kimzagass |
ตอบ: 22/10/2014 9:57 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 22 OCT **สูตรสารสมุนไพร ปราชญ์ชาวบ้าน-เกษต |
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 22 OCT
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........
-----------------------------------------------------------
จาก : (091) 640-27xx
ข้อความ : คุณลุงครับ ปราชญ์ชาวบ้านบอกวิธีทำสารสกัดสมุนไพร ให้ใส่กากน้ำตาล จุลินทรีย์ พด. แต่เกษตรกรดีเด่น บอกให้ใส่แอลกอฮอร์ เหล้าขาว กับน้ำส้มสายชู แต่ของลุงคิมไม่ใส่ แล้วแบบของไหนจะแรงกว่ากันครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ทำสารสกัดสมุนไพรใส่ กากน้ำตาล จุลินทรีย์ เป็นสูตรดั้งเดิม เหมือนกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว นานมากจนจำไม่ได้ หะแรก ที่นี่ก็แนะนำสูตรนี้เหมือนกัน แต่วันนี้เปลี่ยนไปด้วยข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องมากกว่า
- ราว 10 ปีก่อนหน้านี้ ไปดู สนง.จังหวัดเกษตรสุพรรณบุรี แนะนำการทำสารสะเดา เห็นบอกว่าทำ สารสกัดสะเดา สารสกัดสะเดา เรียกชื่ออย่างนี้ ครั้นไปเห็นจริงๆเข้า อภิโธ่อภิถัง น้องนางบ้านนา น้ำแช่สะเดา ธรรมดาๆนี่เอง .... เอาเมล็ดสะเดา 20 กก. ใส่ลงไปในถัง เติมน้ำให้ท่วม 2-3 เท่า ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างนี้คนวันละครั้ง ได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน .... ใช้งาน น้ำ 20 ล. + หัวเชื้อเข้มข้น 20-30 ซีซี. ฉีดพ่นที่ต้นพืช .... ประเด็นก็คือ สารสกัด สารสกัด เป็นศัพท์ทางวิชาการ นี่แหละประเทศไทย พูดให้มันเข้าใจกันยากๆเข้าไว้
- จาก น้ำแช่สะเดา ที่สุพรรณบุรีเป็นเสมือนนับ 1 สอนให้สืบเสาะต่อไปอีก กระทั่งรู้ว่าเรื่องนี้แท้จริง คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่รู้เรื่องนี้ ในต่างประเทศอีกทั่วโลกทั้งอาฟริกา, ยุโรป, อเมริกา (อินเดียนแดง นาคา), เอเชีย (จีน อินเดีย ไทย), ทำและใช้กันมาแต่โบราณแล้ว
- เยอรมันเข้ามาทำงานวิจัยเรื่อง สารอะแซดิแร็คติน ในสะเดา ร่วมกับ ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติสิริ .... ฝรั่งเศส เข้ามาทำงานวิจัยเรื่อง สารแค็ปไซซิน ในพริก ร่วมกับนักวิชาการไทย (ไม่ทราบชื่อ) .... ทั้งเยอรมัน และฝรั่งเศส ได้ผลิตสารอะแซดิแร็คติน. สารแค็ปไซซิน. ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำหน่ายไปทั่วโลก
* จำไม่ได้ว่า สารสะเดาที่ สนง.เกษตรสุพรรณบุรีทำ ใส่กากน้ำตาล จุลินทรีย์ หรือไม่
* สารสะเดา ในเมืองไทยมีจำหน่ายภายไต้ชื่อยี่ห้อ สะเดาไทย 111 ของคุณชาตรี จำปาเงิน
* สำนักหรือแหล่งให้ข้อมูลเรื่องสารสมุนไพรที่ดีที่สุด คือ องค์การเภสัชกรรม, ร.พ.อภัยภูเบศร์,
* ตัวยาที่ออกมาจากพืชสมุนไพร มีชื่อเป็นภาษาวิชาการเภสัชกรรมว่า สารสำคัญ หรือ สารออกฤทธิ์ หรือตัวยา ก็ว่ากันไป แล้วคำไหน เห็นภาพ-เข้าใจง่าย กว่ากันล่ะ
* วิธีทำ ให้ได้ตัวยาหรือสารสำคัญในพืชสมุนไพร ได้แก่ แช่-หมัก-ต้ม-กลั่น
* แช่-หมัก ในน้ำเปล่า หรือแอลกอฮอร์ หรือ น้ำเปล่า +แอลกอฮอร์ (เอ็ทธิล แอลกอฮอร์, เม็ทธิล แอลกอฮอร์, เหล้า)
* ต้ม ในน้ำเดือด (ต้มเคี่ยว, ต้มซ้ำหลายๆน้ำ, ใส่ในน้ำเดือดแล้วปล่อยให้เย็น)
* กลั่น เหมือนต้มเหล้าป่า
ประสบการณ์ตรง คิด-ค้น-พบ :
* ไม่มีสำนักหรือแหล่งข้อมูลทางวิชาการ (แท้จริง) ใด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ แนะนำให้ใช้กากน้ำตาล และจุลินทรีย์ในการทำสารสมุนไพร เลยแม้แต่สำนักเดียว
* พืชสมุนไพร ประเภท เผ็ด/ร้อน/ขม ......... ทำโดยวิธี "ต้ม"
* พืชสมุนไพร ประเภท ฝาด/เบื่อเบา .......... ทำโดยวิธี "หมัก-แช่"
* พืชสมุนไพร ประเภท กลิ่น ................... ทำโดยวิธี "กลั่น"
* ทุกวิธีไม่มีการใส่ จุลินทรีย์-กากน้ำตาล หรือใดๆทั้งสิ้น
* ทำด้วยวิธีใดก็สุดแท้ ได้หัวเชื้อเข้มข้นออกมาแล้ว กรองกากออก ต้องการเก็บนาน ป้องกันบูดเน่าได้ด้วยการเติม สารกันบูด (หัวเชื้อเข้มข้น 10 ล. + สารกันบูด 1 ช้อนโต๊ะ) เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง
* สารสมุนไพร ใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) ได้ทุกโอกาส
* ตัวอย่างศึกษา : สมุนไพร 1 ห่อผ้าขาวบาง ลงหม้อดิน ใส่น้ำท่วม ต้มพอเดือด ชิมแล้วได้รสชาดตามที่ชิม แต่ถ้าต้มเดือด จนน้ำเหลือจอกเดียว ชิมแล้วรสชาติขมกว่า นั่นคือ ตัวยาหรือสารออกฤทธิ์แรงขึ้นนั่นเอง
* แมลงตัวเล็กแค่ปลายไม้จิ้มฟัน ในร่างกายจะมีภูมิต้านอะไรนักหนา ตัวยาในสมุนไพรก็ทำให้มันตายได้ ไม่ตายในบัดดลก็จะหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช) อยู่นิ่งๆ รอวันตายอยู่ตรงนั้น .... ถ้าเราฉีดพ่นสมุนไพรบ่อยๆ 3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน ดูซิมันจะอยู่ได้ไหม .... ปัญหาก็คือ ไม่มีเครื่องฉีดพ่นบ่อยๆ เพราะสะพายเป้ เดินลากสายยาง จึงทำไม่ทันไงล่ะ แต่ถ้าติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ลงทุนติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ
* เนื้อที่ 1 ไร่ ลากสายยางใช้เวลา 1 ชม. = ไฟฟ้า 1 ชม.
* เนิ้อที่ 1 ไร่ สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ใช้เวลา 10 นาที = ไฟฟ้า 10 นาที
* ใช้สารสมุนไพรร่วมกับ ไอพีเอ็ม. กับบำรุงพืชให้สมบูรณ์อยู่เสมอ จะได้ผลสูงสุด
สมการ ยาสมุนไพร :
- สมุนไพรถูก + วิธีทำผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
- สมุนไพรผิด + วิธีทำถูก + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
- สมุนไพรผิด + วิธีทำผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสาม
- สมุนไพรถูก + วิธีทำถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสาม
--------------------------------------------------------------
จาก : (095) 358-12xx
ข้อความ : ผู้พันครับ สับปะรดดินทราย ปลูกซ้ำที่เดิมมาแล้ว 4 ปี ผลผลิตที่ได้ลดลงทุกปี แต่ต้นทุนสูงขึ้น ปีที่แล้วส่งโรงงาน ตรวจแล้วมีไนเตรทเกิน แก้ไขอย่างไรครับ.....
ตอบ :
- ดินทราย ปลูกซ้ำที่เดิม 4 ปี ผลผลิตลดลงทุกปี แต่ต้นทุนสูงขึ้น .... แบบนี้ชี้ให้เห็นชัดเลยว่า เกษตรกรไม่เห็นความสำคัญของดิน ทั้งๆที่ ดิน คือ ที่กินที่อยู่ของต้นพืช ดินดีได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดีเสียแล้วกว่าครึ่ง .... ดินทราย คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์) ในธรรมชาติน้อยที่สุด ในบรรดาประเภทดินด้วยกัน เพราะเกษตร กรฝังใจอยู่แต่ ปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์วัตถุ มีเปอร์เซ็นต์สารอาหารพืชน้อย ไม่มีประโยชน์ ใส่ลงไปก็เสียเวลาเปล่าๆ แถมสิ้นเปลืองอีกด้วย นี่คือความจริง นี่คือข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ ของอินทรีย์วัตถุ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์วัตถุ ก็มีข้อดีข้อเด่น แต่เกษตรกรไม่สนใจ
- ระยะเวลาถึง 4 ปีทั้งของตัวเอง ทั้งของคนอื่นอีกหลายสิบปี น่าจะประจักษ์แจ้งแล้วว่า วิธีการนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
- ผลผลิตลดลงทุกปีเพราะดินไม่ดีนี่แหละ ผลผลิตไม่ดีหาว่าอ่อนปุ๋ย ว่าแล้วใส่ปุ๋ยเพิ่มอีก ยิ่งใส่ปุ๋ยเพิ่มยิ่งดินเสีย ยิ่งดินเสียยิ่งผลผลิตลดแถมต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก
เกษตรกรญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อเมริกา ยุโรป รวยๆกันทั้งนั้น เพราะเขาทำเกษตรแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูก อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง .... ที่น่าสงสัยอย่างที่สุดก็คือ นักส่งเสริมที่พื้นฐานความรู้สูงๆ อาจารย์สอนนิสิตนักศึกษา ลูกหลานเกษตรกรที่เรียนจบมาสูงๆ ไม่รู้เรื่องนี้เลย ทั้งๆที่ ข่าว/สารคดี ในทีวี. ในอินเตอร์เน็ต ก็มีให้ดู
- เกษตรกรชาวไร่ของไทย คิดต่างกันไปคนละเรื่องเลย วันนี้หากจะคิดใหม่ทำใหม่ วางแผนการปลูกพืชไร่ใหม่ โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น
* แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกสับปะรด อีกส่วนหนึ่งปลูกพืชไร่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไถกลบเศษซาก
* ปลูกสับปะรดแล้ว หว่านเมล็ดถั่วไร่ หรือถั่วบำรุงดินจากกรมพัฒนาที่ดิน ระหว่างแถวปลูกสับปะรด เมื่อต้นถั่วเริ่มออกดอก (45 วัน) ให้ล้มต้นถั่วลงแล้วปล่อยให้เน่าสลายเอง
* นอกจากเศษซากพืชจากพืชไร่ที่ปลูก การหาเศษซากพืชจากแหล่งอื่น เช่น แกลบดิบ เศษทะลายปาล์มจากโรงงานปาล์มน้ำมัน ก็ใช้เป็นอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช หรือใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ก็ช่วยบำรุงดินและจุลินทรีย์ได้เช่นกัน
สับปะรดที่สวนผึ้ง ราชบุรี ริมแม่น้ำลำพาชี ติดสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ เปิดครั้งละ 5 หัว แรงงานหัวละ 1 คน คอยเปลี่ยนหัวสปริงเกอร์จากโซนนี้ไปโซนโน้น ให้น้ำครั้งละเปียกโชกพื้นดินโคนต้น ทุก 15 วัน เนื้อที่ 300 ไร่ ใช้แรงงาน 5 คน กับเวลาเพียงวันเดียว เจ้าของคำนวณต้นทุนตกหัวละ 2.80 บาท ส่งโรงงาน ตรวจสอบแล้วไม่พบไนเตรท ทุกหัวได้สเป็ค (สะโพกใหญ่ ปลายใหญ่ เท่ากัน) ราคาหัวละ 5.40 บาท ก็ลองคิดดูว่า เนื้อที่ 300 ไร่ ได้สับปะรดกี่หัว ขายแล้วรวมเป็นเงินเท่าไหร่ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา เรื่องที่ถือว่าแปลกอย่างมากๆก็คือ ไร่สับ ปะรดแปลงข้างเคียงไม่ยอมทำตามแม้แต่การให้น้ำ เอาไปขายโรงงานก็ยังโดนตัดราคาค่าไนเตรทตกค้างเกิน ไซส์หัวตกสเป็ค (สะโพกใหญ่ ปลายเล็ก) ถูกตัดราคาอยู่อย่างนั้น
ปัญหาที่งานด้านการเกษตรล้มเหลว เพราะ ทัศนคติ หรือ ใจ ของเกษตรกรเองมาก กว่า ตราบใดที่ใจไม่เอา เพราะยึดติด เพราะกลัวเสียเหลี่ยม นั่นเอง บอกแล้วว่า ถ้าวิชาการ เกษตรมี 100 บทเรียน บทที่ 1 สำคัญที่สุด ถ้าสอบผ่านได้ที่เหลืออีก 99 บท วันเดียวก็ผ่าน บทที่ 1 คือ ใจ นี่แหละ .... ประเภท ซักแปลงซักร่องซักไร่ก็ไม่ลอง เปิดมุ้งออกมาก็พูดว่า กูไม่เชื่อ เป็นไปไม่ได้ ยุ่งยาก เสียเวลา แถวนี้ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ แบบนี้ก็จงจนต่อไป เป็นหนี้เขาต่อไป
ไนเตรท ในสับปะรด :
สารไนเตรทในสับปะรดไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่มีผลต่อผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง เพราะหากมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิน 25 ppm ( พบสารไนเตรท 25 ส่วนในล้านส่วน) เมื่อนำไปแปรรูปบรรจุกระป๋องแล้ว สารไนเตรทจะกัดกร่อนสารเคลือบกระป๋อง ทำให้อายุการเก็บรักษาลดลงจาก 3 ปีเหลือเพียง 1 ปี ซึ่งเกิดผลเสียหายกับผู้ประกอบ การโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องอย่างมาก .... สาเหตุของการมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้....
1. เกิดจากการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย ซัลเฟต ของสับปะรดไม่หมด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ โดย หลังจากการบังคับดอกแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย ซัลเฟต ทางดิน แต่มาให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่นทางใบ เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างอาจ อยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรด แทนที่จะตกค้างในผล
2. เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หากมีฝนตก สับปะรดจะได้รับสารไนโตรเจนซึ่งมาพร้มกับสายฝนโดยตรง จึงจำเป็น ต้องทิ้งช่วงอย่าเก็บเกี่ยวสับปะรดในช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ แต่ก็เป็นเรื่องยากเพราะหากสับปะรดสุกแล้ว เกษตรกรก็จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวทันทีไม่สามารถยืด เวลาเก็บเกี่ยวได้ จึงเป็นปัจจัยที่เหนือการควบคุมสามารถผลิตสับปะรดอย่างถูกต้องได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ ในขณะเดียวกัน ทางโรงงานก็ได้หาวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ในกระบวน การผลิตเพื่อลดสารไนเตรท ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานจนในปัจจุบัน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขได้ ผลเป็นที่น่าพอใจ จะเหลือแต่ก็ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่านั้นเอง
https://www.gotoknow.org/posts/141787
สารไนเตรทตกค้างในสับปะรด :
สารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจากสาเหตุใด ? และมีผลต่อผู้บริโภคหรือไม่ ?
คิดว่าทุกคนคงรู้สึกกังวลหากได้ยินว่าพบสารไนเตรทตกค้างในสับปะรด แต่ที่จริงแล้วสารไนเตรทในสับปะรดไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภคเลยค่ะ แต่มีผลต่อผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง เพราะว่า หากมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิน 25 ppm (พบสารไนเตรท 25 ส่วนในล้านส่วน) เมื่อนำไปแปรรูปบรรจุกระป๋องแล้ว สารไนเตรทจะกัดกร่อนสารเคลือบกระป๋อง ทำให้อายุการเก็บรักษาลดลงจาก 3 ปีเหลือเพียง 1 ปี ซึ่งเกิดผลเสียหายกับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องอย่างมาก
ไนเตรทตกค้างในสับปะรดเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้ :
1. เกิดจากการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย ซัลเฟต ของสับปะรดไม่หมด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ โดยหลังจากการบังคับดอกแล้ว เกษตรกรควรหลีก เลี่ยงการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย ซัลเฟต ทางดิน แต่มาให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่นทางใบ เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างอาจจะอยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรด แทนที่จะตกค้างในผล
2. เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หากมีฝนตก สับปะรดจะได้รับสารไนโตรเจนซึ่งมาพร้อมกับสายฝนโดยตรง จึงจำเป็นต้องทิ้งช่วงอย่าเก็บเกี่ยวสับปะรดในช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ แต่ก็เป็นเรื่องยากเพราะหากสับปะรดสุกแล้ว เกษตรกรก็จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวทันทีไม่สามารถยืดเวลาเก็บเกี่ยวได้ จึงเป็นปัจจัยที่เหนือการควบคุม
การแก้ไขปัญหานี้ จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของนักส่งเสริมการเกษตร ในการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรสามารถผลิตสับปะรดอย่างถูกต้องได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ ในขณะเดียวกัน ทางโรงงานก็ได้หาวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดสารไนเตรท ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานจนในปัจจุบัน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะเหลือแต่ก็ปัจจัยทางธรรม ชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่านั้นเอง
คำถามเดิม คำตอบเดิม คนถามใหม่ :
จาก : (086) 981-30xx
ข้อความ : ปลูกสับปะรดครั้งแรก เนื้อที่ 40 ไร่ ลงทุนไปแล้วไม่ใช่น้อย สอบถามชาว บ้านเรื่องการบำรุง แต่ละคนหวังดี ให้ความรู้ดีมาก แสดงว่าทุกคนเก่ง แต่ผมสืบทราบมาว่า ทุกคนมีหนี้ทั้งนั้น ในเมื่อเขาเก่งแล้วทำไมยังเป็นหนี้ งานนี้ผมขอฟังผู้พันคนเดียว แน่นอนกว่า...ขอบคุณครับ
ตอบ :
- นี่แหละ ทำไม่เป็น ขายไม่เป็น ชัดเจน ปัญหานี้เกิดมานาน เกิดกับคนทั้งหมู่บ้าน ทำไมไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า ที่ทำแล้วขายน่ะ มันไม่ได้กำไร บางครั้งขาดทุนด้วย ..... ไม่อยากเชื่อจริงว่า ไม่รู้
- ฟังผู้พัน (พันไดนาโม) คนเดียวไม่ได้ ต้องฟังคนในกระจก เชื่อมั่นในตัวเองเท่านั้น
- ที่บอกว่า เก่งแล้วทำไมยังเป็นหนี้ เป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีคนคิด คนอื่นเป็นหนี้ ตัวเองก็เป็นหนี้ แล้วทำไมถึงไม่มีคนคิด .... ที่ทำๆกันนั้น ทำเป็น ทำเป็น จริงหรือ ทำแล้วขาย ขายได้กำไรนิดๆหน่อยๆ บางคนหลายคนขาดทุนด้วยซ้ำ เรื่องอย่างนี้ชาวไร่สับปะรด ชาวไร่อย่างอื่น รวมถึงชาวสวนทุกพืชก็ยังหลงคิดอยู่ว่า ทำเป็น ทำเป็น อยู่อย่างนั้น
- จะมีชาวไร่ หรือเกษตรกรพืชอะไรก็แล้วแต่ ซักกี่คนที่เห็นความสำคัญของดิน ทั้งๆที่ ดินคือที่กินที่อยู่ของพืช เมื่อที่กินที่อยู่ไม่ดีแล้วเขาจะอยู่จะกินยังไง เพราะฉนั้นต้อง ปรับปรุง-บำรุง ดินด้วยการใส่ ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับคาย, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, กระดูกป่น, ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + ปุ๋ยเคมีสูตรตามพืช จากนั้นจึงให้น้ำตามความจำเป็น และเหมาะสม
** เชื่อไหม .... ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง
** เชื่อไหม .... ปุ๋ยผิด ถึงจะใช้ถูก ก็ไม่ได้ผล
- สังเกตุง่ายๆ สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ เมื่อไม่ให้น้ำเขา แล้วเขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ .... ลงทุนอะไรลงทุนได้ แต่ลงทุนเรื่องน้ำชาวไร่สับปะรดไม่เอา
- สับปะรด ปลายแหลมโคนใหญ่ เป็นเพราะได้สารอาหาร (ปุ๋ย) ผิดสูตร ผิดช่วง ผิดอัตรา ผิดวิธี
- สับปะรด ไนเตรทสูง เพราะได้รับไนโตรเจนมาก ได้ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม.น้อย ส่วนธาตุรอง/ธาตุเสริม ไม่ได้รับเลย ..... ใน 16-16-16 ถือว่าไนโตรเจนสูง เมื่อเทียบอัตราส่วนกับฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม. นอกจากไนโตรเจนสูงแล้ว ฟอสฟอรัสก็สูงโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ทั้งนี้ หากในเนื้อดินมีฟอสฟอรัสสูงมากๆ เนื่องต้นเอาไปใช้ไม่หมด จนเหลือตกค้างในดิน ฟอสฟอรัสจะไปจับยึดตรึงปุ๋ยตัวอื่น ทำให้ต้นพืชเอาไปใช้งานไม่ได้ การเอาไปงานไม่ได้จึงไม่ต่างอะไรกับการไม่ได้ให้
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ระหว่าง 16-16-16 หรือสูตรอื่น กับ 5-10-40 ว่าอัตราส่วน (เรโช) ระหว่างทั้ง 3 ตัวต่างกันอย่างไร ในเมื่อสับปะรดต้องการปุ๋ยตัวหน้า (ไนโตร เจน) ต่ำๆ ต้องการปุ๋ยตัวกลาง (ฟอสฟอรัส) สูงขึ้นนิดหน่อย แล้วต้องการปุ๋ยตัวท้าย (โปแตสเซียม) สูง สูงมากๆเมื่อเทียบกับ 2 ตัวแรก .... แบบนี้ นอกจากไม่สร้างให้ผลปลายแหลมท้ายใหญ่แล้ว ทรงหัวยังเรียวยาวใหญ่เสมอกัน ไนเตรทตกค้างน้อย อีกด้วย...นั่นคือ
.... ทางใบ : ให้ น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (200 ซีซี.) 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน
.... ทางราก : ช่วงเตรียมดิน เตรียมแปลง ได้ใส่ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับคาย, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, กระดูกป่น, ตามด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงไว้ก่อนแล้ว.... เมื่อสับปะรดเป็นหัวแล้วให้ น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล.) + 5-10-40 (2-3 กก.) รดโคนต้นเดือนละครั้ง ให้โชกๆ เป็นการน้ำไปในตัว .... จากนั้นให้น้ำตามจำเป็นและเหมาะสม
หมายเหตุ :
** ลงทุนให้น้ำ (น้ำเปล่า หรือ น้ำ + ปุ๋ย + สารสมุนไพร) ด้วยเครื่องมือที่ประหยัดที่สุด ได้ประโยชน์สูงสุด ผลผลิตที่ได้รุ่นเดียวก็คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
** ปรับปรุงบำรุงดินสำหรับสับปะรด เลิกสับปะรดเปลี่ยนเป็นปลูกพืชอื่นได้
--------------------------------------------------------------
. |
|