-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ธาตุอาหารสมดุล
ผู้ส่ง ข้อความ
devilbatscafe
ตอบตอบ: 30/11/2009 8:21 am    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ มีประโยชน์มากครับ
Aorrayong
ตอบตอบ: 30/11/2009 3:47 am    ชื่อกระทู้:

สรุปอีกซักรอบ

http://203.158.253.5/wbi/Science/%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8

แคลเซียม

1. เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ในรูปของ แคลเซียมเปคเตต ( Calcium pectate)
2. ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด
3. ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ
4. ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม ( Chromosome)
5. ส่งเสริมการเกิดปมที่รากถั่ว
6. ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละออง เกสรตัวผู้ ( Pollen)
7. ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่างๆ เช่น กรดออกซาลิก
เปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต


แมกนีเซียม

1. เป็นองค์ประกอบของคลอดรฟิลด์
2. เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ เช่นเอนไซม์ที่ เปลี่ยนสารคาร์โบไฮเดรท คือ คาร์บอกซีเลส ( Carboxylase)
3. ช่วยในการดูดธาตุฟอสฟอรัส
4. ช่วยสังเคราะห์น้ำมันร่วมกับธาตุกำมะถัน
5. ควบคุมปริมาณแคลเซียมและช่วยการเคลื่อน ย้ายน้ำตาลในพืช
6. ช่วยสร้างรงควัตถุ ( Pigments) และสารสีเขียว


กำมะถัน
1. เป็นส่วนประกอบของสารประกอบหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 และ บี 3 เป็นต้น
2. เป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน ซินสตีน ( Cystine) สารระเหยในพืชหลายอย่าง เช่น หอม กะหล่ำปลี มัสตาร์ด ฯลฯ ซึ่งให้กลิ่น เฉพาะตัว
3. ช่วยการเจริญเติบโตของราก
4. ควบคุมการทำงานของแคลเซียม
5. ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์และช่วยในกระบวนการ สังเคราะห์แสง
6. เพิ่มไขมันพืช


เหล็ก
1. เป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์สำหรับสร้าง chlorophyll
2. เป็นองค์ประกอบของ ไซโตโครม ( Cytochrome) ในไมโตคอนเตีย ( Mitochondia) ที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการหายใจ
3. ช่วยดูดธาตุอาหารอื่น
4. ช่วยสร้างโปรตีน
5. ส่งเสริมให้เกิดปมถั่ว


แมงกานีส
1. ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง
2. กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเกี่ยวกับการหายใจของพืช
3. ช่วยในกระบวนการ เมตาบอลิซึม ของเหล็กและ และธาตุไนโตรเจน
4. ช่วยในกระบวนการหายใจ
5. ช่วยในการสร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น ออซิเดส ( Oxidase) เปอร์ออกซิเดส ( Peroxidase) และดีไฮโดรจิเนส ( Dehydrogenase)



สังกะสี
1. เกี่ยวกับสารสังเคราะห์ฮอร์โมนของพืช คือ ไอ.เอ.เอ. (IAA : Indole acetive acid)
2. ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและคลอโรฟิลล์
3. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ ( Cell membrane) และเอนไซม์หลายชนิด เช่น คาร์บอนิค แอนไฮเดรต ( Carbonic anhydrase) แอลกอฮอลส์ ดีไฮโดรจีเนส ( Alcoholic dehydrogenase) เป็นต้น
4. ช่วยให้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจนเป็นประโยชน์ มากขึ้น
5. มีส่วนในการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและ เสริมสร้างให้พืชเติบโตเป็นปกติ
6. มีผลต่อการแก่และการสุกของพืช


ทองแดง
1. เป็นองค์ประกอบของโปรตีน และเอนไซม์ หลายชนิด
2. กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
3. ช่วยในการหายใจและการสังเคราะห์แสง
4. ทำหน้าที่ทางอ้อมในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
5. มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของรากและ มีความสำคัญมากในช่วงออกดอก
6. ช่วยในการเมตาโบลิซึมของไขมัน


โบรอน
1. ช่วยแบ่งเซลล์และมีความจำเป็นต่อการเจริญ เติบโตของเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่
2. ช่วยสร้างโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
3. ช่วยการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืชเป็นสีน้ำตาลเข้ม
4. ทำให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียม และ แคลเซียมได้มากขึ้น
5. ช่วยในกระบวนการเมตาโบลิซึมของไนโตรเจน คาร์โบไฮเดรท ฮอร์โมนและฟอสฟอรัส
6. เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำ การคายน้ำและกระบวนการ และกระบวนการสังเคราะห์แสง
7. มีความจำเป็นต่อการงอกของอับละอองเกสร ( Pollen grain) และการเจริญเติบโตขอท่อละออง เกสร ( Pollen tube) ซึ่งมีผลให้การลีบของเมล็ด ลดลง


โมลิบดินัม
1. ช่วยในการตรึงไนโตรเจน
2. ลดการเปลี่ยนรูปไนเตรต
3. เป็นธาตที่จำเป็นในการสร้างคลอโรฟิลล์และ เอนไซม์ ในพืช
4. เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ พวกไนโตรจีเนส (Nitrogenase) และ ไนโตรตรีดักเตส (Nitratereductase)


คลอรีน
1. เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมน
2. มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง และทำให้พืชแก่ตัว
3. ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ หลายชนิดที่มี อิทธิพลต่อ เมตาบอลิซึม ของคาร์โบไฮเดรท
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อของพืชอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
ott_club
ตอบตอบ: 29/11/2009 10:21 pm    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณคร้าบบบ...
Aorrayong
ตอบตอบ: 29/11/2009 8:14 pm    ชื่อกระทู้: ธาตุอาหารสมดุล

ที่มา http://www.ocsb.go.th/udon/All%20text/1.Article/01-Article%20P8.7b.htm

ธาตุอาหารสมดุลและใส่ถูกวิธี

ธาตุรอง

ธาตุแคลเซียม (Ca)
เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ และโครงสร้างที่สำคัญในลำต้น กิ่ง ใบ ควบคุมการละลายของเกลือและความสมดุลของกรดอินทรีย์ต่าง ๆ ในเซลล์ช่วยการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตของส่วนยอด ส่วนที่ยังอ่อนของพืช รวมทั้งปลายราก ควบคุมการดูดใช้ธาตุโปแตสเซียมและแมกนีเซียม ถ้าพืชดูดกินธาตุนี้มากเกินไปจะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก กำมะถัน และฟอสฟอรัส ได้

เป็นธาตุที่พบในดินเป็นจำนวนมากแม้พืชจะต้องการใช้ในปริมาณค่อนข้างสูง แต่ส่วนใหญ่พืชไม่แสดงอาการขาดธาตุนี้ ยกเว้นในสภาพของดินบางชนิด เช่น ในดินกรด แต่ก็แก้ได้โดยใช้หินปูนบด, ปูนขาว, ปูนมาร์ล รวมทั้งปูนพวก Dolomite ใส่ลงไปในดิน

พืชตระกูลถั่วต้องการธาตุแคลเซียมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถั่วลิสง การขาดแคลนเซียมจะทำให้เกิดการติดเมล็ดไม่ดีและไม่เจริญเท่าที่ควร

ถ้าขาดธาตุแคลเซียมพืชจะแสดงอาการที่รากอ่อน ยอดและใบ ซึ่งจะมีเมือกเหนียว ๆ ทำให้ใบติดซ้อนกันไม่คลี่ออก สีของใบอ้อยจะซีดและไม่เจริญเติบโต ลำต้นอ่อนแอหักล้มง่าย ลำต้นจะแคระแกรนและเตี้ยผิดปกติ พืชจะดูดธาตุแมกนีเซียมเข้าไปมากผิดปกติ

ธาตุแมกนีเซียม (Mg)
เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยระบบการทำงานของเอนไซม์ สร้างและเปลี่ยนไขมัน การเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืชเป็นตัวนำธาตุอาหารฟอสฟอรัส จากส่วนรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช

ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมใบจะมีสีเหลืองซีด ใบพืชหลายชนิดใบจะมีสีเขียวสลับกับเหลืองเป็นลวดลาย หรือเป็นแถบยาวตลอดใบ เช่น ข้าวโพดจะเป็นลายเขียวสลับเหลืองขนานกับขอบและแกนกลางของใบพืช มักมีลำต้นสีเหลืองซีด การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในช่วงที่พืชกำลังเจริญเต็มที่

ธาตุกำมะถัน (S)
เป็นองค์ประกอบของโปรตีน ช่วยยึดเอนไซม์หรือโปรตีนเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารหลายชนิด ที่จำเป็นสำหรับ Metabolism ของเซลล์[/color] เป็นธาตุที่พบในอินทรียสารเป็นส่วนใหญ่ หลังการสลายตัวแล้วพืชจึงจะนำไปใช้ได้

ถ้าขาดธาตุกำมะถัน พืชจะแสดงอาการในส่วนที่ยังอ่อนอยู่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวซีด ลำต้น แคระแกรน บางครั้งต้นอาจจะมีสีแดง หรือสีม่วงคล้ายอาการขาดธาตุฟอสฟอรัส สำหรับในพวกธัญพืช อาการคล้ายคลึงกับการขาดธาตุแมกนีเซียม คือมีทางสีขาวหรือสีเหลืองเกิดขึ้นเป็นลายขนานไปกับ แกนใบ แตกกอน้อย พืชที่ขาดธาตุกำมะถัน จะมีธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ค่อนข้างสูง และการสุกจะ ช้ากว่าปกติในพวกธัญพืชเมล็ดจะแก่ช้า เมล็ดติดไม่สมบูรณ์ และมักมีเมล็ดลีบ


ธาตุเสริม

ธาตุเหล็ก (Fe)
มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยในขบวนการหายใจ เป็นองค์ประกอบของสาร Ferrodoxin ใช้ในการลดและเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาชีวเคมีเป็นสารประกอบของ Hemoglobin ซึ่งมีส่วนสำคัญในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศโดยพวกบักเตรี, ไรโซเบียม เหล็กจึงมีความสำคัญต่อพืชตระกูลถั่วเป็นอย่างมาก

ในดินนาน้ำขังที่ใช้ในการปลูกข้าวมานาน และดินขาดธาตุเหล็ก ถ้าใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ต้นข้าวแสดงอาการคล้ายเป็นโรคที่มีชื่อเรียกว่า โรค “Akiochi”

พืชจะแสดงอาการขาดเหล็กในดินที่มีหินปูนและในดินด่าง รวมทั้งดินที่อยู่ในสภาพน้ำขังเป็นเวลานาน

ถ้าขาดธาตุเหล็กพืชจะแสดงอาการใบเหลืองซีด ลักษณะต้นและทรงพุ่มแคระแกรน มีขนาดเล็ก มักแสดงอาการขาดที่ยอดและใบอ่อนมากกว่าที่ใบแก่ แกนใบจะเขียว ในขณะที่พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมี สีเหลือง ทำให้เส้นแกนใบเป็นลวดลายชัดเจน ลักษณะใบจะหนาเล็ก และหยาบกระด้าง พืชอาจไม่ให้ ผลผลิตเลย

ธาตุแมงกานีส (Mn)
มีความสำคัญต่อระบบการหายใจของพืช เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และรีดักชัน ของเหล็กและไนโตรเจนในขบวนการเมตาโบลิซึม ช่วยการสร้างคลอโรฟิลล์ การเปลี่ยนแป้งเป็นพลังงานในพืช

ถ้าขาดธาตุแมงกานีสพืชจะแสดงลักษณะการขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบเป็นสีเหลืองหรือขาวในบริเวณพื้นที่ในระหว่างเส้นใบ หรือเป็นแถวสีเขียวแก่อ่อนขนานไปกับเส้นใบ และเส้นกลางใบ คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสีและเหล็ก ถ้าขาดมากใบจะเป็นสีขาวหรือไหม้แห้งตายในที่สุด

ถ้าหากแมงกานีสมากเกินไปในดินจะเกิดเป็นพิษกับพืช และขาดความสมดุลกับธาตุอื่น

ธาตุสังกะสี (Zn)
มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่าง ๆ ในพืช ช่วยการดูดใช้ธาตุอาหารอื่น เช่น ธาตุฟอสฟอรัสมีความสัมพันธ์กับธาตุสังกะสีในการดูดซึม ธาตุอาหารในพืช เป็นต้น

ถ้าขาดธาตุแมงกานีสพืชจะแสดงอาการในใบอ่อนที่เริ่มเจริญเติบโต เช่น ยอดข้าวโพดจะมีสีขาว ปล้องสั้น ที่ยอดใบจะรวมกันเป็นพุ่ม อาการนี้เรียกว่า “Rosetting” หรือมีลักษณะใบส่วนล่างเป็นทางขาว เรียกว่า “White bud” อาการคล้ายโรคราน้ำค้างมาก บางครั้งแยกกันไม่ออก ถ้าขาดมากใบอาจร่วงหรือไม่ออกดอกในพืชบางชนิด ระดับปกติของธาตุนี้ที่พบในช่วง 25-150 ส่วนในล้านส่วน (ppm.) ข้าวโพดและถั่วจะมีความไวต่อการขาดธาตุนี้

ธาตุทองแดง (Cu)
เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ เช่น ไทโรซิลเลส แลคเตส ฯลฯ ช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช ใบพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด ทองแดง มีความสำคัญในการสะสมธาตุเหล็ก และมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของพวกไขมัน ในขบวนการและปฏิกิริยาของระบบหายใจ
ถ้าขาดธาตุทองแดงพืชจะแสดงอาการที่ใบอ่อน คือจะมีสีเหลืองซีดและจะเริ่มไหม้ จนในที่สุดพืชจะแกรนและตายได้ ถ้าขาดมากยอดใบและขอบใบจะตายคล้ายอาการขาดธาตุโปแตสเซียม เช่น ใบข้าวโพดจะมีสีซีดในใบอ่อนและแห้งตาย ในพืชผักใบจะแห้งและไม่อวบน้ำ ใบอาจม้วนและ ไม่ออกดอก

ธาตุโบรอน (B)
เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ แต่หน้าที่และความสำคัญ ยังไม่มีการอธิบายที่แน่ชัด ช่วยการดูดและการใช้ธาตุแคลเซียม ควบคุมการดูดธาตุฟอสฟอรัส ควบคุมอัตราส่วนระหว่างธาตุ โปแตสเซียมต่อแคลเซียม ควบคุมการแบ่งเซลล์และสร้างโปรตีน แป้งและน้ำตาล พืชใบเลี้ยงคู่จะมีความต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

อาการขาดธาตุโบรอนส่วนใหญ่จะพบในพืชยืนต้นมากกว่าพืชล้มลัก กะหล่ำดอก มีความต้องการโบรอนสูงและสามารถทนทานต่อความเข้มข้นได้สูง ไม้ผล และพืชผักต้องการธาตุนี้อยู่เสมอ ถ้าขาดจะแห้งตาย ลักษณะใบหนา หงิกงอและแตกหรือซีดเหลือง ในพืชหัวจะแสดงอาการเน่า ใบและเนื้อเยื่อตายบางส่วน เช่น ในพืชหัวพวกผักกาดหวาน ในผลไม้ เช่น ส้ม ความหนาของเปลือกจะไม่เท่ากัน และลูกจะบิดเบี้ยว และมีเมือกปรากฏอยู่ แต่ลักษณะเริ่มแรกทั่ว ๆ ไป จะเกิดกับยอดอ่อนและใบอ่อน ขอบและใบแห้ง หงิกงอคล้ายกับอาการของโรคเกิดจากไวรัส

ธาตุโมลิบดีนัม (Mo)
มีความสำคัญในระบบเมตาโบลิซึมของพืช เช่น ช่วยในการสร้างอมีนที่ใช้ในการสร้างสารประกอบพวกกรดอะมิโน ช่วยจุลินทรีย์ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ เช่น จุลินทรีย์ในปมพืชตระกูลถั่ว เป็นตัวเร่งการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตส ในการเปลี่ยนรูปไนเตรท NO-3 ให้เป็น NH-2 ในพืช

จุลินทรีย์ในดินที่อาศัยในปมรากพืชตระกูลถั่วมีความต้องการธาตุนี้ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ซึ่งพืชจะใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

ถ้าขาดธาตุโมลิบดีนัม พืชจะแสดงอาการสีซีดขาวตรงบริเวณระหว่างเส้นใบและต้นเตี้ย ซึ่งอาจพบในพืชประเภททุ่งหญ้า พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันเทศ ถั่วเหลืองและผักต่าง ๆ ถ้าขาดมากขอบใบจะไหม้ ม้วนลงเล็กน้อยคล้ายหลอด พืชที่ขาดธาตุนี้จะมีไนเตรทสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของต้น ในปริมาณสูงผิดปกติ

ธาตุคลอรีน (CI)
มีความสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช พบเล็กน้อยในโมเลกุลอินทรีย์ของพืช ช่วยรักษาความเต่งตึงของเซลล์

ถ้าขาดธาตุคลอรีน จะแสดงอาการที่ใบอ่อน ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉา ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และอาจแห้งตาย ส่วนรากจะเกิดรากแขนงมากเกินไป แต่เนื่องจากพืชสามารถใช้ธาตุนี้ทั้งจาก ในดิน ในน้ำฝน รวมทั้งในอากาศ จึงไม่พบอาการขาดธาตุนี้

ธาตุคลอรีนพบมากในดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ในดินที่มีการใช้น้ำชลประทานที่มีธาตุนี้ผสมอยู่มาก ดินในที่ลุ่มที่ได้รับน้ำจากบริเวณใกล้เคียง และมีการระบายน้ำเลว รวมทั้งดินที่มีการถูกชะล้างน้อยปัญหาที่พบเกิดกับธาตุนี้คือ พืชจะดูดใช้ธาตุนี้มากเกินไป ทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะพืชที่ขึ้นในดินเค็ม ซึ่งจะแสดงอาการใบไหม้ที่ยอดใบและตามขอบใบ