kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 18/11/2011 7:18 am ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 18 NOV |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 18 NOV
**********************************************************
สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.1009.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986
*********************************************************
จาก : (087) 994-51xx
ข้อความ :
- อินทผลัมต้น 5 ปี กับขนุน 5 ปี ต้นอะไรทนน้ำท่วมได้ดีกว่ากัน ?
- ต้นสละ 5 ปี ทนน้ำท่วมได้นานแค่ไหน ?
- เก๋าลัดไทย ปลูกด้วยกิ่งตอน ถ้าต้นใหญ่ทนน้ำท่วมได้ไหม ?
ตอบ :
ไม่มีใครตอบได้ ไม่มีใครรู้ ไม้ผลแต่ละอย่างที่ถามมานี้ล้วนแต่ต้องการหรือชอบน้ำ
แค่ "ชื้น" เท่านั้น น้ำขังค้างนานแบบมันยิ่งกว่า "แช่" เสียอีกนะ
ธรรมชาติของน้ำที่ขังค้างบนพื้นดิน จะซึมหรือลงไปในเนื้อดิน ณ ความลึกประมาณ
1 ม. ซึ่งความลึกระดับนี้จะมีรากฝอยของต้นไม้อยู่ และรากฝอยคือผู้ดูดสารอาหาร
ต่างจากดินไปล่อเลี้ยงต้น
สถานการณ์เช่นนี้ โอกาสที่ไม้ผลยืนต้นจะรอดหรือตาย ขึ้นอยู่กับปัจจัย ได้แก่ "ระบบ
ราก-ความสมบูรณ์สะสมในต้น-ความสะอาดของน้ำ-อุณหภูมิ-สารอาหารที่ได้รับแบบ
พิเศษ-และอื่นๆ ที่จำเป็นโดยตรง
รากฝอยของต้นไม้มีหน้าที่ดูดสารอาหาร ซึ่งจะอยู่ที่ผิวดิน ณ ความลึกไม่เกิน 1
ม. ลึกมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่อายุต้น ในขณะที่รากแก้วมีหน้าที่ยึดลำต้นไม่ให้ล้ม
รากแก้วจึงหยั่งลงดินลึกกว่า 1 ม.เสมอ .... เมื่อรากฝอยที่อยู่ด้านบนไม่สามารถ
ดูดสารอาหารได้ รากแก้วก็จะทำหน้าที่นี้แทน แม้จะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์แบบนัก
กับสารอาหารที่รากแก้วดูดได้ไม่มากพอ แต่ก็พอปะทังชีวิตต้นให้ยืนอยู่ได้โดยไม่
ตาย
ปกติที่ผิวดิน ณ ความลึกประมาณ 1 คืบมือ จะมีสารอาหาร จุลินทรีย์ และอากาศ
สำหรับพืชนำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ รากก็ต้องดูดอากาศขึ้นไปหล่อเลี้ยงต้นด้วย
การที่น้ำท่วมขังค้าง ลึกจนอากาศลงไปไม่ได้ก็ทำให้ต้นไม้ขาดอากาศจนตายได้
เคยมีงานวิจัยช่วยไม้ผลยืนต้นที่ถูกน้ำท่วมขังค้างนาน น้ำลึก 1 (+) ม. โดยใช้
เครื่องปั๊มลมอัดอากาศลงดิน ณ ความลึก 30-50 ซม.จากผิวดิน จำนวน 5 รู รอบ
ทรงพุ่ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 ม. จำนวนทั้งสิ้น 5 ต้น ในจำนวนไม้ทั้ง
สวนหลายร้อยต้น ผลปรากฏว่า ไม้ทั้ง 5 ต้นที่ได้รับการอัดอากาศลงดินให้ รอดตาย
และไม่มีอาการต้นโทรม ส่วนต้นอื่นๆทั้งสวนตายไปกว่า 80% ที่เหลือมีอาการต้น
โทรมอย่างเห็นได้ชัด
การอัดอากาศลงดินแบบนี้เป็นงานวิจัยเท่านั้น ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เพราะ
ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆจำนวนมาก.....ปกติหรือธรรมชาติต้นไม้รับสารอาหาร
ได้ 2 ทาง คือ "ทางรากกับทางใบ" อยู่แล้ว เมื่อไม่สามารถให้ทางรากหรือต้นรับทาง
รากไม่ได้ ก็ควรให้ "ทางใบ" แทน นั้นคือ...ให้
"น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ล. + แม็กเนเซียม/สังกะสี/ธาตุรอง/ธาตุเสริม (ไบโออิ)
100 ซีซี. + กลูโคส 100 ซีซี." สลับครั้งกับ "น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ล. +
แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + กลูโคส 100 ซีซี." ห่างกันสูตรละ 3 วัน เท่ากับ
ได้ 7 วัน/สูตร ให้จนกว่าระดับจะลดลงสู่ปกติ
ประสบการณ์ตรง :
- ไม้ผลยืนต้น อายุต้น 5-7 ปี ถูกน้ำท่วมขังค้าง ลึก 1.5-2 ม. เหลือยอดพ้นผิวน้ำ
เล็กน้อย (5-10%) น้ำท่วมนานประมาณ 2 เดือน ไม้ผลต้นนั้นช่วยตัวเองโดย
พัฒนารากในพื้นดินขึ้นมาที่ผิวดิน แล้วแทงผ่านทะลุน้ำให้ขึ้นมาถึงผิวน้ำเพื่อรับ
อากาศจนได้ พร้อมๆกับเร่งพัฒนายอดให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรับแสงแดดด้วย ไม้ผล
ชนิดนั้น คือ "มะกอกน้ำ" เป็นไม้ผลยืนต้นที่น้ำท่วมขังค้างนานแล้วไม่ตาย นอก
จากไม่ตายแล้วยังพัฒนาเจริญเติบโตต่อได้อีกด้วย
- มะพร้าว/ตาล/หมาก เป็นไม้ผลยืนต้นอีกชนิดหนึ่ง ที่น้ำท่วมขังค้างนานเป็น
เดือนๆ แล้วไม่ตาย นอกจากไม่ตายแล้ว ยังออกดอกติดผลได้เหมือนปกติอีกด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------
. |
|