ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Pitipol |
ตอบ: 19/12/2009 7:49 pm ชื่อกระทู้: ชู ‘3 ผลไม้ดัง’พระเอกส่งออก ซี.พี.การันตี |
|
ที่มา : http://www.logisticsdigest.com/index2.php?option=com_content&do_pdf=1&id=1028
ข่าวเมื่อ 02-Jul-08
จาก Manager Weelky
ชู 3ผลไม้ดังพระเอกส่งออก ซี.พี.การันตีสดใสทั้งใน-นอก
ซี.พี.เดินหน้าส่งออกผลไม้ไทยไปต่างประเทศ ชู 3 ผลไม้หลัก "มังคุด -มะม่วง - ส้มโอ"ทั้งในตลาดญี่ปุ่น-จีน เชื่อปีนี้ฟันกําไร 120 ล้าน ฟันธง "เวียดนาม"ยังห่างไทยในด้านรสชาติ ด้าน "ล้งขนาน" ชี้ปัญหาผลไม้ราคาตกเหตุ "พ่อค้าคนกลาง" กดราคาก่อนส่งออก-ชาวสวนต้องรับกรรม .!
เข้าสู่ช่วงหน้าปลายหน้าร้อนเข้าสู่หน้าฝนผลไม้หลากหลายชนิดออกสู่ท้องตลาดจํานวนมากทั้งในและนอกประเทศ ทั้งมังคุด มะม่วง เงาะ ทะเรียน ส้มโอ และ ลองกอง เป็นต้น จนบางทีผลไม้เหล่านี้เกิดการล้นตลาดทําให้ราคาตกต่ำจนมีการนํามาเททิ้งประชดรัฐบาลอย่างที่เคยเห็นกันมา
ขณะที่ชาวสวนเองปีหนึ่งเก็บผลผลิตได้แค่หนึ่งหรือสองครั้งก็ขาดทุนเจ็บตัวตามๆกัน แต่ภาคการส่งออกกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผลไม้ไทยยังสามารถตีตลาดทั้งในญี่ปุ่น จีน และ ออสเตรเลีย อียู หรือแม้กระทั่งอเมริกาด้วยมูลค่าการส่งออกหลายหมื่นล้านต่อปีซึ่งในบริษัทที่ส่งออกผลไม้ชั้นนําของไทยไม่มีใครปฏิเสธว่าซี.พี.คือหนึ่งในผู้ส่งออกผลไม้ที่สร้างรายอย่างเป็นกอบเป็นกํา
มะม่วง-ส้มโอ'ขึ้นห้าง-ส่งออก
เกรียงไกร วัฒนาสว่าง ผู้จัดการทั่วไปบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จํากัดกล่าวถึงการส่งออกผลไม้ของเครือซี.พี.ว่า ทางบริษัทเริ่มเข้าสู่ตลาดผลไม้ในปี 2532 โดยเริ่มทดลองแปลงปลูกที่ฟาร์มราชบุรีพื้นที่ปลูก 2, 500 ไร่ฟาร์มกบินทร์บุรี 1,500 ไร่ และ ชลบุรีที่ อ.พนัสนิคม 1,200 ไร่ โดยเริ่มปลูกผลไม้ 2 ชนิดด้วยกันคือ ส้มโอ. พันธุ์สายน้าผึ้ง. และทองดี. และมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้. อาร์ทูอีทู. มหาชนก. โชคอนันต์. ทวายเดือนเก้า. และมหาโชค. เพื่อการส่งออกและขายในประเทศ
โดยตลาดในประเทศจะเป็นตลาดระดับสูงเป็นสินค้าพรีเมี่ยมที่รับออเดอร์จากห้างใหญ่ๆอาทิ ดิเอ็มโพเรี่ยม พารากอน ฟูดแลนด์ ฟูจิ ส่วนระดับล่างจะเป็น โลตัส เดอะมอลล์ ซึ่งยอดจําหน่ายในประเทศแค่ 15 % ของการผลิตทั้งหมด
ส่วนตลาดส่งออกกว่า 85% จะเป็น จีน ฮ่องกง แคนาดา ออสเตรเลีย และตลาดใหม่อย่างประเทศญี่ปุ่นที่รอเพียงใบอนุญาตส่งออกมะม่วง ขณะที่ส้มโอยังต้องทําการตลาดและสอนวิธีบริโภคเพราะคนญี่ปุ่นเองยังไม่คุ้นเคยในการบริโภคส้มโอที่ถูกวิธี
มังคุด'ฟันกําไรงามในญี่ปุ่น
นอกจากส้มโอและมะม่วงแล้วยังมีมังคุดที่ซี.พี.ผลักดันไปสู่ตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างญี่ปุ่นที่ซี.พี.สามารถยึดครองตลาดในการส่งออกมากกว่า 32% ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งอยู่ในขณะนี้ด้วยมูลค่าการส่งออก100 ตัน/ปี
"ปีที่แล้ว (2550) เรายอดการจําหน่ายทั้งในและนอกประเทศกว่า 80 ล้านบาทแต่ปีนี้เป้าหมายการจําหน่ายที่ 120 ล้านบาทน่าจะเป็นไปได้" เกรียงไกร กล่าวยืนยัน
ร่วมทุนญี่ปุ่นผุด รง. คุณภาพ/เทคโนฯ
ขณะที่ "บรรหาร วิศมิตะนันท์" ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ซี.พี.ไดมอนสตาร์ จํากัดกล่าวเพิ่มเติมว่าบริษัทซี.พี.ไดมอนสตาร์ได้ร่วมทุนกับเครือ ไดมอนสตาร์ ประเทศญี่ปุ่นสร้างโรงงาน และ นําเข้าเทคโนโลยีเครื่องสแกนเนอร์มังคุดเครื่องเดียวในเมืองไทยด้วยมูลค่าการลงทุนลงทุนกว่า 70 ล้านบาทโดยซี.พี.ถือหุ้น 51 % และไดมอนสตาร์อีก 49 % ภายใต้เครื่องหมายการค้าส่งออกที่ชื่อ "DS" และทําการตลาดทั้งหมดในญี่ปุ่นโดยเครื่องสแกนเนอร์ดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ถึงเนื้อในมังคุดว่ามีผลสมบูรณ์ 100% ก่อนการส่งออกเพราะหากเจอว่ามังคุดมียางไหลหรือเนื้อแก้วจะต้องถูกตีกลับทั้งหมด
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นที่วางขายที่ท้องตลาดจะมีราคาแพงมากอย่างน้อยลูกละ 80 บาทขึ้นไปทําให้ต้องการหลักประกันว่าหากมังคุดลูกไหนไม่สมบูรณ์สามารถนํามาเคลมประกันรับเงินคืนได้ทุกลูกซึ่งเท่าที่ผ่านมายังไม่มีลูกค้ารายได้นํา มามังคุดที่ซื้อไปมาคืน
"เวียดนาม" สู้ไทยไม่ได้เพราะรสชาติ
นอกจากนี้แล้วสําหรับมังคุดส่งออกนอกจากตลาดญี่ปุ่นแล้วยังส่งออกไปยังออสเตรเลีย ไต้หวัน และแคนาดาโดยในอนาคตสามารถส่งออกไปประเทศต่างๆเพิ่มเติมได้อีกด้วย "สําหรับคู่แข่งไทยอย่างเวียดนามยอมรับว่ามีทั้งเงาะ มังคุด ทุเรียน หรือแม้กระทั่งมะม่วงแต่หากส่งออกแล้วสู้ผลไม้จากไทยไม่เพราะรสชาติของผลไม้ไทยอร่อยกว่าและเป็นที่ยอมรับมากกว่าในตลาดต่างประเทศเวียดนาม จึงไม่ใช่คู่แข่งไทยในตลาดผลไม้" บรรหาร กล่าวชี้แจง
คอนแทรกฟาร์มมิ่งรับรองส่งออก
สําหรับพื้นที่เพราะปลูกเพราะการส่งออกมังคุดนั้นซี.พี.ได้ทําคอนแทรกฟาร์มมิ่งกับเจ้าของสวนในภาคตะวันออกจํานวน 15 รายและภาคใต้ 7 รายซึ่งจะรับซื้อมังคุดจากสวนเหล่านี้ 3 ขนาดด้วยกันคือ ไซส์ S น้ำหนักขนาด 65-75 กรัม ,ไซส์ M น้ำหนักขนาด 75 -100 กรัม และไซส์ L ขนาด 100-125 กรัม
ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกนอกจากซี.พี.จะปลูกเองแล้วยังทําคอนแทรกฟารม์มิ่งด้วยกันคือภาคเหนือจะมี เชียงใหม่ สุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลก ด้านภาคอีสาน จะมีจังหวัด นครราชสีมา เลย อุดรธานี ภาคกลางจะมีจังหวัดสุพรรณบุรี และอุทัยธานี
แฉขบวนการ "ฮั้ว"มังคุดก่อนส่งออก
อย่างไรก็ดีเพื่อให้มองเห็นภาพของผลไม้ไทยในตลาดต่างประเทศที่ชัดเจนมากขึ้น "ขนาน ศุภธนันทิ" ผู้รับซื้อผลไม้ (ล้ง) รายใหญ่ในจังหวัดจันทบุรีอธิบายว่า ราคาผลไม้ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วพอสมควรชาวสวนพอจะมีกําไรกันอยู่บ้างจากการขายผลผลิต แต่ฤดูกาลผลไม้ปีนี้สั้นกว่าปีที่เพราะฝนมาเร็วกว่าปกติ โดยผลไม้ที่เป็นพระเอกในการส่งออกปีนี้ยังเป็นมังคุดเป็นอย่างนี้มา 5 ปีแล้วแต่ทุเรียนกลับลดน้อยลงเรื่อยๆเพราะชาวสวนไม่นิยมปลูกเพราะการรักษาดูแลถือว่าไม่คุ้มต่อการลงทุน ขณะที่เงาะเองก็เน้นขายในประเทศส่งไปที่ภาคอีสานแทน
"ปัญหามังคุดในการส่งออกคือพ่อค้าคนกลางหลายบริษัทๆจะฮั้วราคากันกดราคาผลไม้ไทยก่อนนําไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้เกษตรกรกําหนดราคาเองไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ที่น่าจะมีคนเข้ามาแก้ไข" ลุงขนาน กล่าวยืนยัน |
|
|
Pitipol |
ตอบ: 19/12/2009 11:52 am ชื่อกระทู้: |
|
น่าจะมีเครื่องยิงใส่ต้นไม้ แล้วสามารถบอกได้ว่า ต้นไม้ต้นนี้ ขาดแร่ธาตุอาหารอะไรบ้าง |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 18/12/2009 2:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
CHEER CHEER ลาดระบัง CHEER CHEER........
วันนั้นของปีนี้ ฟังเจ้าสัว "ธนินทร์ เจียระวนนท์" ทาง ทีวี. MCOT-1 ไปพูดที่สโมสรทหารอากาศ...เจ้าสัวพูดว่า....
"......ทุเรียนของ ซีพี. รับรองแก่จัดแล้วก็สุกทุกลูก ก่อนเก็บลงมาจากต้น เราจะ "ยิง" ทุกลูก ส่งไปถึงผู้บริโภคต่าง
ประเทศแล้วไม่มีคำว่าผิดหวัง......"
เราก็สงสัย-สงสัย-สงสัย มาตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ คำว่า "ยิง" หมายถึงอะไร ถามใครๆก็ไม่รู้ ไม่มีคำตอบ แถมยังย้อนเราว่า "ฟังผิด" ซะอีกแน่ะ.....ถึงวันนี้ "ใช่เลย-ใช่เลย"
บอกแล้วไง "....คำพูดบางคำ จากใครบางคน ในบางโอกาส ได้ฟังแล้วคิด สามารถพลิกผันสาถานการณ์ชีวิตได้......" ตอบว่า "ไช่เลย" หรือว่าไม่จริง
ฝากใครก็ได้ ค้นคว้าต่อครับ
ลุงคิมครับผม |
|
|
Aorrayong |
ตอบ: 18/12/2009 5:41 am ชื่อกระทู้: |
|
http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=573
เก็บผลไม้แบบไฮเทค ใช้ ไมโครเวฟวัดความสุกดิบให้ทุเรียน
"ไมโครเวฟ" คือคลื่นความถี่ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กับระบบสื่อสารแบบไร้สายมานานหลายสิบ ปี แต่อีกไม่นานเกษตรกรอาจมีเฮ เมื่อมีการใช้คลื่นดังกล่าวช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในสวนผลไม้ไทย โดยการติดชิพไว้กับผลไม้บนต้น เมื่อผลไม้สุกระบบจะส่งสัญญาณออกมา เพื่อบอกให้เกษตรกรที่เข้าไปในสวนพร้อมกับเครื่อง PDA ทราบว่าผลไม้ลูกไหนพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว
ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ประจำปี 2548 ได้พัฒนา เครื่องอบลดความชื้นระบบไมโครเวฟขนาดเล็ก เพื่อใช้สำหรับลดความชื้นให้กับข้าวสารและข้าวโพด ซึ่งเหมาะในการใช้งานในระดับกลุ่มเกษตรกร หรือระดับชุมนุมสหกรณ์ที่ทำให้สามารถนำผลผลิตซึ่งสต๊อกเก็บไว้ในช่วงที่มีผล ผลิตมีราคาต่ำ มาลดความชื้นอีกครั้งจนเหลือความชื้นในระดับที่ตลาดต้องการได้อย่างรวดเร็ว และส่งให้ลูกค้าได้ทันต่อยอดที่สั่งซื้อเข้ามา
นอกจากการใช้ไมโครเวฟกับการลดความชื้นผลผลิตพืชไร่แล้ว ทีมวิจัยของ ศ.ดร.โมไนย ยังมีการประยุกต์ความรู้ ไมโครเวฟ ร่วมกับความรู้ด้าน ระบบสื่อสารแบบไร้สาย เพื่อพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดความสุกของผลไม้
ปัจจุบันในหลายประเทศ ได้มีการจดสิทธิบัตรเทคนิคการใช้แสงอินฟราเรดในการตรวจวัดค่าความสุก หรือความหวานของผลไม้ อันทำให้ลดปัญหาการเก็บผลไม้ลูกที่ยังไม่ถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้เป็นอย่าง ดี และได้พัฒนาเครื่องมือดังกล่าวมาให้เกษตรได้ใช้แล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงการใช้คลื่นไมโครเวฟกับการตรวจวัดความสุกดิบ หรือความหวาน ความเปรี้ยว ของสินค้าเกษตรมาก่อน ดังนั้น การศึกษาถึงเทคนิคการใช้คลื่นไมโครเวฟในการวิเคราะห์หาความสุกของผลไม้จึง เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน
ทั้งนี้ จากการทดลองในห้องแลปที่ใช้คลื่นไมโครเวฟยิงเข้าไปในมะม่วงที่เก็บเกี่ยวมาในระยะเวลาต่างกัน ก็พบว่า ใน เนื้อของผลไม้สุกและมะม่วงดิบจะมีความแตกต่างกันของคุณสมบัติทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถตรวจวัดได้จากคลื่นไมโครเวฟที่ถูก ยิง ผ่านผลมะม่วง และเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างคงที่สำหรับไม้ผลแต่ละชนิด โดยเฉพาะกับผลไม้ที่มีเปลือกบาง เช่น มะม่วง ส้ม นอกจากนี้ เทคนิคดังกล่าวยังสามารถใช้ได้ในการคัดแยกมังคุดที่มีปัญหาเนื้อแก้วยางไหล ได้ โดยไม่ต้องปอกเปลือก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสำคัญของการส่งออกผลไม้ได้อีกด้วย
ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ ทางเราต้องการจะใช้ความรู้ด้านสายอากาศมาช่วยพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดความสุก ของผลไม้ ด้วยไมโครเวฟนี้ ให้มีขนาดเล็กเท่ากับพวงกุญแจ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรพกติดตัวเข้าไปในสวนได้ และสามารถใช้ตรวจสอบ ได้ทันทีว่าผลไม้ลูกไหนพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวแล้ว นอกจากนี้ เราได้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีสายอากาศมาผสมผสานกับเครื่องไมโครเวฟ เพื่อสร้าง ระบบฟาร์มฉลาดหรือ Smart Farm
ระบบฟาร์มฉลาด(Smart Farm) คือระบบการจัดการฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดูแลอย่างครบวงจร ซึ่งในส่วนของการตรวจวัดความพร้อมของผลผลิตเพื่อการเก็บเกี่ยวนั้น ทีมวิจัยมุ่งหวังที่จะนำความรู้มาพัฒนาออกแบบ ชิพที่สามารถนำไปติดไว้กับผลไม้บนต้น โดยชิพดังกล่าวจะมีระบบไมโครเวฟที่สามารถตรวจวัดความสุกของผลไม้ลูกนั้นได้ ตลอดเวลา และมีระบบส่งสัญญาณออกมา เพื่อบอกให้เกษตรกรที่เข้าไปในสวนพร้อมกับเครื่อง PDA ทราบว่าผลไม้ลูกไหนพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว
สิ่งที่เราทำตอนนี้คือ การออกแบบชิพที่จะสามารถวิเคราะห์ความสุกของผลไม้ได้อย่างแม่นยำ และส่งสัญญาณเตือนไปยังเครื่องรับที่ตัวเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ภายใน 3 ปี จะเริ่มทำการทดสอบเทคโนโลยีนี้กับสวนทุเรียนที่ จ.จันทบุรี ซึ่งหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง ก็จะช่วยทำให้สามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้ตรงกับระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะ สมได้ทุกๆลูก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีรายได้จากการขายมากขึ้นแล้ว ยังทำให้มีผลผลิตคุณภาพส่งออกในปริมาณที่มากขึ้นอีกด้วย ศ.ดร.โมไนย กล่าว
นับเป็นงานวิจัยที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อเกษตรกรไทย โดยการติด สายอากาศ ให้กับทุเรียนทุกลูก ซึ่งหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง การเก็บเกี่ยวผลผลิตในสวนผลไม้ไทยก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายและไฮเทคแบบสุดๆ
แหล่งที่มา : www.manager.co.th |
|
|
ott_club |
ตอบ: 17/12/2009 9:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
เพิ่งเคยได้ยินเนี่ยแหละเครื่องตรวจความแก่อ่อนของทุเรียน แปลกนะสิ่งประดิษฐ์ดีๆ แบบนี้ผลิตตั้งแต่ปี 43 ปีปัจจุบัน 52 ก็เกือบจะ10 ปีแล้ว แต่ไม่เห็นมีใครพัฒนาต่อยอด หรือกล่าวขานถึง ถ้าลุงคิมไม่พูดถึงก็คงไม่รู้จักต่อไป ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนก็ยังเป็นปัญหาโลกแตกของประเทศไทยต่อไป
พอถึงหน้าทุเรียนก็ประกาศกันเข้าไปป่าวๆ "ชาวสวนอย่าตัดทุเรียนอ่อน" "ชาวสวนอย่าตัดทุเรียนอ่อน" แล้วใครละเป็นคนตัดก็พ่อค้าส่งออกนั่นแหละตัวดี แต่ชาวสวนก็รู้ทั้งรู้ว่ามันยังอ่อนก็ยอมให้เขาเข้าตัด สรุปมันก็วนไปวนมาเป็นงูกินหาง เฮ้อ!ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ได้แต่อนาจใจ
อ๊อด |
|
|
Aorrayong |
ตอบ: 17/12/2009 8:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
ที่มา www.iat.or.th/inventor/invention_doc/100035845.pdf
เครื่องต้นแบบสำหรับตรวจหา
ความแก่อ่อนของทุเรียน
แบบไม่ทำลายด้วยการใช้อุลตร้าโซนิกส์
THE PROTOTYPE FOR NONDESTRUCTIVE
MATURITY DETERMINATION OF DURIAN BY
USING ULTRASONIC
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หัวหน้าผู้ประดิษฐ์ : รศ.ดร.โกสินทร์ จำนงไทย
ผู้ร่วมประดิษฐ์ : นายวุฒิวัฒน์ คงรัตนประเสริฐ
ที่มาของการประดิษฐ์คิดค้น
ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย พบได้มากในช่วงฤดูร้อน มีเปลือก
หนา ผิวไม่เรียบ มีหนามแหลม ขนาดใหญ่ รูปทรงและจำนวนพูที่ไม่แน่นอน เมื่อกลายเป็นทุเรียน
แก่ เนื้อผลจะนิ่มมีสีเหลืองนวล รสหวานมัน กลิ่นหอมน่ารับประทาน ในการบริโภคนิยมบริโภค
เนื้อผลทุเรียนสดที่แก่มากกว่าทุเรียนอ่อน เพราะเนื้อผลทุเรียนอ่อน จะแข็ง มีรสจืดชืด สีขาวซีด
ตามคุณลักษณะของทุเรียน ทุเรียนอ่อนที่มีการจัดเก็บจากต้นแล้วจะไม่มีโอกาสที่จะกลายเป็น
ทุเรียนแก่ได้
ในแต่ละปีจะมีการส่งทุเรียนจากแหล่งผลิตไปจำหน่ายยังตลาดทั้งภายในประเทศและต่าง
ประเทศเป็นจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี (ปี พ.ศ. 2542 ส่งออกมูลค่า 2,122.64
ล้านบาท) เท่าที่ผ่านมาทุเรียนจากประเทศไทยได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศว่ามีคุณภาพดี
กว่าทุเรียนจากประเทศอื่นเป็นที่นิยมในการบริโภคอย่างมากทำให้ราคาทุเรียนต่อผลในต่างประเทศ
มีราคาสูงมาก เช่น ไต้หวันราคาผลละ 1,035 บาท, ญี่ปุ่นราคาผลละ 6,000 บาท ซึ่งเห็นได้ว่ามีราคา
สูงมากในประเทศญี่ปุ่น มากกว่า 28 เท่าของราคาในประเทศไทย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคทั้งภายใน
ประเทศและต่างประเทศ มักประสบปัญหาเมื่อทุเรียนที่ซื้อมามีคุณภาพด้อยกว่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจาก
การตัดผลทุเรียนอ่อนปะปนกับทุเรียนดี การใช้สารเคมีเร่งให้สุก ความแห้งแล้งในช่วงเก็บเกี่ยวจะ
ทำให้ทุเรียนร่วงก่อนกำหนด ซึ่งบังคับให้ชาวสวนจำเป็นต้องตัดทุเรียนขณะที่ยังอ่อน ในบางฤดู
อาจเจอสถานการณ์ทางธรรมชาติ เช่น พายุ เป็นต้น ก็จะทำให้ผลผลิตลดลงได้ ปัญหาที่ส่งผล
กระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกทุเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ คือการส่งออกทุเรียนอ่อนคละเคล้าไปกับ
ทุเรียนแก่ ทำให้ชาวต่างประเทศเกิดความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจและกดราคาลง ก่อให้เกิดความเสียหาย
อย่างมากต่อเศรษฐกิจ ของประเทศไทย กระประกันคุณภาพเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่าง
ยิ่ง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดคุณภาพแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Quality Testing) อย่าง
อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการตรวจวัดคุณภาพผลทุเรียนกระทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างที่ซับซ้อน
ของทุเรียนคือ เปลือกหนา ผิวไม่เรียบ มีหนามแหลม ขนาดใหญ่ รูปทรงและจำนวนพูที่ไม่แน่นอน
กลุ่มผู้ประดิษฐ์จึงริเริ่มพัฒนาเครื่องต้นแบบครวจหาความแก่อ่อนของทุเรียน
ระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้น
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2544
คุณสมบัติและลักษณะเด่น
1. สามารถตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียนแบบไม่ทำลายได้
2. ไม่ทำให้ผลทุเรียนเกิดความเสียหายทั้งลักษณะภายนอกและภายใน
3. สามารถตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียนได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับขนาด, รูปร่าง, น้ำหนัก
ก้านขั้วผลของทุเรียน
4. สามารถประยุกต์นำไปใช้ในการประกันคุณภาพผลทุเรียนทางด้านการอุตสาหกรรมส่ง
ออกผลทุเรียนสดได้
หลักการ วิธีการ และกรรมวิธี
เนื่องจากเมื่อทุเรียนแก่ โพนงอากาศระหว่างเนื้อกับเปลือกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามรูปที่ 1
เมื่อป้อนสัญญาณกรสั่นสะเทือนหรืออุลตร้าโซนิกส์ สัญญาณที่ได้รับจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันตาม
ขนาดของโพนงอากาศ จึงเกิดความคิดในการสร้างระบบส่งกำลังผ่านพิโซอิเล็กตริกตัวส่งผ่าน
เปลือกให้สัญญาณสะท้อนออกมา และรับสัญญาณด้วยพิโซอิเล็กตริกตัวรับดังรูปที่ 2 รูปแบบของ
สัญญาณที่ได้รับจะแตกต่างกันระหว่างทุเรียนแก่และอ่อน
วิธีการเซ็ทฮาร์ดแวร์
1. จัดเตรียมผลทุเรียนที่จะทำการแยกแยะหาความแก่อ่อน
2. วางผลทุเรียนบนแท่น PVC ขงเครื่องต้นแบบในลักษณะแนวนอนขนานกับแท่นรอง
โดยให้พูที่จะทำการยิงและรับคลื่นอุลตร้าโซนิกส์อยู่ด้านบนสุด ตามรูปที่ 3
3. ปรับตั้งพิโซอิเล็กตริกตัวส่งและรับ ให้ปลายด้านส่งหรือรับคลื่นอุลตร้าโซนิกส์สัมผัส
กับร่องหนามบริเวณกลางพู โดยที่มุมของพิโซอิเล็กตริกทั้งตัวส่งและรับเอียงทำมุม 60 องศากับ
แนวระนาบเท่าๆ กัน คือ มุมตกกระทบเท่ากับสะท้อน เพื่อให้การส่งและรับสัญญาณ มีประสิทธิ
ภาพสูง ตามรูปที่ 4
4. ปรับความถี่ของชุดส่งคลื่นอุลตร้าโซนิกส์ ไปที่ความถี่ในการตอบสนอง ของวงแหวน
เซรามิกของพิโซ (Piezo-ring) สำหรับเครื่องนี้ตั้งที่ความถี่ 200 กิโลเฮิรตซ์ และปรับแหล่งจ่ายแรง
ดันด้านขดปฐมภูมิของหม้อแปลง ความถี่สูงไปที่ 20 โวลต์
5. การปรับตั้งออสซิโลสโคปสำหรับวัดสัญญาณ โดยต่อสายวัดสัญญาณช่องที่ 1 ของออส
ซิโลสโคปเข้ากับขดทุติยภูมิของหม้อแปลงความถี่สูงของชุดส่งคลื่นอุลตร้าโซนิกส์ เพื่อใช้สำหรับ
แสดงขนาดและความถี่ของคลื่นอุลตร้าโซนิกส์ที่ส่งให้กับผลทุเรียน ตามรูปที่ 5
รูปที่ 5 สัญญาณอุลตร้าโซนิกส์บนออสซิลโลสโคป
ส่วนสายวัดสัญญาณช่องที่ 2 ต่อเข้ากับด้านเอาต์พุตของวงจรชุดรับคลื่นอุลตร้าโซนิกส์
สำหรับวัดคลื่น อุลตร้าโซนิกส์ที่สะท้อนผ่านผลทุเรียน และต่อสายเชื่อมต่อข้อมูล (Data link) จาก
ทางเข้าออก (Port) RS232 ของออสซิโลสโคปเข้ากับทางเข้าออก RS232 ของเครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการทางซอฟต์แวร์
การแยกยาความแก่อ่อนของทุเรียนด้วยอุลตร้าโซนิกส์ มีวิธีการแยกแยะด้วยการ สห
สัมพันธ์ความหนาแน่นของแถบความถี่ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ป้อนสัญญาณอุลตร้าโซนิกส์ที่วัดได้ แล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล
ทำการเลือกช่วงความถี่สูงและช่วงต่ำโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต
ทำการหาความหนาแน่นของแถบความถี่ในช่วงสูงและต่ำ
ทำการจับคู่เพื่อหาว่าทุเรียนที่ตรวจวัดตรงกันกับสัญญาณของทุเรียนแก่หรือทุเรียน
อ่อนดังตัวอย่างของสัญญาณที่แสดงในรูปที่ 6
ตัดสินความแก่อ่อนของทุเรียนตามค่าแบ่งที่กำหนดไว้ก่อนและเอาต์พุทผลการตัดสิน
รูปที่ 6 ตัวอย่างสัญญาณของทุเรียนแก่และอ่อน
วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
1. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ, ตัวเหนี่ยวนำ สำหรับทำ
วงจรกำเนิดสัญญาณความถี่สูง, วงจรขับกำลังสูง และวงจรรับสัญญาณความถี่สูง
2. พิโซอิเล็กตริก (ประกอบด้วย Piezo-ring, หัว Piezo สเตนเลส)
3. ชุดคอมพิวเตอร์
4. ผลทุเรียนพันธุ์หมอนทอง, ชะนี, ก้านยาว, กระดุม
งบประมาณที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
ประมาณ 40,000 บาท
ประโยชน์ที่ได้รับ
สามารถตรวจความแก่อ่อนของทุเรียน
เทคนิคในการประดิษฐ์เครื่องต้นแบบสำหรับการตรวจความแก่อ่อนทุเรียน
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นต้นแบบสำหรับการผลิตเครื่องในโรงงานอุตสาหกรรม
ใช้ในการตรวจเพื่อแยกทุเรียนแก่อ่อนก่อนการส่งออกต่างประเทศเพื่อประกันคุณภาพ
สถานที่ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์วิชั่น (Computer Vision Lab.),
ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, คณะวิศวกรรมศาสตร์,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
91 ถ.ประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ 0-2470-9064
โทรสาร 0-2427-9636
e-mail: kosin.cha@kmutt.ac.th, Homepage: http://hello.to/vision.lab |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 17/12/2009 7:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้ยินมารก.....
1...... สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (อาจจำผิด) ที่แน่ๆคือ "วิทยาลัยเทคโนโลยีบางมด" นั่น
แหละ คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องวัดความ "แก่-สุก" ของทุเรียนได้ ด้วยคลื่นรังสี.....ข่าวนี้เงียบหายไป
2..... ใน ทีวี.ช่องเอ๊กไซติ้ง. เกมแข่งขันพิสูจน์แคนตาลูป 10 ผล ว่าผลไหนหวานที่สุด ผู้แข่งขันเกมต่างก็ใช้สารพัดวิธีที่ตัวเองรู้มา..... ถึงคราวตัดสิน กรรมการหยิบเครื่องวัดความหวานโดยไม่ต้องผ่าผลแคนตาลูป เครื่องมือนั้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดหนาประมาณฝ่ามือตั้ง ยาวครึ่งศอกแขน กว้าง 1 คืบมือ อันนี้ตรวจสอบโดยเทียบกับมือคนใน ทีวี. ด้านบนมีช่องตัวเลข (ดิจิตอล) ให้อ่านค่าความหวาน จากล่องที่ว่า มีสายขนาดดินสอ ที่ปลายสายมีแป้นกลมๆเหมือนแป้นวัดเสียงที่หมอวางแปะบนหน้าอกหรือแผ่นหลังคนป่วยเพื่อฟังเสียงในช่องอกนั่นแหละ.....ทันทีที่แปะเจ้าแป้นวัดตัวนี้ลงบนผลแคนตาลูป ตัวเลขดิจิตอลโชว์ทันที่ ผลที่หวานที่สุด วัดความหวานได้ 13.5 องศาบริกซ์ ผลที่หวานน้อยที่สุดวัดได้ 9.5 องศาบริกซ์
ใครมีข้อมูลเจ้า 2 เครื่องที่ว่านี้ น่าจะนำมาโพสให้รู้กันนะ
ลุงคิมครับผม |
|
|
Pitipol |
ตอบ: 16/12/2009 9:56 pm ชื่อกระทู้: เครื่องคัดมังคุดเครื่องแรกของโลก |
|
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentId=37343
ตรวจสอบภายในและรสชาติผลไม้
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณะนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทีมนักวิจัยของประเทศญี่ปุ่น คิดค้น สิ่งประดิษฐ์เครื่องคัดผลไม้ สามารถตรวจสอบคุณภาพภายในของมังคุด และ มะม่วง พร้อมวัดความสุกแก่ หรือความหวานของผลไม้ชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย
นางวารุณี ธนะแพสย์ รองผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ หนึ่งในทีมผู้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครื่องคัดมังคุดในระบบสายพานเพื่อตรวจสอบเนื้อแก้ว, ยางไหล และความหวาน” เล่าว่า โครงการนี้ได้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากกระทรวงเกษตร, ป่าไม้ และประมง จากประเทศญี่ปุ่น (MAFF) ในปีงบประมาณ 2550 และ 2551 และได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกันกับ 4 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มูลนิธิสถาบันเทคโนโลยี SAIKA ประเทศญี่ปุ่น, สถาบันวิจัยอาหารแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น และสมาคมนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตร ป่าไม้ และประมง แห่งประเทศญี่ปุ่น
เครื่องคัดผลไม้นี้สามารถตรวจสอบคุณภาพภายในของผลไม้ได้ผลแม่นยำ โดยการวิจัยได้เลือกตรวจสอบคุณภาพภายในของผลไม้ 2 ชนิด คือ มังคุด และ มะม่วง เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ประเทศไทยมีการส่งออกไปต่างประเทศมากกว่าผลไม้ชนิด อื่น ๆ อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับชาวต่างชาตินิยมรับประทาน ส่วนผลไม้ชนิดอื่น ๆ ก็สามารถวัดได้เช่นกัน แต่ต้องมีการพัฒนาระบบต่อไปอีก
นางวารุณี เล่าถึงหลักการทำงานของเครื่องคัดผลไม้ด้วยระบบสายพานว่า เครื่องคัดผลไม้มีขั้นตอนการทำงานหลัก 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ ระบบลำเลียงผลไม้จะผ่านระบบสายพานถูกลำเลียงไปยังจุดถ่ายภาพ เพื่อวัดขนาด และวัดสีผิวที่เปลือก หลัง จากนั้นจะส่งต่อไปยังจุดที่สองเพื่อสแกน ด้วยแสงย่านใกล้อินฟราเรด (Near Infrared Spectroscopy) และขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการคัดคุณภาพของมังคุดเนื้อแก้ว และยาง ไหลออกจากมังคุดดี
นอกจากนี้เครื่องยังสามารถตรวจสอบความหวาน โดยแบ่งความหวานเป็นปริมาณมาก ปานกลางและน้อยตามลำดับได้
ขณะนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนวิจัยขั้นสุดท้ายคือ การนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงอุตสาหกรรมส่งออกมังคุด ทีมนักวิจัยยังคงต้องดำเนินงานวิจัยไปอีกสักระยะหนึ่ง เพื่อเก็บข้อมูลให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้การตรวจสอบโดยวิธีไม่ทำลายมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น โดยจะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลปลูก, การดูแลรักษา, พื้นที่การปลูก เป็นต้น มาศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้ทีมงานวิจัย คาดว่าจะสามารถพัฒนาเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบในการตรวจสอบเนื้อแก้ว, ยางไหล และความหวานของมังคุด โดยไม่ทำลายได้ในลักษณะระบบสายพานที่จะใช้ในโรงบรรจุผลไม้ ซึ่งจะสามารถคัดมังคุดส่งออกให้มีคุณภาพดีไปยังต่างประเทศได้ และจะช่วยทำให้ประเทศชาติสามารถขยายการส่งออกมังคุดได้มากขึ้น นอกจากนี้เครื่องคัดผลไม้ระบบสายพานยังสามารถวัดความสุก แก่ หรือความหวานของผลไม้ชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ เงาะ ส้มโอ เป็นต้น
เครื่องคัดผลไม้ด้วยระบบสายพาน จึงเป็นนวัตกรรมใหม่อีกชิ้นหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ส่งออกมังคุด และส่งออกผลไม้ชนิดอื่น รวมถึงผู้ประ กอบการ หน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน นอกจากนี้ยังถือเป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย นับเป็นเครื่องคัดผลไม้เครื่องแรกของโลกที่สามารถตรวจสอบ คุณภาพภายในและรสชาติของผลไม้เมืองร้อนที่มีเปลือกหนาได้ผลโดยไม่ต้องทำลาย ผลไม้
สนใจข้อมูลสอบถามได้ที่ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ โทร.0-2942-8600-3 ต่อ 503 หรือ 506. |
|
|