ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 5:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแตงโม
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มีคุณค่าผลผลิตทางการเกษตร ภาคกลาง
การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแตงโมไม่มีเมล็ด
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้เป็นการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแตงโมไม่มีเมล็ด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris
Schrad ทำการทดลอง 3 ขั้นตอน คือ
1. ทดลองนำเมล็ดมาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวเมล็ด
2. ทดลองตัดส่วนต่างๆ ของแตงโมไม่มีเมล็ดมาเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นที่ประกอบด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 13-27-27
3. ทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายยอดบนอาหารวุ้นที่เติมน้ำมะพร้าวอ่อนเพียงอย่างเดียว
เมื่อเทียบการขยายขนาดเนื้อเยื่อพบว่าเนื้อเยื่อส่วนใบเลี้ยงมีการขยายขนาดได้ดีที่สุด
เมื่อนำมาเพาะลี้ยงพบอาหารวุ้นที่ประกอบด้วยปุ๋ยเคมี 13-27-27 ปริมาณ 2 กรัม/ลิตร น้ำตาลทราย 30กรัม/ลิตร วุ้นผง 6 กรัม/ลิตร
น้ำมะพร้าวอ่อน 150 มิลลิลิตร/ลิตร และฮอร์โมน NAA 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร ผลที่ได้เราสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา
การขยายพันธุ์แตงโมไม่มีเมล็ดโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อในโอกาสต่อไป
http://elib.ipst.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dig&lang=0&db=SCP&pat=%B7%D6%BA&cat=sub&skin=u&lpp=16&catop=&scid=zzz&ref=S:@946&nx=1 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 5:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว
งานปรับปรุงพันธุ์พืชใช่ว่าจะต้องดำเนินการโดยนักวิชาการเท่านั้น เกษตรกรชาวบ้านธรรมดาก็สามารถกระทำได้ หากมีความคิดริเริ่ม มีความมุ่งมั่นและที่สำคัญก็คือ ความกล้าหาญ
แตงโมอวกาศ (ขวา) กับแตงโมพันธุ์ดั้งเดิม (ซ้าย) มีน้ำหนัก
และขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 3 เท่าตัว ส่วน ตัวสาวเจ้าในภาพก็คือ
คุณจ้าว หย่งเจิ้น นั่นเอง
เมล็ดพันธุ์แตงโมที่ทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์แล้ว
เกษตรกรหญิงเก่งผู้นี้มีนามว่า จ้าว เจิ้น หย่ง (赵 振永) อาศัยอยู่ที่ เมืองเทียนจิน (天津) เขตุอู่ชิงชวี (武清区) ความคิดอันบรรเจิดเกิดขึ้นกับเธอเมื่อได้อ่านพบข่าวที่ทางการได้ส่งเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆร่วมไปกับดาวเทียมที่โคจรนอกบรรยากาศของโลกเป็นเวลาหลายวัน เมื่อเสร็จภาระกิจของยานดาวเทียมแล้ว หลังจากกลับสู่พื้นโลก เมล็ดพันธุ์ที่ฝากส่งไปกับยานนั้นได้ถูกนำไปเพาะขยายพันธุ์ เพื่อทำการคัดแยกปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
ซึ่งขบวนการดังกล่าวนั้นเป็นการดำเนินการโดยองค์กรอันเป็นหน่วยงานของทางการทั้งสิ้น ซึ่งผลปรากฏว่าได้พันธุ์พืชสายพันธุ์พิเศษที่ให้ผลดีกว่าที่พันธุ์พืชที่ปรับปรุงโดยปกติบนพื้นโลกหลายสายพันธุ์
เมื่อจ้าว เจิ้นหย่ง ทราบข่าวว่าจะมีการส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรนอกโลกอีกครั้งในปี 2006 เธอจึงได้ทำหนังสือยื่นคำร้องขอไปยัง สำนักงานวิจัยไฮเทคทางพานิชย์ของประเทศจีน (中国高科技产业化研究会) ขอฝากเมล็ดพันธุ์แตงโมของเธอร่วมไปกับดาวเทียมที่จะส่งออกไปโครจรนอกโลกด้วยจำนวนหนึ่ง ซึ่งเธอคิดว่าคงเป็นเรื่องไกลเกินที่จะเป็นจริงได้ แต่โชคเข้าข้างเธอ เมื่อทางการตอบรับคำร้องของเธอโดยยินยอมให้นำฝากได้แค่น้ำหนักไม่เกิน 6 กรัม ซึ่งนับว่าน้อยมาก แต่เธอก็ดีใจเป็นล้นพ้น จึงได้ส่งเมล็ดพันธุ์แตงโมที่คัดเลือกเอาไว้จำนวน 78 เมล็ด ไปยังหน่วยงานวิจัย ฯ นั้นทันที แล้วก็ตั้งตารอคอยวันที่ดาวเทียมจะหวนกลับมายังพื้นโลกอย่างใจจดจ่อรวมทั้งทนถูกคำกล่าวว่าดูแคลนของเพื่อนบ้านที่ค่อนขอดว่า เธอเป็นเกษตรกรชาวบ้านธรรมดา จะมีความรู้ความสามารถทำงานของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญโดยตรงได้หรือ
และแล้วปลายปี 2006 นั้นเอง เธอก็ได้รับเมล็ดพันธุ์แตงโมที่ได้ฝากติดออกไปโคจรรอบโลกเป็นเวลา 15 วัน ซึ่งนับเป็นระยะทางร่วมเก้าล้านกิโลเมตร รวมทั้งหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลด้วย เธอไม่รอช้า รีบนำเมล็ดพันธุ์แตงโมที่ได้รับกลับคืนมานั้น ทำการเพาะเมล็ดปลูกทันที
แต่ทว่าต้นกล้าที่เพาะเหลือรอดชีวิตมาได้นั้นเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง (38 ต้น) จ้าว เจิ้นหย่ง เฝ้าประคบประหงมดูแลเอาใจใส่ต้นแตงโมเหล่านี้ดุจดังลูกก็ไม่ปาน จนกระทั่งย่างเข้ากลางเดือนกรกฏาคม 2007 แตงโมที่ปลูกก็มีอายุ 28 วัน ซึ่งเกษตกรจีนถือว่าเมื่อปลูกแตงโมมาถึงขั้นนี้แล้วจักต้องได้เห็นผลแตงอย่างแน่นอน ดังคำกล่าวที่ว่า กวา เจี้ยน กวา เอ้อ สือ ปา (瓜见瓜,二十八 / ปลูกแตงได้เห็นแตง เมื่อเวลาอายุสองสิบแปด) เธอเฝ้าดูลูกแตงโมค่อยๆเติบใหญ่ ตั้งแต่ขนาดลูกไข่ไก่จนโตเท่าลูกบาสเก็ตบอล และใหญ่เท่าลูกฟัก ซึ่งเป็นเวลาที่แตงสุกแก่พอดี
เธอทำการคัดเลือผลที่มีขนาดใหญ่ลักษณะดีได้ 38 ลูก สีผิวเปลือกมีทั้งสีเขียวล้วนและเป็นริ้วลายทางสีเขียวอ่อนแก่ ลูกกลมดิก น้ำหนักแต่ละลูก หนักไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม หนักเกือบ 3 เท่าของสายพันธุ์ดั้งเดิม เนื้อแน่น สีแดงสวย รสชาติหวาน
กรอบ อร่อยลิ้น ให้ผลผลิตสูง ถึง 16,800 กิโลกรัมต่อไร่เลยทีเดียว มีความต้านทานโรคสูงอีกต่างหาก
ขณะนี้ธอทำการขยายพันธุ์และรวบรวมเมล็ดพันธุ์ได้ร่วม 50 กิโลกรัม เตรียมผลักดันให้เกษตกรในเขตุอู่ชิงชวี ได้ปลูกกันอย่างทั่วถึงในพื้นที่ปลูกประมาณ 4 พันไร่ ต้นปีหน้าชาวเทียนจินก็จะได้มีโอกาสลิ้มรสชาติของแตงโมอวกาสกันแล้ว เก็บเกี่ยวแล้วอย่าลืมส่งมาให้ชาวไทยได้ลิ้มชิมรสกันบ้างนะจ๊ะ คุณจ้าว หย่งเจิ้น คนเก่ง
http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722707&Ntype=2 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 4:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
ต้นแตงโม GMO ที่ให้ผลแตงโมเป็น NON GMO
อ่านแล้วชวนให้สับสนและสงสัยเป็นอย่างยิ่ง มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? แต่เป็นเรื่องจริง เมื่อสืบสาวราวเรื่องแล้วก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก หากแต่ว่าต้องศึกษาต่อไปว่ากลไกมันเป็นไปเช่นไรกันแน่ จึงให้ผลที่ชวนให้น่าฉงนใจเช่นนี้
นักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลีได้หาวิธีหลีกเลี่ยงกระแสต่อต้านพืชผล ตัดต่อดัดแปรพันธุกรรม ขึ้น โดยการประยุกต์เทคนิคการตัดต่อพันธุกรรม มาใช้รวมกับหลักการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีทาบกิ่ง / เสียบยอด ด้วยการเลือกแตงโมมาเป็นพืชทดลอง
จากการเลือกใช้ส่วนยอดของแตงโมปกติ (NON GMO) ไปเสียบลงบนต้นแตงโมเฉพาะส่วนของโคนต้นและรากที่ตัดต่อใส่ยีนมีความต้านทานต่อโรคไวรัสชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้ต้นแตงโม หรือพืชตระกูลแตงอื่นๆเกิดเป็นโรคขึ้น อาการที่เห็นเป็นไปก็คือใบเหลืองและผลเน่า ซึ่งทำความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอันมาก เมื่อมีการแพร่ระบาดขึ้นในพื้นที่ปลูกนั้นๆ
ด้วยกรรมวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ได้ผลแตงโมที่เป็น NON GMO เมื่อนำไปตรวจสอบวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ไม่ปรากฏมียีนแปลกปลอมจากส่วนของรากปรากฏให้เห็นในผลแตงโมและส่วนของลำต้นแต่อย่างใด ซึ่งสร้างความแปลกประหลาดใจให้ต้องศึกษาวิจัยกันต่อไปว่ากลไกมันดำเนินเป็นไปอย่างไร จึงทำให้ได้ผลลัพธ์เช่นนี้ขึ้น
http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=422821&Ntype=2 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 4:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
เทคนิคการปลูกแตงโม...
การหยอดเมล็ดในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดแตงโมพันธุ์ซูการ์เบบี้ประมาณ 40-50 กรัม
เพราะเมล็ดของแตงโมพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก สำหรับแตงโมพันธุ์ ชาร์สตันเกรย์หรือแตงโมพันธุ์หนักอื่นๆ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกไร่ละประมาณ 250-500 กรัม เพราะมีเมล็ดขนาดใหญ่ (แตงโมพันธุ์หนัก เมล็ดหนัก 100 กรัมมีปริมาณเมล็ด 800 เมล็ด แตงโมพันธุ์เบา เช่น ซูการ์เบบี้ 100 กรัม มีเมล็ดมากถึง 2,600 เมล็ด) นิยมหยอดเมล็ดแตงโมเป็นหลุมโดยให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถาแตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร ในดินทรายขุดหลุมให้มีความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร
ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบนใส่รองก้นหลุม ๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือปลูก หยอดหลุมละ 5 เมล็ดเมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อแตงโมขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้ แต่ถ้าปลูกให้ต้นห่างกัน 90 เซนติเมตร และแถวห่างกัน 3 เมตรแล้ว ก็เหลือหลุมละ 3 ต้นได้ รวมแล้วในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีต้นแตงโมอยู่ประมาณ 1,700 ต้น
การช่วยให้เมล็ดแตงโมงอกง่ายขึ้น
สำหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าอุณหภูมิในดินปลูกต่ำกว่า 15.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติ ฉะนั้นเพื่อขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรแช่เมล็ดแตงโมในน้ำอุ่น แล้วทิ้งไว้ 1 วันกับอีก 1 คืน แล้วเอาผ้าเปียกห่อวางไว้ที่อุ่น ๆ ในบ้าน จะช่วยทำให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้นและงอกได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไปเพาะในถุงหรือกระทงใบตองได้ รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ
จึงนำลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวกเพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนำเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงไร่ได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบเดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้น้ำในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว้ 1 วัน เพื่อให้ดินในหลุมชื้นพอเหมาะหยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหน้าไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดน้ำ ต้นแตงโมงจะขึ้นมาสม่ำเสมอกันทั้งไร่ ตอนหุ้มเมล็ดเราควรตรวจดูอย่าให้เมล็ดงอกรากยาวเกินไปจะทำให้รากหักเสียหายได้
ปุ๋ยและการให้ปุ๋ยแตงโม
ปุ๋ยคอก การใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสำคัญมากเพราะปุ๋ยคอกช่วยทำให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทำให้ดินมีธาตุอาการมากขึ้น แล้วยังช่วยทำให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุล เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกให้ในอัตราไร่ละ 2-4 ต้น (คิดเฉพาะเนื้อที่ปลูกไม่นับร่องน้ำ และทางเดินในไร่)ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ ปุ๋ย เอ็น พี เค สูตร 10-10-20 เป็นต้น ปุ๋ยสูตรดังกล่าวอาจจะหายาก แต่ปุ๋ยที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้ เช่นปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมากหรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบกันด้วย
จากการศึกษาการใช้ธาตุอาหารจากดินของแตงโมและผลผลิตที่ได้ต่อไร่ พบว่าในเนื้อที่ปลูกแตงดม 1 ไร่ แตงโมจะให้ผลผลิตไร่ละ 8,000 กิโลกรัม หรือ 8 ตัน แตงโมทั้ง 8 ตันนี้จะใช้ธาตุไนโตรเจนจากดินไป 19 กิโลกรัม ใช้ธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) ไป 11.2 กิโลกรัม และใช้ธาตุโปแตสเซี่ยม (K2O) ไป 30 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าแตงโม ใช้ธาตุโปแตสเซี่ยมจากดินไปมากที่สุด รองลงมา คือธาตุไนโตรเจน และที่ใช้น้อยที่สุด คือ ฟอสฟอรัส ปริมาณแร่ธาตุอาหารที่รากแตงโมดูดซับจากดินไปใช้นั้นมีปริมาณมากกว่าธาตุอาหารในปุ๋ย สูตร 13-13-21 อัตราใส่ 100 กิโลกรัมต่อไร่เสียอีก เราจึงมองเห็นว่าแตงโมนั้นเป็นพืชที่ใช้ธาตุอาหารจากดินมากที่สุดพืชหนึ่ง ฉะนั้นปุ๋ยที่ใส่ในสวนแตงโมนั้นจึงต้องใส่มากจึงจะปลูกแตงโมได้รับผลสำเร็จ
วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม
ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยสูตร (เอ็น พี เค) ลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดินแล้วรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลายน้ำลงไปหารากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้เป็นวิธีที่ผิดซึ่งจะทำให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโปแตสเซี่ยมจากปุ๋ยสูตรเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยสูตรนั้นเลย หรือได้รับ
ก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโมมากพอสมควรทีเดียว
ฉะนั้น การใส่ปุ๋ยสูตร (เอ็น พี เค) จึงควรใส่ไว้ไต้ดินเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิวดินห่าจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่ม แตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่ ตารางหน้าถัดไปเป็นตารางการใส่ปุ๋ยเดี่ยว ๆ ไม่ได้ใช้ปุ๋ยสูตร (เอ็น พี เค) โดยใส่ตามความต้องการตามธรรมชาติของมันการใส่ปุ๋ยตามตารางใช้ปุ๋ยนี้เป็นการใส่ปุ๋ยให้ต้นแตงโมตามระยะเวลาที่ต้นแตงโมต้องการใช้ ซึ่งจะพอเหมาะพอดีไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป
การให้น้ำและการดูแลรักษาแปลง
แม้ว่าต้นแตงโมจะเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งของอากาศ แต่ถ้าอากาศแห้งแล้งจนเกินไปก็ทำให้ต้นแตงโมชะงักการเจริญเติบโตได้ตามธรรมชาติ ต้นแตงโมต้องการให้ผิวดินชุ่มชื้น แต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกำลังเจริญเติบโตเป็นต้นที่ต้นแตงโมต้องการน้ำมาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ดินในแปลงควรให้ทั้งแปลง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึก ซึ่งจะทำให้ดินขาดอากาศ ออกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใดก็หมายถึงว่ารากแตงโมหยุดชะงักการเจริญเติบโตเมื่อนั้น ซึ่งหมายถึงว่าต้นแตงโมจะได้รับน้ำ และธาตุอาหารอยู่ในขอบเขตที่จำกัดไปด้วย ดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทำให้ขาดอากาศไปด้วยนั้นคือดินเหนียวและดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทราย สามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมากๆได้ เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้นที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้นไม่สามารถไถพรวนให้ลึกเท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้งเหนียวและแน่นอุ้มน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายน้ำออกจากผิวดินได้ไว้มาก และดูดซับความชื้นได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทำให้ต้องให้น้ำกับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้น้ำอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวัน ๆ ละครั้ง
http://www.som-winkwink.ob.tc/t4.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 7:41 am ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไร้เมล็ด
คือ แตงโมที่ปรับปรุงพันธุ์ให้ดอกตัวผู้เป็นหมัน
การปลูกแตงโมไร้เมล็ดนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกแตงโมปกติอย่างน้อย 30% ของจำนวนประชากรทั้งหมดเพื่อให้แมลงนำเกสรตัวผู้มาผสมดอกแตงโมไร้เมล็ด หรือปลูกพันธุ์ที่เป็น Pilinizer แล้วนำเกสรตัวผู้ที่แข็งแรงมาทำการผสม
จำนวนวันนับตั้งแต่ผามเกสรถึงเก็บเกี่ยวได้นั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของแตงโมไร้เมล็ด
สภาพภูมิอากาศ ระบบวิธีการปลูก เช่น การปลูกกลางแจ้งแบบเลื้อยดิน หรือ การปลูกแบบขึ้นค้างในโรงเรือนก็มีความแตกต่างกัน
เทคนิคการเพาะปลูกก็มีส่วนสำคัญในการปลูกแตงโมไร้เมล็ดให้ได้ผลสำเร็จ
http://601-budsaba.net76.net/work/work7.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 7:22 am ชื่อกระทู้: |
|
การปลูกแตงโมผลิตเมล็ดพันธุ์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อังคณา เทียนกล่ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (042) 743682
การผลิตแตงโมพันธุ์ลูกผสม
การผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมลูกผสมในเขตจังหวัดสกลนคร จะมีการผลิตอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. เกษตรกรเป็นสมาชิกลูกไร่ของบริษัทเอกชน แล้วทำการผลิตเมล็ดแตงโมพันธุ์ลูกผสมตามที่ทางบริษัทกำหนด พื้นที่ปลูก 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม และอำเภอ พังโคน
2. เกษตรกรผลิตเมล็ดแตงโมพันธุ์ลูกผสมเอง ได้แก่ พันธุ์กินรี พันธุ์ตอร์ปิโด และพันธุ์จินตหรา โดยเกษตรกรจะมีเมล็ดพันธุ์ต้นพ่อและต้นแม่เป็นของตนเอง แล้วทำการผลิตตามขั้นตอนของการผสมพันธุ์ เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ก็จะนำไปจำหน่ายเอง การปลูกแตงโมมีพื้นที่ปลูกในอำเภอพรรณานิคม
การผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมลูกผสมจะมีการผลิต 3 ครั้งต่อปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1
ทำการผลิตหลังฤดูทำนา โดยจะทำการปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำตลอดปี เกษตรกรจะทำการเพาะกล้าตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนธันวาคม ย้ายปลูกเมื่อกล้าอายุ 12 - 15 วัน หลังเพาะเมล็ด การผสมเกสรหลังย้ายปลูก 25 - 30 วัน ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวผลผลิตหลังผสมเกสร 40 วัน เดือนธันวาคมถึงต้นมีนาคม
ครั้งที่ 2
เกษตรกรจะทำการเพาะกล้าตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคมย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุ 7 - 15 วัน หรือมีใบจริง 3 - 5 ใบ ผสมเกสรหลังย้ายปลูก 25 - 30 วัน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
ครั้งที่ 3
เกษตรกรจะทำการเพาะกล้าเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม
เทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม
1. การเตรียมต้นกล้าและการย้ายปลูก
อัตราส่วนของต้นพ่อและต้นแม่เท่ากับ 1: 6 หรือ 1: 10 โดยทำการเพาะต้นพ่อก่อนต้นแม่ 7 วัน จำนวนต้นกล้าที่เพาะจะเผื่อไว้ 5-10 เปอร์เซ็นต์การเตรียมวัสดุเพาะกล้า อัตราส่วน ดิน : ปุ๋ยคอก เท่ากับ 3 : 1 หรือใช้จอกสับละเอียดเป็นวัสดุเพาะกล้า โดยเฉพาะในถาดเพาะซึ่งมี 104 หลุม/ถาด นำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำและบ่มความร้อนในถุงพลาสติกจนมีรากงอกออกมาแล้ว นำไปหยอดลงในถาดเพาะหลุมละ 1 เมล็ด ในการหยอดเมล็ดจะฝังเมล็ดไปในทิศทางการงอกของราก หลังจากนั้นรดน้ำเช้าและเย็น และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ก่อนย้ายปลูก 1 วัน จะงดการให้น้ำในถาดเพาะ การปลูกต้นพ่อและต้นแม่ใช้วิธีการเพาะกล้า และการปฏิบัติดูแลรักษาเหมือนกัน
2. การเตรียมพื้นที่ปลูก
เกษตรกรจะทำการไถพรวนดิน 2 ครั้ง โดยการไถพลิกหน้าดิน เพื่อตากดินไว้ 3 7 วัน เพื่อทำลายเชื้อโรค และเมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ในดิน ใส่ปุ๋ยคอกรองพื้น อัตรา 1- 2 ตันต่อไร่ และปูนขาว ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และสารเคมีกำจัดแมลงดูดซึม 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการยกร่องแปลงขนาดกว้าง 90 100 เซนติเมตร ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร โดยทำร่องน้ำระหว่างแถวปลูก ความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ คลุมด้วยผ้าพลาสติกสีดำ เจาะผ้าพลาสติกทำหลุมปลูกแบบแถวคู่ ระยะปลูก 40-45 เซนติเมตร โดยห่างจากขอบแปลง 20 เซนติเมตร ระยะระหว่างแปลง 3 เมตร ปลูก 1,600 ต้นต่อไร่
3. การปลูก
ต้นกล้าที่ใช้ปลูกลงแปลงจะมีอายุ 7 15 วัน การปลูกในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน ธันวาคม) เกษตรกรจะใช้กล้าอายุ 15 วัน เนื่องจากกล้าจะเจริญเติบโตช้า หากปลูกในช่วงฤดูฝน (สิงหาคม กันยายน) จะใช้ต้นกล้าอายุ 7 วัน ในการปลูกลงแปลง
4. การดูแลรักษา
4.1 การให้น้ำ
หลังย้ายปลูกจะมีการรดน้ำโดยใช้บัวรดน้ำหรือสายยางให้น้ำทีละน้อย เมื่อต้นกล้าแข็งแรง จะให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไปตามร่องแปลงปลูก ระยะเวลา 3 - 7 วันต่อครั้งขึ้นอยู่กับสภาพดิน
4.2 การใส่ปุ๋ย
หลังย้ายปลูก 5 7 วัน ใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่รอบโคนต้น หรือทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ หลังย้ายปลูก 15-20 วัน จะพรวนดินและใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 2 โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลบโคนต้น
4.3 การตัดแต่งและไว้ตำแหน่งผล
ทำการตัดยอดแตงโมหลังปลูก 7 วัน ในตำแหน่งใบที่ 5 หลังจากเด็ดยอดได้ 15 วัน จะมีการตัดแต่งกิ่งแขนงที่แตกออกจากมุมใบทุกข้อ เลือกกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ 2-3 แขนงต่อต้น ทำการตัดแต่งแขนงย่อยและดอกเพศเมียในข้อที่ 1 4 ของกิ่งแขนงออก แล้วเริ่มทำการผสมเกสรตั้งแต่ข้อที่ 59 จะทำการผสมเกสรระหว่างข้อที่ 5-15
4.4 การควบคุมโรคและแมลง
หลังจากปลูก 7 - 15 วัน จะมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเพื่อป้องกันแมลงด้วงเต่าทอง กัดกินใบ และไรแดงที่จะทำให้ใบและยอดหดตัวได้
5. การผสมเกสร (Pollination)
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการผสมเกสรระหว่าง 18 22 องศาเซลเซียส หลังย้ายปลูกได้ 25-30 วัน เริ่มทำการผสมเกสร โดยมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
5.1 การทำหมัน (Emasculation)
การทำหมันในต้นตัวเมียจะเริ่มทำตั้งแต่ข้อที่ 5-9 ของเถาเป็นต้นไป การทำหมันในตอนบ่าย โดยเลือกดอกที่สามารถผสมเกสรได้พร้อมกันมากที่สุด ช่วงเวลาในการผสมเกสรไม่เกิน 7- 10 วัน
การตอนดอกโดยการใช้ปากคีบกรีดลงบนกลีบดอก แล้วดึงอับละอองเกสรตัวผู้ที่อยู่ระหว่างยอดเกสรตัวเมีย 3 อับ ขนาดของอับละอองเกสรตัวผู้ยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม หลังจากนั้นดึงกลีบดอกออกเหลือเฉพาะยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีลักษณะหยัก 3 หยักแล้วคลุมด้วยปลอกพลาสติกสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร มีรูระบายอากาศเล็ก ๆ ในส่วนปลายปลอก การคลุมด้วยปลอกพลาสติกแดง เพื่อป้องกันการผสมข้ามจากแมลง ในการตอนดอกจะต้องคลุมด้วยปลอกพลาสติกก่อนดอกบาน 1 วัน
5.2 การเก็บละอองเกสรตัวผู้ (Pollen Collection)
การเก็บละอองเกสรตัวผู้จากต้นพ่อก่อนบาน 1 วัน ในตอนบ่ายของวัน โดยเก็บทั้งก้านดอก ดอกที่จะเก็บสังเกตจากกลีบดอกตูมสีเหลืองอมเขียว หลังจากนั้นมาห่อด้วยผ้าขาวบางที่ชุบน้ำหมาด ๆ หรือนำเกสรตัวผู้มาล้างน้ำแล้วผึ่งไว้จนสะเด็ดน้ำ นำใส่ในถุงพลาสติกรัดปากแน่น บ่มไว้ในกระติกน้ำแข็ง บ่มทิ้งไว้ในสภาพอุณหภูมิห้อง 1 คืน รุ่งเช้ากลีบดอกบานสังเกตจากอับละอองเกสรตัวผู้มีผงสีเหลือง การตรวจความพร้อมในการผสมโดยเอามือแตะที่เกสรตัวผู้ ถ้าติดมือแสดงว่าพร้อมในการผสมเกสรของดอกตัวผู้
5.3 การผสมเกสร (Pollination)
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรระหว่าง 6.00-11.00 น. เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มผสมเกสรตั้งแต่ 6.00 น. เป็นต้นไป การผสมเกสรทำโดยการดึงกลีบดอกของดอกตัวผู้ให้เหลือเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้และก้านดอกสำหรับจับ จากนั้นถอดปลอกพลาสติกสีแดงออกจากดอกตัวเมีย คล้องก้านดอกด้วยยางวง ใช้กรรไกรตัดกลีบดอก 2-3 กลีบ เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าผลที่ได้จะเป็นผลที่ได้จากการผสมเกสรด้วยมือ นำอับละอองเกสรตัวผู้แตะบนยอดเกสรตัวเมีย โดยใช้อัตราส่วนดอกเพศผู้ : ดอกเพศเมีย (หรือดอกกะเทย) เท่ากับ 1: 1 หรือ 2: 1 จากนั้นคลุมด้วยถุงกระดาษ เพื่อป้องกันการผสมข้ามจากแมลง
เกษตรกรจะทำการผสมเกสร 4 - 6 ดอกต่อต้น ระยะเวลาในการผสมเกสร 7 - 10 วัน การติดผล 2-4 ผลต่อต้น โดยกิ่งแขนงละ 1-2 ผล จำนวนผล 2-4 ผลต่อต้น หลังผสมเกสรเสร็จแล้ว จะมีการเด็ดดอกตัวเมียหรือดอกกะเทยที่ไม่ต้องการทิ้งแต่ไม่มีตัดแต่งกิ่งแขนงออก การผสมเกสรใช้แรงงาน 3-4 คนต่อไร่ต่อวัน การใช้แรงงาน 1 คน จะผสมเกสรในช่วงเช้า และทำหมันดอกตัวเมียในตอนบ่าย การตรวจเช็คผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสร จะสังเกตจากกลีบดอกที่ตัดไว้ 2-3 กลีบ หลังการผสมเกสร 35-40 วัน จะทำการเก็บเกี่ยวผลแตงโม
6. การเก็บเกี่ยว (Harvesting)
หลังผสมเกสร 40 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลแตงโม โดยจะทำการเก็บเกี่ยวเพียงตรั้งเดียวก่อนทำการเก็บเกี่ยวจะสังเกตจากยางวงที่คล้องที่ขั้วผลทุกผล หรือสังเกตจากกลีบดอกของผลที่ได้ตัดไว้ 2-3 กลีบ หลังเก็บเกี่ยวแล้วจะบ่มผลแตงโมไว้ในแปลงปลูก 3-5 วัน เพื่อให้ผลสุกสม่ำเสมอ
7. การทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ (Seed Cleaning)
นำผลแตงโมมาผ่าครึ่งตามความยาวของผล แล้วควักเอาเนื้อที่ติดเมล็ดใส่ในตระแกรงไม้ไผ่ ส่วนที่เป็นน้ำและเนื้อที่ไม่มีเมล็ดเมล็ดติดมาแยกทิ้งไป จากนั้นนำเมล็ดไปหมักไว้ในถัง 24 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดในช่วงเช้า โดยแยกเนื้อและเมล็ดที่ลีบออก ล้างน้ำให้สะอาด หลังจากนั้นนำเมล็ดไปตากแดดกลางแจ้งบนตระแกรงตาข่ายในล่อนหรือเสื่อ การตากแดด 6 ชั่วโมง จะต้องมีการกลับเมล็ดทุกชั่วโมงเพื่อให้เมล็ดแห้งทุกด้าน จากนั้นนำไปตากในร่ม 3-4 วัน จนเมล็ดแห้งสนิท จึงนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกเพื่อนำไปจำหน่าย
8. การจำหน่าย
เกษตรกรจะปลูกแตงโมในขนาดพื้นที่ 3-5 ไร่ต่อราย ผลผลิตเมล็ดแตงโม 15-30 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาในการจำหน่ายเมล็ดแตงโม 700-2,000 บาทต่อกิโลกรัมสำหรับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมตำบลไร่จะมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์กินรี พันธุ์ตอร์ปิโด และพันธุ์จินตหรา ราคาที่จำหน่ายจะแตกต่างกัน คือ พันธุ์กินรีและพันธุ์ตอร์ปิโด ราคาจำหน่าย 1,000 - 1,200 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนพันธุ์จินตหรา ราคา 700-800 บาทต่อกิโลกรัม วิธีการจำหน่าย ทางกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโมจะดำเนินการโดยคณะกรรมการฝ่ายจำหน่ายนำเมล็ดไปส่งให้กับพ่อค้าหรือร้านค้าประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานีในราคากิโลกรัมละ 1,500 บาท หรือจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมผลสดในท้องถิ่น
ส่วนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกลูกไร่ของบริษัทเอกชน หลังจากที่นำเมล็ดพันธุ์แตงโมทำความสะอาดและตากแห้งแล้ว เกษตรกรจะนำเมล็ดพันธุ์แตงโมส่งให้กับบริษัท การรับซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคา 700-800 บาทต่อกิโลกรัม ทางบริษัทจะจ่ายเงินให้กับเกษตรกรครึ่งหนึ่งของราคาจำหน่าย ขณะเดียวกันบริษัทจะหักค่าใช้จ่ายที่สมาชิกได้เครดิตปุ๋ย สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและอุปกรณ์จากบริษัท ในส่วนที่เหลือจะจ่ายให้กับเกษตรกร เมื่อเมล็ดพันธุ์ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ดังนี้ เปอร์เซ็นต์ ความงอกมากกว่า 90 ความเป็นลูกผสมมากกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นของเมล็ด 3 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม
1. โรคราค้าง (Downy mildew)
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospoea cubensis Berk & Curt. Root
ลักษณะอาการ การเกิดโรคนี้มักจะเกิดขึ้นในสภาพอุณหภูมิต่ำ และความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง อาการโรคในระยะแรกจะเกิดแผลสีน้ำตาล เส้นกลางใบจะมีจุดลักษณะฉ่ำ แผลมีสีน้ำตาลรูปทรงเหลี่ยมหรือกลม ในช่วงระบาดมากเมื่อพริกใต้ใบจะมีสปอร์เป็นผงสีน้ำตาล และ มีเส้นใยสีขาวในบริเวณแผล การระบาดเริ่มที่ใบแก่ ใบแห้งกรอบบริเวณปลายใบและขอบใบ ถ้าเป็นมากใบจะร่วง เถาแห้งและตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ก่อนการระบาดของโรค เกษตรกรจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราดูดซึม และตัดใบที่เป็นโรคออก และถอนต้นที่เป็นโรคออก
2. โรคเถาเหี่ยว (Wilt)
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxyaporum (Schecht)
ลักษณะอาการ แสดงอาการเถาเหี่ยวเริ่มจากยอดลงมาและตลอดเถา เมื่อผ่ากลางลำต้นบริเวณท่อน้ำเลี้ยงจะมีน้ำสีน้ำตาล บริเวณโคนเถาที่ใกล้ผิวดินมักแตกตามยาว และมีน้ำเมือกซึมออกมา
การป้องกัน เกษตรกรจะไม่ปลูกแตงโมในพื้นที่ที่มีการระบาดของพืชตระกูลแตงมาก่อน เมื่อพบต้นแตงโมเหี่ยวก็จะทำการถอนต้นทิ้งหรือปลูกในพื้นที่เดิมแบบปีเว้นปี
3. โรคราแป้ง ( Powdery mildew )
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp.
ลักษณะอาการ โรคนี้มักจะระบาดในสะภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ เถาจะมีขุยสีขาวปกคลุมเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีอาการมากใบจะมีสีเหลืองและแห้งตายในช่วงติดผล
การป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา
4. โรคใบจุด (Leaf spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cooke
ลักษณะอาการ ใบจะมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นสะเก็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ตรงกลางแผลมีสีขาว
การป้องกัน โดยฉีดพ่นยากำจัดเชื้อราป้องกันก่อนเกิดการระบาดของโรค
5. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
สาเหตุเกิดจาก Collectrichum lagenarium (Pass) Ell & Halst
ลักษณะอาการ ใบจะมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ใบแห้งกรอบ ที่ลำต้นมีแผลเป็นทางยาวเป็นจุดสีดำ ผลมีลักษณะเป็นสะเก็ด แผลเป็นรอยยุบ บางครั้งพบรอยแผลแตงที่ผลถึงเนื้อภายใน ทำให้เชื้อโรคอื่น ๆ ทำลายเนื้อผลแตงโม ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอดไปถึงเมล็ดพันธุ์ได้
6. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ มักพบในบริเวณยอดใบอ่อน ผล และดอก การเข้าทำลายพืชโดยดูดน้ำเลี้ยงทำให้ใบหงิกงอ รูปร่างผิดปกติ ใบมีสีซีดสลับเขียวเป็นทาง มักพบระบาดมากในช่วงเปลี่ยนฤดู และอากาศแห้ง เช่นฝนขาดช่วง
7. เต่าทอง เต่าแตงและเต่าดำ
เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและดำเข้ม ขนาดตัวยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร ทำลายแตงโมแบบกัดกินตั้งแต่ระยะกล้าถึงต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น และตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกำจัด ในช่วงการระบาด ต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทถูกตัวตาย และทำการกำจัดแหล่งอาศัย เช่น วัชพืชที่มีแปลงปลูกแตงโม
แปลงปลูกแตงโมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
แปลงปลูกแตงโมแบบแถวคู่
กระดาษคลุมดอกแตงโม หลังการผสมเกสร
กระดาษคลุมดอกแตงโม หลังการผสมเกสร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิธีครอบดอกด้วยหลอดพลาสติกสีแดง หลังการทำหมันดอก
จัดแถวแตงโมในแปลงปลูก
ผลแตงโมที่ได้รับการผสมเกสรแล้ว 2 สัปดาห์
http://www.pongrang.com/web/data/a4/04/revival.snru.ac.th/vegetable/vegetable1.htm |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 04/10/2011 7:16 am ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไร้เมล็ด : ผลไม้ไฮเทค
เกิดจากอะไรมีเทคนิคแบบไหนเป็นพืช GMO หรือไม่
อาศัยวิทยาการการเกษตรที่ไฮเทคมาก เพราะอีก 50 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรของโลกจะมีถึงหนึ่งหมื่นล้านคน ปัญหาการผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับคนจำนวนมหาศาลนั้นได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์คิดหาพืชและสัตว์ที่ให้ผลิตผลสูงและมีคุณภาพมาก เช่น มีนักวิทยาศาสตร์บางคนกำลังค้นหายาฉีดภูมิคุ้มกันให้ต้นไม้เจริญเติบโตโดยไม่ถูกแมลงรบกวนหรือกัดกิน นักชีววิทยาบางคนกำลังหาวิธีทำให้ผลไม้ มีชีวิตยืนนานโดยไม่เน่าสลายในเวลารวดเร็ว บางคนกำลังคิดหาวิธีทำต้นกาแฟที่ไร้กาเฟอีน เป็นต้น
ในสมัยโบราณเวลาเกษตรกรต้องการพืชที่มีคุณสมบัติเช่นไร เขาจะนำพืชที่มีคุณสมบัติที่เขาประสงค์มาผสมพันธุ์กัน สมบัติที่เด่นของพืชเก่าจะถ่ายทอดสืบต่อไปเป็นสมบัติของพืชใหม่ ข้อจำกัดด้านคุณภาพของการสร้างพืชโดยวิธีนี้คือคุณสมบัติของพืชที่เราต้องการนั้นจะต้องใช้พืชพันธุ์เดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอดีตเราจึงไม่สามารถผสมพันธุ์ข้าวโพดกับถั่ว หรือขนุนกับมะขามได้เลย แต่ในยุคปัจจุบัน วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวหน้าไปมาก นักวิทยาศาสตร์สามารถตัดต่อยีน (gene) จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งแล้วนำไปใส่ลงในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้เราได้พืชพันธุ์ใหม่และสัตว์พันธุ์แปลกที่เราๆ ไม่เคยคาดฝันว่าจะมี เช่นเราสามารถถ่ายยีนของจุลินทรีย์ลงในยีนของพืชและยีนของกุ้งสามารถรับยีนของหอยเม่นได้ เป็นต้น
นับตั้งแต่ G. J. Mendel ได้พบกฎทางพันธุกรรมเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ผลการค้นพบของ Mendel สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบันมากมาย เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ D. Gray นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Florida ในประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศว่าเขาได้พัฒนาวิธีปลูกแตงโมที่ไร้เมล็ดได้สำเร็จแล้ว แตงโมไร้เมล็ดที่ว่านี้มีคุณค่าสูงกว่าแตงโมมีเมล็ดมาก เพราะนอกจากจะมีชีวิตที่ยืนนานกว่า ติดผลมากกว่าแล้ว ยังสะดวกต่อการบริโภคดีกว่าอีกด้วย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าแตงโม (Citrullis vulgaris) เป็นผลไม้ที่มนุษย์รู้จักมานานแสนนาน ภาพวาดที่ปรากฎตามผนังพีระมิดแสดงให้เห็นว่า ชาวอียิปต์โบราณรู้จักปลูกแตงโมมาตั้งแต่สมัยฟาโรห์ คำว่า "แตงโม" ในภาษาอารบิก สันกฤต และสเปน มิได้มีรากศัพท์เดียวกันเลย ความจริงข้อนี้สื่อให้เราเห็นว่า แตงโมเป็นพืชที่แพร่หลาย และมีคนนิยมปลูกมากมายทั่วโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
แตงโมธรรมชาติมีขนาด รูปร่าง เนื้อ และสีต่างๆ กัน เนื้อแตงโมมีทั้งสีเหลือง แดง น้ำตาล ชมพู และดำ ในพื้นที่บางแห่งของแอฟริกาที่แห้งแล้ง นักท่องทะเลทรายมักจะนำแตงโมติดตัว ชาวรัสเซียนิยมดื่มเบียร์แตงโม คนอิรักบริโภคแตงโมเป็นอาหารหลัก คนเกาหลี ญี่ปุ่นนิยมดองเปลือกแตงโม และใช้เมล็ดแตงโมเป็นอาหารขบเคี้ยว
ปัจจุบันนี้เรามีองุ่นไร้เมล็ด คงอีกไม่นานเราก็จะมีแตงโมไร้เมล็ดกินกันมาก ดังนั้นคนที่นิยมเม็ดกวยจี้ คงต้องเตรียมหันไปนิยมพืชชนิดอื่นแทน อย่างแน่นอน
รวบรวมค้นคว้าโดยครูณัฐฎา แสงคำ
นำเสนอโดย : ณัฐฎา แสงคำ
โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม
สพม.เพชรบูรณ์ เขต 40
อยู่ในขั้น : ปรมาจารย์
|
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/10/2011 10:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไร้เมล็ด เขตฯ กว่างซีจ้วง รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น
สำนักข่าวซินหัว-เขตฯ กว่างซีจ้วง : กว่า 25 ปีของการศึกษาวิจัย คัดเลือกพันธุ์ และผลักดันการปลูกแตงโมไร้เมล็ดของเขตฯ กว่างซีจ้วง ในที่สุด แตงโมไร้เมล็ด พันธุ์ กว่างซี หมายเลข 3 และหมายเลข 5 ก็คว้ารางวัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตฯ กว่างซีจ้วง ประจำปี 2553 ไปครอง พร้อมรับเงินรางวัลกว่าล้านหยวน
เขตฯ กว่างซีจ้วงถือเป็นฐานการส่งออกแตงโมไร้เมล็ดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน มีพื้นที่ปลูกแตงโมฯ มากกว่า 380,000 หมู่จีน (ประมาณ 158,339 ไร่) มีปริมาณการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 76 ของทั้งประเทศ
ตามที่ได้รับรายงาน การศึกษาวิจัยแตงโมไร้เมล็ดของเขตฯ กว่างซีจ้วง เริ่มต้นเมื่อปี 2508 เขตฯ ได้ทดลองนำเข้าพันธุ์แตงโมฯ จากต่างประเทศ แต่ต้องประสบกับปัญหาเกี่ยวกับปริมาณการผลิตและการเก็บเมล็ดพันธุ์ (seed collecting) ค่อนข้างต่ำ อัตราการงอกและอัตราการเติบโตของกล้าอ่อนต่ำ ปริมาณและคุณภาพการผลิตไม่คงที่
ต่อมาเมื่อปี 2527 ทีมนักวิจัยจากสถาบันเกษตรศาสตร์ประจำเขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi Academy of Agricultural, 广西农科院) ได้เริ่มศึกษาวิจัยพร้อมทั้งคัดเลือกพันธุ์แตงโมไร้เมล็ดรุ่นใหม่ ตลอดระยะเวลาการทุ่มเทกว่า 25 ปีจึงได้แตงโมไร้เมล็ดพันธุ์ กว่างซี หมายเลข 3 และหมายเลข 5
จุดเด่นของแตงโมไร้เมล็ด 2 พันธุ์ข้างต้น คือ การใช้เทคโนโลยีการคัดเลือกยีนผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้มีความต้านทานโรคสูง และสามารถขจัดปัญหาเกี่ยวกับปริมาณการผลิตและการเก็บเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกและอัตราการเติบโตของกล้า รวมถึงปริมาณและคุณภาพการผลิตจากปัญหาด้านสภาพอากาศลงได้ จึงถือได้ว่าแตงโมไร้เมล็ดพันธุ์ กว่างซี หมายเลข 3 และหมายเลข 5 เป็นแตงโมพันธุ์ดี ระดับโลก
ปัจจุบัน แตงโมไร้เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้รับการปลูกอย่างแพร่หลายใน 19 มณฑลทั่วประเทศจีน พื้นที่การปลูกมากกว่า 3 ล้านหมู่จีน (ประมาณ 1.25 ล้านไร่) สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนไม่น้อย จากข้อมูลพบว่า เมื่อปี 2553 เกษตรกรของเขตฯ กว่างซีจ้วงมีรายได้จากการปลูกแตงโมฯ พันธุ์ดังกล่าวมากกว่า 13,000 หยวนต่อหมู่จีน
Last Update : 10 มกราคม 2554
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http://www.gx.xinhuanet.com/ (广西新华网) (09 มกราคม 2554)
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=6616 |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/10/2011 9:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไร้เมล็ด
1. ปลูกแตงโม พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน
การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น เด็ดยอด - เลี้ยงยอด - ไว้ดอก เหมือนกันตามปกติ
2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ด
ไปผสมให้กับ เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ด้วยวิธี "ต่อดอก" ตามปกติ
3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัว
ผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่
หมายเหตุ :
- แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
- แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว เพียงมีเมล็ด
สีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่มเคี้ยวรับประทานได้
เลย
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ
http://www.vcharkarn.com/vcafe/43158 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/10/2011 9:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไม่มีเมล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris
บุคคล นายดำรงค์ สินไชย
องค์ความรู้
แตงโมเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามดิน รากเป็นระบบแผ่อยู่ตามดินตื้น ดอกแยกเพศคือดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย แต่ดอกทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในต้นเดียวกัน และมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย ๗ เท่า ผลแตงมีรูปร่างกลม รี หรือทรงกระบอก แตงโมพันธุ์มีเมล็ดมีโครโมโซม ๒ ชุด มีจำนวน ๒๒ แท่ง
การทำแตงโมไม่มีเมล็ดต้องสร้างต้นแม่พันธ์จากแตงโมธรรมดาโดยใช้สารคอกซิซินหยดที่ยอดแตงโม คอกซิซินจะทำให้การเพิ่มไมโครโมโซมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวคือจาก ๒ ชุด(๒๒ แท่ง)เป็น ๔ ชุด(๔๔ แท่ง)ต้นแม่พันธุ์นี้เมื่อเวลาสร้างเซลล์สืบพันธุ์โครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่งคือเหลือ ๒ ชุด (๒๒ แท่ง)ส่วนต้นพ่อพันธุ์เป็นแตงโมธรรมดาที่มีโครโมโซม ๒ ชุด (๒๒ แท่ง)เมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์โครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่งคือเหลือเพียง ๑ ชุด (๑๑ แท่ง) นำละอองเกสรจากต้นพ่อมาผสมข้ามกับดอกตัวเมียของต้นแม่ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ของทั้งสองเพศมารวมกัน ก็จะได้เมล็ดแตงโมที่มีโครโมโซม ๓ ชุด(๓๓ แท่ง)เมื่อนำเมล็ดแตงโมที่ได้ไปปลูก ก็จะเจริญเป็นต้นแตงโมไม่มีเมล็ด เมื่อออกผลแตงโมแล้วนำมาผ่าดูก็จะไม่พบเมล็ดสีดำเลย
ประโยชน์
๑. ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ
๒. ได้ผลไม้สายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะแก่การบริโภค เพราะบางคนไม่บริโภคแตงโมเพราะแตงโมธรรมดามีเมล็ดมากมาย ไม่สะดวกแก่การรับประทาน
๓. ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นเพราะเป็นที่สนใจต่อตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๔. ส่งเสริมชื่อเสียงของจังหวัด
http://www.trangview.com/index.php?topic=46.0 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/10/2011 9:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
มนุษย์อนาคตจะต้องพึ่งพาอาศัยวิทยาการการเกษตรที่ไฮเทคมาก เพราะอีก 50 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรของโลกจะมีถึงหนึ่งหมื่นล้านคน ปัญหาการผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับคนจำนวนมหาศาลนั้นได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์คิดหาพืชและสัตว์ที่ให้ผลิตผลสูงและมีคุณภาพมาก เช่น มีนักวิทยาศาสตร์บางคนกำลังค้นหายาฉีดภูมิคุ้มกันให้ต้นไม้เจริญเติบโตโดยไม่ถูกแมลงรบกวนหรือกัดกิน นักชีววิทยาบางคนกำลังหาวิธีทำให้ผลไม้ มีชีวิตยืนนานโดยไม่เน่าสลายในเวลารวดเร็ว บางคนกำลังคิดหาวิธีทำต้นกาแฟที่ไร้กาเฟอีน เป็นต้น
ในสมัยโบราณเวลาเกษตรกรต้องการพืชที่มีคุณสมบัติเช่นไร เขาจะนำพืชที่มี
คุณสมบัติที่เขาประสงค์มาผสมพันธุ์กัน สมบัติที่เด่นของพืชเก่า
จะถ่ายทอดสืบต่อไปเป็นสมบัติของพืชใหม่ ข้อจำกัดด้านคุณภาพของการ
สร้างพืชโดยวิธีนี้คือคุณสมบัติของพืชที่เราต้องการนั้นจะต้องใช้
พืชพันธุ์เดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอดีตเราจึงไม่สามารถผสมพันธุ์ข้าวโพดกับถั่ว หรือขนุนกับมะขามได้เลย
แต่ในยุคปัจจุบัน วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวหน้าไปมาก นักวิทยาศาสตร์
สามารถตัดต่อยีน (gene) จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งแล้วนำไปใส่ลงในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้เราได้พืชพันธุ์ใหม่และสัตว์พันธุ์แปลกที่เราๆ ไม่เคยคาดฝันว่าจะมี เช่นเราสามารถถ่ายยีน
ของจุลินทรีย์ลงในยีนของพืชและยีนของกุ้งสามารถรับยีนของหอยเม่นได้ เป็นต้น
นับตั้งแต่ G. J. Mendel ได้พบกฎทางพันธุกรรมเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ผลการค้นพบของ Mendel สร้างความหลากหลาย
ทางชีวภาพในปัจจุบันมากมาย
เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ D. Gray นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Florida ในประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศว่าเขาได้พัฒนา
วิธีปลูกแตงโมที่ไร้เมล็ดได้สำเร็จแล้ว แตงโมไร้เมล็ดที่ว่านี้มีคุณค่าสูงกว่าแตงโมมีเมล็ดมาก เพราะนอกจากจะมีชีวิตที่ยืนนานกว่า ติดผลมากกว่าแล้ว ยังสะดวกต่อการบริโภคดีกว่าอีกด้วย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าแตงโม (Citrullis vulgaris) เป็นผลไม้ที่มนุษย์รู้จักมานานแสนนาน ภาพวาดที่ปรากฎตามผนังพีระมิดแสดงให้เห็นว่า ชาวอียิปต์โบราณรู้จักปลูกแตงโมมาตั้งแต่สมัยฟาโรห์ คำว่า "แตงโม" ในภาษาอารบิก สันกฤต และสเปน มิได้มีรากศัพท์เดียวกันเลย ความจริงข้อนี้สื่อให้เราเห็นว่า แตงโมเป็นพืชที่แพร่หลาย และมีคนนิยมปลูกมากมาย
ทั่วโลกมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
แตงโมธรรมชาติมีขนาด รูปร่าง เนื้อ และสีต่างๆ กัน เนื้อแตงโมมีทั้งสีเหลือง แดง น้ำตาล ชมพู และดำ ในพื้นที่บางแห่งของแอฟริกาที่แห้งแล้ง นักท่องทะเลทรายมักจะนำแตงโมติดตัว ชาวรัสเซียนิยมดื่มเบียร์แตงโม คนอิรักบริโภคแตงโมเป็นอาหารหลัก คนเกาหลี ญี่ปุ่นนิยมดองเปลือกแตงโม และใช้เมล็ดแตงโมเป็นอาหารขบเคี้ยว
ปัจจุบันนี้เรามีองุ่นไร้เมล็ด คงอีกไม่นานเราก็จะมีแตงโมไร้เมล็ดกินกันมาก ดังนั้นคนที่นิยมเม็ดกวยจี้ คงต้องเตรียมหันไปนิยมพืชชนิดอื่นแทน ผมเรียนแจ้งเพื่อให้เตรียมตัวแล้วนะครับ
http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/melon.htm |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/10/2011 9:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
แตงโมไร้เมล็ดในวัสดุปลูก
ปลูกแตงโม Seedless สำหรับระบบวัสดุปลูก อีกทางเลือกบนเส้นทางที่แตกต่าง super premium
ตลาดแตงโมไร้เมล็ดเนี่ยเราต้องสร้างขึ้นมาเองครับ เพราะว่าแตงโมมีหลายtype เช่น Crimson, Sugarbaby, Icebox, Blocky, Charleston Grey ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ภายนอก แต่คุณภาพภายในก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ เรื่องรสชาติ สีของเนื้อ ความหวานและความกรอบ อย่างในรูปเป็นชนิด Icebox type พันธุ์ที่เนื้อสีแดงอมชมพู (ไม่ใช่แดงเข้ม) เนื้อกรอบและหวานปานกลาง ขนาดประมาณ 3-4 กก./ลูก ทำการตลาดใช้คอนเซป "ผลไม้ดื่มได้" เจ้าของสวนขายออกจากสวนราคา 50 บาท/กก. ครับ วางตำแหน่งเป็นแตงโมSuper premium คุณภาพส่งออกครับเกษตรกรรายนี้เคยส่ง TOP (ตอนนี้กำลังจะส่ง Golden Place)
ชื่อพันธุ์ BOSTON (เพราะไปดังที่อเมริกาก่อน ปัจจุบันพันธุ์นี้กำลังดังที่ยุโรปครับ)
เป็นลิขสิทธิ์พันธุ์ของ Nunhems (บริษัทในเครือไบเออร์คร็อพซายน์) จัดจำหน่ายโดยบริษัท ไดนามิคพันธุ์พืช จำกัด สูตรปุ๋ยมีสอง-สามสูตรขึ้นอยู่กับฤดูกาลแต่เป็นการให้ปุ๋ยทางน้ำทั้งหมด ควบคุม EC; 1.5-2.5, pH : 5.6-6.0 ครับ
1. ปัจจุบันแตงโมที่ปลูกในโรงเรือนเป็นการค้าเป็นแบบเลื้อยVertical trillising
ซึ่งยังทำคล้ายปลูกเมล่อนคือไว้ 1 เถา และ 1 ลูกต่อต้น เราเคยไว้ 2 ลูกต่อต้นแต่ลูกที่สองขนาดสู้ลูกแรกไม่ได้ ต่อไปเรากำลังจะไว้สามเถาต่อต้นและเอาสองผลต่อต้น
2. เนื่องจากแตงโมไร้เมล็ด เกสรตัวผู้จะเป็นหมัน หรือ มีโครโมโซม 3n (Triploid)
เวลาปลูกเราต้องปลูกแตงโมชนิดที่มีเกสรตัวผู้แข็งแรงเป็น Pollenizer และบริษัทของเราได้พัฒนาสายพันธุ์แตงโมที่มีเกสรตัวผู้แข็งแรงและสามารถช่วยให้แตงโมไร้เมล็ดผสมติดได้ง่าย สายพันธุ์แตงโมชนิดพิเศษนี้ กำลังเป็นที่นิยมในวงการแตงโมไร้เมล็ดในอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น สายพันธุ์ที่ว่านี้เป็นแตงโมที่ถูกพัฒนามาใหม่ให้เมล็ดมีขนาดเล็กลงกว่าขนาดเมล็ดแตงโมปกติถึง 1/4 เท่า เราจึงสร้าง Segment อีกตลาดหนึ่งเรียกว่า SSS (super small seed หรือ แตงโมเมล็ดจิ๋ว) โดยใช้ Concept ว่า "กินโดยไม่ต้องคายเมล็ด" ครับ
3. ปริมาณความต้องการน้ำของแตงโมขึ้นอยู่กับภูมิอากาศแต่ละพื้นที่ปลูกครับ แต่ที่เราให้น้ำก็อยู่ระหว่าง 3.5-4.5 มิลลิเมตรต่อวัน
แตงโมไร้เมล็ด เริ่มเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 29-35 วัน หลังผสมดอกปกติ แตงโมจะออกดอก เมื่ออายุประมาณ 25-30 วัน เพาะกล้าประมาณ 10-15 วัน
การปลูกแตงโม สามารถปลูก ได้ ทั้งในดิน หรือวัสดุเพาะปลูกขึ้นอยู่กับการลงทุน และการวางแผนการตลาดครับ
หมายเหตุ : ก่อนปลูกควรศึกษาข้อมูลให้ดีครับ เช่น สายพันธุ์ที่เหมาะสม การขาย การตลาด ไม่งั้น เจ๊งครับ
ขอบคุณ
ชิว
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=knitthis&id=466 |
|
|
kimzagass |
|
|