kimzagass |
ตอบ: 22/08/2022 4:24 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 23 ส.ค. * ข้าวพร้อมหุง พันธุ์อะไ |
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 23 ส.ค.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 27 ส.ค.. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.กาญจนาภิเศก วงแหวนตะวันตก.... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (090) 416-92xx
ข้อความ : ลุงครับ วันนี้ชาวนาต้อง ปรับ/เปลี่ยน วิธีทำนาอย่างไร ทำแล้วรวย
จาก : (084) 178-24xx
ข้อความ : ทำนาขายข้าวพร้อมหุงเพราะราคาดี ปลูกข้าวพันธุ์อะไรดีคะ
ตอบ :
อ้างอิง : POCKET BOOK ซีวิด ปิ้นปั๊บ ....
58. 1 ปี .... ขาย 1 vs 12 ครั้ง :
- ในรอบปี 12 เดือน ไม้ผลให้ผลผลิต ในฤดู/นอกฤดู-ได้ขาย/ขายได้ 1 ครั้ง ....
- คิด/วิเคราะห์ จากขายได้ หาร 12 = เดือนละ ? .... จากเดือนละ หาร 30 = วันละ ? .... จากวันละ หาร จำนวนคนในบ้าน = รายได้ ต่อวัน ต่อคน
- แบ่งพื้นที่มาบางส่วน ปลูกพืชล้มลุก ไม่มีฤดูกาล เช่น...
**** เห็ดในโรงเรือน/กลางแจ้ง ผักไฮโดรโปรนิกส์
**** ผักสวนครัวกินผล (พริก มะเขือ ฯลฯ)
**** ไม้ผลล้มลุก เช่น แตงโม แคนตาลูป เมลอน แบ่งแปลงเป็นโซน ปลูกทุกวันที่ 1 ของเดือน จะมีผลผลิตให้เก็บทุกเดือน (12 โซน ได้เก็บ 12 ครั้งต่อปี)
**** ไม้ดอกประเภทต้องการแสงแดดน้อย แซมแทรกระหว่างต้นไม้ผล (หน้าวัว)
**** ผักประเภทต้องการแสงแดดน้อย แซมแทรกระหว่างต้นไม้ผล (ข่า ตะไคร้ ผักหวานป่า)
- เลือกพืชที่ราคาผลผลิตต่อหน่วย ราคาแพงๆ ถึง แพงมากๆ ทำแจ๊คพ็อต
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
- การตลาดนำการผลิต
59. นาข้าว :
- หอมมะลิ ทุ่งกุลาฯ ได้ 35-40 ถัง/ไร่ เกวียนละ 15,000 .... 3 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 5,000
- หอมมะลิที่ ลำพูน พิจิตร นครชัยศรี ได้ 80 ถัง/ไร่ ............ 1 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 15,000
ข้าวอย่างอื่นเกวียนละ 10,000 .... 1 ไร่ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 10,000
ข้าวเปลือกขายที่โรงสี ได้เกวียนละ 12,000 (-)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้อง ขายได้เกวียนละ 30,000-50,000 (+)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้องกาบา ขายได้เกวียนละ 100,000 (+)
ข้าวเปลือก 1 เกวียน ทำจมูกข้าวแค็ปซูล น้ำมันรำแค็ปซูล ขายได้ราคาหลายๆ แสน
ต้นทุน 195,000 VS 45,000 :
พ่อ ลูกชาย ลูกสะใภ้ จากฉะเชิงเทรา ด้วยปิ๊คอั๊พ 2 ตอน รุ่นล่าสุด มาที่ไร่กล้อมแกล้ม.... หลังทักทายกันตามวัฒนธรรมเรียบร้อย บทสนทนาก็เริ่มขึ้น
ลุงคิม : ตอนนี้ทำเกษตร ปลูกอะไรอยู่ล่ะ ?
สมช. : ทำนาข้าว 130 ไร่ ทำตามแนวลุงคิม ทำมา 3 รุ่นแล้ว รุ่นนี้ รุ่นที่ 4
ลุงคิม : อืมมม แนวลุงคิม แนวลุงคิมไม่มีหรอกนะ มีแต่แนวธรรมชาติของต้นข้าว
สมช. : แต่ผมทำตามที่ลุงคิมบอก แม้แต่ปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยของลุง
ลุงคิม : ใช้ปุ๋ยลุงคิม คุณเอามาจากไหน ?
สมช. : (หัวเราะ....) สั่งซื้อจากร้านลูกสาว ร้านคุณน้ำส้ม
ลุงคิม : สั่งซื้อที่ร้านน้ำส้ม สั่งยังไง ?
สมช. : สั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ นารุ่นนึงสั่ง 3 ครั้ง ครั้งละ 15,000
ลุงคิม : (พูดในลำคอ) ครั้งละ15,000 .... 3 ครั้งเป็นเงิน 45,000 .... นาข้าว 130 ไร่ ต้นทุนค่าปุ๋ย แค่ 45,000 ใครจะเชื่อ....
คิดในใจ....
นาข้าว 1 ไร่ ใช้ยูเรีย 1 กส. ๆละ 750, 16-20-0 (1 กส.) กส.ละ 750 = ใช้ปุ๋ย 2 กส. ราคา 1,500
นา 130 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีเพียวๆ เป็นเงิน 130 ไร่ x 1,500 บาท = 195,000 บาท
เปรียบเทียบ :
ปุ๋ยเคมีเพียวๆ รุ่นละ 195,000 .... ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี รุ่นละ 45,000
60. ชาวนา รุ่นใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ :
ผลผลิตเพิ่ม :
ให้ปุ๋ยถูกสูตร ทางดินให้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ทางใบให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. ยืนพื้น ....ปุ๋ยแต่ละสูตรที่ว่ามีผลต่อต้นข้าวโดยตรงยังไง บอกไว้ครบ....
ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี ให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ให้ได้คุณภาพสูงสุด ไม่มีข้าวลีบ ไม่มีท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี ความชื้นน้อย ใช้ทำพันธุ์ได้ ....
ต้นทุนลด :
"ลดค่าไถ" ...ไถดะไถแปรไถพรวนตัดออกให้หมด ข้ามขั้นไปทำเทือกเลย ทำเทือกแบบประณีต ตีเทือกครั้งสุดท้าย ติดตั้งถังบรรจุปุ๋ย อินทรีย์น้ำ+เคมี ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ปริมาณสำหรับ 1 ไร่ ..
ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 คนให้ละลายเข้ากันดี ติดก๊อกที่ก้นถัง เริ่มวิ่งรถย่ำเทือก เปิดก๊อกที่ก้นถังปุ๋ยที่หน้ารถ รถไถวิ่งไป น้ำผสมปุ๋ยหยดลงข้างหน้า ลูกทุบอีขลุบที่ท้ายรถจะกวาดละเลงเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลงนาทุกตารางนิ้วเอง แบบนี้จะช่วยให้ข้าวทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง
ทั้งนี้ ปุ๋ยที่หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยลงไปที่กอข้าวไม่เสมอกัน ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียว กอที่ไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียว ชาวนาบอกก็ว่าอ่อนปุ๋ย ว่าแล้วหว่านยูเรียซ้ำอีก กส. นั่นเท่ากับหว่านยูเรีย 2 กส. 16-20-0 อีก 1 กส. รวมเป็นใส่ปุ๋ย 3 กส./ไร่ ถึงจะหว่านซ้ำแล้วก็ยังได้ไม่ทั่วแปลง บางกอได้ปุ๋ย บางกอไม่ได้ปุ๋ย สภาพต้นข้าวยังเหมือนเดิม
คิดดู ข้าวกอที่ได้ปุ๋ยกับกอที่ไม่ได้ ผลออกมาจะต่างกันยังไง....ชัดเจน ย่ำเทือกใช้น้ำมันน้อยกว่าไถ
"ลดยาฆ่าหญ้า" .... กำจัดหญ้าวัชพืช ย่ำเทือกแบบประณีต 4 รอบ :
รอบแรก ย่ำวันที่ 1 ในปฏิทิน
รอบสอง ย่ำวันที่ 10 ในปฏิทิน
รอบสาม ย่ำวันที่ 20 ในปฏิทิน
รอบสี่รอบสุดท้าย ย่ำวันที่ 30 ในปฏิทิน
ก่อนลงมือย่ำรอบแรกสังเกตปริมาณหญ้าวัชพืชว่ามีเท่าไหร่ ก่อนลงมือย่ำรอบสอง-สาม-สี่ ก่อนย่ำสังเกตว่าหญ้าวัชพืชลดลงเท่าไหร่แล้ว ถ้าจุดไหนยังมีหญ้าวัชพืชหลงเหลืออยู่หรือลดลงน้อยให้ย่ำซ้ำ
หญ้าวัชพืชงอกจากไหล/หัว/เหง้า ถ้าไม่มีใบก็จะกินอาหารที่สะสมไว้ใน ไหล/หัว/เหง้า เมื่อใบถูกทำลายซ้ำ ๆๆ ก็ต้องกินอาหารที่สะสมจนหมด เมื่อไม่มีอาหารสะสมต้นก็ตายสนิทไปเอง ลงท้ายเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ผานอัจฉริยะ .... ออกแบบสร้างผานโรตารี่สำหรับใช้กับรถไถใหญ่คนนั่งขับ ไม่ใช่เดินตาม รูปแบบ-ทำงาน เหมือนผานธรรมดาๆนี่แหละ แต่มีผานโรตารี่ 3 อันหมุนพร้อมกัน อันแรกกับอันที่สามหมุนไปข้างหน้าตามรถไถ อันกลางหมุนย้อนกลับหลัง
คิดดู.... ผานโรตารี่ 3 อัน สองอัน หน้า-หลัง หมุนไปหน้า หนึ่งอันกลาง หมุนย้อน แบบนี้ทั้งหญ้า วัชพืช ดิน จะป่นละเอียดสุดๆ ผานสามอันทำงานวิ่งรอบเดียวเท่ากับผานเดี่ยววิ่ง 3 รอบ
นี่คือ ประหยัดเวลา แรงงาน น้ำมันรถไถ อารมณ์...
"จุลินทรีย์ดี" ....ใช้ยาฆ่าหญ้า หญ้าไม่ตายแค่ใบไหม้ เดี๋ยวก็งอกใหม่งามกว่าเก่า นั่นคือ หญ้าไม่ตายแต่จุลินทรีย์ตาย
เลิกใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ฆ่าหญ้าด้วยวิธี ย่ำ-ไถกลบ-หมัก หญ้าตาย ตายสนิท ไม่งอกใหม่ แถมจุลินทรีย์ทั้งเก่าและใหม่ ไม่ตาย
เชื่อหรือไม่ จุลินทรีย์ คือ แม่ครัวของพืช จุลินทรีย์ช่วยสร้างสารอาหารให้พืช จุลินทรีย์ช่วยกำจัดเชื้อโรคพืช จุลินทรีย์ช่วยปรับ กรด/ด่าง ให้กับดิน
61. ปุ๋ยนาข้าว :
ยูเรีย : ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
แม็กเนเซียม : สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์ แข็งแรง ต้นแข็ง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
สังกะสี : สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
*** คนเดียว ซื้อ+ทำเอง = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่ม
*** รวมกลุ่ม ซื้อ+ทำเอง = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่มเพิ่ม
*** ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ โอกาส คือ หัวใจ ของหัวใจ ของการเกษตร ของชีวิตของชีวิต
เปรียบเทียบปริมาณผลผลิต นาดำ VS นาหว่าน :
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาดำ : ข้าว 1 เมล็ด = 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ ลำใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 1 กอ 50 ลำ/รวง = 5,000 เมล็ด.
ต้นทุน.... นาดำ ๆด้วยรถดำนา (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง).... นาหยอด ๆด้วยเครื่องหยอด (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง) ต้นทุนต่ำกว่านาหว่าน
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาหว่าน : ข้าว 10 เมล็ด = 10 กอ ไม่แตกกอได้ 10 ลำเท่าเดิม ลำใหญ่เท่าหลอดดูดยาคูลท์ .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 10 เมล็ด 10 ลำ/รวง = 1,000 เมล็ด
ต้นทุน .... นาหว่าน (มือ เครื่อง) เมล็ดพันธุ์, ค่าจ้าง สูงกว่านำดำ นาหยอด
- ช่วงเวลา 9 โมงเช้า ใบธงอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วย เช่น ....
.... ปล่อยน้ำท่วม หรือปล่อยหน้าดินแห้ง กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
.... เลี้ยงหญ้าบนคันนา ให้แมลงธรรมชาติอาศัยแล้วไปทำลายแมลงศัตรูพืช
.... ใช้แสงไฟล่อแมลงให้ตกลงไปในน้ำ หรือเข้ามาติดกับดักกาวเหนียว
.... บำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับศัตรูพืชในตัวเองได้
.... งดใช้ ยูเรีย เด็ดขาด เพราะยูเรียทำให้ต้นข้าวอวบ ล่อเพลี้ยกระโดดเข้ามาหา
.... งดใช้สารเคมี เพราะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ ประเภท ตัวห้ำ-ตัวเบียน
.... ไถกลบฟาง ได้ซิลิก้า (หินภูเขาไฟ) ช่วยใช้ผนังเซลล์ต้นข้าวแข็ง แมลง เพลี้ยกัดไม่เข้า
62. ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน : หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย. หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก. หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว. หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ. พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือก. ดำช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว . หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.
63. ข้าวพันธุ์ GI. :
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้. ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์. ข้าวก่ำล้านนา. ข้าวลืมผัว.
บำรุงต้นข้าวเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง
- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ กันก่อนแก้ : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง
มาตรการ ป้องกัน + กำจัด : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน
บำรุงต้นข้าวสูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป 100 + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
@@ ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
หญ้าขี่ข้าว : แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น
* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ
* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5581
สรุปขั้นตอนทำนาข้าวอย่างประณีต :
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแปลง
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเทือก
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมเมล็ดพันธุ์
ขั้นตอนที่ 4 เตรียมเพาะกล้า
ขั้นตอนที่ 5 บำรุงระยะกล้า
ขั้นตอนที่ 6 บำรุงระยะแตกกอ
ขั้นตอนที่ 7 บำรุงระยะตั้งท้อง (แต่งตัว)
ขั้นตอนที่ 8 บำรุงระยะออกดอก
ขั้นตอนที่ 9 บำรุงระยะน้ำนม
ขั้นตอนที่ 10 บำรุงระยะก่อนเกี่ยว (พลับพลึง)
....แปลง-เทือก-พันธุ์...กล้า-กอ-ท้อง...ดอก-นม-เกี่ยว ....
---------------------------------------------------------------------------------
.
|
|