-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การวิจัยและพัฒนาการผลิตวานิลลา...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การวิจัยและพัฒนาการผลิตวานิลลา...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/12/2010 11:23 am    ชื่อกระทู้: การวิจัยและพัฒนาการผลิตวานิลลา... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


















การวิจัยและพัฒนาการผลิตวานิลลาในพื้นที่โครงการหลวง

By อลิสรา คูประสิทธิ์ (Alissara Kuprasit) on พฤศจิกายน 9, 2010

วานิลลาเป็นพืชวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE) ฝักเมื่อนำไปบ่มมีกลิ่นหอมของวา
นิลลิน มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก และประเทศในแถบตะวันออกของ
ทวีปอเมริกากลาง มีรายงานว่ามีมากถึงกว่า 200 สายพันธุ์ การกระจายพันธุ์อยู่ใน
เขตเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือ-ใต้ของเส้นศูนย์สูตร สายพันธุ์ที่มีคุณค่าทางการค้ามี
อยู่เพียง 3 สายพันธุ์คือ

1. Vanilla planifolia (Andrews.)
2. วานิลลอน Vanilla pompona และ
3. วานิลลาตาฮิติ Vanilla tahaitensis

แต่ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุดคือ Vanilla planifolia (Andrews.) เรียกกัน
ว่าวานิลลาพันธุ์การค้า ประเทศไทยมีวานิลลาพื้นเมืองขึ้นกระจายอยู่ 4 สายพันธุ์คือ

1. พลูช้าง หรือตองผา Vanilla siamensis Rolfe ex Kownie
2. เอาะลบ Vanilla albida Blume
3. สามร้อยต่อใหญ่ หรือ งด Vanilla pilifera Holttum และ
4.เถางูเขียว Vanilla aphylla Blume.

ประเทศไทยรู้จักนำวานิลลาพันธุ์การค้าเข้ามาปลูกกว่า 30 ปีแล้วปลูกทดลองใน
สถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร

มูลนิธิโครงการหลวงได้ศึกษาทดลองการปลูกวานิลลาพันธุ์การค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2544 โดยสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักวิชาการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)ได้ศึกษาทดลองครั้งแรกที่ศูนย์พัฒนาโครงการ
หลวงป่าเมี่ยง ตำบลเทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งพบมีการเจริญเติบโต
ของวานิลลาพื้นเมือง (พลูช้าง) Vanilla simensis Blumes. ขึ้นอยู่ในป่า
ธรรมชาติ ซึ่งได้นำวานิลลาพันธุ์การค้า (Vanilla planifolia Andrews.) มา
ทดลองปลูกเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ภายใต้ร่มเงาต้นไม้ป่าธรรมชาติ และซาแร
นพรางแสง 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีและสามารถให้
ดอกในปีที่ 3 ของการปลูกด้วยต้นกล้าจากการปักชำต้น และจะออกดอกประมาณ
ปลายเดือนมีนาคม ถึงเมษายน จะเร็วกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 1 เดือน เนื่อง
จากวานิลลาเป็นพืชเลื้อยสามารถมีอายุข้ามปีได้หลายปี จึงมีการศึกษาถึงวัสดุที่ใช้
ทำค้างเกาะ ทั้งค้างมีชีวิตคือต้นไม้ที่ใบสามารถพรางแสงได้ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์
(ต้น Facultalia ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว) พบว่าการใช้ค้างซีเมนต์น่าจะเป็นทางเลือก
ที่ดีทีสุดในการปลูกวานิลลาเชิงการค้า การเปรียบเทียบการใช้วัสดุคลุมดินด้วยกาบ
มะพร้าวสับ พืชตระกูลถั่ว และหญ้า ไม่พบความแตกต่างในการเจริญเติบโตของ
วานิลลา

การศึกษาการบ่มฝักวานิลลาพบว่า การประยุกต์วิธีการบ่มฝักของประเทศมาดา
กาสก้าร์โดยผ่านกระบวนการบ่มหลักๆ 4 ขั้นตอน คือ

1.Killing
2. Sweating
3. Slow drying และ
4. Conditioning

สามารถทำให้ฝักวานิลลามีกลิ่นหอม สีของฝักเป็นสีช็อคโกเล็ตเข้ม ฝักมีความนุ่ม
ความชื้นประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ เมื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารวานิลลิน พบว่า
มีประมาณ 2.21เปอร์เซ็นต์ ทัดเทียมกับต่างประเทศ ที่ผิวฝักพบผลึกสีขาวใสของวา
นิลลิน หรือเรียกกันว่า frost เกาะอยู่ ซึ่งบางประเทศใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพ
ฝักวานิลลาที่ดี

ในปี 2549ได้มีการศึกษาทดลองปลูกในโรงเรือนพลาสติกที่ศูนย์พัฒนาโครงการ
หลวงขุนวาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ระดับความสูง 1,200 เมตร เหนือ
ระดับน้ำทะเล พบวาสามารถให้ผลผลิตสูง และให้ผลผลิตต่อเนื่องทุกปี ฝักที่บ่มมี
ปริมาณสารวานิลลิน สูงถึงประมาณ 2.40 เปอร์เซ็นต์ แต่การสุกแก่ของฝักจะ
ประมาณ 12 เดือน ซึ่งนานกว่าที่ศูนย์ป่าเมี่ยงประมาณ 2 เดือน ทำให้คาบเกี่ยวกับ
การออกดอกรุ่นใหม่ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถตัดแต่งทรงต้น
หลังเก็บเกี่ยวได้

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงได้ขยายผลการวิจัยสู่การผลิตเชิงการค้าโดยส่งเสริมให้
เกษตรกรบนพื้นที่สูง 8 ราย ปลูกในระบบโรงเรือนพลาสติก จากาการสนับสนุนงบ
ประมาณบางส่วนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และเกษตรกร 4 รายปลูกใน
ระบบโรงเรือนพรางแสงที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อ.แม่แตง จ.
เชียงใหม่

ปัจจุบันผลผลิตจากการศึกษาทดลองวานิลลาได้ส่งจำหน่ายในรูปฝักวานิลลาบ่มผ่าน
ฝ่ายตลาดของมูลนิธิโครงการหลวง และทดลองผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในเมนูอาหาร
เช่น น้ำเชื่อมวานิลลา น้ำเลมอนผสมวานิลลา และฟักทองวานิลลา ที่ศูนย์พัฒนา
โครงการหลวงขุนวาง ซึ่งผลผลิตฝักวานิลลาบ่มยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของตลาด คาดว่าจากการส่งเสริมให้เกษตรกรได้ผลิตมากขึ้น ในระยะเวลาอีก 3 –
4 ปี ข้างหน้า จะมีผลผลิตฝักวานิลลาบ่มของมูลนิธิโครงการหลวงประมาณปีละไม่
น้อย กว่า 1,000 กิโลกรัม ซึ่งจะเป็นวานิลลาที่ผ่านกระบวนการบ่มที่ได้มาตรฐานที่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ขุนวาง ต่อไป

การศึกษาวิจัยเพื่อลดระยะเวลาการบ่มฝัก หรือการพัฒนาสายพันธุ์ที่ต้านทานโรค
เน่าจากเชื้อรา และพัฒนาสายพันธุ์ที่สามารถให้ดอกผสมตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้
แรงงานคนช่วยผสมดอกนับว่ามีความจำเป็นในการปลูกวานิลลาเชิงการค้าของ
ประเทศไทยและของโลก

Posted in การพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต Tagged Facultalia,
ORCHIDACEAE, Vanilla albida, Vanilla aphylla, Vanilla pilifera
Holttum, Vanilla planifolia, Vanilla pompona, Vanilla siamensis,
Vanilla tahaitensis, กระบวนการบ่ม, การปลูก, วนิลา, โครงการตามแนวพระ
ราชดำริ Leave a Comment

http://doc.tistr.thaigov.net/doc/?tag=vanilla-pilifera-holttum
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©