ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2010 9:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
ปุ๋ยพืชสด
การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องใช้ในปริมาณมากต่อไร่ ไม่สะดวกแก่การขนย้ายปุ๋ย และหาได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีการเพิ่ม อินทรียวัตถุ ให้แก่ดินอีกวิธีหนึ่ง ที่มีวิธีการปฏิบัติง่ายก็คือ การใช้ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ เป็นต้น
พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด สิ่งที่เกษตรกรคุ้นเคยมากในการเพิ่มผลผลิตพืชก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมี แต่การใช้ปุ๋ยเคมีเพียง อย่างเดียว โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุ ให้แก่ดิน จะทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็งไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ำ และแร่ธาตุอาหารพืช ได้น้อยลงทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด
1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น
ลักษณะทั่วไปของพืชปุ๋ยสด
1. ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30 60 วัน
2. สามารถให้น้ำหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป
3. ทนแล้งและทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ เมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซนต์ความงอกสูง
6. ทำการเก็บเกี่ยว ตัดสับและไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากเพราะจะทำให้ไม่สะดวกแก่การไถกลบ
7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็วและมีธาตุอาหารพืชสูง
การปลูกพืชปุ๋ยสด
1. ลักษณะของดิน ก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่นถ้าเป็นดินเปรี้ยวควรใส่ปูนลงไปก่อน จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้น้ำหนักพืชสดสูงด้วย
2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวพืช ซึ่งความชื้นในดินยังคงมีอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหลัก ประมาณ 3 เดือน
3. เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ที่ใช้ปลูกเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ดดังนี้
ปอเทือง 5 กก., โสนอินเดีย 5 กก., โสนคางคก 5 กก., โสนไต้หวัน 5 กก., ถั่วพร้า 5 กก., ถั่วเขียว 5 กก., ถั่วเหลือง 8 กก., ถั่วพุ่ม 8 กก., ถั่วนา 8 กก., ถั่วลาย 2 กก., ถั่วเสี้ยนป่า 2 กก., ไมยราพไร้หนาม 2 กก., ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก., คาโลโปโกเนียม 2 กก., อัญชัน 3 กก.,
วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด
วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด สามารถแบ่งการใช้ได้ 3 วิธี คือ
1. ปลูกพืชสด ในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทำการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย
2. ปลูกพืชสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ทำการปลูก โดยปลูกพืชสดหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
3. ปลูกพืชสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชสดนำมาใส่ในแปลงที่จะปลูกพืชหลักแล้วไถกลบลงไปในดิน
การตัดสับและไถกลบพืชสด
การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตัดสับ และไถกลบ ควรทำขณะที่ต้นถั่ว เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย
ข้อมูลความรู้จาก : เอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร
http://www.vegetweb.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%94/ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2010 8:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
ข้อดี ข้อจำกัด ของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่งความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/125 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2010 8:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
A_Chumphae บันทึก: | ขอแทรกนิดหนึ่งนะครับเพราะผมก็เป็นคน 1 ที่มีระบบน้ำหยด
ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำสุด ครับ ถ้าเทียบกับระบบอื่นๆ แต่ความสะดวกในการวางระบบ ย้ายแปลง หรือให้ปุ๋ยเสริม มีข้อจำกัดเยอะ แล้วก็เรื่องวัชพืชระบบน้ำหยดจะทำให้วัชพืชขึ้นที่แนวน้ำหยดแต่ระบบอื่นมันขึ้นทั่วพื้นที่ ที่น้ำถึง
แต่ถึงกระนั้นผมก็ยังชอบให้น้ำแบบสปริงเกอร์นะครับ ถึงจะยังไม่ลอง แต่เรื่องการเคลื่อนย้าย การให้ปุ๋ยทางใบเสริม ถึงจะเปลืองน้ำแต่น้ำลงเยอะก็อยู่ในแปลงอ้อยเหมือนเดิมนั่นละครับ น้ำเยอะๆ อ้อยโตไว แต่น้ำท่วมนี่ก็ตัวใครตัวมันนะครับ
ปล.
วันนี้ฝนตกน้ำท่วงลงตัดอ้อยไม่ได้ รถไถลงไปเก็บอ้อยที่ตัดไว้ในไร่ก็ลงไม่ได้ เพราะเดี๋ยวตออ้อยเสียหาย ...... เซงจิตครับ |
..... ต้นไม้ต้นพืช เขาไม่รู้จักคำว่า "ประหยัด" หรอกนะ ถ้าได้รับเต็มที่เขาก็จะโตเต็มที่ แต่ถ้าได้แบบเต็มทีแล้วจะให้โตเต็มที่ มันคงไม่ได้
..... เอางี้ซี่ ตะโกนบอกเขาหน่อย "...... อ้อยเอ๊ยยย พ่อไม่มีน้ำนะ อดทนหน่อยนะลูก พ่อต้องประหยัดปุ๋ยนะ กินน้อยๆ หน่อยนะลูก.....จะบอกอะไรก็บอกเขาไป ถ้าอ้อยมันพูดตอบ ก็บ้านใครบ้านมันนะ นั่นมันอ้อยผีสิง
"...... ระดับน้ำสำหรับอ้อย "ชื้น- ชุ่ม - โชก - แฉะ - แช่" ...... อ้อยถึงๆน้ำ จะออกดอกช้ากว่าปกติประมาณ 1 เดือน แบบนี้ฝากแปลงรอเวลาตัดได้สบายเลย....
ลุงคิม (พูดภาษาอ้อยได้) ครับผม |
|
|
A_Chumphae |
ตอบ: 16/12/2010 8:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
ขอแทรกนิดหนึ่งนะครับเพราะผมก็เป็นคน 1 ที่มีระบบน้ำหยด
ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำสุดครับ ถ้าเทียบกับระบบอื่นๆ แต่ความสะดวกในการวางระบบ ย้ายแปลง หรือให้ปุ๋ยเสริม มีข้อจำกัดเยอะ แล้วก็เรื่องวัชพืชระบบน้ำหยดจะทำให้วัชพืชขึ้นที่แนวน้ำหยดแต่ระบบอื่นมันขึ้นทั่วพื้นที่ ที่น้ำถึง
แต่ถึงกระนั้นผมก็ยังชอบให้น้ำแบบสปริงเกอร์นะครับ ถึงจะยังไม่ลอง แต่เรื่องการเคลื่อนย้าย การให้ปุ๋ยทางใบเสริม ถึงจะเปลืองน้ำแต่น้ำลงเยอะก็อยู่ในแปลงอ้อยเหมือนเดิมนั่นละครับ น้ำเยอะๆอ้อยโตไว แต่น้ำท่วมนี่ก็ตัวใครตัวมันนะครับ
ปล.
วันนี้ฝนตกน้ำท่วงลงตัดอ้อยไม่ได้ รถไถลงไปเก็บอ้อยที่ตัดไว้ในไร่ก็ลงไม่ได้ เพราะเดี๋ยวตออ้อยเสียหาย ...... เซงจิตครับ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2010 8:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพในการเกษตร
ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง ในดินและน้ำ
ช่วยแก้ปัญหาจากศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ
ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศอย่างเหมาะสม
ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี
ช่วยสร้างโฮโมนพืช พืชจะให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี และคงทนสามารถเก็บได้นาน
ช่วยกำจัดน้ำเสียภายในฟาร์ม ได้ภายใน 1 2 สัปดาห์
ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่างๆ ในสัตว์ แทนการใช้ยาปฏิชีวนะและอื่นๆ ได้
ช่วยกำจัดแมลงวันโดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแด้เป็นตัวแมลงวัน
ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง อัตราตายต่ำ
ช่วยรักษาสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้สะอาดนานกว่าปกติ โดยช่วยย่อยสลายมูล และ อาหารที่เหลือกินของสัตว์น้ำ พร้อมสร้างแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพในครัวเรือน
นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์ในการเกษตรแล้ว เรายังสามารถนำน้ำชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้ คือ
ราดส้วมที่มีกลิ่นเหม็น จะช่วยเร่งการย่อยสลายกากอาหารทำให้หมดกลิ่นเหม็น
ราดท่อระบายน้ำอ่างล้างจาน เพื่อย่อยสลายคราบไขมันและกลิ่นบูดเน่า
นำน้ำชีวภาพตามสูตรสารไล่แมลง เพื่อฉีดพ่นมดและแมลงสาบภายในบ้าน โดยใช้น้ำหมักที่ได้จากการหมักจากเปลือกผลไม้ หรือผลไม้ดิบ เช่น มะละกอ สับปะรด มะม่วง หรือสมุนไพร เช่น สะเดา
ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร
ผสมน้ำอาบให้สัตว์เพื่อกำจัดกลิ่น และผสมในน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยงกิน
By : Organic Thailand
http://www.organicthailand.com/webboard-th-1278-106719-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 16/12/2010 6:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
[quote="joBcoMmatammi"]
ขอขอบคุณครับที่เข้ามาตอบคำถามผมครับ
แต่ผมว่าผมยังมีข้อสงสัยอยู่อีก 2 ข้อครับลุง (ผมอยากให้ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เห็นว่าผลผลิตชีวภาพปนด้วยเคมีนิดๆ มันไม่ด้อยกว่าเคมีล้วนๆ ครับ)
1.... ผมได้อ่านวิธีการทำ แคลเซียม โบรอน และการเก็บรักษาได้ประมาณ 6 เดือน (ไปอ่านตรงไหนมาหาไม่เจอซะแล้ว) แต่ผมจะใส่ "แคลเซียม กับ โบรอน และ ธาตุเสริม/ธาตุรอง" เข้าไปในการทำน้ำหมักน้ำสกัดชีวภาพในครั้งเดียว เช่น บดมะเฟืองสุกใส่เข้าไป 5 ลิตร ได้ แมกนีเซียม หรือ + แมกนีเซียม 200 กรัม บดยอดและใบแก่ผักกะเฉด 5 + 5 ลิตร ได้ โบรอน และ แคลเซียม หรือ + โดโลไมด์ ประมาณ 200 กรัม ซึ่งการหมักน้ำหมักต้องใช้เวลา 1 ถึง 2 ปี แล้วจากแคลเซียม โบรอน. ซึ่งมีอายุการใช้งาน 6 เดือน แล้วที่ผมบดหรือใส่เข้าไปธาตุอาหารพืชมันจะอยู่ถึง ระยะเวลานำปุ๋ยไปใช้ไหมครับลุง
ตอบ :
สารอาหารพืชที่ได้มาการทำน้ำหมักชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุส่วนผสม และวัสดุส่วนผสมแต่ละชิ้นจะมีสารอาหารมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แบบของวัสดุส่วนผสมชิ้นนั้น
สารอาหารพืชที่ได้จากวัสดุส่วนผสมที่เป็นอินทรีย์วัตถุ เรียกว่า สารอินทรีย์หรืออินทรีย์สาร.....สารอาหารพืชที่ได้จาก "ซากสัตว์" มีปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์มากกว่าสารอาหารพืชที่ได้จาก "ซากพืช" ..... แม้แต่สารอาหารพืชที่ได้จาก "ซากสัตว์" ต่างชนิดกัน ปริมาณและชนิดสารอาหารที่ได้ก็ต่างกันด้วย เช่น ปลาทะเล มีแม็กเนเซียม. แมงกานิส. สังกะสี. โซเดียม. ซึ่งในปลาน้ำจืด. หอยเชอรี่. ซากสัตว์บกทุกชนิดไม่มี ..... ในซากพืชมีปริมาณสารอาหารพืชน้อยกว่าซากสัตว์.....ในซากพืชจะมีฮอร์โมนพืชมากกว่าซ่ากสัตว์ แต่การที่จะทำให้ได้ฮอร์โมนจากซากพืชนั้น ต้องมีกรรมวิธีเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การหมัก
ในน้ำหมักชีวภาพ แม้จะได้พิถีพิถันในการคัดเลือกวัสดุส่วนผสมอย่างประณีตที่สุด ด้วยกรรมวิธีในการหมักที่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่สุดแล้ว แต่ปริมาณสารอาหารที่ได้มีเพียง 1-2-3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ปริมาณนี้อาจจะพอเพียงสำหรับพืชบางชนิด และอาจจะไม่พอเพียงต่อพืชบางชนิด
รายละเอียดอื่นๆ แจ้งแล้วในเว้บนี้ เมนูอินทรีย์ชีวภาพ คลิกย้อนไปอ่านเอาเองนะ
2..... การกินอาหารทางรากกับทางใบของพืช อัตราส่วนรากกับใบกี่ % มาเปิดในกูลเกิลดู บอกทางรากมากกว่าใบ น้าก็บอกว่าทางราก 90% ใบ 10 % ใน ทีวี. ช่องขายปุ๋ย บอก ทางใบ 70 % ทางราก 30 % ผมเลยงงๆ ครับลุง มันเท่าไรกันแน่ครับลุง
ตอบ :
ใจคอจะเอา "ตัวเลข" ให้ได้เลยนะ อยากได้ตัวเลขที่แท้จริงต้องเข้า LAB เท่านั้น ที่นี่เป็นแบบ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน แต่มีหลักวิชาการรองรับ" คือ ไม่ใช้มั่วนิ่ม
ตัวเลขที่คุณได้มา ถ้ามาจากงานวิจัยแล้วก็โดยนักวิชาการด้วย อันนี้จริง แต่น่าเสียดายที่เขาไม่ได้ระบุว่า
....ชนิดพืชอะไร ?
....สภาพโครงสร้างดินเป็นอย่างไร ?
....สภาพอากาศ อุณหภูมิ อย่างไร ?
....ปัจจัยอื่นๆ ทั้งปัจจัยเสริม และปัจจัยต้าน มีไหม ?
อย่า FIGHT กับตัวเลขมากนัก....ตัวเลขที่คุณได้มา ต้องดูแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยว่าน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน....ที่แน่ๆ ปริมาณสารอาหารทั้งสิ้นที่ไปหล่อเลี้ยงส่วนยตางๆของต้น ไปจากทางราก (ดิน) มากกว่าทางใบก็แล้วกัน ส่วนจะมาก/น้อยกว่ากันเท่าไรนั้น ขึ้นกับสารพัดปัจจัย ...... ใน ทีวี.น่ะเหรอ เชื่อได้ไม่ถึง 1% ผู้ดำเนินรายการชาย หล่อแต่โง่ ผู้ดำเนินรายการหญิง สวยแต่ปัญญานิ่ม เอาสาระอะไรไม่ได้หรอก ลุงคิมเคยสัมผัสกับพวกนี้มาแล้ว ก็เคยมีนะ ที่นักจัดการเกษตรทาง ทีวี. จะให้เป็นที่ปรึกษาเรื่องข้อมูลที่จะนำเสนอออกอากาศ ต้องตะลอนๆไปตามาสวนที่เขาจะไปถ่ายทำ ว่ากันตั้งแต่เชียงรายถึงสุไหงโกลก ตราดถึงกาญจน์ ข้ามไปเกาะสมุย เกาะภูเก็ต แต่มัน (เน้นย้ำ...มัน) ไม่พูดเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าตัวไม่มี ค่าวิชาไม่ได้ ค่าน้ำมันรถ-ค่าอาหาร-ค่าที่พัก ออกเอง.....อนิจจาเวรกรรมตาคิม
บอกแล้วไง.....จงอย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา แต่จงเชื่อตัวเอง.....ถือหลักนักปราชญ์ในการหาความรู้ "ฟัง-คิด-ถาม-เขียน-อ่าน-ดู-ทำ-ใช้-เปรียบเทียบ-ฟันธง" ..... ศึกษาไปเถอะ เรียนรู้มากๆ รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ที่ผมสองถามคำถามนี้ เพราะว่าผมวิเคราะห์ ดิน น้ำ พืช และได้ลองให้น้ำโดยสปริงเกอร์ และวิธีราด สรุป ใช้น้ำมากเกินไป ไม่เหมาะสมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
ผมมีข้อเปรียบเทียบระหว่างไร่ผม กับไร่น้า ของน้าผมให้น้ำ 15 ไร่ โดยระบบน้ำหยด ใช้น้ำไปฝ่ามือนึงในการให้น้ำครั้งแรกในปริมาตรสระเดียวกัน ส่วนของผม น้ำหมดไปครึ่งสระ และพื้นที่การให้ผมน้อยกว่าน้า ถึงผมจะมีสระมากกว่า 3 ลูกก็ตาม
ตอบ :
แบบไหนดีก็เอาแบบนั้น แค่นี้ก็จบแล้ว.....
ที่น่าสงสัยอย่างมากๆ ก็คือ ปริมาณน้ำจากสระที่ไปอยู่ในแปลงอ้อย ทำไมมันต่างกันมากจัง เป็นไปได้ไหม แปลงที่ใช้น้ำมาก ปล่อยน้ำไปแล้วลงไปอยู่ใต้ดินหมด เนื่องจากดินโปร่ง ร่วนซุย ส่วนแปลงที่ว่าใช้น้ำน้อย น้ำไม่ซึมลงใต้ดินเพราะดินแน่น จึงโชว์ให้เห็นที่หน้าดิน.....ปัญหานี้วิเคราะห์หาสาเหตุและเหตุผลเองซิครับ เพราะถึงอย่างไร น้ำมากต้องมากกว่าน้ำน้อย น้ำน้อยต้องน้อยกว่าน้ำมาก วันยังค่ำ มันจะหายไปไหนล่ะ ....ลุงคิมอยู่อัตตะปือ คุณอยูที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วลุงคิมจะรู้ไหมเนี่ยยยย
ผมเลยสรุปออกมาว่า การปลูกอ้อยในพื้นที่ผม ควรให้ระบบน้ำหยด และผมต้องทำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เหมาะสมกับพืช (อ้อย) แต่มีข้อจำกัดต้องให้สอดคล้องกับระบบน้ำหยดด้วย และต้องใส่ ธาตุเสริม/ธาตุรอง ไปพร้อมกับการให้น้ำทางรากพืชครับ
ตอบ :
ถูกต้อง.....ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน....อย่าเชื่อข้างบ้าน อย่าเชื่อโฆษณา และที่สำคัญ อย่าเชื่อตาคิม
ศึกษากับผู้รู้เพียง 1 นาที ดีกว่าศึกษาด้วยตนเอง 1,000 พันวัน
ตอบ :
พูดอีกก็ถูกอีก ..... ว่าแต่ต้องใช้เวลานานไหม ? |
|
|
joBcoMmatammi |
ตอบ: 16/12/2010 10:29 am ชื่อกระทู้: |
|
ขอขอบคุณครับที่เข้ามาตอบคำถามผมครับ
แต่ผมว่าผมยังมีข้อสงสัยอยู่อีก 2 ข้อครับลุง (ผมอยากให้ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เห็นว่าผลผลิตชีวภาพปนด้วยเคมีนิดๆ มันไม่ด้อยกว่าเคมีล้วนๆ ครับ)
1.... ผมได้อ่านวิธีการทำแคลเซียมโบรอน และการเก็บรักษาได้ประมาณ 6 เดือน (ไปอ่านตรงไหนมาหาไม่เจอซะแล้ว) แต่ผมจะใส่ "แคลเซียม กับโบรอน และธาตุเสริม/ธาตุรอง" เข้าไปในการทำน้ำหมักน้ำสกัดชีวภาพในครั้งเดียว เช่น บดมะเฟืองสุกใส่เข้าไป 5 ลิตร ได้ แมกนีเซียม หรือ + แมกนีเซียม 200 กรัม บดยอดและใบแก่ผักกะเฉด 5 + 5 ลิตร ได้ โบรอน และ แคลเซียม หรือ + โดโลไมด์ ประมาณ 200 กรัม ซึ่งการหมักน้ำหมักต้องใช้เวลา 1 ถึง 2 ปี แล้วจากแคลเซียม โบรอน. ซึ่งมีอายุการใช้งาน 6 เดือน แล้วที่ผมบดหรือใส่เข้าไปธาตุอาหารพืชมันจะอยู่ถึง ระยะเวลานำปุ๋ยไปใช้ไหมครับลุง
2..... การกินอาหารทางรากกับทางใบของพืช อัตราส่วนรากกับใบกี่ % มาเปิดในกูลเกิลดู บอกทางรากมากกว่าใบ น้าก็บอกว่าทางราก 90% ใบ 10 % ใน ทีวี. ช่องขายปุ๋ย บอก ทางใบ 70 % ทางราก 30 % ผมเลยงงๆครับลุง มันเท่าไรกันแน่ครับลุง
ที่ผมสองถามคำถามนี้ เพราะว่าผมวิเคราะห์ ดิน น้ำ พืช และได้ลองให้น้ำโดยสปริงเกอร์ และวิธีราด สรุป ใช้น้ำมากเกินไป ไม่เหมาะสมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
ผมมีข้อเปรียบเทียบระหว่างไร่ผม กับไร่น้า ของน้าผมให้น้ำ 15 ไร่ โดยระบบน้ำหยด ใช้น้ำไปฝ่ามือนึงในการให้น้ำครั้งแรกในปริมาตรสระเดียวกัน ส่วนของผม น้ำหมดไปครึ่งสระ และพื้นที่การให้ผมน้อยกว่าน้า ถึงผมจะมีสระมากกว่า 3 ลูกก็ตาม
ผมเลยสรุปออกมาว่า การปลูกอ้อยในพื้นที่ผม ควรให้ระบบน้ำหยด และผมต้องทำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เหมาะสมกับพืช (อ้อย) แต่มีข้อจำกัดต้องให้สอดคล้องกับระบบน้ำหยดด้วย และต้องใส่ ธาตุเสริม/ธาตุรอง ไปพร้อมกับการให้น้ำทางรากพืชครับ
ศึกษากับผู้รู้เพียง 1 นาที ดีกว่าศึกษาด้วยตนเอง 1,000 พันวัน |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/12/2010 7:38 pm ชื่อกระทู้: Re: ปุ๋ยจากน้ำสกัดมูลสัตว์....หมักชีวภาพ |
|
joBcoMmatammi บันทึก: | ผมได้อ่านบทความในเว็บลุง เรื่องน้ำสกัดมูลสัตว์
ผมเลยคิดว่าน้ำสกัดจากมูลสัตว์น่าจะเป็นสูตรที่ง่ายต่อการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพและหาได้ง่าย
ผมลองประมาณเอาส่วนผสม โดยอาศัยอัตราการปสมปุ๋ยของลุง สูตรปุยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์ มาเปรียบเทียบกันโดยประมาณเอาครับ ไม่รู้ว่าจะใกล้เคียงไหม
วัสดุส่วนผสมปุ๋ยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์......ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากน้ำสกัดมูลสัตว์ พื้นที่
น้ำเปล่า (พีเอช 4.0)...........100 ล.......น้ำส้มสายชู.............300 ซีซี.
มูลวัวนมสดใหม่ตั้งท้อง ....... 10 กก.......น้ำสกัดมูลวัว............50 ลิตร
มูลหมูสดใหม่ตั้งท้อง ......... 10 กก.......น้ำสกัดมูลหมู............50 ลิตร
มูลไก่ไข่หรือนกกระทา ....... 10 กก.......น้ำสกัดมูลไก่ไข่.........50 ลิตร
มูลค้างคาว .................... 2 กก.......น้ำหมักมูลไก่ไข่..........2 ลิตร
ไขกระดูก ...................... 5 ล........น้ำหมักไขกระดูก........2 ลิตร
นมเหลืองแม่วัว................. 5 ล........น้ำหมักนมวัว.............2 ลิตร
กากน้ำตาล .................... 5 ล........ กากน้ำตาล..............5 ลิตร
เปลือกสับปะรด ............... 2 กก.......เปลือกสับรดปั่นวุ้น.......2 ลิตร
น้ำมะพร้าว ............ ....... 10 ล........น้ำมะพร้าวอ่อน+แก่.....5+5 ลิตร
จุลินทรีย์ ...................... 100 กรัม.....จุรินทรีย์หน่อกล้วย.....1 ลิตร
21-0-0 ...................... 100 กรัม.....21-0-0...............100 กรัม
ผมมีคำถามครับลุง
1. สูตรที่ผมลองผสมแบบมั่วดูเนี่ย มันใช้ได้ไหมครับ ตามทฤษฎี
ตอบ :
- ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ....ก็เพราะต้องมีตัวเลข ต้องมีสูตรสำเร็จเท่านั้น จึงจะทำ จึงจะเชื่อ อย่าลืมว่า ธรรมชาติคือความหลากกลาย บางอย่างแทนกันได้ อย่างเดียวก็ได้ หลายอย่างก็ได้ แต่หลายอย่างดีกว่าน้อยย่าง....ไม่จำเป็นต้องรอจนครบจึงจะทำ จึงจะใช้ อะไรมาก่อนใช้ก่อน อะไรมาทีหลังใช้ทีหลัง ก็ได้ เพราะถึงอย่างไร อะไรมาก่อนมาหลัง สุดท้ายมันก็ไปรวมกันที่ต้นพืชวันยังค่ำนั่นแหละ
- ทุกอย่างมาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน แต่มีหลักวิชาการรองรับ....แค่นี้ก็น่าจพอแล้วมั้งสำหรับคำว่า "ปุ๋ย" สำหรับต้นพืช
- ปลูกพืช บำรุงพืช เอาพืชเป็นศูนย์กลาง สารอารหารบางตัวพืชต้องการเพียงระดับ พีพีเอ็ม.เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องมากถึงระดับเปอร์เซ็นต์ก็ได้
- สูตรที่คุณ COPY มาน่ะ ลุงคิมว่า อีก 100 ปี คุณก็ทำไม่ได้ ถึงทำได้ก็ขาดทุน จะไปจริงจังอะไรกับรายการส่วนผสมเหล่านั้น เลือกเอาซักอย่างสองอย่างที่ได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียค่าโสหุ้ย ก็พอแล้วมั้ง
- อ่าน LINE ธรรมชาติให้ออก แล้วจะรู้ว่าไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย แม้แต่ "น้ำซาวข้าว" ก็ทำเป็นปุ๋ย เป็นฮอรโมน. เป็นจุลินทรีย์ ได้ ดีด้วยซี .....
2. จากข้อมูลที่ได้อ่าน มูลสัตว์ 1 kg ทำน้ำสกัดได้ 8 ลิตร ก็เหมือนผมใส่มูลสัตว์ไปแค่ครึ่งเดียวควรลดส่วนผสมอื่นไหม (การลดส่วนผสมจะมีผลกับการให้ทางใบหรือเปล่า)
ตอบ :
ตอบแล้วในข้อ 1
3. ปุ๋ยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์ไม่สามารถให้ทางใบได้ แต่น้ำสกัดมูลสัตว์ให้ทางใบได้ และที่ผมคิดมั่วโดยเปรียบเทียบขึ้นมาใหม่นี้สามารถให้ทางใบได้ไหมครับลุง
ตอบ :
- วันนี้เราพัฒนา ประเภทให้ทางรากมีส่วนผสมของกากน้ำตาล แต่ประเภทให้ทางใบไม่มีกากน้ำตาล แต่มีกลูโคสแทน
- คำว่า "ซุปเปอร์" เป็นคำพูดเพื่อสร้างแรงจูงใจ ฟังแล้วรู้สึกขลัง ก็เท่านั้นแหละ
- การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทำจากอะไรก็สุดแท้ ที่ให้ทางใบนั้นก็เพราะเพื่อตัดปัญหาข้อยุ่งยากในการให้ เช่น ให้ผักกินใบ อย่างคะน้า ถ้าบอกว่าให้เฉพาะทางรากหรือทางดินเท่านั้นนะ ห้ามให้ทางใบหรือห้ามโดนใบอย่างเด็ดขาด ในเมื่อคะน้าต้นมันเตี้ยแค่นั้น คุณจะฉีดพ่นหรือรดลงดินโดยไม่ให้ถูกใบเลยได้เหรอ เลยแนะนำแบบเหมาจ่าย ฉีดหรือรดอาบลงไปเลย จากใบลงพื้น ถึงจะโดนใบผ่านปากใบไม่ได้ก็ช่างมัน เมื่อลงดินแล้วรากจัดการกินเอง.....แบบนี้ง่ายต่อการใช้งานไหม ?
4. โบรอน.จำเป็นต่ออ้อยเพราะอ้อยถ้าขาดโบรอนต้นจะกลวง (ผมเดาเอาครับเพราะไปอ่านเจอพืชกินต้นขาดโบรอนต้นจะกลวง) ทำให้ไม่มีน้ำหนัก ก็เลยเป็นเหตุผลที่ผมต้องการให้ปุ๋ยน้ำสกัดมูลสัตว์หมักชีวภาพให้ทางใบได้ด้วยครับ เพื่อที่จะผสมธาตุเสริมต่างๆให้ทางใบ ตกลงดินในครั้งเดียวครับ
ตอบ :
ขอบคุณข้อมูล โบรอน.แก้อาการต้นกลวงในอ้อยได้ แล้วจะค้นหาข้อมูลมาเสริมให้...ขอบคุณ
กล้าคิดแต่ขาดความมั่นใจที่จะทำ เพราะไม่มั่นใจกับความรู้ที่มี ว่าความรู้ที่มีมันยังน้อยอยู่มากมาย |
|
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/12/2010 7:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
[quote="mangotree"]......... โบร่อน นี่ผมเคยได้ยินเฮียมงคล บอกว่า สามารถให้กับพืชผักสวนครัว เช่น คะน้า.กวางตุ้ง ฯ เพื่อป้องกันอะไรกลวงๆ นี่ล่ะครับ (จำชื่อโรคขาดสารอาหารของพืชไม่ได้ซะแล้ว) น่าจะไม่แตกต่างอะไร คือ ใช้ได้......... quote]
โรคไส้กลวง ที่ภาษาจีนเรียก "โอกึน" นั่นแหละ
ผักสวนครัวประเภทกิบทุกชนิด โดยเฉพาะ กะหล่ำปลี. กะหล่ำดอก. บร็อคโครี่. ขาวปลี. เขียวปลี. อย่าขาดเชียว.....นอกจาก "โบรอน" แล้วเจ้า "โมลิบดินั่ม" ก็จำเป็นไม่แพ้กัน
ลุงคิมครับผม |
|
|
mangotree |
ตอบ: 15/12/2010 5:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
โบร่อน นี่ผมเคยได้ยินเฮียมงคล บอกว่า สามารถให้กับพืชผักสวนครัว เช่น คะน้า.กวางตุ้ง ฯ เพื่อป้องกันอะไรกลวงๆ นี่ล่ะครับ (จำชื่อโรคขาดสารอาหารของพืชไม่ได้ซะแล้ว) น่าจะไม่แตกต่างอะไร คือ ใช้ได้
คำว่าตั้งท้องๆ นั่น ไม่เก่าหรอกนะครับ เรื่องคือ มันยุ่งยากที่จะหามาใช้ (ส่วนตัวผม) ก็เดาตามประสาผมว่า เรื่องการตั้งท้องคงจะเป็นเรื่องฮอร์โมน และสารอาหารในตัวสัตว์ที่ตั้งท้องซะมากกว่า คือ เป็นมูลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามูลที่ไม่ตั้งท้องนั่นแหละ
มูลสัตว์แต่ละประเภท มันมีสารอาหารแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม การดำรงชีวิตของสัตว์ หรือการกินอยู่ของมันนั่นแหละเป็นสำคัญ มันกินอะไรเข้าไป สิ่งที่มันกินมีสารอาหารอะไรมาก มันก็จะขับถ่ายสารอาหารที่ตกค้างที่มีมากในสิ่งที่มันกินนั้นออกมา
ให้เกษตรกรจนๆ อย่างผม นำไปปรับปรุงใช้ ผมอยากเรียกให้มันน่าฟังว่า เคมีจากธรรมชาติ หรือเคมีจากอินทรีย์สาร คือไ ม่ใช่เคมีที่ใช้งานวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นมา เป็นอาหารสำเร็จรูป แช่น้ำแล้วกินได้ภายใน 4 วัน
ก็ว่ากันไปปป..
ปล.
เรื่องนี้เกี่ยวกับความรัก เธอกำลังจะไปจากผู้ชายคนนึงที่รักเธอจริง.. |
|
|
Sita |
ตอบ: 15/12/2010 11:55 am ชื่อกระทู้: |
|
อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด.....สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ว่า
คุณ "ได้ทำ" ดีที่สุดแล้ว ไม่ใช่แค่ "คิดว่าทำ"..
เอาใจช่วยก็แล้วกันนะคะ....ขอให้ปรับความเข้าใจกันได้....ใช้หัวใจคุยกัน จะเข้าใจกันง่ายกว่าใช้เหตุผลนะคะ.....
แป้ง (ขอโทษอีกครั้ง). |
|
|
joBcoMmatammi |
ตอบ: 15/12/2010 11:28 am ชื่อกระทู้: |
|
Sita บันทึก: | ขอโทษนะคะคุณ joBcoMmatammi...
ไม่ได้เข้ามากวนกระทู้นะคะ..แค่แวะมาถามข่าวคราว...ยังเหนื่อยใจใครจะทนอยู่อีกเหรอคะ.??
แป้ง(แฮะๆ..เคยติดตามอยู่น่ะค่ะ) |
ขอบคุณครับ
ก็ภรรยาบอกว่า ขอเงินที่ไปซื้อโต๊ะคอมประมาณหมื่นกว่าๆ บาทของเธอคืน...
เธอจะเก็บไว้เวลาเธอลำบาก แล้วก็บอกว่า อยู่กันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย แล้วก็บอกว่าถ้าเธอได้ไปทำงานที่นั่นที่นี่ เธอคงจะได้มีชีวิตที่ดีกว่านี้
ก็แสดงว่า เธอหาเงินเพื่อที่จะไปอยู่ที่อื่น แต่ผมก็จะหาให้ครับ เพราะผมคงไม่รั้งไว้ครับ เพราะผมรู้ตัวดีว่า ผมทำดีที่สุดแล้วครับ ถ้าดีกว่านี้คงเป็นคนอื่นครับไม่ใช่ผม
คนอื่นคงดีกว่านี้ครับ ตอนนี้ก็ได้แต่รอวันเธอจากไป..... |
|
|
Sita |
ตอบ: 15/12/2010 11:10 am ชื่อกระทู้: |
|
ขอโทษนะคะคุณ joBcoMmatammi...
ไม่ได้เข้ามากวนกระทู้นะคะ....แค่แวะมาถามข่าวคราว...
ยังเหนื่อยใจใครจะทนอยู่อีกเหรอคะ. ? ?
แป้ง (แฮ่ะๆ..เคยติดตามอยู่น่ะค่ะ) |
|
|
joBcoMmatammi |
ตอบ: 15/12/2010 10:37 am ชื่อกระทู้: ปุ๋ยจากน้ำสกัดมูลสัตว์....หมักชีวภาพ |
|
ผมได้อ่านบทความในเว็บลุง เรื่องน้ำสกัดมูลสัตว์
ผมเลยคิดว่าน้ำสกัดจากมูลสัตว์น่าจะเป็นสูตรที่ง่ายต่อการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพและหาได้ง่าย
ผมลองประมาณเอาส่วนผสม โดยอาศัยอัตราการปสมปุ๋ยของลุง สูตรปุยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์ มาเปรียบเทียบกันโดยประมาณเอาครับ ไม่รู้ว่าจะใกล้เคียงไหม
วัสดุส่วนผสมปุ๋ยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์>>>ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากน้ำสกัดมูลสัตว์ พื้นที่
น้ำเปล่า (พีเอช 4.0)...........100 ล.>>>>> น้ำส้มสายชู 300 ซีซี
มูลวัวนมสดใหม่ตั้งท้อง ....... 10 กก.>>> น้ำสกัดมูลวัว 50 ลิตร
มูลหมูสดใหม่ตั้งท้อง ......... 10 กก.>>> น้ำสกัดมูลหมู 50 ลิตร[/color
มูลไก่ไข่หรือนกกระทา ....... 10 กก.>> [color=red]น้ำสกัดมูลไก่ไข่ 50 ลิตร
มูลค้างคาว .................... 2 กก. >> น้ำหมักมูลไก่ไข่ 2 ลิตร
ไขกระดูก ...................... 5 ล. >> น้ำหมักไขกระดูก 2 ลิตร
นมเหลืองแม่วัว................. 5 ล. >>> น้ำหมักนมวัว 2 ลิตร
กากน้ำตาล .................... 5 ล.>>> กากน้ำตาล 5 ลิตร
เปลือกสับปะรด ............... 2 กก.>> เปลือกสับรดปั่นวุ้น 2 ลิตร
น้ำมะพร้าว ............ ....... 10 ล. >> น้ำมะพร้าวอ่อน+แก่ 5+5 ลิตร
จุลินทรีย์ ...................... 100 กรัม>>จุรินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร
21-0-0 ...................... 100 กรัม >> 21-0-0 100 กรัม
ผมมีคำถามครับลุง
1. สูตรที่ผมลองผสมแบบมั่วดูเนี่ย มันใช้ได้ไหมครับ ตามทฤษฎี
2. จากข้อมูลที่ได้อ่าน มูลสัตว์ 1 kg ทำน้ำสกัดได้ 8 ลิตร ก็เหมือนผมใส่มูลสัตว์ไปแค่ครึ่งเดียวควรลดส่วนผสมอื่นไหม(การลดส่วนผสมจะมีผลกับการให้ทางใบหรือเปล่า)
3. ปุ๋ยคอกน้ำชีวภาพซุปเปอร์ไม่สามารถให้ทางใบได้ แต่น้ำสกัดมูลสัตว์ให้ทางใบได้ และที่ผมคิดมั่วโดยเปรียบเทียบขึ้นมาใหม่นี้สามารถให้ทางใบได้ไหมครับลุง
4. โบรอน.จำเป็นต่ออ้อยเพราะอ้อยถ้าขาดโบรอนต้นจะกลวง (ผมเดาเอาครับเพราะไปอ่านเจอพืชกินต้นขาดโบรอนต้นจะกลวง) ทำให้ไม่มีน้ำหนัก ก็เลยเป็นเหตุผลที่ผมต้องการให้ปุ๋ยน้ำสกัดมูลสัตว์หมักชีวภาพให้ทางใบได้ด้วยครับ เพื่อที่จะผสมธาตุเสริมต่างๆให้ทางใบ ตกลงดินในครั้งเดียวครับ
กล้าคิดแต่ขาดความมั่นใจที่จะทำ เพราะไม่มั่นใจกับความรู้ที่มี ว่าความรู้ที่มีมันยังน้อยอยู่มากมาย |
|
|