-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 602 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลิ้นจี่




หน้า: 1/7


                 ลิ้นจี่

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่อายุยืนนับร้อยปี มีทั้งสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือ (อากาศเย็น)ชอบดินร่วนปนราย และภาคอื่น (อากาศภาคกลาง)ชอบดินดำร่วนทนแล้งแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้าง เจริญเติบโตช้าแต่สม่ำเสมอ มีระบบรากลึกและจำนวนมาก มีใบและกิ่งแขนงจำนวนมากจนทรงพุ่มทึบ เป็นไม้ไม่ผลัดใบ                

    * เป็นไม้ผลอ่อนไหวต่อปริมาณสารอาหารที่สะสมในต้นเป็นอย่างมาก ถ้าปีใดหรือปีผ่านมาต้นไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริงจะไม่ออกดอกติดผลในปีปัจจุบัน บางครั้งออกดอกติดผลเว้นปีหรือเว้น 2-3 ปี ถ้าต้องการให้ลิ้นจี่ออกดอกติดผลทุกปี จะต้องพิถีพิถันในการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่งติดต่อกันตั้งเริ่มยืนต้นได้ (ระยะกล้า) จนถึงระยะให้ผลผลิตแล้ว
               

    * ในช่อดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้. ดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวผู้. และดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมีย. แยกกันคนละดอกโดยดอกตัวผู้อยู่โคนก้านเกิดก่อนและบานก่อน  ตามด้วยดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมียอยู่กลางช่อเกิดแล้วบานลำดับต่อมา ส่วนดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวผู้อยู่ปลายช่อนั้นเกิดแล้วบานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งดอกที่จะพัฒนาเป็นผลได้คือ ดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมีย
               
      การที่ดอกบานและพร้อมผสมไม่พร้อมกันเช่นนี้ เป็นเหตุให้ลิ้นจี่ติดผลค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณดอกที่ออกมา แนวทางแก้ไข คือ นอกจากต้องบำรุงดอกด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.แล้วยังต้องอาศัยแมลงเข้ามาช่วยผสมเกสรและสายลมช่วยถ่ายละอองเกสรอีกด้วย
      
ดอกทุกประเภทมีอายุพร้อมรับการผสมเพียง 3-4 วันเท่านั้น จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลิ้นจี่ติดผลได้น้อย นอกจากนั้นยังต้องพิจาณาความสมบูรณ์ของต้น สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆอีกด้วย      
               

    * ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้ออกนอกฤดูได้และยังไม่พบสายพันธุ์ทะวาย
               

    * ผลที่เกิดจากการผสมด้วยเกสรที่ไม่สมบูรณ์จะเป็นผลไม่สมบูรณ์ด้วย เรียกว่า  กระเทย เป็นผลขนาดเล็ก ไม่มีเมล็ดหรือเมล็ดเล็กมาก เนื้อแน่น แต่รสชาติและกลิ่นไม่ดี
               
    * ต้นที่สมบูรณ์มากๆมักมีดอกกระเทยและดอกตัวเมียมาก ซึ่งจะส่งผลให้ได้จำนวนผลมากขึ้นส่วนต้นที่ไม่สมบูรณ์มักมีดอกตัวผู้มากจึงทำให้ได้จำนวนผลน้อยตามไปด้วย
                
    * ระยะผลกลางถึงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ถ้าขาดธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือได้รับธาตุอาหารไม่สมดุลเปลือกของผลจะมีสีไม่จัด บางส่วนสีซีด รสและกลิ่นไม่ดี เป็นผลที่ไม่มีคุณภาพ
               
    * ปกติออกดอกตามซอกใบปลายกิ่ง แต่ต้นสมบูรณ์เต็มที่สามารถออกดอกแล้วติดเป็นผลขนาดใหญ่ที่ใต้ท้องกิ่งแก่หรือแม้แต่ที่ลำต้นได้
                 
                
    * การบำรุงลิ้นจี่ให้มีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง ต้นจะต้องผ่านการแตกใบอ่อนปีละ 4 ชุด คือ ช่วงหน้าฝน 2 ชุด หน้าแล้ง 1 ชุด และช่วงปลายฝนต่อหนาวอีก 1 ชุด
  
               
    * เพื่อให้ได้ใบอ่อนแต่ละชุดจำนวนมากๆ และออกพร้อมกันทั้งต้นจำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อนสม่ำเสมอ กรณีต้องการให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อนในหน้าแล้งได้ก็จะต้องมีน้ำให้อย่างเพียงพอ
                
    * ลิ้นจี่เขตภาคกลางออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. พร้อมกันทุกสายพันธุ์ ส่วนลิ้นจี่ภาคเหนือออกดอกตั้งแต่ ธ.ค.-เม.ย. โดยพันธุ์เบาออกดอกก่อน ส่วนพันธุ์หนักออกทีหลังลิ้นจี่ ทั้งภาคกลางและภาคเหนือมีอายุตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยว 4 เดือนเหมือนกัน
                
   * ข้อเปรียบเทียบที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ลิ้นจี่ภาคเหนือออกดอกติดผลทุกปี ส่วนจะออกมากหรือออกน้อยอยู่ที่การบำรุงและความสมบูรณ์ของต้น แต่ลิ้นจี่ภาคกลางออกดอกติดผลปีเว้นปี บางทีเว้นสอง-สามปีก็ยังเคย ทั้งๆที่บำรุงอย่างดี สภาพต้นสมบูรณ์เห็นชัด
                
      คำตอบ คือ สวนลิ้นจี่ภาคเหนือเป็นสวนยกร่องแห้งหรือพื้นราบบนที่ลาดเอียง ทำให้ควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นได้ โดยเฉพาะการปรับ ซี/เอ็น เรโช.ก่อนการเปิดตาออกดอก แต่สวนลิ้นจี่ภาคกลางเป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ มีน้ำในร่องตลอดเวลา แม้จะไม่มีน้ำในร่องแต่ดินเป็นดินเหนียวยังอุ้มน้ำไว้จำนวนมากได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณใต้ดินโคนต้นได้
                
      
ธรรมชาติลิ้นจี่ก่อนออกดอกจำเป็นต้องมีอัตราส่วนระหว่าง ซี.(คาร์บอน)กับ
เอ็น.(ไนโตรเจน)
ห่างกันมากๆ มากกว่าไม้ผลทั่วๆไป การมีน้ำในร่องจึงทำให้ต้นได้รับ เอ็น.ตลอดเวลา แม้ว่าจะได้ให้สารอาหารกลุ่ม ซี. ทั้งทางรากและทางใบอย่างต่อเนื่องแล้วก็ไม่สามารถทำให้ปริมาณ ซี.มากกว่าปริมาณ เอ็น.ได้......อัตราส่วนระหว่าง ซี.กับ เอ็น. ต่อการออกดอกของไม้ผล คือ
  
            
      ถ้า ซี.เท่ากับ เอ็น.เปิดตาดอกแล้ว ออกทั้งใบและดอก หรือออกใบอย่างเดียว
      ถ้า ซี.มากกว่า เอ็น.เปิดตาดอกแล้ว ออกดอก  ไม่ออกใบ      
      ถ้า ซี.น้อยกว่า เอ็น.เปิดตาดอกแล้ว ออกใบ  ไม่ออกดอก
   
               
    * ต้นที่ได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้ไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช.แล้วเปิดตาดอกจะมีโอกาสออกดอกติดผลแน่นอนกว่าต้นที่ได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกช่วงสั้นๆ และนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลิ้นจี่เว้นปีไม่ออกดอกติดผล
                
    * ระยะพัฒนาการของลิ้นจี่ใน 1 รอบปีให้ผลผลิต  ดังนี้
                     
      แตกใบอ่อนครั้งที่ 1   ใช้เวลา  60 วัน (มิ.ย.-ส.ค.)
      แตกใบอ่อนครั้งที่ 2   ใช้เวลา  60 วัน (ก.ย.-ต.ค.)
      แตกใบอ่อนครั้งที่ 3   ใช้เวลา  60 วัน (พ.ย.-ธ.ค.)
      แทงช่อดอก        ใช้เวลา  60 วัน (ธ.ค.-ก.พ.)
      ผลอ่อน-เก็บเกี่ยว    ใช้เวลา  90  วัน               

    * การห่อผลลิ้นจี่ควรห่อด้วยถุงพลาสติกใสเพื่อให้แสงส่องถึงผลจะทำให้ผิวสวยสดใสดีกว่าการห่อด้วยถุงกระดาษทึบแสง และเริ่มห่อเมื่อสีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงเรื่อๆ
               
    * การแก่ของผลในต้นเดียวกันมักไม่พร้อมกัน ต้องทยอยเก็บ 20-25 วันจึงจะหมดทั้งต้น
                
    * ลิ้นจี่เป็นพืชที่มีการออกดอกติดผลที่ปลายยอดที่เจริญเติบโตเต็มที่ ตายอดต้องผ่านการ พักตัวระยะหนึ่งจึงจะมีการพัฒนาเป็นตาดอกเมื่อกระทบอากาศเย็นในฤดูหนาว(ประมาณ 15 องศาเซลเซียสนานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์)ผลการวิจัย เรื่อง ธาตุอาหารพืชในลิ้นจี่ พบว่า ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่ใบลิ้นจี่มากกว่าส่วนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่า กิ่งที่ปลายยอดและใบจะเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับการเจริญของช่อดอกและผลลิ้นจี่ ทั้งนี้ ปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา (สร้างช่อใบใหม่) และปริมาณธาตุอาหารพืชที่ลิ้นจี่ใช้เพื่อการสร้างผล เป็นดังนี้ 

      - ปริมาณธาตุอาหารที่ลิ้นจี่ต้องการใช้ในการเจริญเติบโตของใบ 1 ชุด(1 ช่อใบ)ไนโตรเจน 151.2 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 15.2 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 98.9 มิลลิกรัม เมื่อพิจารณาในรูปสัดส่วนของปุ๋ย N : P2O5 : K2O จะมีค่าประมาณ 4:1:3
      - ปริมาณธาตุอาหารที่ลิ้นจี่ต้องการใช้ในการเจริญเติบโตของผล 1 ใบ น้ำหนัก 1 กิโลกรัมไนโตรเจน 2.37 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 0.32 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2.53 มิลลิกรัม 
      เมื่อพิจารณาในรูปสัดส่วนของปุ๋ย N:P2O5:K2O จะมีค่าประมาณ 3:1:4 


      สายพันธุ์
               
      ลิ้นจี่ภาคเหนือ :
  โฮงฮวย. โอเฮียะ. กิมเจง. สีรามัญ. ลูกลาย. ฮ่องกง.  เขียวหวาน.  กิ้มจี่.
  จักรพรรดิ.  บริงสเตอร์.
      ลิ้นจี่ภาคกลาง :  ค่อม (หอมลำเจียก). กะโหลก. สาแหรกทอง. กระโถนท้อพระโรง. เขียวหวาน. ไทยธรรมดา. ไทยใหญ่.  กะโหลกใบแก้ว.  กะโหลกใบเตา.  ช่อระกำ. สำเภาแก้ว. แห้ว.
      
     
      การขยายพันธุ์
                
      
ลิ้นจี่เป็นไม้ผลที่มีการปลูกกันมากในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่  อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากได้แก่ ฮงฮวย.  กิมเจง. โอวเฮี้ยะ. และจักรพรรดิ์ การขยายพันธุ์ลิ้นจี่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น  การเพาะเมล็ด  การปักชำ การตอนกิ่ง การทางกิ่ง และการเสียบกิ่ง  แต่วิธีขยายพันธุ์ที่ชาวสวนนิยมกันมากที่สุด คือการตอนกิ่งแบบตอนอากาศ (Air Layering) เพราะว่า เป็นวิธีการที่ง่ายประกอบกับลิ้นจี่เป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรบางรายขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการเสียบกิ่ง เช่น ที่สวนวังน้ำค้าง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการขยายพันธุ์ลิ้นจี่ในแต่ละวิธีการมีข้อดีข้อเสียดังแสดงในตารางที่ 1  

ตารางที่
1  ข้อดีข้อเสียของการขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการต่าง ๆ

รายการ

เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง การเสียบกิ่งและทาบกิ่ง
1. ระยะเวลาในการตลาด      นานหลายปี สั้น สั้น สั้น

2. ระบบราก

ดีมาก

ไม่ดี       

พอใช้

ขึ้นอยู่กับต้นตอที่ใช้

3. ขนาดของต้นใหม่ที่ได้

ขนาดเล็ก

ขนาดเล็ก

ขนาดใหญ่

ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี

4. ความสม่ำเสมอของต้น

ไม่ค่อยสม่ำเสมอ

สม่ำเสมอ

สม่ำเสมอ

สม่ำเสมอ

5. ระยะเวลาที่สามารถนำไปปลูกในแปลง (เดือน)     

12 – 24

12 – 24

3 – 12 

ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกิ่งเสียบ

6. อัตราการเพิ่มกระจายพันธุ์

มาก

มาก

น้อย

น้อย

7. การทำลายต้นแม่

-

น้อย

มาก

น้อย

8. ความยุ่งยากในการทำ

ไม่ยุ่งยาก

ไม่ยุ่งยาก

ไม่ยุ่งยาก

ต้องอาศัยความชำนาญ

9. การใช้แรงงาน

น้อย

น้อย

มาก

มาก

10.  การใช้ประโยชน์

เพื่อคัดพันธุ์ใหม่และใช้ประโยชน์จากต้นตอ

ขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่มากและใช้ประโยชน์จากต้นตอ

เป็นวิธีการขยายพันธุ์เพื่อการค้า

ใช้ประโยชน์จากต้นตอและใช้ในการเปลี่ยนยอดต้นใหญ่


     1.
การเพาะเมล็ด
       การเพาะเมล็ดลิ้นจี่โดยทั่วไปไม่ค่อยนิยมทำเนื่องจากมักจะมีการกลายพันธุ์ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดเมื่อนำไปปลูกใช้ระยะเวลานาน 10 ปี หรือมากกว่านี้ บางครั้งอาจพบถึง 25 ปี จึงจะออกดอก นอกจากนั้นต้นกล้าที่ได้มีการเจริญเติบโตช้าและบางพันธุ์ เมล็ดมักลีบ(chicken tongues)เช่น พันธุ์กวางเจา แต่ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยเมล็ดคือ ได้พันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น พันธุ์ Peerless กลายมาจากพันธุ์ Brewster และพันธุ์ Bengal กลายพันธุ์มาจากพันธุ์  Purbi เป็นต้น  
       นอกจากนี้การเพาะเมล็ดยังมีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นต้นตอสำหรับการเสียบกิ่งและทางกิ่ง                    

       วิธีการเพาะเมล็ด
               
       เนื่องจากลิ้นจี่จะสูญเสียความงอกเร็ว หากปล่อยให้เมล็ดแห้งจะเพาะไม่ขึ้น Ray and Sharma(1987) ความชื้นในเมล็ดหากสูญเสียมากกว่า 20% เมล็ดจะสูญเสียความงอก ดังนั้นเมื่อแกะผลเสร็จควรนำไปเพาะทันที หากเก็บไว้เกิน 4–14 วัน เมล็ดจะไม่งอก แต่ในกรณีที่ต้องการจะเก็บเมล็ดไว้ให้นานควรเก็บไว้ทั้งผล เก็บในตู้เย็นไว้ช่องผักจะสามารถเก็บได้นานถึง 4 สัปดาห์               
      ขั้นตอนการเพาะ
    1.เมื่อนำเมล็ดออกจากผลให้ล้างเอาเนื้อออกให้หมด นำเมล็ดแช่ไว้ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกเพิ่มขึ้น
    2.วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดในกรณีที่เพาะในกระบะควรใช้ขี้เถ้าแกลบผสมทราย อัตราส่วน 1:1ส่วนการเพาะลงในถุงพลาสติก วัสดุเพาะควรใช้ดินร่วน ผสมขี้เถ้าแกลบ ผสมปุ๋ยคอกอัตราส่วน 2:1:1
    3.การเพาะให้กดเมล็ดลงในวัสดุเพาะพอมิด รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 2–3 สัปดาห์เมล็ดลิ้นจี่จะเริ่มงอก 
      2.การตัดชำ
        ปกติวิธีการนี้ไม่ค่อยนิยมทำเนื่องจากปริมาณกิ่งที่เกิดรากน้อย และรากไม่แข็งแรง แต่ได้มีการกล่าวถึงการตัดชำกิ่งไว้ดังนี้
    1. กิ่งที่จะนำมาปักชำควรเป็นกิ่งแก่(Hard wood)และกิ่งกึ่งแก่(Semi hard wood)
    2. ขนาดของกิ่งความยาว 15–20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8–15 มิลลิเมตร ก่อนนำมาปักชำควรทำการควั่นกิ่งทิ้งไว้ประมาณ 1–2 เดือน เพื่อให้กิ่งเกิดการสะสมอาหารทำให้การเกิดรากดีขึ้น
    3. จุ่มกิ่งในสาร IBA ความเข้มข้น 5,000–10,000 ส่วนต่อล้าน หรือแช่กิ่งในสาร IBA  ความเข้มข้น 100–200 ส่วนต่อล้าน นาน 24 ชั่วโมง
    4. วัสดุที่ใช้ในการปักชำ คือ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1:1
    5 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเกิดรากของลิ้นจี่ คือ อุณหภูมิของอากาศ 20–25  องศา ซ. อุณหภูมิวัสดุปักชำ 30–32 องศา ซ. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนก่อนที่กิ่งลิ้นจี่จะเกิดราก
    6. ประมาณ 2–4 เดือน กิ่งปักชำจะเริ่มเกิดราก   
 
     3.
การตอนกิ่ง 
       การตอนกิ่งลิ้นจี่ปกติจะได้ผลถึง 95–100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติจะทำการตอนกิ่งในฤดูฝน มีเทคนิคในการตอนกิ่ง ดังนี้
      1. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ความยาว 75–100 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1–2เซนติเมตร ควรเลือกกิ่งที่ได้รับแสงเต็มที่จะออกรากได้ดีกว่าที่ได้รับแสงน้อย
      2. ควั่นกิ่งโดยใช้มีดควั่นเป็น 2 รอย จากนั้นใช้คีมปากจิ้งจกบิด เพื่อให้เปลือกลอกออก ซึ่งจะเป็นวิธีการตอนกิ่งที่ทำได้รวดเร็วและได้ผลดี
      3. หุ้มรอยควั่นด้วยขุยมะพร้าวซึ่งบรรจุอยู่ในถุงขนาด 4x6 มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
      4. หากต้องการเร่งการเกิดรากให้เร็วขึ้น อาจใช้สารเร่งรากเซราดิกซ์เบอร์ 2 หรือ 3  ทาบริเวณรอยควั่นด้านบน
      5. ประมาณ 30–45 วัน กิ่งตอนจะเริ่มเกิดราก

        เทคนิคการชำกิ่งตอน
      1. ต้องดูราก บริเวณกระเปาะขุยมะพร้าวว่ามีปริมาณมากพอ และรากควรเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
      2. เมื่อตัดกิ่งตอนเพื่อนำลงถุงควรริดใบออกประมาณครึ่งหนึ่งเพื่อลดการคายน้ำ
      3. การแกะพลาสติกที่หุ้มขุยมะพร้าวออกควรทำด้วยความระมัดระวัง
      4. ในกรณีที่กิ่งตอนไม่ตรงควรใช้ไม้ดัดให้ตรง
      5. ชำกิ่งตอนลงถุง ใช้วัสดุชำคือ ดินร่วนผสมขี้เถ้าแกลบ ผสมปุ๋ยคอกอัตราส่วน 2:1:1  ขนาดของถุงควรใช้ถุงพลาสติกสีขนาด 8x10 นิ้ว
      6. นำกิ่งชำวางไว้ในที่ร่มแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ รดน้ำให้ชุ่ม
      7. ประมาณ 3–12 เดือนหลังจกชำก็สามารถนำกิ่งพันธุ์ไปปลูกในแปลง

        4.การเสียบกิ่ง
          จุดมุ่งหมายในการเสียบกิ่งเพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากต้นตอในด้านการควบคุมขนาดของทรงต้นและนิสัยการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพของผล รวมถึงความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
          วิธีเสียบกิ่ง               
          ใช้วิธีการเสียบกิ่งแบบเสียบลิ่มหรือฝานบวบ โดยเลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้มีขนาดใกล้เคียงกันคือ มีขนาด 3–10 มิลลิเมตร ความยาวของกิ่งพันธุ์ดียาว 10–15 เซนติเมตร
  
ที่มา : ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร.0-5387-3938-9 


                 
      ระยะปลูก                
    - ระยะปกติ  8 X 8 ม. หรือ 10 X 10 ม.               
    - ระยะชิด   4 X 6 ม. หรือ  6 X 6 ม.
                                 
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      หมายเหตุ :               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน                 
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้                  
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

      เตรียมต้น 
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
      ลิ้นจี่อายุต้น 5 ปีขึ้นไปควรตัดแต่งกิ่ง 2 ครั้งๆ แรกตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จตัดแต่งครั้งที่ 2 หลังสิ้นฤดูฝน การตัดแต่งครั้งแรกควรตัดออก 20-25% ของจำนวนรอบทรงพุ่ม ส่วนกิ่งในทรงพุ่มหรือกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก ได้แก่ กิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค กิ่งมุมแคบ และกิ่งแห้งตาย ให้ตัดออกทั้งหมด  หลังจากตัดแต่งกิ่งครั้งแรกแล้ว ระหว่างรอจนกว่าจะถึงปลายฤดูฝนจะมีกิ่งแตกใหม่ออกมาอีกเป็นระยะๆทั่วทรงพุ่ม  ให้เก็บกิ่งด้านนอกทรงพุ่มไว้ก่อนเพื่อใช้เป็นใบสังเคราะห์อาหาร ส่วนกิ่งในทรงพุ่มให้หมั่นตัดออกตั้งแต่ยังเป็นยอดอ่อนเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง
                
      การตัดแต่งกิ่งครั้งที่ 2 ให้พิจารณาตัดแต่งกิ่งบริเวณชายพุ่มออกบางส่วนประมาณ 10% ของจำนวนกิ่งทั่วทรงพุ่ม ลิ้นจี่จะออกดอกจากกิ่งย่อยและกิ่งแขนงซึ่งเกิดจากกิ่งประธานที่ทำมุมมากกว่า 45 องศากับลำต้นเสมอ การตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย ลักษณะทรงพุ่มที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ภายในรงพุ่มต้องโปร่ง                
      ตัดแต่งราก :               
    - ลิ้นจี่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม





หน้าถัดไป (2/7) หน้าถัดไป


Content ©