-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 08/10/2009 1:59 pm    ชื่อกระทู้: จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.be2hand.com/scripts/shop.php?do=article_detail&news_id=2464&user=kasedinsee

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Micro-organisms : IMOs)

เทคนิคการผลิตพืชและสัตว์ในระบบเกษตรธรรมชาติ จะมีการนำจุลินทรีย์มาเกี่ยวข้องเสมอ เกษตรธรรมชาติเน้นความหลากหลายของจุลินทรีย์เน้นการควบคุมกันเองของ จุลินทรีย์ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะมีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อการผลิตพืชและสัตว์ตามความคิดของมนุษย์จะเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่สมดุลของ ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศน์นั้น ๆ

การทำเกษตรแบบธรรมชาติ จะไม่นำจุลินทรีย์จากต่างพื้นที่เข้ามาใช้ในกระบวนผลิต ทั้งนี้รวมถึงจุลินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่เพาะเลี้ยงและคัดแยกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์จนเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ (สายพันธุ์เดี่ยวๆ) ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวจะไม่แข็งแรงและไม่มีประสิทธิภาพเมื่อนำกลับไปสู่ธรรมชาติอีกครั้ง เหมือนกับจุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่น ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลานานจนสามารถปรับตัวและมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในพื้นที่ได้ มีรายงานว่า เกษตรกรหลายรายที่เคยใช้จุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เริ่มให้การยอมรับในประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่นมากขึ้น

การฉีดพ่นหรือเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่น และน้ำหมักจากพืชสีเขียวจะทำให้สภาพแวดล้อมในไร่นากลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้น โดย เฉพาะประเทศในแถบเอเชีย ความสามารถในการผลิตจุลินทรีย์ท้องถิ่นนี้ถือได้ว่าเป็นวัสดุที่สำคัญในการ ทำการเกษตรที่ยั่งยืน เนื่องจากสามารถผลิตได้ที่บ้านของเกษตรกรเอง

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs) พื้นฐานของความของความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การเพาะปลูกจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากดินที่เหมาะสม ดังนั้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่เพาะปลูกจึงควรต้องทำเป็นอันดับแรก

ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีลักษณะอย่างไร จากรายงานการวิจัยพบว่าดินที่ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษในพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร จะมีจุลินทรีย์อยู่หลายชนิดคิดเป็นน้ำหนักเท่ากับ 700 กิโลกรัม โดยปกติปริมาณจุลินทรีย์มากน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ดินจะประกอบด้วยเชื้อรา 75% แบคทีเรีย 20-25% และสัตว์ขนาดเล็กในดิน 5% คิดเป็นน้ำหนักแห้งประมาณ 140 กิโลกรัม (คิดคำนวณจากการมีน้ำเป็นองค์ประกอบ 80%)

ปริมาณน้ำหนักแห้งของจุลินทรีย์รวม 140 กิโลกรัม จะมีจำนวนคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 70 กิโลกรัม ไนโตรเจน 11 กิโลกรัม ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบถึงอัตราของปุ๋ยไนโตรเจนที่ต้องใช้ 10 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร จะพบว่าปริมาณไนโตรเจนในธรรมชาตินี้มีปริมาณใกล้เคียงกันกับประมาณที่พืชต้องการ ในดิน 1 กรัมจะมีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อาศัยอยู่จำนวนระหว่าง 100 ล้านเซลล์ถึงหนึ่งล้านล้านเซลล์ นักสิ่งแวดล้อมเคยรายงานว่า ในพื้นที่ขนาดเท่ากับรอยเท้ามนุษย์ในความลึก 1 เมตร จะมีเพลี้ยอ่อน 3,280 ตัว หมัด 479 ตัว ไส้เดือนฝอย 74,810 ตัว และไส้เดือนดิน 1,845 ตัวอาศัยอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยทางอ้อม

ความสำเร็จในการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็เกิดจากการจัดการที่ดี เพราะดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ดังนั้นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและจัดการให้มีอาหารที่เพียงพอสำหรับ จุลินทรีย์และสัตว์อื่นๆ ในดินจึงมีความสำคัญมาก พบว่าเมื่อคลุมดินที่มีความแข็งกระด้างด้วยฟางข้าว หรือตอซังข้าวประมาณ 7-10 วัน จะมีเชื้อราขาวเกิดขึ้น และดินที่เคยแข็งกระด้างก็จะกลับมาอ่อนนุ่ม และชุ่มชื้น สภาพเช่นนี้จะเป็นที่ดึงดูดให้ไส้เดือนเข้ามาในพื้นที่ เกษตรกรไม่จำเป็นจะต้องซื้อจุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดมาพ่นลง ในดิน เพียงแค่จัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ ก็จะทำให้ดินฟื้นฟูสภาพได้ด้วยตัวเอง

ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะพบเชื้อราเจริญขึ้นมาตามลำดับ ตามมาด้วยไส้เดือนฝอยที่กินเชื้อราเป็นอาหาร ไส้เดือนดิน จิ้งหรีด แมงกะซอน และตัวตุ่น ดังนั้นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็จะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในดินให้มีการพัฒนา อย่างผสมกลมกลืนกัน และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยทางอ้อม และจะพบว่า 90% ของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตรจากผิวหน้าดินลงไป

เมื่อผืนดินถูกปกคลุมด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ตอซังข้าว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีสัดส่วน 7:3 คือ มีร่มเงา 7 ส่วน และแสงอาทิตย์ 3 ส่วน ในส่วนที่เป็นร่มเงาภายใต้ฟางข้าวจะช่วยลดการระเหยของน้ำ และดินก็จะไม่ถูกแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง การทำให้เกิดสภาพเช่นนี้มีหลายวิธี เช่น การคลุมดินด้วยตอซังข้าว การใช้ใบไม้คลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน และการหว่านเมล็ดคลุมดิน จะเห็นได้ว่าบนภูเขาและทุ่งนาในธรรมชาติ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์มากและดินจะดีจากด้านบนและลดลงสู่ด้านล่างไม่ใช่จาก ด้านล่างขึ้นไปด้านบน ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ทั้งหลายสามารถนำมาใช้ทำวัสดุคลุมผิวดินได้ ทุกชนิด โดยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์รูปแบบใกล้เคียงกับธรรมชาติ

หลักการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจึงมีการนำผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เข้ามาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ในการทำเกษตรธรรมชาตินั้นจะต้องคำนึงถึงว่าจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดมักมา จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ พื้นที่ของเราเอง ดังนั้นผู้ที่สนใจในวิธีเกษตรธรรมชาติจึงควรจะเรียนรู้เทคนิคการรวบรวมสาย พันธุ์จุลินทรีย์ที่ต้องการนำมาใช้

จุลินทรีย์ที่ผลิตเป็นการค้า

งาน วิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ มีความพยายามที่พัฒนาเพื่อผลิตเป็นการค้าแผงอยู่มีการนำเข้าของเชื้อ จุลินทรีย์ปริมาณมหาศาลจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปใน เชิงธุรกิจ จุลินทรีย์ผลิตเป็นการค้าได้อย่างไร เพราะเมื่อมีการค้าความต้องการสินค้าก็ต้องมีอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีความสัมพันธ์กับยอดขายที่ต่อเนื่อง ดังนั้นการควบคุมให้ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์มีช่วงอายุการใช้งานที่จำกัด จึงเกิดขึ้น จากการสำรวจจะพบว่า จุลินทรีย์ที่ถูกนำมาจำหน่ายจริงๆ แล้วจะมีอายุสั้น และมีประสิทธิภาพการใช้งานเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง สิ่งนี้เป็นเพราะจุลินทรีย์ถูกนำเข้าจากต่างถิ่น จึงมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมน้อยกว่าเมื่ออยู่ในดินที่ ท้องที่ที่แตกต่างกันออกไปจึงไม่สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข อีกประหนึ่งเป็นผลที่มาจากการคัดเลือกสารพันธุ์ที่เป็นการค้าของนักธุรกิจ

หลักการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจึงมีการนำผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เข้ามาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ในการทำเกษตรธรรมชาตินั้นจะต้องคำนึงถึงว่าจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดมักมา จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ พื้นที่ของเราเอง ดังนั้นผู้ที่สนใจในวิธีเกษตรธรรมชาติจึงควรจะเรียนรู้เทคนิคการรวบรวมสาย พันธุ์จุลินทรีย์ที่ต้องการนำมาใช้

จุลินทรีย์ธรรมชาติ

จุลินทรีย์ ดั่งเดิมในท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ถ้าจะนับเวลาที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมก็จะยาวนานนับ 1,000 ปี จุลินทรีย์เหล่านี้มีพัฒนาการเพื่อการอยู่รอดและปรับตัวให้คงทนต่อสภาพที่ ไม่เหมาะสมมานานแล้ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านั้นจะมี ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และมีกิจกรรมมาก ดังนั้นเมื่อมีการนำจุลินทรีย์จากต่างถิ่นหรือที่ผลิตเป็นการค้า จึงพบว่าจะขาดลักษณะเด่นคือไม่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและ ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ รวมถึงก่อประโยชน์ในพื้นที่ตามที่มนุษย์คาดหวังปกติจุลินทรีย์ที่เป็นการค้าจะทำงานให้มนุษย์ได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นในพื้นที่ของเรา

ในการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นการค้า จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะมีรูปแบบการผลิตจากสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิและความชื้นคงที่ ดังนั้นจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีชีวิตและดำเนินกิจกรรมที่ดีได้เฉพาะพื้นที่ ที่มีสภาพคล้ายกัน แต่มักจะไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในสถานที่ผลิตจะไม่มีลมกรรโชก ไม่ขาดน้ำและไม่มีน้ำท่วม แต่ในสภาพไร่นาจริงการควบคุมปัจจัยแวดล้อมเป็นไปได้ยาก เกษตรธรรมชาติจึงแนะนำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ใน ท้องถิ่นในสภาพอุณหภูมิปกติซึ่งจะเป็นการดีกว่า เพราะว่าเมื่อนำไปใช้ในพื้นที่จริงจุลินทรีย์ในท้องถิ่นมีความเหมาะสมกัน สภาพพื้นที่จริงมากกว่า

กลับสู่สภาพธรรมชาติ

เกษตรกร บางรายเข้าใจว่าการใช้จุลินทรีย์ในการผลิตพืชและสัตว์ระบบเกษตรธรรมชาติ นั้นก็เหมือนกับการใส่ปุ๋ยหรือวิตามินให้กับพืชและที่ผลิต ดังนั้นเขาจึงฉีดพ่นหรือนำจุลินทรีย์ไปใช้ในเวลาที่คิดว่าเหมาะสม โดยคาด หวังว่าจะได้ผลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ สิ่งนี้ก็เป็นจุดมุ่งหมายของเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาขายในท้องตลาดนั่นเอง

ระบบเกษตรธรรมชาติจะไม่แนะนำให้ใช้จุลินทรีย์ที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง ขาดความหลากหลายแต่แนะนำว่าสิ่งที่ดีที่สุดในการทำเกษตรธรรมชาติโดยใช้ เชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติก็คือการหันกลับสู่วิธีที่สิ่งมีชีวิตเดิมๆ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมีพลังชีวิตที่เข้มแข็ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้จากพืชนั้นจะมีคุณภาพและ ปริมาณที่แตกต่างกันตามฤดูกาล และอายุพืช ดังนั้นชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำสกัดจากพืชสีเขียวก็จะ เปลี่ยนไปตามฤดูกาลด้วยเช่นกัน

ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช
http://www.maejonaturalfarming.org

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©