mongkol สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010 ตอบ: 143
|
ตอบ: 30/08/2024 9:22 am ชื่อกระทู้: ป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว |
|
|
ขออนุญาตส่งต่อผลงานอาจารย์สุวัฒน์ที่โพสต์เอาไว้ใน facebook
เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล : น้ำคั้นผลสับปะรด หยุดการแพร่ระบาดได้จ้า
ความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล เกิดขึ้นเนื่องด้วยเพลี้ย สามารถวางไข่และฟักเป็นตัวได้คราว ละมากๆ
ถ้าทําให้ไข่ให้ฝ่อ ไม่ฟักเป็นตัวแต่แรกได้ ตัดวงจรก็เท่ากับสามารถควบคุมความเสียหายไว้ ได้ เป็นการตัดไฟต้นลม ไม่รอให้ความเสียหายเกิดขึ้น แล้วค่อยแก้ไข
เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล เลือกทําลายต้นข้าวบริเวณที่ลุ่มก่อน ต่อเมื่อต้นข้าวบริเวณนั้นถูกทําลายหมด แล้ว จึงทําลายต้นข้าวในที่ดอนกว่าต่อไป มีผลให้ต้นข้าวไหม้เป็นหย่อมๆ
หากปรับพื้นแปลงนาให้เรียบ เสมอกัน เมื่อไขน้ําออก ก็จะทําให้แปลงนากลายเป็นที่ดอน ไม่
เหมาะต่อเพลี้ย จะอยู่อาศัย
สังเกตต้นข้าวนอกนา ที่ขึ้นบนคันนา ไม่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล เพราะต้นข้าว มีความแข็งแกร่ง เพลี้ยไม่ชอบนั่นเอง
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกิน ทั้งขังน้ํา ทําให้ใบข้าวอ่อนอวบเขียวเข้ม ใบโค้งทับซ้อนร่มรื่น พรั่งพร้อม ด้วยอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เช่นนี้แล้ว เพลี้ยชอบมาก
สภาพที่ ฟ้าปิด และ อากาศร้อน อบอ้าว เหมือนฝนจะตกแต่ไม่ตก นามีน้ําขัง มักเป็นปัจจัยให้เกิดการ ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลได้ง่าย
ตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ชอบเล่นไฟ ถ้าพบบินมาเล่นไฟ แสดงว่าต่อจากนี้ไปก็จะเข้าสู่การเริ่ม ต้นของการแพร่ระบาด
ตัวเมียวางไข่โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงทะลุกาบใบเข้าไปวางไข่ไว้ภายใน ใช้น้ําคั้นผลสับปะรด ซึ่งมีน้ํา ย่อยโปรตีน บรอมีเลน ฉีดพ่นให้ไหลลงตามใบเข้าไปสู่ภายใน ย่อยทําลายเปลือกไข่ ซึ่งเปลือกไข่ของ แมลง เกิดขึ้นจากการถักทอของเส้นใยโปรตีน โปรตีนเปลือกไข่ถูกทําลาย ทําให้ไข่ฝ่อ ไม่ฟักเป็นตัว
ปัจจุบัน สามารถใช้ผงน้ําย่อยบรอมีเลน ละลายน้ําผสมฉีดพ่นได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาทําน้ําคั้นผล สับปะรด
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อ่อนแอต่อน้ํามันสะเดา ทําให้หยุดกินอาหาร ลดการผสมพันธ์ุ วางไข่น้อยลง และ ไม่ลอกคราบ ตายได้ กลิ่นน้ํามันสะเดาไล่ตัวเต็มวัย ไม่ให้เข้ามาอยู่อาศัย
นอกจากนั้น ทั้ง ไข่ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัย ของเพลี้ย อ่อนแอต่อเชื้อราบิวเวอเรีย จึงใช้ยาเชื้อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการกําจัดเพลี้ยได้อีกแรงหนึ่ง
การผสม กรดซิลิซิก ฉีดพ่นร่วมเข้าไปด้วย ใส่เสื้อเกราะป้องกัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ต้นข้าว เป็น เหมือนต้นข้าวนอกนา ทําให้เพลี้ยไม่ชอบด้วยเช่นกัน
1.การทําสงครามกับเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ช่วงเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลระบาดที่ผ่านมา แปลงนาสาธิตโรงเรียน แปลงนาของนักเรียน และ แปลงนาทั่วไปได้รับผลกระทบ ปัญหาไม่ได้ผ่านไปเฉยๆ แต่เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1.1 เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล เลือกทําลายต้นข้าวบริเวณที่ลุ่มก่อน หมดแล้วจึงเข้าทําลายต้น ข้าวในที่ดอน จึงเห็นต้นข้าวถูกทําลายไหม้เป็นหย่อมๆ ซึ่งก็คือบริเวณที่ลุ่มในแปลงนานั้นๆที่ลุ่มน้ําขัง มีความชุ่มชื้นเพลี้ยชอบอยู่อาศัย
ดังนั้น หากปรับพื้นแปลงนาให้เรียบเสมอกัน เมื่อไขน้ําออก ก็จะทําให้กลายเป็นที่ดอนทั่วทั้ง แปลงนา ไม่เหมาะต่อเพลี้ยจะอยู่อาศัย ต่างจากแปลงนาที่พื้นดินนาลุ่มๆดอนๆ จะไขน้ําออกก็ยังคง เหลือบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม จึงพบการทําลายเป็นหย่อมๆ ดังกล่าวแล้ว
1.2 พบเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลบริเวณที่ต้นข้าวขึ้นหนาแน่นอยู่อาศัย มากกว่าบริเวณที่ต้นข้าว ขึ้นบาง นาน้ําตม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเกินกว่า 2 ถัง ป้องกันกําจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ทําได้ยากขึ้น หากหว่านไม่เกิน 1 ถัง ไม่ต้องกลัวเพลี้ยเลย เพราะป้องกันกําจัดได้ง่ายมาก
1.3 สังเกตต้นข้าวบนคันนาที่เกิดจากเมล็ดข้าวตกหล่นแล้วงอกขึ้นมา มักแตกกอดี ต้นเตี้ย ออกรวงมีน้ําหนักดี ทั้งๆที่ไม่มีใครเอาใจใส่รดน้ําให้ปุ๋ยฉีดพ่นยาให้ โรคแมลงไม่รบกวน ซึ่งรวมทั้งไม่ พบเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเข้าอยู่อาศัยด้วย เพราะต้นข้าวมีความแข็งแกร่งนั่นเอง
เรื่องนี้ยืนยันว่า การปรับพื้นแปลงนาให้เรียบเสมอกัน หว่านข้าวไม่เกิน 1 ถัง การให้น้ําแห้ง สลับเปียก และ การจัดการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม ทั้งชนิดและปริมาณของธาตุอาหาร ตามความต้องการ ของแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของต้นข้าว จะช่วยป้องกันการเข้าทําลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ได้มาก และทั้งง่ายต่อการป้องกันกําจัด
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกิน ทั้งขังน้ํา จนทําให้ใบข้าวเขียวเข้ม ต้นสูงใบโค้งทับซ้อนกัน เท่ากับ สร้างบ้านหลังคามุงด้วยใบข้าวอย่างดี พร้อมอาหารอุดมสมบูรณ์ เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลจึงชอบที่จะ เข้ามาอยู่อาศัยกินนอนสบายใจไปเลย ฉีดพ่นยาก็ไม่ถึงตัวเพลี้ยแล้วชาวนาจะเหลืออะไร
1.4 สภาพภูมิอากาศที่ ฟ้าปิด และ อากาศร้อนอบอ้าวเหมือนฝนจะตกแต่ไม่ตก นามีน้ําขัง มัก เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล การเว้นช่วงของการปลูกข้าว เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาด ไม่ได้ผล เช่น น้ําท่วมไม่ได้ปลูกข้าวเท่ากับเว้นการปลูกข้าวไปแล้ว แต่เมื่อกลับมาปลูกใหม่หลังน้ํา ลด เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลก็กลับมาระบาดได้อีก บางแห่งทํานาปีละครั้งเดียวเท่านั้น ก็พบการระบาด เช่นกัน เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล สามารถอพยพมาจากแหล่งอาศัยอื่นได้
1.5 การใช้พันธ์ุข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ช่วยลดความเสียหายลงได้มาก
2. รู้เขา รู้จุดอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล
2.1 ตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลชอบเล่นไฟ การมาของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล จึงสังเกต ได้จากโคมไฟที่ส่องสว่างในเวลากลางคืน ถ้าพบตัวเพลี้ยบินมาเล่นไฟ แสดงว่าต่อจากนี้ไปก็จะเข้าสู่ ช่วงของการระบาด โอกาสนี้ก็ควรฉีดพ่นยาสมุนไพรป้องกันไม่ให้เพลี้ยเข้าไปอยู่ในแปลงนา และ ก่อน อื่นใด ก็ควรอย่างยิ่งที่จะฉีดพ่นตัวเพลี้ยขณะเล่นไฟด้วยเชื้อชีวภัณฑ์ ฝากเชื้อให้ติดตัวไป แม้จะบินไป อาศัยอยู่ที่ไหนก็ไม่พ้นถูกเชื้อทําลาย เป็นเบื้องต้นของการป้องกันการแพร่ระบาด
2.2 ตัวเมียเจาะกาบใบข้าวเหนือระดับน้ําเล็กน้อย เพื่อวางไข่อยู่ภายใน สามารถฉีดพ่นด้วย น้ําคั้นผลสับปะรด หรือ สารละลายผงน้ําย่อยบรอมีเลน ให้ไหลลงไปตามใบข้าวเข้าไปทําลายเปลือกไข่ ทําให้ไข่ฝ่อไม่ฟักเป็นตัว
2.3 ตัวอ่อนแรกฟักออกจากไข่ และที่เพิ่งจะลอกคราบ ทั้งหมดรวม 5 ครั้ง ล้วนมีผนังลําตัวที่ ยังบอบบาง สามารถใช้น้ําคั้นผลสับปะรด หรือ สารละลายผงน้ําย่อยบรอมีเลน ฉีดพ่นทําลายผนังลําตัวให้เสียหายถึงตายได้
2.4 ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อ่อนแอต่อน้ํามันสะเดา ทําให้หยุดกินอาหาร ตัวเต็มวัยลดการ ผสมพันธ์ุ วางไข่น้อยลง ไข่ฝ่อไม่ฟักเป็นตัว และ ตัวอ่อนไม่ลอกคราบ กลิ่นน้ํามันสะเดาไล่ตัวเต็มวัย ไม่ให้เข้ามาอยู่อาศัย นอกจากนั้นสารสะเดายังช่วยกําจัดเชื้อไวรัสที่เพลี้ยถ่ายเชื้อให้แก่ต้นข้าวได้ด้วย การเสริมฤทธิ์สะเดาด้วยนิโคตินจากยาสูบและ/หรือ คาเฟอินจากผงกาแฟสําเร็จรูป เพลี้ย ตายแล้วตายเลย ไม่ฟื้นคืนชีพ กลับมาระบาดใหม่ได้อีก ต่างจากการใช้สารเคมี ที่ยิ่งฉีดพ่นซ้ำครั้ง มากเท่าไร เพลี้ยก็ยิ่งดื้อต่อสารเคมีมากขึ้นเท่านั้น ตายยากขึ้น ประชากรของเพลี้ย ก็จะยิ่งเพิ่มมาก ขึ้นตามไปด้วย ยิ่งฆ่ายิ่งมีมาก เสียเวลาทั้งเงินที่ซื้อยา และ ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ควรได้จากนาข้าว
2.5 เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล อ่อนแอต่อเชื้อราบิวเวอเรีย จึงใช้ยาเชื้้อช่วยกําจัดเพลี้ยที่หลีก หลบซ่อนเร้น ในที่ที่ฉีดพ่นยาไม่ถึง และ บริเวณนั้นมีความชื้นไม่ต่ํากว่า 50 % ซึ่งมักเป็นบริเวณที่เพลี้ย ชอบอยู่อาศัย ให้ตายลงได้
3. อาวุธสําหรับใช้ในการรบ
3.1 น้ํามันสะเดา 70 % อี.ซี.
น้ํามันหีบเย็นจากเนื้อในเมล็ดสะเดา ผสม ตัวอีมัลซิไฟเออร์ อัตรา 7 ต่อ 3 โดยน้ําหนัก
3.2 น้ําหมักผลสะเดา
แช่ผลสะเดาแห้งบด 1 ก.ก.ในน้ํา 10 ลิตร + น้ํายาจับใบ 100 ซี.ซี. หมักไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นกรองหรือคั้นเอากากออก ได้น้ําหมักผลสะเดา ซึ่งจะมีน้ํามันสะเดาละลายออกมา ประมาณ 100 ถึง 200 ซี.ซี. ทําเสร็จแล้วใช้ให้หมด ห้ามเก็บไว้
3.3 น้ําหมักผลสะเดา + ยาสูบ + กาแฟไทย
ทําอย่างข้อ 3.2 เพียงแต่เติมยาฉุนลงไป 100 กรัม พร้อมกับการแช่ผลสะเดา ขั้นตอน
อย่างอื่นเหมือนกัน คั้นเอากากออกแล้ว เติมผงกาแฟสําเร็จรูป ลงไป 200 กรัม คนให้ละลายเข้ากัน ทําเสร็จแล้วใช้ให้หมด ห้ามเก็บไว้
3.4 สารสกัดสะเดา
หมัก ผลสะเดาแห้งบด 500 กรัม + เอธีลแอลกอฮอล 70 % ( แอลกอฮอล ล้างแผล ) 900 ซี.ซี. + น้ํายาจับใบ 100 ซี.ซี. ในภาชนะมีฝาปิดสนิท 7 วัน จึงคั้นเอาแต่น้ํา เก็บไว้ใช้
3.5 สารสกัดยาสูบ+กะทิสด+กาแฟไทย
คลุกเคล้า มะพร้าวแกงขูด 200 กรัม กับ ยาฉุน 100 กรัม ให้เข้ากันด้วยดี เทน้ําร้อน เดือดลงไป 1 ลิตร คั้นเอากากออก เติมผงกาแฟสําเร็จรูป เนื้อกาแฟล้วนๆลงไป 200 กรัม คนให้ ละลายเข้ากัน ทําเสร็จแล้วใช้ให้หมด ห้ามเก็บไว้
3.6 สารสกัดยาสูบหมัก ยาฉุน 200 กรัม + เอธีลแอลกอฮอล 70 % ( แอลกอฮอล ล้างแผล ) 450 ซี.ซี.+น้ําส้มสายชูกลั่น 5 % 450 ซี.ซี. + น้ํายาจับใบ 100 ซี.ซี. ในภาชนะมีฝาปิดสนิท 7 วัน จึงคั้นเอา แต่น้ํา เก็บไว้ใช้
3.7 น้ําคั้นผลสับปะรด
ผลสับปะรดสุก มีน้ําย่อย 2 ชนิด ได้แก่ น้ําย่อยโปรตีน ที่เรียกว่า บรอมีเลน กับ น้ําย่อยไคติน ที่เรียกว่า ไคติเนส
เปลือกไข่แมลงประกอบด้วย โปรตีน น้ําย่อยโปรตีนในผลสับปะรด สามารถย่อยทําลาย เปลือกไข่ ทําให้ไข่ฝ่อไม่ฟักเป็นตัวอ่อน ส่วนไข่ที่ไม่ถูกน้ําคั้นผลสับปะรดนับแต่แม่เพลี้ยวางไข่ได้ 7 วัน จะฟักเป็นตัวอ่อน จากนั้นประมาณ 16 วัน ตัวอ่อน จะลอกคราบ 5 ครั้ง เฉลี่ย 3 วัน ต่อ ครั้ง
ตัวอ่อน ที่เพิ่งแรกฟักออกจากไข่ ทั้งตัวอ่อน ที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ ล้วนมีผนังลําตัวที่ สร้างขึ้นจากโปรตีน และ ไคติน ด้วยโครงสร้างที่ยังบอบบาง ไม่ทนต่อน้ําย่อย บรอมีเลน และ ไคติเนส น้ําคั้นผลสับปะรด จึงเข้าทําลายตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล ในช่วงระยะนี้ได้
วิธีการทําน้ําคั้นผลสับปะรด
ผลสับปะรดสุก เอาจุกและก้านผลออก นํามาหั่นทั้งเปลือกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องปั่นบด ให้ละเอียด หรือ ใช้ผ้ามุ้งไนล่อนห่อ แล้วโขลกหรือใส่ถุงมือยางขยําให้เละ กรองหยาบด้วยผ้ามุ้งไนล่อน ครั้งหนึ่งก่อน บีบคั้นน้ํานํามารวมกัน จึงกรองใสด้วยผ้าขาวบาง ได้น้ําคั้นผลสับปะรด ทําเสร็จแล้ว ใช้ให้หมด ห้ามเก็บไว้
3.8 เชื้อราบิวเวอเรีย
เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถนํามาขยาย เพื่อใช้ป้องกันกําจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลได้
1) น้ําสะอาด 10 ลิตร
2) แป้งข้าวโพด 1ก.ก.
3) กากน้ําตาล 1 ก.ก.
4) หัวเชื้อราบิวเวอเรีย 20 กรัม
วิธีทํา
แบ่งน้ําออกมา 3 ลิตร : น้ํา 1 ลิตร นํามาผสมกับแป้งข้าวโพด กวนให้เข้ากันทําเป็นน้ํา
แป้ง ส่วนน้ําอีก 2 ลิตร นําไปต้มให้เดือด ก่อนจะเทน้ําร้อนลงไป หากแป้งตกตะกอนนอนก้น ให้กวนน้ํา แป้งให้เนื้อแป้งกระจายตัวโดยทั่วน้ําแป้งเสียก่อน จึงค่อยๆเทน้ําร้อน ลงในน้ําแป้งทีละน้อย พร้อม ทั้งคนให้เข้าด้วยกันไปด้วยเลย จนน้ําร้อนหมด รอให้น้ําแป้งข้าวโพดเย็น
น้ํา 7 ลิตร ผสม กากน้ําตาล 1 ก.ก.และ น้ําแป้งข้าวโพดข้างต้น คนให้เข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน ใส่หัวเชื้อราบิวเวอเรีย 20 กรัมลงไป คนให้เข้ากัน จากนั้นเป่าอากาศแบบออกซิเจนตู้ปลา พอครบ 72 ช.ม. แบ่งใส่ขวดหรือภาชนะทึบแสงเก็บไว้ใช้ อัตราการใช้ : 20-40 ซี.ซี. ต่อ น้ํา 20 ลิตร |
|