|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 640 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|  |
 |
|
 |
|
ลำไย
หน้า: 1/6
ลำไย
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากอายุนับร้อยปี ต้นลำไยอายุ 109 ปีอยู่ที่บ้านน้ำโท้ง หมู่ 2 ต.สบแม่ข่า อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ลำไยปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภาคของประเทศโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งความหนาวเย็นก่อนออกดอก ชอบดินดำร่วนหรือดินปนทรายร่วนอินทรียวัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ทนแล้งแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้าง ช่วงพักต้นต้องการน้ำน้อย ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ
* ต้นที่เกิดจากเพาะเมล็ดมีรากแก้วหยั่งลงดินลึกนอกจากช่วยยึดลำต้นให้ต้านแรงลมได้ดีแล้วยังมีรากฝอยมาก หาอาหารได้มาก อายุยืน และทนแล้งได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ ลำเปล้าจะสูงหรือง่ามกิ่งแรกสูงจากพื้นมาก กิ่งสาขาจะยืดยาวแลดูเก้งก้าง สุดท้ายออกดอกติดผลไม่ดี แก้ไขโดยใช้กิ่งตอนหรือกิ่งทาบปลูกลงไปก่อนแล้วเสริมรากด้วยต้นเพาะเมล็ดเพื่อให้มีรากแก้ว
* เอกสารทางวิชาการระบุว่า ก่อนลำไยออกดอกจะต้องได้รับความหนาวเย็น 20 องสาเซลเซียสติดต่อกันนาน 20 วันเป็นอย่างน้อย แต่ปัจจุบันลำไยในเขตอื่น เช่น สงขลา. สุราษฎร์ธานี. ราชบุรี. กาญจนบุรี. นครราชสีมา. จันทบุรี. และอีกหลายจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในเขตภาคเหนือสามารถออกดอกได้ในเดือน ส.ค.ซึ่งเป็นฤดูฝนแล้วแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ได้ ทั้งๆที่เป็นลำไยสายพันธุ์อีดอ (พันธุ์เบา/ดอ.แปลว่า เบา) เหมือนกัน ในขณะเดียวกัน ทำไมลำไยในเขตภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่บังคับด้วยการราดสารโปแตสเซียม คลอเรต.แล้วจึงออกดอกติดผลเป็นลำไยปี หรือทำไมเมื่อราดสารแล้วจึงไม่ออกก่อนหรือหลังฤดูกาลปกติ
* พันธุ์เบา : ได้แก่ อีดอ. ออกดอกต้นเดือน ธ.ค.-ม.ค. เก็บเกี่ยวเดือน มิ.ย.-ก.ค. ทนแล้ง ออกดอกติดผลง่าย ผลดก เนื้อหนาสีขาวขุ่น ไม่กรอบและไม่หวานนัก ขนาดผลและเมล็ดใหญ่ปานกลาง
* พันธุ์กลาง : ได้แก่ สีชมพู. ออกดอก ม.ค.-ก.พ. เก็บเกี่ยวเดือน ก.ค.-ส.ค. ไม่ทนแล้ง ออกดอกติดผลง่ายปานกลาง ติดผลไม่สม่ำเสมอ สีเนื้อขาวออกชมพู รสชาติหวานหอมกว่าอีดอ ขนาดผลใหญ่ปานกลางและขนาดเมล็ดเล็ก
* พันธุ์หนัก : ได้แก่ แห้ว. เบี้ยวเขียว. ออกดอก ม.ค.-ก.พ. (หลังสีชมพู) เก็บเกี่ยวเดือน ส.ค.-ก.ย. ทนแล้ง ออกดอกติดผลยากบางครั้งออกปีเว้นปีหรือออกปีเว้น 2 ปี ติดผลดีกว่าเบี้ยวเขียว เนื้อสีขาวขุ่นแห้งหนาและกรอบที่สุด รสชาติหอมหวาน ขนาดผลใหญ่และขนาดเมล็ดเล็ก
หมายเหตุ :
ลำไยอีดอ ที่ ต.หนองสมณะ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุต้น 50 ปี ทรงพุ่มสูง 10 ม. กว้าง 15 ม. ให้ผลผลิตขนาด 60 ผล/กก. ออกก่อนฤดูกาลปกติ 1 เดือน ต้นสมบูรณ์เต็มที่ (ขนาดใบใหญ่กว่าใบมะม่วง) ไม่ได้ราดสารโปแตสเซียม คอลเรต ได้ผลผลิต 1,400 กก.
* ปัจจุบันลำไยอีดอ อ.เมือง จ.ราชบุรี, อ.ท่ามะกา อ.ทามะกา จ.กาญจนบุรี, อ.โป่งน้ำร้อน จ.จุนทบุรี, และ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา สามารถทำให้ออกดอกช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.แล้วเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีนพอดีทำให้ขายได้ราคาดีมาก
* ลำไยในเขตภาคเหนือเมื่อถึงช่วงเดือน เม.ย. มักมีพายุฤดูร้อนซึ่งมีทั้งลม ฝนและลูกเห็บ ช่วงนั้นผลลำไยมีขนาดเท่าปลายก้อยหรือโตกว่าเล็กน้อยจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนผลร่วง แนวทางแก้ไขคือ บำรุงล้วงหน้าด้วยแคลเซียม โบรอน. ให้ขั้วเหนียว หรือบังคับลำไยให้ออกนอกฤดูเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภัยธรรมชาติ
* มีดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและต่างดอกกัน ดอกตัวผู้ทีโคนช่อจะบานพร้อมผสมก่อนดอกกระเทยที่อยู่ปลายช่อ เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียผสมกันได้ทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้น
* ลำไยออกดอกติดผลดีทีปลายกิ่งรอบทรงพุ่มและปลายกิ่งเหนือยอด แต่จะไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม
* ชาวสวนลำไยนิยมให้ผู้เลี้ยงผึ้งนำรังผึ้งไปไว้ในสวนช่วงออกดอก เพื่ออาศัยผึ้งเข้าช่วยผสมเกสร
* การบำรุงช่วงดอกบาน ถ้าต้นและเกสรไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ผลที่เกิดขึ้นเป็นกระเทย คือ ลักษณะผลเล็ก ในผลมีแต่เนื้อไม่มีเมล็ด หรือเมล็ดเล็กลีบ เป็นผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ
* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว เรียกว่ากระเทย
* ลำไยผลใหญ่ขนาด 50-60 ผล/กก. ลักษณะผล ไหล่ยก-อกผาย-ท้ายมน-สีเหลืองเข้ม มีราคาสูง เนื่องจากได้รับการบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายปี
* การห่อผลเมื่ออายุผล 5-7 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยให้สีเปลือกผลสวย อาการผลแตกผลร่วงน้อยลง ซึ่งดีกว่าการห่อผลช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเพียง 1-2 สัปดาห์
* สวนลำไยเก่า ต้นและกิ่งใหญ่ถึงใหญ่มาก ต้องไม้ค้ำกิ่งที่บางครั้งใช้ไม้เนื้อแก่นขนาดหน้า 4-6 นิ้วเพื่อรับน้ำหนักทำให้สิ้นเปลือง การปฏิบัติบำรุงจนถึงการเก็บเกี่ยวค่อนข้างยุ่งยาก ถ้าหากเปลี่ยนแนวคิดในการจัดรูปสวนลำไยแบบเดิมมาเป็นปลูกแบบระยะชิด แล้วควบคุมขนาดกลางทรงพุ่มและขนาดความสูงที่ 3-5 ม.ตั้งแต่ระยะต้นเล็กก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
* การใช้สารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยให้ออกนอกฤดูนั้น
- ลำไยสีชมพูได้ผลดีกว่าอีดอ
- ใช้กับต้นที่ใบแก่อายุ 30-45 วันได้ผลดีกว่าต้นที่อายุใบน้อย
- ใช้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนได้ผลดีกว่าใช้ในฤดูฝน
- ราดทางดินได้ผลดีกว่าฉีดพ่นทางใบ
- อัตราใช้ 4 กรัม/ตร.ม.ได้ผลดีกว่าใช้ 8-16 กรัม/ตร.ม.
* มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าลำไยที่ถูกบังคับให้ออกดอกทำไมจึงมักมีผลเล็กหรือคุณภาพไม่ดีเท่าทีควร นั่นเป็นเพราะว่าสารโปแตสเซียม คลอเรต. บังคับลำไยโดยการทำลายระบบราก ระหว่างที่ดอกเริ่มออกและผลเริ่มติดนั้นระบบรากยังไม่ฟื้นตัว ต้นจึงไม่มีรากหรือมีน้อยมากสำหรับดูดสารอาหารจากดินไปหล่อเลี้ยงต้น กอร์ปกับชาวสวนลำไยไม่เข้าใจและไม่ได้ให้สารอาหารทางใบ สรุปก็คือ เหตุที่ลำไยราดสารมีผลเล็กและคุณภาพไม่ดีเพราะต้นได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอนั่นเอง
* โปแตสเซียม คลอเรต. ไม่ใช่สารอาหารที่ทำให้ลำไยออกดอกโดยตรง แต่เป็นสารที่ไปยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ภายในต้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งต้นเกิดสภาวะเครียดสูงสุดจึงแทงตาดอกออกมาทั้งๆที่ยังไม้พร้อม ถือว่าเป็นการบังคับแบบทรมาน เมื่อต้นไม่พร้อม (ความสมบูรณ์) ดอกและผลออกมาจึงด้อยคุณภาพ บางครั้งถึงกับต้นตายไปเลย......ในทางตรงกันข้าม หากปรับเปลี่ยนวิธีการบังคับแบบ ทรมาน มาเป็นบังคับแบบ บำรุง โดยสร้างและสะสมอาหารเพื่อการออกดอกติดผลไว้ภายในต้นให้มากี่สุดเท่าที่จะมากได้ จากสถานการณ์ที่เลวร้ายต่อต้นลำไยก็จะกลับกลายเป็นดีและดีตลอดไปอย่างยั่งยืนได้แน่นอน
* การใช้สารเคมีอื่นๆเช่น โปแตสเซียมคลอเรต (พาวิน มะโนชัย/2542)
รายงานว่าโปแตสเซียมคลอเรทสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูกาลได้ โดยลำไยอีดอใช้สารดังกล่าว 8 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับพันธุ์ชมพูใช้สารดังกล่าวอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตรจะทำให้ออกดอก 100 เปอร์เซ็นต์ โดยลำไยจะต้องได้รับการปฏิบัติดูแลโดยการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ จนแตกกิ่งใหม่และมีใบแก่อย่างสมบูรณ์ โดยสังเกตจากสายตาว่ามีใบสีเขียวเข้ม แล้วจึงใช้สารโปแตสเซียมคลอเรท ผสมน้ำ 20 ลิตรราดดินบริเวณแนวชายทรงพุ่มแต่ก่อนใส่สารและหลังใส่สารควรรดน้ำให้กับต้นลำไยให้ดินชุ่มอยู่เสมอ
หลังจากบังคับให้ไม้ผลออกดอกได้แล้วต้องดูแลให้ติดผลและผลเจริญเติบโตถึงแก่เก็บเกี่ยวจึงจะได้ผลไม้นอกฤดูตามที่ต้องการ
* ช่วงก่อนออกดอกถ้าลำไยได้รับความชื้นสัมพัทธ์ 70 เปอร์เซ็นต์จากหมอกหรือน้ำค้างจะช่วยส่งเสริมการออกดอกดี ถ้าไม่มีหมอกหรือน้ำค้างให้ฉีดพ่นละอองน้ำเหนือทรงพุ่มรอบแรกช่วงเวลาก่อน 10 โมงเช้าและรอบ 2 หลัง 5-6 โมงเย็น ติดต่อกัน 7 วันแทนก็ได้
* ลำไยที่ผ่านการบำรุงแบบสะสมสารอาหารครบสูตร ต้นมีความสมบูรณ์สูง ต่อเนื่องมาอย่างน้อย 2-3 รุ่นการผลิต เมื่อต้นใดออกดอกเป็นลำไยปี (ในฤดู) แล้วต้องการให้ออกดอกชุดใหม่เป็นลำไยนอกฤดู สามารถทำได้ โดยเด็ดดอกปีทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆ จากนั้นบำรุงด้วยสูตร “เปิดตาดอก” ตามปกติเหมือนเมื่อครั้งเปิดตาดอกลำไยปี อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง จากสภาพต้นที่ได้สะสมอาอาหารกลุ่มสะสมตาดอกไว้ก่อนแล้วนั้นกับถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะส่งผลให้ลำไยต้นนั้นออกดอกชุดใหม่ใน 2-2 เดือนครึ่ง
* อายุใบและตำแหน่งใบที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นมาตรฐาน คือ ใบรวมในตำแหน่งที่ 3,4 ที่มีอายุ 6-8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มแตกใบ เนื่องจากค่าที่ได้มีความคงที่และมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
- ปริมาณธาตุอาหารในใบรวมตำแหน่งที่ 3 , 4 ที่มีอายุ 6 – 8 สัปดาห์ ที่เหมาะสมของลำไย คือ ไนโตรเจน (N) 1.88–2.42 % ฟอสฟอรัส (P) 0.12–0.22 %โพแทสเซียม (K) 1.27–1.88 % แคลเซียม (Ca) 0.88–2.16 มก./กก. แมกนีเซียม (Mg) 0.20–0.31 มก./กก. เหล็ก (Fe) 68.11–86.99 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) แมงกานีส (Mn) 47.00–80.46 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) ทองแดง (Cu) 16.32–18.45 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) สังกะสี (Zn) 16.99–24.29 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) โบรอน(B) 22.30–45.58 ส่วนในล้านส่วน (ppm.)
สายพันธุ์
พันธุ์นิยม :
อีดอหรืดอ. สีชมพู (อีออน). เบี้ยวเขียว (อีเบี้ยว). แห้ว. กะโหลก
พันธุ์ทั่วไป :
พวงทอง (อีดอพวงทองหรือเพชรเวียงพิงค์). อีดอบ้านโฮ่ง 70. ปู่มาตีนเพชรทักษิณ. บางคณฑีศรีสงคราม (แดงโย้หรือฮวดเบอร์). ขันทองตามาย. อีแดง (แดงเปลือกหนาและแดงเปลือกบาง).
หมายเหตุ :
สายพันธุ์ทั่วไปเหล่านี้บางพันธุ์ยังไม่ได้รับการรับรองสายพันธุ์จากทางราชการ แต่ผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนตั้งชื่อเอง เพื่อหวังผลทางด้านการค้าขายกิ่งพันธุ์ ในจำนวนชื่อสายพันธุ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้หลายชื่อ คือ สายพันธุ์เดียวกัน
การขยายพันธุ์
ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการกิ่งพันธุ์เพิ่มขึ้น พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบันคือ พันธุ์อีดอ แห้ว สีชมพูและเบี้ยวเขียว ชาวสวนส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอน เนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย ข้อเสียของวิธีการนี้คือ ไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง การทาบกิ่ง และการเสริมราก
1.การเพาะเมล็ด.
เมล็ดลำไยจัดเป็น recalcitrant seeds ดังนั้นเมื่อแกะเอาเนื้อออกควรรีบนำไปเพาะทันที หากเก็บเมล็ดไว้นานเมล็ดจะสูญเสียความงอกเร็ว มีการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดลำไย พบว่าเมล็ดที่แกะออกจากผลแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าเพียง 10 วัน เมล็ดลำไยจะไม่งอกเลย ในกรณีที่จะเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ ควรเก็บไว้ทั้งผลโดยแช่ในยากันราพวกเบนโนมิล ความเข้มข้น 0.05 กรัม สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกถึง 85 เปอร์เซ็นต์(choo,1992)การเพาะอาจเพาะลงในถุงพลาสติกหรือเพาะในกระบะ ฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดจะเริ่มงอก
2.การตอนกิ่ง
ถึงแม้ว่าวิธีการตอนกิ่งจะเป็นวิธีการที่ง่าย แต่วิธีการที่จะขยายพันธุ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้จำนวนต้นในปริมาณที่มาก มีเทคนิคและขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
- การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลดี ข้อสำคัญต้นพันธุ์ควรจะปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด
- เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ถ้าเป็นกิ่งนอนก็อาจจะใช้ได้ แต่การเกิดรากจะเกิดเฉพาะด้านล่าง แต่ไม่ควรเลือกกิ่งที่ปลายกิ่งชี้ลงดิน
- ขนาดความยาวของกิ่งยาวประมาณ 75–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1.5-2.0 เซนติเมตร
- ใช้มีดควั่นกิ่งเป็น 2 รอย หรืออาจจะควั่นรอยเดียวจากนั้นให้ใช้คีมปากจิ้งจกบิดโดยที่ไม่ต้องใช้มีดกรีดเปลือก ซึ่งการใช้คีมบิดจะทำให้เกิดความรวดเร็ว
- หุ้มด้วยดินเหนียวและกาบมะพร้าว และผ้าพลาสติก มัดกระเปาะหัวท้ายด้วยตอก
- ประมาณ 30 วัน รากจะเริ่มออกเมื่อเห็นรากมีสีขาวและมีปริมาณมากจึงค่อยตัดมาชำในการตอนกิ่งเพื่อการค้า มักจะเริ่มตอนกิ่งในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกิ่งตอนชุดนี้จะสามารถนำไปปลูกได้ในกลาง ๆ ฤดูฝนของปีเดียวกัน
3.การชำกิ่งตอนลำไย มีขั้นตอนดังนี้
1.เลือกกิ่งที่มีรากสีขาว สังเกตว่าปริมาณรากมากพอสมควรทำการตัดกิ่งตอนจากนั้นให้ทำการริดกิ่งและใบบางส่วนออกเพื่อลดการคายน้ำ
2.แกะพลาสติกที่หุ้มกระเปาะออก ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้กระเปาะแตก
3.นำกิ่งตอนลงชำโดยทั่วไปเกษตรกรชาวสวนมักใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานหรือที่เรียกกันทางเหนือว่า “เป๊าะ” สำหรับวัสดุชำใช้ดินผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2:1 จากนั้นนำกิ่งบรรจุลงในเป๊าะใช้ตอกมัด นำกิ่งที่ทำเสร็จแล้วไปเก็บไว้ในร่ม โดยนอนกิ่งตอนให้เอียงประมาณ 45 องศา
4.ประมาณ 7 วัน ค่อยนำกิ่งตอนตั้งขึ้น ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้อย่างไรก็ตามวิธีการใช้เป๊าะเป็นภาชนะปลูกมีข้อเสียคือ ปลวกมักจะเข้าทำลายกัดกินไม้ทำให้ผุง่าย นอกจากนั้นเมื่อเก็บกิ่งตอนลำไยทิ้งไว้นาน ๆ จะมีรากโผล่ออกจากเป๊าะ เมื่อโดนแสงแดดรากอาจได้รับอันตราย มีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในกรณีที่เก็บกิ่งตอนไว้นาน ๆ ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาด 8*10 นิ้วเป็นภาชนะ
4.การเสียบกิ่ง
การปลูกลำไยในปัจจุบันชาวสวนลำไยมักปลูกลำไยด้วยกิ่งตอน จึงทำให้เกิดปัญหาโค่นล้มเนื่องจากลมพายุ ทั้งนี้เนื่องจากระบบรากของลำไยที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นระบบรากพิเศษ ระบบรากแบบนี้จะแผ่กว้างไปในแนวนอน จากการสังเกตรากของลำไยจะน้อยกว่า รากของลิ้นจี่ ประกอบกับลำไยมีทรงพุ่มทึบ และกว้างในปีที่ลำไยติดผลมาก ๆ เมื่อเกิดลมพายุจึงมักจะโค่นล้ม พบว่าปีหนึ่ง ๆ ลำไยถูกพายุโค่นล้มเป็นจำนวนมาก วิธีการที่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ คือการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไยที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรเลีย แต่อย่างไรก็ตามการเสียบกิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่ง พาวิน (2537) ได้แนะนำดังนี้
การเตรียมต้นตอ
ต้นตอที่จะใช้ในการเสียบกิ่งควรมีอายุประมาณ 1 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5–1.0 เซนติเมตร
การเตรียมยอดพันธุ์ดี
ยอดลำไยที่ใช้ในการเสียบกิ่งควรเป็นกิ่งกระโดง กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด ขนาดของกิ่งควรมีความยาวประมาณ 6–8 นิ้ว ทำการริดใบออกให้เหลือใบไว้ 2–3 ใบรวม (compound leaves) มีใบย่อย 2–3 คู่
ฤดูกาลในการเสียบยอด
ควรทำการเสียบยอด สามารถทำได้ทุกฤดู
ขั้นตอนในการเสียบกิ่ง
ใช้วิธีการแบบเสียบลิ่มซึ่งได้ผลถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์
- ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3–4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว
- เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 1 นิ้ว
- เผยอรอยผ่าบนต้นตอออกแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน
- พันด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นนำไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ นำไปเก็บไว้ในร่มประมาณ 40–50 วัน จึงเปิดถุง การเปิดถุงให้เปิดวันละนิดเพื่อให้ต้นลำไยปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอก
5.การทาบกิ่ง
การเตรียมต้นตอ
เลือกต้นตออายุประมาณ 1–2 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4–0.6 มิลลิเมตร นำต้นตอมาล้างรากและตัดรากบางส่วนออก นำไปจุ่มในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น8,000–10,000 ส่วนต่อล้านนาน 5 วินาที หุ้มด้วยขุยมะพร้าวซึ่งบรรจุในถุงขนาด 4-6 นิ้ว พบว่ากิ่งทาบออกรากได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กิ่งไม่ได้ใช้สารออกรากเพียง 65เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ NAA ความเข้มข้น 2,000 ส่วนต่อล้าน สามารถชักนำให้กิ่งทาบเกิดรากได้ถึง 92%
การเตรียมกิ่งพันธุ์ที่ดี
เลือกกิ่งกระโดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอ ความยาวประมาณ 20 นิ้วควรเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดด
วิธีการทาบกิ่ง
ใช้วิธีการทาบกิ่งแบบไซด์วีเนีย เช่นเดียวกับการทาบกิ่งมะม่วง
การเสริมราก
วิธีการเสริมรากลำไยในปัจจุบันยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างแน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าวถึงการเสริมรากลำไยว่า หลังจากเสริมรากไประยะหนึ่งปรากฏว่า ต้นตอดันกิ่งตอนให้ลอยขึ้นจากพื้น ดังนั้นจึงน่าจะเลือกใช้วิธีการทาบกิ่งและการเสียบกิ่งแทนการเสริมราก
ที่มา : ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้โทร.0-5387-3938-9
เตรียมดิน และอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆ เต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ออกดอกติผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- วิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยตัดกิ่งร่วมมาด้วยนั้น ถ้าให้คงเหลือส่วนปลายกิ่งที่เปลือกยังเขียวสดติดต้นอยู่แล้วบำรุงเรียกใบอ่อนชุดใหม่จะช่วยให้ยอดใหม่แตกได้เร็วขึ้น หรือเร็วกว่าเรียกใบอ่อนจากปลายกิ่งที่เป็นกิ่งแก่
- ลำไยออกดอกได้ทั้งจากกิ่งชี้ลงและชี้ขึ้น แต่กิ่งชี้ขึ้นทำมุมตั้งแต่ 45 องศาขึ้นไปจนถึงตั้งฉากจะออกดอกดีกว่ากิ่งชี้ลงเท่านั้น
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- ลำไยยุคใหม่สามารถออกดอกได้โดยไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนจึงทำได้ทุกฤดูกาล หลังตัดแต่งกิ่งแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอก็ทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ได้
ตัดแต่งราก :
- ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
หน้าถัดไป (2/6) 
|
|
 |
|
 |
|