ที่มา: http://gogreenhabit.blogspot.com/2009/03/blog-post_09.html
กล้วยเล็บมือนาง
คุณลักษณะเฉพาะ
- เป็นกล้วยกลายพันธุ์มาจากกล้วยป่าจนกระทั่งสายพันธุ์นิ่ง มี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ผลใหญ่และพันธุ์ผลเล็ก โดยพันธุ์ผลเล็กขนาดพอดีคำ รสและกลิ่นเข้มข้นกว่าพันธุ์ผลใหญ่
- การปลูกให้ตัดแต่งราก และการตัดต้นสร้างเหง้าเหมือนกล้วยน้ำว้า
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะเหมือนกล้วยไข่ ถ้าดินโคนต้นมีน้ำขังค้างเป็นเวลานานๆ ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต
- ช่วงระยะกล้าหลังจากแตกใบใหม่ 2-3 ใบ และรากเริ่มเจริญพัฒนาดีแล้วควรตัดตอ 2-3 รอบ ถ้าไม่ตัดตอต้นจะเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนจะเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม.และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อที่อยู่กันคนละด้านกับต้นแม่ เพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นต่ออีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติแล้วขุดแยกออกไปหลังตัดเครือต้นแม่
- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ
- กล้วยเล็บมือนางไม่มีเทศกาลนิยมบริโภคแบบโดยเฉพาะ แต่ถ้ารูปทรงสวยคุณภาพดีก็อาจจะได้รับความนิยมช่วงเทศกาลตรุษจีน. สารทจีน. ไหว้พระจันทร์.หรือเชงเม้ง. ได้เช่นกัน
- ช่วงผลกลางไม่ควรบำรุงด้วยฮอร์โมนสมส่วน เพราะจะทำให้ผลมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ให้เน้นบำรุงด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคสหรือนมสัตว์สด 2-3 รอบห่างกันรอบละ 20-30 วัน และเมื่อถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวให้บำรุงด้วย มูลค้างคาวสกัด เพื่อเร่งหวานจะช่วยให้เนื้อแน่น รสชาติ กลิ่นและน้ำหนักดี
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน เดือน 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ใบเขียวสดถึงวันตัดเครือ
**********************
ข้อมูล"กล้วยเล็บมือนาง"
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น ขนาดเล็กและเตี้ยกว่ากล้วยพันธุ์ทั่วไป กล้วยชนิดนี้คล้ายต้นกล้วยไข่แต่มีสีอมแดง
ใบ ค่อนข้างแคบและสั้น ก้านใบมักชูกตรงขึ้น แต่เอียงเป็นมุมแยกห่างออกจากกัน สันของก้านใบส่วนล่างเป็นแถบสีแดง (กล้วยหอมจันทร์มีสีแดงทั่วทั้งส่วนล่างของก้านใบ)
ผล ของกล้วบเล็บมือนางมีขนาดประมาณนิ้วมือทั้งความยาวและกว้าง ปลายผลเรียว ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ผลค่อนข้างโค้งงอ เนื้อผลสุกแล้วหอมหวานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ แต่กล้วยเล็บมือนางเนื้อแน่นมาก ชวนรับประทานมากกว่า และมีหน่อดกคล้ายกล้วยตานี
ต้นกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง
สายพันธุ์กล้วยเล็บมือนาง
1. กล้วยเล็บมือ "พันธุ์กาบดำ"
1.1 เครือยาว ลูกดก
1.2 ลูกเล็ก ผลยาว
1.3 รสชาติหวานหอม อร่อย
2. กล้วยเล็บมือ "พันธุ์กาบแดง"
1.1 ลูกใหญ่ สั้น เครือสั้น
1.2 ลูกไม่ดก จำนวนหวีมีน้อย
1.3 ชาวสวนไม่ค่อยนิยมปลูกเพราะผลผลิตน้อย
|
กล้วยเล็บมือนาง
นิเวศวิทยาและแหล่งการแพร่หลาย
- กล้วยเล็บมือนางมักจะนิยมปลูกกันทั่วไป จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปทั่วภาคใต้ มีการนำไปปลูกภาคอื่นบ้าง แต่ไม่มากนัก
ประโยชน์และความสำคัญ
- ใบ - ห่อขนม
- ต้นอ่อน - ทำอาหาร เช่น แกงส้ม, แกงเผ็ด
- ปลีกล้วย - ต้มจิ้มนำพริก, ยำ
- ผลอ่อน - ใช้แกงส้มแกงคั่ว, แกงกะทิ, แกงเผ็ด, ต้มจิ้มน้ำพริก
- ผลแก่ - ต้มจิ้มมะพร้าวกับน้ำตาล, ชุปแป้งทอด, กล้วยฉาบ, กล้วยเคลือบคาราเมล, กล้วยอบเนย
- ผลสุก - ใช้รับประทาน และสามารถแปรรูปเป็นกล้วยแช่อิ่ม, ขนมกล้วย, กล้วยอบไวน์ และกล้วยตากน้ำผึ้ง ซึ่ง มีสรพพคุณในแง่ของยาอายุวัฒนะ
- ต้น - เชือกกล้วย กระดาษใยกล้วย นำไปทำหัตกรรมเชือก
|
กล้วยเล็บมือนางฉายรังสี Dried banana
|
ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
|
37 หมู่ 3 เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-5774167-71 โทรสาร 02-5771945 http://www.tint.or.th/tic/HOME.htm |
วัตถุประสงค์
เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปริมาณรังสีที่ใช้ต่ำสุด 2 กิโลเกรย์
กล้วยเล็บมือนางบรรจุในกล่องพลาสติกปิดสนิท นำมาฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยนำกล้วยเล็บมือนางมาวัดการกระจายของรังสีตาม checking Dose No. C 029
การตรวจวิเคราะห์ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์กล้วยเล็บมือนางฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานชนิด และจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 586/2528 – กล้วยอบ
|
การประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสของกล้วยเล็บมือนาง
จะดำเนินการให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ โดย ผู้ชิมจำนวน 12-16 คน การวิเคราะห์และการคำนวณทางสถิติใช้โปรแกรม MINITAB V.15 ในการคำนวณและประเมินผลแบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การทดสอบความแตกต่างวิธี different from control test โดยให้ ผู้ทดสอบชิมระบุถึงระดับความแตกต่างระหว่างตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 อาหารฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสี
กลุ่มที่ 2 อาหารไม่ฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสี
โดยใช้สเกลตั้งแต่ 5จุด ถึง 9 จุด แล้วนำคะแนนที่ได้ของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบว่ามีอาหารฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสี มีความแตกต่างกันทางสถิติหรือไม่ ผลการทดลองพบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินให้กล้วยเล็บมือนางที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากกล้วยเล็บมือนางที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 3 และ 4 เดือน หลังฉายรังสี
ส่วนที่ 2 การประเมินคุณลักษณะและความชอบ เช่น ลักษณะภายนอก กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมเป็นต้น โดยใช้สเกลตั้งแต่ 5 จุดถึง 9 จุด โดยระดับคะแนนที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาได้ ผลการทดลอง พบว่าผู้ทดสอบชิมประเมินคุณลักษณะและความชอบให้กล้วยเล็บมือนางที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากกล้วยเล็บมือนางที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 3 และ 4 เดือนหลังฉายรังสี
จากผลการทดลองนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกล้วยเล็บมือนางฉายรังสี และเตรียมเป็นรูปแบบการกระจายของรังสี เพื่อใช้อ้างอิงในการฉายรังสีกล้วยเล็บมือนางให้กับผู้ประกอบการต่อไป โดยเทคโนโลยีการฉายรังสีสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เผยแพร่ทั้งในประเทศและส่งออกได้
http://www.tint.or.th/nkc/nkc51/nkc5104/nkc5104z.html
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.