-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-มะกอกโอลีฟ....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - มะกอกโอลีฟ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

มะกอกโอลีฟ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2011 6:56 pm    ชื่อกระทู้: มะกอกโอลีฟ.... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะกอกโอลีฟ....


http://www.stks.or.th/blog/?p=452




http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive2.htm




http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kungnang&month=05-05-2009&group=16&gblog=3




http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9F&imgurl=http://diarylove.com/uploads/592/di1234tva.jpg&imgrefurl=http://www.diarylove.com/forum_posts.asp%3FTID%3D2379%26PID%3D26489%26title%3Dchapter-6special&usg=__AnYGnKMZ0cqumdDP6Nwigji7uls=&h=659&w=491&sz=136&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=q2hgXMRbd5558M:&tbnh=138&tbnw=103&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259F%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=NBJ2TYaXCIW6sQPZ-MG6BA&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=5#tbnid=q2hgXMRbd5558M&start=9




http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mcayenne94&month=06-2010&date=08&group=7&gblog=191









http://lixcing.blogspot.com/2010/08/blog-post_06.html





http://diarylove.com/forum_posts.asp?TID=6322&PID=70472&title=14





http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9F&imgurl=http://office.bangkok.go.th/healthsector1.1/images/stories/6841.gif&imgrefurl=http://office.bangkok.go.th/healthsector1.1/&usg=__UgpSw_4k8gC31JuSQJBN5zyyHUY=&h=191&w=227&sz=15&hl=th&zoom=1&um=1&itbs=1&tbnid=k6xOjebExXT_kM:&tbnh=91&tbnw=108&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259F%26start%3D440%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1&ei=cRd2TaraIIG0sAOKkLW-BA&start=438&um=1&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1#tbnid=k6xOjebExXT_kM&start=442






http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9F&imgurl=http://paow007.files.wordpress.com/2010/02/e0b982e0b888e0b8a5e0b8b5e0b988e0b8aae0b8a2e0b89ae0b882e0b988e0b8b2e0b8a7e0b8a3e0b8b1e0b881e0b8a3e0b989e0b8b2e0b8a7-e0b88be0b8b7e0b9891.jpg%3Fw%3D480%26h%3D359&imgrefurl=http://paow007.wordpress.com/page/73/%3Farchives-list%26archives-type%3Dcats&usg=__84-XfbGR0Um6WDGXEL_lAENq-BI=&h=359&w=480&sz=50&hl=th&zoom=0&um=1&itbs=1&tbnid=O9Fk5Ac7UJMJnM:&tbnh=96&tbnw=129&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259F%26start%3D660%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1&ei=Mhh2TfafCpO-sQOZzbmuDw&start=672&um=1&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1#tbnid=O9Fk5Ac7UJMJnM&start=676
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2011 6:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะกอกโอลีฟ ในอุทยานวิทยาศาสตร์







ท่านที่เดินผ่านหน้าตึกเนคเทค หรือ(เคยมีเวลา)เดินเล่นบริเวณสนามข้างตึกส่วนงานกลาง เคยสังเกตุต้นไม้ที่มีใบเล็กๆสีเทา
บ้างไหมครับ ที่หน้าตึกเนคเทคมีสองต้นในขณะนี้เหลือเพียงต้นเดียว ส่วนที่สนามหญ้ายังอยู่สามต้นเช่นเดิม มะกอกโอลีฟทั้ง
หมดนี้เป็นต้นมะกอกที่ได้รับพระราชทานให้มาปลูกทดสอบในบริเวณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีความเป็นมาจาก
การที่ RDC ซึ่งเป็นอดีตห้องปฏิบัติการหนึ่งในเนคเทค ได้มีส่วนเข้าไปทดสอบการใช้งานของ Field Server หรืออุปกรณ์
โทรมาตรขนาดเล็กที่สวนอุทัยธรรม คลองหนึ่ง จ.ปทุมธานี สวนดังกล่าวนี้เป็นที่ส่วนตัวของท่านเลขาพระราชวัง เป็นสถานที่
ทดสอบการปลูกมะกอกโอลีฟในภาคกลาง มีมะกอกโอลีฟสายพันธุ์ต่างๆที่นำเข้ามาจากกลุ่มประเทศเมดิเตอเรเนียน เช่น
อิตาลี สเปน มอร๊อคโค และจากประเทศออสเตรเลีย มีการศึกษาการปรับตัวและการออกดอกติดผลของแต่ละสายพันธุ์
ทั้งนี้เพื่อหาพันธุ์มะกอกโอลีฟที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย สำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันมะกอกทด
แทนการนำเข้าต่อไป RDC ได้นำอุปกรณ์ Field Server เข้าไปทดสอบการทำงานที่สวนดังกล่าว นับว่าเป็น Field Server
รุ่นแรกๆที่ประกอบด้วย sensors สำหรับวัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง และติดกล้อง webcam เพื่อถ่ายภาพการเติบโตของ
มะกอกโอลีฟ นอกจากนั้นยังได้นำแผนที่แปลงปลูกมะกอกโอลีฟเข้าสู่ระบบ GIS เพื่อใช้ในการบริหารจัดการสวนและบันทึก
การเติบโตเป็นรายต้นอีกด้วย

จากงานดังกล่าวเนคเทคจึงได้รับมะกอกโอลีฟพระราชทานจำนวน 5 ต้นมาปลูกในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2546



http://learn2be.wordpress.com/2009/03/16/page/2/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2011 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะกอกโอลีฟ.....





จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการ
โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์หลายด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับ
หลายหน่วยงาน เช่น คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฯลฯ

ในการนี้ เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.) ในประเทศไทยใน
ส่วนของโครงการส่วนพระองค์



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ชื่อพื้นเมือง : มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olea europaea L.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่อสามัญ : Olive

มะกอกโอลีฟเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตรใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร
ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้าน
บนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเทา
ดอก ช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกฝอยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4
กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีขาวหรือสีครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ติดที่กลีบดอก
อับเรณูสีเหลืองลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพลแต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรง สั้นและหนา ยอดเกสร
เพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผล สด มีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.6-2 เซนติเมตร สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว
สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ผล มะกอกโอลีฟมีเมล็ดในเดี่ยวและมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อย หรือกลมมาก
แตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนเมื่อผลสุก เนื้อ
มะกอกโอลีฟเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด ส่วนเมล็ดในเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาวและมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของ
เมล็ดห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านในซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo) และในโภชนาสาร









การรปลูก การดูแลรักษา :
การปลูกมะกอกโอลีฟแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใช้ระยะห่างระหว่างแถวปลูกอย่างน้อย 6เมตร สำหรับระยะห่างระหว่างต้น
ในแถวปลูกนั้นขึ้นอยู่กับสภาพการจัดการแปลงและวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ของผลผลิต ที่นิยมปลูกกันใบแถบนี้ได้
แก่ 6 x 8, 7 x 7, 5 x 6 เมตร ซึ่งง่ายต่อการดูแลจัดการ ส่วนระยะปลูก 4x6 เมตร นั้นก็สามารถที่จะปลูกได้แต่เมื่อ
ต้นมะกอกโอลีฟขึ้นก็จะมีการจัดการเอาต้นมะกอกโอลีฟออกบ้างเพื่อไม่ให้ต้นมาชนกัน ซึ่งจะเกิดผลเสียกับผลผลิตมะกอก
โอลีฟได้

การปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียนโดยทั่วไป จะทำการปลูกในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน หรือ
ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยนำต้นกล้าที่แข็งแรงและพร้อมปลูกมาริดใบออกราว ๆ 80 %จากนั้นนำไป
ปลูกในหลุมปลูกขนาดกว้าง-ยาว 50 เซนติเมตร และลึก 50-80 เซนติเมตร





การขยายพันธุ์ในประเทศไทย :
การขยายพันธุ์มะกอกโอลีฟทำได้หลายวิธี เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช แต่ที่นิยมคือวิธีการปักชำ
ซึ่งสามารถทำได้โดยตัดกิ่งมะกอกโอลีฟที่ไม่แก่เกิน โดยตัดขนาดประมาณ 14 เซนติเมตร หรือประมาณ 5 ข้อ ขนาดเส้น
ผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วริดใบทิ้งให้เหลือ 2 ข้อแรก ปักชำลงไปในทรายหรือสาร PERLITE ซึ่งเป็นสารที่รักษา
ความชื้นและ อุณหภูมิ โดยปักลงไป 5-7 เซนติเมตรเซนติเมตร และจะควบคุมไม่ให้มีอุณหภูมิเกิน 20-25๐C ช่วงที่ ปักกิ่ง
ชำลงในทรายหรือสาร PERLITE นี้จะไม่มีอาหารไปเลี้ยงลำต้น มีแต่การเจริญของรากอย่างเดียว พอย้ายมาปลูกลงดินใบถึง
จะเริ่มเจริญ นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์โดยการติดตาเนื่องจากต้องการ เปลี่ยนพันธุ์เนื่องจากต้นพันธุ์ของกิ่งพันธุ์ที่ให้
น้ำมันราคาดีไม่แข็งแรงจึงต้องนำมาติดตากับต้นพันธุ์แข็งแรง การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดไม่ทำกันเนื่องจากโตช้าและเกิด
การกลายพันธุ์ได้ง่าย




การปักชำ....



การตอนกิ่ง.....



การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ....



การใส่ปุ๋ย :
ในหลุมปลูกควรให้มีขนาดเนื้อดินผสมปลูกซึ่งประกอกด้วยดินร่วน ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกในหลุมอย่างน้อย 50 ลิตร สำหรับ
บริเวณระหว่างแถวปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกและพรวนดินด้วยรถไถให้ลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร เพื่อพลิกให้หน้าดินคลุก
เคล้ากับปุ๋ย เพิ่มการระบายน้ำและอากาศ และช่วยกำจัดวัชพืช ต้นมะกอกโอลีฟที่ปลูกแล้วต้องหาไม้หลักขนาดยาว 1.2-
1.5 เมตร ยึดไว้ด้วย จากนั้นกลบดินที่หลุมแล้วรดน้ำทันทีหลังปลูกในปริมาณ 10-20 ลิตรต่อตัน (บางแห่งแนะนำให้มีการ
ให้น้ำหลังปลูก 50 ลิตรต่อตัน เพื่อให้มีปริมาณความชื้นสะสมในดินเพียงพอในช่วงระยะตั้งตัว

การให้น้ำ :
ระบบการให้น้ำแก่มะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่ จะมี 2 ระบบคือ
ระบบการให้น้ำแบบหยด (Drip irrigation)
และระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอยขนาดเล็ก (Micro sprinkle) ในทางปฏิบัติสามารถให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำได้ด้วย
ระบบน้ำหยดเป็นระบบการให้น้ำที่มีผุ้นิยมใช้มากเนื่องจาก สามารถ ให้น้ำได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24-48 สัปดาห์
ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงระยะการเจริญเติบโตทางสรีรวิทยาที่ต้นมะกอกต้องการน้ำมาก นอกจากนี้
การให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดยังเป็นการให้น้ำอย่างประหยัดและมีการสูญเสียน้ำน้อย





จะเริ่มตัดแต่งตั้งแต่ต้นสูงประมาณ 40 เซนติเมตร โดยจะตัดแต่งให้เหลือกิ่งเดียวให้ต้นตั้งตรงในการตัดกิ่งช่วงนี้จะไม่ริดใบ
บริเวณลำต้นทิ้ง และจะทำการตัดแต่งเรื่อย ๆ จนด้านล่างมีความสูง 1-1.20 เมตร ในการปลูกควรใช้กิ่ง 1 ปีในการปลูก
ไม่ควรใช้กิ่งที่มีอายุเยอะๆในการปลูกเนื่องจากรากจะพันกันในถุงทำให้ต้นไม่เจริญ ถึงเจริญก็ไม่ดีจะให้ผลผลิตน้อย เมื่อ
ต้นเจริญถึงปีที่ 3 การตัดแต่งกิ่งก็จะเหลือ 2-3 ปี ต่อครั้ง กิ่งที่แยกออกไปจากต้นหลักจะมี 2-3 กิ่งเท่านั้น และความสูง
จะให้สูงได้ประมาณ 4-5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเก็บและดูแล รูปทรงของพุ่มในทางปฏิบัติแล้วควรตัดให้มีแสงผ่าน
อย่างทั่วถึง เนื่องจากแสงมีความสำคัญต่อผลผลิต บริเวณที่ถูกแสงมากจะให้ผลผลิตมากตามไปด้วย ส่วนบริเวณที่มีลม
พัดแรงก็จะทำการตัดกิ่งตรงกลางออกเพื่อให้ลมผ่านได้ง่ายเป็นการลดแรงปะทะ และมะกอกโอลีฟที่มีการตัดแต่งกิ่งก็
จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งเลย

การตัดแต่งกิ่ง :
การตัดแต่งต้นมะกอกโอลีฟโดยทั่วไปมี 4 ลักษณะ คือ
1. การตัดแต่งต้นที่มีอายุน้อย ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุน้อยหรือมีความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะการเจริญเติบโต
ที่ยังไม่ให้ผลผลิต ไม่ควรตัดแต่งมากนัก การตัดแต่งควรทำเพียงเพื่อส่งเสริมให้ต้นมะกอกโอลีฟมีรูปทรงต้นที่ดี ไม่ให้แตก
กิ่งก้านมากเกินไปอย่างไร้ทิศทางและกำจัดกิ่งระดับล่าง ๆ

2. การตัดแต่งที่มีอายุปานกลาง ต้นมะกอกโอลีฟที่เริ่มต้นใหญ่ขึ้น หรือมีความสูงเกินกว่า 1.5 เมตา หรือเริ่มให้ผลผลิต
จำเป็นต้องมีการตัดแต่งรูปทรงต้นให้เหมาะสม โดยคงกิ่งก้านหลักไว้ 2-3 กิ่ง ภายหลังการตัดแต่งสำหรับให้แตกยอดใหม่
ในปีต่อไป

3. การตัดแต่งต้นที่มีอายุมาก ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุมากแล้ว จำเป็นต้องได้รับการตัดแต่ง เพื่อให้มีการสร้างกิ่งก้าน
อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มีผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปกติจะทำการตัดแต่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว คือ
ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือนพฤษภาคม

- การได้รับแสงแดดของต้นมะกอกโอลีฟ ใบของต้นมะกอกโอลีฟจะต้องได้รับแสงมากที่สุด
- สัดส่วนระหว่างใบและลำต้น(รวมทั้งกิ่ง) จะต้องให้มีสัดส่วนสูงที่สุด เพื่อให้ต้นมะกอกโอลีฟมีใบมากที่สุด
- การระบายอากาศในเรือนพุ่ม จะต้องให้มีการหมุนเวียนของอากาศภายในเรือนพุ่มดี พุ่มใบต้องไม่หนาทึบ
- สัดส่วนระหว่างใบกับราก ต้องไม่ตัดแต่งมากเกินไปจนกระทั่งเกินสมดุลย์

4. การตัดแต่งเพื่อสร้างยอดรุ่นใหม่ ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุนานมากจะเริ่มให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ การแตกยอดและกิ่ง
ก้านใหม่น้อย จำเป็นต้องมีการตัดแต่งเพื่อให้มีการสร้างยอดรุ่นใหม่บนต้น


การให้ผลผลิต และการเก็บเกี่ยว :
ต้นมะกอกโอลีฟ สมารถให้ผลผลิตภายหลังการปลูกตั้งแต่ 5-7 ปี ขึ้นไปและจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 35 ปี จึงเริ่ม
ให้ผลผลิตเต็มที่จากนั้นหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
ไปได้ถึงอายุ 150 ปี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่แห้งแล้ง การให้ผลผลิตจะล่าช้าออกไปเป็น 10-15 ปีหลังจากปลูก

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะกอกโอลีฟในสมัยก่อน ใช้วิธีเก็บด้วยมือ และยังมีการใช้ไม้ยาวตีที่กิ่ง หรือใช้วิธีเขย่ากิ่งให้ผล
มะกอกโอลีฟตกลงบนผ้าที่ปูรองรับใต้ต้น ซึ่งการเก็บด้วยมือต้องใช้แรงงานมากและต้นทุนสูงต่อมาจึงหันมาใช้เครื่องทุ่น
แรงและเครื่องจักรกลมากขึ้น โดยได้มีการพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อการเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขึ้นเพื่อทุ่นแรงงานใน
การเก็บเกี่ยว เครื่องจักรกลที่ใช้มีขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปทำงานในระหว่างแถงปลูกได้




การป้องกันศัตรูพืช :
โรคที่สำคัญสำหรับแปลงปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่

1. โรค Tuberculosis (Olive knot) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Pseudomonas savastanoi (Smith) ซึ่งก่อให้เกิด
อาหารเป็นปมขึ้นที่กิ่งก้านและทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากการตัดแต่งเป็นส่วนมากถ้ามีการตัด
แต่งบ่อยก็มีผลให้เกิดการติดเชื้อที่แผลบริเวณที่ตัดได้ซึ่งเชื้อโรคนี้อาจติดมากับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่ง
กิ่งและอาจเข้าทางบาดแผลบนกิ่งหรือต้น ดังนั้นจึงมีการใช้สารพวก copper ทาหลังจากที่มีการตัดแต่งและให้ทำความ
สะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อนตัดแต่ง พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ได้แก่ พันธุ์ Cornicabra

2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา Cycloconium oleaginum ซึ่งทำให้เกิดอาการแผลบนใบในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบ
ไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตกหรือความชื้นสูง เมื่อเชื้อรานี้เจริญขึ้นบนใบในระยะแรกแผลบนใบจะเป็นจุดเล็ก ๆ
จากนั้นจะลุกลามแผ่ขยายขนาดแผลและทำให้ใบร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอ
ต่อเชื้อรานี้ ได้แก่ พันธุ์ Cailletier, พันธุ์ Lucques และพันธุ์ Tanche ทางแก้ไข คือ แนะนำให้ฉีดพ่นสารเคมีป้อง
กันกำจัดเชื้อรา เช่น คูปาวิท(Cupravit;50%copper oxychloride) อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างสม่ำเสมอ
โดยฉีดพ่น 1 ครั้งต่อปีภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ปลายฤดูหนาว) หรือหลังการตัดแต่ง (ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
กรกฎาคม) หากไม่พบอาการ และฉีดพ่นทันทีที่เริ่มพบอาการ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในระหว่าง
การออกดอก

3. โรคราดำ เป็นโรคที่เกิดขึ้นบนแผ่นใบ ทำให้ลดพื้นที่การสังเคราะห์แสงและการหายใจของใบซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลงใน
ที่สุด นอกจากนี้ราดำยังแพร่ลุกลามไปบนกิ่งและยอดมะกอกโอลีฟด้วย โดยปกติมักแพร่ระบาดได้ดีในช่วงที่อากาศเย็นและชื้น
เมื่อใดสังเกตพบราดำนี้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มมีแมลงชนิดหนึ่งเข้ามาแล้วคือเพลี้ยดำ แนวทางทางป้องกันกำจัด คือ แนะ
นำให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา คูปราวิท อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงปลายฤดูหนาว ภายหลังการเก็บเกี่ยว
ผลผลิต หรือภายหลังการตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฤดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูใบไม้ร่วง แต่ไม่แนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงระหว่าง
การออกดอก หากหลังจากฉีดพ่นแล้วเกิดมีฝนตกนานกว่า 20 นาที แนะนำให้ฉีดพ่นอีกครั้งเนื่องจากฝนจะชะสารเคมีที่ฉีดพ่น
ออกไป หากเป็นช่วงระยะที่มีฝนตกค่อนข้างต่อเนื่องแนะนำให้ฉีดพ่นทุก 3 สัปดาห์




การกำจัดวัชพืช :
ในแปลงปลูกมะกอกโอลีฟ จะกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกโดยใช้รถไถพรวนระหว่างต้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อช่วย
การระบายอากาศของดิน เอื้ออำนวยให้น้ำซึมซับลงดินได้ดีและช่วยคลุกเคล้าปุ๋ยเข้ากับดิน บางแห่งอาจจะต้องกำจัดวัชพืช
ปีละ 3-6 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกและวิธีการให้น้ำด้วย สำหรับบริเวณโคนต้นมะกอกโอลีฟ จะแนะนำให้พรวนดินรอบ
โคนต้นไม้ให้มีวัชพืชในรัศมี 1-1.5 เมตรรอบโคนต้น ดังนั้นจึงมีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชฉีดพ่นรอบโคนต้นเพื่อประหยัด
ค่าจ้างแรงงาน ในแปลงปลูกมะกอกโอลีฟขนาดเล็กบางแห่งพบว่าจะมีการตัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าแล้วน้ำเศษวัชพืชมาใช้
คลุกดินด้วย




การกำจัดแมลง :
แมลงเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของการปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียน แมลงศัตรูที่สำคัญ



เพลี้ยดำ (Black scale) Saissetia aleae (Olivier) สามารถขยายพันธุ์ได้ปีละ 1 Generation แพร่กระจายโดยมีกระแส
ลมช่วยพัดกาไป มักพบร่วมกับราดำที่ขึ้นปกคลุมแผ่นใบ เพลี้ยดำนี้จะขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนปกคลุมแผ่นใบ เพลี้ยดำนี้จะ
ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนปกคลุมแผ่นใบ ทำให้พื้นที่การสังเคราะห์แสงลดลงและลดการหายใจของใบ ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิต
ลดลงในที่สุด แนวทางป้องกันกำจัด คือให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง Insegar ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีพิษต่ำมากต่อ
แมลงที่เป็นประโยชน์ในอัตรา 8 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมคม อีก
วิธีหนึ่งคือการใช้แมลงที่เป็นตัวห้ำเฉพาะกับเพลี้ยดำนี้คือ Metaphycus bertletti ปล่อยลงในแปลงมะกอกโอลีฟ
ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ตัวห้ำนี้จะขยายพันธุ์และเลือกทำลายเฉพาะเพลี้ยดำอย่างรวดเร็ว Metaphycus bertletti นี้ไม่ทนต่อ
อากาศหนาวและสารเคมีบางชนิดที่ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลงวัน (Olive fly) ดังนั้นจึงต้องคอยเพิ่มจำนวนแมลงชนิดนี้อยู่เสมอ
การกำจัดเพลี้ยดำนี้ต้องกระทำควบคู่กับการกำจัดราดำจึงจะได้ผลดี




แมลงวัน (Olive fly) Bactrocera oleae (Gmel.) เป็นแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตมะกอกโอลีฟมากที่สุด
ลักษณะของแมลงวันชนิดนี้คล้ายกับแมลงวันทองที่พบทั่วไปในประเทศไทย แต่สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือลายจุดดำที่ตอนปลาย
ของปีก แมลงวันชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้ 2-4 Generation ต่อปีในช่วงระหว่างเดือนกรกฆาคมถึงเดือนตุลาคม ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกมะกอกโอลีฟและพันธุ์ของแมลงวัน ในการเข้าทำลายแมลงวันทองตัวเมียจะวางไข่ในผลมะกอกโอลีฟ
เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ออกมาจากผล จะทำให้มะกอกโอลีฟเป็นรูและเสียหาย ผลมะกอกโอลีฟที่ได้จะไม่สามารถนำ
ไปทำผลิตภัณฑ์ถนอมอาหารได้ต่อไป ขณะเดียวกันหากนำผลผลิตไปทำน้ำมันก็จะมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำมันด้วยทั้งนี้เนื่อง
มาจากพบว่าผลมะกอกโอลีฟที่ถูกทำลายโดยแมลงวันชนิดนี้ เมื่อนำไหทำน้ำมันจะทำให้มีปริมาณกรดโอลีอิค (Oleic acid)
สูงและเกิดการ Oxydation ง่าย แนวทางป้องกันกำจัดให้ฉีดพ่นสารล่อแมลง (Buminal) 240 c.c. ผสมกับสารกำจัด
แมลง(Lebaycid) 120 c.c. ผลสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทุกๆ 10-20 วัน
หากสำรวจในแปลงพบว่า 2% ของปริมาณผลมะกอกโอลีฟชนิดที่ใช้รับประทานผล หรือ 10 % ของผลมะกอกไดเมทโธเอท
(Dimethoate) ฉีดพ่นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องหยุดฉีดพ่น 20 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยว ในปัจจุบันมีการใช้วิทยาการเพื่อทำ
ให้แมลงวันตัวผู้เป็นหมัน ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดด้วย




หนอนผีเสื้อกลางคืนมะกอกโอลีฟ (Olive moth) Prays oleae Bern สามารถขยายพันธุ์ได้ปีละ Generation และสามารถ
มีชีวิตอยู่ได้ในแปลงมะกอกโอลีฟตลอดปี การเข้าทำลายของหนอนผีเสื้อกลางคืนนี้จะเข้ากัดกินใบ (การเข้าทำลายสูงถึง 20 % )
และขั้วของผลมะกอกโอลีฟ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลมะกอกโอลีฟร่วงเสียหายมากในช่วงฤดูร้อน แนวทางป้องกันกำจัดคือให้ฉีด
พ่นสารกำจัดแมลงที่ประกอบด้วยแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ เช่น
Dipel และ Bactospeine ในอัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงก่อนดอกบาน หากภายหลังฉีดพ่นแล้วเกิดมีฝนตกหรืออุณห
ภูมิอากาศเริ่มเย็นลงเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะต้องฉีดพ่นใหม่ซ้ำอีก

นอกเหนือจากแมลงดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีแมลงอื่นๆอีกที่เป็นศัตรูของต้นมะกอกโอลีฟที่ปลูกในเขตเมดิเตอร์เรเนียน เช่น เพลี้ยไฟ
แต่การระบาดและความรุนแรงในการทำให้เกิดความเสียหายยังไม่มากเท่ากับแมลงดังกล่าว


การสกัดน้ำมันมะกอก :
พันธุ์มะกอกโอลีฟเพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธุ์ Picual,Picudo,Arbequina,Cornicabra เป็นต้น


การสกัดน้ำมันมะกอกโอลีฟสมัยโบราณ



การสกัดน้ำมันมะกอกโอลีฟในปัจจุบัน


พื้นที่ปลูกในประเทศไทย :
หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริฯในการทดลองปลูกต้นมะกอกโอลีฟ

โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา
โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา จ.กรุงเทพฯ *
สวนอุไทยธรรม จ.ปทุมธานี *
ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จ.นครราชสีมา
ศูนย์ฝึกโรงวัว ของศูนย์บริการพัฒนา ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง

กองทัพเรือ
กองเรือยุทธการ สวนอาภากร จ.ชลบุรี *
กรมสวัสดิการทหารเรือ ศูนย์กสิกรรมทหารเรือ *โยทะกา จ.ฉะเชิงเทรา
สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน

กรมวิชาการเกษตร
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ *
สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี จ.เพชรบุรี *
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ จ.เลย *
สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ *
สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย *

บริษัทอุตสาหกรรมปิโตเลียมคัลไทย จำกัด (มหาชน)
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) จ.ระยอง
ไร่กิ่งทอง จ.บุรีรัมย์




โครงการปลูกพืชกลุ่มมะกอกเพื่อการผลิตน้ำมัน :
คณะผู้วิจัย โครงการปลูกพืชในกลุ่มมะกอกเพื่อการผลิตน้ำมัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หัวหน้าโครงการวิจัย : ดร. ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

ผู้ร่วมวิจัย :
ดร.ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
ผศ.ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
ดร.สรัญญา วัชโรทัย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
ดร.วิภา หงษ์ตระกูล ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
ดร.อุณารุจ บุญประกอบ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
ผู้สนับสนุนงบประมาณวิจัย :
ผู้สนับสนุนงานวิจัย :





มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าพืชหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของมะกอกสามารถนำมา
ใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ผล เป็นส่วนสำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งน้ำมันมะกอกถือว่าเป็นน้ำมัน
ที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆ อีก
ทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่และน้ำมันนวด ส่วนใบมะกอกใช้ในการปรุงอาหารและ
ใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนของกิ่งก้านและลำต้นนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์

จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชปรารภกับ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวย
การโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์หลายๆด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับหลาย
หน่วยงาน เช่น คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนี้เลขาธิ
การพระราชวัง ได้มีบัญชาให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอก
โอลีฟ ( OLIVE ) ในประเทศไทยในส่วนของโครงการส่วนพระองค์


http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 04/08/2011 4:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



http://www.rspg.or.th/plants_data/use/oil-7.htm






http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=woman_talk&jnId=72964







http://www.med.nu.ac.th/2008/nuh/healthy/healthy-detail.php?heal_id=2&detail_id=27








http://spiderthai.wordpress.com/2010/10/13/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89/






http://www.be2hand.com/scripts/shop.php?user=luzifermaru&do=list&cat_id=5807
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©