
ที่มา : http://www.tourdoi.com/doi/angkrang/ak6.htm
บ๊วย
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชยืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี ปกติเป็นไม้ผลประเภทเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในเขตหนาวจัดถึงระดับหิมะตก แต่บ๊วยบางสายพันธุ์เมื่อนำมาปลูกในประเทศตั้งแต่เมื่อ 50-80 ปีที่แล้ว ผ่านการปรับปรุงบำรุงพันธุ์มาเรื่อยๆ จนทำให้พัฒนาให้เป็นไม้ผลประเภทต้องการความหนาวปานกลางที่ไม่ต้องถึงระดับหิมะตกได้เป็นอย่างดี
* เจริญเติบโตทั้งทางสูงและแตกกิ่งสาขาเร็ว ระบบรากลึก แต่รากฝอยหากินบริเวณหน้าดินตื้นๆ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก และจะให้ผลผลิตต่อเนื่อง 70-80 ปี
* เป็นไม้ผลคู่กับท้อที่มีลู่ทางการตลาดสดใสมาก ผลจากการปรับปรุงบำรุงพันธุ์จนได้สายพันธุ์ที่ให้ดีมาก คุณภาพผลผลิตได้รับการยอมรับจากตลาดในประเทศ ผิดกับแอป
เปิ้ลที่ซึ่งยังไม่สามารถพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ให้รับกับระดับสภาพอากาศหนาวเย็นของประเทศไทยได้
* ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย ช่วงนี้ถ้าต้นยังได้รับน้ำอยู่จะเฝือใบทำให้การออกดอกติดผลรุ่นต่อไปไม่ดีเท่าที่ควร แต่ช่วงหลังจากพักต้นเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำหรือได้รับน้ำไม่พอเพียงจะทำให้ดอกร่วงผลร่วงได้
* ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ออกดอกแต่ละรุ่นดกมาก เป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แม้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและผสมกันในตัวเองได้ แต่หากได้รับการผสมจากต่างดอกต่างต้นจะทำให้ได้คุณภาพผลดีกว่า
* เริ่มออกดอกช่วงเดือน ต.ค.– ธ.ค.อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยว 3 เดือนครึ่ง – 4 เดือน หรือประมาณช่วงเดือน มี.ค.– เม.ย. ซึ่งอาจต้องเก็บเกี่ยว 2-3 รุ่น
* ลักษณะผลแก่จัดพอดีสำหรับเก็บเกี่ยวเพื่อรับประทานผลสด สังเกตจากสีผิวเปลือกผลที่เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมเหลือง หรืออาจจะมีสีแดงแต้มประปรายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
* ผลแก่จัดพอดี เก็บลงมาแล้วปล่อยให้ลืมต้น 2-3 วัน จึงรับประทานสดจะได้รสชาติดีขึ้น
* ผลแก่ไม่เต็มที่หรือแก่เกินไม่เหมาะสำหรับรับประทานสด เพราะรสจะติดเปรี้ยวมากและกลิ่นไม่ค่อยดี แต่ยังสามารถส่งโรงงานแปรรูปได้
สายพันธุ์
พันธุ์เชียงราย :
เป็นพันธุ์พื้นเมืองเดิม ขนาดผลค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ไม่นิยมปลูก
พันธุ์ไต้หวัน :
เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวเองจนเข้ากับสภาพอากาศของประเทศไทยได้ดีแล้ว ผลกลม ยาวรี ขนาดใหญ่ สีสวย รสและกลิ่นดี นิยมปลูกกันมาก ได้แก่พันธุ์ปิงติง. และเจนโถ.
หมายเหตุ :
การปลูกทั้งพันธุ์เชียงราย.และพันธุ์ไต้หวัน. แบบสลับแถวๆละสายพันธุ์คู่กัน หรือปลูกแบบคละกันพันธุ์เชียงราย 1 ต้นต่อพันธุ์ไต้หวัน 4-5 ต้น เพื่ออาศัยเกสรตัวผู้ของพันธุ์เชียงรายเข้าผสมกับพันธุ์ไต้หวันก็จะช่วยให้พันธุ์ไต้หวันติดผลดกและมีคุณภาพดี
ขยายพันธุ์
ตอน (ดีที่สุด). เสียบยอด...เสียบยอดหรือติดตาบนตอบ๊วยหรือท้อก็ได้ ควรติดตาช่วงพักตัว เมื่อเข้าสู่หน้าฝนก็จะแทงยอดออกมา เลี้ยงต่อไป 4-5 ปีก็จะให้ผลผลิต
ระยะปลูก
ระยะปกติ 8 X 8 ม.หรือ 8 X 10 ม.
ระยะชิด 6 X 6 ม.หรือ 4 X 6 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง ตอบสนองต่อการบำรุงทุกขั้นตอนดีมาก
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก)บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- ตัดแต่งกิ่งช่วงพักต้น
- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค กิ่งชี้เข้าใน และตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องผ่านเข้าไปได้ถึงทุกกิ่งทั่วภายในทรงพุ่ม กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
ตัดแต่งราก :
- ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากโดยพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลาย
ออก 1 ใน 4 โดยพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. แล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก 1-2 รอบ ห่างกันรอละ 15-20 วัน ต้นก็จะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงบ๊วย
1.เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่แต่ละชุดให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา
- บ๊วยต้องการใบอ่อนเพียง 1 ชุด จากการเรียกใบอ่อนแต่ละครั้งเท่านั้น
2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ
5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ใบอ่อนที่เกิดหลังการตัดแต่งกิ่งครั้งแรกไม่จำเป็นต้องเร่งให้เป็นใบแก่ แต่ปล่อยให้เป็นใบแก่ตามปกติ ส่วนใบอ่อนรุ่นสองควรเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ เพื่อให้มีช่วงเวลาสะสมอาหารเพื่อการออกดอกนานขึ้น
- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.สูง นอกจากช่วยทำให้ใบเป็นใบแก่แล้วยังเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้อีกด้วย
3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบ แล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1 รอบ โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 2-2 เดือนครึ่ง
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นปีผลิตที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีผลิตที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-3 เดือน
- การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมีความสำคัญมาก ช่วงนี้จำเป็นต้องให้สารอาหารกลุ่ม “สร้างดอก-บำรุงผล” ทั้งทางใบและทางรากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- บ๊วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช เมื่อเห็นว่าต้นสมบูรณ์เต็มที่แล้วให้ลงมือเปิดตาดอกได้เลย
4.เปิดตาดอก
ทางใบ :
สูตร 1.....น้ำ 100 ล.+ 0-52-34(500 กรัม)+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ใช้ทั้งสองสูตรสลับครั้งกัน สูตรละ 1-2 รอบ ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน
- เปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
7.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ฉีดพ่นพอเปียก ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
- ควรฉีดพ่นเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ควรฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียก หรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานานจะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสร ซึ่งจะส่งผลให้การติดผลดีขึ้น
- ธรรมชาติของบ๊วยช่วงออกดอกต้องการน้ำมากกว่าไม้ผลอื่นๆ ดังนั้นการบำรุงตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอกจนกระทั่งมีดอกออกมาควรเพิ่มปริมาณน้ำให้มากจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอเพียงดอกจะแห้งและร่วง
8.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
9.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วหรือต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลลงมาผ่าดูเมล็ดภายในเท่านั้น
- การบำรุงระยะผลขนาดกลางต้องให้น้ำสม่ำเสมอแต่ต้องไม่ขังค้าง กับให้ต้นมีความพร้อมล่วงหน้าเพราะหากมีฝนตกหนักลงมากระทันหันต้นปรับตัวไม่ทันก็อาจทำให้ผลแตกผลร่วงได้
- ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
10.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม) หรือ 0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซซี.หรือ
น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน และให้รอบสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีผลิตต่อไปอีกด้วย
- บ๊วยต้องการพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผลสุดท้ายหลุดจากต้นต้องเร่งบำรุงเรียกใบอ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นทันที จะช่วยให้การออกดอกติดผลในรุ่นการผลิตปีต่อไปดีขึ้น
ลักษณะทั่วไป
บ๊วยเป็นไม้ผลเมืองหนาวที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยแพร่เข้ามาทางภาคเหนือ บ๊วยเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับท้อ พลับ หรือลูกพรุน ลักษณะผลกลมเมื่อยังเล็กมีสีเขียว แต่มีผลแก่เต็มที่จะมีสีเหลืองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร รสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ในญี่ปุ่นและไต้หวันผลจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในไทยผลบ๊วยจะแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณเมษายน บ๊วยอยู่ในสกุล Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus mume 
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
ดิน
บ๊วยชอบสภาพดินร่วน มีการระบายน้ำดี
ระดับความสูง
บริเวณที่ปลูกบ๊วยส่วนมากอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-800 เมตร แต่ที่ดอยอ่างขางซึ่งอยู่สูง 1200-1800 เมตร และแถบลีซานในไต้หวันซึ่งสูงเกือน 2400 เมตร ก็ปลูกบ๊วยได้ดีเช่นกัน
อุณหภูมิ
บ๊วยต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สำหรับที่จะทำลายการพักตัวของตา ซึ่งจะแตกออกมาในฤดูใบไม้ผลิ แต่บ๊วยไม่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นมากนัก อุณหภูมิสำหรับการเจริยเติบโตของบ๊วยจะอยู่ประมาณ 13-15 เซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำมาก ๆ จะมีผลเสียต่อระบบราก ลำต้น และตาที่แตกในฤดูต่อไ
พันธุ์
พันธุ์ที่ใช้ปลูกกันในปัจจุบันนี้ เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน สำหรับที่อำเภอแม่สายและดอยอ่างขาง มีการปลูกบ๊วยพันธุ์เจียงโถและปิงติง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มาจากไต้หวั
การขยายพันธุ์
บ๊วยขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะด้วยเมล็ด ซึ่งไม่นิยมนักเพราะให้ผลช้าและอาจกลายพันธุ์ได้ วิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขยายพันธุ์บ๊วยคือ การติดตา ซึ่งทำได้ง่าย การติดตานิยมทำในช่วงที่ต้นพักตัว เมื่อผ่านระยะการพักตัวแล้ว ตาที่ติดไว้ก็จะแตกและเจริญเติบโตต่อไป ต้นที่ติดตาจะให้ผลใน 4-5 ปี
สำหรับการใช้ต้นตอนั้นอาจจะใช้ตอบ๊วยด้วยกันหรือต้นตอท้อก็ได้ แต่ถ้าใช้ต้นตอบ๊วยพันธุ์พื้นเมืองก็จะเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นตอท้อ
การปลูก
การเตรียมดิน
การขุดหลุมปลูกควรจะให้มีขนาด 1x1x1 เมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยคอดหรือเศษพืชที่เน่าเปื่อยผุพังแล้ว ซึ่งจะทำให้ดินมีคุณสมบัติดีร่วน โปร่ง รากเจริญได้เร็ว ต้นบ๊วย จะเจริญเติบโตได้รวเร็วมาก
การให้น้ำ
ในระยะที่บ๊วยออกดอก เป็นช่วงที่บ๊วยต้องการน้ำค่อนข้างมาก แต่ในช่วงที่ติดผลแล้ว ถ้าฝนตกชุกจะทำให้ผลร่วงได้
การให้ปุ๋ย
ในปีหนึ่ง ๆ ควรจะให้ปุ๋ย 2 ครั้ง คือในขณะที่ตาเริ่มแตกหรือก่อนออกดอกเล็กน้อยโดยให้สูตร 13-13-21 และอีกครั้งหนึ่งจะให้เมื่อเก็บผลแล้ว โดยให้สูตร 15-15-15 ก่อนที่บ๊วยจะพักตัว หรืออาจจะแบ่งให้อีกครั้ง ในขณะที่ผลกำลังเติบโตก็ได้ ส่วนปริมาณปุ๋ยที่ให้ขึ้นกับอายุของบ๊วย และสภาพดิน
สำหรับวิธีการให้ปุ๋ย ควรจะขุดเป็นร่องรอบ ๆ ต้นบริเวณชายพุ่ม เมื่อโรยปุ๋ยแล้วกลบดิน และรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายน้ำเป็นประโยชน์ต่อต้นบ๊วยต่อไป นอกจากปุ๋ยวิทยาศาสตร์แล้วควรจะให้ปุ๋ยคอกอีกปีละครั้งเพื่อช่วยให้ต้นบ๊วยเจริญได้เร็วขึ้น
การตัดแต่ง
การตัดแต่งทำแบบตรงกลางโปร่งและ Modiflied leader ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับการตัดแต่งคือ ในระยะที่ต้นกำลังพักตัว ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อต้นน้อยที่สุด
โรคและแมลง
โรค
บ๊วยที่ปลูกกับในขณะนี้ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่ร้ายแรงคงมีบ้างเพียงเล็กน้อย เช่นโรคใบจุด ซึ่งไม่ถึงกับทำให้ผลผลิตลดลง
แมลง
พวกหนอนกินใบมีน้อยไม่มีปัญหา อาจจะมีพวกหนอนเจาะกิ่งหรือลำต้น จะทำให้กิ่งหักเสียหายได้ อาจใช้โฟลิดอนฉีดเข้าไปในรูปที่พบว่ามีหนอนเจาะแล้วเอาดินเหนียวอุดไว้ ซึ่งจะทำลายตัวหนอนได้
โดยปกติแล้วชาวสวนจะพ่นยาฆ่าแมลงให้กับต้นบ๊วยในระยะดอกตูม ๆ และเริ่มติดผลเล็ก ๆ เท่านั้น
การเก็บผล
ผลบ๊วยจะสุกไม่พร้อมกันทำให้ต้องเก็บหลายครั้ง ผลจะเริ่มสุกประมาณต้นเดือนเมษายน และจะเก็บไปได้ตลอดเดือน อาจจะเก็บวันเว้นวัน หรือ 2 วันก็ได้ และนิยมเก็บผลด้วยมือ ซึ่งสามารถเลือกเก็บแต่ผลสุกได้ สำหรับผลผลิตของบ๊วยจะขึ้นกับขนาดและความแข็งแรงของต้นด้วย
การใช้ประโยชน์และตลาด
ถึงแม้ว่าผลบ๊วยจะใช้รับประทานสดไม่ได้ ก็สามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ให้ประโยชน์ได้มากที่นิยมทำกันอยู่ในขณะนี้ เช่น บ๊วยดองหรือบ๊วยเจี่ย เป็นต้น สำหรับราคาผลสุกจะขายได้กิโลกรัม 13-15 บาท ซึ่งสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีอีกพืชหนึ่
เอกสารอ้างอิง
- โอฬาร ตัณฑวิรุฬห์ การปลูกพลับ วารสารส่งเสริมการเกษตร 2520
- เอกสารวิชาการ งานศึกษาไม้ผล สำนังานโครงการเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
- ปวิณ ปุณศรี แนะนำโครงการไม้ผลเมืองหนาว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
http://www.doae.go.th/library/html/detail/apricot/index.html
ดอกเหมยหรือดอกบ๊วย
คือดอก PRUNUS หรือดอก PLUM เป็นดอกไม้ดอกแรกของปี คือเริ่มบานในเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ชนิดเดียวของฤดูนี้
ดอกบ๊วย หรือคนจีนเรียกว่า "เหมยฮัว" มีความหมายถึงความชื่นบาน ความมีโชคและอายุยืนยาวกับความอ่อนเยาว์ที่ยืนยง เพื่อต้อนรับวสันตฤดูที่กำลังจะมาถึง
สามเกลอในฤดูหนาว (ดูหมายเหตุท้ายบทความ) จึงเป็นการสื่อถึงความหมายมงคล คือ ความมีอายุยืนหรือความยิ่งใหญ่ แต่ถ้าไผ่กับดอกเหมยอยู่ด้วยกันเพียงสองอย่าง จะหมายถึง มิตรภาพระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงที่ไร้เดียงสาและบริสุทธิ์
สามเกลอที่มีมงคลอันดีงามนี้จะมีอยู่เพียงชนิดเดียวที่ปลูกได้ดีที่สุดในประเทศไทย คือต้นไผ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราคนไทยหรือคนจีนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจึงนิยมปลูกต้นไผ่ในบ้าน
หมายเหตุ
สามเกลอในฤดูหนาวของจีน คือ ต้นไผ่ ดอกเหมยหรือดอกบ๊วย และต้นหลิว หรือสนเข็ม |
http://www.ocanihao.com/interest16.html
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.