ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2023 4:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
สยามานุสติ v.s. เกษตรานุสติ
----------------------------------------------------------
.. นาข้าวเคมี 1 ไร่................ต้นทุน 6,000....ขายได้ 8,000
.. นาข้าว อินทรีย์-เคมี 1 ไร่.....ต้นทุน 3,000.....ขายได้ 10,000
ปัญหา : ข้าวลีบ ข้าป่น ข้าวท้องไข่. เมล็ดไม่แกร่งไม่ใส. น้ำหนักไม่ดี. ทำพันธุ์ไม่ดี.
เพราะ : ยูเรีย เกิน ... ธาตุรอง/ธาตุเสริม ขาด
แก้ปัญหา :
แม็กเนเซียม ...................... สร้างใบเขียวถึงวันเกี่ยว,
สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม .... สร้างแป้ง ข้าวไม่ลีบ. ไม่ท้องไข่. ไม่ป่น.
เมล็ดแกร่ง. เมล็ดใส. น้ำหนักดี. ทำพันธุ์ดี.
.........................................................................................................
ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
หญ้าขี่ข้าว : แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น
* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ
* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง
- การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น....ระหว่าง ทำกับไม่ได้ทำ....ทำถูก = ได้ คือ กำไร, ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุนเป็นหนี้ ....ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
- เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ ...
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของตัวเองคือทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือนเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
นาข้าว ทุกชนิด-ทุกสายพันธุ์-ทุกพื้นที่ ปลูกไปแล้ว :
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ปล่อยให้ข้าวเกิดเองแล้วโตเองตามธรรมชาติของต้นข้าว คงได้ข้าวไม่เกิน 80 ถัง ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ลงท้ายได้ราคา 8,000 หักต้นทุนจ่ายแล้ว 4,800 กับที่ยังไม่ได้จ่ายอีก 2,000 รวมเป็น 6,800 งานนี้เหลือคงกำไรแค่ 1,200 ....นา 40 ไร่ x ไร่ละ 1,200 = 48,000
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบสูตรเหมาจ่าย จะแก้ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง 100 ถัง
* ทำแบบเดิมๆ เดิมทุกอย่าง ทำแล้วทำเลย ใส่แล้วใส่เลย แก้ไม่ได้ เอาออกไม่ได้ ให้บำรุง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยสูตรเลยตามเลย ไหนๆก็ไหนๆ แบบประณีต ปัญหา ค่าโรงสีตัดราคาข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ อันนี้โรงสีไม่ตัดราคา กับข้าวรัฐบาลเกวียนละหมื่น ได้หมื่นเต็มๆ แถมปริมาณผลข้าวเปลือกต่อไร่เพิ่มขึ้น จากไร่ละ 80 ถัง เป็น 120 ถัง
* ทำนารอบหน้า นาข้าวสูตรเลยตามเลย แบบประณีต ....
- ลดปุ๋ยเคมีจาก 2 กส. 100 กก. /ไร่ ลงเหลือ 10 กก./ไร่ เปลี่ยนสูตรยูเรีย 16-20-0 เป็น 16-8-8 กับใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงเตรียมดินทำเทือก
- ทำเทือกแบบประณีต ย่ำ 4 รอบ ใส่ปุ๋ยตอนย่ำเทือก (ไม่ต้องจ้างหว่าน), ไม่ต้องยาฆ่ายาคุมหญ้า (ย่ำเทือกกำจัดหญ้าให้), ขี้เทือกดี (จุลินทรีย์ในระเบิดเถิดเทิงช่วย), เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ข้าวทุกต้นได้กินปุ๋ย (เครื่องใส่ปุ๋ย เคมี+อินทรีย์ ลงหน้ารถย่ำเทือก แล้วลูกทุบท้ายรถกวาดเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง)
- ทำนาดำ (ดำด้วยเครื่อง), นาหยอด (หยอดด้วยเครื่องหยอด แรงคนลาก หรืออีต๊อกลาก), ได้ต้นข้าวดี เมล็ดดี ทำพันธุ์ได้.... ลดต้นทุน ค่าแรง ค่าเมล็ดพันธุ์ ลดโรค....
- นา 200 ไร่ นาข้าวแบบประณีต ซื้อทุกอย่าง จ้างทุกอย่าง ตั้งแต่ก้าวแรกลงนา ถึงก้าวสุดท้ายขายข้าวกลับเข้าบ้าน ได้ข้าว 100 ถึงขึ้น ได้กำไรเป็นล้าน
- ที่นา 40 ไร่แค่นี้ เตรียมใจทำนารอบหน้า นาข้าวแบบประณีต นะ....รึว่าไง ?
วันนี้ถึงยุคถึงสมัยที่เราจะต้อง กล้าคิด-กล้าทำ แล้ว เพราะทำแบบเดิมๆยังไงๆมันคงไม่ดีไปกว่าเดิมแน่ เผลอๆจะแย่กว่าเดิมด้วย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในทางลบด้วย ดินแย่ลงๆ ปุ๋ยแพงขึ้นๆ ค่าแรงแพงหนักๆ แถมหายากอีกต่างหาก....ขอบอกว่าทุกอย่างอยู่ที่ ใจ เท่านั้น
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
--------------------------------------------------------------------------------------
ข้าว "สรรพสี" มากสรรพคุณ :
.... ฯลฯ ....
การใช้ใบข้าวสรรพสีในอาหารเสริม :
นำใบข้าวสรรพสีที่มีอายุ 60-80 วัน บดเป็นผงในสภาวะเยือกแข็งสามารถนำไปใช้ในการทำอาหารเสริมได้หลายชนิด
นำผงใบข้าวสรรพสีมาทดสอบความสามารถในการกระตุ้นให้เชื้อจุลินทรีย์ Probiotics หลายชนิดมีชีวิตอยู่ในระบบการย่อยและดูดซึมอาหาร จนไปเจริญเติบโตในลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี สามารถผลิต fatty acid ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กในปริมาณมาก ดังนั้นใบข้าวสรรพสีจึงมีคุณสมบัติในการเป็น Prebiotic ที่ดี
นอกจากนี้การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเพาะจากใบข้าวสรรพสีมีผลช่วยชะลอการเสื่อมของจอรับภาพในระดับเซลล์ของมนุษย์ (Human Retinal Pigment Epithelial Cells, ARPE19) ได้เป็นอย่างดี
สารสกัดจากใบข้าวสรรพสีดังกล่าว น่าจะประยุกต์ใช้ในการชะลอการเสื่อมของจอรับภาพที่มักเกิดในผู้สูงวัย และ ปัจจุบันเกิดในเด็กและ คนทำงานที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
นอกจากนี้ผงใบข้าวสรรพสี ยังนำมาผสมในแป้งทำขนมปังเพื่อเพิ่มปริมาณใยอาหารให้สูงขึ้น พบว่าคุณคุณสมบัติผงใยอาหารช่วยส่งเสริมให้เนื้อขนมปังมีความนุ่มและน่ารับประทานมากขึ้น และยังสามารถช่วยลดดัชนีน้ำตาลของขนมปังได้อีกด้วย
.... ฯลฯ ....
https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/research-develop/rice-research-and-knowledge/402-rainbow-rice-thailand
--------------------------------------------------------------------------------------
* เกษตรกรรุ่นใหม่ สังเกต ทดลอง ปรับใช้ สูตรสำเร็จในการทำนา ผลลัพธ์ :
https://www.chiataigroup.com/article-detail/Rice-MrUdomporn
* เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของชาวนาต้นแบบ :
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_90486
* นาหยอดน้ำตม :
https://www.thairath.co.th/news/local/1935048
* นาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง :
https://www.nectec.or.th/ace2022/exh-wet-dry/index.html
.
|
|
|
kimzagass |
ตอบ: 10/07/2023 1:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
..
166. ครู-นักเรียน ยุคใหม่ :
จาก: (098) 783-01xx
ข้อความ : เรียนคุณตาคิม ซา กัสส์ กรุณนำเสนอเรื่องการทำนาข้าว ที่เป็นควมรู้กึ่งวิชาการ กึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน จะเอาไปเขียนรายงานส่งอาจารย์เกษตร กราบขอบพระคุณค่ะ....เด็กหน่อย สิงห์บุรี
ตอบ :
WELCOME ชาวนาคือเกษตรกรกลุ่มใหญสุดของประเทศ.... ชาวนารอด ประเทศไทยรอด คนทั้งโลกรอด....คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม.....
จาก : (098) 138-62xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน หนูชื่ออ้อม เรียน ม.3 ร.ร. ..?.. จ.ฉะเชิงเทรา ต้องทำโครงงานเรื่องนาข้าวหอมมะลิ หัวข้อที่หนูรับผิดชอบ คือ ปุ๋ยที่จำเป็น มีอะไรบ้าง มีประโยชน์หรือผลเสียต่อต้นข้าวอย่างไรบ้าง และเรื่องอื่นๆที่น่ารู้ค่ะ .... กราบขอบคุณ คุณตาผู้พันอย่างสูงค่ะ
จาก : (065) 148-91xx
ข้อความ : ขอให้พูดซ้ำเรื่องข้อเสียของยูเรียต่อนาข้าว จะบันทึกเสียง .... ขอบคุณครับ
จาก : (084) 428-67xx
ข้อความ : ขอบคุณลุงคิม สมการปุ๋ย อินทรีย์ เคมี ทุกอย่างชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้เลย ขอให้ลุงคิมต่อสู้ต่อไป ขอเป็นกำลังใจครับ .... จากชาวนา สุพรรณบุรี
จาก : (062) 394-01xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมคิดว่า คนที่ทำตามแนวผู้พันมีมาก แต่ไม่พูดไม่เปิดตัว เพราะไม่อยากถูกโต้แย้งที่หาข้อมูลทางวิชาการมาอธิบายไม่ได้ .... ขอบคุณครับ
จาก : (086) 184-29xx
ข้อความ : อยากให้ลุงสรุปข้อเสียของยูเรียต่อต้นข้าว เท่าที่ลุงคิมมีข้อมูล .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
สไตล์เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บรรทัดตอบ 1 หน้า ถาม 1 ข้อตอบ 10 ข้อ.... O.K. ?
ในหนังสือหัวใจเกษตรไท ห้อง 3 เทคโนโลยี เขียนไว้ว่า ....
** ขาดทุนเพราะเทคโนโลยีผิด หรือปฏิเสธเทคโนโลยี
** ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ คิวซี คิวอาร์ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี ออกนอกฤดู ลูกใหญ่ เมล็ดเล็ก คนนิยม จองล่วงหน้าข้ามปี
** เครื่องทุ่นแรง ประหยัดฯ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน
** นาข้าว 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้านแล้วยังเหลือ 2 ล้าน VS ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท
** ชาวนาญี่ปุ่น ต้นทุน 23,000 ขายได้ 100,000 VS ชาวนาไทย ต้นทุน 3,000 ขายได้ 100,000
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี.สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ...ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม ละฮอร์โมน...ต้นทุนลดลงแต่ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ยูเรีย+16-20-0
อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.
- ข้อเสียของยูเรีย.ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต .... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิช ไม่เคยพูด ไม่เคยบอก คือ....
* ยูเรียต่อต้น....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด
* ยูเรียต่อเมล็ด .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมากน้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา
* ยูเรียต่อสารอาหาร...ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก
- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก. ......ปริมาณฟาง 1 ตัน จะให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6.0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก. โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก.
(อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดินและจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ
- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว
- นาดำหลังจากปักดำแล้วใส่แหนแดงหรือแหนเขียว อัตรา 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ หรือกระทงนา ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วยแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว
- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง
- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ
วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อเท็จจริง
แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ
สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ
- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก ....
ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน ....
ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดินสารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว...
ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....
การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน
- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว
- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ
- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด
www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว
https://www.gotoknow.org/posts/145607
ทำนาไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่เกี่ยว
. |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 08/05/2023 6:57 am ชื่อกระทู้: * ชาวนา....กระดูกสันหลังของโลก |
|
.
.
นาข้าว นาข้าว นาข้าว ข้าว ข้าว ข้าว ข้าว :
****************************************
ลด ............ ปุ๋ยเคมี ........... ในกระสอบ ....
เพิ่ม ..... ปุ๋ยอินทรีย์+เคมี ..... ในถังหมัก ....
..... ได้ไหม ? ดีไหม ? เอาไหม ? ....
**********************************************
13. ข้าว :
* ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าว 9 แสนตัน โดยนำเข้าจากเวียดนาม 8 แสนตัน นำเข้าจากไทย 1 แสนตัน
* ข้าวไทยราคาแพงเพราะต้นทุนสูงแต่ไม่พูดว่าต้นทุนค่าอะไร
* ตลาดโลกต้องการข้าวนุ่ม ในขณะที่คุณภาพข้าวไทยต่ำกว่าข้าวเวียดนาม
* ข้าวหอมมะลิไทย ปลูกซ้ำหลายรอบ ทำให้คุณภาพต่ำลง ในขณะที่เวียดนามระวังเรื่องนี้มาก
* ประเทศไทย งานวิจัยใหม่ไม่มี งานวิจัยเก่าไม่เอามาส่งเสริม หรือต่อยอด
ขายข้าวขาดทุน โทษโรงสีให้ราคาต่ำ :
แต่ไม่เคยดูเลยว่าต้นทุนสูงเพราะอะไร ? ค่าอะไร ? เช่น ค่าปุ๋ย, ค่ายา, ค่าดินเสื่อม, ค่าเมล็ดพันธุ์, ค่าคุณภาพข้าว, ค่าโอกาส, ค่าแรง, ค่าเวลา, ค่าพื้นที่, ฯลฯ
** นายกสมาคมฯ เสนอแนะให้ข้าวเปลือก ตันละ 15,000 ชาวนาจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 8,000 เกมส์นี้คิดดู เดิมโรงสีรับซื้อข้าวเปลือกตันละ 8,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงตก กก.ละ 30 คนกินพออยู่ได้ แต่ถ้าโรงสีลงทุนจ่ายค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงจะมิตก กก.ละ 100 หรอกรึ ฉะนี้จะเดือดร้อนกันทั่วประเทศไหม ? ทั้งๆที่ ในความเป็นจริง ต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 3,000 เท่านั้น คิดดู ....
นาข้าว 1 ไร่ :
- ต้นทุนปุ๋ย ระเบิดเถิดเทิง ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า 500 (ซื้อ) 300 (ทำเอง) ได้ธาตุอาหารครบ หลัก รอง เสริม ฮอร์โมน จุลินทรีย์
- ต้นทุนปุ๋ยซื้อ 46-0-0, 16-20-0 (2 กส.) 1,800 (ซื้อเครดิต) ได้ธาตุอาหาร 2 ตัว ตัวหน้า ตัวกลาง ไม่มีตัวท้าย ไม่มีธาตุรอง ไม่มีธาตุเสริม ไม่มีฮอร์โมน ไม่มีจุลินทรีย์
- ต้นทุนค่าสารเคมี ค่ายาฆ่าหญ้า ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้บ่งบอกให้รู้ว่า คนไทยเกษตรกรไทย ทำเป็น/คิดเป็น แค่ "เชิงเดี่ยว" เท่านั้น
การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น
ระหว่าง ทำ กับ ไม่ได้ทำ ....
ทำถูก = ได้ คือ กำไร
ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุน เป็นหนี้
ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของตัวเองคือ ทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
* ผลมาจากเหตุ .... ผลสำเร็จ มาจาก ทำถูก.... ผลล้มเหลว มาจาก ทำผิด ... ถูกหรือผิด วัดที่พืช
* ต้นทุนทำเกษตรยุคนี้ ค่าปุ๋ย 30% ค่ายา 30% ค่าเทคโน 20% ค่าเสียโอกาส 20%
** ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม เผลอๆ จะเลวร้ายไปกว่าเดิมด้วย
** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม .... ทุกปัญหาแก้ได้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ ใจ ใจเท่านั้น
เพราะใจเป็นคนสั่ง
** ปุ๋ย-ปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ตัว อินทรีย์/เคมี แต่ละตัวแต่ละอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร ? ทางใบ ?
ทางราก ? เมื่อไร่ ? เท่าไหร่ ? .... ใช่ปุ๋ยต้องจับหลัก สมการปุ๋ย
** ยา-ยา ยาเคมี/ยาสมุนไพร มีกี่ตัว ? กี่อย่าง ? แต่ละตัวแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร ?
ทางใบ ? ทางราก ? เมื่อไร่ ? เท่าไหร่ ? .... ใช้ยาต้องจับหลัก สมการยา
**
มิติใหม่แห่งนาข้าว
หลักการและเหตุผล :
ปุ๋ย คือ ธาตุอาหารสำหรับพืช ในการเพาะปลูกเมื่อคิดจะปฏิเสธสารอาหารที่เรียกว่า ปุ๋ยเคมี ก็ต้องหาสารอาหารที่เป็นปุ๋ยอย่างอื่นมาแทน เพราะพืชมีความจำเป็นต้องได้สารอาหารเพื่อการพัฒนาตัวเอง ในปุ๋ยเคมีมีสารอาหารอะไร ในปุ๋ยที่จะมาแทนก็จะต้องมีสารอาหารตัวนั้น ครบถ้วนทุกตัวและในปริมาณที่พอเพียงด้วย ตามหลักวิชาการหรือทฤษฎี เราสามารถรู้ได้ว่าต้นข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณเท่าใดเพื่อการเจริญเติบโต ด้วยวิธีตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (LAB) ทางเคมีเท่านั้น แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติจริง การตรวจวิเคราะห์เป็นสิ่งยุ่งยากมากเกินกว่าที่ชาวนาจะเข้าถึงได้ เพราะทุกขั้นตอนต้องพึ่งพาระบบราชการเป็นหลัก
ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ ในระบบราชการนั้น นโยบาย กับ การปฏิบัติ มักจะสวนทางกันอยู่เสมอ ปุ๋ยเคมีในกระสอบที่เป็นสารอาหารของต้นข้าวมีเพียง ธาตุหลัก เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวยังต้องการ ธาตุรอง. ธาตุเสริม. และฮอร์โมน. ซึ่งปุ๋ยเคมีในกระสอบไม่มีธาตุอาหารเหล่านี้ หรือมีแต่ไม่มากเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตใส่เติมให้แต่ก็ต้องจ่ายเงินซื้อแพงขึ้น ในต้นพืชในแปลงนา ได้แก่ ฟาง. หญ้า. วัชพืช. ซึ่งพืชเหล่านี้เคยได้อาศัยปุ๋ยของต้นข้าวไปพัฒนาตัวเอง เมื่อไถกลบแล้วเน่าสลายก็จะกลายเป็นปุ๋ย เรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเหล่านี้ถือเป็นสารอาหารพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า อินทรีย์สาร หรือ สารอินทรีย์ ซึ่งนอกจากใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นข้าวโดยตรงได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงสภาพโครงสร้างดิน และจุลินทรีย์ อีกด้วย
นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี
ไนโตรเจน 32 กก.
ฟอสฟอรัส 22 กก.
โปแตสเซียม 8 กก.
แคลเซียม 14 กก.
แม็กเนเซียม 6 กก.
กำมะถัน 2 กก.
ซิลิก้า 13 กก.
ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ในปุ๋ยน้ำชีวภาพสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน มีส่วนผสม 2 ประเภท ได้แก่ ส่วนผสมที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวรการย่อยสลาย ปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. มูลค้างคาว. นม. น้ำมะพร้าว. ฮิวมิค แอซิด. จุลินทรีย์. อะมิโนโปรตีน. ฮอร์โมนธรรมชาติ. สารท็อกซิค. กับส่วนผสมที่เป็นสารอาหารจากปุ๋ยเคมีประกอบด้วย ธาตุหลัก. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ใส่เติมเพิ่มลงไปก่อนใช้งาน เพื่อชดเชยปริมาณสารอาหารในสารอินทรีย์ซึ่งอาจจะมีน้อยให้พอเพียงต่อความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชอายุสั้นฤดู กาลเดียว อื่นๆ
จากประสบการณ์ตรงที่เคยพบว่าพืชประเภทนี้ต้องการสารอาหารกลุ่มปุ๋ยเคมีเพียง 1 ใน 10 ของอัตราที่เกษตรกรนิยมใช้ ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชทั่วๆไปที่รับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ปากใบและปลายราก การได้รับสารอาหารแบบ ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สม่ำเสมอ น่าจะชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีที่ลดลงได้ กอร์ปกับช่วงที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตในแต่ละระยะนั้น ลักษณะทางสรีระวิทยาพืช (ต้นข้าว) จะบ่งบอกว่าปริมาณสารอาหารหรือปุ๋ยทางดินเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็สามารถเติมเพิ่มภายหลังได้ นาข้าวแบบนาดำด้วยรถดำนานอกจากจะให้ผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณสูงกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด) แล้วการปฏิบัติบำรุงและการป้องกันโรคและแมลงยังง่าย ประหยัดเวลา และแรงงานอีกด้วย
เป้าหมายทำนาข้าว เพื่อ....
1. ขายพันธุ์ข้าวปลูกให้แก่ชาวนาแปลงใกล้เคียง
2. สีเป็นข้าวกล้องบรรจุถุง
3. สีเป็นข้าวกล้องแล้วแปรรูปเป็นน้ำกาบา
4. ขายให้โรงสีเป็นข้าวอินทรีย์
ภายใต้สภาพโครงสร้างดินดี ตามสเป็คกรมพัฒนาที่ดินกำหนด จำนวนปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้แก่พืชแต่ละครั้งนั้นต้นพืชสามารถนำไปใช้ได้จริงเพียง 4 ใน 10 ส่วนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเหลือตกค้างอยู่ในเนื้อดิน 6 ใน 10 ส่วน ของทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยลงไป
การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในเนื้อดินทุกปี ต่อเนื่องหลายๆปี จึงเท่ากับได้มีปุ๋ยเคมีส่วนหนึ่งเหลืออยู่ในเนื้อดินแล้ว ปุ๋ยส่วนนี้พร้อมให้ต้นข้าวนำไปใช้งานได้อยู่แล้ว จัดทำปฏิทินการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวระยะต่างๆ แล้วปฏิบัติตามปฏิทินอย่างเคร่งครัด เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือในการควบคุมน้ำให้พร้อมใช้อยู่เสมอ จัดทำบัญชีฟาร์ม ส่วนที่ซื้อ. ส่วนที่ทำเอง (ต้นทุน). ค่าแรง (จ้าง). ค่าแรง (ทำเอง). ฯลฯ
ข้อสังเกต......ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักอ้างว่า ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มผลผลิต แต่ในแปลงนาข้าวแห่งหนึ่ง ใส่ปุ๋ยเคมี 10 กก./ไร่/รุ่น ได้ผลผลิต 100 ถัง ในขณะที่แปลงข้างเคียงใส่ปุ๋ย 50 กก./ไร่/รุ่น ซึ่งใส่มากกว่า 5 เท่า กลับได้ผลผลิตเท่ากัน...... ข้อสงสัยก็คือ ในเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่า 5 เท่า แล้วทำไมจึงไม่ได้ผลผลิต 500 ถัง .......ในขณะเดียวกัน ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีมักไม่กล่าวถึง หลักธรรมชาติ ว่าด้วยเรื่อง ปุ๋ยเดิมเหลือตกค้างในดิน. การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี. การเพิ่มธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน. และอื่นๆ เพื่อให้ต้นข้าวได้รับธาตุอาหารครบถ้วนที่สุด.
สรุป :
1. ลดสารอาหารจากปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ทางดิน แล้วเพิ่มด้วยสารอาหารจากปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรเลือกสรรวัสดุส่วนผสมพิเศษ
2. เพิ่มปุ๋ย (ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน) ทางใบ
3. ปรับช่วงการให้โดยให้ทางใบ ทุก 5-7 วัน
ตัวเลขหนึ่งในนาข้าวที่หายไปอย่างน่าสงสัย คือ.....
เมล็ดข้าว 1 เมล็ด ....................... ปลูกแล้วได้ต้นข้าว 1 กอ
ต้นข้าว 1 กอ ............................ บำรุงดีแตกกอได้ 50 ลำ
ลำต้นข้าว 1 ลำ ......................... ได้เมล็ดข้าว 1 รวง
ข้าว 1 รวง ............................... บำรุงปกติได้ 100 เมล็ด
ดังนั้น ลำข้าว 50 ลำซึ่งเกิดจากเมล็ดพียง 1 เมล็ด จะได้เมล็ดข้าว 5,000 เมล็ดหรือได้มากขึ้น
5,000 เท่า...กรณีที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 1 ถัง ก็น่าจะได้เมล็ดข้าว 5,000 ถัง ใช่หรือไม่ ?
**** ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
เรื่องสายพันธุ์ ปลูกไปแล้วปลูกเลย แก้ไม่ได้ แต่คุณภาพ ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวป่น ข้าวที่โรงสีตัดราคา แก้ได้....
****************************************************************
. |
|
|