ข้าวโพดหวาน
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ต้องการน้ำสม่ำเสมอเหมือนผักสวนครัว ดังนั้นจึงจำเป็น
ต้องให้น้ำ ทุก 2-3 วัน ซึ่งต่างจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการน้ำน้อยพอน้าดินชื้นเท่านั้น
* ดอกตัวผู้ของข้าวโพด เรียกว่า ดอกยอด อยู่ที่ปลายยอดของต้น ส่วนดอกตัวเมีย
เรียกว่า "ไหม" อยู่ที่ปลายฝักของแต่ละฝัก.......ดอกตัวผู้เกิดก่อนดอกตัวเมีย 7-10 วัน
* แช่เมล็ดพันธุ์ใน "โบรอน" เมื่อนำไปปลูกจะให้ "ดอกยอด" มากกว่าปกติ 2-3 เท่า
* จังหวะที่เกสรดอกตัวผู้พร้อมผสมมักตรงหรือใกล้เคียงกับเกสรตัวเมียของฝักแรก กับ
ช่วงต้นๆของฝักที่ 2 เท่านั้น ครั้นดอกตัวเมียของฝักที่ 3 หรือ 4 ออกมาจึงไม่มีละอองเกสร
ตัวผู้เข้าผสม ทำให้ฝักที่ 3 หรือ 4 ไม่ติดเป็นฝัก
* แนวทางแก้ไข คือ หลังจากหยอดเมล็ดข้าวโพดรุ่นแรกไปแล้ว 10-15 วัน ให้หยอด
เมล็ดรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 อีกรุ่นก็ได้ โดยให้แต่ละรุ่นห่างกัน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่ออาศัยเกสร
ตัวผู้ของต้นรุ่นหลังไปผสมด้วยมือให้แก่ฝักที่ 2-3-4 ของต้นรุ่นแรกนั่นเอง
ปลูกข้าวโพดรุ่น 2-3 เพื่อเอาเกสรตัวผู้นี้ ใช้วิธีปลูกแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก
กระจายทั่วแปลงปลูกโดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่ออาศัยสายลมช่วยพัดละอองเกสรส่วนหนึ่ง
กับช่วยผสมด้วยมืออีกส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ต้นรุ่น 2-3 ก็สามารถเอาฝักได้เพราะมี ฝัก
+ เกสรตัวเมีย เช่นกัน สำคัญแต่ว่าจะหาละอองเกสรตัวผู้จากที่ไหนมาช่วยผสมด้วยมือให้เท่า
นั้น
กรณีที่ไม่ได้ปลูกต้นข้าวโพดต่างรุ่นไว้ในแปลงปลูกของตนเอง ก็อาจจะขอแบ่งปัน
จากแปลงข้างเคียงก็ได้แต่ต้องเป็นข้าวโพดสายพันธุ์เดียวกันมาใช้ช่วยผสมด้วยมือแทนก็ได้
* ตรวจสอบลักษณะเกสรตัวผู้ที่พร้อมผสมโดยเคาะเบาๆใส่แผ่นกระดาษแล้วมีละออง
เกสรร่วงลงมา และตรวจสอบลักษณะเกสรตัวเมียที่พร้อมผสมโดยสัมผัสเบาๆด้วยปลายนิ้วมือ
มือ ถ้าเป็นยางเหนียวติดปลายนิ้วแสดงว่าพร้อมผสมแล้ว
* วิธีช่วยผสมด้วยมือ ให้ตัดก้านดอกยอดเบาๆ นำไปป้ายเบาๆใส่ให้กับไหมที่ปลายฝัก
2-3 รอบ (เหมือนผสมเกสรสละ) หรือเคาะละอองเกสรตัวใส่กระบอกพลาสติกแห้งสะอาด
ผสมกับแป้งทาตัวเด็ก อัตราส่วน 1: 1 แล้วใส่ในกระบอกฉีดพ่นเกสร (เครื่องมือละอองเกสร
ทุเรียน) นำไปฉีดพ่นใส่ไหมที่ปลายฝักก็ได้ ทั้งนี้ไหมของฝักใดได้รับละอองเกสรดอกยอดก็
จะติดเป็นฝักสมบูรณ์และไม่เป็นข้าวโพดฟันหลอได้ทุกฝัก
* ข้าวโพดมีเมล็ดไม่เต็มฝัก เรียกว่า "ฟันหลอ" เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
เกสรตัวเมียกับเกสรตัวผู้ (ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย) ไม่สมบูรณ์แข็งแรงแล้วผสมกัน
หรือเกสรตัวผู้หมดอายุ หรือสภาพอากาศไม่เหมาะสม (ร้อน/ชื้น) หรือขาดสารอหาร
* ธรรมชาติชาติข้าวโพดทุกสายพันธุ์ออก ฝัก + ดอก ได้ต้นละหลายๆฝัก ตราบเท่า
ที่ได้รับสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ก่อนฝักแรกจนถึงฝักสุดท้าย
* แปลงปลูกที่ผ่านการเตรีมดินมาอย่างดี ปฏิบัติต่อเนื่องมาหลายๆรุ่นปลูก กับต้นข้าว
โพดที่ได้รับการบำรุงด้วยธาตุอาหารครบถ้วนสม่ำเสมอ เมื่อต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งแขนงงอกออก
มาตามข้อ แต่ละกิ่งแขนงสามารถออกดอกแล้วติดเป็นฝักคุณภาพดีได้
* การจัดระยะปลูกห่าง ลมพัดผ่านเข้าไปในใจกลางแปลงได้ทั่วถึง ใบไม่เกยทับซ้อนกัน
และรับแสงแดดได้เต็มที่ จะได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าแปลงที่ปลูกชิดกันมาก
* ข้าวโพดหวานที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในพื้นที่หนึ่ง เมื่อนำไปปลูกในอีกพื้นที่หนึ่งซึ่ง
ภูมิอากาศค่อนข้างแตกต่างกัน คุณภาพผลผลิตมักจะแตกต่างกันด้วย ดังนั้น จึงควรใช้เมล็ด
พันธุ์ที่เกิดจาการผสมพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือแหล่งสร้างเมล็ดพันธุ์ที่มีสภาพภูมิอากาศ
คล้ายคลึงกัน
* เก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นแล้วนำไปนึ่งทันทีจะได้รสชาติ
ของข้าวโพดหวานดีมาก หากต้องการเก็บไว้นานหลังเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วควรเก็บในที่
เย็น (ตู้เย็น) ซึ่งความหวานจะลดลงน้อยกว่าการเก็บในที่แจ้ง......ข้าวโพดหวานนึ่งให้รสชาติ
ดีกว่าการต้ม
* เมื่อต้นโตได้ความสูงประมาณ 1 ม. หรือเริ่มมีรากเหนือพื้นดินงอกออกมาจากข้อ
เหนือพื้นดิน ให้ เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ระบบรากเหนือพื้นดินจะเจริญ
เติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ดีมาก นอกจากนี้ยังทำให้ข้าวโพดต้นนั้นแตกยอกจากข้อแล้ว
พัฒนาเป็นกิ่ง ซึ่งกิ่งนี้สามารถออกฝักได้เหมือนลำต้นประธาน และเมิ่อบำรุงดี ฝักจากกิ่งนี้ก็
จะเจริญพัฒนาเป็นฝักสมบูรณ์ได้เช่นกัน
สายพันธุ์
ข้าวเหนียว. ตักหงาย. แปดแถว. เทียน. ข้าวโพดหวาน. ข้าวเหนียวหวาน.
เตรียมดิน
1. เริ่มจากไถดินตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อกำจัดเชื้อโรคและวัชพืช ระหว่างตากแดด
ถ้ามีฝนตกต้องไถดินใหม่และเริ่มตากแดดใหม่
2. ใส่อินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. ปุ๋ยคอก. เศษ
พืชแห้ง.)
3. ไถด้วยโรตารี่คลุกอินทรีย์วัตถุกับเนื้อดินให้เข้ากันดี
4. คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วยน้ำจุลินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุก 15 วัน ติดต่อกัน
นาน 1-2 เดือน
เตรียมแปลง
- ยกร่องแห้งลูกฟูก สันร่องสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 1-1.20 ม. ร่อง
ระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึกจากพื้นระดับ 25-30 ซม. ก้นสอบ
เตรียมเมล็ดพันธุ์
- เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารเคมีกำจัดโรคให้ล้างน้ำจนสารเคมีนั้นออกให้หมดก่อน ส่วน
เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบสารเคมีไว้ก่อนให้ดำเนินการได้เลย
- นำเมล็ดแช่ในน้ำเปล่า คัดทิ้งเมล็ดลอย เก็บไว้เฉพาะเมล็ดจม
- นำเมล็ดจมที่เลือกได้ลงแช่ใน น้ำ + โบรอน (10 PPM) นาน 6-12 ชม. นำขึ้น
ผึ่งลมจนแห้ง แล้วจึงนำไปหยอดในแปลงจริง เมื่อโตขึ้นจะมีเกสรตัวผู้เพิ่มขึ้น 100-200 %
เหมาะสำหรับแปลงปลูกเพื่อสร้างเมล็ดพันธํ
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 75 X 75 ซม.
- ระยะชิด 50 X 75 ซม.
วิธีปลูก
- หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด หลังจากต้นกล้าได้ 2-3 ใบ ถอนแยกต้นไม่สมบูรณ์
ทิ้ง เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้ 1-2 ต้น การเหลือต้นสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น/1 หลุมให้พิจารณาระยะ
ห่างจากต้นข้างเคียง ถ้ามีพื้นที่ว่างระหว่างต้นพอก็ให้ไว้ 2 ต้นได้
- รองก้นหลุมด้วย กากสะเดาแห้ง หรือใบสาบเสือแห้ง หรือใบยูคาแห้ง บดละเอียด
หลุมละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินก้นหลุม เพื่อป้องกันแมลงกัดกันเมล็ดพันธุ์
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อข้าวโพด
(ทุกสายพันธุ์)
1. ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้ น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/20 วัน
หว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้หลังจากแตกใบอ่อนได้ 3-4 ใบ
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
2. ระยะสะสมตาดอก – บำรุงดอก
ทางใบ :
ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 100 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.
+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วง
เช้าแดดจัด
ทางราก :
ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง
อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/20 วัน หว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุต้น 30 วัน หลังปลูก
- นิสัยข้าวโพดทุกสายพันธุ์ออกดอกเองได้เมื่ออายุต้นเจริญเติบโตครบกำหนดโดยไม่
ต้องเปิดตาดอกโดยเฉพาะ
- การจัดช่วงเวลาให้ “0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” สลับกับ “ฮอร์โมนไข่
+ เอ็นเอเอ.” ทุก 5-7 วัน นอกจากจะทำให้ต้นเตี้ยแล้วยังทำให้ต้นได้สะสมตาดอกดียิ่งขึ้น
ดังนั้น เมื่อให้สูตรนี้ 1 ครั้งจะทำให้มีฝักออกมา 1 ฝักเสมอ หรือถ้าให้ตลอด 1 เดือนก็จะ
ทำให้ได้ข้าวโพด 3-4 ฝัก/ต้น
3. บำรุงฝักเล็ก – ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+
ไคโตซาน 10 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน
ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุ 2-3 วัน
ทางราก :
ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (100-200 กรัม)/ต้น/20 วัน
ละลายน้ำแล้วรดโคนต้น
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อเกสรฝักสุดท้ายได้รับการผสมแล้ว 5-7 วัน
- การใช้ปุ๋ยทางใบสำหรับไม้ผลสูตร บำรุงผล-ขยายขนาด กับข้าวโพดที่ขึ้นฝักแล้ว
จะช่วยบำรุงให้ได้ฝักขนาดใหญ่ น้ำหนักดี
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 ครั้ง โดยแบ่งให้ตลอดระยะฝักเล็ก
ถึงเก็บเกี่ยว จะช่วยบำรุงให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้ผลผลิตคุณภาพดี
- ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน อาจจะพิจารณาให้ “น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม)
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.” 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียก
ใบก็จะทำให้คุณภาพฝักดีขึ้น
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อต้นมี
สภาพความสมบูรณ์สูง
******************************************************************
ข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่เพื่อการค้า ผลงาน มทร.ล้านนา
ข้าวโพด เป็นพืชไร่พืชหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวโพดสองสี ข้าวโพดสามสี พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพดหลายชนิด ตามแต่สภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด
รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน เล่าว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวานฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง
ข้าวโพดคั่ว ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลูกผสมเชิงการค้า จนประสบผลสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคและแมลง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าวโพดคั่วกันมากขึ้น อีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง
จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยว 85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีช่อดอกขนาดใหญ่ เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ด ต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป็นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95%
ข้าวโพดหวานฝักเล็ก "เทียนหวานพิษณุโลก"
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ตั้งแต่ ปี 2537 ปลูกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึง ปี 2540 ได้คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพดเหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานขอนแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร รสชาติหวาน กรอบ มีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร น้ำหนักสดทั้งเปลือก 165 กรัม ต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม
ข้าวโพดไร่สีม่วง ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสม สารสีม่วงแดงจะมีสารแอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า ด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิตค่อนข้างสูง 20 อันดับแรก เฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710-259, (054) 710-554, (081) 870-8902
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
'ข้าวโพดเงินล้าน'ระบบ'น้ำหยด'
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคามปลูก'ข้าวโพดเงินล้าน'ระบบ'น้ำหยด'
"ข้าวโพดหวาน" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพืชอายุสั้น แต่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเป็นพืชไวต่อความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ต้องมีการดูแลเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม จึงได้เลือกข้าวโพดหวานมาปลูก และใช้ระบบน้ำหยด ให้นักศึกษาปลูกและดูแลในช่วงระหว่างเรียน
เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหลังจากจบการศึกษา
นายชาติชาย เกตุพรหม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม กล่าวว่า ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม ได้มีโครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนทวิภาคีระหว่างไทย-อิสราเอล ของรัฐบาลไทย ร่วมกับเอกชนอิสราเอล โดยส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่ฟาร์มในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านการเกษตรเพื่อการส่งออก ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่เมืองไทยก่อน 6 เดือน และไปฝึกงานด้วยเรียนไปด้วยที่อิสราเอลอีก 11 เดือน หลังจากที่กลับมา วิทยาลัยเกษตรฯ เลือกที่จะให้นักศึกษาใช้ข้าวโพดหวานในการฝึกประสบการณ์ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีระบบน้ำหยดมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้ง อีกทั้งยังสามารถให้น้ำและปุ๋ยในสายเดียวกันได้อีกด้วย
อ.วีรินทร์ อันทะแขก อาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษา กล่าวว่า นักศึกษาแลกเปลี่ยนไทย-อิสราเอล ภายใต้ชื่อกลุ่ม อลาว่า รุ่น 9 ซึ่งได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย แต่สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรส่งออกได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก หลังจากที่ฝึกงานไปด้วยเรียนไปด้วยเป็นเวลา 11 เดือน ก็ได้เดินทางกลับมาที่ประเทศไทย นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในบ้านเรา โดยเฉพาะระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทุ่นแรง ที่นำมาใช้กับแปลงปลูกข้าวโพดหวาน บนพื้นที่ 30 ไร่ ภายในวิทยาลัยฯ เนื่องจากว่า สมัยก่อนใช้ระบบสปริงเกอร์ ก็เกิดปัญหา ความสมบูรณ์ของฝักข้าวโพดไม่เท่ากัน ทำให้ขายไม่ได้ราคา แต่เมื่อนำระบบน้ำหยดมาใช้ ต้นข้าวโพดแต่ละต้น ได้รับน้ำและปุ๋ยสม่ำเสมอ ทำให้ฝักโต อวบ ใหญ่ ขายได้ราคา และมีปริมาณความหวานสูง เป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งระบบน้ำหยดจะช่วยประหยัดน้ำได้มากถึงครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ซึ่งจากการที่นักศึกษาได้ไปฝึกประสบการณ์อาชีพ ที่ต่างประเทศ และสามารถนำความรู้กลับมาใช้นั้น จะส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร ที่ได้จากการฝึกประสบการณ์จริง จนถึงขณะนี้นักศึกษากลุ่มอลาว่า สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดู งานภายในวิทยาลัยฯ ได้เป็นอย่างดี
นายชัยสิทธิ์ หอมดี นักศึกษา ปวส.ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม กล่าวว่าการปลูกข้าวโพดหวาน เริ่มจากการเตรียมแปลงปลูก จากนั้นไถยกร่อง ใส่ปุ๋ยคอก และแกลบดำลงไป จากนั้นพรวนดิน และวางระบบน้ำหยด ซึ่งให้ได้ทั้งน้ำและปุ๋ยในสายเดียวกัน จากนั้นคลุมพลาสติกดำ เพื่อป้องกันวัชพืชขึ้น ระหว่างนั้นเริ่มปล่อยน้ำให้ ดินชุ่ม ก่อนจะหยดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงไป รอประมาณ 7 วัน เมล็ดจะงอก จากนั้นรดน้ำวันเว้นวัน หรือแล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ และให้ปุ๋ยตามสายน้ำหยด 2 สัปดาห์ต่อครั้ง รอกระทั่ง 70-75 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตออกขายได้
โดยในแต่ละวันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดไม่ต่ำกว่าวันละ 2,000 ฝัก จะจำหน่ายทั้งฝักสด และแบบต้มสุก ราคาจำหน่ายอยู่ที่ฝักใหญ่ฝักละ 7 บาท 3 ฝัก 20 บาท ส่วนฝักเล็กขายฝักละ 5 บาท 5 ฝัก 20 บาท รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ประมาณวันละ 6,000 บาท ซึ่งทางกลุ่มอลาว่า จะนำไปขายในตัวเมือง บริเวณหลังโรงเรียนผดุงนารี ในแต่ละเดือนสามารถสร้างรายได้ให้นักศึกษาไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาท หรือปีละกว่าหนึ่งล้านบาท จึงได้ชื่อว่า "ข้าวโพดหวานเงินล้าน" ที่สร้างรายได้ให้กับนักศึกษา เงินที่ได้จากการจำหน่ายข้าวโพดหวาน ก็จะเป็นเงินทุนให้กับรุ่นน้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอลต่อไป
นายชัยสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล เมื่อกลับมาเมืองไทยก็นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบ้านเรา ซึ่งในพื้นที่ที่เราอยู่ มีการจัดการน้ำที่ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบน้ำหยดถือเป็นอีกเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ และสามารถช่วยให้เราประหยัดน้ำในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อจบการศึกษาไปแล้วจะนำความรู้ที่ได้ คือการปลูกข้าวโพดหวาน และนำระบบน้ำหยดไปใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง ซึ่งนอกจากจะปลูกข้าวโพดหวานแล้ว จะปลูกมะละกอ ดาวเรือง และผักสลักแก้ว โดยใช้ระบบน้ำหยดอีกด้วย
http://oatthailand.org/index.php/th/joomla-overview/425-news192
oatthailand.org/index.php/th/joomla-overview/425-news192 -
ข้าวโพดหวานฝักเล็ก “เทียนหวานพิษณุโลก”
ข้าวโพด เป็นพืชไร่หนึ่งที่ตลาดมีความต้องการมาก แยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้มากมาย เช่น ข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดลูกผสมต่างๆ ข้าวสองสี ข้าวโพดสามสี พันธุ์ข้าวโพดบางพันธุ์ได้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอากาศของบ้านเรา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกได้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาวิจัยจนประสบผลสำเร็จ มีข้าวโพดสายพันธุ์เชิงการค้า เพื่อให้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งเกษตรกรมีทางเลือกปลูกข้าวโพหลายชนิดตามแต่สภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด
รศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เล่าว่า ไดทำการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ข้าวโพดเพื่อผลิตพันธุ์ในเชิงการค้าหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดหวานฝักเล็ก พันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก และข้าวโพดไร่สีม่วง
ข้าวโพดคั่ว ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว หลายคนต่างนิยมชื่นชอบรับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก มินิมาร์ท โรงภาพยนตร์ มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่คั่วร้อนๆ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดคั่วปรุงรสสำเร็จรูป แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างและเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดคั่วนั้นจะต้องสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จึงเกิดแนวคิดศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวโพดคั่วสายพันธุ์แท้เพื่อใช้ผลิตเป็นข้าวโพดคั่วสายพันธุ์ลุกผสมเชิงการค้า จนประสบความสำเร็จ การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อใช้เองภายในประเทศ มีความจะเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวโพดคั่วที่สามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง คุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ต้านทานต่อโรคและแมลงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรที่ปลูกข้าวโพไร่หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หันมาปลูกข้าวโพดคั่วกันมากขึ้นอีกทั้งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง
จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดคั่วเพื่อการค้า ทำให้ได้ต้นข้าวโพดมีลักษณะเด่น คือ อายุการเก็บเกี่ยว 85 วัน ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร เกสรตัวผุ้มีช่อดอกขนาดใหญ่ เกสรตัวเมียสีชมพูขาว เมล็ดเป็นแบบหยดน้ำ สีของเมล็ดเหลืองเข้ม ความยาวของฝัก ประมาณ 18-20 เซนติเมตร มีจำนวน 14 แถวเมล็ดต่อฝัก มีจำนวน 30-38 เมล็ด ต่อแถว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450-650 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำไปคั่วเป้นข้าวตอกมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีการแตกตัวมากกว่า 95 %
ข้าวโพดหวานฝักเล็ก “เทียนหวานพิษณุโลก” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก ได้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเทียนพื้นเมือง ตั้งแต่ปี 2537 ปลุกคัดเลือกและศึกษาลักษณะทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2540 ได้คัดเลือกข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง ได้จำนวน 7 พันธุ์ คือ พันธุ์สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 พันธุ์อยุธยา พันธุ์บางพระ พันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ขาวนครศรีธรรมราช และพันธุ์ขาวสุโขทัย ข้าวโพดเหล่านี้ตั้งชื่อตามแหล่งที่รวบรวมมาปลูก และปลูกเปรียบเทียบทั้ง 7 พันธุ์ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเทียนด้วยการเพิ่มจำนวนข้าวโพดข้าวเหนียวหวานของแก่น พันธุ์นพวรรณ 1 และข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมือง 7 พันธุ์ จนได้เป็นข้าวโพดหวานฝักเล็กพันธุ์เทียนหวานพิษณุโลก ที่มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาปลูกเพียง 55 วัน ลำต้นสูง 176 เซนติเมตร รสชาติหวาน กรอบมีสีสองสีสลับกันคล้ายกับพันธุ์ที่นิยมบริโภคในต่างประเทศ ฝักเล็กเหมาะแก่การบริโภค ความยาวของฝัก 11 เซนติเมตร เส้นรอบวงฝัก 10 เซนติเมตร มีน้ำหนักสดทั้งเปลือก 165 กรัมต่อฝัก น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือก 104 กรัม
ข้าวโพดไร่สีม่วง ข้าวโพดไร่สีม่วงเป็นพืชไร่ที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดเป็นสำคัญ เป็นวัตถุสำหรับอาหารสัตว์ชนิดใหม่ แต่ยังไม่มีภาครัฐและเอกชนผสมพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ลูกผสมสารสีม่วงแดงจะมีสารแอนโทไซยานินที่เป็นสารจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งสารสีม่วงนี้ยังนำไปใช้เป็นสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าด้วยความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วง จำนวน 9 ชั่ว พบว่าได้รับผลผลิตค่อนข้างสูง 20 อันดับแรกเฉลี่ยประมาณ 787-953 กิโลกรัม ต่อไร่ อายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์การค้า ขนาดของฝักสม่ำเสมอ
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เลขที่ 59 หมู่ที่ 13 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โทรศัพท์ (054) 710259, 710554, (081) 870-8902
ดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://prd.rmutl.ac.th/web51/view.php?id_view=902
http://www.rmutl.ac.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=3814%3A2010-03-26-05-26-05&Itemid=1
ข้าวโพดหวานสองสี (Bicolor Sweet Corn)
ข้าวโพดหวานสองสี จัดอยู่ในตระกูล Poaaceae (Gramineae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea may L. var. saccharata เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียว มีจำนวน 8-20 ปล้อง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเรียวคล้ายใบหญ้า ซึ่งประกอบด้วยตัวใบ ก้านใบ และหูใบ ขนาดของใบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
โดยทั่วไปดอกตัวผู้บานก่อนดอกตัวเมีย และพร้อมจะผสมภายใน 1-3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2-14 วัน ดอกตัวเมียมีลัษณะเป็นฝักจากแขนงสั้นๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8-13 ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมีย และหุ้มฝัก(husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้าวเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสรตัวผู้
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานสองสี
ข้าวโพดหวานสองสี เป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกและการเจริญเติบโต ควรอยู่ระหว่าง 21-30′C แต่ไม่ควรสูงเกิน 35′C อย่างไรก็ตามอุณหภูมิ ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพอยู่ในช่วง 16-24′C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูง อัตราการเปลี่ยน น้ำตาลเป็นแป้งสูง(Polysaccharides)
กระแสลมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และอุณหภูมิสูง จะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ อัตราการผสมเกสรต่ำ หากสภาพแปลงปลูก มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เมล็ดอางจะเน่าได้ หรือสภาพความชื้นสูง หรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ข้าวโพดหวานเป็นพืชวันสั้น ในสภาพที่ช่วงวันยาว (มากกว่า 13 ชั่วโมง/วัน) จะจำกัดการเจริญของดอกใบบางสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดหวานสองสี
ข้าวโพดหวาน จัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง และมีประมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามิน นอกจากนี้พันธุ์ที่มีสีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง การใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่ง หรือ ย่าง ทั้งฝัก นึ่งแล้วฝานผสม กับมะพร้าวขูด น้ำตาลทรายเล็กน้อย เกลือป่นทำเป็นข้าวโพดคลุกรับประทานเป็นอาหารว่าง ทำน้ำนมข้าวโพด ฝานดิบผสมกับเนื้อหมูสับ ไข่ แป้งสาลีแล้วทอดเป็นทอดมันข้าวโพด เป็นต้น
การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวานสองสีระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน
ไถพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชและแมลงในดิน
หากสามารถตรวจเช็คค่า pH ของดินได้จะช่วยในด้านการเติบโต ของข้าวโพด โดยค่า pH ควรอยู่ในช่วง 6-6.5 หากสภาพดิน เป็นกรดคือต่ำกว่า 6 ให้เติมปูนขาวหรือดินโดโลไมท์ ในอัตรา 100 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นควรใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วยปรับสภาพดินในอัตรา 2-5 กก./ตร.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับ สภาพดินและผสมปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 25-50 กก./ไร่ หากสภาพดินเป็นดินทราย ควรจะใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 แทนปุ๋ย 16-20-0
การเตรียมกล้า
เพาะกล้าอย่างประณีต ในถาดหลุมเมื่อมีอายุ 7 วัน แล้วย้ายปลูก หากเพาะกล้าในแปลงเพาะโดยการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะ แล้วใช้แกลบดำกลบ ควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อเพิ่มความชื้น และลดความร้อนในช่วงกลางวัน การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก ควรบ่มเมล็ดก่อนโดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียก และห่อเมล็ดไว้ 1 คืน ให้รากเริ่มงอก แล้วนำไปหยอด ในแปลงปลูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร และรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกแทงต้นพ้นดิน
ข้อควรระวัง
- ควรคลุกเมล็ดด้วยเอพรอน 35 เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง และ
- ฉีดพ่นเซฟวิน 85 ป้องกันมดและแมลงทำลายเมล็ด
หากใช้การหยอดเมล็ดในแปลงปลูกใช้วิถีถอยหลังแล้วหยอดเมล็ด ไม่ควรเหยียบแปลงที่หยอดเมล็ดแล้ว หากปลูกช่วงฤดูร้อนควรมีการแช่เมล็ดใน GA จะช่วยเพิ่มเกสรตัวผู้
การปลูก
ระยะปลูก (ต้นxแถว) 25×75 ซม.(6 ต้น/ตร.ม.) จัดใบให้หันไปในทางเดียวกัน ทำมุมกับแปลง 45 องศา ทั้งนี้เพื่อให้มีการ ผสมเกสรได้ดีขึ้น เมื่อย้ายปลูกได้ 7 วัน
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ 2 สูตร 21-0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณโคนต้นหรือใช้ วิธีการหยอดที่โคนต้น
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายปลูกได้ 20-25 วัน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และทำการคลุมโคน หลังจากนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะข้าวโพดกำลังเริ่มสร้างช่อดอกเกสรตัวผู้ ภายในลำต้น และระบบรากกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ควรที่จะรบกวนระบบ ราก มากนักอาจจะทำให้ต้นเหี่ยว และชะงักการเติบโตได้
เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้น ให้เด็ดออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง ราสนิม และการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้น และฝัก
เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45-50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายและให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากขาดน้ำ ต้นข้าวโพดจะหยุดการสร้างฝักเมล็ด ส่วนปลายฝักจะฟ่อทันที
ข้อควรระวัง
- ควรกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
- ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยนขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป
การให้น้ำ ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้ การผสมเกสรไม่ดี ฝักที่ได้คุณภาพต่ำ การติดเมล็ดไม่สม่ำเสมอ
การใส่ปุ๋ย
- ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-20 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ ในขั้นตอนการเตรียมดิน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ หลังปลูก 7 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25 วัน
- ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 25-50 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุ 45 วัน
ข้อพิจารณา
ในดินทรายการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หรือไม่ ขอให้พิจารณาความสมบูรณ์ของข้าวโพดเป็นสำคัญ
การเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อมีอายุ 16-20 วัน หลังจากที่ข้าวโพดผสมเกสร ลักษณะเปลือกเมล็ด ไม่หนาเกินไป การเก็บเี่กี่ยวก่อนกำหนด จะทำให้ข้าวโพดหวาน อ่อนเกินไป และมีน้ำหนักฝักน้อย ในขณะที่การเก็บอายุมาเกินไป ถึงแม้จะได้น้ำหนักฝักมากขึ้น แต่เปลือกเมล็ดจะหนา และข้าวโพดเสียคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก จะต้องทำการนับวัน ที่ข้าวโพดออกไหม แล้วจึงทำการกำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกไหม 16-20 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดหวาน จะพบว่า พันธุ์ลูกผสมจะมีช่วงการออกดอก สม่ำเสมอทำให้เกษตรกร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว เมื่อถึ่งกำหนด การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับความอ่อน-แก่ ขนาด รูปร่าง รสชาติ และน้ำหนักของข้าวโพดหวาน ส่วนการเก็บก่อน การจำหน่ายฝักสด หรือก่อนการแปรรูป ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดหวาน
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวโพดหวานสองสีในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า-ย้ายปลูก 7-10 วัน โรคราน้ำค้าง,
ระยะคลุมโคนและเริ่มสร้างช่อเกสรตัวผู้ 17-32 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้,
ระยะแตกหน่อ 35-40 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้,
ระยะออกไหม-ผสมเกสร 45-50 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก
ระยะเก็บเกี่ยว 65-70 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบไหม้แผลเล็ก, โรคใบไหม้แผลใหญ่, โรคราสนิม, โรคราเขม่าดำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนกระทู้คอรวง, หนอนกระทู้, หนอนเจาะฝัก
http://www.vegetweb.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5/
www.vegetweb.com/
เทคนิกการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี
พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมฝีมือคนไทย เป็นเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่วิจัยติดต่อกัน 9 ฤดูปลูก ตั้งแต่ปี 2543-2545 ทั้งในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และไร่เกษตรกร โดยมีขั้นตอนดังนี้ การประเมินเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดคุณภาพจากภายในและต่างประเทศ การสกัดและคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมที่ควบคุมด้วยยีน shrunken 2 (sh2) ตลอดจนการเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพกับพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีจากต่างประเทศ No. 58 F1 จนได้พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมเดี่ยวฝีมือคนไทย No. 4058 F1 ที่ปรับตัวได้ดีในภาคเหนือตอนบน ทรงสม่ำเสมอ มีคุณภาพความหวานและอ่อนนุ่มดี (ตารางที่ 1) เมล็ดสีเหลืองสลับขาว ทนทานโรคราสนิม ที่สำคัญคือ ราคาเมล็ดพันธุ์เพียง 600 บาทต่อกิโลกรัม หรือครึ่งหนึ่งของพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เหมาะสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานแช่แข็งเพื่อการส่งออก
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยคุณภาพและผลผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ต่างประเทศ No.58 F1 เปรียบเทียบกับพันธุ์ สองสีลูกผสมของไทย No.4058 F1 ในไร่เกษตรกร ฤดูฝน ปี 2545 ที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
ลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์สองสีลูกผสมเดี่ยว
1. ความแข็งแรงของต้นกล้า (1-5 คะแนน)
2. อายุวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ (วัน)
3. อายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ (วัน)
4. ความสูงต้น (เซนติเมตร)
5. ความสูงฝัก (เซนติเมตร)
6. ระดับความเป็นโรคราสนิม (1-5 คะแนน)
7. อายุวันเก็บเกี่ยว (วัน)
8. น้ำหนักฝักทั้งเปลือก (กรัม)
9. น้ำหนักฝักปอกเปลือก (กรัม)
10. คะแนนความสม่ำเสมอฝัก (1-5 คะแนน)
11. ความยาวฝัก (เซนติเมตร)
12. ความกว้างฝัก (เซนติเมตร)
13. เปอร์เซ็นต์ความหวาน (องศาบริกซ์)
14. ผลผลิตทั้งเปลือก (กิโลกรัม/ไร่)
15. ผลผลิตปอกเปลือก (กิโลกรัม/ไร่)
16. ราคาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (บาท/กิโลกรัม)
เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ No. 4058 ราคากิโลกรัมละ 600 บาท เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัมมีประมาณ 7,500-8,000 เมล็ด การปลูกแบบย้ายกล้าใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม/ไร่ การปลูกแบบหยอดเมล็ด 1-2 เมล็ด/หลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 1-1.5 กิโลกรัม/ไร่
เมล็ดพันธุ์มีจำหน่ายที่ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-498169 หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่ คุณเสกสรร สงจันทึก โทร. 08-61903535
การปลูกข้าวโพดโดยทั่วไป ถ้าปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เขาเรียกว่าทำไร่ ข้าวโพดเพื่อสีเอาเมล็ดหัวมาบดเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ส่วนมากปลูกในพื้นที่สูง โดยทั่วไปทางจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ใช้พื้นที่มาก อาศัยน้ำฝน แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานสีเดียวหรือสองสี เรียกกันว่าทำสวนข้าวโพด จะทำแบบประณีตใช้พื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนต่อไร่สูง มีทั้งรวมกลุ่มกันผลิตเพื่อส่งขายให้บริษัท หรือส่งให้พ่อค้าคนกลางรวบรวมผลผลิต แต่การรวมกลุ่มราคาค่อนข้างจะแน่นอน ซึ่งขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนในการให้ปุ๋ย การให้น้ำ การดูแลเกี่ยวกับโรค แมลง และการเก็บเกี่ยว มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตอนที่ 1 และตอนที่ 2
รองศาสตราจารย์ประวิตร พุทธานนท์ และทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. ศิริชัย อุ่นศรีส่ง อาจารย์สุรินทร์ ดีสีปาน และนายเสกสรร สงจันทึก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน จนได้ข้าวโพดหวาน 2 สี (พันธุ์ No. 4058 F1) และได้ทดลองปลูกในหลายพื้นที่ในภาคเหนือพบว่าให้ผลผลิตที่ดี จึงมีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลาย ซึ่งการดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี (พันธุ์ No. 4058 F1) ให้ได้ผลผลิตที่ดีมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อย้ายกล้าได้ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46–0–0 อัตรา 10 กก./ไร่ผสมกับ สูตร 15–15-15 อัตรา 15 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร รดบริเวณข้างโคนต้น หรือใช้วิธีการหยอดที่โคนต้น
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อย้ายกล้าได้ 14 วัน ใช้ปุ๋ยสูตรเดี่ยวกันกับครั้งที่ 1
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อย้ายกล้าได้ 21 – 25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ ผสมกับสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชและทำ
การคลุมโคน
ในกรณีปลูกด้วยเมล็ดให้ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 (ดินเหนียว) หรือ สูตร 15-15-15 (ดินทราย) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 25-30 วันหลังหยอดเมล็ด ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30-40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้นให้เด็ด ออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราสนิม ใบไหม้แผลใหญ่ และการเข้าทำลายของหนอน เจาะลำต้นและฝัก
ภาพ ลักษณะของฝักที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ภาพ การตัดต้นข้าวโพดก่อนการเก็บเกี่ยว
ข้อควรระวัง
ควรทำการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากพืชขาดน้ำจะทำให้การผสม เกสรไม่ดี การติดเมล็ดจะไม่สม่ำเสมอ
ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป
2. การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวควรเก็บตามอายุ ฤดูแล้งและฤดูฝนอายุประมาณ 60-65 วัน ฤดูปลายฝนหรือฤดูหนาว อายุประมาณ 70-75 วัน โดยสังเกตดูเส้นไหมจะเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาลสุ่มตัวอย่างบีบเมล็ดจะมีน้ำสีขาวขุ่นหากยังไม่แก่จะมีลักษณะใส หรือนับจากอายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 18-20 วัน ทั้งแปลงควรมีการสุ่มตัวอย่างหลาย ๆ จุด หากเก็บฝักอ่อน เมล็ดจะเหี่ยวแฟบเร็ว
ข้อควรระวัง
ควรตัดต้นออกในตอนเย็นและมาเก็บฝักในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้นและจัดส่งให้ตลาดโดยเร็วเพราะหากฝักข้าวโพดไม่ได้อยู่ในห้องเย็นจะทำให้ความหวานลดลงอย่างรวดเร็วและเมล็ดเหี่ยวแฟบทันที
ไม่ควรเก็บข้าวโพดหวานไว้ข้ามวันเพราะจะทำให้เมล็ดเหี่ยวแฟบ
3. ศัตรูพืช
หนู ชอบเข้าทำลายช่วงหยอดเมล็ดปลูกและช่วงติดฝัก ป้องกันโดย
ไม่ใช้สารเคมี เช่น การดัก การล้อมตี การเขตกรรม โดยการกำจัดวัชพืชอย่าให้แปลงปลูกรก เพื่อหนูจะได้ไม่มีแหล่งหลบซ่อน
ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูป เช่น สะตอม คลีแร็ต หรือใช้สารฆ่าแมลงที่กลิ่นเหม็น ๆ ฉีดพ่นบริเวณรอบแปลง
4. คำแนะนำการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ชื่อโรค
อาการของข้าวโพด
สาเหตุของการแพร่กระจาย
การป้องกันกำจัด
1. โรคราน้ำค้าง
2. โรคใบไหม้แผลเล็ก
3. โรคใบไหม้แผลใหญ่
4. โรคราสนิม
5. เพลี้ยอ่อน
6. เพลี้ยไฟ
7. หนอนเจาะลำต้น
8. หนอนเจาะฝัก
ทางลายสีขาวบนใบ เกิดขึ้นได้ในระยะต้นอ่อนและระยะกล้า รอยแผลไหม้บนใบ
ขนานกับเส้นใบ อาจกลายเป็นแผลใหญ่ รอยแผลขนาดใหญ่เกิดกับใบล่างๆก่อน
มีตุ่มแผล (pustule) ทั้งด้านบนและล่างของใบ แผลเป็นสีสนิม
ใบข้าวโพดที่เป็นโรค พืชอาศัย เชื้อติดไปกับเมล็ด ตกค้างในดินหรือปลิวไปตามลม
เชื้อแพร่กระจายโดยลม หรือติดไปกับเศษซากพืช เชื้อติดไปกับใบพืชและลม
- ใช้เอพรอน 35 เอสดี 7 กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือฟอร์รัม 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน 2-3 ครั้ง กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งออกจากแปลงและพืชอาศัย
- ใช้สารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม -45 สลับกับแอนทราโคล
- หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่โรคระบาด กำจัดเศษซากพืชหรือใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอน 20%EC) 60 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีไดฟิโนโคนาโซล (สกอร์ 25% EC) 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซันแฟน (พอร์) 40 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
- เชื้อแบคทีเรีย (เชื้อ Bt) 60-100 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร
- methomyl 90% WP ในอัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง
ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน 2 สี พันธุ์ No.4058 F1 มีจำหน่ายที่ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-498169 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณเสกสรร สงจันทึก โทร. 08-61903535
รายงานโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/new/1169-corn3.html
www.it.mju.ac.th/dbresearch/rae/new/1171-corn1.html -
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลักษณะของข้าวโพดข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ใบ จะเป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้นฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล
ถิ่นกำเนิด
ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด
การนำเข้ามาในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และในปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก
ชนิดของข้าวโพด
โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นไวตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว
ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าว
โพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.
ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่น ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ โดยย่อยสลายได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg [1] และทนทานต่อดินที่ปนเปื้อนน้ำมันเครื่อง [2]จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชและปิโตรเลียม
อ้างอิง
วิกิสปีซีส์ มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ:
Zea maysพันทิพา พงษ์เพียจันทร์. หลักการอาหารสัตว์ หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้าวโพด เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้าวโพด เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร
^ Chouychai, W., Thongkukiatkul, A., Upatham, S., Lee, H., Pokethitiyook, P., and Kruatrachue, M. (2009). Plant-assisted phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil. Journal of Environmental Biology,30, 139-144
^ Chouychai, W., Tongkukiatkul, A., Upatham, P., Lee, H., Pokethitiyook, P., Kruatrachue, M. (2007). Phytotoxicity of crop plant to phenanthrene and pyrene contaminants in acidic soil. Environmental Toxicology, 22 (6), 597 – 604
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94
th.wikipedia.org/wiki/
http://kasetinfo.arda.or.th/north/plant/vcorn_kind.html
kasetinfo.arda.or.th/north/plant/vcorn_kind.html -
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.