-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 558 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะกรูด




หน้า: 1/2




ที่มา : http://yamrow.brinkster.net/noname16.htm



                 มะกรูด

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ทรงพุ่มขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ผลัดใบ ปลูกง่ายโตเร็ว เจริญง่ายเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก ชอบดินดำร่วนที่มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

    * มะกรูดที่ปลูกจากเพาะเมล็ดโตช้า เมื่อโตขึ้นจะมีหนามจำนวนมาก แข็งและยาว

    * ปลูกเพื่อบริโภคผลปฏิบัติบำรุงด้วยขั้นตอนการบำรุงไม้ผล จัดระยะห่างเหมือนส้มหรือมะนาว(ระยะปกติหรือระยะชิด)
    
                
    * ปลูกเพื่อบริโภคใบให้บำรุงแบบไม้ใบทั่วไป จัดระยะปลูกแบบระยะชิด 1 ตร.ว./1 ต้น เนื้อที่ 1 ไร่ปลูกได้ 400 ต้น
                
    * ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ ยิบซั่มธรรมชาติ กระดูกป่นที่ให้ทางรากดีมาก และ
ตอบสนองต่อฮอร์โมนธรรมชาติที่ให้ทางใบดีมาก....ไม่ควรให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสมทางใบเพราะจะรัดลูกทำให้ผลเล็กและอาจจะเรียกเชื้อรา (มีราโนส)เข้าต้นได้

    * ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือผสมต่างต้นต่างดอกได้

  
  * เป็นไม้ผลที่ใช้ผลเพื่อทั้งปรุงอาหารคาวและของหวาน  
          
    * การใช้มะกรูด (เพาะเมล็ด)เป็นตอเปลี่ยนยอดเป็นส้ม (เขียวหวาน – โชกุน)  เทคนิคนี้จะทำให้ต้นส้มที่มาเสียบให้ผลผลิตดีมากในช่วง 3-5 ปีแรก เมื่ออายุต้นมากขึ้น ส่วนตอมะกรูดจะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนลำต้นส้มที่นำมาเสียบ เรียกว่า “ตีนช้าง” และเมื่ออานยุต้นมากขึ้นอีก ส่วนตอ (มะกรูด)จะไม่ส่งสารอาหารไปเลี้ยงลำต้น (ส้ม)แต่จะพยายามแตกยอดของตัวเอง เมื่อส่วนลำต้นไม่ได้รับสารอาหารก็จะให้ผลผลิตลดลงเรื่อยๆ แล้วตายไปในที่สุด

    * มะกรูดเป็นพืชตระกูลส้มที่ต้องการแม็กเนเซียม.และสังกะสี.เป็นหลัก  การให้ฮอร์โมนน้ำดำ.เดือนละ 1 ครั้ง  จะช่วยบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
                   
      สายพันธุ์
               
      มะกรูดเปรี้ยวพันธุ์พื้นเมือง. มะกรูดหวาน (จืด).
                

      ขยายพันธุ์
               
      ตอน (ดีที่สุด). เพราะเมล็ด ไม่กลายพันธุ์แต่หนามมาก). เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด(ดีที่สุด).

  
    เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง                
      หมายเหตุ :
                
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
                
  
 - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - มะกรูดออกดอกจากซอกใบปลายยอดของกิ่งแตกใหม่อายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อสร้างใบใหม่ สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไปสำหรับเอาดอกผลในรุ่นปีถัดไป
    - ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่วภายในทรงพุ่ม  กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
    - ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้            
   
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี      
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
     - ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม. ความสูง 3-5 ม. กว้าง 3-4 ม. มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ
  
     ตัดแต่งราก :               
     - มะกรูดเป็นพืชรากลอยไม่ควรตัดแต่งรากแต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากโดยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลาย
ออก 1ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  


         
                
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะกรูดกินผล       

     1.เรียกใบอ่อน
               
       ทางใบ :    
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น 
     
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
       ทางราก :
               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
 
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
       หมายเหตุ :
                
     - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
               
     - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม 
               
     - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
               
     - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูกทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา
       

    2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก           
               
      ทางใบ :
           
    - ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
                
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
               
    - ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้ารุ่นปีที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
         
    - การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น
เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง   
          
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
 
                         

    3.ปรับ ซี/เอ็น เรโช     
                  
      ทางใบ :                 
                
    - ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอ/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ
 ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น  
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
      ทางราก :
               
    - เปิดหน้าดินโคนต้นโดยการนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
    - งดให้น้ำเด็ดขาด                  
      หมายเหตุ :
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม”  ปริมาณ ซี. (อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ เอ็น.(อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น)ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก
    - การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น  อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำทางราก  แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น 
    - เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดยการทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
                        

    4.เปิดตาดอก   
               
      ทางใบ :
               
      สูตร 1
.....น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
               
      สูตร 2.....น้ำ 100 ล.+ 0-52-34(200 กรัม)+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
  
    เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง                
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
    
    - ระหว่างสูตร 1 และ 2 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 3 โดยให้ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกันเพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อจนเปิดตาดอกไม่ออก
                
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
       

    5.บำรุงดอก   
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียก  ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
    - ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :
                
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึงช่วงดอกบาน
                
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
               
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
               
    - การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามาช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
               
    - ช่วงออกดอกต้องการน้ำสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอ
เพียงดอกจะแห้งและร่วง            

    6.บำรุงผลเล็ก
               
      ทางใบ : 
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.
+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม  
               
    - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
   - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :               
               
    - เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง  หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
        
    - ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ช่วยบำรุงขั้วเหนียว และเตรียมผลให้พร้อมก่อนเป็นผลใหญ่คุณภาพดี
       

   7. บำรุงผลกลาง    
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้ น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
  
  - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :
               
    - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่ม 1 รอบ จะช่วยบำรุงเมล็ดให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้น
       
   
- ถ้าติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ. แคลเซียม โบรอน.1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น      

   8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว   
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-0-50(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน             
      ทางราก :
               
    - เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรีย์วัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน            
    
    - การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
                 


                 
               
การปฏิบัติบำรุงต่อมะกรูดกินใบ      

      1.เรียกใบอ่อน
               
        ทางใบ :    
               
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน
10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน  ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น   
      - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน  
               
        ทางราก :
               
      - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
               
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
        หมายเหตุ :
               
      - เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
               
      - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม 
               
      - ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้แตกรากใหม่เร็วและดี
               
      - รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้  ถ้าใบอ่อนชุดจะทำให้เสียราคา
               
      - ปุ๋ยคอกที่เหมาะสำหรับมะกรูดตัดใบ คือ  มูลวัวไล่ทุ่ง 
      

    2. บำรุงใบอ่อน - ใบแก่
               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ 100 + 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
       ทางราก :
               
     - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
       หมายเหตุ :
               
     - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
     - การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเก็บเกี่ยว (ตัดใบ) ให้เร็วขึ้น และเพื่อให้รอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช
                
       หมายเหตุ :
               
     - ปลูกระยะชิด  4 X 4 ม. หรือ  1 ตร.ว./1 ต้น  เนื้อที่  1 ไร่ได้ 400 ต้น
     
- บำรุงระยะต้นเล็กให้จัดเปล้าสูงตรง  หรือให้กิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. เมื่อต้นโตขึ้นให้จัดระเบียบกิ่งประธานให้มีต้นละ 4-5 กิ่ง กระจายรอบทิศทาง ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) ให้สูง 2-2.5 ม.เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน    
     - ระยะต้นโตให้ผลผลิต (ตัดใบ)แล้วตัดกิ่งประธานให้สั้นเหลือความยาว 30-50 ซม. จากลำต้น (เรียกว่า โจรแขนด้วน)แล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนตามปกติจะมียอดใหม่แตกออกมาจากตาตามกิ่งแขนด้วน ให้เลี้ยงยอดที่แตกออกมาใหม่ต่อกระทั่งเป็นกิ่งโตเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะมีความยาว 30-50 ซม. ถึงจังหวะนี้ระยะห่างระหว่างต้นจะเริ่มชิดกันก็ให้ตัดกิ่งพร้อมใบ (เก็บเกี่ยว) ชิดกิ่งประธานอีกครั้ง       
       หลังจาก ตัดกิ่งแล้วระยะห่างระหว่างต้นที่ชิดกันก็จะห่างเหมือนเดิมอีก....ตัด (เก็บเกี่ยว)แล้วบำรุงต้นเรียกใบอ่อนจากนั้นบำรุงให้เป็นใบแก่จนเก็บเกี่ยวได้ ทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
 
     - การจัดแปลงแบบแบ่งพื้นที่ (โซน) แล้ววางแผน  “ตัดแต่งกิ่ง-บำรุงเรียกใบอ่อน-เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่..” ให้เป็นวงรอบๆละ 1-1 เดือนครึ่ง ก็จะทำให้มีใบมะกรูดให้ตัดได้ตลอดปี
        







หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©