เส้นใยอาหารในผลมะเดื่อฝรั่ง
ปัจจุบัน “มะเดื่อฝรั่ง” จัดเป็นผลไม้แปลกและหายากที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ปลูกในสภาพพื้นที่ราบและมีอากาศร้อน มีร้านอาหารหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้สั่งซื้อผลมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกในจังหวัดพิจิตรไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด
โดยเฉพาะนำไปทำเป็นสลัด มีการสั่งซื้อจนผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่สามารถปลูกในพื้นที่ราบอากาศร้อนและให้ผลผลิตและคุณภาพดี ได้แก่ พันธุ์ญี่ปุ่น, พันธุ์บราวน์ตุรกี, พันธุ์ออสเตรเลีย ฯลฯ
คุณพิลาณี ไวถนอมสัตย์ สถาบัน ค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวว่า ทางสถาบันได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับเส้นใยอาหารและเอนไซม์ฟิซินในผลมะเดื่อฝรั่งจากมูลนิธิโครงการหลวง หลายคนยังไม่ทราบว่าเอนไซม์ฟิซินเป็นเอนไซม์ย่อยอาหารประเภทโปรตีนที่พบในผลมะเดื่อฝรั่งเท่านั้น เอนไซม์ชนิดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ในอุตสาหกรรมเบียร์เพื่อช่วยทำให้เบียร์ทนต่อความเย็นและไม่ทำให้เกิดความขุ่น ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จะทำให้เนื้อนุ่มและเคี้ยวได้ง่ายขึ้น
สำหรับมนุษย์แล้วเอนไซม์ฟิซินจะช่วยระบบการย่อยอาหารประเภทโปรตีน มีรายงานว่า ในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นำเอนไซม์ฟิซินในรูปของยางมะเดื่อฝรั่งไปใช้เป็นยาขับหนอนพยาธิแทนการใช้ตัวยาสังเคราะห์ ทางด้านเภสัชกรรมพบว่า เอนไซม์ฟิซินช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยา ช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้ จากงานทดลองของสถาบันยังได้ศึกษาปริมาณของเอนไซม์ฟิซินและสารประกอบเพคติน ในผลมะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีว่าควรบริโภคช่วงเวลาใดจะได้รับปริมาณของสารดังกล่าวมากที่สุด พบ ว่าผลห่ามจะมีปริมาณของสารดังกล่าวสูงกว่า ดังนั้นถ้าบริโภค ผลมะเดื่อฝรั่งที่สุก งอมจะได้เอนไซม์ลดน้อยลง
ในเรื่องของการปลูกและการบำรุงรักษานั้น มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นไม้ผลที่มีอายุยืนยาว จากรายงานพบว่า ในบางประเทศมีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี หลักการสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรประสบ ความสำเร็จในการปลูกมะเดื่อฝรั่งก็คือ คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับบ้าน เราและควรปลูกในสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุสูงและดินมีการระบายน้ำที่ดี การตัดแต่งกิ่งจำเป็นจะต้องตัดแต่งเป็นประจำ ทุกปี
มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นผลไม้ที่มีคุณ ค่าทางอาหารสูง มีเส้นใยอาหารในรูปของสารประกอบเพคตินที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย นอกจากนั้นยังมีเอนไซม์ฟิซินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายและเอนไซม์ ชนิดนี้จะพบในผลมะเดื่อฝรั่งเท่านั้น.
ทวีศักดิ์ ชัยเรือยศ
http://www.dailynews.co.th/web/index.cfm?page=content&categoryID=482&contentID=86284
'มะเดื่อฝรั่ง' ผลผลิตจากโครงการหลวง

มะเดื่อฝรั่ง ดั้งเดิมนั้นอยู่ทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนการปลูกที่เป็นการค้าของโลกอยู่ในแถบลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน ตุรกี และกรีซ บางพันธุ์สามารถปลูกได้ในแคลิฟอร์เนียทางใต้ และพื้นที่แห้งแล้งของประเทศสหรัฐอเมริกา และพบว่ามีการผลิตแหล่งใหม่ได้แก่แอฟริกาใต้ มาดากัสกา อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย อีกด้วย
ประเทศไทยนับว่าเป็นถิ่นของพืชในตระกูลมะเดื่ออยู่มากมายหลายชนิด พบได้มากถึงประมาณ 80-90 ชนิด บางชนิดนำมาใช้บริโภคได้ บางชนิดก็ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ หรือมักมีแมลงเข้าไปวางไข่และเจริญเป็นตัวหนอนอยู่ภายในผล ที่รู้จักกันทั่วไปมีชื่อว่า มะเดื่อป่า และมะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) คนไทยส่วนใหญ่ที่ไปต่างประเทศอาจเคยได้รับประทานแบบผลสด ผลแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันมีการนำเข้าผลมะเดื่อฝรั่งอบแห้งและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนผู้สูงอายุ
มูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและศึกษาวิจัยมา เกือบ 25 ปี มีหลายสายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่โครงการหลวงได้แก่ พันธุ์บราวน์ตุรกี (Brown Turkey) ผลมีขนาดใหญ่ รับประทานสด ผลผลิตชุดแรกมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ผลชุดหลังมีขนาดเล็กกว่า เนื้อผลสีชมพูอ่อน ๆ พันธุ์โดฟิน (Dauphine) ใช้บริโภคผลสด ทนทานต่อการขนส่ง ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ผิวเป็นมัน ในสภาพกลางแจ้งผิวสีม่วงเข้มและในร่มสีม่วงออกเขียว เนื้อหนา คุณภาพดี ผลรุ่นสองมีขนาดปานกลาง พันธุ์คาโดตา (Kadota) ผิวผลมีความเหนียวและสีเหลืองเขียว ผลผลิตชุดแรกมีรสชาติที่ดีกว่า เป็นพันธุ์ที่ใช้ในการอบแห้งและแปรรูป ต้นมีความแข็งแรง ปกติไม่มีเมล็ด
มะเดื่อฝรั่งเป็นไม้ผลที่มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายสิบปี ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิตมะเดื่อประมาณ 90% ในโลก จะถูกแปรรูปแบบผลไม้แห้ง และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยปล่อยให้ผลสุกเต็มที่ และหล่นลงบนพื้นที่แห้ง ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาจะใช้การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร นอกนั้นจะใช้รับประทานเป็นผลไม้สดโดยการเก็บเกี่ยวจากต้น มีปริมาณน้อยมากที่บรรจุลงในกระป๋องหรือทำการแปรรูป

ในด้านของคุณค่าทางอาหาร มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าอาหารสูง ให้เส้นใยที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อช่วยสร้างสมดุลความเป็นกรด-ด่าง ในร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าภายในผลมีโปรตีน เอ็นไซม์ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และปริมาณก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ผลสด ของ Kadota น้ำหนัก 100 กรัม มีแคลเซียม 32 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นหลายชนิด ผลมะเดื่อหรือสารสกัดที่ได้จากผลได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ในรูปของสารยับยั้งเซลล์มะเร็ง จึงจัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง
อนาคตมะเดื่อฝรั่งสำหรับประเทศไทย จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อม การทำเกษตรบนพื้นที่สูงในโลกปัจจุบันต้องคำนึงถึงผลกระทบและการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึง มือผู้บริโภค นอกจากนี้ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ยิ่งทำให้ต้องค้นหาพันธุ์พืชที่มีความเป็นไปได้ และได้รับความนิยมตามกระแสผู้บริโภคให้มากขึ้น ดังนั้นมะเดื่อฝรั่งซึ่งเป็นพืชที่ไม่ต้องการความหนาวเย็นมากนัก สามารถปลูกในระดับความสูง 600-800 เมตรจากน้ำทะเลได้ เป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งสดและแห้ง จึงคาดว่าน่าจะเป็นไม้ผลทางเลือกเสริมรายได้อีกชนิดหนึ่งสำหรับการเกษตรบน พื้นที่สูง
สำหรับในปีนี้มูลนิธิโครงการหลวง ได้ขยายพื้นที่ปลูกมะเดื่อฝรั่งและมีผลผลิตในปริมาณกว่า 1,500 กิโลกรัม วางจำหน่ายในร้านโครงการหลวงสาขาต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และต่างจังหวัด ผู้ที่ต้องการลิ้มลองผลไม้นอกที่สามารถปลูกในประเทศไทยและเป็นผลไม้ที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถนำไปเป็นของฝากแก่ผู้สูงอายุ สามารถติดต่อ สั่งซื้อโดยตรงได้ที่ งานขาย โครงการหลวง กรุงเทพฯ โทร. 0-2942-8656-9 หรืองานขาย โครงการหลวงเชียงใหม่ โทร. 0-5321-1656.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=24262
การปรับปรุงพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง
ถ้าเอ่ยถึง Fig ส่วนใหญ่ต้องนึกถึงแบบอบแห้งที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตก่อนเลย น้อยคนที่จะนึกถึง Fig หรือ มะเดื่อฝรั่งแบบสด ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วอร่อยมาก
เห็นจากข่าวตามหนังสือพิมพ์ เข้าใจว่ามีคนนำมาปลูกในประเทศไทยกันหลายรายแล้ว ส่วนของโครงการหลวงเริ่มทดลองปลูกมะเดื่อฝรั่งครั้งแรกในโครงการ Exotic fruit ตั้งแต่ปี 2524 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ เมื่อได้ผล จึงเริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรกรชาวเขา โดยปัจจุบันปลูกอยู่หลายพันธุ์ เช่น Brown turkey (ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดในโลก และเข้าใจว่าปลูกมากที่สุดในโครงการหลวงด้วย), Celesta, Kadota, Conadria, Dauphin และ Hourai ดังนั้นจึงมีจำหน่ายตั้งแต่ผลสีเขียว สีแดงม่วง ถึงสีแดงน้ำตาล
สำหรับของโครงการหลวงเน้นขายเพื่อให้บริโภคสด ยังไม่ได้เอาไปทำแห้งขาย เพราะเสียดายของ (ต้องลองกินแบบสด แล้วจะรู้ว่าทำไมบอกว่าเสียดายของ) ผลสดมีรสชาติหวานฉ่ำ เมล็ดกรุบคล้ายเมล็ดสตรอเบอรี่ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เปลือกบาง ทานได้ทั้งเปลือกเมื่อผลสุก ผลมะเดื่อฝรั่งสุกจะค่อนข้างนิ่ม เวลาเก็บจากต้นเพื่อนำมาขายจะเก็บแบบเริ่มนิ่ม หรือสุกแล้ว ซึ่งแปลว่าต้องรีบขาย รีบซื้อ และซื้อแล้วรีบทาน เก็บไว้นานไม่ดี
มะเดื่อฝรั่งมีคุณค่าอาหารสูงสุดใน 10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีในโลก มีแคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน บี1 บี2 และวิตามินซี
ฤดูกาลของผลมะเดื่อฝรั่ง จะมีขายเรื่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ เกือบตลอดปี แต่จะมีขายจริงจังในเดือนสิงหาคม – กันยายน
http://www.d-aroi.com/fruit/fig-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87/
มะเดื่อฝรั่ง ในเมืองไทย
ผลไม้ชนิดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้จัก เคยได้ยินชื่อแต่ไม่เคยเห็นของจริง ผลไม้ชนิดนี้ก็คือ มะเดื่อ ครับ มะเดื่อของไทยที่เรารู้จักมานานแล้วนั้น เป็นลูกเล็ก ๆ และมักมีแมลงไปวางไข่ในผลมะเดื่อ แต่มะเดื่อที่ผมจะกล่าวถึงในที่นี้คือ มะเดื่อฝรั่ง ครับ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักกันดีครับ
เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพของคนเรา
มะเดื่อฝรั่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus casica Linn อยู่ในวงศ์ Moraceae มะเดื่อฝรั่งหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฟิก (Figs) เป็นพืชกึ่งร้อนตระกูลเดียวกับพวกหม่อน เป็นผลไม้ที่รู้จักกันดีเป็นเวลานานแล้วในแถบยุโรป ประเทศตุรกี กรีซ อิตาลี สเปน มักนิยมปลูกทางตะวันตกของทวีปเอเชีย และถ้าปลูกเป็นการค้าจะปลูกในที่ราบลุ่มนํ้าแถบเมดิเตอเรเนียน และยังเป็นที่นิยมกันในประเทศอินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ใบเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างหนา ขอบใบหยัก 3 – 5 หยักหรือตรงผิวใบด้านบนหยาบ เป็นพืชที่ชอบแสงแดดตลอดวัน ไม่ชอบร่มเงา
ผลสุกจะมีลักษณะกรอบ เนื้อในสีเหลืองเข้ม น่ารับประทานมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก กรุบกรอบ รับประทานได้ทั้งผล ในประเทศไทย มีการนำมะเดื่อฝรั่งมาปลูก เมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว โดยความร่วมมือกันระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิโครงการหลวง เป็นการปลูกมะเดื่อฝรั่ง เพื่อต้องการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับราษฎรที่เป็นชาวไทยภูเขา ใน พ.ศ. 2547 ได้นำพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 5 สายพันธุ์เข้ามาปลูก คือ พันธุ์ดาโกต้า ลิซ่า ซูก้า ครอฟินล์ และ พันธุ์บราวน์เทอร์กี่ โดยนำมาปลูกขยายพันธุ์ที่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่ และใน ปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการศึกษาวิจัยทดสอบการปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตที่แปลงวิจัยสถานีเกษตรหลวงปางดะ ดร.ณรงค์ พิพัฒนวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบว่าการปลูกในโรงเรือนให้ผลดีกว่าการปลูกนอกโรงเรือน เนื่องจากการปลูกนอกโรงเรือนจะมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากและเสี่ยงต่อโรคพืช และแมลงศัตรูพืช
มะเดื่อฝรั่ง จัดอยู่ในสิบอันดับแรกของผลไม้สุขภาพ เป็นพืชที่อุดมด้วยวิตามิน และเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น วิตามิน เอ วิตามินบี1 วิตามิน บี 2 วิตามินซี มีธาตุแคลเซียม โพแตสเซียม ฟอสฟอรัส และมีธาตุเหล็กสูงมาก ไม่มีไขมัน ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังมี 2