-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* GAP พืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เจาะลึก ผักสวนครัว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เจาะลึก ผักสวนครัว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11615

ตอบตอบ: 31/01/2024 9:45 am    ชื่อกระทู้: * เจาะลึก ผักสวนครัว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เจาะลึก ผักสวนครัว


ผักสวนครัว :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=7


ทำดินผสมสำหรับปลูกพืช (ผักสวนครัว) :
https://esc.doae.go.th/19-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/


ปลูกผักขายหารายได้เสริม ทุนน้อยก็สร้างอาชีพได้
https://www.opsmoac.go.th/chiangrai-article_prov-preview-441191791814


“ปลูกผักในกะละมัง” ต้นทุนต่ำ ดูแลง่าย สร้างรายได้กะละมังละร้อย
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_233559


กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือกับเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง
http://kasetfocusnews.com/index.php/%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3/1308-covid-19.html


เกษตรชัยนาทชวนงดทำนาปรังปลูกพืชผักทดแทน
https://www.posttoday.com/politics/322667


ขอข้อมูลปลูกผักกินผลแบบออร์แกนิคส์
https://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6626


อยากให้มะเขือมีเนื้อมาก มีเมล็ดน้อย ลูกใหญ่ ลูกดก
https://www.facebook.com/RicemanagerNewfarmers/posts/1394157420709554/



ขั้นตอนการดูแลตะไคร้
http://www.paiboonrayong.com/articles/389230/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89.html



บำรุงผักกิน ผล/ยอด/ดอก/หัว/ใบ
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7357#top


เกษตร อินทรีย์ V.S. เคมี
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6294


************************************************************

จาก : (062) 173-92 xx
ข้อความ : อยากทำผักอินทรีย์ ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีจากร้านขายปุ๋ย แต่จะใช้ปุ๋ยลุง ใช้สูตรไหน

จาก : (093) 720-16 xx
ข้อความ : ลุงครับ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี เป็นอาหารพืชทั้งคู่ เราเลือกใช้ตัวไหนนำ ตัวไหนเสริม ขอบคุณครับ
ตอบ :

- สรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้ง ข้อดี-ข้อเสีย บางอย่าง ข้อดีมากข้อเสียน้อย บางอย่างข้อดีน้อยข้อเสียมาก กรณีปุ๋ย ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยอินทรีย์ ถือหลัก “สมการปุ๋ย” เป็นเกณฑ์ในการ คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ แล้วจึง “ฟันธง”

- ขึ้นชื่อว่าพืชต้องอยู่บนพื้นฐานเรียกที่เรียกว่า “ปัจจัย 6 ในการดำรงชีวิต” นั้นคือ “ดิน. น้ำ. แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล. สารอาหาร. สายพันธุ์. โรค. ตามความเหมาะสมของธรรมชาติ (เน้นย้ำ....ธรรมชาติ) ของพืชแต่ละชนิด หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีปัญหา จะส่งผลไปถึงปัจจัยอื่นๆด้วย ลงท้ายคือ ส่งผลถึงพืชนั่นเอง เพราะฉนั้นจึงมีคำว่า “ตามความเหมาะสม” (ตามความเหมาะสมของปัจจัยแต่ละปัจจัย) กำกับไว้ด้วย

เปรียบเทียบ "ข้อดี/ข้อด้อย" ของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ :
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ :
1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี เช่น มีความโปร่งร่วนซุย มีความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี

2. สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น

ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้

ข้อดีของปุ๋ยเคมี :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวน

ข้อด้อยของปุ๋ยเคมี :
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
2. ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ถ้าใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น ต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว

3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด

4. ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยพอสมควร จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบแทนคุ้มค่า

เกร็ดความรู้เรื่องปุ๋ย จากวิชาการสู่การปฏิบัติ :
- ปุ๋ยทางใบ สามารถให้แก่พืชได้ทั้ง ทางรากและทางใบ เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบแบบโชกๆให้ใบเปียกจนล้นลงถึงพื้นดิน จึงเท่ากับเป็นการให้ปุ๋ยทางรากไปในตัว

- ปุ๋ยทางใบมี "น้ำ" เป็นฟิลเลอร์ จึงไม่เป็นส่งผลเสียต่อดินเหมือนฟิลเลอร์ที่เป็นของแข็งในปุ๋ยทางราก
- ปุ๋ยทางใบที่เป็นคีเลต. เมื่อตกลงดินระบบรากสามารถดูดซับนำเข้าสู่ต้นได้ทันที ในขณะที่ปุ๋ยทางรากจะต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์.โดยจุลินทรีย์ก่อน ต้นพืชจึงจะสามารถดูดซึมนำไป ใช้ได้ การปับสภาพปุ๋ยทางบใบให้เป็น "ทางด่วน" (ผ่านปากใบเข้าสู้ต้นได้เร็ว) สามารถทำได้โดยการเติม "น้ำตาลกลูโคส" ลงไปก่อนฉีดพ่น

- ปุ๋ยทางใบแสดงผลต่อพืชได้เร็วกว่าปุ๋ยทางราก ในพืชอายุสั้น (ผักสวครัว) จะมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าการให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบ ควรให้ขณะที่ใบยังเปียกและปากใบเปิดเต็มที่แล้ว นั่นคือ ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ควรฉีดพ่นน้ำเปล่าเพื่อให้ปากใบเปิดก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงฉีดพ่นปุ๋ยตามไป นอกจากนี้เทคนิคการฉีดแบบ 2 ครั้ง โดยแบ่งปริมาณปุ๋ยทางใบที่จะให้ ณ รอบนั้เป็น 2ส่วนๆ ละเท่ากัน โดยปฏิบัติดังนี้

ครั้งแรก..... ฉีดพ่นน้ำเปล่า ทิ้งไว้ 10-15 นาที
ครั้งที่ 2..... หลังจากทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้ว ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรก
ครั้งที่ 3..... หลังจากฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรกทิ้งไว้ 10-15 นาที จึงฉีดพ่นรอบที่ 2

ซึ่งการให้ปุ๋ยทางใบแบบ 2 รอบนี้ เมื่อรวมปริมาณปุ๋ยแล้วจะได้เท่ากับการให้เพียงครั้งเดียว แต่ได้ผลกว่าเพราะขณะให้ปุ๋ยนั้น สภาพใบเปียกชื้น และจากการที่ใบค่อยๆดูดซึมปุ๋ยเข้าสู่ต้นอย่างช้าๆทำให้ต้นได้รับปุ๋ยมากขึ้น ในขณะที่การให้แบบครั้งเดียว ปุ๋ยส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่จะตกลงพื้นเนื่องจากปากใบดูดซับไม่ทัน

- ปุ๋ยทางใบมีความจำเป็นอย่างมากต่อต้นที่มีปัญหาระบบราก หรือดินเสื่อม กล่าวคือ เมื่อต้นไม่สามารถรับสารอาหารทางรากก็ควรให้ทางใบแทน

- ราคาปุ๋ยทางใบเทียบกับปุ๋ยทางรากแบบ หน่วย: หน่วย ปุ๋ยทางใบจะมีราคตาสูงกว่า แต่เมื่อเทียบปริมาณการใช้กับประโยชน์ที่พืชได้รับแล้ว จะพบว่าปุ๋ยทางใบราคาถูกกว่ามาก

- ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้นมีการตอบสนองดีก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์รองรับ สภาพอากาศและอุณหภูมิเหมาะสม

เก็บตกจากงานสัญจร :
สมช. : ลุงครับ อยากให้ลุงแนะนำ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับพืช พืชไร่ ผักสวนครัว เอาสูตรของลุง สูตรฟันธงเลยครับ
ลุงคิม : ขึ้นชื่อว่าพืช พืชคือพืช พืชสวน พืชไร่ พืชน้ำ พืชล้มลุกอายุสั้น 1เดือน 2เดือน 3เดือน พืชอายุสั้นข้ามปี พืชกินใบ กินดอก กินผล กินใบ กินยอด กินหัว ต้องกินปุ๋ยทั้งนั้น ทางใบทางราก ที่จริงพืชไม่มีปัญหาแต่ปัญหาอยู่ที่คน คนเลี้ยงพืชตามใจคน ไม่ใช่ตามใจพืช

ในความเป็นจริง พืชไร่ พืชผักสวนครัว เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ความต้องการปุ๋ยหรือสารอาหารไม่มากเหมือนลำไย มะม่วง มังคุด ที่อายุยืนนับ 100 ปี .... เอาเป็นว่า

*** ทางดิน : ทุกพืชทุกผักที่ยกตัวอย่างเมื่อกี้นี้ คุณใส่ปุ๋ยเคมี เน้นย้ำปุ๋ยเคมีทางดินแค่ 2 กก./ไร่/รุ่น เท่านั้น ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง

*** ทางใบ พืชกินใบ : ให้ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 5-7 วัน ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +ยาน็อคสารสมุนไพรไปด้วย เพื่อไม่เสียเวลา

*** ทางใบ พืชกินผล : ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + ไทเป 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 5-7 วัน ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +ยาน็อคสารสมุนไพรไปด้วย เพื่อไม่เสียเวลา

*** ทางใบ พืชกินหัว : ให้ ไบโออิหัวโต 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 5-7 วัน ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +ยาน็อคสารสมุนไพรไปด้วย เพื่อไม่เสียเวลา

*** เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง : สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย แปลงผักขนาดโซนละ 1 ไร่ ใช้เวลา 3-5 นาที/ครั้ง แรงงานคนเดียว เลือกเวลาทำงานได้ แม้แต่ ตี.5 ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด โรคราน้ำค้าง ตอนเที่ยงกำจัดเพลี้ยไฟ ตอนค่ำไล่แมลง ฆ่าหนอนที่ออกหากิน ทำบ่อยๆ ทำทุกวัน ศัตรูพืชอะไรก็อยู่ไม่ได้

*** คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... เกษตรแปลงนี้ :
- ผลผลิตเพิ่ม .... ทั้งปริมาณ และคุณภาพ
- ต้นทุนลด ....... ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมียาฆ่าแมลง ขายถูกได้เพราะต้นทุนต่ำ ต่ำมากๆ ๆๆ เมื่อเทียบกับผัก ปุ๋ยเคมีเพียวๆ สารเคมียาฆ่าแมลงเพียวๆ

- อนาคตดี ........ คนปลูกปลอดภัย คนกินปลอดภัย ผักรสชาติดี แม่ค้าจองล่วงหน้า

สมช. : จริงครับ เห็นด้วยครับ...

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
สวนผักแบบเกษตรอินทรีย์ 100% :
เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ประวัติดิน ปลอด 100% ปุ๋ยเคมี สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ติดต่อกันมานาน 2-3 ปี
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ปุ๋ยเคมี) แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "กุ้งหอยปูปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้างคาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ

- เพื่อชดเชยหรือทดแทนสารอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า และน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง) ที่อาจมีน้อย ไม่เพียงต่อความต้องการของผัก แก้ไขด้วยการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ฮอร์โมนธรรมชาติ ด้วยการให้บ่อยๆ

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ 50 องศา + ยูเรก้า + ผงชูรส + ยาคูลท์ 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย หรือจะเพาะในแปลงเพาะกล้าก่อนก็ได้

- หว่านเมล็ดในแปลงจริงทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ เพราะเมื่องอกขึ้นมาแล้วต้องถอนแยกบางต้นที่เบียดกันออก แต่ถ้าเพาะเมล็ดในกระบะเพราะเมล็ด (1 ช่อง : 1 เมล็ด) เป็นกล้าก่อน เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง นอกจากไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์แล้ว ยังได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงดีอีก

บำรุง :
ผักกินผล (เถา .... ถั่วพู มะระ ฟัก บวบ แตง ฯลฯ)
ทางใบ : สหประชาชาติ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ปุ๋ยอินทรีย์ เดือนละครั้ง

ผักกินผล : (พุ่ม .... มะเขือ พริก ฯลฯ)
ทางใบ : สหประชาชาติ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินยอด : (ตำลึง มะระแม้ว ชะอม หวานบ้าน หวานป่า ฯลฯ)
ทางใบ : ไบโออิ + ยูเรก้า + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10

ผักกินดอก : (ขจร แค ฯลฯ)
ทางใบ : ไทเป + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดือนละครั้ง

ผักกินหัว : (ขิง ข่า ไชเท้า แคร็อท หอม กระเทียม ฯลฯ)
ทางใบ : หัวโต + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เบียร์สด สาโท เดือนละครั้ง

ผักกินใบ : (คะน้า ผักกาด โหระพา แมงลัก กระเพา ฯลฯ)
ทางใบ : ไบโออิ + สมุนไพร
ทางราก : น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ครั้งเดียว เริ่มปลูก

ปล.
การ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช :
สปริงเกอร์ :
* เช้ามืด .............. ฉีดล้างน้ำค้างกำจัดราน้ำค้าง
* สาย ................. 10 โมงเช้า ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
* เที่ยง มีแดด ........ กำจัดเพลี้ยไฟ
* เที่ยง ไม่มีแดด ..... กำจัดไรแดง
* กลางวันฝนตก ...... วันฝนตกต่อแดด ล้างน้ำฝนป้องกันกำจัดแอนแทร็คโนส
* กลางวันฝนตก ...... ก่อนฝนตก หรือหลังฝนตก ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน
* ค่ำ .................. ล้างช่อกำจัดราดำ กำจัดเพลี้ยจักจั่น, หนอนเจาะช่อดอก
* มืด .................. กำจัดแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่. หนอนออกหากิน

ไอพีเอ็ม :
- กับดักสีเหลือง กาวเหนียว (กลางวัน)
- กับดัก กาวเหนียว แสงไฟ (กลางคืน)
- บำรุงต้นให้สมบูรณ์ เป็นภูมิต้านทาน
- ปลูกพืชกลิ่นไล่ แซม/แทรก
- อนุรักษ์แมลงธรรมชาติ

https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6900



**********************************************************


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©