-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 514 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ละมุด




หน้า: 1/3


               ละมุด 

     
       ลักษณะทางธรรมชาติ

                        
     * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ชอบดินดำร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย แต่ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำมากและความชื้นสูง
                         
     * เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก   สภาพต้นสมบูรณ์เต็มที่ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายปีจะออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้
                         
     * อายุผลตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยว 7 เดือน และต้นอายุ 30 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2,500-3,000  ผล/ต้น/ปี                       

     * เตรียมสร้างทรงพุ่มให้สูง 2-3 ม. กว้าง 3-5 ม.ตั้งแต่อายุต้นยังน้อย โดยให้มีกิ่งประธาน 5-6 กิ่งชี้เพราะธรรมชาติของละมุดนั้น ต้นที่กิ่งประธานระนาบกับพื้น และกิ่งแขนงทำมุมกว้างกับกิ่งประธานจะส่งผลให้กิ่งย่อยออกดอกติดผลดกและดี.........การทำให้กิ่งประธานระนาบกับพื้นไม่จำเป็นต้องดัดหรือกระทำการใดๆ เพราะเมื่ออายุต้นมากขึ้นน้ำหนักกิ่งและผลจะถ่วงให้กิ่งเอนระนาบลงเอง                         

     *  มีระบบรากค่อนข้างยาว  การให้ปุ๋ยทางรากจึงต้องหว่านเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้เนื้อปุ๋ยถึงส่วนปลายรากอย่างทั่วถึง                       

     * ออกดอกจากข้อใบปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในปีนั้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน  ผสมกันเองหรือผสมข้ามดอกข้ามต้นได้
                        
     * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว                       

     * การพูนดินโคนต้นโดยเฉพาะเลนก้นร่องในสวนยกร่องน้ำหล่อ อย่าพูนหนาแต่ให้พูนบางๆ
                        
     * ช่วงพัฒนาผลเล็กถึงผลกลางต้นต้องการน้ำมาก  แต่ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวถ้าต้นยังได้รับน้ำมากอยู่เหมือนเดิมจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้นจึงต้องเตรียมการบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวแบบไม่ต้องงดน้ำหรือให้น้ำน้อยๆ เพราะช่วงที่มีผลหลายรุ่นในต้นแล้วงดน้ำเพื่อบำรุงผลแก่ บรรดาผลรุ่นหลังจะชะงักการเจริญเติบโต  กรณีนี้ให้ใส่ปุ๋ยทางรากด้วยสูตร 8-24-24  คู่กับให้ทางใบด้วย  0-0-50 หรือ 0-21-74  (สูตรใดสูตรหนึ่ง) สลับกับมูลค้างคาวสกัด (ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด) อย่างละ  1 รอบก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน พร้อมกับให้น้ำพอหน้าดินชื้น  ไม่มากไม่น้อยจนเกินไปก็จะช่วยบำรุงทั้งผลแก่ใกล้เก็บและผลรุ่นหลังไปพร้อมๆกัน
                                                

       สายพันธุ์                                
       ละมุดสีดา  :  เป็นพันธุ์พื้นเมือง ผลสีน้ำตาลอมแดง  ผลเล็ก  รสชาติไม่ค่อยดีจึงไม่นิยมปลูกเพื่อการค้า  โตเร็ว  ให้ผลผลิตดกมาก                       
       ไข่ห่าน    :  ขนาดผลใหญ่มาก  รสชาติหวานเย็น  ติดผลไม่ดกนัก  นิยมปลูกแต่น้อยกว่าพันธุ์มะกอกผลกลาง                         
       มะกอก    :  แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์  ได้แก่  พันธุ์ผลใหญ่ (ติดผลไม่ดก/รสหวานจัด/ไม่นิยมปลูก).  พันธุ์ผลกลาง (ติดผลดกมาก/รสหวานจัด//นิยมปลูก).  และพันธุ์ผลเล็ก (ติดผลดกมาก/เนื้อน้อย/รสไม่หวานจัด/ไม่นิยมปลูก).
       กระสวย    :   ติดผลเร็วแม้อายุต้นยังน้อย  ผลขนาดใหญ่  ระยะต้นเล็กให้ผลไม่ดกนักแต่เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรืออายุต้นยิ่งมากยิ่งติดผลดก รสหวานจัด  นิยมปลูกกันมาก
                         

       การขยายพันธุ์                       
     - ตอน (ดีที่สุด).  ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  ชำกิ่ง.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).
     - วิธีตอนกิ่งละมุด  ให้เลือกกิ่งกระโดง  อวบอ้วนสมบูรณ์  อายุกลางอ่อนกลางแก่  ความยาว 60-80 ซม. ควั่นเปลือกขูดเยื่อเจริญทิ้งไว้ 15-20 วันจนขอบแผลรอยควั่นเริ่มเป่งบวมและมั่นใจว่าเส้นทางน้ำเลี้ยงจากรากไปสู่กิ่งถูกตัดขาดแล้วจึงหุ้มตุ้มตอนที่ใช้รากผักปอดชุ่มน้ำ พันทับด้วยใบตองแห้งหนาๆแล้วผูกรัดด้วยเชือก 3 เปราะ  หัว-กลาง-ท้าย เหมือนมัดข้าวต้ม จากนั้นประมาณ 3-5 เดือนจึงจะเริ่มออกราก  ระหว่างที่รากยังไม่ออกนี้ ถ้าตุ้มตอน (รากผักปอด) แห้งให้หยอดน้ำรักษาความชื้นไว้.......ช่วงที่เหมาะสม คือ  ควั่นกิ่งขูดเยื่อเจริญช่วงเดือน เม.ย. แล้วหุ้มตุ้มตอนในเดือน พ.ค.-มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนจะช่วยให้ออกรากแน่นอนขึ้น
                        
        ระยะปลูก                       
      - ระยะปกติ  6 X 6 ม. หรือ  6 X 8 ม.                       
      - ระยะชิด   4 X 4 ม. หรือ  4 X 6 ม.
                         

        เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
      - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา..แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
      - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
      - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                        
       หมายเหตุ :                       
      - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่......การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
      - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1-2 เดือน/ครั้ง 
      - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                        

       
เตรียมต้น                        
        ตัดแต่งกิ่ง :
                       
      - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
      - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
      - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว  แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี   และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย                       
      - ลักษณะโครงสร้างต้นละมุดที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ด้านในโปร่ง  กิ่งในทรงพุ่มจะไม่ออกดอกติดผลจึงควรหมั่นตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่มบ่อยๆ                       
      - ควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                         
       ตัดแต่งราก :                       
     - ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม 





หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©