มะยม
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค ทุกฤดูกาล เจริญเติบโต
ได้ดีในดินทุกประเภทแต่ชอบดินดำร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ชอบความชื้นสูง
ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
* ต้นตัวผู้ในดอกมีแต่เกสรตัวผู้ไม่ติดผล ส่วนต้นตัวเมียมีดอกสมบูรณ์มีทั้งดอกตัวผู้และดอก
ตัวเมียผสมกันเองติดเป็นผลได้
* ต้นที่เกิดจากกิ่งตอนจะออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ส่วนต้นที่เกิดจากเพาะเมล็ด
จะให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น
* ให้ผลผลิตอายุต้น 2-2 ปีหลังปลูก
* ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น
สายพันธุ์
มะยมเปรี้ยว. มะยมหวานหรือมะยมจืด (มีทั้งพันธุ์ผลเล็กและพันธุ์ผลใหญ่) . และ
มะยมแดง.
การขยายพันธุ์
ตอน (ดีที่สุด). ชำ. เสียบยอด. เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์/มีรากแก้วทำให้ได้ต้นสูง
ใหญ่)
ระยะปลูก
- ระยะห่างปกติ 4 X 6 ม. หรือ 6 X 6 ม.
- ระยะชิดพิเศษ 2 X 3 ม. หรือ 2 X 4 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่ง
ไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- ตัดทิ้งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- นิสัยการออกดอกของมะยมไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้น
หน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่ง
ในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไป
ก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
- ต้นที่มีกิ่งมากใบมาก (เฝือใบ) จะมีผลน้อย ส่วนต้นที่มีกิ่งน้อยใบน้อยแต่เป็นใบที่สมบูรณ์
แสงแดดผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้ทั่วถึงจะมีดอกผลมากแม้แต่กิ่งในทรงพุ่มก็ออกดอกติดผลได้
ตัดแต่งราก :
- ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการ
หาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4
ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะยม
(ให้ได้ผลผลิตพร้อมกันรุ่นเดียวทั้งต้น)
1.เรียกใบอ่อน + สะสมอาหาร + เปิดตาดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0
(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 2-3 รอบห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ธรรมชาติของมะยมออกดอกติดผลที่ใต้กิ่งแก่และลำต้นเพราะมีตาอยู่ใต้เปลือก การรักษา
ผิวเปลือกให้สะอาดสดใสอยู่เสมอจึงเท่ากับเป็นการรักษาตาดอกซึ่งจะส่งผลให้ออกดอกได้มาก
- ต้นที่สมบูรณ์จากการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกเต็มที่แล้วจะทิ้งใบแก่เองโดยไม่ต้องงด
น้ำหรือปรับ ซี/เอ็น เรโช. เมื่อใบแก่ร่วงก็จะออกดอกใต้ท้องกิ่งบริเวณที่ใบร่วงนั้น
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
2.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็น
เอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบ
ละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม
บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม
แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็
จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์
ผสมติดดี
- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะ
สมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้
ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอก
ออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุ
อาหารอื่นๆก็ได้
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึง
ช่วงดอกบาน
- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลา
บำรุงให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมาก
เกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งใน
แปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอ
สามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
3.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10
วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง
4.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร
250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะ
ช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
5.บำรุงผลแก่
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บ
เกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อม
สำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
ปฏิบัติบำรุงมะยมแบบให้มีผลตลอดปี
หลักการและเหตุผล :
ธรรมชาติของมะยมออกดอกติผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นตราบใดที่ต้นสมบูรณ์เนื่องมาจากได้รับ
สารอาหารตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายๆไป
หลังจากตัดแต่งกิ่งเพื่อปรับปรุงทรงพุ่มหรือเพื่อเรียกใบอ่อนชุดใหม่แล้วสามารถเข้าสู่ขั้นตอน
การบำรุงระยะต้นให้ผลผลิตแล้วได้เลย
1.ระยะยังไม่ให้ผลผลิต
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 15-20 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(100-200 กรัม)/ต้น/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- ให้ทั้งทางใบและทางรากหลังตัดแต่งกิ่งและแตกใบอ่อนแล้ว 2-3 ชุด
2.ระยะให้ผลผลิตแล้ว
ทางใบ :
ในรอบ 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 1 ครั้ง กับให้ฮอร์โมนไข่ 3 ครั้ง
ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(1/2 กก) 2 รอบ สลับกับ 8-24-24(1/2 กก.) 1 รอบ/ต้น
ทรงพุ่ม 3-5 ม./ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./3 เดือน โดยละลายน้ำรดโคนต้น
บริเวณชายพุ่ม
- ให้ไคโตซาน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงผลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
************************
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.