ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ott_club |
ตอบ: 09/04/2010 9:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
|
|
kimzagass |
ตอบ: 09/04/2010 9:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
ก็คือ "ถึงญี่ปุ่น เลยเกาหลี ผ่านลาว ไปเวียดนาม เขมรไม่ได้แวะ (ว่ะ)" ไงล่ะ
ถอดเขี้ยวถอดเล็บแล้ว เหลือแต่งา
ลุงคิมครับผม |
|
|
ott_club |
ตอบ: 09/04/2010 9:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
ลุงคิมเคยไปกินไปนอนในเกาหลี. ญี่ปุ่น. ขนาด "ถึงเกาหลีเลยญี่ปุ่น" มาแล้ว จนรู้จักคน 2 ชาตินี้ดีว่ามีรสนิยมการกินผลไม้อย่างไร .......
"ถึงเกาหลีเลยญี่ปุ่น" คืออะไรครับ ไม่เข้าใจ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 09/04/2010 4:43 pm ชื่อกระทู้: Re: มะม่วงส่งออกญี่ปุ่น |
|
....... แต่ต้องฉายรังสีก่อนส่ง ปรากฏว่า ถาดที่ใส่มะม่วงมีขนาดเล็ก ไม่สามารถใส่ขาวนิยมได้ ก็เป็นอันจบไป
....... เราก็งง ถามว่า หวานไปไหม ? คนญี่ปุ่นไม่กินผลไม้หวานมากไม่ใช่เหรอ ? เขาบอกไม่ใช่ หวานซิดี ที่ไม่กินหวานเพราะไม่มีผลไม้หวานให้กินต่างหาก แล้วขนาดผลล่ะต้องการนำหนักเท่าไหร่ ขนาด 1 กิโลกรัมขึ้นไปยิ่งดี แบบนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่มีขาย รับรองขายดีแน่ๆ
******************************************************************************************************
ปุจฉา วิสัชนา :
ที่บอกว่าต้อง "ฉายรังสี" หมายถึง การใช้รังสี (ชื่อรังสีอะไรไม่รู้....ไม่ใช่ประเด็น) กำจัดแมลงวันทองที่อาจติดไปกับผลไม้ส่งออก งานนี้ดำเนินการโดย "สำนักงานปรมนูเพื่อสันติ" ถนนวิภาวดี..... คิดแบบชาวบ้านๆ ชื่อของหน่วยงานระดับนี้ก็น่าจะการันตีในเรื่องแนวความคิดของคน (ราชการ) ยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี แต่ตรงกันข้าม กับอีแค่ "ถาดใส่ผลไม้" เลื่อนเข้าไปอาบรังสีแค่นี้ยังทำๆ ไม่ได้ แล้วจะทำโรงงานไฟฟ้าพลังงานปรมณูได้ยังไง..... หา.....ประเทศไทย
ลุงคิมเคยไปกินไปนอนในเกาหลี. ญี่ปุ่น. ขนาด "ถึงเกาหลีเลยญี่ปุ่น" มาแล้ว จนรู้จักคน 2 ชาตินี้ดีว่ามีรสนิยมการกินผลไม้อย่างไร ....... วันนี้ อยู่ประเทศไทยก็ยังได้มีโอกาสสัมผัสกับคนเกาหลี ญี่ปุ่น แถมไต้หวัน จีน รวมไปถึงอเมริกัน (ซานฟรานซิลโก.....เพื่อนทหารสมัยรบเกาหลี) อีกหลายคน ยิ่งยืนยันได้ถึงรสนิยมการกินผลไม้ของพวกเขาเหล่านี้ดี
ที่สำคัญ พวกเขาเหล่านี้ คือ ....... ตลาดส่งออกผลไม้ไทย
คนไทย (ผู้ส่งเสริมการส่งออกผลไม้) นี่แหละที่เป็นคนพูดว่า "ต่างประเทศชอบกินผลไม้รสเปรี้ยว หรืออมเปรี้ยว ดูจากผลไม้ในบ้านเขาซี่ มีแต่รสเปรี้ยวทั้งนั้น" เน้นย้ำ.... นี่คือคำพูดคำ
บอกของคนไทยผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออก
ในความเป็นจริงแล้วทั้ง คนเกาหลี คนญี่ปุ่น เมื่อได้กินมะม่วงที่ส่งไปจากเมืองไทยโดยตรง แล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "หวาน....หอม....อร่อย" แล้วยังถามอีกว่า "มะม่วงไทยที่วางขายตามตลาดบ้านเขา ทำไมจึงไม่อร่อยอย่างนี้" จึงบอกเขาไปว่า "มะม่วงสายพันธุ์ที่ขายในตลาดบ้านคุณน่ะ คนไทยไม่กินหรอก"
เคยพาอเมริกันเพื่อนเก่ากับคณะอีกเกือบ 10 คน ตะลอนๆ ท่องเที่ยวไปตามสวนจันทบุรี 7 วัน 7 คืน อเมริกันชนกินแต่ผลไม้ ผลไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะ ทุเรียน. พี่แกเล่นกินต่างข้าวกันเลย บอกว่ามาครั้งเดียวกินให้คุ้ม กินให้หายอยากไปเลย 5 ปี 10 ปี ว่างั้น ก็ไม่ใช่แต่ทุเรียนอย่างเดียวที่กิน รวมทั้ง เงาะ มังคุด มะม่วง ก็ไม่เว้น พี่แกเล่นกิน กินและกิน เอาจริงๆ จังๆ.....ก็คนไทย (ผู้ส่งเสริมการส่งออก) อีกนั่นแหละที่เป็นคนบอกว่า "อเมริกันไม่ชอบกินผลไม้รสหวานจัด เขาชอบกินเปรี้ยว.....ดูอย่างส้มฟรีมองต์ ส้มฟลอริดา เป็นส้มหวานนิดๆ อมเปรี้ยวมากๆ ทั้งนั้น" แต่พออมริกันชนได้ชิมส้มบางมด ส้มโชกุน รวมทั้งส้มโอ ของไทยเท่านั้นแหละ บอกว่า "สุดยอด" แถมยังถามอีกว่า "ทำไมไม่ส่งออก ส่งไปขายที่อเมริกา รับรองขายดีแน่ๆ....." เซ่อกินเลยเรา
เกมส์นี้สรุปได้เลยว่า
1..... ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออก เป็นผู้กำหนดกติกาการส่งอออกเอง ไม่ใช่ประเทศนำเข้าเป็นผู้กำหนด
2..... ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออก ไม่เคยรู้ถึงรสนิยมที่แท้จริงในการกินของประเทศนำเข้า
3..... ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออก ขาด VISION ในการทำงาน
4..... ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมการส่งออก เสียผลประโยชน์จึงไม่ส่งเสริม หรือหลีกเลี่ยงการส่งเสริมโดยการอ้างกติกาที่กำหนดขึ้นเอง
ขอบคุณ "ต้นข้าว" ประธาน NW รุ่น 8
ลุงคิมครับผม
หมายเหตุ :
- มะม่วงขาวนิยม ลูกผสมระหว่าง น้ำดอกไม้กับเขียวเสวย
- สวนน้อยรักษา (089)695-5871 เจ้าของลิขสิทธิ์สายพันธุ์
- เจ้าของเคยส่งประกวดงานเกษตรแห่งชาติ ชนะเลิศที่ 1 ถึงที่ 4 ทุกครั้ง ตลอด 4 ปีติดต่อกัน
- สมาชิกลูกสวนส่งประกวดงานเกษตรระดับชาติ ชนะเลิศที่ 1 ถึงที่ 3 ทุกปี
|
|
|
tonkaow |
ตอบ: 09/04/2010 2:20 pm ชื่อกระทู้: มะม่วงส่งออกญี่ปุ่น |
|
ขออนุญาติเล่าประสบการณ์กับผู้ค้าญี่ปุ่นให้ฟังนะคะ ในฐานะคนปลูกมะม่วง แล้วก็มีความฝันที่อยากจะส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น
ในปี 2540 ได้รับการถ่ายทอดสวนมะม่วงขาวนิยมจากครอบครัวให้มาทำเต็มตัว การตลาดเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงค่อยๆ เสาะหาข้อมูลและตลาดทั้งในประเทศ ต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นประเทศในลำดับต้นๆ ที่สนใจ แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อเจอเงื่อนไขเรื่องการกำหนดสายพันธุ์นำเข้า ซึ่งอนุญาตให้นำเข้า ได้แก่ หนังกลางวัน. น้ำดอกไม้. แรด. และพิมเสน. ทำให้ต้องตัดตลาดญี่ปุ่นออกไป
ปี 2544 ก็มีผู้ค้าจากศรีลังกาที่ค้าขายกับประเทศไทยมาพอสมควร ได้พาผู้ค้าญี่ปุ่นมาถึงสวน ได้ชิมมะม่วงขาวนิยมทั้งสุกปากตะกร้อ และสุกบ่ม เขาพอใจในรสชาดมาก ได้สอบถามราคา ลูกใหญ่ขายที่ตลาด อตก. กิโลกรัมละ 250 บาท เขาให้กิโลกรัมละ 500 บาท แต่เราต้องเป็นคนดำเนินการเรื่องขอขอนุญาตสายพันธุ์นำเข้า
ตอนนั้นดีใจมากคิดว่าถ้าเราเข้าไปขออนุญาตจากกระทรวงเกษตรก็คงจะได้ แต่ก็ต้องผิดหวัง เมื่อได้คำตอบว่าเป็นเรื่องใหญ่ระหว่างประเทศ ต้องมีการหารือ ข้อสำคัญก็ยังปลูกไม่มากยังไม่ล้นตลาด เป็นอันว่าต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน
ปี 2545 ตัดสินใจลาออกจากราชการ ซึ่งได้แรงยุจากลุงคิมมานานแล้ว เมื่อลาออกก็ไปอบรมผู้ส่งออกกับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อหวังว่า น่าจะมีแนวทางที่สามารถเป็นไปได้ เมื่ออบรมก็ทำให้เราได้มุมมองมากขึ้น และก็เสียมุมมากขึ้นด้วย กล่าวคือ....
ในการอบรม เขาจะมีวิทยากรมาสอนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการส่งออกเป็นอย่างยิ่ง วิทยากรหลายๆ ท่านก็จะพูดถึงคุณภาพและขนาดของผลไม้ว่า นิสัยการบริโภคของลูกค้าเป็นอย่างไร มะม่วงเนี่ยต้องเป็นมะม่วงสุก ไม่หวานมากเกินไป ขนาดผลก็ต้องไม่ใหญ่เ ฉลี่ย 350 - 450 กรัม เพราะว่าเขากินคนเดียวไม่ได้ปอกใส่จานเหมือนบ้านเรากินในครอบครัว แย่แล้ว! ขาวนิยมเราอย่างเล็กสุดก็ 500 กรัมขึ้น ก็ส่งไม่ได้ล่ะซิ แถมหวานมากซะด้วย ก็เป็นอันว่าพักฝันไปอีกครั้ง
ปี 2549 บริษัทนำเข้าอเมริกา ติดต่อมะม่วงขาวนิยมอีกครั้ง ทุกอย่าง 0k แต่ต้องฉายรังสีก่อนส่ง ปรากฏว่า ถาดที่ใส่มะม่วงมีขนาดเล็ก ไม่สามารถใส่ขาวนิยมได้ ก็เป็นอันจบไป
และในปีเดียวกันนี้เอง ก็มีเกษตรกรสวนมะม่วงชาวญี่ปุ่นได้มาเยี่ยมเยียนและหวังจะซื้อมะม่วงจากประเทศไทยไปขาย เพราะของเขาผลิตไม่ทัน และมีข้อจำกัดหลายด้าน เมี่อได้ชิมมะม่วงขาวนิยมของสวนเราแล้ว และเค้าก็เอามะม่วงที่ซื้อจากสวนอื่นมาปอกชิม เปรียบเทียบหลายสวนหลายพันธุ์ เขาก็ตอบ ok ตกลงซื้อขายกับเรา เราก็งง ถามว่า หวานไปไหม ? คนญี่ปุ่นไม่กินผลไม้หวานมากไม่ใช่เหรอ ? เขาบอกไม่ใช่ หวานซิดี ที่ไม่กินหวานเพราะไม่มีผลไม้หวานให้กินต่างหาก แล้วขนาดผลล่ะต้องการนำหนักเท่าไหร่ ขนาด 1 กิโลกรัมขึ้นไปยิ่งดี แบบนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่มีขาย รับรองขายดีแน่ๆ
เป็นอย่างไรคะท่านผู้รู้ทั้งหลาย อย่าเอาความรู้สึกตัวเองเป็นเกณฑ์ ทำอะไรก็ต้องรู้ให้จริงไม่เช่นนั้นก็จะเสียโอกาสเอาง่ายๆ นะคะ อีกด้านหนึ่งของประสบการณ์ค่ะ
จากพี่นิด[/quote] |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/04/2010 10:33 am ชื่อกระทู้: |
|
เกษตรฯ ตั้งเป้าเพิ่มยอดส่งออกผลไม้ไทยในตลาดญี่ปุ่นกว่า 50 ล้านบาท เตรียมจัดสัมมนาถ่ายทอดเทคโนโลยี JUST IN TIME สู่เกษตรกรและผู้ประกอบการ หวังยกระดับคุณภาพการผลิตผลไม้ พร้อมวางระบบส่งมอบสินค้า ถูกจังหวะตรงเวลาความต้องการคู่ค้า ประเดิมฟื้นตลาดมังคุดควบคู่ดันยอดส่งออกมะม่วง 2,000 ตันต่อปี
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวการจัดสัมมนา JUST IN TIME ผลไม้คุณภาพสู่ตลาดญี่ปุ่น ณ โรงแรมเซ็นทารา ลาดพร้าว ว่า ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต เพื่อเพิ่มยอดการส่งผลไม้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ สามารถรองรับผลไม้ไทยได้มาก โดยมีความต้องการผลไม้สดและผลไม้แปรรูปประมาณ 8-9 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็น ความต้องการผลไม้สด 60% และผลไม้แปรรูป 40 % โดยในปี 2550 ไทยส่งออกผลไม้สดไปยังญี่ปุ่นปริมาณ 4,252 ตัน คิดเป็นมูลค่า 453 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับปริมาณการนำเข้าผลไม้สดในภาพรวมของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2550 ซึ่งมีประมาณ 1.8 ล้านตันหรือ คิดเป็นมูลค่า 83,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องมาจากข้อจำกัดในด้านมาตรการสุขอนามัยพืชเกี่ยวกับแมลงวันผลไม้และโรคพืชที่เข้มงวด ทำให้ปัจจุบันมีผลไม้ไทยเพียงบางชนิดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ทุเรียน มะพร้าวอ่อน กล้วย สับปะรด เป็นต้น
ส่วนมะม่วงและมังคุด ซึ่งถือเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความนิยมเนื่องจากมีความหวานและฉ่ำน้ำ ต้องผ่านการอบไอน้ำกำจัดแมลงวันผลไม้ ประกอบกับความเข้มงวดในเรื่องสารเคมีทางการเกษตรตกค้างของญี่ปุ่น ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเข้าสู่ตลาดด้วย ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออกของไทยจะต้องเร่งบริหารจัดการด้านการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การคัดขนาด การตรวจสอบคุณภาพ การบรรจุ และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไปยังญี่ปุ่นได้
นายสมพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัจจัยสำคัญในการส่งออกผลไม้ไปยังญี่ปุ่นนั้น คือการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสม่ำเสมอจนผู้บริโภคให้ความไว้วางใจ ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง โรคแมลงต่างๆ รวมถึงเน้นการจัดส่งสินค้าตรงเวลาในปริมาณตามที่ตลาดต้องการ (Just in Time) กล่าวคือ จัดส่งผลผลิตให้กับลูกค้าตามวันและเวลาที่ได้มีการตกลงกัน โดยส่งมอบสินค้าเมื่อมีการใช้จริง จำนวนไม่เกินหรือขาด ใกล้เคียงกับจังหวะการนำออกจำหน่ายได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดเก็บผลผลิตเพื่อรอขาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาแล้ว ยังทำให้ผลไม้เน่าเสียหรือมีคุณภาพลดลงอีกด้วย
ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว และกรมส่งเสริมการเกษตร จึงร่วมกันจัดสัมมนา Just in Time ผลไม้คุณภาพสู่ญี่ปุ่น ขึ้น เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี Just in Time ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ให้กับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาดูแลรักษาผลไม้ให้คงคุณภาพ รวมถึงเพิ่มศักยภาพการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย เริ่มตั้งแต่สวน การเก็บเกี่ยว การอบไอน้ำ จนถึงการขนส่งสู่ตลาดให้ตรงตามความต้องการของคู่ค้า โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงในด้านโลจิสติกส์ ด้านเทคนิคการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ทั้งไทยและญี่ปุ่น มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ผู้รวบรวม และผู้ค้าไทย การสัมมนาในครั้งนี้ จะทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี Just in Time ส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพสินค้าและลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว มีปริมาณที่เหมาะสม และยังถือเป็นการขยายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้รวบรวม ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ค้าในญี่ปุ่น ในการพัฒนาผลไม้คุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถผลักดันการเพิ่มมูลค่าผลไม้ไทยในตลาดญี่ปุ่นได้ประมาณ 10-15% หรือประมาณ 50 ล้านบาท อีกด้วย
โดยในส่วนของมะม่วงมีการตั้งเป้าขยายการส่งออกเป็น 2,000 ตัน/ปี เพิ่มจากปีที่ผ่านมาที่เคยส่งออกได้จำนวน 1,500 ตัน/ปี และจะฟื้นฟูตลาดมังคุดในญี่ปุ่นให้มีการส่งออกเพิ่มมากกว่า 107 ตัน/ ปี หลังจากประสบปัญหาเนื้อแก้วยางใสและผลผลิตปริมาณไม่แน่นอน ให้กลับมาได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นอีกด้วย นายสมพัฒน์ กล่าว
อนึ่ง การสัมมนา JUST IN TIME ผลไม้คุณภาพสู่ตลาดญี่ปุ่น ได้เชิญผู้ค้าญี่ปุ่นที่สำคัญ อาทิ จัสโก ไดมอนสตาร์ บริษัทค้าส่งผลไม้รายใหญ่ที่สุดของโตเกียว และผู้นำเข้าไทยในญี่ปุ่น ร่วมพบปะหารือเกษตรกรและผู้ส่งออกไทย โดยจะมีการจัดสัมมนาสำหรับกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการมังคุด ณ จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2551 และสัมมนาสำหรับกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการมะม่วง ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2551
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 03/04/2010 10:28 am ชื่อกระทู้: มะม่วงส่งออกญี่ปุ่น...จากข่าว ถึง มะม่วงขาวนิยม |
|
เกษตรฯ เล็งเพิ่มยอด ส่งออกมะม่วงสู่ตลาดญี่ปุ่น 2,000 ตัน/ปี หวังเกษตรกรใช้เทคโนโลยี JUST IN TIME เพิ่มศักยภาพระบบการผลิต เดินตามแนวทางลดต้นทุน คุณภาพสม่ำเสมอ มีปริมาณตามข้อตกลง ส่งมอบทันเวลา และราคายุติธรรม
นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา JUST IN TIME มะม่วงคุณภาพสู่ตลาดญี่ปุ่น ณ โรงแรมกรีนนารี่ รีสอร์ท จ.นครราชสีมา ว่า
ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต เพื่อเพิ่มยอดการส่งผลไม้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ สามารถรองรับผลไม้ไทยได้มาก ซึ่งผลไม้สำคัญที่มีอนาคตในตลาดญี่ปุ่นนอกจาก ทุเรียน มะพร้าวอ่อน กล้วย สับปะรด และมังคุด แล้ว ยังมีมะม่วงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี
โดยญี่ปุ่นอนุญาตการนำเข้ามะม่วงจากประเทศไทย โดยต้องผ่านการ [color=red] อบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลงวันและไข่แมลงวันผลไม้ [/color] ต่อมาในปี 2536 ได้มีการเพิ่มชนิดมะม่วงที่อนุญาตให้นำเข้า อีก 3 พันธุ์ นอกเหนือจากพันธุ์หนังกลางวัน ได้แก่ แรด พิมเสนแดง น้ำดอกไม้ ล่าสุดเมื่อปลายปี 2549 กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น อนุญาตการนำเข้ามะม่วงมหาชนก เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2549 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
สำหรับยอดการส่งออกมะม่วงของไทยไปประเทศญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2548 ส่งออกจำนวน 955 ตัน ปี 2549 จำนวน 1,127 ตัน คิดเป็นมูลค่า 163 ล้านบาท ปี 2550 จำนวน 1,600 ตัน คิดเป็นมูลค่า 294 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาด 12.0% รองจากประเทศเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด 40.5% และ 31.1% ตามลำดับ
นายจรัลธาดา กล่าวต่อไปว่า กุญแจแห่งความสำเร็จสำหรับการส่งออกผลไม้อันรวมถึงมะม่วงไปยังประเทศญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางอาหารที่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ระดับฟาร์ม การปฏิบัติตามหลักของระบบเกษตรที่ดีเหมาะสมสากล รวมถึงเป็นไปตามมาตรฐานสารตกค้างของญี่ปุ่นแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอ มีปริมาณตามข้อตกลง ส่งมอบทันเวลา และราคายุติธรรม ซึ่งเป็นหลักการทำงานของเทคโนโลยีการผลิตและส่งมอบแบบทันเวลา หรือ Just in Time ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในการผลิตให้กับเกษตรกรในส่วนของการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ รวมไปถึงลดการผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ และการขนส่งวัตถุดิบหรือสินค้าในระยะทางที่มากเกินไป ตลอดจนลดปัญหาการมีวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยี Just in Time นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรแล้ว ยังฝึกหัดให้เกิดการผลิตอย่างเป็นระบบ สินค้าอยู่ในระดับคุณภาพมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ ไม่ตกเกรด มีการสืบย้อนกลับแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน รวมทั้งมีการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม (Certified by 3rd party) สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและคู่ค้าทั้งญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ รวมถึงผู้บริโภคชาวไทยอีกด้วย ซึ่งคาดว่าหากถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้เกษตรกรมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญแล้ว จะช่วยให้ยอดการส่งออกมะม่วงไปยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นถึง 2,000 ตัน / ปี ได้อย่างแน่นอน
ด้านนางสาวศิริลักษณ์ สุวรรณรังสี อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการเกษตร) กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลายี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การส่งออกมะม่วงในปีแรกจำนวน 2 ตัน หน่วยงานราชการและผู้ประกอบการไทยในประเทศญี่ปุ่น ผู้ประกอบการในญี่ปุ่น และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ได้ผลักดันการเข้าสู่ตลาดของมะม่วงไทย ด้วยการแก้ปัญหามาตรฐานคุณภาพในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดมะม่วงไทยในญี่ปุ่น จนมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยเฉพาะ น้ำดอกไม้สีทอง เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยม ตลาดมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ามะม่วงชนิดอื่นๆ จากไทย ปัจจุบันมีปริมาณนำเข้าสูงถึง 1,300 ตัน ซึ่งการทำตลาดผลไม้ในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะต้องคำนึงถึงความพอใจและรับฟังข้อคิดเห็นของลูกค้า รวมถึงสี รูปลักษณ์ ของผลผลิตที่ออกตรงตามฤดูกาล และการนำเสนอสินค้าให้มีลักษณะโดดเด่น มีคุณภาพน่าเชื่อถือ รวมถึงจัดการส่งเสริมการตลาดที่ดีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ล้วนมีส่วนทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อ เนื่องจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเมื่อเลือกซื้อจะให้ความสำคัญว่า มีคุณค่าเหมาะสมกับราคาหรือความสด หรือไม่ รวมถึงโดยจะต้องให้ข้อมูลวิธีการปอก ตัด และการรับประทานแก่ผู้บริโภค
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงช่วงเวลาในการส่งสินค้าถึงผู้บริโภคในญี่ปุ่นให้ตรงกับเวลาที่ต้องการ และการควบคุมความสุกในแต่ละสภาวะการขนส่ง ทั้งนี้ ชาวญี่ปุ่นเริ่มคุ้นเคยกับ Yellow Mango จากไทยมากขึ้น จากเดิมที่รู้จักแต่ มะม่วง sunset และ Apple Mango ซึ่งมีผิวสีแดง เนื้อสีเหลืองจัด รสหวานอ่อนๆ และมีกลิ่นหอมฉุนเล็กน้อย และมะม่วงเหลืองจากฟิลิปปินส์ที่มีผลขนาดเล็กและรสหวานอมเปรี้ยว
จนถึงปี 2550 มะม่วงมหาชนก ได้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งมีสีผิวและรสชาติคล้ายกับมะม่วงแดงที่เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่น โดยหน่วยราชการไทยในญี่ปุ่นได้ทำการประชาสัมพันธ์ แจกชิม นำจำหน่ายและเผยแพร่เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาสฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปีไทยและญี่ปุ่น ทั้งเทศกาลไทย ในกรุงโตเกียว และนาโกยา การจัด In Store Promotion ร่วมกับร้านสะดวกซื้อต่างๆ เพื่อสร้างความนิยม ซึ่งปรากฏว่ารสชาติเป็นที่ถูกใจ และราคายังถูกกว่ามะม่วงในประเทศ
ผู้บริโภคทั่วไปต่างให้ความสนใจ การนำเข้ามะม่วงสด จากไทยมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งปริมาณและมูลค่า ในปี 2549 ปริมาณเพิ่มร้อยละ 45 และมูลค่าเพิ่มร้อยละ 15 และร้อยละ 32 อีกทั้งใน 6 เดือนแรกของปี 2550 ปริมาณการนำเข้ามากกว่า ปี 2549 ทั้งปี โดยปริมาณเพิ่มร้อยละ 34 และมูลค่าเพิ่มร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร |
|
|