กำลังปรับปรุงครับ
ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ
ข้อดี
1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ห้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน
2.ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม
3.ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช
4.การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผล
หรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ
5.การให้ปุ๋ยทางใบเพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง
ข้อจำกัด
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร
3.พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐานลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย
4.หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก
5.ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก
6.การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชกเพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก
7.โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป
ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน
การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ
1.ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม
2.ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม ไม้ดอก
ไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง
3.การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง
เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย
http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0
ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ปุ๋ยทางใบ
(ปุ๋ยน้ำ และปุ๋ยเกล็ด)
ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้ว ฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช
เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสาร ละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลา ส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะ จากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
ชนิดของปุ๋ยทางใบ
ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด
1) ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ
มาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย
2) ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจาก การย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช
6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มาก กว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จาก ธาตุอาหารได้เร็ว
7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย 8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N + P2O5 + K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า
9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้ เมื่อเปรียบเทียบปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางดิน ปุ๋ยทางใบ มิใช่จะดีกว่าปุ๋ยทางดินในทุกๆเรื่อง ข้อเสียหรือความไม่เหมาะสมของปุ๋ยทางใบมีหลายประการดังจะได้กล่าว
ต่อไป ฉะนั้นจึงควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียก่อนจะเลือกใช้ปุ๋ย
ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้
2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้อง ให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ
3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูงๆได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ (N + P2O5 + K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว
5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด เพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง (ปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด)
6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะ
แม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด
7. ปุ๋ยน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต
8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด
คุณสมบัติและลัษณะของปุ๋ยทางใบที่ดี
ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของ N + P2O3 + K2O ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปุ๋ยน้ำ และ 60 เปอร์เซ็นต์สำหรับปุ๋ยเกล็ด
2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุ หรือหลายๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K
3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25-0.30 เปอร์เซ็นต์ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5-6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุ อาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้
4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดควรเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต
7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูงไม่ชื้นง่ายและไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หรือที่
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12
กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900
โทร 0-2579-8515
http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G7/G7_02.pdf
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.