-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 20 SEP
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 20/09/2011 6:51 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 20 SEP

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 20 SEP

**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************




จาก : (087) 137-76xx
ข้อความ : เมื่อคืนดูข่าว จีนทดลองปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ 13 ตันต่อไร่ครับ

ตอบ :
ข้อมูลคุณ ข้อมูลลุงคิม ต่างกัน นั่นไม่ใช่ประเด็น สำคัญที่ "ความก้าวหน้า" ของผลงานของผู้มีหน้าที่ส่งเสริม ระหว่าง
จีนกับไทย ต่างหาก

ข้าวหอมมะลิ 105 ไทย อายุครบรอบ 51 ปี เมื่อปีกลาย ประเด็นอยู่ที่ ผลผลิตเฉลีย 25-35 ถัง/ไร่ (250-350 กก./
ไร่) ตั้งแต่เกิด จนถึงวันนี้ก็ยังเท่าเดิม ในเมื่อข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก (สงสัย....ไทย ถามเอง-ตอบเอง
หรือเปล่า) ทำไมจึงไม่มีการพัฒนา แต่กลับไปพัฒนาสร้างสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเต็มบ้านเต็มเมือง นี่แสดงว่า ประเทศไทย
เราก็มีนักวิชาการข้าวเหมือนประเทศอื่น

อย่าหวังว่า จะมีอัศวินขี่ม้าขาว (กุนซือ แปะแบ๊) มาช่วยเราเลย คนที่จะช่วยเราได้ คือ คนในกระจกเท่านั้น

อย่ากังวลกับข้าวจีนหรือของประเทศไหนๆ ว่าเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากทีสุดเลย เพราะนั่นไม่ใช่ข้าวประเภท
"หุงกินอร่อย" แบบข้าวไทย (หอมมะลิ-หอมจังหวัด) แต่เป็นข้าวสำหรับคนจนจริงๆ ที่ไม่มีพลังซื้อ หลุดจากนั้นก็ต้อง
เอาไปแปรรูปทำแป้ง ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือทำอาหารสัตว์ เท่านั้น

ข้าวไทยดีๆ ว่ากันตั้งแต่ หอมมะลิ หอมจังหวัดสารพัดจังหวัด ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวพื้นเมืองสารพัดเมือง ที่เพียบพร้อมไปด้วย
สารอาหาร เราสามารถตั้งราคาแพงๆได้ .... ข้าวไทย 1 เกวียน ขายได้เท่ากับข้าวจีน 2 เกวียน ฉนี้แล้ว ข้าวจีนที่ว่าจะมี
ประโยชน์อะไร ทำไมไม่คิดทำข้าวไทย ในเนื้อที่ 1 ไร่ ให้ได้ผลผลิตเพิ่ม 25-50% คุณภาพดี ประชาสัมพันธ์ให้หนัก
มุ่งตลาดประเทศคนรวยเข้าไว้ อเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง มิดีกว่ารึ

ฤาบ้านเมืองนี้ ไร้ซึ่งนักวิชาการอุดมกาณ์ผู้มีวิสัยทัศน์ กว้าง-ไกล แต่เต็มไปด้วยนักวิชาการเชิงพานิช เช่นนี้ เห็นทีชาวนา
ไทยจำต้อง ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน อ๋ตตาหิ อํตตาโน นาโถ เท่านั้น.

เคยเห็นไหม พ่อแม่ญาติพี่น้อง ของ ศ.ดร. ยังเผาฟาง ยังเป็นหนี้ แม้แต่ จนท.เกษตร ที่มักอ้าง นโยบายหรือคำสั่งจาก
หน่วยเหนือ ซึ่งบางนโยบาย บางคำสั่งมันไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ก็ว่ากันไป แต่การปฏิบัติจริงที่จะแนะนำพ่อแม่ญาติพี่น้อง
ของตัวเอง ซึ่งตรงและเหมาะสมกับพื้นที่ต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายหรือคำสั่งของหน่วยเหนือด้วยหรือ

วันนี้ เมื่อเราไม่มีข้าวสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากที่สุดในโลก แต่เรามีข้าวที่กินอร่อยที่สุดในโลก ข้าวพันธุ์อะไรก็ได้ที่คนไทยกิน
ต่างประเทศกิน (ส่งออกได้) เอามาปรับ "ทัศนคติ" ในการผลิตใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ .....


ผลผลิตเพิ่มทั้งคุณภาพ ปริมาณ และตลาด ต้นทุนลด อนาคตลูกหลานดี

คุณภาพ ..... ตรงตามสายพันธุ์ ไม่มีข้าวปน ไม่มีข้าวลีบ ไม่มีข้าวท้องปลาซิว น้ำหนักดี เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวดี

ปริมาณ ..... เคยได้ 80 ถัง/ไร่ พัฒนาให้ได้ 100 - 120 - 140 ถัง/ไร่ ตามลำดับด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับต้นข้าวโดยเฉพาะ

ตลาด ..... ในประเทศ ต่างประเทศ .... เนื้อที่ 1 ไร ข้าวไทยได้ 1 เกวียน ข้าวจีนได้ 2 เกวียน แต่ข้าวไทยขายได้แพงกว่า
ข้าวจีน 2 เท่า ฉนี้ ใครได้กำไรมากกว่ากัน .... เจาะตลาดคนรวย อียู อเมริกา ตะวันออกกลาง เป็นหลัก

ต้นทุน .... LIST รายจ่ายที่เป็นต้นทุนทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้นถึงเก็บเกี่ยว แล้วพิจารณาทีละรายการๆ บางรายการทำเองแทนการจ้าง
บางรายการทำเองแทนการซื้อ

แปรรูป .... ข้าวกล้อง OTOP มูกข้าว น้ำมันรำข้าว ทำเป็น BIPRODUCT ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ข้าวไทยทำได้มากกว่าข้าวจีน




ถือหลักปรัชญา :

มุ่งมั่น แน่วแน่...วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า

ข้าวพันธุ์ไทยที่มีอยู่นี่แหละ ทำนาข้าวแบบประณีต ทุกขั้นตอน เตรียมดินดีๆ ฉีด ปุ๋ย+ ยา ทางใบ ทุก 4-5 วัน

ทำตามข้างบ้านที่ประสบความสำเร็จ จะประสบความสำเร็จยิ่งกว่า
ทำตามข้างบ้านที่ประสบความล้มเหลว จะประสบความล้มเหลวยิ่งกว่า








คลิก....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1959&postdays=0&postorder=asc&start=575&sid=444ebe53fa9ff75dd4fd133331bb7835
626. ข้าวพันธุ์ใหม่ของจีน ทำสถิติโลกใหม่ ผลผลิตสูงกว่า 2,224 กก./ไร่



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1959&postdays=0&postorder=asc&start=600&sid=292a0f3b63fa00e33ef8e73c3fe0883b
630. พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย


----------------------------------------------------------------------------------




จาก : (087) 115-15xx
ข้อความ : ฉีดปุ๋ยบำรุงลูกจะมีสารไนเตรทตกค้างหรือเปล่า ?

ตอบ :
ถ้าไม่ "อัด" ไนโตรเจนอย่างเดียวเดี่ยวๆ ชนิดที่เรียกว่า ตั้งแต่เกิดถึงเก็บเกี่ยวละก็ คงไม่เหลือไนโตรเจนให้ตกค้าง
แล้วเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตร์ท-ไนเตรท. หรอกนะ

แนวทางเกษตรแบบ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสม" เน้น....
- ให้สารอาหาร (14 ธาตุ, 3 ก๊าซ, 10 ฮอร์โมน, 3 วิตามิน และ 100 อื่นๆ) ครบ โดยสารอาหารทุกตัวมีความ
สำคัญ และจำเป็นต่อพืชเหมือนกันทั้งหมด

- ในแต่ละระยะพัฒนาการของพืช เมื่อสารอาหารตัวหนึ่งเป็นตัวนำ (ใช้มาก) ตัวอื่นๆที่เหลือจะเป็นตัว เติม-เสริม-
เพิ่ม-บวก (ใช้น้อย) ตามความเหมาะสม

- ปริมาณสารอาหารแต่ละตัว ต้องมีอัตราส่วนระหว่างกันและกัน อย่างเหมาะสม ตรงตามความต้องการ หรือความจำเป็น
ของพืชแต่ละชนิด และแต่ละระยะพัฒนาการ


ตัวอย่าง :
ผักกินใบ-ผักกินยอด ปกติต้องการไนโตรเจนมากหรือเป็นตัวหลัก หากให้ไนโตรเจน(46-0-0) เพียงอย่างเดียวเดี่ยวๆ
ตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บเกี่ยว ผักใบหรือผักยอดนั้น นอกจากจะไม่มีคุณภาพแล้ว ยังอ่อนแอต่อโรคแมลงศัตรูพืช และ
ทำให้เกิดไนเตรท ไนไตร์ท. ได้อีกด้วย.....แนวทางแก้ไข คือ ควรให้สารอาหารตัวอื่นๆร่วมไปด้วย (ครบสูตร...46-0-0
+ 16-16-16 + TE + อื่นๆ) โดยมีไนโตรเจนเป็นตัวนำ จึงจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้.....




อ้างอิง :

....... ไนเตรตสามารถเปลี่ยนเป็นไนไตรท์ในอาหารและในร่างกายมนุษย์ได้ โดยปฏิกริยาของแบคทีเรีย และแหล่งสำคัญ
ของไนเตรตในอาหารของมนุษย์ คือ น้ำและผัก ทั้งนี้เพราะไนเตรตเป็นรูปของธาตุไนโตรเจนที่พืชต้องการสำหรับการเติบโต
หากพืชได้รับมากเกินไปก็จะสะสมไว้โดยเฉพาะในผักกินใบและผักกินรากหลายประเทศจึงมีการกำหนดปริมาณสูงสุดของ
ไนเตรตในผักสดและผลไม้ที่จะนำมาบริโภคต้องไม่เกิน 4000 มก./กก. น้ำหนักสด ปริมาณการสะสมของไนเตรตขึ้นกับ
ชนิดของพืช อายุพืช ฤดูกาลปลูกและชนิดของปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้กับพืช.....
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2ad0dec3acf19fb5




....... การที่พบไนเตรทในผักแต่ละชนิดแตกต่างกันมากเนื่องจากปัจจัยที่ต่างกันในการเพาะปลูก ได้แก่ ชนิดผัก ชนิดและ
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ลักษณะดิน และความเข้มของแสง

ในการศึกษานี้พบว่าการใช้ปุ๋ยปริมาณมากโดยเฉพาะปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจัด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการตกค้างของ
ไนเตรทสูงในผัก การใช้ปุ๋ยเคมีมีผลต่อการสะสมไนเตรทในผักใบมาก ขณะที่มีผลต่อ ผักผล ผักฝัก และผักกินรากน้อยมาก......
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=17801&sid=0484e33b5465fb369aacd7a56706f65b#17801
640. การตกค้างของสารไนเตรทและไนไตรท์




....... นอกจากนี้ความแตกต่างของฤดูกาล และพื้นที่เพาะปลูก ยังมีผลต่อปริมาณการตกค้างของไนเตรทในผักคะน้าด้วยเช่นกัน
โดยพบว่า ผักคะน้าอินทรีย์, ผักคะน้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ และผักคะน้าเคมี ที่ปลูกในฤดูร้อน มีปริมาณไนเตรทสูงกว่าผัก
คะน้าที่ปลูกในฤดูฝน และฤดูหนาว

รูปแบบการเพาะปลูกที่ต่างกันในแต่ละฤดู และปริมาณของแสงที่แตกต่างกันน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ......
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=17801&sid=0484e33b5465fb369aacd7a56706f65b#17801
641. ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์




....... ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้ พืชสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในรูปแอมโมเนียมและไนเตรท ตามวัฏจักรไนโตรเจน
แอมโมเนียมสามารถเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรท จากนั้นไนไตรทจึงเปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทอีกที เรียกกระบวนการนี้ว่า Nitrification
การปลูกพืชที่ใส่ไนโตรเจนมากจนเกินความต้องการของพืชนอกจากจะเปลืองแล้วยังช่วยเร่งให้เกิดกระบวนการ Nitrification
ได้เร็วขึ้น การสะสมไนเตรทในดินและต้นพืชก็มากขึ้น โดยปกติพืชจะสะสมไนเตรทไว้ในส่วนของใบและลำต้นมากที่สุด ในช่วง
ที่ฟ้าหลัวและอากาศร้อนจัด พืชจะสะสมไนโตรเจนในรูปไนเตรทมากเป็นพิเศษ

ที่ว่าเป็นพิษภัยจากไนเตรทตามท้องเรื่องแล้ว ลำพังไนเตรทไม่ได้เป็นผู้ร้ายตัวจริง แต่เมื่อคนดื่มน้ำหรือกินพืชที่มีปริมาณไนเตรท
สะสมมากเกินไป ไนเตรทเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปกลับไปเป็นไนไตรท (NO2) <-- (เลข 2 ต้องห้อย) และเจ้าไนไตรทนี่แหละ
ครับ คือ เจ้าตัวร้ายที่สามารถเป็นสารตั้งต้นชักนำให้เกิดเซลมะเร็ง รวมถึงโรคที่เกิดจากเซลเม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน......
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=18-03-2008&group=3&gblog=37


----------------------------------------------------------------------------------