ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 08/11/2011 7:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
... |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 9:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
28. ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์
1. ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปี แต่ออกตามฤดูกาล เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติมากกว่าการฝืนธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ต้องการใช้สารเคมีมากขึ้นตามไปด้วย
2. ราคาผลผลิตจะสูงกว่า เพราะแม้จะใช้ปัจจัยในการผลิตลดลงแต่ต้องใช้แรงงานในการดูแลและเอาใจใส่มากขึ้น
1. หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์
1. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน
2. เน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุเช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อให้พืชแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคแมลง
3. รักษาความสมดุลของธาตุอาหารภายในฟาร์ม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ป้องกันมิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีจากภายนอกฟาร์ม ทั้งจากดิน น้ำ และอากาศ โดยจัดสร้างแนวกันชน ด้วยการขุดคู หรือปลูกพืชยืนต้น และพืชล้มลุก
5. ใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่มีความต้านทาน และมีหลากหลาย ห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ ที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม
6. การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดินที่ดี และแรงงานคนหรือเครื่องมือกลแทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
7. การป้องกันกำจัดวัชพืชใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
8. ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากน้ำสกัดชีวภาพแทนการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
9. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการักษาไว้ซึ่งพันธุ์พืช หรือสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตลอดจนปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นมาใหม่
10. การปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้ใช้วิธีธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน
11. ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์
12. ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อรอการตรวจสอบ
วิธีการของเกษตรอินทรีย์
1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช
2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน
3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อรักษาความชื้นของดิน
4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์
6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืช การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว
7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย จุลินทรีย์ จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
8. มีการป้องกันศัตรูพืช โดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ตี้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ดังนั้น วิธีการเกษตรอินทรีย์ จึงมิใช่เกษตรกรรมของคนขี้เกียจ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ต้องมีความมานะพยายาม ขยัน เอาใจใส่ อดทน ประหยัด ส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน และไร่นาสวนผสม
หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงดิน
1. ไม่เผาตอซัง
2. ใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก
3. ใช้ปุ๋ยพืชสด
4. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ
5. ใช้วิธีผสมผสาน ระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด และเกื้อกูลกัน
................. ฯลฯ ................
http://www.ekaset.net/index.php?option=com_content&task=view&id=379&Itemid=152 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 9:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
หน้าที่ 2
ลำดับเรื่อง...
27. สาเหตุที่ปุ๋ยเคมีกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในระบบเกษตรอินทรีย์
28. ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์
----------------------------------------------------------------------------------
27. สาเหตุที่ปุ๋ยเคมีกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อลดผลกระทบด้านปุ๋ยเคมี นักวิชาการมักแนะนำให้ใช้ปุ๋ย อินทรีย์เคมี ที่ผสมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ที่ทางกลุ่มเกษตรกรพิจารณาว่า ยังไม่แก้ไขประเด็นข้อปัญหาในระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้ข้อโต้แย้งกันในกลุ่มเกษตรกรและนักวิชาการด้านดินและปุ๋ย ในประเด็นการพิจารณาว่า
ปุ๋ยเคมีเป็นสิ่งต้องห้ามในการทำเกษตรอินทรีย์ บางครั้งเกษตรกรบางท่านใช้คำสื่อง่ายๆว่า "ปุ๋ยเคมีเป็นสารพิษ" ไปเลย อันเนื่องมาจากอย่างน้อย ๒ ประการด้วยกัน คือ
1. เมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว มักทำให้เกิดการเข้าใจผืดว่า "ดินดี" แล้ว
จึงมักไม่มีการดูแล บำรุงรักษาดิน
ทำให้ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว
และต้องใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับผลผลิต
แบบเดียวกับการใช้สารเสพติดของคน
และยิ่งแตกต่างมากจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จำเป็นต้องใช้น้อยลงๆ เรื่อยๆ
2. ปุ๋ยเคมีมักมีราคาแพง
มักสั่งจากต่างประเทศ
ทำให้ต้องลงทุนสูง
พึ่งพาตัวเองได้น้อยลง
มีโอกาสขาดทุนได้ง่ายขึ้น
ทำให้ทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเองนั้นทำไม่ได้
ที่เป็นประเด็นการกำหนดว่าปุ๋ยเคมีเป็นของต้องห้าม นอกเหนือไปจากผลการตกค้างโดยตรง คือ มีแนวโน้มทำให้มี ปริมาณธาตุอาหารที่ผิดสัดส่วนจากธรรมชาติ จากความเป็นกรด และความเป็นเกลือของปุ๋ยเคมี
นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยเคมี ยังต้องการน้ำเป้นตัวทำละลายในจุดที่โรยปุ๋ยค่อนข้างมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ จึงต้องมีน้ำมากพอจึงจะได้ผล ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ความชึ้นต่ำกว่า มีในระดับใดก็ได้และการให้ปุ๋ยเคมีที่ระดับตื้น ทำให้รากพืชส่วนใหญ่เจริญอยู่ที่ผิวดิน มีอัตราเสี่ยงต่อปัญหาการขาดความชื้น หรือฝนทิ้งช่วงได้โดยง่าย ที่เป็นข้อสังเกตของผู้นำเกษตรกร ที่นำไปสู่การกำหนดข้อห้ามการใช้ปุ๋ยเคมีดังกล่าว
ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบด้านปุ๋ยเคมี นักวิชาการมักแนะนำให้ใช้ปุ๋ย อินทรีย์เคมี ที่ผสมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ที่ทางกลุ่มเกษตรกรพิจารณาว่า ยังไม่แก้ไขประเด็นข้อปัญหา ทั้งสองข้างต้นจึงยังคงถือว่าปุ๋ยผสมอินทรีย์เคมีเป็นสารต้องห้ามสำหรับเกษตรอินทรีย์เช่นกัน แต่มิได้ห้ามสำหรับการทำการเกษตรเคมีที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ที่นักวิชาการบางท่านพยายามจะให้เรียกเป็นเกษตรอินทรีย์ที่มีข้อจำกัดตรงที่คำจำกัดความ ที่เกษตกรใช้ในความหมายว่า
เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่ไม่ทำลายตนเอง ไม่ทำลายทรัพยากร และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มิได้มีข้อโต้แย้งในเชิงแร่ธาตุในส่วนประกอบแต่อย่างใด
จึงนับได้ว่าเป้นปัญหาของการใช้คำและการถกกันแบบ "คนละเรื่องเดียวกัน" หวังว่าเราคงจะเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อการพัฒนาที่ดีกว่าเดิม
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/439337 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 9:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
26. ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช
การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีในการจัดการธรตุอาหารพืชที่เหมาะสม ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมีประสิทธิภาพ มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพได้ด้วย ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีก็มีข้อดีที่ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืช
ใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา
แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากเกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืชและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดิน ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด ทำให้มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ ตัวอย่างในการปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ดังนั้น
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มีความเหมาะสม ในการปลูกพืช ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อไปนี้
การปลูกข้าว
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%
การปลูกข้าวโพดหวาน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว
การปลูกยางพารา
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา
การปลูกอ้อย
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อย ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดกำแพงเพชร ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%
การปลูกมันสำปะหลัง
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมักมากถึง 2 ตันต่อไร่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุนค่าปุ๋ยหมักที่ใส่ ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี
การปลูกกระเจี๊ยบเขียว
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกรจึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยให้กับพืช
แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่าการใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง ในดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิตและรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง
ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้ เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าขนส่ง และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเอง จนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสมกับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ
ขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขป ประกอบด้วย
1. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
2. การหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่เหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิดในพื้นที่
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้ได้ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ปุ๋ย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
4. การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
5. การทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีในการผลิตพืชในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-8 สังกัดกรมวิชาเกษตร เน้นการทดสอบเพื่อจะหาวิธีการใช้ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้สูงสุดให้เกษตรกร
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรนำไปใช้
ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง
กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-2525, 0-2940-6864
โทรสาร : 0-2579-4406
http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_6-july/rai.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 5:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
25. ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน
"ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่คลุมดินนี้ นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุเหล่านี้เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่อยู่ใน ดิน ดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุคลุมหน้าดินจึงทำให้ ดินมีชีวิต ขึ้น ซึ่งเมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพัง (โดยการทำงานของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน) ก็จะทำให้เกิดฮิวมัสซึ่งทำให้ดินร่วนซุย และสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ดินจึงมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาและมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชพรรณในบริเวณ ดังกล่าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
ดังนั้น หลักการของการทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องหาอินทรีย์วัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือแม้แต่พืชขนาดเล็ก (เช่น พืชที่ใช้ปลูกคลุมดิน) ซึ่งอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน (เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) เป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตสูง
http://www.greennet.or.th/node/98 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 4:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
23. ใช้ปุ๋ยอย่างไร ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก โดยเฉพาะปุ๋ยที่กำลังอยู่ในช่วงกำลังย่อยสลาย ในพื้นที่จะต้องมีซากพืชซากสัตว์ปนอยู่ในดินบ้าง แล้วเสริมด้วยปุ๋ยเคมี
โดยปกติ เราจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมาก ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ (๒ ตันต่อไร่ ถ้าจำไม่ผิด) และมีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บและการขนส่ง พอจะจำนวนมากใช้ขึ้นมาจริงๆ กลับไม่เพียงพอต่อการใช้ จึงแนะนำว่า ให้ฝังกลบซากพืช (biomass) ไว้ในดิน เอาปุ๋ยที่กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังย่อยสลายประมาณ ๖๐-๗๐% หรือใช้พวกปุ๋ยคอกมาใส่ เพื่ออาศัยแบคทีเรียที่มากับปุ่ยช่วยย่อยสลายซกพืชให้เป็นปุ๋ยเร็วขึ้น เป็นการลดต้นทุน และใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียเพิ่มสารอาหาร ลำพังจะรอปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียว ต้องใช้เวลา (ภาษาชาวบ้านบอกว่าไม่ทันกิน) ไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของพืชในช่วงแรกๆ ได้
นอกจากนั้น การให้ปุ๋ยต้องสัมพันธ์กับความต้องการสารอาหารของพืช และสภาพของดินด้วย
ให้นึกถึงที่ดินเพาะปลูกเมื่อยังไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า สามารถเพาะปลูกได้ตอลดปีตลอดชาติ ดินไม่่เสีย แต่ผลผลิตต่ำ พอเริ่มมีการใช้ปุ่ยเคมีปรากฏว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะจริงๆ ดินก็ดีอยู่แล้ว มีสารอาหารมาก มีปุ๋ยเคมีเสริม ผลผลิตก็มาก แต่พอนานๆ ไป ผลผลิตลดลง ปุ๋ยใช้มากขึ้น และดินเสีย
เพราะฉะนั้น จึงต้องใช้ควบคู่กันไประหว่างปุ๋ยชีวภาพ กับ ปุ๋ยเคมี ตามความเหมาะสม ดินถึงจะดีอยู่คู่กับเกษตรกรไทยไปอีกนาน ผลผลิตมหาศาล เลี้ยงคนได้ทั้งโลก
24. วิธีการเพิ่มผลผลิต มีอะไรบ้า้ง ?
ถ้าเป็นพืช ต้องลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต จึงจะได้กำไรเยอะ
เช่น ลงทุนน้อยลง แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง ข้าว ใช้พื้นที่เท่าเดิม
ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวแตกกอดีขึ้น
ใช้ปุ๋ยน้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวกินปุ๋ยดี หาอาหารเองดี
ใช้ยาป้องกันและฆ่าแมลงน้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวไม่เป็นโรค แมลงไม่กิน
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=21e9d30bb533711c&clk=wttpcts |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 4:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
22. การปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ
Other Titles: Soil improvement with organic matter
Authors: เยาวลักษณ์ อัมพรรัตน์
พรชัย สุธาทร
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract :
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการและเกษตรกรว่า การใช้อินทรีย์วัตถุไม่ว่าในรูปของเศษวัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมัก หรือในรูปของสารสกัด กรดฮิวมิก มีผลในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตของข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม เรายังขาดข้อมูลการเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพของการใช้อินทรีย์วัตถุดังกล่าว และผลการใช้อินทรีย์วัตถุทั้งสองชนิดร่วมกัน
ดังนั้น จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อหาคำตอบดังกล่าวข้างต้น โดยคัดเลือกแปลงนาของเกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน จำนวน 10 แปลง แต่ละแปลงมีพื่นที่ 4 ไร่ เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมัก, ฮิวมิก้า (กรดฮิวมิก) ร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมี โดยใช้แปลงที่ใช้ปุ่ยเคมีอย่างเดียงเป็นแปลงเปรียบเทียบ
ซึ่งผลปรากฏว่า ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งปลูกในดินชุดร้อยเอ็ด ใน
- แปลงที่ใช้ฮิวมิก้า 1 ล./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ่ยหมัก 1 ตัน/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 46.52 ถัง/ไร่
- แปลงที่ใช้ปุ่ยเคมีและปุ๋ยหมัก 2 ตัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 43.46 ถัง/ไร่
- แปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีและฮิวมิก้า 2 ล./ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 42.97 ถัง/ไร่
- แปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 32.39 ถัง/ไร่
จะเห็นได้ว่า แปลงที่ใช้ ฮิวมิก้า (กรดฮิวมิก) ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมัก 1 ตัน ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด โดยสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบ ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวถึง 14.13 ถัง/ไร่ คิดเป็นผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 43.62% โดยเฉพาะอย่างยิ่งแปลงที่ 7 ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 23.1 ถัง/ไร่ หรือเพิ่มขึ้นถึง 71.96%
สรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับกรดฮิวมิก ให้ผลดีที่สุด คือ ดีกว่าใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียวหรือกรดฮิวมิกล้วนๆ
นอกจากนี้กรดฮิวมิกยังสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถหาปุ๋ยหมักหรือเศษวัสดุในท้องถิ่นได้เพียงพอ
URI: http://hdl.handle.net/123456789/6316
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6316 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 4:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
21. จุลินทรีย์น้ำนมดิบ ปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
จุลินทรีย์น้ำนมดิบคุณภาพต่ำใช้สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
แหล่งที่มา : สมาคมครูภูมิปัญญาไทย
จุลินทรีย์สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์น้ำนมดินคุณภาพต่ำสูตร 1 ของ นายบุญลือ เต้าแก้ว เกษตรกรจังหวัดสระบุรี ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 5 ภาคกลาง ด้านเกษตรกรรม ได้แนะนำสูตรในการทำและวิธีการใช้ ดังนี้
ส่วนผสม :
น้ำนมดิบคุณภาพต่ำ ............ 100 ..... ล.
กากน้ำตาล ...................... 10 ....... กก.
จุลินทรีย์ ......................... 1 ........ ล.
นำมาใส่ถังรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือนก็นำมาใช้ได้
ประโยชน์ :
ใช้สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
วิธีการใช้ :
- ใช้ลาดลงดินหรือฉีดพ่นในนาข้าว
- ใช้ลาดลงดินรอบทรงพุ่มของไม้ผล
- ใช้ลาดลงดินรอบโคนต้น หรือฉีดพ่น พืชผัก
อัตราการใช้ :
- ใช้กับนาข้าวโดยการฉีดพ่นจุลินทรีย์ 300 ซีซี. : น้ำ 20-25 ล. (1 ล. : 1 ไร่) โดยการราดลงบนดิน จุลินทรีย์ 5 ล. : พื้นที่ 1 ไร่
- ใช้กับไม้ผลโดยการฉีดพ่นจุลินทรีย์ 50 ซีซี. : น้ำ 20-25 ล. โดยการราดลงบนดิน จุลินทรีย์ 50 ซีซี. : น้ำ 20-25 ล.
- ใช้กับพืชผักโดยการฉีดพ่นจุลินทรีย์ 30 ซีซี. : น้ำ 20-25 ล. โดยการราดลงบนดิน จุลินทรีย์ 30 ซีซี. : น้ำ 20-25 ล.
http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=24111&action=edit&joomla=1 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 4:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
20. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรอินทรีย์
มนุษย์รู้จักการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรมานับพันปีแล้ว โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการแปรรูปผลผลิต การผลิตอาหาร การปรับปรุงบำรุงดิน และการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืช ในช่วง 3 ทศวรรษมานี้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรมากขึ้น ซึ่งอาจจะแยกประเภทของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเกษตรออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ประเภทที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น เห็ดชนิดต่างๆ
2. ประเภทที่ใช้ในการแปรรูปผลผลิต เช่น ยีสต์ เชื้อรา ฯลฯ
3. ประเภทที่ใช้ในการปรับปรุงดิน เช่น ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ฯลฯ
4. ประเภทที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เชื้อ bacillus thuringieneses, เชื้อไวรัส NPV Nuclelar Polyhedrosis Virus, เชื้อรา Entomophthoragrylli เป็นต้น
5. ประเภทที่ใช้ในการสร้างพลังงาน เช่น จุลินทรีย์ที่ใช้ทำก๊าซชีวภาพ
จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมีนั้น จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยทดแทนการใช้สารเคมีได้มาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสามารถจะใช้ทดแทนสารเคมีการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว ที่กล่าวมานี้มิใช่จะเกินความเป็นจริง เพราะได้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติมาแล้วดังนี้คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องจุลินทรีย์จากสามาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี
อาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา สตรีที่อดีตเคยเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาของเธอให้กับการเกษตรธรรมชาติให้ชักนำ Mr. Han Kyu Cho เกษตรกรชาวเกาหลีซึ่งเป็นประธานของสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี (The Korean Natural Farming Association KNFA) ให้ได้มีโอกาสมาเสนอความรู้ในเรื่องการใช้จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organism-IMO) แก่เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนโดยได้จัดการบรรยายขึ้นที่กรมวิชาการเกษตรและสถานที่ต่างๆ ในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม 2540 จากความรู้ที่ได้รับจาก Mr. Cho ในครั้งนั้น กลุ่มของนักวิชาการและเกษตรกรไทยได้นำไปทดลองปฏิบัติทั้งผลิตและใช้ รวมทั้งบางรายสามารถจะผลิตเพื่อจำหน่ายได้ด้วย และด้วยความมหัศจรรย์ของ IMO ในการปรับปรุงบำรุงดิน
การทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อการทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งการช่วยขจัดสิ่งปฏิกูลทั้งในน้ำและในกองขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกษตรกรและประชาชนจำนวนมากได้นำไปใช้จากการเผยแพร่ของกลุ่มนักวิชาการ และนักปฏิบัติที่ได้ตั้งเป็นชมรมเกษตรธรรมชาติ จนขณะนี้มีผู้นำไปใช้อย่างได้ผลอย่างกว้างขวางในเวลาเพียงสามปีเศษเท่านั้น Koyama, A (1996) ได้รายงานไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า Mr. Cho ได้แยกผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ พื้นฐานออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organisms)
สามารถจะเก็บได้จากธรรมชาติโดยใช้ข้าวหุงสุกแล้วใส่จานหรือถาดเกลี่ยให้หนาประมาณ 3 เซนติเมตร ปิดด้วยกระดาษ แล้วนำไปใส่ในกรง เพื่อกันหนูหรือสัตว์อื่นมากิน แล้วนำไปตั้งทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ในป่าละเมาะ หรือภายในกองใบไม้แห้งที่มีผ้าพลาสติกคลุม เพื่อกันฝนและน้ำค้างที่มากเกินไป ทิ้งไว้ 5-6 วัน จะมีราสีขาวขึ้นคลุมหน้า จากนั้นให้เทข้าวใส่ในโถกระเบื้องดินเผา ผสมกับน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล สัดส่วน 1/3 ของน้ำหนักข้าว ส่วนผสมนั้นจะกลายเป็นของเหลวข้นมีจุลินทรีย์เจริญอยู่มากมาย แล้วนำของเหลวนี้ไปผสมกับรำข้าวในสัดส่วนร้อยละ 0.2 ใช้กระสอบป่านคลุมจะเกิดความร้อน ต้องคอยควบคุมไม่ให้ความชื้นเกิดกว่าร้อยละ 65 แต่ถ้าแห้งเกินไปก็ให้พรมน้ำ ทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงเอาไปคลุกผสมกับปุ๋ยคอก มูลสัตว์ในปริมาณ 30-50 เท่า แล้วคลุมไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็จะได้ปุ๋ยหมักสมบูรณ์ นำไปใส่ปรับปรุงดินประมาณ 1 กิโลกรัม/1 ตารางเมตร สำหรับการปลูกผักอินทรีย์
2. น้ำหมักพืช (Fermented Plant Juice-FPJ)
ขณะที่คนไทยเรียกว่าน้ำสกัดชีวภาพ (Bio-Extract-B.E.) ผลิตภัณฑ์นี้ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีสรรพคุณที่หลากหลายเช่นเดียวกับสาร อี.เอ็ม.
วิธีการก็คือ นำเศษพืช ถ้าหากเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ปลูกอยู่ก็จะดี และไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนของพืชที่จะใช้เป็นอาหาร แต่อาจจะเป็นเศษเหลือที่จะทิ้งแล้วก็ได้ ในปริมาณ 3 ส่วนต่อน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน สำหรับเศษพืชนั้นควรจะสับให้มีขนาดเล็ก 2-3 นิ้ว แล้วใส่ในภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากันภาชนะไม่จำกัดชนิดและขนาดในสวนผักบางแห่งใช้วงซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 เมตร สำหรับทำบ่อส้วม จำนวน 3 วง มาเชื่อมต่อกันเป็นภาชนะ โดยมีทอเปิดด้านล่าง เมื่อหมักได้ที่ ซึ่งจะใช้เวลา 5-7 วันก็จะได้น้ำหมักพืชหรือน้ำสกัดชีวภาพตามต้องการ น้ำหมักพืชนี้จะต้องนำไปเจือจางในน้ำธรรมดาในอัตรา 1:1,000 1 ช้อนแกง (10 ซีซี.) ต่อน้ำ 10 ลิตร (1,000 ซีซี.) ใช้รดพืชผัก
และใช้รดลงในดินที่ปลูกพืช
3. ซีรั่ม ของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum, LAS)
เตรียมได้จากการดึงเอาจุลินทรีย์ในอากาศมาอยู่ในน้ำซาวข้าว แล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงในน้ำนมอีกให้เกิดเป็น ซีรั่มของกรดแล็คติค ใช้น้ำหมักนี้ในการพ่นลงบนใบพืชให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันโรคพืช
4. กรดอะมิโนจากปลา (Fish Amino acid, FAA)
ทำได้จากการนำเอาเศษปลามาผสมกับน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน 1/1 หมักทิ้งไว้ 30 วันหรือนานกว่าก็ได้ (หรืออาจจะใช้กากน้ำตาล) น้ำจากการหมักนี้จะเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนให้กับพืชอย่างดีเยี่ยม
5. สุราหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar)
สุราเกิดจากการหมักของข้าวกล้อง หรือถ้าไม่มีก็น่าจะใช้สุราขาวที่มีขายโดยทั่วไป นำมาผสมน้ำให้เจือจาง ฉีดพ่นบนใบพืชจะทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคพืชได้
* เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์สร้างขึ้นในขบวนการหมัก (fermentation) มีหน้าที่ช่วยในการทำงานของทุกระบบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์ เอนไซม์บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์ จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อจุลินทรีย์เองและต้นไม้
* ฮอร์โมน เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในคนและสัตว์ ฮอร์โมนในพืชชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ จี.เอ. หรือจิบเบอร์เรลลิค (Giberellic) อ๊อคซิน (Auxin) จุลินทรีย์ก็สามารถผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว์
ความเข้าใจต่อบทบาทจุลินทรีย์
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรีย์หลายชนิดรวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน จุลินทรีย์มีความหลากหลายของชนิดที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด เย็นจัด หรือแห้งแล้งจัด แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดด้วยเทคนิคจุลินทรีย์
การปลูกพืชอินทรีย์ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองเกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ได้จากซากสัตว์ และพืช รวมทั้งซากของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นธาตุอาหารสำหรับจุลินทรีย์เองและพืชก็จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้าไปทางรากในรูปแบบของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน กลูโคส ไวตามิน ฮอร์โมน และแร่ธาตุ เป็นต้น
ประสบการณ์ของคนไทยในการพัฒนาจุลินทรีย์หมักดอง
นับตั้งแต่ Mr. Han Kyo Cho ประธานสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี ได้มาเปิดเผยเคล็ดลับของการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO = Indigenous Micro-organism ในการทำน้ำหมักพืช เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา คนได้ที่ได้รับความรู้ดังกล่าวได้นำไปทดสอบ ทดลอง ปรับปรุง พัฒนากันอย่างกว้างขวางบางคนก็เห็นว่าความรู้นี้เป็นประโยชน์มากมายทั้งในด้านการเกษตร การรักษาโรค การบำบัดน้ำเสีย และสิ่งโสโครก ฯลฯ และได้มาฟรี จึงพยายามถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้มีความรู้นี้สืบทอดต่อกัน จนแพร่หลายไปทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้
http://it.doa.go.th/organic/organic/intellect_district/chulinse.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 3:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
19. อินทรีย์วัตถุในดิน คืออะไร ? และ สำคัญอย่างไร ?
คำว่าอินทรีย์วัตถุโดยทั่วไปหมายถึง องค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์สารในดินรวมทั้งเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปื่อย ผลผลิตบางส่วนที่ผ่านการเน่าเปื่อยแล้ว และชีวะมวลของดิน อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย
1. สิ่งที่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานใด้ ใด้แก่ วัตถุอินทรีย์ที่มีโมเลกุลสูง เช่น โปลีแซคคาไรด์ ใด้แก่ แป้งและโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์หรือเนื้อพืช ที่เป็นโปรตีนหลายชนิด
2. สารที่มีสูตรโครงสร้างอย่างง่ายๆ ได้แก่ น้ำตาล กรดแอมมิโน และสารที่มีโมเลกุลเล็กอื่นๆ
3. สารฮิวมิคหลายชนิด นั่นคืออินทรีย์วัตถุในดินประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่สังเคราะห์โดยจุลินทรีย์แม้ไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม(เพราะบางส่วนอาจเกิดเป็นสารอนินทรีย์รวมอยู่ด้วย) อินทรีย์วัตถุในดินจึงมักถูกกล่าวถึงบ่อยๆว่า ประกอบด้วยสารฮิวมิค และพวกที่ไม่ใช่สารฮิวมิค
พวกอินทรีย์วัตถุที่ไม่ใช่สารฮิวมิคได้แก่บรรดาวัตถุที่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบที่แยกประเภทได้ เช่นน้ำตาลกรดแอมมิโน ไขมัน และอื่นๆ
อินทรีย์วัตถุที่เป็นสารฮิวมิค คือ องค์ประกอบที่ไม่สามารถบอกรูปพรรณสันฐานได้ชัดเจนแม้ว่าการแยกจะเห็นได้ง่ายๆ แต่ก็ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนเช่นที่อาจจะเป็น
อินทรีย์วัตถุอาจแสดงให้เห็นตามแผนภาพข้างต้น
สารประกอบอินทรีย์ในดิน (Organic compounds of soil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตและซากสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เน่าเปื่อย, ที่เน่าเปื่อยไปบางส่วน, และที่เน่าเปื่อยสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งผลผลิตที่ได้จากการแปรสภาพแล้ว ประกอบด้วย
1. จุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพในดิน (Living organisms) ทั้งจุลินทรีย์ขนาดใหญ่และเล็ก (Macro-and microfaunal organisms)
2. อินทรีย์วัตถุในดิน (Soil organic matter) องค์ประกอบที่ปลอดสิ่งมีชีวิต เป็นสารผสมแยกเนื้อประกอบด้วยผลิตผลส่วนใหญ่ ที่เกิดจากการแปรรูปของซากสารอินทรีย์ ทั้งโดยการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์และปฏิกริยาทางเคมี อินทรีย์วัตถุในดินสามารถดำรงค์อยู่ในรูปแบบที่มีรูปลักษณะภายนอกแตกต่างกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการแยกประเภทได้ เรียกว่ารูปแบบและชนิดต่างๆของฮิวมัส ซึ่งจะแยกกล่าวในตอนต่อไป อินทรีย์วัตถุจึงประกอบด้วย
2.1 อินทรีย์วัตถุที่ยังไม่แปรสภาพ (unaltered materials) สิ่งที่สดและมีองค์ประกอบที่ไม่แปรสภาพของซากวัตถุเก่า
2.2 ผลผลิตที่แปรสภาพแล้วเกิดเป็นฮิวมัส (humus) คือ สารที่รูปลักษณะภายนอกไม่มีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างเดิมซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิด องค์ประกอบที่แปรสภาพแล้วเหล่านี้เรียกว่า ผลผลิตจากกระบวนการเกิดฮิวมัส (Humification Processproduct) ประกอบด้วย
2.2.1 สารที่ไม่ใช่สารฮิวมิค (non humicsubstances) อยู่ในกลุ่มชีวะเคมี ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กรดอะมิโน
2.2.2 สารฮิวมิค (humic substances) เป็นลำดับของสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สีน้ำตาลถึงดำ เกิดจากปติกริยาการสังเคราะห์ทุติยภูมิ คำนี้ใช้เป็นชื่อเรียกทั่วๆไปเมื่อกล่าวถึงวัตถุมี่มีสีหรือส่วนย่ยของมันที่ได้รับตามคุณลักษณะการละลายที่ต่างกันได้แก่ กรดฮิวมิค (humic acid) กรดฟุลวิค (fulvic acid) ฮิวมิน(humin)
เกษตรกรตั้งแต่ยุคโบราณได้ยอมรับความสำตัญของประโยชน์ที่ได้จากอินทรีย์วัตถุในดินที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร ประโยชน์เหล่านี้ เป็นเรื่องที่ต้องโต้เถียงกันมาช้านานหลายศตวรรษ และเป็นเรื่องที่ยังคงโต้เถียงกันอยู่ในปัจจุบัน ประโยชน์หลายประการของอินทรีย์วัตถุได้มีการบันทึกไว้เป็นอย่างดีโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แต่ผลที่ได้บางอย่างจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบอื่นของดินด้วย ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่า ประโยชน์นั้นเกิดจากอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียว โดยความเป็นจริงแล้ว ดินคือระบบขององค์ประกอบร่วมหลายชนิดที่ซับซ้อนของสสารหลายชนิดที่ทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน และคุณสมบัติของดินจึงเกิดจากผลที่ได้แท้ๆจากการทำปฏิกริยาซึ่งกันและกันเหล่านั้น
ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสารกันในเรื่องสารฮิวมิค เป็นเรื่องขาดการให้คำจำกัดความที่แม่นยำ สำหรับการกำหนดองค์ประกอบย่อยต่างๆอย่างชัดเจน น่าเสียดายที่คำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างตรงความหมาย คำว่า " ฮิวมัส" ถูกใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านดินบางท่านให้ความหมายเช่นเดียวกับอินทรีย์วัตถุในดิน Soil Organic Matter ซึ่งหมายถึง วัตถุที่เป็นสารอินทรีย์(Organic Material) ทั้งหมดในดิน รวมทั้งสารฮิวมิคด้วย ในทำนองเดียวกัน คำว่า "ฮิวมัส" ก็ถูกใช้เรียกสารฮิวมิคเพียงอย่างเดียวบ่อยๆ
หน้าที่ของอินทรีย์วัตถุในดิน (Function of Organic Matter in Soil)
อินทรีย์วัตถุมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิคซ์, เคมี, และชีวะวิทยาของอินทรีย์วัตถุของดินนั้น มี 3 หน้าที่ดังนี้
1. หน้าที่ทางด้านอาหารพืช เป็นแหล่งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส สำหรับการเจริญเติบโตของพืช
2. หน้าที่ทางด้านชีวะวิทยา มีผลอย่างมากต่อการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพกับพืชและสัตว์
3. หน้าที่ทางด้านฟิสิคซ์ และเคมี-ฟิสิคซ์. คือ การช่วยเสริมโครงสร้างดินให้ดีขึ้น จึงเป็นการปรับปรุงการไถพรวนให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เพิ่มอากาศ และกักเก็บความชื้น และเพิ่มประจุความสามารถของดินในการแลกเปลี่ยนเกลือ แร่ธาตุ และการปรับสมดุลกรด-ด่าง
นอกจากนั้นฮิวมัสยังมีบทบาททางอ้อมในดินต่อการรับธาตุอาหารพร้อมใช้ของพืช หรือการออกฤทธิ์เห็นผลของสารเคมีเพื่อการเกษตรอื่นๆและการกำจัดวัชพืช และขอเน้นว่า ความสำคัญขององค์ประกอบใดๆ จะแตกต่างออกไปตามดินที่ต่างพื้นที่ ขึ้นกับสภาวะแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศ และประวัติการเพาะปลูก
อาหารพร้อมใช้สำหรับการเจริญเติบโตของพืช(Availability of nutrients for plant growth)
อินทรีย์วัตถุ (Organic Matter) มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากเป็นแหล่งบริการอาหารพืช เช่น ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และ ซัลเฟอร์. โดยผ่านการแปรสภาพเป็นแร่ธาตุโดยจุลินทรีย์ในดินแล้ว อินทรีย์วัตถุยังมีอิทธิพลต่อการให้อาหารพืชจากแหล่งอื่นๆด้วยเช่น อินทรีย์วัตถุเป็นที่ต้องการเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจน เป็นต้น
องค์ประกอบหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินคุณค่าของฮิวมัสในการเป็นแหล่งอาหารพืชพร้อมใช้ คือ ประวัติการเพาะปลูก เมื่อดินเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อการเพาะปลูก ปริมาณฮิวมัสในดินนั้นจะลดลงเป็นลำดับ หลังจาก 10-30 ปีไปแล้ว จนกระทั่งระดับสมดุลใหม่เกิดขึ้น ที่ระดับสมดุลอาหารพืชทุกชนิดจะถูกปลดปล่อยออกมาโดยการทำงานของจุลินทรีย์ จึงต้องได้รับการทดแทนด้วยการเพิ่มฮิวมัสกลับเข้าไปเท่ากับปริมาณที่หมดไปให้กลายเป็นฮิวมัสสดใหม่ต่อไป
ผลที่มีต่อสภาวะทางกายภาพของดิน การสึกกร่อนของดิน และ ประจุความสามรถในการแรกเปลี่ยนอนุมูลที่มีประจุไฟฟ้า และตัวกันชนหรือตัวปรับกรดด่างให้คงที่(Effect on soil physical condition, soil erosion and soil buffering and exchange capacity )
ฮิวมัส (Humus) มีผลต่อโครงสร้างของดินหลายชนิด การเสื่อมของโครงสร้างดินจะเกิดร่วมกับการไถพรวนที่รุนแรง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเสียหายน้อยกว่าในดินที่ได้รับฮิวมัสเพียงพอ และเมื่อต้องสูญเสียฮิวมัสไป ดินจะเริ่มแข็งตัวอัดกันแน่น และเป็นก้อน
อากาศ, ประจุความสามารถในการอุ้มน้ำ, และการซึมผ่านได้ทั้งหมดนี้ จะเกิดผลเป็นอย่างดีด้วยฮิวมัส
การเติมซากอินทรีย์สารที่ย่อยสลายได้บ่อยๆ จะนำไปสู่การสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อน ซึ่งจะรวมตัวกับอนุภาคของดินเกิดหน่วยโครงสร้างที่เรียกว่าเกาะกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย การเกิดกลุ่มก้อนเล็กๆมากมาย (aggregates) เหล่านี้ช่วยรักษาสภาพความร่วน โปร่ง เป็นเม็ดละเอียด (granular) ของดินได้ น้ำเป็นสิ่งที่มีความสามารถดีกว่าในการแพร่และซึมผ่านลงสู่ดิน รากพืชต้องการอ๊อกซิเจนอย่างต่อเนื่องเพื่อการหายใจและเจริญเติบโต รูพรุนขนาดใหญ่จะยอมให้มีการแลกเปลี่ยน ก๊าซ ระหว่างดินและอากาศรอบๆได้ดีกว่า
ฮิวมัส (Humus) โดยปกติจะช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการต้านทานการผุกร่อน ประการแรก มันสามารถทำให้ดินซับน้ำได้มากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ผลที่ช่วยให้เนื้อดินเป็นเม็ดละเอียด จึงเป็นการรักษารูพรุนขนาดใหญ่ให้น้ำไหลเข้ามาและซึมผ่านต่อไปได้
ประจุความสามารถในการแลกเปลี่ยนอนุมูลที่มีประจุเไฟฟ้า (ระหว่างเกิดธาตุอาหารพร้อมใช้ขึ้น) ตั้งแต่ 20-70% เกิดจากสารฮิวมิคที่ก่อตัวเป็น คอลลอยด์ (Colliod) ของเหลวที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเมื่อได้รับน้ำ ความเป็นกรดโดยรวมของส่วนย่อยที่แยกออกมาจากฮิวมัสมีช่วงระหว่าง 300 ถึง 1,400 mEq/100g. เกี่ยวกับการทำงานของตัวปรับฤทธิ์กรด-ด่างที่อาจมีส่วนในเรื่องนี้ จัดได้ว่าฮิวมัสมีความสามารถในการปรับสภาวะกรด-ด่างได้ในช่วง pH ที่กว้างมาก
ผลที่มีต่อสภาพชีวะวิทยาของดิน (Effect on soil biological condition)
อินทรียวัตถุ (Organic matter : OM) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก จำนวนของแบคทีเรีย (bacteria), แอคติโนมัยซิต(actinomycetes) และ รา (fungi) ต่างก็สัมพันธ์กับองค์ประกอบของฮิวมัส(humus), ไส้เดือนดิน (earthworms) สิ่งมีชีวิตที่ดำรงค์ชีพในดิน (faunal organism) จะได้รับผลกระทบอย่างมากด้วยปริมาณของวัสดุที่เป็นเศษซากพืชเมื่อย้อนกลับมาสู่ดิน
สารอินทรีย์ในดินสามารถมีผลทางกายภาพโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช สารประกอบบางชนิด เช่น กรดฟีโนลิค (Phenolic acids) มีคุณสมบัติที่เป็นพิษต่อพืช แต่สารประกอบชนิดอื่น เช่น อ๊อกซิน (Auxins) ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเป็นต้น
เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าองค์ประกอบหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจุลินทรีย์ก่อโรคในดิน (pathogenic organisms in soil) ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากอินทรีย์วัตถุ ตัวอย่างเช่นการให้อินทรีย์วัตถุ (Organic matter) มากเกินพออาจเป็นผลก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดำรงค์ชีพบนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว (Saprophytic organisms) ซึ่งเป็นเครือญาติกับพวกจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิต (parasitic organisms) ด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าทำให้มันแย่งอาหารและเข้าแทรกการดำรงค์ชีพของจุลินทรีย์ประเภทกาฝากหรือปรสิตให้ลดจำนวนลงได้ ทางด้านชีวะวิทยาสารประกอบออกฤทธิ์ในดินเช่นสารปฏิชีวนะ(Antibiotics) และกรดฟีโนลิค (Phenolic acids) บางชนิดอาจช่วยให้พืชบางประเภทมีความสามารถในการต้านทานจุลินทรีย์ก่อโรคได้เช่นกัน
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
ผู้ลงบทความ : johnsgradnson
http://www.weloveshopping.com/template/a20/show_article.php?shopid=26601&qid=32337 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 12:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
18. ตรวจดินก่อนใส่ปุ๋ย ลดต้นทุน
ข้าราชการเกษตรต้องขึ้นกับ อ.บ.จ., อ.บ.ต., เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย ร่วมตัวกันเถอะ
การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100%ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับดินและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตพืช ดังนั้น จึงได้พัฒนาเทคโนโลยี ปุ๋ยสั่งตัด ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าว, ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน
นี่เป็นคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปุ๋ยสั่งตัด หรือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแต่ละชุดดินที่มีมากกว่า 200 ชุดดิน ทั้งยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของพืช โดยนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดินมาพิจารณาร่วมกัน โดยใช้แบบจำลองการปลูกพืชและโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจมาคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ คาดคะเนคำแนะนำปุ๋ย เอ็น-พี-เค ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีความแม่นยำและสอดคล้องกับความต้องการของพืช และยังสามารถคาดคะเนผลผลิตและผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อใช้เทคโนโลยี ปุ๋ยสั่งตัด
การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด มี 3 ขั้นตอน
ขั้นแรก ...... เกษตรกรต้องตรวจสอบชุดดินในแปลงของตนเองก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือดูจากแผนที่ชุดดิน หรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.soil.doae.go.th
ขั้นที่สอง ..... ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ หรือเกษตรกรอาจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit)
ขั้นสุดท้าย ..... ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ โดยศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรม SimRice, SimCorn และ SimCane สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th
เกษตรกรส่วนใหญ่มองว่า การตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน มีวิธีการและขั้นตอนยุ่งยาก จึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ไม่รู้จักดินในแปลงของตนเอง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเบื้องต้นต้องแบ่งพื้นที่ก่อน หากพื้นที่ใหญ่มากหรือดินไม่สม่ำเสมอและดินมีลักษณะแตกต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน ใช้ปุ๋ยต่างกัน และดินมีสีต่างกัน ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย และแยกเก็บดิน 1 ตัวอย่างต่อ 1 แปลงย่อย
การเก็บดินในแต่ละตัวอย่าง ให้เดินในลักษณะซิกแซ็ก สุ่มเก็บดินให้ทั่วแปลง แปลงละ 15 จุด ซึ่งการเก็บดินแต่ละจุดให้ใช้จอบหรือพลั่วขุดดินเป็นรูปลิ่ม ลึกประมาณ 10 ซม. (นาข้าว) หรือลึก 15-20 ซม. (สำหรับข้าวโพด)
ใช้เสียมหรือพลั่วแซะด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. จนถึงก้นหลุม ใช้เฉพาะส่วนกลางของแผ่น ตัวอย่างดินที่ได้นับเป็นตัวแทนของดินหนึ่งจุด
นำตัวอย่างดินใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก และคลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก และคลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าดินเปียก ตากในที่ร่ม ห้ามตากแดด ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ กองดินเป็นรูปฝาชี แล้วขีดเส้นแบ่งกองดินเป็น 4 ส่วนเท่ากัน
จากนั้นเก็บตัวอย่างจากกองดินเพียง 1 ส่วน ให้ได้ดินน้ำหนักประมาณ 0.5 กก. ถ้าดินยังเปียกอยู่ ให้ผึ่งในที่ร่มต่อไป แล้วบดให้ละเอียดโดยใช้ขวดแก้วที่สะอาด เก็บใส่ถุงพลาสติก และเขียนหมายเลขกำกับไว้
ส่งตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน หรือทำการตรวจวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินด้วยตนเอง โดยใช้ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Soil Test Kit) ใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็ทราบผลได้
ชุดตรวจสอบดังกล่าว ราคาชุดละ 3,745 บาท สามารถตรวจสอบปริมาณธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค ในดินและความเป็นกรดด่างของดินได้ 50 ตัวอย่าง
จะทำให้เกษตรกรทราบว่า ดินในแปลงของตนเองมีธาตุอาหาร เอ็น-พี-เค อยู่ในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง และใช้คำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
สำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อยภาคอีสาน คำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัด มีอยู่ในลักษณะเป็นรูปเล่ม และในรูปของโปรแกรมซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th หรือ www.banrainarao.com ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้ถูกต้อง และลดต้นทุนการผลิต
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ทำการวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกพืช และเป็นแนวทางนำไปสู่การลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ใน โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร .
http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539343143&Ntype=88 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 21/10/2011 11:58 am ชื่อกระทู้: |
|
17. การผลิตผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงราย
การผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถเลือกเป็นกิจกรรมฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งพืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานกันมาก เพราะมีคุณค่าอาหารวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ประชาชนทางภาคเหนือ นิยมบริโภคผักสด ๆ กับอาหารพื้นเมือง เช่น ลาบ หลู้ แกงอ่อม เป็นต้น จังหวัดเชียงรายมีการผลิตผักปลอดภัย
จากสารพิษยังไม่เพียงพอ ไม่ต่อเนื่อง ไม่หลากหลายทั้งนี้ผู้ผลิตขาดความรู้ ความเข้าใจทักษะในการใช้เทคโนโลยี และภูมิปัญญาตามสภาพแวดล้อมในฤดูกาลแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมในชุมชน จึงมีขั้นตอนการจัดการ กระบวนการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ อยู่ 9 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมดินก่อนเพาะกล้า/หยอด/ปลูก
เริ่มกิจกรรมนี้ เกษตรกรต้องตรวจสอบก่อนว่า "ดินมีความเป็นกรดเป็นด่าง จำนวนเท่าไหร่" ต่อจากนั้นจัดหาวัสดุการเกษตร ใส่ปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์เหมาะสมการเพาะกล้า หรือหยอดเมล็ด หรือย้ายกล้าปลูกวัสดุการเกษตรที่ใช้ มีดังนี้
1.1 ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด อัตรา 1-3 ต้น/ไร่
1.2 ปูนขาวหรือสารโดโลไมท์ อัตรา 200 กก./ไร่
1.3 เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าที่ผสมกับ : รำอ่อน : ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในสัดส่วน 1 : 5 : 40 ใช้อัตรา 160 กก./ไร่ ซึ่งควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์คลุกเคล้าก่อน ต่อมาเป็นปูนขาวหรือสารโดโลไมท์ใช้น้ำรดทันที ส่วนการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา เหมาะกับพืชผักที่เป็นโรครากและโคนเน่า โรคเน่าคอดินระยะกล้าได้พืชผักตระกูลกะหล่ำ ตระกูลพริก-มะเขือ เป็นต้น
2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะกล้า/หยอด
ขั้นตอนต่อมาเกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ที่จะเพาะกล้าหรือหยอดเมล็ดห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50-55 องศา ซ. นาน 15-30 นาที หลังจากนั้น ให้นำเมล็ดที่แช่ผึ่งไว้ที่ร่มจนสะเด็ดน้ำ นำไปหว่านเพาะกล้าหรือหยอดแปลงที่เตรียมไว้สำหรับการปฏิบัติตามขั้นตอนนี้เพื่อควบคุมเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์งอกสม่ำเสมอ
3. การเพาะกล้า/การหยอด/การปลูก
การเจริญเติบโตในพืชผักมีระยะการพัฒนาจากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่งมีความแตกต่างกันตั้งแต่การเพาะกล้าจนถึงการเก็บผลผลิต สามารถจำแนกการขยายพันธุ์ได้ 4 ประเภท
3.1 ประเภทเพาะเมล็ดแล้วจึงย้ายปลูก เช่น มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
คะน้าฮ่องกง มะเขือม่วง ผักกาดเขียวปลี บล๊อคคอรี่
3.2 ประเภทหว่านเมล็ดแล้วลงแปลงได้เลย เช่น ผักชี ผักสลัด ผักคึ่นฉ่าย ผักบุ้ง
3.3 ประเภทหยอดเป็นหลุม เช่น มะระ ถั่วลันเตา บวบเหลี่ยม ถั่วฝักยาว
3.4 ประเภทใช้ส่วนหัว/ต้น/ราก/ลูก ปลูก เช่น ลูกมะเขือเครือ (ไชโยเต้) หอมแบ่ง กระเทียม ตะไคร้ ข่า ขิง ชะอม
4. การให้น้ำ คุณภาพของพืชผัก
ประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ การให้น้ำ ให้น้ำมากเกินก็แฉะ ให้น้อยเกินก็แห้งทำให้พืชผักชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ถ้าเตรียมดินไม่ดี การให้น้ำจะทำให้ผิวหน้าดินแข็งขณะให้น้ำ น้ำจะไหลลงขอบข้างแปลง เนื้อดินอุ้มน้ำไม่ดี การระบายน้ำและอากาศไม่ดีก็อาจทำให้พืชผักการเจริญเติบโตชะงัก แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องมั่นพรวนดิน และเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์หลังจากพรวนดิน เก็บวัชพืชเสร็จ จะช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรมีการให้น้ำหลายแบบ คือ
4.1 ปล่อยน้ำเข้าร่องแปลง วิธีการนี้เป็นการให้น้ำในการปลูกกระเทียม หอมแบ่ง เป็นต้น
4.2 เดินหาบบัวรด การให้น้ำแบบนี้เกษตรกรค่อนข้างจะแข็งแรง เป็นการออกกำลังไปด้วย จึงมีพลามัยสมบูรณ์ (หัวหน้ากลุ่มฯป่างิ้วให้น้ำแบบนี้) เป็นการให้น้ำแก่พืชผักที่เหมาะสม
4.3 ใช้สายยางฉีด การให้น้ำแบบนี้ ผิวหน้าจะแข็งแรงต้องมั่นพรวนดิน จะทำให้พืชผักเจริญเติบโตดีแต่จะไม่สะดวกในการนำสายยางเข้าในแปลง บางครั้งทำให้ต้นพืชผักล้ม
4.4 ให้แบบหัวสปริงเกอร์ การใช้วิธีการนี้ค่อนข้างจะมีปัญหาเรื่องวัชพืช ซึ่งวัชพืชจะเจริญหรืองอกแข่งกับพืชผักที่ปลูกในแปลง เกษตรกรต้องขยันถอนวัชพืช หรือกำจัด
5. การให้ปุ๋ย
พืชผักมีความต้องการปุ๋ยเพื่อส่งเสริมให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชผักพัฒนาให้มีคุณภาพตามตลาดต้องการ ปุ๋ยที่พืชผักได้รับมาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ถึงจะดีต่อการผลิตผักให้ยั่งยืนเพราะปุ๋ยที่ผลิตตามธรรมชาติจะช่วยยืดอายุของการใช้ เพราะสภาพดินจะไม่ค่อยเป็นกรดการให้ปุ๋ย จำนวน 2 ครั้ง คือ
5.1 การใส่ปุ๋ยรองพื้น ขณะมีการเตรียมดินเพาะกล้า/หยอด/ย้ายปลูก การใส่ปุ๋ยรองพื้นเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ หรือปุ๋ยหมักจากพืช ทำให้ดินมีการเกาะยึดกันหลวม ๆ ส่งผลให้มีการระบายน้ำดี การระบายอากาศระหว่างเม็ดดินหรือเนื้อดินดีส่งเสริมการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ลดการเกิดโรคจากเชื้อราในดิน
5.2 การใสปุ๋ยบำรุง การใส่เพื่อให้พืชผักมีการเจริญเติบโตทางใบ/ลำต้น/ดอก เต็มที่มีคุณภาพ ซึ่งปุ๋ยบำรุงเป็นการเพิ่มธาตุอาหารเสริม/รอง ให้กับใบพืชผัก โดยเกษตรกรสามารถเตรียมจากการหมักพืชหรือหอยเชอรี่หมักทิ้งไว้ จากนั้นสกัดเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมฉีดพ่นพืชผัก ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
6. การจัดการศัตรูพืชผักแบผสมผสาน
กิจกรรมนี้เมื่อพืชผักมีการเจริญเติบโต จะมีศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติเข้ามาอาศัย ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ดังนั้นเกษตรกรต้องเลือกวิธีการจัดการศัตรูพืชผักแบบผสมผสาน ซึ่งมีลำดับขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
6.1 เกษตรกรเข้าแปลงติดตามสถานการณ์และบันทึกข้อมูลสิ่งต่อไปนี้ จำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่กล้าจนเก็บผลผลิต คือ
6.1.1 การเจริญเติบโตพืชผัก
6.1.2 ศัตรูพืชผัก/ศัตรูธรรมชาติ
6.1.3 สภาพแวดล้อม
6.2 วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดทางเลือก การจัดการศัตรูพืชผัก/การจัดการศัตรูธรรมชาติ/การจัดการสภาพแวดล้อม/การจัดการพืชผัก ตามวิธีการ ดังนี้
6.2.1 วิธีเขตกรรม คือ การดัดแปลงสภาพแวดล้อม ให้เกิดความไม่เหมาะสม ต่อการดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ของศัตรูพืชผัก ได้แก่การจัดการน้ำ การตัดวัชพืช การพรวนดิน การเก็บเผาทำลายการยกแปลงให้สูง (ฤดูฝน) การทำร่องระบายน้ำ การปรับปรุงดิน
6.2.2 วิธีกล คือ การลดปริมาณศัตรูพืชผัก โดยการดักล่อ การกรีดขวางการทำลาย ได้แก่การใช้ซาแรนดำคลุมแปลง (ฤดูร้อน) การใช้พลาสติกคลุมแปลง การใช้กับดักเหลืองทากาวเหนียว
6.2.3 วิธีกายภาพ คือ การลดปริมาณศัตรูพืชผัก โดยใช้ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ การใช้แสงไฟ การใช้ความร้อนจากพลังงานแสง
6.2.4 วิธีชีวภาพ คือ การใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรคปฏิปักษ์เพื่อควบคุมศัตรูพืชผักให้อยู่ระดับต่ำ ได้แก่ มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต แมงมุม แตนเบียนอะพานทีเลส. เชื้อแบคทีเรีย บีที. เชื้อไวรัส เอ็นพีวี. ไส้เดือนฝอย สะไตรเนอร์นีม่า.
6.2.5 วิธีใช้สารสกัดธรรมชาติจากพืชสมุนไพร คือ การลดปริมาณของศัตรูพืชผัก โดยใช้สารเคมีสกัดได้ธรรมชาติจากพืชสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติ เป็นสารไล่ สารยับยั้งการกินอาหารและเป็นสารฆ่า ได้แก่ สะเดา (สะเรียม) สาบเสือ ยาสูบ ตะไคร้หอม ว่านน้ำ
6.2.6 วิธีใช้สารเคมี คือ การใช้สารเคมีที่สังเคราะห์เพื่อควบคุมศัตรูพืชผักสำหรับวิธีการนี้ต้องเลือกเป็นวิธีการสุดท้ายและใช้ควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามฉลากข้างภาชนะอย่างเคร่งครัด
7. การขึ้นรหัสทะเบียนผู้ผลิต/การตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้าง/การรับรองคุณภาพผลผลิต
หลังจากมีการจัดการศัตรูพืชผัก อย่างต่อเนื่องและอายุพืชผักก็ใกล้เก็บเกี่ยวสู่ตลาด จำหน่าย เกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค คือ
7.1 การขึ้นทะเบียนผู้ผลิต หมายถึง เลขรหัสประจำตัวเกษตรผู้ผลิตติดต่อขอขึ้นได้ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลพื้นที่ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ
7.2 การตรวจวิเคราะห์การสารเคมีตกค้าง หมายถึง คณะทำงานส่งเสริมการผลิตพืช
ปลอดภัยจากสารพิษ และคณะกรรมการฝ่ายตรวจรับรองคุณภาพผลผลิต ดำเนินการตรวจหากลุ่มสารเคมี ออร์กาโนฟอสเฟส และคาร์บอเมต จากชุดตรวจจีทีและสุ่มตรวจจากแหล่งการผลิต หรือจากตลาดจำหน่ายผักปลอดภัยจากสารพิษ
7.3 การรับรองคุณภาพผลผลิต หมายถึง คณะทำงานส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษและคณะกรรมการฝ่ายตรวจรับรองคุณภาพผลผลิต รับรองและควบคุมสัญลักษณ์ผลผลิตปลอดภัยจังหวัดเชียงราย ที่กำกับอยู่ภาชนะคู่กับผลผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและเลขรหัสทะเบียนเกษตรกรผู้ผลิต
8. การเก็บ-การคัดเลือกมาตรฐาน/การบรรจุ-การขนส่งผลผลิต
เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสุ่มวิเคราะห์มาแล้ว ผลผลิตยังอยู่ในแปลง คาดว่าอีก 7 วัน จะเก็บเกี่ยว ขั้นนี้เกษตรกรต้องเข้าใจว่าการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว จะต้องทำอย่างไร ผลผลิตเก็บมาแล้วมีผลกระทบน้อยที่สุด ต้องคำนึงถึง
8.1 การเก็บ-การคัดเลือกมาตรฐานผลผลิต หมายถึง เกษตรกรคัดเลือกเก็บผลผลิตตามรูปทรง ขนาด น้ำหนัก สี หรืออื่นๆ ตามข้อตกลงกับตลาดรับซื้อ
8.2 การบรรจุ-การขนส่งผลผลิต หมายถึง การจัดทำวัสดุภาชนะมีเลขรหัสทะเบียนผู้ผลิตกำกับผลผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ขนส่งไปตลาดจำหน่ายให้ผู้บริโภคมั่นใจ
9. การตลาด
เป็นการจัดการรวบรวมและนำผลผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษไปสู่ตลาด ประกอบด้วย ผู้บริโภคชั้นต่างๆ คือ
9.1 ตลาดเครือข่ายในท้องถิ่น หมายถึง ผู้บริโภคและสถานที่การผลิตอยู่ในท้องถิ่นเดี่ยวกัน ได้แก่ ตลาดหกแยก อำเภอพานเชียงราย ตลาดบ้านป่างิ้ว อำเภอเมืองเชียงราย ตลาดเทศบาลหน้าโรงรับจำนำ อำเภอเมืองเชียงราย เป็นต้น
9.2 ตลาดเครือข่ายต่างท้องถิ่น หมายถึง สถานที่การผลิตไม่อยู่ในพื้นที่ของผู้บริโภค ได้แก่ ตลาดไท กทม. ตลาดฟิวเจอร์ฟาร์ม กทม. ตลาดเมืองใหม่ปทุมธานี ตลาดบริษัท เจพีพี.จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
http://www.chiangrai.doae.go.th/chiangrai17.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 20/10/2011 9:22 am ชื่อกระทู้: |
|
16. ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
การปรับปรุงบำรุงดิน
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดินทราย ดินที่หน้าดินถูกฉะล้าง และดินชั้นล่างที่นำมาใช้ในการ เพาะปลูก
2. ช่วยเพิ่มปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชที่สำคัญทั้งธาตุอาหารพืช หลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
3. ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอยู่ตลอดกาล โดยที่ธาตุ อาหารพืชชนิดต่าง ๆ ค่อย ๆ ละลายออกมาเป็น ประโยชน์ต่อพืช ช่วยให้ดินมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต
4. ช่วยรักษาปฏิกิริยาของดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก จะมีปฏิกิริยา เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งพืชโดยทั่วไปต้องการ
5. ช่วยให้ดินเหนียวซึ่งแน่นทึบมีความร่วนซุยและดินทราย มีการจับตัวกันดียิ่งขึ้น
6. ช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น เพราะปุ๋ยหมักมีคุณสมบัติคล้าย กระดาษซับ ที่คอยซับน้ำและธาตุอาหารไว้ให้พืชใช้
7. ช่วยป้องกันมิให้ดินสูญเสียหรือถูกชะล้างไปได้ง่ายเพราะปุ๋ยหมักช่วยซับน้ำและ ทำให้เม็ดดิน เกาะกันดียิ่งขึ้น
8. ช่วยให้เกิดความสะดวกในการไถพรวนและการเตรียมดินโดยทั่วไป
9. ช่วยเพิ่มกิจกรรมและปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น
ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
1. ช่วยกำจัดขยะมูลฝอย ทำให้บริเวณสะอาด ถูกลักษณะ อนามัย
2. ช่วยลดอุบัติเหตุได้ การทำลายเศษพืช โดยการนำไปเผาตอ ซังข้าว หรือเศษหญ้าข้างถนน เป็นวิธีไม่ถูกต้องทำให้เกิดรถชน จราจรติดขัด เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิด อากาศเป็นพิษ ถ้านำเศษพืชเหล่านั้นมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ก็จะช่วย แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
3. เป็นการกำจัดวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป ทำให้สัตว์น้ำ ได้รับแสงแดด เต็มที่ และเจริญเติบโตขึ้น
ในทางเศรษฐกิจ
1. ช่วยประหยัดและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง เป็นการลดต้นทุนการผลิต
2. ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เกษตรกร มีราย ได้เพิ่มขึ้น
3. เป็นตัวสร้างอาหารปลาขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง นับว่า เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทางการประมงด้วย
ปุ๋ยหมักคืออะไร ?
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้จากเศษพืชต่าง ๆ เศษขยะมูลฝอยหลายชนิด อาจมีซากสัตว์และมูลสัตว์รวมอยู่ด้วย เมื่อนำมาผสมรวมกันโดยอาศัยกรรมวิธีหมักอย่างง่าย ๆ และใช้เวลาในระยะหนึ่ง เศษพืชเศษขยะเหล่านี้จะเปลี่ยนไป จากรูปเดิมอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ หลังจากนั้นก็สามารถนำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน
วิธีการใช้งาน
มีประโยชน์ในแง่การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อช่วยให้พืชมีผลผลิต เพิ่ม ขึ้น วิธีการใช้ และอัตราการใช้มีดังนี้
นาข้าว
พืชไร่
ไม้ผลไม้ยืนต้น
พืชผัก
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้กระถาง
ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกป่า
------------------------------------------------------------------------------------------
นาข้าว
ใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายอย่างดีแล้วปรับปรุงดินนาข้าวได้ผลดี แต่เหมาะสำหรับกสิกรที่มีนาจำนวนน้อยและหลังจากการทำนาแล้ว พื้นที่นั้นสามารถปลูกพืชหมุนเวียนอย่างอื่นได้ อัตราที่แนะนำให้ใช้ ประมาณ 1 - 3 ตันต่อไร่ต่อปี ใส่ขณะเตรียมดินโดยหว่านให้ทั่ว แปลงแล้วจึงทำการไถกลบลงไปอีกที และทิ้งไว้ประมาณ 7 - 15 วัน จึงทำการปลูกข้าว ถ้าต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ควรใส่ปุ๋ยเคมี สำหรับนาข้าวด้วย
ปุ๋ยนาที่นิยมใช้คือ 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 หรือปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงในอัตรา 15 - 30 กก. ต่อไร่ สำหรับดินนาภาคกลางและ ดินนาภาคเหนือ ซึ่งเป็นดินเหนียวและดินร่วน ส่วนดินภาค ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นดิน ทรายร่วน หรือดินทรายแนะนำให้ใช้ปุ๋ย 16+16-8, 18-12-6 หรือปริมาณ ธาตุอาหารใกล้เคียง ในอัตรา 15-30 กก.ต่อไร่ เช่นเดียวกัน
----------------------------------------------------------------------------------------
พืชไร่
แนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 1-3 ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าจะใส่ ครั้งเดียว อัตรา 3-6 ตันต่อไร่ แล้วปลูกพืชติดต่อกันไปเป็น ระยะเวลา 2-3 ปี โดยหว่านให้ทั่วแปลงแล้วทำการไถคราดกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน จึงทำการปลูกพืชต่อไป ถ้าจะให้ผลดี ก็ควรใส่ปุ๋ยเคมีให้แก่พืชไร่เพื่มเติมลงไปด้วย เช่นปลูกข้าวโพด ในดินภาคกลางและดินภาคเหนือ ควรใช้ปุ๋ยเคมี 16-20-0, 18-22-0 หรือปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงในอัตรา 25-30 กก.ต่อไร่
ถ้าเป็นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรใช้ปุ่ย 15-15-15, 16-16-8, 18-12-6 หรือปริมาณธาตุอาหาร ใกล้เคียง อัตรา 25-30 กก. ต่อไร่ ส่านพืชไร่ชนิดอื่น ๆ ให้พิจารณา ชนิดของดินและปริมาณอาหารพืช ที่พืชไร่แต่ละชนิดต้องการ
--------------------------------------------------------------------------------------------
ไม้ผลไม้ยืนต้น
ปุ๋ยหมักพบว่าเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อไม้ผลไม้ยืนต้นเป็นอย่างยิ่ง ใส่ปุ๋ยหมัก เฉพาะหลุมที่ปลูกเท่านั้น ไม่ใส่ทั้งแปลงเหมือนพืชไร่ ซึ่งสามารถให้ปุ๋ยหมักแก่ไม้ผล ไม้ยืนต้นได้หลายระยะและหลายวิธี กล่าวคือ ระยะแรก ระยะเตรียมหลุมปลูกควร คลุกเคล้าปุ๋ยหมักให้เข้ากับดินที่ใช้ปลูกเป็นอย่างดี อัตราหลุมละ 20-40 กก.ต่อตัน ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและขนาดของหลุมและไม้ผลที่ปลูก ถ้าจะให้ผลดีให้คลุกเคล้ากับปุ๋ย เคมีเพิ่มเติมลงไปด้วย
ในระยะเตรี่ยมหลุมนี้ โดยใช้ปุ่ย 15-15-15, 14-14-14, หรือ 12-12-17 อัตรา 100-200 กรัมต่อหลุม ในระยะต่อไป ให้ใช้ทุก ๆ 1 ปี เมื่อไม้ผลอายุมาก ให้ใส่รอบ ๆ ทรงพุ่ม โดยขุดร่องให้รอบแล้วเอาปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีคลุกให้เข้ากัน เป็นอย่างดี ใส่ลงไปในร่องรอบ ๆ พุ่ม แล้วเอาดินกลบร่องให้มิด ปริมาณทั้งปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีให้ใช้เพิ่มตามอายุของพืชที่ปลูก
------------------------------------------------------------------------------------------
พืชผัก
ปุ๋ยหมักนับว่าเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อสวนผักเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน เพราะว่าช่วยทำให้ ดินร่วนซุย พืชผักซึ่งเป็นพืชอายุสั้นและมีระยะรากสั้นแผ่ขยายออกด้านข้าง ถ้าปลูกใน ดินเหนียวจัด รากจะไม่สามารถ แผ่กระจายไปได้ไกล ถ้าปลูกในดินทรายซึ่งมีการอุ้มได้น้อย ปุ๋ยหมักจะช่วยแก้ไขสิ่งเหล่านี้ได้ ส่วนมาก ใช้ใส่ในอัตรา 1-3 ตันต่อไร่ โดยการหว่านให้ทั่วแปลง ขณะเตรียมดิน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน จึงจะทำการปลูกผัก แต่อย่างไรก็ดีควรเพิ่มเติม ปุ๋ยเคมี ลงไปด้วย จะช่วยให้พืชผักเจริญงอกงามดี ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ คือ 15-15-15, 13-13-21, 16-20-0 อัตรา 15-30 กก.ต่อไร่ ถ้าเป็นผักกินใบ จะเพิ่มปุ๋ย ไนโครเจน ลงไปด้วยก็ยิ่งดี
------------------------------------------------------------------------------------------
ไม้ดอกไม้ประดับ
ตลอดจนสนามหญ้าทุกชนิดส่วนมากใช้ใส่ในอัตรา 1-3 ตัน ต่อไร่ โดยใส่ระยะเตรียมดิน หรือหลังปลูกพืชแล้วทำการพรวนคลุกเคล้าให้ เข้ากับดินที่ปลูกก็ใช้ได้
ไม้กระถาง
ใช้อัตราส่วนระหว่างดิน : ปุ๋ยหมัก : ทราย = 4:3:3 โดยปริมาตร
----------------------------------------------------------------------------------------
ปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกป่า
การเพาะชำกล้าไม้
ในกรณีของไม้เบญจพรรณ เช่น มะค่า พะยูง ประดู่ กระพี้เขาควาย ฯลฯ ซึ่งเพาะในภาชนะ บรรจุ ที่มีปุ๋ยหมักเป็นส่วนผสมของวัสดุเพาะชำ อัตราส่วนของวัสดุเพาะชำมีดังนี้ คือ ดิน : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก = 5 : 2 : 1 : 1 โดยปริมาตร คลุกเคล้าส่วนผสม ให้เข้ากันอย่างทั่วถึง ก่อนที่จะบรรจุลงในภาชนะ แล้วนำเมล็ดพันธ์ไม้หยอดลงไป และกดลงให้ลึกประมาณ 1 นิ้ง จากผิวบนของวัสดุเพาะชำ แล้วจึงกลบ เมล็ดฯ ด้วยวัสดุเพาะชำบาง ๆ
สำหรับการเพาะชำกล้าไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส กระถินยักษ์เลี่ยน กระถินณรงค์ สะเดา ขี้เหล็ก ฯลฯ ใช้วัสดุเพาะชำที่มี ดิน : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 3 โดยปริมาณและปฏิบัติ เช่นเดียวกับการเพาะกล้าไม้เบญจพรรณ
การปลูกไม้โตเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพดินของแปลงปลูกซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ลักษณะดิน เป็นดินทราย ไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้และต้องแก่งแย่งอาหารกับวัชพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณดังกล่าว ดังนั้นการปรับปรุงดิน เฉพาะจุดด้วยการใช้ปุ๋ยหมักในหลุมปลูก โดยขุดหลุมปลูก ขนาด 20*20*20 เซนติเมตร แล้วนำปุ๋ยหมัก ประมาณ 2 กิโลกรัม รองก้นหลุม หลังจากนั้น ใช้ดินกลบชั้นของปุ๋ยหมักให้หนา ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ตแล้วจึงนำกล้าไม้ปลูกและใช้ดินกลบ
---------------------------------------------------------------------------------------
http://www.sisaket.go.th/WEB_ldd/Soil/Page03.htm |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 20/10/2011 7:51 am ชื่อกระทู้: |
|
................... 14. ........................
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 ต.ทุ่งสุขลา
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในการพัฒนาการเกษตรไม่น้อยไปกว่า น้ำ อากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ และ อินทรียวัตถุผิวหน้าดินจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ดินมีความเสื่อมโทรมลงตามธรรมชาติอย่างช้า ๆ แต่นับว่าที่ประชากรเพิ่มขึ้น การใช้ทรัพยากรดินมีสูงขึ้น มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ความสมดุลย์ของธรรมชาติถูกทำลายไป โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของมนุษย์ช่วยเร่งการเสื่อมโทรมของดินให้เร็วขึ้น จะเห็นได้จากพืชที่ปลูก มีผลผลิตลดต่ำลง เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน ในเขตเมือง ทำให้เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กรมพัฒนาที่ดินได้เล็งเห็นถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่ติดตามมา และหาแนวทาง ในการแก้ไข โดยการเผยแพร่ความรู้ในการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงวิธีการปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำการเกษตร อย่างยั่งยืน
สาเหตุของความเสื่อมโทรมของดิน
1. การใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น การทำการเกษตรบนที่ที่มีความลาดชันสูง การทำนาบนที่ดอน โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นดินที่มีทราย และเศษหินปนอยู่ในเนื้อดินมาก ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายสูง
2. การปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ๆ ปี ซึ่งเป็นธรรมดาที่พืชย่อมต้องดูดเอาธาตุอาหารในดินไปใช้ เมื่อไม่มีการปลูก พืชหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น พืชตระกูลถั่ว นานเข้าดินจะเสื่อมโทรมลง จะเห็นได้จากผลผลิตลดลง เมื่อดินขาดแร่ธาตุอาหาร
3. การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกป่าเพื่อการเกษตร ทำให้ดินขาดอินทรีย์วัตถุหน้าดิน ขาดความชุ่มชื้นและปริมาณฝนน้อยลง การชะล้าง พังทลายสูง
4. ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่ทราบคุณภาพของดิน การใส่ปุ๋ย พันธุ์พืช วิธีการที่ถูกต้องในการปลูกพืชบน ที่ลาดชัน
อย่างไรก็ตาม การเกษตรก็ยังคงมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของประชาชน ซึ่งนับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่การเพิ่มผลผลิต โดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกดังที่เคยทำมาแต่ก่อนคงเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน
ดังนั้น บทบาทของการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ และการใช้วัสดุปรับปรุงดิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้พอเพียงต่อ การบริโภคภายในประเทศ และส่งขายเป็นรายได้เข้าประเทศ ในสภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจตกต่ำ ปุ๋ยเคมีมีราคาสูง สมควรที่เกษตรกร ทั่วไปต้องพยายามลดการใช้ลง โดยหันมาใช้ปุ๋ยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เพื่อทดแทนการนำเข้าปุ๋ยเคมีจาก ต่างประเทศเป็นการช่วยประเทศชาติทางหนึ่ง
................. ................................
...........................15. วิธีการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต ....................
............................................. .....................................
1. การใช้ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักถึงแม้ว่าจะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่ในปริมาณต่ำ แต่ช่วยให้โครงสร้างของดินโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้ดี ช่วยดูดซับน้ำ และธาตุอาหารที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีไว้ในดินได้นาน ในปัจจุบันนอกจากจะผลิตใช้เองจากเศษเหลือจากพืชในแปลง วัชพืช เช่น ผักตบชวา นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตจำหน่าย โดยทำจากกากวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล สับปะรด โรงงานสุรา การใส่ถ้าเป็นพืชไร่ก็ใช้หว่านแล้วไถกลบ ถ้าเป็นไม้ผลใช้รองก้นหลุมปลูก และใส่โดยขุดเป็นวงรอบรัศมีทรงพุ่ม ในปีต่อ ๆ ไป
2. การใช้ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยพืชสด คือปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้จากการไถกลบพืชที่ยังสด หรืออยู่ในระยะออกดอก แล้วจึงไถกลบลงไป หรืออาจได้ จากการไถกลบเศษพืชต่าง ๆ ที่ทิ้งไว้ในไร่ ภายหลังจากการเก็บเกี่ยว พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ซึ่งนิยมใช้กับพื้นที่ปลูกพืชไร่ส่วนในพื้นที่นาข้าวมักนิยมปลูกและไถกลบโสน ได้แก่โสนอินเดีย โสนอัฟริกัน
นอกจากนั้น ในสวนไม้ผล ยังนิยมใช้พืชคลุม เช่น ถั่วคาโลโปโกเนียม ไมยาราพย์ไร้หนาม ถั่วคุดซู่ ถั่วสโตโล เป็นต้น พืชปุ๋ยสดเหล่านี้ หากเกษตรกรสนใจสามารถติดต่อหมอดินอาสา เพื่อช่วยขอการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินในจังหวัดของเกษตรกร หรือที่สำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 2 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
3. ปุ๋ยเคมี
เป็นปุ๋ยที่ผลิตขึ้นจากการสกัด แร่ธาตุบางชนิด ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อพืช ในรูปของเมล็ด หรือผสมกับวัสดุบางตัว เช่น ดินเหนียวแล้วขึ้นรูปเป็นเม็ด เช่น ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ใส่ลงในดิน หรือทำเป็นผลึกเพื่อใช้ละลายน้ำฉีดพ่นทางใบพืช ปัจจุบันการผลิต ปุ๋ยเคมีมีปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ มากมาย และหลายบริษัท ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความรู้ในการเลือกปุ๋ยให้เหมาะสมต่อพืชที่ปลูก เนื่องจากมีราคาสูง และมีปุ๋ยปลอมวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ถ้าใช้ปุ๋ยเคมี ควรใส่ร่วมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด จะช่วยลดการใช้ ปุ๋ยเคมีลงได้เป็นการประหยัดต้นทุน
4. การใช้ปูน
ปูนเป็นวัสดุที่ใช้แก้ไปรับสภาพดินเปรี้ยว ในภาคตะวันออก มักพบดินเปรี้ยวในจังหวัดชายทะเล เช่น ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ในบริเวณที่ลุ่มที่เป็นพื้นที่นาข้าวลักษณะดินเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย การใส่ปูนทำให้ลดความเปรี้ยวของดิน ลดการ ละลายของสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อรากพืช และยังทำให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอก ที่ใส่ลงไปได้ดีขึ้น ปูนทั่ว ๆ ไปที่นิยมใช้ ได้แก่ ปูนมาร์ล ปูนขาว หินปูนบด เปลือกหอยเผา ในอัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่
ข้อควรจำสำหรับการปรับปรุงดิน
1. พื้นที่ที่ทำการเกษตรที่มีเนื้อดินเป็นดินทราย เช่น ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย ดินปนลูกรัง ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน อัตรา 2 ตันต่อไร่ ขึ้นไป
ส่วนไม้ผล ควรมีการใส่ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมปลูก และขุดใส่เป็นวงรอบรัศมีทรงพุ่ม ในปีต่อ ๆ ไป หรือปลูกพืชปุ๋ยสด แล้วไถกลบ
2. การใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการปลูกพืชทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด หรือไม้ผลต่าง ๆ แต่ในพื้นที่ที่เป็นดินตื้น ไม่มีหน้าดิน ควรใส่ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด อนึ่งการใช้ปุ๋ยเคมีต้องมี ความรู้ว่าสูตรใดใช้กับพืชชนิดใด จึงจะได้ผลดีและคุ้มค่ากับทุน
3. ในดินเปรี้ยว ซึ่งสังเกตุได้จากพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำแช่ขัง น้ำจะใสมีหญ้าทรงกระเทียมหรือจูดหนูขึ้นหนาแน่น จำเป็นต้อง ใส่ปูนมาร์ล ปูนขาว หินปูนฝุ่น เป็นต้น
http://www.ku.ac.th/e-magazine/february44/agri/soil.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 6:30 pm ชื่อกระทู้: |
|
13. เกษตรจังหวัดฯ แนะนำเกษตรกรหลังน้ำลด
เกษตรจังหวัดนครราชสีมาแนะนำเกษตรกรดูแลฟื้นฟูนาข้าวช่วงน้ำท่วม และหลังน้ำลด พร้อมแนะเกษตรกรกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้น้ำไหลระบายได้เร็วที่สุด
นายสวัสดิ์ บึงไกร เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้พื้นที่ปลูกข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ผล พืชผัก ประสบภัยน้ำท่วมทั้ง 31 อำเภอ จำนวนกว่า 2,195,909 ไร่ คาดว่าเสียหาย 1,708,621 ไร่ มากที่สุดในประวัติศาสตร์
ทางเกษตรจังหวัดฯ จึงได้เร่งให้เจ้าหน้าที่เกษตรทั้งส่วนของตำบลและอำเภอ หลังน้ำลดให้รีบเข้าไปสำรวจความเสียหายในทันทีว่ารายใดเสียหายจำนวนเท่าใด จากนั้นจึงเข้าสู่ระเบียบของกระทรวงการคลัง คงต้องมีการชดเชยให้พี่น้องเกษตรกรที่เสียหาย
เกษตรจังหวัดนครราชสีมายังกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวช่วงน้ำกำลังท่วมอยู่นี้ ในนาข้าวแนะนำให้เกษตรกร
- กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้น้ำไหลระบายได้รวดเร็วที่สุด,
- อย่าใช้อุปกรณ์ดักปลาไปขวางทางน้ำ,
หลังน้ำลด 3 วัน ให้สังเกตอาการของต้นข้าวสำหรับข้าวที่ยังไม่ออกรวง ต้นข้าวยังเขียวอยู่ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะจะทำให้ข้าวมีอาการเฝือใบและอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของแมลง
แต่หากหลังจาก 3 วันไปแล้ว สังเกตข้าวเริ่มแสดงอาการใบเหลือง ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย 35 กิโลกรัมต่อไร่ กรณีที่ข้าวออกรวงแล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพียงดูแลและป้องกันโรคแมลงศัตรูข้าวที่จะมาหลังน้ำลด ได้แก่ หนอนกระทู้คอรวงข้าว, หนอนกอ, โรคไหม้ และโรคกาบใบแห้ง
ให้ทำความสะอาดบริเวณนาข้าวและคันนา โดยกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลง หากพบโรคและแมลงในระยะเริ่มต้นแนะนำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา.ฆ่าสำหรับป้องกันเชื้อโรค และใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย.สำหรับป้องกันกำจัดแมลง หากระบาดรุนแรงจึงค่อยใช้สารเคมีตามคำแนะนำ
ส่วนข้าวที่เสียหายอย่างสิ้นเชิง หากเกษตรกรต้องการปลูกใหม่ แนะนำให้ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ซึ่งปลูกได้ตลอดทั้งปี เช่น พันธุ์ชัยนาท 1 โดยการไถกลบและหมักฟางข้าวไว้อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ฟางข้าวเปื่อยยุ่ย จากนั้นคราดเอาตอซังข้าวที่ตกค้างออก แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ และดูแลรักษา กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยเคมีบำรุง นาดินทรายใช้สูตร 16-16-8 ส่วนนาดินเหนียวใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอายุ 1 เดือน และใส่ปุ๋ยอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ในระยะข้าวสร้างรวงอ่อน
http://www.kctv.co.th/content/2438/เกษตรจังหวัดฯแนะนำเกษตรกรหลังน้ำลด |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 5:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
12. วิธีฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม
บทความน่ารู้ เรื่องวิธีฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน
ช่วงนี้ฝนตกบ่อย ๆ ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย วันนี้เรามีวิธีฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วมมาฝาก...
- หากน้ำเพิ่งเริ่มท่วมเข้าในที่ปลูกต้นไม้ให้รีบสูบออกทันที เพราะรากไม้อยู่ในน้ำนานเท่าไหร่ก็ไม่สามารถดูดออกซิเจนนานเท่านั้น สำหรับต้นไม้ใหญ่ให้ขุดหลุมเล็ก ๆ รอบต้นระวังอย่าใกล้มากจะโดนรากและเมื่อน้ำเริ่มท่วมจะได้สูบออกจากหลุมได้ทันที หากไม่สามารถทำได้เพราะน้ำท่วมมาก อาจจะหาถังมาเพิ่มออกซิเจนให้น้ำก่อน
- เมื่อน้ำลดใหม่ ๆ ดินยังอ่อนอยู่ ไม่ควรเข้าไปใกล้ ๆ ต้นไม้ เพราะน้ำหนักตัวจะกดดินอาจทำให้รากขาดหรือช้ำได้ ควรรอให้ดินแห้งสนิทก่อนเข้าไปสำรวจความเสียหาย
- การสำรวจควรดูที่ใบ หากเหลือง เหี่ยวเฉา ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการคายน้ำออก และให้แสงแดดส่องจะได้ไม่เกิดโรคและแมลง
- พืชคลุมดินส่วนใหญ่จะตายให้ลอกขุดทิ้งให้หมด ส่วนต้นที่พอจะรอดได้ให้รีบขุดขึ้นมาตัดส่วนที่เน่าออกและนำไปพักฟื้นที่กระถางต้นไม้ชั่วคราวก่อน
- ในช่วง 5 วันแรก ไม่ควรให้น้ำ หรือปุ๋ย ยาต่าง ๆ แก่ต้นไม้ เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงให้น้ำแต่น้อย ๆ แล้วควรให้ปุ๋ยและฮอร์โมน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของราก
- เมื่อต้นไม้ฟื้นตัวดีแล้วค่อยบูรณะ ปรับพื้นที่ ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี
ถ้าน้ำท่วมต้นไม้ครั้งหน้าอย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปฟื้นฟูต้นไม้กัน.
ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1114 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 5:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
11. ข้อแนะนำการดูแลไม้ผลหลังน้ำท่วม
นายสมพิศ พูลสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่าขณะนี้พื้นที่การเกษตรของจังหวัดอ่างทองกำลังประสบกับปัญหาน้ำท่วม จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีผู้ประสบภัยด้านการเกษตรจำนวน ๔,๔๕๕ ครัวเรือน นาข้าว ๔๕,๓๘๔ ไร่ อ้อยโรงงาน ๕๘ ไร่ และ ไม้ผล ๔,๒๘๑ ไร่ สำหรับไม้ผลเป็นพืชที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะได้ผลผลิต จึงต้องมีการจัดการอย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันท่วงที สำหรับการดูแลและฟื้นฟูสภาพไม้ผลหลังจากน้ำท่วมแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
๑. ไม่ควรเดินย่ำรอบโคนต้นไม้ หรือหลังร่องสวน เนื่องจากสภาพดินที่ชุ่มน้ำมาก จะทำให้ดินแน่น ลดช่องว่างสำหรับอากาศในดินที่รากใช้หายใจ และทำให้รากที่อ่อนแอได้รับความกระทบกระเทือน
๒. กรณีที่เป็นสวนแบบยกร่อง ให้รีบซ่อมแซมคันดินและสูบน้ำในร่องสวนออก ให้น้ำอยู่ในระดับเดิมให้เร็วที่สุด สำหรับสวนในที่ดอนไม่ได้ยกร่อง เมื่อน้ำลดต้องรีบทำทางระบายน้ำไม่ให้น้ำขังโคนไม้ผล หากมีโคลนทับถมในสวนให้ขุดลอกดินโคลนออกให้พ้นบริเวณทรงพุ่ม และจนถึงระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น ควรใช้จอบหรือเสียม ไม่ควรใช้เครื่องมือหนัก เช่นรถแทรกเตอร์เข้าสวน เพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบรากต้นไม้ ที่อ่อนแออยู่แล้วให้เกิดความบอบช้ำมากยิ่งขึ้น
๓. ต้นไม้ผลบางชนิดที่เป็นโรคได้ง่าย หากมีกิ่ง หรือลำต้นฉีกขาด ต้องรีบตัดแต่งกิ่งและทายาฆ่าเชื้อรา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทันที ถ้าต้นไม้ผลเอน เนื่องจากน้ำพัดให้หาเชือกหรือลวดดึงลำต้น ให้ตรง โดยยึดไว้กับหลักแล้วตัดแต่งกิ่งออกประมาณ ๑ ใน ๓ เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
๔. ให้ตัดแต่งกิ่งล่างที่มีคราบน้ำหรือโคลนเกรอะกรังออก เนื่องจากโคลนหรือดินที่เกาะอยู่จะไป อุดรูหายใจที่ใบทำให้การหายใจคายน้ำและปรุงอาหารไม่ได้ตามปกติ จากนั้นให้ตัดแต่งกิ่งบริเวณโคนต้นออก เพื่อเปิดช่องทางให้แสงแดดส่องเข้าไปในบริเวณโคนต้นไม้ได้สะดวก ซึ่งจะมีผลทำให้ดินบริเวณ โคนต้นแห้งเร็วยิ่งขึ้นและอย่ารีบพรวนดิน เพราะถ้าพรวนดินจะทำอันตรายกับรากที่เกิดขึ้นใหม่จะทำให้ต้นไม้ตั้งตัวได้ช้าลง
๕. กรณีถ้าต้นไม้ผลที่ถูกน้ำท่วมขังอยู่ระหว่างติดผล หากมีสภาพทรุดโทรมควรปลิดผลทิ้ง เพื่อให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น และงดการให้ปุ๋ยทุกชนิดจนกว่าจะเห็นการแตกใบอ่อน แสดงถึงไม้ผลฟื้นตัวแล้วจึงให้ปุ๋ยได้ตามปกติ
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ใกล้บ้านท่าน
แหล่งข้อมูล : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง โทร ๐-๓๕๖๑-๑๒๙๖ โทรสาร ๐-๓๕๖๑-๒๐๑๑
http://www.angthongnews.com/welcome/?p=10221
. |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 5:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
8. พิษณุโลก : ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย คนในพื้นที่เตรียมแผนการฟื้นฟูหลังน้ำ
สถานการณ์ จ.พิษณุโลก ล่าสุดวันที่ 9 ก.ย. (เวลา 12.20 น.)
คุณณัฐวุฒิ อุปปะ เครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง อัพเดทสถานการณ์โดยรวมถึงระดับในพื้นที่ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ขณะนี้ระดับน้ำในพื้นที่ได้ลดระดับลงเล็กน้อย ประมาณ 25-30 ซม. คาดว่าภายในช่วง 2-3 วันนี้ไม่มีฝนตกลงมา ดาดว่าสถานการณ์น้ำน่าจะลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง
เบื้องต้นในพื้นที่ ยังมีการระดมความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ในการรับบริจาคสิ่งของ และแจกจ่ายให้กับผู้ที่เดือดร้อน แต่สิ่งสำคัญจะเน้นเรื่องการเยียวยา และฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมขังมากว่า 3 เดือน
ทางเครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกับอาสาสมัคร และมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ร่วมกันวางแผนฟื้นฟูสภาพจิตใจ และช่วยเหลือชาวบ้านหลังจากที่น้ำลดระดับลง เบื้องต้นจะเน้นเรื่องการประกอบอาชีพหลังจากนี้ โดยการจัดตั้ง "กองทุนเมล็ดพันธุ์" ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสำรวจและจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ที่สามารถเติบโตได้และทนกับสภาพน้ำท่วมได้ พืชพรรณชนิดไหนที่ยังไม่ล้มตาย ก็จะใช้วิธีตอน และทาบกิ่งไว้ บางส่วนได้รับบริจาคเมล็ดพันธุ์จาก คณะเกษตรศาสตร์ ม.นเรศวร นำมาเพาะพันธุ์ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปปลูก ใช้บริโภคและมีรายได้ ซึ่งถือว่าเป็นแผนระยะสั้นสำหรับชาวบ้าน
ส่วนแผนระยะยาว มีแผนที่จะให้ชาวบ้านทำแพแปลงผักในอนาคต เพื่อเตรียมรับมือถ้าหากเกิดน้ำท่วมขึ้นอีกพืชผักของชาวบ้านจะได้เสียหายน้อยที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานพอสมควร รวมถึงการเยียวยาสภาพจิตใจของคนในพื้นที่ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณณัฐวุฒิ อุปปะ (ต้อ)
เครือข่ายทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ภาคเหนือตอนล่าง
โทร 082-7746922
http://tvthainetwork.com/2010/board/index.php?topic=1744.0 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 5:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
7. ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
ดินเสื่อมโทรม หมายถึง ดินที่มีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิมและอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านต่างๆของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น สมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดินสูญเสียโครงสร้างทำให้เกิดการอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน ความอุดมสมบูรณ์ หรือปริมาณธาตุอาหารพืชลดลงและอยู่ในสภาวะไม่สมดุล กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เกิดขึ้นยาก ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบให้ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสาเหตุดังนี้
1. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น
- การเพาะปลูกพืชแบบซ้ำซาก การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่บำรุงดิน จะทำให้ธาตุอาหารตามระดับความลึกของรากพืช ถูกนำไปใช้มากจนดินเสื่อมความสมบูรณ์
- การปลูกพืชทำลายดิน พืชบางชนิดเติบโตเร็ว ใช้ธาตุอาหารพืชจำนวนมากเพื่อสร้างผลผลิต ทำให้ดินสูญเสียความสมบูรณ์ได้ง่าย เช่น ยูคาลิปตัส และมันสำปะหลัง
- ธาตุอาหารพืชถูกทำลาย หรืออยู่ในสภาพที่พืชใช้ประโยชน์น้อย เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่า ฮิวมัสจะถูกความร้อนทำลายได้ง่าย เกิดการพังทลายของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรมรุนแรงที่สุด และเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะต้องแก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพของดินให้เหมาะสม และให้ใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานานๆ
- การชะล้างพังทลายของดินเกิดจากการตกกระทบของฝนการกัดเซาะของน้ำไหลบ่า การกัดเซาะของคลื่น การพัดพาของลม ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ เช่นการตัดไม้ทำลายป่าการเพาะปลูกไม่ถูกวิธี การปรับดินเพื่อปรับระดับดิน เป็นต้น
2. ดินทรายจัด
หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนเกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 50 เซนติเมตร เนื้อดินประกอบด้วยเม็ดทรายล้วนๆ มีขนาดค่อนข้างหยาบ มีความโปร่งตัวน้ำไหลซึมผ่านลงไปในดินล่างได้สะดวก ไม่สามารถอุ้มน้ำหรือเก็บความชื้นไว้ในดินได้ ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปได้ง่าย จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะต่อการปลูกพืช แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีฝนตกชุกสามารถปลูกพืชที่มีความทนทานได้ เช่น มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง และหญ้าเลี้ยงสัตว์
3. ดินตื้น
หมายถึงดินที่มีลูกรัง ศิลาแลง ก้อนกรวดหรือเศษหินเป็นจำนวนมากอยู่ในดินตื้นกว่า 50 เซนติเมตร หรือเป็นชั้นของหินแข็ง ที่กีดขวางการชอนไชของรากพืช ทำให้ปริมาณของเนื้อดินน้อยลง จนขาดแหล่งกักเก็บความชื้นและธาตุอาหารสำหรับพืช เป็นอุปสรรคไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ดินตื้นพบมากกว่าดินชนิดอื่น คือ มีรวมกันทุกภาคกว่า 50 ล้านไร่ ควรใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่า
4. ดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
ในบางพื้นที่สมบัติของดินมีการเปลี่ยนแปลงเช่น ดินกรด หรือดินเปรี้ยวจัด ดินเค็มหรือเกิดจากหินเกลือที่อยู่ใต้ดิน หรือดินที่มีน้ำทะเลท่วมขัง ดินเหล่านี้มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ดังนี้
4.1 ดินเค็ม เป็นดินที่น้ำทะเลท่วมถึงหรือเป็นดินที่มีหินเกลืออยู่ใต้ดินทำให้ปริมาณเกลือละลายในดินมากเกินไปจนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไปนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย ดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจาย ตามลักษณะสภาพพื้นที่ และตามลักษณะภูมิประเทศด้วย ดังนี้ ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือแหล่งเกลือมาจากหินเกลือใต้ดิน น้ำใต้ดินเค็มหรือหินทราย หินดินดานที่อมเกลืออยู่
ลักษณะอีกประการหนึ่ง คือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ำเสมอในพื้นที่เดียวกันและความเค็มจะแตกต่างกันระหว่างชั้นความลึกของดิน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้ คือ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่ได้ทำการเกษตร หรือมีวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามแดง หนามปี เป็นต้น ดินเค็มภาคกลางแหล่งเกลือเกิดจากตะกอนน้ำกร่อย หรือน้ำเค็มที่ทับถมมานานหรือเกิดจากน้ำใต้ดินเค็มทั้งที่อยู่ลึกและอยู่ตื้น เมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วเคลื่อนที่ไปสู่ดินไม่เค็มที่อยู่ต่ำกว่าทำให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่านั้นกลายเป็นดินเค็มทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศแต่ละแห่ง
สาเหตุการเกิดการแพร่กระจายออกมามากส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์โดยการสูบน้ำไปใช้มากเกินไป ทำให้เกิดการทะลักของน้ำเค็มเข้าไปแทนที่
การชลประทาน การทำคลองชลประทาน รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในไร่นาบนพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอนน้ำเค็ม หรือจากการขุดหน้าดินไปขายทำให้ตะกอนน้ำเค็มที่อยู่ลึกนั้น กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเกลือได้
ดินเค็มชายทะเล สาเหตุการเกิดดินเค็มชายทะเลเนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง องค์ประกอบของเกลือในดินเค็มเกิดจากการรวมตัวของธาตุที่มีประจุบวกพวกโซเดียม. แมกนีเซียม. แคลเซียม. รวมกับธาตุที่ประจุลบ เช่น คลอไรด์. ซัลเฟต. ไบคาร์บอเนต. และคาร์บอเนต.
ดินเค็มที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในรูปของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ( NaCl) คล้ายคลึงกับดินเค็มชายทะเล แต่ดินเค็มชายทะเลมีแมกนีเชียม.อยู่ในรูปคลอไรด์. และซัลเฟต.มากกว่า
ส่วนชนิดของเกลือในดินเค็มภาคกลางมีหลายรูป มีหลายแห่งที่ไม่ใช่เกลือโซเดียมคลอไรด์ แต่มักจะพบอยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนตของแมกนีเซียม. แคลเซียม. และโซเดียม.
สาเหตุการแพร่กระจายดินเค็มเกิดขึ้นจากการที่เกลือละลายน้ำได้ดีน้ำจึงเป็นตัวการหรือพาหนะในการพาเกลือไปสะสมในที่ต่าง ๆ ที่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการแพร่กระจายดินเค็ม สาเหตุจากธรรมชาติหินหรือแร่ที่อมเกลืออยู่เมื่อสลายตัวหรือผุพังไป โดยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพ ก็จะปลดปล่อยเกลือต่างๆ ออกมา เกลือเหล่านี้อาจสะสมอยู่กับที่หรือเคลื่อนตัวไปกับน้ำแล้วซึมลงสู่ชั้นล่างหรือซึมกลับมาบนผิวดินได้โดยการระเหยของน้ำ ไปโดยแสงแดดหรือถูกพืชนำไปใช้ น้ำใต้ดินเค็มที่อยู่ระดับใกล้ผิวดินเมื่อน้ำนี้ซึมขึ้นบนดิน ก็จะนำเกลือขึ้นมาด้วยภายหลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วก็จะทำให้มีเกลือเหลือสะสมอยู่บนผิวดินและที่ลุ่มที่เป็นแหล่งรวมของน้ำ
น้ำเหล่านี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่เพียงเล็กน้อยก็ได้ นานๆเข้าก็เกิดการสะสมของเกลือโดยการระเหยของน้ำ พื้นที่แห่งนั้นอาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลสาบเก่าก็ได้
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์การทำนาเกลือ ทั้งวิธีการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีการขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่อยู่ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลายเป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็ม
การสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ดินเค็มหรือมีน้ำใต้ดินเค็ม ทำให้เกิดการยกระดับของน้ำใต้ดินขึ้นมาทำให้พื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นพื้นที่ดินเค็มได้
การชลประทานที่ขาดการวางแผนในเรื่องผลกระทบของดินเค็มมักก่อให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานนั้นๆ
การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพการรับน้ำของพื้นที่ไมjประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากสภาพทางอุทกธรณีของน้ำเปลี่ยนแปลงไป แทนที่พืชจะใช้ประโยชน์กลับไหลลงไปในระบบส่งน้ำใต้ดินทำให้เกิดปัญหาดินเค็ม
4.2 ดินเป็นกรดจัดหรือดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวเป็นดินที่มีความเป็นกรดมาก มีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 มีพื้นที่ประมาณ 9 ล้านไร่ เป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเแถบกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม 6 ล้านไร่ ที่เหลือพบในภาคตะวันออกและภาคใต้ มักมีสารประกอบของไพไรต์ ( pyrite) ผสมอยู่มาก เมื่อระบายน้ำ หรือทำให้ดินแห้ง และอากาศถ่ายเทดี ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดกำมะถันสะสมในชั้นหน้าตัดของดิน ดินที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง เช่น ขาดธาตุฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และยังขาดธาตุอาหารบางชนิดเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลร้ายหรือเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ธาตุเหล็ก อะลูมิเนียม เป็นต้น
5. ดินอินทรีย์ หรือดินพรุ
หมายถึงดินที่เกิดจากการสลายตัว เน่าเปื่อยผุพังทับถมกันเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตรนับพันปีของพืชพรรณต่างๆ ตามที่ลุ่มมีน้ำขัง ซากพืชที่เกิดจากการทับถมนี้จะมีสีน้ำตาลแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลคล้ำจนถึงดำ มีอินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวมีสภาพเป็นกรดจัด สำหรับคำว่า พรุ จะหมายถึงบริเวณที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดปี มีพืชพรรณขึ้นอยู่และตายทับถมกันเป็นเวลานานหลายพันปี เกิดเป็นชั้นดินที่มีอินทรีย์วัตถุล้วนๆ ความหนาของชั้นดินไม่แน่นอน แต่ใจกลางพรุจะหนามากที่สุด
6. ดินที่ลาดชันมาก
จะชันมากกว่าร้อยละ 35 มีประมาณ 100 ล้านไร่ มักเป็นภูเขาซึ่งไม่เหมาะต่อการทำการเกษตร (ปกติพื้นที่ที่ลาดชันเกินร้อยละ 15 จะไม่ใช้ปลูกพืชเพราะดินจะพังได้ง่าย และไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน)
7. มลพิษในดิน
หมายถึงมลภาวะที่ดินได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าอัตราการสลายตัวหรือการเสื่อมฤทธิ์ของสารนั้น จนทำให้เกิดการสะสมของสารพิษ หรือเชื้อโรคต่างๆ จากการทิ้งของเสีย ขยะที่มีสารพิษ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือเพิ่มผลผลิต และสารกัมมันตรังสีจากการทดลอง หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์นี้ ในประเทศไทยมีดินที่ต้องการดูแล ป้องกันและรักษาไว้มีจำนวนมากถึง 134.54 ล้านไร่ หรือเท่ากับ 41.95% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ
http://www.krumonbs.ob.tc/html/053.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 5:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
6. การจัดการ การแก้ปัญหามลพิษทางดิน และปัญหาเสื่อมโทรมของดิน
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางดิน การพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพัทลายหรือเสื่อมโทรม และครอบคลุมไปถึงการบำรุงรักษาและฟื้นฟูดิน ซึ่งมีวิธีการจัดการทรัพยากรดินดังนี้
1. ใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินเพื่อควบคุมการใช้ที่ดินให้เหมาะสม
2. ใช้มาตรการทางเทคโนโลยีป้องกัน แก้ไขปัญหามลพิษทางดินโดยการควบคุมการกำจัดของเสียและแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ตลอดจนควบคุมการใช้สารเคมีให้เหมาะสม และควรต้องมีการสำรวจ ตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพดินโดยสม่ำเสมอ
3. ใช้มาตรการทางการศึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางดิน สามารถทำได้ดังนี้
3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นการจัดการและแก้ปัญหามลพิษทางดินและการเสื่อมโทรมของดิน
3.2 การป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ทำได้โดยการปลูกต้นไม้และสงวนรักษาป่าเพื่อให้มีสิ่งปกคลุมดินชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำและกระแสลมที่มาปะทะผิวดิน ซึ่งมีแนวทางในการจัดการ ดังนี้
3.2.1 การปลูกพืชแบบขั้นบันได ทำได้โดยการสร้างคันดินให้เกิดร่องน้ำ ปรับพื้นที่ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นบันได เพื่อใช้ปลูกพืช ซึ่งจะช่วยลดความลาดชันของพื้นที่ เพื่อช่วยลดอัตราความเร็ว และลดปริมาณการไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ซึ่งจะป้องกันและลดปริมาณการชะล้างหน้าดินให้เกิดการพังทลายของดินลดลงไป ช่วยให้พืชนำแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และเป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า ถึงแม้จะเป็นเชิงเขาก็สามารถปรับพื้นที่ให้มีลักษณะที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้
3.2.2 การปลูกพืชตามแนวระดับ ทำได้โดยการไถพรวนดินแล้วหว่านพืชปลูก ตลอดจนถึงขั้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ มักทำในพื้นที่ที่มีความลาดชันร้อย 3-8 การปลูกพืชตามแนวระดับจะช่วยลดอัตราการไหลของน้ำ เป็นการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
3.2.3 การปลูกพืชคลุมดิน เช่น หญ้าแฝก และพืชช่วยปรับปรุงดิน เช่นพืชตระกูลถั่วช่วยเพิ่มธาตุอาหาร และเพิ่มความชื้นในดิน พืชคลุมดินจะช่วยยึดหน้าดิน ชะลอความเร็วของเม็ดฝนที่กระทบดิน ช่วยป้องกันการพังทลายของดินได้ เป็นต้น
3.2.4 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้ตระหนักในความน่ากลัวของการชะล้างพังทลายของดินแก่ทุกคนในทุกระดับ เพื่อให้ลดการกระทำที่เร่งให้ดินถูกชะล้างพังทลาย เช่น การถางหญ้าจนไม่มีคลุมดิน หรือการเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งจะทำให้ไร้สิ่งปกคลุมดิน เมื่อฝนตกดินจะถูกชะล้างและพังทลาย
3.2.5 เร่งผลิตพันธุ์พืชคลุมดิน บำรุงดิน และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกร รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงปัญหา และรู้จักหาวิธีการป้องกัน แก้ไข และดูแลรักษาพื้นที่ของตนเอง
3.2.6 ใช้วิธีการไถพรวนดินที่ถูกต้อง เพื่อรักษาสภาพดินให้ดีอยู่เสมอ
3.3 การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นการปลูกพืชมากกว่า 2 ชนิดลงบนพื้นที่เดียวกัน ในช่วงเวลาต่างกันไป สลับกันไป เพราะการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำซากบนที่ดินเดิมจะทำให้เกิดดินจืด และปริมาณธาตุอาหารในดินลดลง เป็นการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน และยังเอื้อต่อการระบาดของโรค และศัตรูพืชอีกด้วย แต่การปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่แปลงเดียวจะช่วยลดปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและลดแมลงศัตรูพืชด้วย เช่นหลังการเก็บเกี่ยวพืชผลชนิดหนึ่งแล้ว ควรสลับด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วซึ่งเป็นพืชอายุสั้น เนื่องจากรากถั่วมีแบคทีเรียพวกไรโซเบียม ซึ่งสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนได้ จึงเป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินด้วย นอกจากนี้การทำปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์เหล่านี้ช่วยให้ดินมีความชื้นสูง สามารถอุ้มน้ำได้ดี มีช่องว่างให้อากาศแทรกระหว่างอนุภาคดินทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยังช่วยลดการสูญเสียหน้าดินได้อีกทางหนึ่งด้วย
3.4 การปรับปรุงสมบัติของดิน มีวิธีปรับปรุงได้ 2 ลักษณะ
3.4.1 การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เพื่อให้ดินร่วนซุย ดูดซับน้ำได้ดีขึ้น มีการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ยึดเกาะกันดีขึ้น เกิดช่องว่างในดิน ลดความแน่นทึบของดิน โดยการใช้อินทรีย์วัตถุ หรือการไถพรวนดิน
3.4.2 การปรับปรุงสมบัติทางเคมี เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกลาง มีธาตุอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น โดยใส่สารประกอบเบสหรือปูนในดินกรด เช่นปูนขาว หินปูนบด เปลือกหอยป่น หรือปูนมาร์ล เป็นต้น อาจใส่ควบคู่กับอินทรีย์วัตถุ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารพืชไว้ในดิน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังตัวอย่างนี้
1. การแก้ปัญหาดินเค็ม มีวิธีดังนี้
(1) วิธีทางวิศวกรรม
วิธีทางวิศวกรรม จะต้องมีการออกแบบพิจารณาเพื่อลดหรือตัดกระแสการไหลของน้ำใต้ดินให้อยู่ในสมดุลของธรรมชาติมากที่สุด ไม่ให้เพิ่มระดับน้ำใต้ดินเค็มในที่ลุ่ม
(2) วิธีทางชีวิทยา
โดยใช้วิธีการทางพืชเช่นการปลูกป่าเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม มีการกำหนดพื้นที่รับน้ำที่จะปลูกป่า ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วมีรากลึก ใช้น้ำมากบนพื้นที่รับน้ำที่กำหนด เพื่อทำให้เกิดสมดุลการใช้น้ำและน้ำใต้ดินในพื้นที่ สามารถแก้ไขลดความเค็มของดินในที่ลุ่มที่เป็นพื้นที่ให้น้ำได้
(3) วิธีผสมผสาน
การแก้ไขลดระดับความเค็มของดินลงให้สามารถปลูกพืชได้ โดยการใช้น้ำชะล้างเกลือจากดินและการปรับปรุงดิน ดินที่มีเกลืออยู่สามารถกำจัดออกไปได้โดยการชะล้างด้วยน้ำ การใช้น้ำสำหรับล้างดินมีทั้งแบบต่อเนื่องและแบบขังน้ำเป็นช่วงเวลา แบบต่อเนื่องใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มได้รวดเร็วกว่าแต่ต้องใช้ปริมาณน้ำมาก ส่วนแบบขังน้ำใช้เวลาในการแก้ไขดินเค็มช้ากว่า แต่ประหยัดน้ำหรือใช้สารประกอบยิปซัม เข้าช่วยปรับปรุงพื้นฟูและต้องพยายามให้ดินชื้นอยู่เสมอ เพื่อมิให้น้ำใต้ดินถูกดึงขึ้นมาที่ผิวหน้าดิน เพราะจะทำให้เกลือถูกดึงขึ้นมาตามผิวดินด้วย การใช้พื้นที่ดินเค็มให้เกิดประโยชน์ตามสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า โดยการคลุมดินหรือมีการเพิ่มผลผลิตพืชโดยเปลี่ยนพืชเป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม เช่นพืชทนเค็ม พืชชอบเกลือ อาทิเช่น หน่อไม้ฝรั่ง กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้นการมีพืชคลุมดิน
จะลดระดับน้ำใต้ดินที่ซึ่งมีความเค็มไม่ให้ซึมขึ้นมาถึงผิวดิน และยังเก็บความชุ่มชื้นของน้ำจืดไว้ที่หน้าดิน
2. การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว มีวิธีดังนี้
(1) การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรดทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการระบายน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่กระทำเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์มากเมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอะลูมิเนียมที่เป็นพิษจะเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
(2) การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน มีวิธีการดังขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (marl) หรือปูนฝุ่น ( lime dust) หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปรหรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
(3) การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน
3.5 รักษาสิ่งมีชีวิตในดิน คือ จุลินทรีย์ พืช สัตว์ เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยให้ดินคงสภาพเป็นดินดี ส่วนน้ำ อากาศ และขุยอินทรีย์ มีส่วนเสริมสร้างคุณภาพของดิน
4 . การเลือกใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เหมาะสมกับลักษณะของดิน ทำให้สามารถนำดินมาใช้ให้ตรงกับศักยภาพของดินและสามารถวางแผนการจัดการทรัพยากรดินได้อย่างเหมาะสมและ ยั่งยืน เช่น พื้นที่ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกก็ไม่ควรจะนำไปใช้ในด้านอื่น อาทิเช่น ทำสนามกอล์ฟ สร้างโรงงานอุตสาหกรรม หรือสร้างที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า เป็นต้น
5. ลดขยะและจัดการกับขยะในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากขยะทำให้เกิดความเสียหายต่อดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ซึ่งมีแนวทางดังนี้
5.1 การลดปริมาณขยะมูลฝอย สิ่งของชนิดต่างๆ ที่ถูกทิ้งเป็นขยะนั้นบางชนิดนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการแปรรูป และนำกลับมาใช้เป็นประโยชน์ต่อไปได้ เช่น กระดาษ พลาสติก เศษเหล็กทุกชนิด การนำไปใช้ใหม่และใช้ซ้ำ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิต เช่น นำขวดกาแฟที่หมดแล้วมาใส่น้ำตาลการนำเศษอาหารและเศษพืชผักใช้เลี้ยงสัตว์ หรือลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่น โฟม ถุงพลาสติก
5.2 การนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปหมักเป็นปุ๋ยสำหรับใช้บำรุงดินเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่ต้องใช้พวกขยะสด เช่น เศษพืช ซากสัตว์ ใบไม้ มูลสัตว์ และอุจจาระ เป็นต้น
5.3 การกำจัดขยะ ไม่ควรนำขยะไปกองหรือทิ้งในที่สาธารณะ เช่น ถนน สนามหญ้า แต่ควรนำมากำจัดให้ถูกวิธี อาจจะมีการกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะ การขุดและกลบ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันหรือสัตว์มาคุ้ยเขี่ย ในการขุดและกลบควรเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมไม่ใกล้แหล่งน้ำ อยู่ห่างจากชุมชน และไม่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยการนำขยะไปฝังหรือถมในที่ลุ่มนำดินกลบและบดทับให้แน่น การลดขยะและจัดการขยะอย่างถูกวิธีจะช่วยลดมลพิษทางดินได้
6. การส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรดินและช่วยอันอนุรักษ์ทรัพยากรดิน โดยการรณรงค์ให้ช่วยกันการปลูกป่า เพราะป่าช่วยในการอนุรักษ์ดิน เนื่องจากขณะที่ฝนตกน้ำฝนบางส่วนจะถูกต้นไม้ในป่าดูดซับไว้ แล้วค่อยๆ ปลดปล่อยให้ไหลลงสู่ผิวดิน อีกส่วนหนึ่งจะซึมลงสู่ดินชั้นล่าง สามารถลดการพังทลายของดินได้ ลดการกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมฉับพลันและสามารถลดความรุนแรงของการเกิดภาวะน้ำท่วม เนื่องจากต้นไม้ช่วยชะลอการไหลของน้ำบนผิวหน้าดิน และการมีป่าไม้ปกคลุมดินจะช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ ดี
http://www.krumonbs.ob.tc/html/053.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 4:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
5. แนวทางการปรับปรุงดินหลังน้ำลด
สาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในช่วงนี้ แม้จะเป็นช่วงหน้าหนาวแล้วก็ตาม แต่ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคใต้กลับมี ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ซึ่งลักษณะอย่างนี้ส่งผลกระทบต่อเรือกสวนไร่นาของ พี่น้องเกษตรกรอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงทีเดียว
เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และเมื่อน้ำลดลงแล้ว ผลกระทบที่จะตามมา คือ ดินจะเกิดช่องว่างหรือเป็นรูพรุนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และดินจะอิ่มตัวด้วยน้ำจนอ่อนตัว ทำให้โครงสร้างของดินง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ดังนั้นในการจัดการดินหรือการเตรียมดินหลังน้ำลดเพื่อให้เหมาะสมต่อการทำเพาะปลูกพืชต่อไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้
ประการแรก
ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรกลหนักในการเตรียมดิน เพราะเครื่องจักรจะทำให้ดินยุบตัวและส่งผลให้ดินแน่นทึบ เกิดการไหลซึมและการระบายน้ำได้ไม่ดี อาจทำให้น้ำท่วมขังและไหลบ่าไปตามหน้าดินมากขึ้น และดินจะขาดการถ่ายเทอากาศ อันจะเป็นปัจจัยที่จำกัดการเจริญเติบโตของรากพืช ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคในการใช้ที่ดินในการเกษตรทั้งสิ้น ดังนั้นเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเตรียมดินด้วยเครื่องจักรกลหนัก
ประการที่สอง
ควรปลูกพืชโดยไถพรวนดินให้น้อยที่สุด เพื่อลดการรบกวนดินหรืออาจปลูกพืชโดยไม่มีการไถพรวนดินเลย
ประการที่สาม
หากจำเป็นต้องไถพรวนควรใช้เครื่องมือเบาหรือเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องรอให้หน้าดินเริ่มแห้งเสียก่อน หรือมีความชื้นพอเหมาะสำหรับการไถพรวนหรือขณะที่วัชพืชกำลังเริ่มงอก ทั้งนี้เพื่อทำลายหรือกำจัดวัชพืชก่อนปลูกพืชหลัก นอกจากนี้อาจหว่านเมล็ดพืชหลักแล้วไถกลบรวมทั้งช่วยกำจัดวัชพืชที่เพิ่งเริ่มงอกไปพร้อม ๆ กันในครั้งเดียวก็ได้
ประการที่สี่
เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำที่มีอยู่ในดินหลังน้ำลดให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด โดยการหว่านหรือหยอดเมล็ดพืชโดยไม่ต้องไถพรวน หรือเปิดร่องฝังเมล็ดพืชแล้วกลบเท่านั้น
ประการที่ห้า
หากเป็นไปได้พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง ควรมีการพักดินสักระยะ ทั้งนี้การพักดินถือเป็นการปรับปรุงบำรุงดินวิธีหนึ่ง โดยปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างไว้ให้หญ้าและวัชพืชเจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ เช่น ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ซีรูเลียม เซ็นโตรซีมา เป็นต้น
วิธีการที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนี้ นอกจากจะเหมาะกับการฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลดแล้ว ยังเหมาะสำหรับการเตรียมการไว้ก่อนน้ำท่วมอีกด้วย คือ ในบริเวณที่แน่ใจว่าจะมีน้ำท่วมขังในปลายฤดูฝนก็อาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ก่อนหรือปลูกพืชไร่อายุสั้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจะมีน้ำท่วมขัง โดยปลูกให้มีระยะถี่กว่าปกติ และวางแถวพืชขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือขวางทิศทางการไหลของน้ำ และเมื่อเก็บผลผลิตพืชไร่แล้วให้ทิ้งตอซังไว้ในพื้นที่โดยไม่ต้องไถกลบ ทั้งนี้ตอซังที่ไถกลบไปนั้นจะช่วยลด ความรุนแรงของกระแสน้ำ และช่วยยึดหน้าดินไม่ให้น้ำพัดพาออกไปจากพื้นที่
ประการที่หก
ในบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังในบางจุด เกษตรกรต้องเร่งทำการระบายน้ำหลังน้ำลด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น การระบายน้ำออกจากพื้นที่เร็วที่สุดจะเติมอากาศหรือออกซิเจนให้กับดิน ซึ่งจะเร่งการฟื้นตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน้ำและปุ๋ยของรากให้ดีขึ้นโดยเร็วด้วย สำหรับการขุดร่องระบายน้ำนั้น กรมวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรขุดให้ลึกเท่ากับความลึกที่ต้องการระบายน้ำออก ในทางปฏิบัติควรขุดร่องให้ลึกอย่างน้อย 30-50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับความลึกที่เป็นอยู่ของรากพืชส่วนใหญ่ น้ำจะระบายออกจากพื้นที่ในระดับความลึกไม่เกินความลึกของร่องระบายน้ำ ดังนั้นการขุดร่องน่าจะต้องขุดตามแนวลาดเทของพื้นที่ โดยใช้ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 8-12 เมตร หรือกึ่งกลางระหว่างแถวพืชยืนต้น
การจัดการดินประการสุดท้าย คือ ในสภาพน้ำป่าหลากมาท่วมพื้นที่ซึ่งมีดินทรายถูกซัดพามาทับถมอยู่บนผิวดินเดิมค่อนข้างมาก ภายหลังน้ำลดแล้วให้เกษตรกรขุดลอกดินทรายดังกล่าวออกจากพื้นที่จนถึงผิวดินเดิมหรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยเร่งขบวนการเติมอากาศของดินได้เร็วและดีขึ้นด้วย
นอกจากการจัดการดินแล้ว ภายหลังน้ำลดเกษตรกรควรให้ปุ๋ยทางใบกับไม้ผลไม้ยืนต้น เพื่อให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะรากพืชไม่สามารถทำหน้าที่ในการดูดปุ๋ยและแร่ธาตุต่างๆ ในขณะนั้นได้เต็มที่ จึงขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีประเภทเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 หรือปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 ในระยะนี้ด้วย
หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการดินหลังน้ำลด ขอข้มูลเพิ่มเติมได้ที่ กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2579-6511
เรียบเรียงโดย ปัณจรีย์ ช่างพูด นักวิชาการเผยแพร่ 5
กองเกษตรสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new130.htm |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 1:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
4. ฟื้นฟูต้นไม้หลังน้ำท่วม
ชนา ชลาศัย
ช่วงนี้หลายพื้นที่น้ำท่วม คนรักต้นไม้อาจจะกังวลกับต้นไม้แสนรัก ที่ยืนแช่น้ำ คอลัมน์ 'เกร็ดสวน' นิตยสาร "บ้านและสวน" ฉบับ ส.ค. แนะวิธีฟื้นฟูต้นไม้หลัง น้ำท่วม ดังนี้....
1. หลังน้ำลดในระยะแรกไม่ควรเข้าไปใกล้ต้นไม้ เนื่องจากดินยังอ่อนตัวอยู่ น้ำหนักตัวเราจะไปกดดินทำให้รากขาด หรือดินเกิดการอัดแน่นจนกระทบต่อรากได้ ทางที่ดีควรรอให้ดินแห้งสนิทแล้วจึงสำรวจความเสียหาย จากนั้นพรวนดิน เพิ่มออกซิเจนให้รากพืช ทำให้รากแตกใหม่ได้ดีขึ้น
2. ระยะแรกหลังน้ำลด หากพืชมีอาการที่เกิดจากภาวะขาดน้ำ เช่น ใบเหลือง เหี่ยวเฉา ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดการคายน้ำ หากกำลังติดผลให้ปลิดผลออกและฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระยะนี้รากของพืช ยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารจากดินได้ตามปกติ
3. ในช่วงแรกไม่ควรให้น้ำ ปุ๋ย หรือสารเคมี เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวแล้วจึงให้น้ำแต่น้อย เสริมปุ๋ย และฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของรากและกระตุ้นให้แตกใบใหม่ กรณีที่รากและโคนเน่าจากเชื้อรา ให้ใช้สารป้องกันราราดโคนต้นหรือทาผิวลำต้น
4. ลอกหญ้าและพืชคลุมดินที่ตายออก ส่วนต้นที่พอจะรอดให้รีบตัดส่วนที่เน่าทิ้งและนำไปพักฟื้น หากพื้นที่นั้นโดนน้ำท่วมบ่อยอาจปรับเปลี่ยนชนิดต้นไม้ โดยเลือกปลูกพืชที่ทนน้ำท่วมขังได้ดี ไม้พุ่มและไม้คลุมดิน ได้แก่ เฮลิโคเนีย, กระดุมทองเลื้อย, บอนกระดาด, พลับพลึง, พุทธรักษา, เตยหอม, เตยทะเล, โคลงเคลง ฯลฯ ไม้ยืนต้น ได้แก่ จิกทะเล, กระถินณรงค์, ไทรย้อยใบแหลม, ตาล เป็นต้น
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hOakE0TURnMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHdPQzB3T0E9PQ== |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/10/2011 1:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
3. วิธีฟื้นฟูไม้ผล และปลูกไม้ผลหลังน้ำท่วม
เมื่อประมาณกลางเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้มีฝนตกหนักทำให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงในหลายพื้นที่ เริ่มต้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่ จ.นครราชสีมา เป็นจังหวัดแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อมาได้ขยายพื้นที่ไปในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมถึงภาคใต้ ทำให้ที่อยู่อาศัยรวมทั้งทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
ถึงแม้ว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในบางจังหวัดของประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่เชื่อว่าชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ยังต้องใช้เวลาเพื่อฟื้นฟูสภาพบ้านเรีอนที่ได้รับความเสียหายรวมทั้งสภาพจิตรใจด้วยเช่นเดียวกัน
ที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุการณ์มีหลายหน่วยงานร่วมกันให้ความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ฯลฯ รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่ช่วยกันบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อบรรเทาความทุกข์ให้กับผู้ประสบภัย นั่นแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนคนไทย ในยามที่บ้านเมืองเราเกิดเหตุการณ์ที่ต้องการความร่วมมือ พวกเราประชาชนคนไทยก็แสดงให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ ทำให้เหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นผ่านไปได้ด้วยดี
การเกิดอุทกภัยในครั้งนี้นอกจากที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินของประชาชนจะได้รับความเสียหายแล้ว ยังทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งพื้นที่ปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ ยางพารา ฯลฯ
ผลิใบฯ ฉบับนี้จึงมีคำแนะนำในการฟื้นฟูไม้ผลและการปลูกไม้ผลหลังประสบอุทกภัยเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในพื้นที่ที่กำลังได้รับความเสียหายได้อย่างถูกต้อง
การฟื้นฟูไม้ผล หลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรจะต้องมีการบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่และให้แตกใบอ่อนโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย
ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ คือ
1. หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้
2. ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้ไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด
3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะพาเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นหลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำการขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกบ้าง เพื่อช่วยต้นพืชอีกทางหนึ่ง
4. เพื่อช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21- 21 และ 16-21-27 ละลายน้ำพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของ น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม (6 ขีด) ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี (2.5 ช้อนแกง) ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 จำนวน 20 กรัม (1.5 ช้อนแกง) โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น ควรพ่นสัก 2 - 3 ครั้ง
5. ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ภายหลังน้ำท่วม มักจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องรากเน่าและโคนเน่า เพราะรากต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลา นานๆ ทำให้ขาดออกซิเจน (อากาศ) ดังนั้นเมื่อดินแห้งแล้วควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น
6. ในพืชที่ที่มีปัญหาของโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอทิล-อลูมินั่ม (อาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.)
สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่น ๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือสเคลอโรเที่ยม (Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี หรือ เทอร์ราคลอร์ นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย
การปลูกพืชหลังประสบอุทกภัย
ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว และต้องการจะปลูกพืช อาจทำได้ 2 วิธีคือ ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา และกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน และปลูกแบบ ไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่
การเลือกปลูกไม้ผล ควรพิจารณาความต้องการของตลาดด้วย และควรปลูกไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ควบคู่กับไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานแต่มีศักยภาพทางการตลาดสูง เป็นการวางแผนในระยะยาว
ก่อนปลูกพืช หากดินแห้งพอที่จะไถได้ ควรไถดินตากแดดสัก 2-3 วันก่อน (ควรเลือกใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา) หากไถไม่ได้ ก็ใช้วิธีขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดพอเหมาะตามชนิดของพืช แล้วผสมปุ๋ยคอก และปูนขาวเล็กน้อยรองก้นหลุมเพื่อปรับปรุงดิน หากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องโรครากเน่าและโคนเน่าควรราดหรือโรยก้นหลุมด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในดิน เช่น เมตาแลคซิล ฟอสเอทิล- อลูมินั่ม หรือ พีซีเอ็นบี เทอร์ราคลอร์ แล้วแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุ หรือจะใช้วิธีจุ่มรากของกล้าพืชในสารเคมีดังกล่าวก่อนจะปลูกก็ได้
หลังปลูกพืช ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอกเป็นระยะๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชมีการปฏิบัติดูแลรักษาต้นพืช และการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ตามคำแนะนำสำหรับพืชแต่ละชนิด
หากเกษตรกรต้องการทราบคำแนะนำว่าในพื้นที่ของตนเองมีไม้ผลชนิดใดที่เหมาะกับพื้นที่ กรมวิชาการเกษตรพร้อมสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้อย่างเต็มที่ โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 - 2579-0583 หรือ 0-2940-5484 ได้ในวัน เวลา ราชการ
(ขอบคุณ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร : ข้อมูล)
http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp?ArticleID=594 |
|
|