หน้า: 1/4
มะละกอ
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทุกภาคและในดินทุกชนิด เจริญเติบโต
ได้ดีในดินดำร่วนหรือดินเหนียวปนทรายมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำได้ดีมีความชื้นแต่ไม่ทนต่อสภาพ
น้ำท่วมขังค้างนาน
* การที่มะละกอมีอายุเพียง 3-5 ปีหรือกลายเป็นพืชอายุข้ามปีเท่านั้น เนื่องมาจากการจัดการ
เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-อาหาร-พันธุ์-โรค) ไม่ถูก
ต้องตรงกับความต้องการตามธรรมชาติที่แท้จริงของมะละกอ
* ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น แต่จะให้ผลผลิตมากปีละ 3 รุ่น
* ออกดอกจากซอกก้านใบทุกก้าน ถ้ามีใบมาก (ไม่เรียกว่าเฝือใบ) จะมีดอกและผลมากตาม
มาด้วย
* ตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำ-ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและฮอร์โมนธรรมชาติดีมาก
* ต้องการมะละกอต้นเตี้ยให้ปลูกต้นกล้าลงแปลงจริงช่วงเดือน ธ.ค.– มี.ค.(หน้าแล้ง)แล้ว
รดน้ำบ้างพอให้ยืนต้นได้ซึ่งต้นจะไม่ตายแต่โตช้ากว่าปกติเท่านั้น ครั้นเมื่อถึงอายุให้ผลผลิตได้ก็จะออก
ดอกติดผลตามปกติแต่ต้นจะเตี้ย
* ต้นกระเทย : คือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียว
กัน และผสมกันเองได้ ผลที่เกิดมาตรงตามสายพันธุ์เดิม
* ต้นตัวผู้ : คือต้นที่ดอกมีแต่เกสรตัวผู้ ไม่สามารถเป็นผลได้
* ต้นตัวเมีย : คือต้นที่ดอกมีแต่เกสรตัวเมีย ต้องอาศัยละอองเกสรตัวผู้จากต่างต้น จึงทำให้
ผลที่ออกมาผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม
* ต้นที่ปลูกจากเพาะเมล็ดต้องรอให้ต้นโตจนมีผลผลิตออกมาให้เห็น (ประมาณ 6-8 เดือน)
จึงจะรู้ว่าเป็นต้นกระเทย. ต้นตัวผู้ หรือต้นตัวเมีย ซึ่งค่อนข้างใช้เวลานาน บางคนแก้ปัญหาโดย
หยอดเมล็ดหลุมละ 3 เมล็ด หรือปลูกต้นกล้าหลุมละ 3 ต้น แล้วบำรุงเลี้ยงไปตามปกติ จนกระทั่ง
ทุกต้นมีดอกหรือผลออกมาให้เห็นจึงเลือกตัดต้นตัวผู้และต้นตัวเมียทิ้ง คงเหลือแต่ต้นกระเทยไว้
เพียงต้นเดียว แต่ถ้าเป็นต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ทั้งหมดก็ตัดทิ้งทั้งหมด หรือถ้าเป็นต้นกระเทยทั้ง
หมดก็จะเก็บไว้เพียงต้นเดียว
* สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างมาก เช่น หนาวจัด ร้อนจัด มีผลต่อการแปรปรวนของ
เพศดอก โดยต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียอาจจะให้ผลผิดเพี้ยนไปบ้าง เมื่อเข้าสู่สภาพอากาศปกติแล้วอาการ
แปรปรวนทางสายพันธุ์นี้จะหายไป ส่วนต้นกระเทยจะไม่มีอาการแปรปรวนทางสายพันธุ์แต่อย่างใด
เพียงแต่ปริมาณผลผลิตอาจจะลดลงบ้างเท่านั้น
* วิธีทำมะละกอ 1 ต้นให้เป็น 3 ต้น โดยเริ่มจากปลูกต้นแรกก่อนรอจนกระทั่งรู้แน่ว่าเป็น
ต้นกระเทย เมื่อมะละกอกระเทยต้นแรกนี้โตขึ้นสูง 1-1.20 ม. ให้ตัดต้นเหลือเป็นตอสูงจากพื้น
30-50 ซม. ทาแผลด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค มีถุงพลาสติกครอบไว้ป้องกันน้ำ แล้วบำรุง
ต่อไปตามปกติ ตอจะยอดแตกใหม่จำนวนมากก็ให้เลือกเก็บไว้ 2-3 ยอดอยู่ตรงข้ามกัน ยอดที่เหลือ
ทั้งหมดให้ตัดทิ้ง จากนั้นบำรุงต่อไปตามปกติ เมื่อยอดทั้ง 3 โตขึ้นก็จะให้ผลผลิตเหมือนมะละกอ
ทั่วๆไปกลายเป็นมะลำกอ 3 ต้นบนตอเดียวกัน
* มะละกออ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) อย่างมาก เพียงกลิ่นระเหยลอยตามลม
ก็ทำให้มะละกอต้นนั้นเกิดอาการใบหงิกเสียหายได้
* มะละกอไม่ชอบดินแฉะ หรือรากแช่น้ำ แนะนำให้ทำร่องระบายน้ำจากทรงพุ่มพร้อมกับ
พูนดินโคนต้นให้สูงๆไว้ จะช่วยให้อายุยืนนานขึ้น
* โรคใบหงิกหรือใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงปากกัดปากดูดทุกประเภทเป็นพาหะ
ปัจจุบันไม่มีสารเคมียี่ห้อใดในโลกแก้ไขโรคนี้ได้ แนวทางแก้ไข คือ 1) ป้องกันแมลงพาหะ
โดยการฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ตรงกับชนิดแมลงและช่วงจังหวะที่แมลงนั้นจะเข้ามา 2) บำรุง
ต้นให้สมบูรณ์ด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม อยู่เสมอ
* ไม่ควรปลูกพืชที่ล่อแหลมต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ย (ทุกชนิด) แซมแทรกหรือใกล้
เคียงกับแปลงปลูกมะละกอ เพราะเพลี้ยจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่มะละกอได้
* ลงมือเพาะเมล็ดมะละกอช่วงเดือน ม.ค. แล้วย้ายกล้าลงปลูกในแปลงจริงช่วงเดือน มี.
ค. จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตชุดแรกได้ในช่วงเดือน ต.ค. ช่วงนี้มะละกอราคาดีเนื่องจากไม่มีผลไม้
อื่นเป็นคู่แข่ง
* การเก็บเกี่ยวผลแก่จัดตรงกับช่วงฤดูหนาวที่อากาศค่อนข้างหนาว เมื่อผลนั้นสุกความหวาน
จะลดลง ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวสำหรับรับประทานผลสุกในช่วงฤดูแล้งจึงจะได้ความหวานสูง
สายพันธุ์
พันธุ์รับประทานผลสุก : แขกดำศรีสะเกษ. แขกดำท่าพระ. แก้มแหม่ม.
โกโก้ก้านดำ. เรดเลดี้. ฮาวายหรือไซโล. ซันไรท์.
ปากช่อง-1. แขกนวล แขกหลอด. พีเอ เนื้อแดง.
พีเอ เนื้อเหลือง.
พันธุ์รับประทานผลดิบ : พื้นเมือง. สายน้ำผึ้ง. วัดเพลง.
การขยายพันธุ์
ตอน :
- ใช้มีดคมๆเฉือนกิ่งเฉียง 45 องศาขึ้นไปทางยอด ลึก 1 ใน 3 ของความกว้างของบริเวณ
ที่จะตอน ใช้ใบไม้หรือกระดาษคั่นระหว่างแผล ทิ้งไว้จนหมดยาง หุ้มด้วยตุ้มตอนขุยมะพร้าวธรรมดาๆ
ประมาณ20-30 วันเริ่มออก เมื่อเห็นว่าออกรากดีแล้วให้ตัดลงมาอนุบาลในถุงดำต่อ จนกระทั่ง
ต้นแข็งแรงดีจึงลงปลูกในแปลงจริง
- ต้นมะละกอที่ลำต้นสูงมากๆให้ตอนที่คอจากยอดลงมา 50-80 ซม.ด้วยวิธีการเดียวกัน
เมื่อนำลงปลูกและรากเดินดีจะออกดอกติดผลทันที นอกจากนี้ยังได้มะละกอต้นเตี้ยสายพันธุ์เดิมอีก
ด้วย
- ต้นกระเทยพันธุ์ดีให้ตัดตอ บำรุงเรียกยอด เมื่อยอดโตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วแล้ว
ให้ตอนจากยอดที่แตกใหม่นั้นด้วยวิธีการตอนแบบเดียวกัน ก็จะทำให้ได้ต้นพันธุ์เดิมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
เสียบยอด :
1. ตัดตอต้นกระเทย บำรุงเรียกยอด
2. ตัดตอต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย บำรุงเรียกยอด เมื่อยอดโตประมาณ 1 ซม.ให้ตัดยอด
ทำง่ามหนังสติ๊ก แล้วตัดยอดจากต้นกระเทยทำเป็นลิ่มมาเสียบลงบนง่ามหนังสติ๊กของต้นตัวผู้หรือตัว
เมีย เสร็จแล้วรัดแผลด้วยเทปพลาสติกเหมือนการเสียบยอดไม้ผลทั่วๆไป เมื่อยอดโตที่เสียบขึ้น
จะให้ผลเหมือนต้นกระเทยเดิม
เพาะเมล็ด :
1. เลือกเมล็ดในผลจากต้นแม่ที่เป็นต้นกระเทย แข็งแรง ตั้งตรง อวบอ้วน ปล้องถี่ ออกดอก
ติดผลตั้งแต่ต้นยังเตี้ย และให้ผลผลิตจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆ คุณภาพผลดี
2. เลือกผลสุก 50-75 เปอร์เซ็นต์คาต้น ผ่าผลนำเมล็ดออกมาแล้วล้างเนื้อและเปลือกหุ้ม
เมล็ดออก แช่เมล็ดในไคตินไคโตซาน.หรือธาตุรอง/ธาตุเสริม. 6-12 ชม. นำลงเพาะใน
กระบะหรือถุงดำหรือในแปลงปลูกจริงทันที ทั้งนี้เมล็ดมะละกอไม่ต้องการพักตัว ถ้าเก็บไว้นาน
เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงจนไม่งอกหรืองอกขึ้นมาจนโตแล้วก็จะให้ผลผลิตไม่ดี.......เมล็ดที่
ได้จากผลสุกงอมเมื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อจะเกิดอาการกลายพันธุ์สูงมาก
สร้างเมล็ดพันธุ์ :
1. คัดเลือกต้นแม่พันธุ์กระเทยที่มีคุณสมบัติดีพร้อมทุกประการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนเพื่อให้
ได้ผลคุณภาพดี
2. เลือกดอกสมบูรณ์ที่สุดของต้น 1-2 ดอกอยู่ตรงข้ามกัน ช่วงใกล้บานให้ห่อดอกด้วยถุง
ใยสังเคราะห์ ปิดปากถุงให้มั่นคงเพื่อป้องกันการผสมข้ามและเพื่อเปิดโอกาสให้เกสรในดอกผสมกันเอง
3. เมื่อดอกที่ห่อด้วยถุงใยสังเคราะห์ผสมติดเป็นผลแล้ว และเมื่อขนาดผลโตเท่ามะนาวให้ถอด
ถุงออกแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ จนกระทั่งได้อายุผลเหมาะสมสำหรับเอาเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์จึง
เก็บผลนั้นมา
4. นำเมล็ดที่ได้ไปเพาะตามปกติ ต้นที่เกิดมาเมื่อโตขึ้นจะให้ผลผลิตตรงตามสายพันธุ์ต้นแม่
ค่อนข้างสูง หรืออาการกลายพันธุ์ค่อนข้างน้อย
ปักชำ :
1. ตัดต้นกระเทยตั้งแต่โคนถึงยอดออกเป็นท่อนๆ ยาว 10-15 ซม. มีตุ่มตาหลายๆตา ตัด
ท่อนพันธุ์ด้วยมีดคมจัดเพื่อให้แผลเรียบ ตัดเป็นท่อน แช่ไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม นาน
6-12 ชม.
2. แช่ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง ทาแผลด้วยปูนกินหมาก ทิ้งไว้ในร่มอากาศถ่าย
เทสะดวกนาน 24-48 ชม.เพื่อให้ท่อนพันธุ์เกิดความเครียด
3. นำท่อนพันธุ์ที่เครียดดีแล้วปักในวัสดุเพาะชำธรรมดา ให้ตุ่มตาฝังดินลึก 2-3 ตุ่ม คลุม
ทับด้วยเศษฟางบางๆ รดน้ำแบบพ่นฝอยวันละ 4-5 ครั้ง เมื่อท่อนพันธุ์แตกรากและใบแล้วจึง
แยกออกมาเพาะต่อในถุงดำ อนุบาลในโรงเรือนจนกระทั่งแข็งแรงดีจึงนำลงปลุกในแปลงจริงต่อไป
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบ
อ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่.....การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่
ระบาดของเชื้อราได้
- นิสัยมะละกอออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น การบำรุงด้วยกลูโคสหรือนมสัตว์สด 1-
2 เดือน/ครั้ง แม้ว่าจะช่วยให้ออกดอกติดผลและคุณภาพดี แต่การให้ต้องระวัง เพราะถ้าให้บ่อย
เกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 4 X 6 ม. หรือ 6 X 6 ม.
- ระยะชิด 4 X 4 ม. หรือ 4 X 3 ม.
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะละกอ
1. ระยะกล้า
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/เดือน/ไร่
- ให้น้ำเปล่าปกติ ทุก 2-3 วัน
2. ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1 ครั้งกับให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(400 กรัม)+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 สลับกับ 21-7-14 (250 กรัม)/เดือน/ไร่
- ให้น้ำเปล่าปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 2 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นเขียวสดสมบูรณ์
อยู่เสมอ และช่วยให้คุณภาพผลผลิตดีมาก
บำรุงแบบ "เหมาจ่าย"
ทางใบ :
- ในรอบ 1 เดือน (4 สัปดาห์) ให้ฮอร์โมนไข่ สูตรไต้หวัน 1 ครั้ง สลับด้วย ฮอร์โมน
น้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. อย่างละ 1 ครั้ง
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 สลับครั้งกับ 21-7-14(250 กรัม)/เดือน/ต้น