nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 12/10/2010 4:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จัดให้จ๊า....
ขยายข้อมูลจาก http://kucon.lib.ku.ac.th/Fulltext/KC4401014.pdf กระทู้คุณมงคลค่ะ
ผลของปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี (ปีที่ 2) ที่มีต่อผลผลิตหัวสด
และปริมาณแป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวาริน และมาบบอน
Effects of Chicken Manure, Gypsum and Chemical Fertilizer (Second Year)
on Root Yield and Starch Content of Cassava Planted
on Warin and Mab Bon Soil Series
ประภาส ช่างเหล็ก1 วิจารณ์ วิชชุกิจ 2 เอ็จ สโรบล2 เจริญศักดิ์ โรจน์ฤทธิ์พิเชษฐ์2
สุเมศ ทับเงิน3 และสุรชัย เนื่องสิทธิ์4
Prapart Changlek1 Vichan Vichukit 2 Ed Sarobol2 Charoensak Rojanaridpiched2
Sumet Tubngeon3 and Surachai Naungsit4
บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี (ปีที่ 2) ที่มีต่อผลผลิตหัวสด และปริมาณแป้งในหัวสดของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวาริน และชุดมาบบอน ทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ Split-plotin RCB มี 4 ซ้ำ โดยมีแปลงหลัก (main plot) ได้แก่
พันธุ์มันสำปะหลัง ซึ่งในดินชุดวารินใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 72 ปลูกในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในวันที่ 30 มิถุนายน 2546 ในดินชุดมาบบอน
ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ปลูกในแปลงทดลองของสถานีวิจัยเขาหินซ้อน ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ส่วนแปลงย่อย (sub-plot) ได้แก่ ตำรับทดลอง 14 ตำรับ ได้แก่ การไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี และการใส่ปุ๋ยมูลไก่ หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่ม 5 อัตราร่วมกับปุ๋ยเคมี และการใส่ปุ๋ยมูลไก่ ร่วมกับยิบซั่ม 5 อัตรา และปุ๋ยเคมี
จากผลการทดลองพบว่า ในดินชุดวาริน การใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มที่อัตราต่างๆ และปุ๋ยเคมี มีผลทำให้ผลผลิตหัวสด ปริมาณแป้งในหัวสด และน้ำหนักต้นและใบสดของมันสำปะหลังแตกต่างกันทางสถิติ แต่ในมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ให้ผลผลิตหัวสด ปริมาณแป้งในหัวสด และน้ำหนักต้นและใบสดไม่แตกต่างกัน
การใช้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี ทำให้ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 16 ถึง 75) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี ซึ่งพบว่าการใส่ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตันต่อไร่ร่วมกับยิบซั่ม อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
************************************************************************
1 สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67280 Phetchaboon Research Station Agro-Ecological system Research and Development Institute (AERDI), Kasetsart University,Khokor District, Phetchaboon 67280
2 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร 10900Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900
3 สถานีวิจัยเขาหินซ้อน สถาบันอินทรียจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 Khao Hin Son Research Station, Inseechandrasatitya Institute for Crop Research and Development, Kasetsart University,
Phanom Sarakam District, Chachoengsao 24120
4 ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210 Tapioca Research and Development Center, Thai Tapioca Development Institute, Dan Khuntoad District,
Nakhon Ratchasima 30210
********************************************************************
ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 7,317 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่ให้ผลผลิตต่ำสุดเพียง 4,179 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนปริมาณแป้งในหัวสดพบว่าพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มมีปริมาณแป้งเฉลี่ย 24.8 % ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (20.3%) ส่วนน้ำหนักต้นและใบสด พันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักสูงกว่าระยอง 72 (4,053 และ 3,425 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ) ส่วนในดินชุดมาบบอนพบว่าการใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่กับปุ๋ยเคมี
การใส่ยิบซั่มอัตราต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่มอัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีมีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ถึง 66 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 โดยตำรับที่ 13 ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับยิบซั่มอัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 8,812 กิโลกรัมต่อไร่ เปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 5,305 กิโลกรัมต่อไร่
ส่วนปริมาณแป้งในหัวมันสดพบว่าพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มในการให้ปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (23.9% และ 21.2% ตามลำดับ) ในพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (3,650 และ 3,451 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ)
ABSTRACT
To study the effects of chicken manure (CM), gypsum(G),and chemical fertilizers (F,in kg/rai)
on root yield and starch content of cassava planted on Warin and Mab Bon soil series, the
experiments were conducted using a split-plot in RCB designs with 4 replications. At the Tapioca
Research and Development Center (TRDC), Huay Bong Sub District, Dankhuntoad District, Nakhon
Ratchasima Province where the soil series is Warin, two cassava cultivars, Huay Bong 60 and
Rayong 72 constituted the main plots and were planted in June 30, 2003. In another location, at the
Khao Hin Son Research Station (KHS), Khao Hin Son Sub District, Phanom Sarakam District,
Chachoengsao Province where the soil series is Mab Bon, Huay Bong 60 and Rayong 5 were in the
main plots and were planted in July 1, 2003. In both locations, the 14 sub-plots were indentical. They
were: T1 = no CM,G nor F (control) , T2 = 50 kg/rai F, T3 = 1 ton/rai CM, T4= 1 ton/rai CM + 50
kg/rai F, T5-T9 each received 50 kg/rai F but obtained different G rates (50, 100, 150, 250 and 500
kg/rai, respectively), T10-T14 each was given 1 ton/rai C M + 50 kg/rai F but received different G
rates (50, 100, 150, 250 and 500 kg/rai, respectively). The results indicated that for Warin soil series,
at TRDC, cassava root yield, root starch content, stem and leaf fresh weight in all treatments were
statistically significant. But the average yield between two cassava cultivars was not significantly
observed. Nevertheless, chicken manure (CM), gypsum (G),and chemical fertilizers (F) they tended to
increase cassava root yield (16-75% over control). Gypsum at the rate of 500 kg/rai +1 ton/rai CM +
50 kg/rai F gave maximum root yield of 7,317 kg/rai as compared with the control plots where
cassava root yield was the lowest (4,179 kg/rai). Root starch content of Huay Bong 60 was greater
(24.8%) than Rayong 72 (20.3%). Similar result was also observed for stem and leaf fresh weight
where Huay Bong 60 was greater (4,053 kg/rai) than Rayong 72 (3,425 kg/rai).
In Mab Bon soil series, the results revealed that CM or F alone, CM+F, different G rates + F
and different G rates + CM + F increased cassava root yield (17-66%) when compared with control.
T13 (1 ton/rai CM + 250 kg/rai G + 50 kg/rai F) yielded the greatest cassava root weight (8,812 kg/rai)
where as T1 control gave the lowest root yield (5,305 kg/rai). Root starch content of Huay Bong 60
was greater than Rayong 5 (23.9% vs 21.2%). Finally, stem + leaf fresh weight of Huay Bong 60 was
greater than Rayong 5 (3,650 and 3,451 kg/rai).
Key Words : cassava, gypsum, chicken manure, chemical fertilizer, Warin and Mab Bon Soil Series
e-mail address : Prapart.C@ku.ac.th
*********************************************************************
คำนำ
มันสำปะหลัง เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากประเทศไนจีเรียและบราซิล นอกจากนั้นแล้วประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก (เจริญศักดิ์, 2546)
จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2548/2549 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6,469,530 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 2,921 ตัน ผลผลิตรวม18,897,080 ตัน เปรียบเทียบกับปี 2547/2548 จะเห็นได้ว่า พื้นที่ปลูก ผลผลิต ผลผลิตรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.99 , 6.26 และ 11.56 ตามลำดับ (มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, 2548) ซึ่งผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่แม้จะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2547/2548 (2,749 กิโลกรัมต่อไร่)
เนื่องจากมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ทางราชการแนะนำให้เกษตรกรซึ่งสามารถปฏิบัติร่วมกันโดยใช้พันธุ์ดี การจัดการดินดี การปฏิบัติดูแลรักษาดี (วิจารณ์, 2546) มันสำปะหลังในปัจจุบันมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงถึง 5-10 ตันต่อไร่ได้
เป็นที่ทราบกันดีว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่มีการปรับตัวได้ดีในเกือบทุกสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นดินทราย ดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่แห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกพืชไร่ชนิดอื่นได้ แต่ก็สามารถปลูกมันสำปะหลังและให้ผลตอบแทนกับเกษตรกรได้ดีกว่าการปลูกพืชอื่น ๆ จึงถือได้ว่าเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทยที่มีรายได้ต่ำ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยต่างๆ บำรุงดินมาเป็นเวลานาน ทำให้ดินที่ปลูกมันสำปะหลังนั้นเสื่อมโทรมมาก (ปิยะ, 2546)
สอดคล้องกับการศึกษาของ เจริญศักดิ์และคณะ (2547) ที่ได้สรุปปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังว่าประสบปัญหาในเรื่องของดินเสื่อมโทรมเป็นปัญหาอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 32.55%
จาการสำรวจเกษตรกรระดับผู้นำจำนวน 465 คน จากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 21 จังหวัด จะเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญทางสมบัติกายภาพของดินที่พบ คือ ผิวหน้าดินอาจแข็งตัวแน่นทึบ เมื่อดินแห้งตัวลงในขณะที่ฝนทิ้งช่วงและเมื่อฝนตกหรือมีการให้น้ำซึมลงใต้ผิวดินได้น้อย
จากปัญหาดังกล่าวการแก้ไขจะทำได้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือสารปรับปรุงดิน ในรูปสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติ สารอินทรีย์ที่ได้จากผลพลอยได้ทางการเกษตรหรือผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี
ปิยะ (2537) ได้เสนอการใช้ยิบซั่ม (gypsum) ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน และช่วยให้ดินมีการแทรกซึมน้ำดีขึ้น เช่นเดียวกับ ประภาสและคณะ (2547) ซึ่งได้ศึกษาผลของปุ๋ยมูลไก่ยิบซั่มและปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวารินและมาบบอนและพบว่าวัสดุดังกล่าวมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตหัวสดและน้ำหนักต้นและใบเพิ่มขึ้นจากการแก้ปัญหาสภาพดินที่ปลูกมันสำปะหลังนั้น
นอกเหนือจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกันถ้ามีการนำเอายิบซั่ม (gypsum) ที่ถือว่าเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซียม (Ca) และกำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ร่วมปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในการปลูกมันสำปะหลัง เพื่อ
1) ศึกษาผลของการใช้ยิบซั่มในอัตราต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวหรือปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกันที่มีต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 72 ในดินชุดวาริน และในดินชุดมาบบอนปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 5
2) ศึกษาผลของยิบซั่มต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลังในปีที่ 2 โดย
ปลูกซ้ำในแปลงทดลองเดิม
อุปกรณ์และวิธีการ
วางแผนการทดลองแบบ Split-plot in RCB มี 4 ซ้ำ แปลงทดลองที่ปลูกในดินชุดวาริน ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย pH 5.8 อินทรียวัตถุ 0.5 ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 17 ส่วนต่อล้านส่วน ( ppm ) วิเคราะห์โดยวิธี Bray IIโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ 100 ppm ( ใช้วิธีสกัดด้วย 1 N ammonium acetate แล้ววัดด้วย Atomic absorption spectrophotometer ) ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา แปลงหลัก (main plot) ได้แก่ มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 72 ซึ่งทำการปลูกเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2546 ส่วนแปลงทดลองที่ปลูกในดินชุดบาบบอน ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย pH 5 อินทรียวัตถุ 0.9% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 7 ppm โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ 105 ppm ณ สถานีวิจัยเขาหินซ้อน ต.เขาหินซ้อน อ. พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มี main plot คือมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 โดยปลูกในวันที่ 30 กรกฎาคม 2546 แปลงย่อย (sub plot) มีทั้งหมด 14 ตำรับทดลอง (treatment) ได้แก่ ตำรับที่ 1 ตำรับใช้เปรียบเทียบ (control) ตำรับที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 3 ปุ๋ยมูลไก่ผสมแกลบ อัตรา 1 ตันต่อไร่ ตำรับที่ 4 ปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตันต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 5-9 ใส่ยิบซั่ม 5 อัตรา คือ 50 100 150 250 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ตามลำดับ ตำรับที่ 10-14 ใส่ยิบซั่ม 5 อัตราคือ 50, 100, 150, 250, และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1 ตันต่อไร่ ตามลำดับ
การทดลองปีที่ 2 ทำการปลูกซ้ำในแปลงทดลองเดิม ขนาดแปลงย่อย 6x12 เมตร พื้นที่เก็บเกี่ยว 4 x 10 เมตร หลังการไถเตรียมดินด้วยผาล 3 แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ทำให้วัชพืชแห้งตาย เมื่อดินมีความชื้น วัดพื้นที่แปลงที่ได้วัดจากขอบแปลงเดิมไว้ก่อนเตรียมแปลง ก่อนที่จะหว่านยิบซั่มพร้อมกับการหว่านปุ๋ยมูลไก่ตามตำรับทดลองและไถกลบด้วยรถไถผาล 7 ทิ้งไว้ประมาณ 10-14 วัน และไถย่อยดินก่อนปลูกด้วยผาล 7 อีกครั้งใช้ต้นพันธุ์อายุ 10-12 เดือน ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ปลูกระยะ 1x1 เมตร โดยวิธีปักตรง หลังปลูกเสร็จทำการฉีดยาคุมวัชพืชประเภทก่อนงอก (อะลาคลอร์อัตรา 120 ซีซี ต่อน้ำ 17 ลิตร) หลังปลูกไปประมาณ 25-30 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตามตำรับทดลอง โดยใช้จอบขุดหลุม 2 ข้างต้น ห่างจากโคนต้นมันสำปะหลังประมาณ 20 เซนติเมตรและใช้จอบขุดดินกลบหลังจากใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชภายในแปลงให้สะอาดตามความเหมาะสมและขุดเก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังอายุครบ 12 เดือน
ผลและวิจารณ์
ผลผลิตหัวสด การใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีไม่มีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ แตกต่างกัน ไม่ว่าจะปลูกในดินชุดวารินหรือดินชุดมาบบอน แต่ในดินชุดวาริน พันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มการให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (6,251 และ 6,181 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ) และในดินชุดมาบบอน พันธุ์ห้วยบง 60มีแนวโน้มให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (7,409 และ 6,979 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ) (Table 1 และ Table 2) ในดินชุดวาริน ตำรับทดลองที่ 1 (Control) ไม่ใส่ยิบซั่ม ไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ การใส่ร่วมกันทั้งปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มอัตราต่างๆ และปุ๋ยเคมี ไม่มีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยจากมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ แตกต่างกันทางสถิติ (Table 1) แต่พบว่าการใช้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมีอัตราต่าง ๆ เปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 นั้นมีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 16 ถึง 75 ตามลำดับ โดยตำรับทดลองที่ 14 ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ร่วมกับยิบซั่ม 500 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุดถึง 7,317 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 4,179 กิโลกรัมต่อไร่
ส่วนในดินชุดมาบบอนพบว่าการใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่มอัตราต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่มอัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีมีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยทั้ง 2 พันธุ์ เพิ่มสูงขึ้นจากตำรับทดลองที่ 1 อย่างชัดเจนถึงประมาณร้อยละ 17 ถึง 66 ตามลำดับ โดยพบว่า ตำรับทดลองที่13 ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ต้นต่อไร่ร่วมกับยิบซั่มอัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุดถึง 8,812 กิโลกรัมต่อไร่ เปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 5,305 กิโลกรัมต่อไร่ จากการศึกษาพบว่า มันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน
แต่การใช้ปุ๋ยมูลไก่หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่มอัตราต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่มอัตราต่าง ๆ มีแนวโน้มทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนร้อยละ 16-75 ในดินชุดวารินและ 17 ถึง 66 ตามลำดับในดินชุดมาบบอนเช่นเดียวกับ ประภาสและคณะ (2547) ได้ศึกษาผลของปุ๋ยมูลไก่และยิบซั่มและปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวารินและมาบบอน การใช้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม อัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2-17 ของตำรับที่ไม่ได้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมี สอดคล้องกับ นพศูลและคณะ (2547) ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ แต่พันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (7,188และ 6,447 ตามลำดับ) ปิยะ (2546) และ นิตยา (2546) ได้กล่าวถึง
การใช้ปุ๋ยให้เกิดประโยชน์มากที่สุดคือการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและใส่ปุ๋ยที่มีคุณภาพดี การเพิ่มผลผลิตหัวสดทั้งสองชุดดินมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่ใส่ร่วมกับยิบซั่มซึ่งมีปริมาณแคลเซียมเป็นองค์ประกอบประมาณ 22%
กรมวิชาการเกษตร (2542) และ ปิยะ (2537) กล่าวถึงคุณสมบัติของยิบซั่ม(CaSo4) มีคุณค่าทางด้านปรับปรุงดินที่ให้ผลเด่นชัดต่อแก้ไขปัญหาการเกิดแผ่นแข็งบนผิวดิน (Surface Crust) จะช่วยให้ดินได้จับตัวกันแน่นและส่งผลให้ธาตุอาหารตัวอื่น ๆ ที่อยู่ในดินที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกันเกิดประโยชน์ต่อมันสำปะหลังส่งผลทำให้ผลผลิตหัวสดเพิ่มขึ้น
ปริมาณแป้งในหัวสด
ในดินทั้ง 2 ชุด ปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ยของทั้ง 2 พันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (Table 1) แต่ในดินชุดวาริน พันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มในการให้ปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย 24.8% ซึ่งสูงกว่า พันธุ์ระยอง 72 ที่มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ยเพียง 20.3% และในแต่ละตำรับทดลองพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างตำรับทดลองที่พบว่าตำรับทดลองที่ 7 และ 14 มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 23.7% และ 23.7% ตามลำดับ) ส่วนในตำรับทดลองที่ 4 มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 21.2% (Table 2)
ส่วนในดินชุดมาบบอนพันธุ์ห้วยบง 60 ก็มีแนวโน้มในการให้ปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ยพันธุ์ระยอง 5 ด้วย (23.9% และ 21.2% ตามลำดับ) สำหรับการไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ยิบซั่มและปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่มอัตราต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่มอัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมี พบว่าตำรับทดลองที่ 12 ที่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ต้นต่อไร่ร่วมกับยิบซั่มอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 21.4% ซึ่งมีความแตกต่างทาง
สถิติกับตำรับทดลองอื่น ๆ ทั้งหมดที่มีปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ย 22.1 23.2 % ตามลำดับ
จากการศึกษาครั้งนี้จะพบว่า ปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ยค่อนข้างต่ำเนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีฝนตกตลอด ซึ่งปริมาณน้ำฝนจะมีผลกระทบต่อปริมาณแป้งในหัวมันสดค่อนข้างมาก เนื่องจากต้นมันสำปะหลังมีการสร้างยอดและใบใหม่จึงดึงแป้งในหัวไปใช้ ปิยะวุฒิและคณะ (2542) เช่นเดียวกับนพศูล และคณะ (2547) ไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างมันสำปะหลัง 2 พันธุ์และการใส่ปุ๋ยเคมีแต่ละอัตราไม่มีผลทำให้ปริมาณแป้งเฉลี่ยจากทุกพันธุ์และทุกอัตราปุ๋ยมูลไก่แตกต่างกัน
น้ำหนักต้นและใบสด
น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ ในแต่ละชุดดินที่ปลูกไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติในชุดดินวารินพบว่า พันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (4,053 และ 3,426 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ) ใน (Table 1) และในชุดดินมาบบอนก็เช่นกันโดยมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (3,650 และ 3,451 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ) ใน (Table 2) จากการใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่มอัตราต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่มอัตราต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีทำให้มันสำปะหลังสร้างน้ำหนักต้นและใบเฉลี่ยสูงกว่าตำรับทดลองที่ 1 ที่ไม่ใส่ทั้งปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมีถึงร้อยละ 19 ถึงร้อยละ 66 ตามลำดับ โดยพบว่าตำรับทดลองที่ 13 ที่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับยิบซั่ม 250 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างน้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงสุดถึง 4,486 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่มีน้ำหนักต้นสดและใบเฉลี่ยต่ำเพียง 2,706 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนในดินชุดมาบบอน พบว่าน้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 11 ถึงร้อยละ 58 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่มีน้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 2,732 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ร่วมกับยิบซั่ม 500 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงสุด 4,321 กิโลกรัมต่อไร่ (ตำรับทดลองที่ 14) (Table 2) จากการศึกษาของ นพศูลและคณะ (2547) ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีผลต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ การใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ไม่มีผลทำให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์แตกต่างกัน แต่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ห้วยบง 60 (5,785 และ 5,140 กิโลกรัม/ไร่ตามลำดับ) เช่นเดียวกับ ประภาสและคณะ (2547) ศึกษาผลของปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวารินและมาบบอน น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยของมันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ ในแต่ละชุดดินที่ปลูกไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยในดินชุดรารินพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (5,044 และ 3,584 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ และในชุดดินมาบบอนพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้น้ำหนักต้นและใบสด
เฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 (3,342 และ 2,941 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ)
ถึงอย่างไรในการปลูกมันสำปะหลังควรจะต้องมีการปรับปรุงดินปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์สารปรับปรุงดินและปุ๋ยเคมีร่วมกันอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรนั้นมีผลผลิตต่อไร่สูงอย่างยั่งยืน
สรุปผลการทดลอง
1. การไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยมูลไก่หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว การใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใส่ยิบซั่ม 5 อัตราร่วมกับปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับยิบซั่ม 5 อัตราและปุ๋ยเคมีไม่พบความแตกต่างทางสถิติของผลผลิตหัวสด ปริมาณแป้งในหัวมันสดน้ำหนักต้นและใบสดในมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ที่ปลูกในดินชุดวารินและมาบบอน
2. ในดินชุดวารินพบว่าตำรับที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมีอัตราต่าง ๆ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ถึง 75 ตามลำดับ และพบว่าตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ ยิบซั่ม 500 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 7,317 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 (Control) ที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 4,179 กิโลกรัมต่อไร่
3. ในดินชุดมาบบอน พบว่าตำรับที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่มและปุ๋ยเคมีอัตราต่าง ๆ เปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 (Control) นั้นมีผลทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17 ถึง 66 ตามลำดับ โดยพบว่าตำรับทดลองที่ 13 ใส่ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับยิบซั่มอัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด 8,812 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับทดลองที่ 1 ที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 5,305 กิโลกรัมต่อไร่
4. มันสำปะหลังที่ปลูกในชุดดินวารินพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้ปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ยร่วมทั้งน้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 72 (24.8% และ 20.3% ตามลำดับ และ 4,053 และ 3,426 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ)
5. มันสำปะหลังปลูกในชุดดินมาบบอนพบว่าพันธุ์ห้วยบง 60 มีแนวโน้มให้ปริมาณแป้งในหัวมันสดเฉลี่ย และน้ำหนักต้นและใบสดเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 23.9% และ 21.2% ตามลำดับ และ 3,650 และ 3,451 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ)
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร. 2542. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปุ๋ยและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปุ๋ย. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืชไร่, กองปฐพีวิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กรุงเทพฯ. 70 น.
เจริญศักดิ์ โรจน์ฤทธิ์พิเชษฐ์. 2546. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมันสำปะหลัง, น.115-120. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมเพื่อสร้างวิทยากรมันสำ ปะหลังในท้องถิ่น, วันที่ 30 เมษายน 4 พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
, วิจารณ์ วิชชุกิจ, บัญญัติ แหวนแก้ว และประภาส ช่างเหล็ก. 2547. ปัญหาการ
ผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร, น. 115-120. ใน ว.วิทยาศาสตร์เกษตร. 35(3-4) : 115-120.
นพศูล สมุทรทอง, วิจารณ์ วิชชุกิจ, สุเมศ ทับเงิน,ธีระ สมหวังและประภาส ช่างเหล็ก.2547.ผลของปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์,น. 537- 543. ในเรื่องเต็มการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 สาขาพืช. 3-6 กุมภาพันธ์ 2547.
ประภาส ช่างเหล็ก, วิจารณ์ วิชชุกิจ, ปิยะ ดวงพัตรา, เอ็จ สโรบล, ปิยะ กิตติภาดากุล, สุเมศ ทับเงิน , นพศูล สมุทรทอง, รุ่งโรจน์ จิตรีวรรณ และสุรชัย เนื่องสิทธิ์. 2547.
ผลของปุ๋ยมูลไก่ ยิบซั่ม และปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดวาริน และมาบบอน, น. 308-120. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 สาขาพืช. 3-6 กุมภาพันธ์ 2547.
ปิยะ ดวงพัตรา. 2537. สารปรับปรุงดินทางการเกษตร. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 29 น.
, วิจารณ์ วิชชุกิจ, เจริญศักดิ์ โรจน์ฤทธิ์พิเชษฐ์, ปิยะวุฒิ พูลสงวน, จำลอง เจียมจำนรรจา, เอ็จ สโรบล และวัชรี เลิศมงคล. 2542. ดินและปุ๋ยมันสำปะหลัง เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการฉบับที่ 2.
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 25 น.
, 2546. ดินและปุ๋ยมันสำปะหลัง, น. 6-32. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมเพื่อสร้างวิทยากรมันสำปะหลังในท้องถิ่น, วันที่ 30 เมษายน 4 พฤษภาคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ปิยะวุฒิ พูลสงวน, วิจารณ์ วิชชุกิจ, เจริญศักดิ์ โรจน์ฤทธิ์พิเชษฐ์, เอ็จ สโรบล, จำลอง เจียมจำนรรจา, ปิยะ ดวงพัตรา และวัชรี เลิศมงคล. 2542. เทคนิคในการเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลัง.
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 4 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ. 28 น.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. 2548. การสำรวจสภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลังฤดูการผลิต 2548/2549.กรุงเทพฯ. 5 น.
วิจารณ์ วิชชุกิจ. 2546. การเขตกรรมที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง,น. 1-29. ในเอกสารประกอบการฝึกอบรมเพื่อสร้างวิทยากรมันสำปะหลังในท้องถิ่น, วันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
มีตาราง..ต่อ...2 ตาราง (ไม่ยอมมาด้วย) |
|