kimzagass |
ตอบ: 17/06/2016 11:10 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 16 JUN *สมุนไพร (77) นาข้าวอินทรีย์ |
|
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 16 JUN
AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
----------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......
------------------------------------------------------------------------
เล่าสู่ฟัง เรื่องสารเคมี 1 :
เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ลุงคิมมีโอกาสติดตาม ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งกรมวิชาการเกษตร นักวิจัยจากเยอรมัน กับ อ.สำรวล ดอกไม้หอม ไป ตรวจ/ดู ผลงานการใช้สารสะเดากับมะม่วงของลุงเฉียดฯ บ้านเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มะม่วง 20 ไร่ อายุต้น 10 ปี ทำนอกฤดู ไม่มีร่องรอยใดๆ จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชประจำมะม่วงปรากฏแม้แต่น้อย ....
ลุงเฉียดฯ บอกว่า เมื่อก่อนใช้สารเคมียาฆ่าแมลงหนักมาก ถึงขนาดเมียต้องเข้า ร.พ. หมอบอกเป็นหลายโรค ทุกโรคที่เกิดจากภูมิแพ้สารเคมียาฆ่าแมลงทั้งนั้น ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเดือนละ 10,000 กว่า ทุกเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน กระทั่งเลิกใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้สารสมุนไพรจากสะเดาแทน ด้วยความตั้งใจแน่วแน่มุ่งมั่น ทำตามคำที่นักวิจัยเยอรมันบอกทุกขั้นตอน แค่ 3-4 เดือนเท่านั้น อาการของเมียทุเลาลง จากจ่ายค่ารักษาพยาบาลงวดละ 10,000 ลดลงเหลืองวดละ 1,000 จากต้องไปหาหมอเดือนละครั้ง ลดเป็น 3 เดือนครั้ง....
เรื่องการใช้สารสะเดากับมะม่วงที่สวนนี้ ชาวบ้านย่านนั้นรู้ดี เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความ ลับ แต่เป็นเรื่องที่ควร เผยแพร่/ส่งเสริม ด้วยซ้ำ รู้ทั้งรู้ เห็นกับตาจับกับมือกินกับปาก กลับไม่เชื่อ ไม่เอาตาม ไม่ต่อยอดขยายผล บางรายหนักหน่อย หาว่าลุงเฉียดฯ บ้า ซะอีก ....
ลุงเฉียดฯ เลยบอกศาลาบ๊ายบาย ตัวใครก็ตัวใคร เลิกสอน เลิกบอก ว่าแล้ว ไปเที่ยวหาเก็บ ขวด/กล่อง/ซอง/ถุง/โบชัวร์ สารเคมียาฆ่าแมลง สารพัดชนิด ทุกยี่ห้อ เอามากองไว้ที่บ้าน กองสูงท่วมหัว ไว้ให้คนดู แล้วบอกว่า มะม่วงที่นี่ไม่มีโรคแมลง เพราะสารเคมียาฆ่าแมลง ในกองนั่นไง...."
จากงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยเยอรมันจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย เพราะมีนักวิชาการไทยร่วมงานอยู่แล้ว กับขอซื้อลิขสิทธิ์ไปด้วย ส่วนไทยเรา โดยคุณ ชาตรี จำปาเงิน เอาไปทำสารสะเดาออกขาย ตั้งชื่อยี่ห้อว่า สะเดาไทย 111 วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้
http://www.otop5star.com/pop_up01-th.php?id=52
https://www.facebook.com/thaineem/photos/?tab=album&album_id=842011359252320
www.thaineem.co.th
เรื่องสารสะเดา ไทย-เยอรมัน ..... เอวัง ก็มีด้วยประการะ เช่นนี้
-------------------------------------------------------------------------
สมุนไพร (77) :
การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง :
ว่านน้ำ :
ใช้ว่านน้ำกำจัด ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงวันทอง แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวง ช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอดตัวป้อม มอดข้าวเปลือก
ในเหง้าของว่านน้ำจะมีน้ำมันหอมระเหยชนิด Calamol aldehyde ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยจะออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และหยุดชะงักการดูดกินอาหารของแมลงศัตรูพืช ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งระบบการสืบพันธุ์ของแมลงได้อีกด้วย
การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 : นำเหง้าของต้นว่านน้ำ มาบดละเอียด จำนวน 2 ขีด ผสมกับน้ำเปล่า 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 วัน หรือจะต้มนานประมาณ 40 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีดพ่นฆ่าแมลง ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ สบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจาน เข้าไปเล็กน้อย ฉีดพ่นในแปลงพืช ทุกๆ 2 วัน
วิธีที่ 2 : นำเหง้าว่านน้ำที่บดละเอียด จำนวนครึ่งกิโลกรัม ผสมกับขมิ้นบด จำนวนครึ่งกิโลกรัม เติมน้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้นาน 2 วัน แล้วกรองเอาน้ำหมักที่ได้ ไปฉีดไล่แมลงวันในแปลงพืชผักและไม้ผล ทั้งยังเป็นการป้องกัน หนอนกระทู้ผัก เข้าทำลายพืชผักได้เป็นอย่างดี
วิธีที่ 3 : นำเหง้าแห้งมาบดให้เป็นผง คลุกเคล้าให้เข้ากันกับเมล็ดพันธุ์พืชที่แห้งสนิท ในอัตราส่วน เมล็ดพันธุ์ 50 กิโลกรัมต่อว่านน้ำ 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันแมลงในโรงเก็บได้
วิธีที่ 4 : เป็นวิธีที่ใช้ในการป้องกันแมลงในโรงเก็บ ด้วยการใช้น้ำมันว่านน้ำ หรือชิ้น ส่วนของเหง้า บดคลุก เคล้าให้เข้ากันกับเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเหลือง ที่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลถัดไป วิธีนี้สามารถป้องกันแมลงศัตรูในโรงเก็บอย่างได้ผลดี
(ที่มา : www.samunprai.com)
------------------------------------------------------------------------
สารภี :
ใช้สารภีกำจัด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนแตงเทศ ด้วงงวงข้าว และ แมลงในบ้าน (แมลงสาบ แมลงวัน มด)
เมล็ดแก่ของสารภี มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี ส่วนในใบ เปลือก และ ลำต้น มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงได้เช่นกัน แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่าการใช้เมล็ด
การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 : นำเมล็ดแก่บดเป็นผงแล้วนำมาพ่นบนกะหล่ำปลี เพื่อป้องกันหนอนใยผัก โดยใช้ในอัตรา 8-9 กรัมต่อแปลง การพ่นควรทำในขณะที่ยังมีน้ำค้างเกาะอยู่บนต้น เพราะจะทำให้ผงยาเกาะติดบนต้นกะหล่ำปลีได้ดีขึ้น
วิธีที่ 2 : ใช้เมล็ดแก่บดเป็นผงจำนวน 1 กิโลกรัม ละลายในน้ำสะอาด 20 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วผสมน้ำสบู่เป็นสารจับใบก่อนนำไปใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก
วิธีที่ 3 : นำเมล็ดแก่บดเป็นผง อัตรา 3 กิโลกรัม แช่ในน้ำมันก๊าด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองเอาน้ำสารละลายที่ได้ไปฉีดพ่นกำจัดแมลงสาบ แมลงวัน และมด ภายในบ้านเรือน
-----------------------------------------------------------------------
น้อยหน่า :
ใช้น้อยหน่ากำจัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยหอย หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ด้วงเต่าทอง แมลงวันทอง ตั๊กแตน และ มวนชนิดต่างๆ
น้อยหน่ามีความเป็นพิษทางการสัมผัส และทางกระเพาะอาหาร ใช้ฆ่าแมลงและกำจัดแมลงได้หลายชนิด โดย เฉพาะ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เพลี้ยหอย หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ด้วงเต่าทอง แมลงวันทอง ตั๊กแตน และ มวนต่าง ๆ
สารที่สำคัญ : ใบและเมล็ด มีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ anonaine, 1-benzyl-isoquinoline, bisbenzl-isoquinoline ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง
เมล็ดมีสารที่เป็นพิษทางประสาทสัมผัสและทางกระเพาะอาหารของแมลง สามารถใช้เป็นสารฆ่าหรือขับไล่แมลง ซึ่งสารพิษนั้นจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของกระเพาะอาหารของแมลง และออกฤทธิ์กับแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยหอย ตั๊กแตน และมวนชนิดต่างๆ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใบสด :
- ใช้ใบสด 1 กำมือ (ประมาณ 15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว ขยี้ให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าคลุมโพกไว้ 2 ชั่วโมง แล้วใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด
- ใช้ใบ 10-12 ใบ หรือเมล็ด 10-12 เมล็ด ที่กระเทาะเอาแต่เนื้อ ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช ใช้อัตราส่วน 1/2 ทาชะโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ ½-1 ชม. ขณะทายาให้ผ้าโพกกันน้ำยาไหลเข้าตา จากนั้นสระออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2-3 วัน วันละหลายๆ ครั้ง ตัวจะตาย ไข่จะฝ่อ
** ข้อควรระวัง **
การใช้สมุนไพรอย่าใช้มาก โดยเฉพาะเมล็ดจะมีฤทธ์แรงกว่าใบ
สมุนไพรใช้มากน้อยกว่ากำหนดได้เล็กน้อย ถ้าผมยาวหรือสั้น
อย่าให้น้ำยาเข้าตา ตาจะอักเสบ
อย่าชะโลมยาไว้เกิน 1 ชม.
ต้องสระออกให้หมด
การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 : การใช้เมล็ด นำเมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ 10 ลิตร นาน 12-24 ชม. แล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ประโยชน์ ก่อนนำไปใช้ควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่ หรือ ผงซักฟอก ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วฉีดพ่นทุกๆ 6-10 วัน เวลาเช้าและเย็น
วิธีที่ 2 : การใช้ใบ ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด แช่ในน้ำ 10 ลิตร นาน 12-24 แล้วกรองเอาน้ำมาใช้ประโยชน์ ก่อนนำไปใช้ให้ผสมควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่ หรือ ผงซักฟอก ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 6 -10 วันตอนเย็น
** นอกจากน้อยหน่าแล้ว น้อยโหน่งซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกันก็ใช้ได้ดีเช่นกัน
------------------------------------------------------------------------
จาก : (083) 802-37xx
ข้อความ : ผู้พันครับ การปลูกข้าวทำนาอินทรีย์ ตามวิธีการที่ผู้พันแนะนำแล้ว อยากได้ความรู้ที่เป็นเอกสาร วิธีการที่ทางราชการส่งเสริม ไม่ใช่ผมไม่เชื่อผู้พัน แต่อยากรู้ให้มากกว่าที่ผู้พันสอนน่ะครับ เพื่อเอามาเปรียบเทียบกัน .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
หลักการผลิต ข้าวอินทรีย์ Organic rice :
ข้อมูลนี้มาจาก กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ในเรื่องของหลักการผลิตข้าวอินทรีย์ หรือ Organic Rice ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรเป็นอย่างมากในการทำเกษตรอินทรีย์ และการปลูกข้าวแบบออแกนิก ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการให้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ โดยหลักการผลิตข้าวอินทรีย์นั้นมีรายละเอียดดังนี้
ข้าวอินทรีย์ คืออะไร ? : ข้าวอินทรีย์ หรือ Organic rice เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture หรือ Organic Farming) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีก เลี่ยงการใช้ สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ในทุกขั้นตอนการผลิต และในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต
.........................................................................................
คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ระหว่าง เคมีชีวะ กับ เคมีสังเคราะห์ ....
เคมีชีวะ คือ ธาตุอาหารพืชที่มีในธรรมชาติ เช่น ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็มแคล, แคลซี, แคลสตาร์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรปรับโมเลกุล หรือสูตรอินทรีย์เกาะขอบ หรือฮอร์โมนธรรมชาติ เช่น น้ำมะพร้าว นม น้ำคั้นผัก น้ำล้างปลา ไขกระดูก ขี้เพี้ย น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว
เคมีสังเคราะห์ : ธาตุอาหารพืชที่มนุษย์สร้างขึ้น อยู่ในกระสอบ/ถุง เป็นธาตุที่ชื่อเดียวกันกับในเคมีชีวะ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ฯลฯ
หมายเหตุ :
- แคลเซียม ในกระดูก คือ เคมีชีวะ แต่ แคลเซียม ในกระสอบคือ เคมีสังเคราะห์
- ฟอสฟอรัส แม็กเนเซียม สังกะสี ในน้ำมะพร้าว คือ เคมีชีวะ แต่ฟอสฟอรัส แม็กเนเซียม สังกะสี ในกระสอบ คือ เคมีสังเคราะห์
- เคมีชีวะ พืชนำไปใช้ได้ทันที ทั้งทางใบและทางราก เปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารไม่มากแต่ให้ประสิทธิภาพเร็วและสูงกว่าเคมีสังเคราะห์ แม้แต่การให้เกินก็ไม่ส่งผลเสียใดๆต่อพืช ....
- เคมีสังเคราะห์ .... ประเภททางใบ : เป็น จี.เกรด พืชจึงจะนำไปใช้ได้.... ประเภททางราก : ต้องผ่านกระบวนการจุลินทรีย์ (ENZIME) ก่อน พืชจึงจะนำไปใช้ได้ .... เปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารมาก แต่จะเกิดประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีธาตุตัวอื่นร่วมด้วย เรียกว่า สูตร หรือ เรโช และการให้เกินยังส่งผลเสียต่อพืชอีกด้วย ....
KIM ZA GASS
.........................................................................................
หากมีความจำเป็น แนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลิตผลในดินและน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้างส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ให้การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งมีบริษัทเอกชนผลิตข้าวอินทรีย์จำหน่ายโดยตรงหลายแห่ง
ตลาดและราคาข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ส่วนที่เหลือจะวางจำหน่ายภายในประเทศ ราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าราคาข้าว เปลือก โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 10 แต่ในส่วนที่เป็นข้าวสารบรรจุวางจำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่าข้าวสารทั่วไปประมาณร้อยละ 20 สำหรับในตลาดต่างประเทศข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ จะมีราคา ใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์บาสมาติ
หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ :
ในการผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สาร เคมีทางการเกษตรทุกประเภท เป็นต้นว่า
ปุ๋ยเคมี
สารควบคุมการเจริญเติบโต
สารควบคุมและกำจัดวัชพืช
สารป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าว
สารเคมีที่ใช้รม เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ
การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย
การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตร ที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ : ได้แก่
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
การรักษาสมดุลธรรมชาติ
การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน
เฉพาะการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ....
- ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น
- การควบคุมโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว โดยวิธีผสมผสาน ที่ไม่ใช้สารเคมี
- การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ
- การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ
- การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าว
ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจเทคโน โลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติ เช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไป นี้
การเลือกพื้นที่ปลูก : เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตข้าวโดยปกติจะมีการตรวจสอบหากมีสารตกค้างในดินหรือในน้ำ
การเลือกใช้พันธุ์ข้าว : พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรค แมลงที่สำคัญ และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว : เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตพันธุ์ข้าวที่ได้รับการดูแลอย่างดีมีความงอกแรงผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศ จากโรคแมลง และเมล็ดวัชพืช
การเตรียมดิน : วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดิน คือ สร้างภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดินและสภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกโดยการไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก
วิธีการปลูก : การปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การรักษาระดับน้ำขังในนาจะช่วยควบคุมวัชพืชได้ และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย
เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อย คือ ประมาณ 20×20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้ หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม
การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน : เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น การเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ได้เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องรู้จักการจัดการดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย
ระบบการปลูกพืช : ปลูกข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละพันธุ์ และปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การควบคุมวัชพืช : หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่างๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน
การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูพืช :
การจัดการนํ้า : ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้น และการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรงในระยะปักดำจนถึงแตกกอ ถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำทำให้ต้นอ่อนแอและล้มง่าย ระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งกับต้ข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอดฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ประมาณ 5-15 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นนาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว
การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว : เก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า ระยะข้าวพลับพลึง
การเก็บรักษาผลผลิต : ก่อนนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษา ควรลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาด้วยวิธี จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เป็นต้นว่า เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ การใช้ภาชนะเก็บที่มิดชิดหรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการเก็บรักษา การเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำจะป้องกันการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได้
การบรรจุหีบห่อ : ควรบรรจุในถุงขนาดเล็กตั้งแต่ 1 กิโลกรัม ถึง 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์หรือก๊าซเฉื่อย หรือเก็บในสภาพสุญญากาศ
ศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก
เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ต่อมาในปัจจุบันถึงแม้จะมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆในนาข้าว แต่ก็ยังมีใช้ในปริมาณน้อย ส่วนเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอยู่ในระหว่างการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาโดยจัดเป็นนโยบายเร่งด่วน
จากปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีที่เหมาะสมการผลิตข้าวอินทรีย์ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร นอกจากผลิตเพื่อส่งออก จำหน่ายนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว ยังสามารถขยายการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายใน ประเทศ เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย รวมถึงการลดปัญหามลพิษที่กำลังประสบอยู่ในภาวะในปัจจุบันอีกด้วย
ที่มา : หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ / สถาบันวิจัยข้าวอินทรีย์ / กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดพิมพ์เผยแพร่โดย กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2955-1515 โทรสาร 0-2940-6170
http://www.kasetorganic.com
-----------------------------------------------------------------------
. |
|