-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 568 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี







สังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชด้วยสายตา
   
แต่ก่อนที่เริ่มทำสวนปลูกต้นไม้ใหม่ๆ ดีใจมากๆที่เห็นต้นไม้เจริญงอกงามดี เพราะเป็นเกษตรกรมือใหม่ ได้แต่ทำตามบรรพบุรุษและคำบอกเล่า ดินก็ยังสมบูรณ์ดี ผลผลิตในช่วงปีแรกๆก็เป็นที่น่าพอใจ แต่ครั้นในปีต่อๆมาผลผลิตก็เริ่มลดน้อยลงและคุณภาพก็แย่ลงทั้งๆที่ มีการบำรุงดูแลตามปกติ ก็เลยนำเอาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไปปรึกษากับทางร้านที่ขายปุ๋ยขายยา เขาก็แนะนำให้ใช้ยาตัวนั้น ตัวนี้ ซึ่งก็ล้วนมีราคาแพง แต่ก็จำต้องซื้อมาใช้ แล้วก็ทำตามที่เขาแนะนำ ซึ่งก็ดีไม่ได้นาน ต้องกลับไปซื้อมาใช้อีกหลากหลายยี่ห้อ หมดเงินไปก็มาก ก็เพราะความไม่รู้ เพราะไม่ได้เรียนด้านการเกษตรมา ก็เลยต้องทำตามที่เขาบอก เล่นเอาท้อแท้ไม่อยากทำสวน อยากจะไปขายแรงงานตามโรงงาน เขาก็ไม่รับ เพราะความรู้เราก็น้อย สุขภาพก็ไม่ค่อยแข็งแรง จึงต้องอดทนทำสวนไปเรื่อยๆตามมีตามเกิด แต่ก็ไม่แย่ไปเสียหมด ขณะที่ทำงานสวนอยู่ก็ฟังข่าว-รายการเกษตรท้องถิ่น พอดีเป็นช่วงที่เกษตรจังหวัดเขาประกาศเชิญชวนเกษตรกรที่สนใจอยากจะรับการอบรมเรื่องการดูแลไม้ผล ผมเองก็เลยไปสมัคร และก็ได้เข้ารับการอบรม หลังจากที่ได้รับการอบรมมาก็ทำให้ได้รู้ว่า สิ่งที่เราทำกับต้นไม้ของเรานั้นมันไม่ถูกต้อง การดูแลต้นไม้ โดยเฉพาะการให้ธาตุสารอาหารที่พืชต้องการ จำเป็นต้องรู้ว่าพืชต้องการอะไร และขาดธาตุอะไร จากที่ค่อยๆปฏิบัติ คอยสังเกต ก็เลยทำให้ได้รู้ว่า พืชเป็นยังไง ขาดอะไร และจะให้เขาช่วงใดเวลาใด ประสบการณ์ที่ได้รับมาจากวันนั้นถึงวันนี้ก็นานหลายปี พอที่จะเอามาบอกเล่าเก้าสิบกัน เผื่อว่าใครที่ยังไม่รู้ ก็จะได้ศึกษา จะได้ปฏิบัติต่อพืชของเรา เพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือต้นไม้ กับผู้ดูแล

ธาตุอาหารต่างๆที่พืชดูดซึมมาใช้ ปกติก็จะมาจากดินและปุ๋ยต่างๆที่ให้โดยดูดซึมได้ ทั้งทางใบและราก เพื่อการพัฒนาส่วนต่างๆของพืชตามความต้องการธาตุต่างๆ ประมาณ 16 ธาตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักใหญ่ๆ ดังนี้

1.ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยม
2.ธาตุอาหารรอง  ประกอบด้วย แคลเซี่ยม แมกนิเซี่ยม ซัลเฟอร์(กำมะถัน)
3.ธาตุอาหารเสริม  ประกอบด้วย โบรอน ทองแดง เหล็ก โบลิบดินั่ม แมงกานีส สังกะสี อะลูมินั่ม

ธาตุอาหารหลัก จะเป็นส่วนที่พืชต้องการปริมาณมากและขาดไม่ได้ ธาตุอาหารรอง จะเป็นส่วนที่พืชมีความต้องการลดน้อยลงมาจากธาตุอาหารหลัก สำหรับธาตุอาหารเสริม จะเป็นส่วนที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ธาตุหลัก ธาตุรอง โดยสรุป พืชมีต้องการธาตุอาหารทั้งหมด เพียงแต่ต้องการมาก-น้อยตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงความเจริญเติบโต ซึ่งหากขาด ไม่ได้รับหรือได้รับไม่เพียงพอ พืชก็จะแสดงอาการให้เห็นและจะเกิดผลเสียหายได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการต่างๆเหล่านี้เป็นเบื้องต้นด้วยสายตา เพื่อการวิเคราะห์และสามารถจัดหาธาตุอาหารนั้นๆมาให้พืชได้ทันความต้องการ

ลักษณะของพืชเมื่อขาดหรือได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ

ไนโตรเจน    พืชจะแสดงอาการ ใบเหลือง ต้นเหลือง ไม่มีการแตกกิ่งแตกตา นานเข้าใบจะร่วง ต้นจะลีบเล็ก การเจริญเติบโตช้า ผลผลิตจะต่ำ ไม่มีคุณภาพ เช่น เมล็ดลีบ น้ำหนักเบา ไม่ได้รสชาติ

ฟอสฟอรัส ใบล่างจะมีสีเหลือง สีม่วง สีแดงปะปน ขนาดใบก็จะเล็กกว่าปกติ ส่วนใบที่มีสีเขียวก็จะร่วงก่อนกำหนด การออกดอกจะช้า และมีน้อยไม่สมบูรณ์ พืชจะต้นเล็กแคระ ลำต้นหรือเถาจะบิดเป็นเกลียว ไม่แข็งแรง ล้มง่าย

โพแตสเซี่ยม   ขอบใบล่างของพืชจะมีสีเหลือง แล้วกลายเป็นสีน้ำตาลจนเหี่ยวแห้งร่วงลงจากต้น พืชโตช้า ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ขนาดผลเล็กกว่าปกติ ผลไม่มีความหวาน หรือมีแป้งน้อยน้ำหนักเบา ภูมิต้านทานโรคก็อ่อนแอ ล้มง่าย

แคลเซี่ยม ขอบใบม้วนและขาดเป็นริ้ว มีสีน้ำตาลหรือแห้งขาวหรือเป็นจุดตามขอบใบ ยอดอ่อนค่อยๆตาย ส่วนของใบอ่อนก็จะบิดเบี้ยว ผลผลิตเสียหาย เช่นแตกเป็นรอยฉีก ใบและลำต้นฉีกขาดการเจริญเติบโต ทางยอด ปลายราก หรือระบบรากจะช้า จึงทำให้รากมีน้อย

แมกนีเซี่ยม  ใบล่างของพืชมีสีเหลืองแม้ว่าเส้นใบยังมีสีเขียวอยู่ นานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือน้ำตาล หรือจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ใบจะเปราะ หักง่าย และค่อยๆตาย

ซัลเฟอร์ (กำมะถัน)    จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง เพราะธาตุนี้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำมันในพืชโดยเฉพาะพืชน้ำมัน อาการคล้ายกับการขาดธาตุไนโตรเจน แต่จะเกิดกับใบและยอด ออกดอกมากแต่ไม่ติดผล เนื้อผลมีกากมาก

โบรอน  ลำต้นและกิ่งก้านของพืชเปราะ หักง่าย ไม่แข็งแรง ยอดของกิ่งก้านและก้านจะแห้งตาย ท่อน้ำเลี้ยงผิดปกติ การส่งอาหารผ่านท่อน้ำเลี้ยงไม่ดี ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ไส้และแกนกลางลำต้น/ผล จะเน่า

ทองแดง   พืชแคระแกรน ไม่โต กิ่งจะแสดงอาการออกมาก่อนส่วนอื่น สีใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน ขอบใบจะม้วนงอขึ้น ใบอ่อนที่ส่วนยอดจะมีสีเหลืองและร่วง รวมทั้งปลายกิ่ง จะมียางเหนียวผุดขึ้นระหว่างเปลือกและเนื้อไม้ของกิ่งบริเวณใกล้กับฐานของก้านใบ หากเกิดยอดใหม่ที่ปลายใบก็จะเกิดเป็นกระจุกและตาย ผลจะแตกปริ มียางสีน้ำตาลซึมออกมา ผลจะหลุดร่วงก่อนแก่

เหล็ก   ใบอ่อนมีสีขาวเหลืองและซีด โดยเริ่มจากขอบใบขยายเข้าสู่วงใน และจะตายจากยอดลงมาถึงใบล่าง ข้อ/ปล้องระหว่างใบสั้น นอกจากนั้นจะส่งผลให้พืชขาดธาตุคลอโรฟิลล์

โมลิบดินั่ม   ขอบใบของพืชม้วนงอขึ้น ใบหนาสีเขียวอมเทา บางครั้งขอบใบมีสีแดง โดยเริ่มจากโคนไปหายอด

สังกะสี  มีผลทำให้การใช้ออกซิเจนของพืชน้อยลง การเจริญเติบโตทางสูงจะช้าลง ใบจะมีขนาดเล็ก แคบและมีสีเหลือง ลำต้นของพืชจะสั้นป้อม ไม่ค่อยออกดอก ผลสีซีด เปลือกหนา เนื้อหยาบ มีน้ำน้อย


จะสังเกตโดยรวมได้ว่า การขาดหรือมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ จะเป็นเป็นเหตุให้การเจริญเติบโตของพืชช้าลงถึงชะงัก กิ่งก้านจะแห้งเหี่ยว ใบจะมีสีเหลืองและสีอื่นปะปน ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ ผิดออกไปจากปกติ ทางแก้ไข ก็ไม่ยากเกินกว่าที่คิด เพราะการขาดธาตุอาหารของพืชไม่ใช่เป็นการเกิดโรคระบาด ที่เกิดขึ้นทีเดียวสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งสวนได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่การขาดธาตุอาหารเป็นการเกิดเฉพาะต้น ซึ่งก็เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า อาหารที่พืชต้องการนั้นเริ่มขาดแคลน จึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า พืชผิดปกติเกิดจาก โรค/ศัตรู พืชเข้าทำลาย หรือ เกิดจากการขาดธาตุอาหาร

การให้สารอาหารแก่พืช ทั้งธาตุหลัก รองและเสริม นั้น ควรให้ในลักษณะ ถูกจังหวะความต้องการของพืช ตรงเวลาและสม่ำเสมอ ให้น้อยๆ อย่าให้มาก โดยเน้น สารอาหารจากอินทรียวัตถุและปุ๋ย/ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์เป็นตัวเสริม ผู้ใดสามารถทำขึ้นเองได้ก็ทำ ไม่สะดวกทำก็ซื้อ(ต้องรู้จักซื้อ)

ก่อนจะปลูกพืชต้องรู้นิสัยพืช  อย่าปลูกพืชเพราะอยากปลูกพืช
ขอบคุณที่มาจากน้าเกษม  ตะเกียงดอทคอมค่ะ เข้ากับที่เอได้ไปฟังมาจากน้าจอบวันนี้เลยแต่เอไม่ได้จดเพราะดูแลลูกน้อยหอยสังข์อยู่



http://www.bannokclub.net/forum/index.php?topic=325.0

www.bannokclub.net/forum/index.php?topic=325.0 -













สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (3448 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©