-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 586 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะตูม





                   มะตูม

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดปานกลางอายุหลายสิบปี  ทรงพุ่มโปร่ง  ไม่ผลัดใบ  เจริญเติบโต
ได้ดีในพื้นที่แห้งแล้งโดยเฉพาะในนาหรือบริเวณลาดเชิงเขา ชอบดินลูกรัง สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่
ทุกภาค และทุกฤดูกาล ช่วงพัฒนาต้นต้องการน้ำตามปกติแต่ช่วงก่อนออกดอกต้องการความแห้งแล้ง
ปีใดได้รับน้ำอย่างเพียงพอและได้รับความแห้งแล้งอย่างสูงปีนั้นจะออกดอกติดผลดกดีมาก
    * ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งดีมาก ช่วงพักต้นต้องการแล้งจัดๆ  แต่ช่วงออกดอกติดผลต้อง
การน้ำสม่ำเสมอ
               
    * เป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกหอม  กลิ่นหอมไปได้ระยะไกลมากจึงเหมาะที่ปลูกเป็นไม้ประดับใน
สวนอีกชนิดหนึ่ง
               
    * เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอควรบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.โดย
การฝังซากสัตว์ (หอยเชอรี่  ปลา) ที่ชายพุ่ม 1-2 ปี/ครั้ง 
               
    * ออกดอกติดผลที่ซอกใบปลายกิ่งแก่บริเวณชายพุ่ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมกันเอง หรือ
ต่างดอกในต้นเดียวกันหรือต่างต้นได้
               
    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสาร
อาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนา
เป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
               
    * ให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยบำรุงผนังเซลล์เปลือกแข็งแน่นทำให้เชื้อราเข้า
ไปทำลายเนื้อภายในผลไม่ได้
                

      สายพันธุ์
               
    - พันธุ์ผลกลม.   พันธุ์ผลกลมยาวรี.  มะตูมยักษ์ (ผลใหญ่ 1-1.5 กก).  มะตูม
ไข่ (เปลือกนิ่ม).
                

      การขยายพันธุ์
               
      ตอน (ดีที่สุด).  เพาะเมล็ด (กลาย-ไม่กลายพันธุ์เท่ากัน).  ทาบกิ่ง.  ชำ. 
เสียบยอด.
                

      ระยะปลูก
                
    - ระยะปกติ     4 X 6 ม. หรือ  6 X 6 ม.
               
    - ระยะชิดพิเศษ  2 X 3 ม. หรือ  2 X 2 ม.
                

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      หมายเหตุ :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
        
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่   การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่
ระบาดของเชื้อราได้  
                
    
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
                

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
                
               
    - ธรรมชาติมะตูมจะทิ้งกิ่งเอง  แต่การช่วยตัดแต่งบ้างจะทำให้ต้นมีความมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่ง
ไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
    - นิสัยมะตูมมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง  ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบ
อ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่า
การตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุง
ตามปกติต่อไปก่อน  จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
               
      ตัดแต่งราก :
                 
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหา
อาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4
ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  


             
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะตูม      

    1.เรียกใบอ่อน
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง +
จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่น
พอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
               
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งราก
                 
    - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่น
ซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลาย
อย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การ
เปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นและเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่
พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียก
ใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
               
    - มะตูมต้องการใบอ่อน 2 ชุด  ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอ
ต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบ
ชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลัง
จากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ       
       

     2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบ
ละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
       ทางราก :
               
       ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน  
               
       หมายเหตุ :
               
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อน
ชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
     - มะตูมต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กาง
แล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม.
นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย 
      

     3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
               
       ทางใบ :   
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน 1-2 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
        
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
                
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
                
    
- วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้าง
ใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบ
อ่อนออกมาอีก  ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบ
แก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
               
    - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-
200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น...ใช้
มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วง
บำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
                
    - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้ง
เรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่ว
ทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและ
ค่อนข้าง
ต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อน
ชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้
วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอ
        

    4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
                
      ทางใบ :
                
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250ซีซี.1-2 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ   ระวังอย่าให้ลงพื้น
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :
                
      งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น 
                
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
    
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมี
อาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1
รอบโดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
  
  - วัตถุประสงค์เพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ  “ลด”
ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)  
       

    5.เปิดตาดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย หรือ 0-52-34 สูตรใดสูตรหนึ่ง(1 กก.)
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์
โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250
ซีซี. อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
                
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว 
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
    - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24  (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็
ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ
ซี/เอ็น เรโช. 
                 
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
       

     6.บำรุงดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็น
เอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ
5-7 วัน
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.   
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
               
      หมายเหตุ :
               
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม 
บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม
การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก
และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล                  
               
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสม
ติดดี
               
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม
เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนของดอก การฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงหรือทั่วทรงพุ่มพอเปียกก็ได้
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอก
ออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุ
อาหารอื่นๆก็ได้
               
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วง
ดอกบาน
                
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)
เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วง
หลังค่ำ
               
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลา
บำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมาก
เกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งใน
แปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วย
ลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
      

    7.บำรุงผลเล็ก
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของ
ครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
               
    - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
       

    8.บำรุงผลกลาง
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโต
ซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250
ซีซี. ทุก 7-10 วัน
ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
เดือน
   
 - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :
                                
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ดสร้างเนื้อ)
    - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน.1-2 รอบ ตลอดระยะผล
กลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
     

    9.บำรุงผลแก่
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม) หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
    - ให้น้ำ 1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
    - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น  หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้น
มักโทรมต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการ
บำรุงใหม่  
               
    - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอย
ออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม   
         






             *************************************
  









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (3055 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©