผู้บริโภค ตลอดจนผลักดันให้ปริมาณความต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดจากสารพิษตกค้างมีความ คุ้มค่าทางการตลาดและการลงทุนสำหรับเรื่อง “ เกษตรอินทรีย์ “
เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ?
สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (I.F.O.A.M.) ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายและคำจำกัดความไว้ว่า “ เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เน้นที่หลักการปรับปรุงและบำรุงดิน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศน์เกษตรกร ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคและศัตรูของพืชและสัตว์เลี้ยง “
ที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน มีคำแนะนำที่แจกแจงเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้สารเคมี หรือ สารสังเคราะห์ใดๆในกระบวนการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี หรือ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการไม่ใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีการตัดต่อหรือดัดแปลงพันธุกรรม
เลี่ยงการสัมผัสโดยตรงหรือป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีตามร่างกาย ทั้งจากภายในครัวเรือนหรือจากภายนอก
พัฒนาระบบการผลิตที่นำไปสู่แนวทางการเกษตรที่ยั่งยืน เน้นความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในกระบวนการผลิตในระยะยาว
พัฒนาระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง หรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น การจัดหาวัสดุทำปุ๋ยบำรุงดิน
การจัดการเรื่องโรคศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงาน และ เงินทุน เป็นต้น
ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดให้มีการหมุนเวียนธาตุอาหารในแปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในระบบนิเวศน์ เพื่อรักษา สมดุลของระบบนิเวศน์ในไร่นา ตลอดจนลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและแมลง มีมนุษยธรรมในการเลี้ยงสัตว์
“ เกษตรอินทรีย์ “ มีประโยชน์อย่างไร ?
ต้องมองย้อนกลับไปดูว่า สิ่งที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต คือ ธาตุอาหารหลัก ซึ่งประกอบด้วย
ไนโตรเจน (Nitrogen : N),
ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) และ
โปแตสเซียม (Potasium : K)
สำหรับการพัฒนาระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ธาตุอาหารรอง ซึ่งประกอบด้วย
แคลเซียม (Calsium : Ca),
แมกนีเซียม (Magnesium : Mg) และ
กำมะถัน (Sulphur : S)
สำหรับการพัฒนาสีสรร รส และกลิ่นหอม ธาตุอาหารเสริม ซึ่งประกอบด้วย
เหล็ก (Ferrus : Fe),
มังกานีส (Manganese : Mn),
สังกะสี (Zinc : Zn),
ทองแดง (Cupper : Cu),
บอรอน (Boron : Bo),
โมลิบนัม (Molibnum : Mo), และ
คลอริน (Chlorine : Cl)
สำหรับเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรค ในขณะเดียวกัน ดิน ซึ่งเป็นวัตถุธาตุที่เกิดขึ้นเองเป็นชั้นๆตามธรรมชาติ จากแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผสมรวมกับอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยผุและย่อยสลายรวมกันเป็นชั้นบางๆห่อ หุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้พืชมีการก่อกำเนิดและเจริญเติบโต
องค์ประกอบของดินที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชที่ดี อนุมาณได้ ดังนี้ อนินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 45 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่สลายตัวทางเคมี ฟิสิกส์ และทางชีวเคมีของแร่และหินชนิดต่างๆ
ประโยชน์หลัก คือ เป็นธาตุอาหารของพืช อินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยของเศษซากพืชซากสัตว์ที่ผุพัง ทับถมกันอยู่ในดิน
ประโยชน์หลัก คือ เป็นตัวเชื่อมประสานอนินทรีย์วัตถุให้จับตัวกัน รวมทั้งดูดซับและรักษาระดับความชื้นในดินเอาไว้ น้ำ หรือ ความชื้น ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนหนึ่งจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของก้อนดิน (เยื่อน้ำ) อีกส่วนหนึ่งจะซับอยู่ในอนุภาคของดิน อากาศ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็น ก๊าซออกซิเจน,
ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ประโยชน์หลักคือ ช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
ประโยชน์หลัก คือ ช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอินทรีย์วัตถุ พร้อมกับปลดปล่อยแอมโมเนียม, ไนเตรท, และซัลเฟต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช
ดังนั้น สรุปในใจความสำคัญได้ว่า “ ดินที่ดีที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช คือ ดินที่มีธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ มีอินทรีย์วัตถุ มีความชื้นในดินที่เหมาะสม สภาพดินร่วน โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี “ ซึ่งเกษตรอินทรีย์สามารถปรับสภาพทำให้ดินเกิดสภาพดังที่กล่าวมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการคืนสภาพดังกล่าวให้กับดิน คือ “ ปุ๋ยอินทรีย์ “
ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี แตกต่างกันอย่างไร ?
ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยสังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆที่เป็นธาตุอาหาร หลักที่พืชต้องการ ซึ่งในที่นี้ก็คือธาตุอาหาร N–P–K โดยจะมีกรรมวิธีและกระบวนการผลิตที่จะปรุงแต่งสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวไปตามความชนิดและช่วงอายุของพืช ทั่วไปจะเรียกกันว่า “สูตรปุ๋ย” ซึ่งความหมายของสูตรปุ๋ยจะหมายถึงสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวที่มีอยู่ ในเนื้อปุ๋ยรวมทั้งสิ้น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 15–15–15 ให้คำอธิบายได้ว่า ในเนื้อปุ๋ย 100 ส่วนจะมี ไนโตรเจน (N) อยู่ 15 ส่วน, ฟอสฟอรัส (P)อยู่ 15 ส่วน และมี โปแตสเซียม (K)อยู่ 15 ส่วน รวมเป็น 45 ส่วน และอีก 55 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือ ดินขาว หรือ สูตร 16–8–8 จะหมายถึงว่ามีเนื้อปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารรวมแล้วเพียง 32 ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นดินขาว
ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าอย่างน้อย 40 ส่วนใน 100 ส่วนของปุ๋ยเคมีจะเป็นดินขาว เพราะดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช ในขณะที่ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ หากจะให้นึกภาพได้ชัดเจนก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรและวัชพืช ที่ผ่านการหมักให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนสลายตัวกลายเป็น อินทรีย์วัตถุ
ธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์ มาจากแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรหรือวัชพืช ซึ่งจะมีธาตุอาหารสำหรับพืชอยู่ครบทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะเพียงธาตุอาหารหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถกำหนดเป็นสูตรอาหารที่ชัดเจนและแน่ นอนได้ ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปุ๋ยอะไรและได้จาก อะไร
เท่าที่มีการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของปุ๋ยอินทรีย์โดยกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เคยวัดค่า N–P–K ได้สูงสุดไม่เกิน 6–10–2 เท่านั้น แล้วปุ๋ยเคมี ไม่ดีตรงไหน ? สิ่งที่พืชต้องการมากที่สุดในการเจริญเติบโต ก็คือธาตุอาหารทุกๆกลุ่มอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะผลิตออกมาเป็นดอกเป็นผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุอาหารหลักหรือ N–P–K ปุ๋ยเคมีเองก็สามารถให้ธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากเท่าที่พืชต้องการ สิ่งนี้เป็นส่วนที่ดีของปุ๋ยเคมี
แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ธาตุอาหารหลักไม่ได้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในปุ๋ยเคมี ในทางกลับกัน ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรที่ใช้กันในภาคการเกษตรมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักทุกตัว รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 50 (ชี้แจงไว้แล้วในข้างต้น) ส่วนที่เหลือเป็นดินขาว (Clay) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งทั้งหมด และดินขาวนี้เองที่เป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมี เพราะดินขาวซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน เมื่อดินขาวได้รับหรือดูดความชื้นจากดิน ก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพคล้ายน้ำแป้งและยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไปจนหมดหรือเหลืออยู่น้อยมาก
ดังนั้น แปลงเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด ดินจะมีการเปลี่ยนสภาพเป็นแข็งกระด้าง ระบบรากและลำต้นของพืชไม่แข็งแรง เพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตที่ดี
เขียนโดย JUKKAPONG ที่ 22:35