-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนตอย-นาขั้นบันไดเวียตนาม(2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 13/01/2014 11:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

............ ฯลฯ .............


การใช้ปุ๋ยเคมีให้ “ถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกเวลา ถูกวิธี” จึงควรเป็นประเด็นเร่งด่วนที่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางปลูกข้าวปีละ 2-3 ครั้ง การปลูกข้าวแต่ละครั้งใช้ปุ๋ยเคมี 50-75 กก.ต่อไร่ เป็นการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นถึงเท่าตัว โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ ล้มง่าย โรคแมลงระบาด และพบว่าในบางพื้นที่ แม้เป็นดินเหนียว ต้นข้าวมีอาการขาดโพแทสเซียม เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตไม่มีน้ำหนัก จึงต้องเปลี่ยนความเชื่อที่ว่า “ไม่ต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้แก่ข้าวที่ปลูกในดินเหนียว เพราะดินมีอยู่เพียงพอแล้ว”

สาเหตุที่ต้นข้าวแสดงอาการขาดโพแทสเซียม เพราะในปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวออกจากพื้นที่มากกว่าในอดีต 5-6 เท่าตัว จากที่เคยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองปีละครั้ง และเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปเพียง 300-400 กก.ต่อไร่

การผลิตข้าวเปลือก 1 ตัน ข้าวต้องดูดใช้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ประมาณ 20, 5 และ 25 กก. ตามลำดับ และพบว่าดินเหนียวในบางพื้นที่ปลดปล่อยธาตุโพแทสเซียมออกมาให้ต้นข้าวใช้ได้ไม่เพียงพอ

http://www.ssnm.info/know/520813_know


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 13/01/2014 12:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้อเท็จจริงของธาตุสังกะสีต่อข้าว


- ระบบการผลิตข้าวมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านความถี่ของการปลูกพืชและผลผลิต ตั้งแต่การปลูกข้าวแบบนาปีครั้งเดียว ในพื้นที่เขตอาศัยน้ำฝนบนที่ลุ่มและที่ดอน ซึ่งจะให้ผลผลิตต่ำ (1-3 ตัน/เฮคตาร์ .... 1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่)) จนกระทั่งถึงปลูกข้าวแบบ 3 ครั้งต่อปีพื้นที่เขตชลประทาน ซึ่งจะให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 15-18 ตัน/เฮคตาร์/ปี การปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มที่มีระบบชลประทานมีพื้นที่ปลูกที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 80 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลก ให้ผลผลิตรวม 92% ของการผลิตข้าวทั้งหมด เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การผลิตข้าวโดยรวมทั้งหมดจะต้องเพิ่มขึ้น 25% ในอีก 20 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ข้าวยังเป็นแหล่งให้พลังงานมากถึง 80% ของพลังงานทั้งหมดที่บริโภคเข้าไปของประชาชนจำนวน 3.3 พันล้านคนในแถบเอเชีย

การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและมีสารอาหารมากต้องมีการปรับปรุงความสมดุลของธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง (จุลธาตุ) พื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วโลกจะเป็นดินนาน้ำตม ซึ่งเป็นดินชนิดที่มีปริมาณธาตุสังกะสีที่พืชนำไป ใช้ประโยชน์ได้ต่ำมาก


@@ ความสมดุลของธาตุอาหารพืช :
การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง ธาตุอาหารพืชต้องมีเพียงพอและมีความสมดุลกัน หากเป็นไปได้ควรมีการวิเคราะห์พืชและดิน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับเป็นตัวชี้แนะในการกำหนดการวางแผนในการให้ปุ๋ยแก่พืช การขาดธาตุอาหารหรือการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีความสมดุลจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีงานวิจัยที่แสดงผลการลดลงของผลผลิตข้าวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อธาตุสังกะสีมีน้อยกว่าปริมาณที่เพียงพอ (ตารางที่ 1)

ผลการทดลองในเรือนกระจกในพื้นที่ 140 แห่งโดยใช้ดินจาก 17 จังหวัดในประเทศจีน พบว่า 49% ของดินเหล่านี้ ขาดธาตุสังกะสี เมื่อทำการปลูกข้าวหลายๆ พันธุ์ พบว่าผลผลิตเฉลี่ยที่ได้มีเพียง 75% ของผลผลิตสูงสุดที่ควรได้ และการทดลองนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผลผลิตจะลดลงอย่างรุนแรงเมื่อดินมีการขาดธาตุสังกะสี

@@ การเกิดการขาดธาตุสังกะสี
- การขาดธาตุสังกะสีจัดว่าเป็นจุลธาตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอย่างกว้างขวางมากที่สุดในข้าว การขาดธาตุสังกะสีจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการแนะนำให้ใช้ พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ และการปลูกข้าวหลายครั้งต่อปี ทำให้เพิ่มการเคลื่อนย้ายธาตุสังกะสีออกไปจากดินมากขึ้น ดินที่มีแนวโน้มที่จะขาดธาตุสังกะสีได้แก่ดินดังต่อไปนี้

- ดินที่เป็นกลาง และดินด่างคาร์บอเนตที่ประกอบด้วยธาตุไบคาร์บอเนตสูงในดินเหล่านี้ (ซึ่งพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอินเดียและบังกลาเทศ) จะพบการขาดธาตุสังกะสีเสมอ พร้อมๆ กับการขาดธาตุซัลเฟอร์

- ดินที่มีการปลูกพืชอยู่ตลอดเวลา และในอดีตที่ผ่านมามีการใส่ปุ๋ย N P และ K (โดยไม่มีธาตุสังกะสีผสมอยู่ด้วย) ในปริมาณที่มาก

- ดินนาข้าวที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน (เช่น การปลูกข้าว 3 ครั้งในหนึ่งปี หรือการปลูกข้าวในพื้นดินที่ปล่อยทิ้งไว้ และมีการระบายน้ำไม่ดีพอในช่วงที่ไม่มีการเพาะปลูก)

- ดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง



@@ การแก้ปัญหาการขาดธาตุสังกะสี :
ในพื้นที่ที่ดินที่วิเคราะห์ได้รับการยืนยันว่ามีการขาดธาตุสังกะสี หรือในบริเวณที่คาดว่ามีการขาดธาตุสังกะสี ควรมีการใส่ธาตุสังกะสีในรูปของซิงก์ซัลเฟต ซิงก์ออกไซด์ หรือ ซิงก์คลอไรด์ ในดินประมาณ 5-10 กิโลกรัม/เฮคตาร์ ก่อนทำการหว่านเมล็ดข้าว หรือก่อนการย้ายกล้าปลูก ธาตุสังกะสีสามารถผสมรวมเข้าไปกับปุ๋ยเม็ด NPK หรือผสมเข้าไปในระหว่างการคลุกเคล้า แม้ว่าจะมีข้อมูลว่าธาตุสังกะสีที่ใส่ลงในดินจะคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี แต่ภายใต้สภาวะที่ดินมีการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง หรือภายใต้สภาพการจัดการที่มีการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตสูงอยู่ตลอดเวลา ควรมีการใส่ปุ๋ยสังกะสีทุกๆ ปี


@@ ความสมดุลระหว่างธาตุสังกะสีในพืช และโภชนาการของมนุษย์ :
ในการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในหมู่บ้าน 4 แห่งในประเทศบังกลาเทศ โดยการวิเคราะห์จากตัวอย่างของเมล็ดข้าวและเส้นผมของคน พบว่าระดับของธาตุสังกะสีในเส้นผมมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับระดับของธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าว ดังนั้นการปรับปรุงให้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารสังกะสีในข้าว จะมีผลให้เกิดประโยชน์ทางโภชนาการต่อมวลมนุษย์ เมื่อผนวกเข้ากับการปรับปรุงพันธุ์พืช การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสม จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายในการเพิ่มส่วนประกอบธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวสำหรับปรับปรุงโภชนาการที่ดีของมนุษย์

@@ สังกะสีจำเป็นต่อพืช :
สังกะสีนำไปใช้เป็นส่วนผสมในปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช แม้จะในปริมาณที่เล็กน้อยแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสังเคราะห์อาหารของพืช โดยมีผลต่อการสังเคราะห์แสง การผลิตน้ำตาล การสังเคราะห์โปรตีน ความอุดมสมบูรณ์และการผลิตเมล็ดพืช ตลอดจนการเติบโตอย่างสม่ำเสมอและสร้างความต้านทานโรคอีกด้วย

พืชไร่หลายชนิดทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ จะมีความไวต่อภาวะขาดธาตุสังกะสี หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบชีวเคมีถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เป็นโรคได้ง่าย ในกรณีรุนแรงจะแคระแกร็น ดินที่ขาดสังกะสี ถึงแม้จะใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและผลผลิตต่ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเป็นด่าง (pH สูง) ดินที่มีฟอสฟอรัสสูง หรือ organic carbon สูง และดินที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังนานๆ

ในหลายประเทศเริ่มผสมสังกะสีในปุ๋ย NPK (มักอยู่ในรูปของผงสังกะสีซัลเฟต ZnSO4) และเรียกว่าปุ๋ย NPK + Zn หรืออาจนำ ZnSO4 มาละลายน้ำแล้วนำมาพ่นที่ใบ (Foliar Fertilizing) ตัวอย่างประเทศที่ใช้ปุ๋ย NPK + Zn อย่างจริงจัง เช่น ตุรกี อเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ จีนและอินเดีย

@@ วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี ทางใบและดิน
- สเปรย์ที่ใบ : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
- ทางดิน : เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
- การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : ให้แร่ธาตุโดยระบบกวน
- ทางเมล็ด

@@ ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช :
สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสีมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่

• การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
• การสังเคราะห์โปรตีน
• การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
• การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
• การต้านทานโรค
• การขาดสังกะสี (Zinc deficiency)

- เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (interveinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น (stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลาหลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช

- จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

- พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึง พืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 14/01/2014 1:38 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2

บทที่ 2 – ตอนที่ 2 – ว่าด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ธาตุแซม (ตอนที่ 1)

ผมเปิดประเด็นถามลุงคิมเรื่องธาตุรอง ธาตุเสริม ไว้ในกระทู้ 3374 เกษตรสัญจร 8 กระเหรี่ยงปลูกกระเทียมที่ปาย

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3374&start=25

....ลุงคิมอธิบายเรื่องธาตุรอง / ธาตุเสริม ในกระทู้นี้..... ผมจำเป็นต้องติดตามย้ายมาถามต่อที่นี่....เพื่อให้เพื่อนท่านที่สนใจเรื่องกระเทียม ก็อ่านในกระทู้ 3374 ส่วนคนที่สนใจเรื่องกระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอยก็อ่านจากกระทู้นี้

ธาตุรอง ธาตุเสริมกับนาข้าว…..เรื่องเก่า เล่าใหม่ เรื่องที่ไม่มีวันจบสิ้น....

มีสมาชิกเคยถามลุงคิมว่า สูตร สหประชาชาติเราสามารถนำมาใช้กับนาข้าวบ้างได้หรือไม่ ตอนนี้ข้าวอยู่ในช่วงสลัดเกสร ควรใช้สูตรไหนจึงเหมาะ

การที่ผมแนะนำให้กระเหรี่ยงบนดอยใช้สูตรนี้กับนาข้าว และผมใช้สูตรนี้กับนาข้าวรุ่นที่ 5 ของผม ก็มาจากคำถามนี้นั่นแหละ..... บอกแล้วว่า คนไม่บ้าไม่กล้าทำ ไม่ลองก็ไม่รู้ ...ใช้สูตร 3 in 1 ม้วนเดียวจบ....

ลุงคิมตอบ :

ปกติ สูตรสหประชาชาติ (BIOI + TAIPE + UREGA) ใช้กับพืชประเภทออกดอกติดผลตลอดปี แบบไม่มีรุ่น ถ้าเป็นผักสวนครัวก็คือ พริก มะเขือ ....ถ้าเป็นไม้ผลก็คือไม้ผลทะวาย หรือ...ถ้าเป็นไม้ดอกก็อีหร็อบเดียวกัน ประมาณนี้

กรณีนาข้าว ช่วงตากเกสร หรือสลัดเกสร หรือช่วงออกรวง สุดแท้แต่ภาษาพื้นบ้านใคร แต่ความหมายเดียวกัน....ช่วงนี้แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนไข่ไทเป (เปิดตาดอก-บำรุงดอก) อย่างเดียว

..... เมื่อถึงช่วงน้ำนม หลังเกสรผสมติดเริ่มเป็นเม็ดแล้วจึงใช้ ไบโออิ. สลับครั้งกับ ยูเรก้า.

หรือจะใช้รวมกันเป็นสหประชาชาติ 2 คือสูตร (ไบโออิ + ยูเรก้า) ก็ได้.....ช่วงน้ำนมนี้ หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน.ซัก 1 รอบ จะดีมากๆ

หมายเหตุ 1 : - ในไทเป. มี 0-52-34 + 13-0-46 + สาหร่ายทะเล ซึ่งทั้ง 3 ตัวหลักนี้ มีประสิทธิภาพในการทำให้พืชออกดอกโดยตรงอยู่แล้ว

- ในไบโออิ. มี แม็กเนเซียม. มีประสิทธิภาพในการสร้างคลอโรฟิลด์ ทำให้ข้าวใบเขียวจนถึงวันเกี่ยว เขียวทนนานกว่ายูเรีย.....มีสังกะสี. สร้างแป้ง ทั้งนี้ข้าวก็คือแป้ง

- แคลเซียม. มีประสิทธิภาพในการสร้างคุณภาพ เมล็ดเต็ม ใส ไม่เป็นท้องปลาซิวหรือท้องไข่ เมล็ดแกร่งไม่แตกหักง่ายตอนที่โรงสีบด น้ำหนักดีอีกด้วย

หมายเหตุ 2 :
- อธิบายความรู้เรื่องประสิทธิภาพของปุ๋ยแต่ละตัวให้พ่อและแม่ฟัง
- ทำเองซี่ ซื้อทำไม จะได้ประหยัดต้นทุน....ทำใช้ ทำขาย ทำแจก...
(ถ้าผมคัดลอกมาผิด ขออภัยนะครับลุง)





(7) พอดีว่า ลุงรัตน์ซึ่งปลูกกระเทียมอยู่ที่ปาย ใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ เป็นธาตุอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชหัว




(8 ) ส่วนตัวสารอาหารในขวด สำหรับพืชหัวที่ใช้ คือ ...CaO แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์ ครับ ซึ่งมีปริมาณสารอาหาร 10.5 % ลุงรัตน์บอกว่า คนปลูกกระเทียม หรือปลูกพืชหัวที่ปาย เค้าก็ใช้สารอาหารตัวนี้กันทั้งนั้น เพราะ เซลล์แมนบอกว่า ใช้ดี...บรรจุขวด 500 ซีซี ราคา 500 บาทเอง

ลุงคิมบอกว่า CaO คือ ปูนขาว ละลายน้ำธรรมดา ๆ โห ขายขวดละ 500 ไม่รวยวันนี้แล้วจะรวยวันไหน

ลุงคิมยังบอกอีกว่า ธาตุแคลเซี่ยม ต้องใช้คู่กับ ธาตุโบร่อน ที่ลุงคิมเรียกว่า แคลเซี่ยม – โบร่อนแต่เป็นแคลเซี่ยมคนละตัวกับ CaO ตัวนี้....

ลุงคิม ได้ให้คำตอบเรื่องแคลเซี่ยมไว้แล้วใน ลิงค์นี้ ...ทำให้หายข้อสงสัย.....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2011&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุแคลเซียม

ทีนี้ก็มาถึงสารตัวนี้
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2012&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุแม็กเนเซียม





(9) ...ถ้าขาดแม็กนีเซี่ยม...ต้องใช้สารตัวนี้.....แม็กสปีด …. MgO. ...แม็กนีเซี่ยม...



เมื่อมาถึงสารตัวนี้
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2464
มหัศจรรย์ธาตุสังกะสี....




(10) ...ก็ต้องใช้ตัวนี้ สังกะสี.......BK80 …Zn.




(11)



(12)

(11 – 12) เมื่อมาถึง ธาตุรอง / ธาตุเสริม ก็ต้องใช้ มัลติแชมป์...




(13)


(14)

(13 – 14) กรณีที่มัลติแชมป์ใช้หมดแล้วหาซื้อไม่ได้ ให้ใช้ ธาตุรอง / ธาตุเสริม ตัวนี้แทนไปก่อน 1 ซอง / น้ำ 20 ลิตร (สองรูปนี้เป็นสารอาหารตัวเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนซองบรรจุใหม่เท่านั้น)





(15) การใช้ธาตุรอง ธาตุเสริม ให้ผสม...เหล็กคีเลท ตัวนี้ลงไปด้วย 1 ซอง / น้ำ 20 ลิตร





(16) แต่เวลานี้ มีพ่อค้าหัวใส ได้ทำสารตัวนี้ออกมาขายในรูป ผงสำเร็จรูป คือ ….
MgO + S (แม็กนีเซี่ยม + กำมะถัน) และ





(17) MgO + Zn (แม็กนีเซี่ยม + สังกะสี) ...

....แบบนี้เอาเปรียบเพื่อนเกษตรกรมั๊ยล่ะครับ ..แทนที่จะทำ MgO + Zn ออกมาขายทีเดียวเลย...แต่มันดันแยกทำเป็น Mgo + S และ MgO + Zn.

....เรียกว่า ถ้าเอ็งจะใช้แมกนีเซี่ยมกับสังกะสี เอ็งก็ต้องซื้อทั้งสองอย่างไปใช้ แต่ก็ยังดีที่ได้ธาตุกำมะถัน –S ไปใช้ด้วย...
อันแรกมี MgO 19%... S 8% อันที่สอง มี MgO 6% Zn 3% ..

อยากรู้ว่า กำมะถันสำคัญกับพืชอย่างไร ก็คลิก

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2013&sid=e2a9bf3383fb208104003847bd6e6ce0
มหัศจรรย์ธาตุกำมะถัน




…..เรื่องมันยาว ยังมีต่อ....ขอ Time Brake แค่นี้ก่อนครับ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 14/01/2014 9:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดงและสมช ทุกๆๆๆท่าน
แดงจ๋าขอบคุณหลายๆๆๆๆๆๆๆเด้อ ไอ้ที่แดงเขียน พวกซองๆๆๆๆแถวบ้านป้าไม่มีเลย มีข่าวดีและข่าวร้ายจะบอก ข่าวดีแมงแคง(มวนง่าม) มันหนีไปซะแล้วโดนสมุนไพรขมๆๆ เผ็ด ๆๆๆๆ ฝาด-ๆๆ อย่างเข้มข้นสองรอบหาไม่เจอเลย ข่าวร้ายอดเลยทั้งลุง ทั้งแดง แต่นาคนอื่นยังมีให้ป้าซ่อมข้าวเสร็จก่อนนะ ข้าวไม่เกิดบานเลย จ้างเขาหว่าน เลยไม่กล้าถ่ายรูปมาลง
ป้าห่านจ้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 14/01/2014 11:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hans บันทึก:
สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดงและสมช ทุกๆๆๆท่าน
แดงจ๋าขอบคุณหลายๆๆๆๆๆๆๆเด้อ ไอ้ที่แดงเขียน พวกซองๆๆๆๆแถวบ้านป้าไม่มีเลย มีข่าวดีและข่าวร้ายจะบอก ข่าวดีแมงแคง(มวนง่าม) มันหนีไปซะแล้วโดนสมุนไพรขมๆๆ เผ็ด ๆๆๆๆ ฝาด-ๆๆ อย่างเข้มข้นสองรอบหาไม่เจอเลย ข่าวร้ายอดเลยทั้งลุง ทั้งแดง แต่นาคนอื่นยังมีให้ป้าซ่อมข้าวเสร็จก่อนนะ ข้าวไม่เกิดบานเลย จ้างเขาหว่าน เลยไม่กล้าถ่ายรูปมาลง
ป้าห่านจ้า




สวัสดีค่ะ ลุงคิม ทิดแดงและสมช ทุกๆๆๆท่าน

แดงจ๋าขอบคุณหลายๆๆๆๆๆๆๆเด้อ ....
แสดงว่า ป้าได้รับเรียบร้อยแล้ว

ไอ้ที่แดงเขียน พวกซองๆๆๆๆ แถวบ้านป้าไม่มีเลย
...ป้าจะเอาซองแบบไหน ซองผ้าป่าหรือซองกฐิน ....ไม่เป็นไรเดี๋ยวจัดให้ สอบถามราคาก่อนเด๊อ....

มีข่าวดีและข่าวร้ายจะบอก ข่าวดีแมงแคง(มวนง่าม) มันหนีไปซะแล้วโดนสมุนไพรขมๆๆ เผ็ด ๆๆๆๆ ฝาด-ๆๆ อย่างเข้มข้นสองรอบหาไม่เจอเลย

ข่าวร้าย อดเลย ทั้งลุง ทั้งแดง แต่นาคนอื่นยังมีให้ป้าซ่อมข้าวเสร็จก่อนนะ
มวนง่าม มันหนีไปแล้ว บ่เป็นหยังดอก ...เปลี่ยนเป็นแมงอย่างอื่นได้ป่ะ สัตว์สองเท้า มีเขาที่หน้าอก...ไปโลดอีหลี ๆ

ข้าวไม่เกิดบานเลย จ้างเขาหว่าน เลยไม่กล้าถ่ายรูปมาลง
มีข้าวลีบปนในข้าวปลูกแยะหรือเปล่าป้า หว่านแล้วมันถึงไม่เกิด....

ป้าห่านจ้า..
...แดงศาลายา เด๊อ...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 15/01/2014 7:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวัสดีคะ ลุงคิม ทิดแดง และสมาชิกไม่บ้าไม่กล้าทำทุกๆๆๆท่าน

แดงจ๋า เมล็ดเขาเพาะได้ไหม อร่อยมากชอบจ้า + นำใจ เลยอร่อยยกกำลังสอง
ไอ้มีเขาที่หน้าอกหาที่ไหนจ๊ะ ของแปลกหายากเด้อ เดี๋ยวเจ้รอง.....อย่าซนให้มากนัก
ข้าวปลูกซื้อเขาและทดน้ำออกไม่ดีข้าวเลยไม่ขึ้น และปัญหาอื่นๆๆๆๆ อีกบานทำใจรับสภาพได้แค่ไหนก็แค่นั้น


ป้าห่านจ้า


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 16/01/2014 1:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hans บันทึก:
.

สวัสดีคะ ลุงคิม ทิดแดง และสมาชิกไม่บ้าไม่กล้าทำทุกๆๆๆท่าน

แดงจ๋า เมล็ดเขาเพาะได้ไหม อร่อยมากชอบจ้า + น้ำใจ เลยอร่อยยกกำลังสอง

ได้ครับป้า ถามลุงคิมแล้ว เพาะธรรมดา ๆ วางบนพื้นแบบเพาะมะพร้าว นี่แหละ ที่ซาอุดรปลูกได้ โตเร็วกว่าปลูกในซาฮาร่า 4 - 5 ปีก็ได้กินลูกแล้ว แต่เมล็ดมันหัวแหลม ท้ายแหลม ระวังลุงฮานส์เดินเหยียบตำเท้าอีกนะครับ เฮ้อ ลุงฮานส์ แหร่มซะไม่มีละ




อันนี้ปลูกที่เชียงใหม่ อายุประมาณ 5 - 6 ปี ใครว่าพืชทะเลทรายปลูกในที่อากาศหนาวไม่ได้ 1 ทะลาย หนักประมาณ 15 - 20 กิโลกรัม




...1 กิโลกรัม ราคา 600 - 800 บาท 1 ทะลาย 15 - 20 กิโล คูณออกมาดูเอง
....จะมีพันธุ์ลูกสีเหลืองด้วยครับ ผมเคยไปเดินชิมที่ไร่ แม่ริมเกษตรอินทรีย์ แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะมันแพง โลตั้ง 800 ...ชิมต้นละลูก สองลูก ก็อิ่มแล้ว... ถ้าป้าใจร้อน จะซื้อต้นพันธุ์ที่งอกแล้วไปปลูกก็ได้ ต้นละ 300 - 500 บาท รับรอง ลุงฮานส์ ชอบแน่ คราวนี้มีหวัง ตกต้นปาล์มแน่ ๆ



ไอ้มีเขาที่หน้าอกหาที่ไหนจ๊ะ ของแปลกหายากเด้อ เดี๋ยวเจ้รอง.....อย่าซนให้มากนัก




ไอ้ตัวที่ว่า หาไม่ยากหรอกป้า แต่ต้องข้ามฟ้าไปถึงป่าหิมพานต์โน่นแน่ะ บังเอิญผมไม่ได้เป็นพระสุธน เลยยังดั้นด้นไปไม่ถึง



ข้าวปลูกซื้อเขาและทดน้ำออกไม่ดีข้าวเลยไม่ขึ้น
ก่อนหว่านไม่ได้ปล่อยให้น้ำแห้งหรือครับ ...หรือว่าหว่านแล้วไม่ได้ให้ลุงเฝ้า นกอาจลงกินตอนสามสี่วันแรกก็ได้นะครับ



และปัญหาอื่นๆๆๆๆ อีกบาน ทำใจรับสภาพได้แค่ไหนก็แค่นั้น
ลุงคิมบอกว่า ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้กลุ้ม ....แต่แก้ไม่ตกซักที เฮ้อ...


ป้าห่านจ้า

แดง ศาลายา คร๊าบบบบ


.




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 22/01/2014 8:12 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ข้าวขาวดอกมะลิ10 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กระเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ข้าวขาวดอกมะลิ105 ไม่ไวแสง

บทที่ 2 – ตอนที่ 2 – ว่าด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ธาตุแซม (2)

หยุดไปหลายวันครับ ....คุยต่อเลยนะครับ.......





(18 ) จากการที่ สารอาหารสูตรเร่งหัวที่ลุงรัตน์เคยใช้กับกระเทียม มี CaO 10.5%อย่างเดียว และลุงคิมพูดถึง แคลเซี่ยม – โบร่อน สูตร กูทำเองกับมือ ราคาแสนจะถูกเกินคุ้ม....ก็มีพ่อค้าหัวใสทำออกมาขายในแบบ ผงสำเร็จรูป...คือ CaO….33% + B…3% ....ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า % ธาตุอาหารจะมีครบตามนั้นหรือไม่ แต่สำหรับคนที่อยู่ไกลปืนเที่ยง ไม่มีทางเลือก มันก็ตกอยู่ในภาระจำยอมที่ต้องใช้....

ผมดูจากป้าย....สารอาหารทั้ง 3 ตัวนี้ ผู้ผลิตอยู่ ลาดกระบัง ....ผู้จัดจำหน่ายอยู่ ลำลูกกา ...ให้บังเอิญเสียนี่กะไร. ฝ่ายวิชาการทางข้อมูลอยู่ท่ามะกา....





(19) ฝ่ายขายหัวสารอาหาร คุณมงคลฯ...089 – 144-1112

จากการค้นหาข้อมูลคือ ...ซื้อแบบเข้มข้นไป 1 ถุง ผ่านกระบวนการทางฟิสิคส์แล้ว ออกมาแล้วกลายเป็นสองถุง... % สารอาหารลดลง....เหอ ๆ ๆ ๆ

...เฮ้อ จิ้งหรีดเฒ่า ....ขยับปีกกรีดเสียงไม่ออก คงจะต้องร้องเพลง .....ปล่อยเค้าไป ...ปล่อยเค้าไป..


ความลับไม่มีในโลกครับลุง......ผมมันคนชอบสอดรู้สอดเห็น แล้วก็ดันไปเสือกรู้เสือกเห็นเข้าซะอีก..

...เพราะบังเอิญเจ้าลูกชายของผม มันทำงานอยู่ที่ โรงงานที่รับทำบรรจุภัณฑ์ ไอ้เจ้าสารพวกนี้ รวมทั้งสารตัวอื่น ๆ และยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงด้วย ...

.พอมันเห็นป้ายที่ติดขวด มันบอกว่า ....เอ๊ะ นี่บรรจุที่โรงงานที่ผมทำงานอยู่นี่พ่อ

...เจ๊ใหญ่บอกว่า ....ของพวกนี้พ่อเอ็งเค้าไม่ชอบใช้ เอ็งเอามาให้ป้า ....
...ผมยื่นคำขาด ...ใช้ตัวอื่นใช้ไปแต่ห้ามเอา อะบาเม็คติน กับหมาดำ มาให้ป้าเอ็งใช้เด็ดขาด รู้เมื่อไหร่เป็นเรื่อง....




(20)



(21)

(20 – 21) มาให้ฟัน มาให้แทงซะดี ๆ .....ถ้าเกษตรกรและชาวนาไทย มัวแต่แก่งแย่งกัน ...รวมตัว รวมพลังกันไม่ได้ ก็ไม่มีทางสู้รบตบมือกับใครเค้าได้ ต้องตกเป็นเบี้ยล่างเค้าตลอด....ไม่ถูกปลายหอก ก็อยู่ระหว่างปลายดาบ ในอุ้งมือมาร ให้เค้าคอยแทง คอยฟันอยู่ตลอด ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...




(22)



(23)

(22 - 23) คนพื้นราบรวมตัวกันยากครับ คิดแต่จะเอาเปรียบซึ่งกันและกัน... ไม่เหมือนคนบนดอย Join กันได้ทุกชาติพันธุ์...ลองดูตัวอย่างการรวมตัวผลิตสินค้าอย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างออกมาขายนะครับ.....

Hill Tribe Coffee. (กาแฟชาวเขา)

Thank you for purchasing one of the best products produced in Northern Thailand. Duang Dee Hill Tribe Arabica Coffee.

These specialy grown coffee beans, are grown in Karen, Hmong, Lisu and lahu village. Located above 700 meters in order to achieve the purest flavoured Arabica beans possible.
…..ect. ยังมีต่ออีกยาว ขอเสนอสั้น ๆ แค่นี้พอ

ข้อความอันนี้คือการรวมตัวของ กระเหรี่ยง ม้ง ลีซู ลาฮู ปลูกกาแฟในหมู่บ้านของตัวเอง แล้วทำผลิตภัณฑ์กาแฟออกมาขาย
แทนที่จะรวยคนเดียว กลับรวยด้วยกัน ขายสินค้าราคาเดียวกัน .คนบนดอยมีรถสี่ล้อขับกันแทบทุกบ้าน ซื้อด้วยเงินสด ๆ นะครับ ...

...ผมสะใจกับคำที่คนซื้อบอกว่า ....ทำไมแพงจัง ....กระเหรี่ยงบอกว่า .. แพ ม่า ต้อ ซู้ โค ซู้ น่า โร๊ะ เบ๊ มา โน่ แล้ …(แพงไม่ต้องซื้อ คนซื้อนั่งรถเบ๊นซ์มาโน่นแล้ว)
....ลูกหลานคนบนดอยรุ่นใหม่ เรียนจบ ป.ตรี โท เอก ทุกสาขาวิชาชีพแยะครับ





(24) ผมไปเจอรูปเครื่องสีข้าวหยอดเหรียญในญี่ปุ่น....ใครเอามาตั้งเมืองไทย รวยแน่ ๆ แบบนี้ชาวนาขายข้าวเปลือกให้ผู้ซื้อโดยตรง เวลาจะกินก็เอาข้าวเปลือกมาสี หยอดเหรียญลงไป ก็จะได้ข้าวสารเอาไปกิน ได้ข้าวสด ๆ ใหม่ ๆ ไม่ต้องกินข้าวรมสารพิษ เครื่องนึงซักกี่สตางค์นะ น่าสนไม่น้อยที่เดียว ผมคิดว่า ไม่ช้าคงมีในเมืองไทยแน่ ๆ(ถ้าไม่รวยก็ซวยเพราะโดนงัด หรือไม่ก็โดนพวกโรงสีจ้างคนมาทุบตู้)





(25) บัวตูม บัวบาน กลางบึง ขอให้โชคดีกับการขายข้าวรุ่นใหม่ในราคาเกวียนละไม่เกิน 7,500 เพราะไม่มีการรับจำนำอีกต่อไป เลิกไปโดยปริยาย อ้างว่า เพราะมีม๊อบ ....ขำซะไม่มี แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่อว่าเป็นจริงนะครับ .....เฮ้อ ที่นี่ประเทศไทย ชาวนาไทย น่าเห็นใจครับ.



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 24/01/2014 10:07 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2

บทที่ 2 ตอนที่ 3 - ตามหาข้อมูล ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

ตามที่ผมนำเสนอเรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์ใหม่เป็นข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ….ทำให้เกิดเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะความไม่รู้เรื่อง รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ลุงคิมถึงได้พูดนักพูดหนาว่า การเกษตรมันง่ายนักหรือ ไม่ต้องมาก แค่เรื่องการใช้ปุ๋ยอย่างเดียวก็มึนแล้ว....

ปุ๋ยผิด ใช้ถูก ไม่ได้ผล
ปุ๋ยถูก ใช้ผิด ไม่ได้ผล
ปุ๋ยก็ผิด ใช้ก็ผิด ต้นไม้ตายจ้อย
ปุ๋ยถูก ใช้ถูก ได้ผลสองเด้ง


ด้วยเหตุนี้ ผมจึงไม่กล้าที่จะนำเสนอในสิ่งที่ตัวผมเองไม่มีความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นวิชาการ เกิดผิดพลาดพลั้งไป อายไปทั่วโลกา เพราะ Internet มันลิงค์ไปทั่วโลก เพื่อนของผมมันไปทำเกษตรอยู่ที่ ออสเตรเลียมันยังอ่านเว็ปลุงคิมได้เลย

……… สู้เสนอของจริงแบบคนไม่บ้า ไม่กล้าทำ จากสิ่งที่ผมรู้และมีประสบการณ์ ดีกว่า ...เกิดใครมาบอกว่าที่ผมนำเสนอมันผิดนะ ผมก็จะบอกว่า บอกแล้วว่าทำแบบบ้า ๆ คนบ้า ทำอะไรย่อมไม่ผิด....และข้อมูลจากในสวนในนาของผมเอง ก็สามารถมีเรื่องอามาเขียนได้ไม่มีวันหมด....โดยไม่ต้องไปหาเรื่องที่ไหนมาเขียน ..ก็ว่ากันไป .

. เรื่องเกี่ยวกับวิชาการบอกตามตรง....ถอยดีกว่า....ไม่อาววววว ดีกว่า ...
..และเรื่องที่ผมนำเสนอ ชื่อเรื่องก็บอกอยู่แล้วว่า เกษตรสัญจร ต้องเขียนยาว เพราะเป็นการสัญจร ไม่ใช่เกษตรวิชาการ จะได้เขียนสั้น ๆ ....ฉะนั้น สมาชิกท่านใดใครเข้ามาอ่านแล้วไม่ถูกจริต ไม่ชอบการนำเสนอแบบนี้ ผ่านเลยไป ไม่ต้องอ่าน

พระท่านว่า .อภัยทาน เป็นมหาทานอันสูงสุดยิ่งกว่าการให้ทานอย่างอื่น ๆ ทั้งปวง และพระท่านยังบอกอีกว่า

อโกเธนฺ ชิเน โกธํ จงระงับความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
อสาธฺ สาธุนา ชิเน จงระงับความเลว ด้วยความดี
ปูชาจ ปูชนี จานํ พึงบูชาแก่ผู้ที่ควรบูชา


พระพุทธเจ้า ทรงตรัสกับหมู่เทวดาถึงสิ่งใดเป็นมงคล และสิ่งใดไม่เป็นมงคล ในมงคล 38 หรือมงคลสูตรโดยเริ่มจากมงคลบทแรกว่า

อเสวนา จ พาลานํ ไม่คบคนพาล
ปญํทิตา นันจ เสวนา ให้คบบัณฑิต
ปูชาจ ปูชนี จานํ พึงบูชา ผู้ที่ควรบูชา
เอตมํ มํ คลมุตมํ นี่คือมงคลอย่างยิ่ง


ยังมีอีก 35 มงคล ไปหาอ่านดูจากหนังสือสวดมนต์ครับ..

เกี่ยวกับเรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105

ผมมีข้อมูลจาก หนังสือ มติชนบท เทคโนโลยี ชาวบ้าน เดือนตุลาคม 2556 ได้นำเสนอเรื่อง งานวิจัยข้าว ไวแสง 3 สายพันธุ์ คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวสังข์หยดพัทลุง, และข้าว กข15 ซึ่งเป็นข้าวชนิดไวแสง ให้เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง .....

บทความในหนังสือดังกล่าว เป็นการนำเสนอแบบบทความที่ไม่ใช่วิชาการ...เค้านำเสนอว่าอย่างไร ลองอ่านดูครับ



(26)


(27)


(28 )



(29)



(30)



(31)



(32)



(33)

(26 – 33)...เป็นข้อมูลจาก หนังสือ มติชนบท เทคโนโลยี ชาวบ้าน เดือนตุลาคม 2556 เรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากข้าวไวแสง ให้เป็นข้าวไม่ไวแสง โดยสำนักงาน ARDA… เพียงอ่านแค่นี้ผมก็ตาลุกวาวแล้วครับ....จำเป็นต้องรวมพลเพื่อให้ได้ไปเห็นกับตา....





(34) ตามที่บอกข้างต้นว่า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากข้าวไวแสง ให้เป็นข้าวไม่ไวแสง โดยสำนักงาน ARDA….ใช้ข้าวพันธุ์ กข 6 (ต้นเตี้ย ไม่ไวแสง)เป็นพ่อพันธุ์ ใช้ ข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นแม่พันธุ์ ....

ตามใน Chart เป็นการนำเสนอการผสมพันธุ์ ตามหลักของ เมนเดล เพียงขั้นตอนเดียวแบบง่าย ๆ น่าจะพอมองภาพออกนะครับ (ผสมแบบขาเดียว ความจริงต้องมี สี่ขา ยีนส์ของพ่อ 2 ยีนส์ของแม่ 2)

คือ.... ผสมครั้งแรก ...เอาข้าวขาวดอกมะลิเป็นแม่ เอาข้าว กข6 เป็นพ่อ ดูตามจากใน Chart นะครับ
ตามกฎของเมนเดล จะได้ลูกออกมาเป็น F1 มีสายเลือดพ่อกับแม่ คนละครึ่ง.. 50 / 50 เป็นข้าวขาวดอกมะลิ105 ลูกผสม

จากนี้ก็เอาลูก F1 ผสมกลับ แบบใช้เครื่องหมายโมเลกุล..
.โดยเอาลูกที่ได้ครั้งแรก ที่เรียกว่า F1 เอาย้อนกลับไปผสม กับ ข้าวขาวดอกมะลิ105 ไม่ใช่ผสมตัวเอง แต่เอาไปผสมกับต้นอื่น... ก็จะได้ลูกออกมาเป็นลูกที่เกิดจากการผสมกลับ ครั้งที่ 1 เรียกว่า BC1F1
.
...ก็เอาเจ้า BC1F1 ผสมกลับ กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ 2 ก็ได้ลูกออกมาเป็น.BC2F1…

...ก็เอาลูกตัวนี้ BC2F1 ผสมกลับ กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ . 3 ได้ลูกออกมาเป็น BC3F1

..เอา BC3F1…ผสมกลับ กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ครั้งที่ . 4 ได้ลูกออกมาเป็น..BC4F1

พูดง่าย ๆ คือ เมื่อได้ลูกผสมครั้งแรกออกมา ก็เอาลูกที่ได้แต่ละครั้ง ย้อนกลับไปผสมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 อีก 4 ครั้ง ก็ได้ออกมาเป็น ลูกผสมครั้งที่ 4 คือ BC4F1

ทีนี้ก็เอา BC4F1 ผสมตัวมันเอง ลูกที่ออกมาก็จะเป็นรุ่น F2 ซึ่งจะมีเลือดข้าวขาวดอกมะลิ 105 อยู่ 96.725 % แล้วก็จะมีเลือด กข6 อยู่ 3.125 % ซึ่งไอ้เลือด หรือ ยีนส์ของเจ้า กข6 ตัวนี้ จะไปทำให้ข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นข้าวต้นเตี้ย ..ไม่ไวแสง


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 27/01/2014 12:09 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 2 ตอนที่ 4 พร้อมที่จะลุย

หลังจากที่มีข้อมูลเรื่องข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ไม่ไวแสง ต้นเตี้ย ปลูกได้ทั้งปี ออกมา ก็เป็นที่ฮือฮากันมากในหมู่คนที่เคยปลูกข้าวหอมมะลิ 105 นาปี ไวแสง ต้นสูง...


ก็ขอเล่าซ้ำอีกครั้งว่า

ระหว่าง 20 – 30 พย.56 ผมมีอันต้องเดินทางขึ้นปายอีกครั้ง. จึงรวบรวมมิตรสหาย ...ซึ่งก็จะมีบรรดานักค้น คว้า แต่ไม่เคยวิจัย อันมี... ผม... ทิดบัติ... อ้ายยก... ไอ้ตู่... ไอ้หนูหริ่ง... หนานปัน... สว.ปาย แล้วก็ผึ้ง ...ถือคติ อยากได้ลูกเสือ ต้องเข้าถ้ำเสือ ..อยากรู้เรื่อง ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง ต้องไปดูที่ต้นตอ..ก็เลยนัดเจอกัน เพื่อไปดูของจริง …

....การนัดหมาย ...ทิดบัติ อ้ายยก หนานปัน ไอ้หริ่ง ให้มาเจอที่ เชียงใหม่..
....ส่วนผม ไอ้ตู่ ผึ้ง นัดไปเจอกันที่ เชียงใหม่ เหมือนกัน
ให้ สว.ที่ปาย ขอยืมรถปิ๊คอัพ ใช้ขนกระเทียมของลุงรัตน์ ลงมาเจอกันที่เชียงใหม่..เพื่อมียานพาหนะเดินทางไปหาข้อมูลเรื่องข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสงที่ เชียงใหม่

ระยะนี้ ตั้งแต่ผมกลับจาก ภูฎาน ชีพจรลงปีก บินบ่อย ใกล้ชิดกับเทวดาเข้าไปทุกที .





(35) เวลาที่อยู่ในเมฆ จะมีลมกระพือ...ปีกจะสั่น เครื่องก็จะสั่น คนไม่เคย ก็ใจคอไม่ดี ปีกเล็กนิดเดียว ไม่น่าจะพาคนเป็นร้อยขึ้นมาได้....เกิดปีกหลุดขึ้นมา ก็ตัวใครตัวมันซีน้อง ....





.(36)....พอขึ้นมาเหนือเมฆ ที่เรียกว่า บินเหนือเมฆ มันก็จะนิ่งสนิท เหมือนลอยอยู่เฉย ๆ ....ทำให้รู้ว่า เทวดาท่านอยู่กันเงียบสงบแบบนี้เองเนาะ มีแต่แสง สี แต่ไม่มีเสียง...ถึงจะอยู่แบบนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยไร้กังวลนะครับ อะไร ๆ ก็เกิดได้ทุกวินาทีแหละน่า...




(37 ) ดูพระอาทิตย์ตกที่พื้นดินมามากแล้ว มาดูพระอาทิตย์ตกบนฟ้ากันมั่ง ....บินขึ้นเหนือ นั่งด้านซ้าย ตะวันตกก็อยู่ทางซ้าย พระอาทิตย์ก็ต้องตกด้านซ้าย ถูกมั๊ยครับ

การที่ต้องนัดมาเจอกันตอนเย็น....เนื่องจากบางคนมีภารกิจตอนกลางวัน จึงนัดมาเจอกันตอนเย็น ก็ต้องนอนค้างเชียงใหม่กันซักคืน ....แดง ศาลายาซะอย่าง...ตั้งแต่ เชียงใหม่... แม่โจ้... เชียงราย... ลำปาง... แพร่... เด่นชัย... สุโขทัย... เพชรบูรณ์... บ้านไผ่... นครพนม... หนองคาย ...เรื่องที่หลับนอนไม่ต้องห่วง มีบ้านพักให้นอน(ริมทางเท้า)ฟรี แสนสะดวก สบาย มีคนจัดหาให้เรียบร้อย แต่ที่กิน หากินกันเองตามอัธยาศัย อยู่ง่าย กินง่าย ทั่วไทยไปที่ไหนก็มี ก๋วยเตี๋ยว ครับ

วันรุ่งขึ้น หลังจากแต่ละคนเสร็จภารกรรมของตัวเองแล้ว ก็ออกไปหาข้อมูลเรื่องข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง ..

.ได้ความว่าอย่างไร ....สงวนสิทธิ์ตามอัธยาศัย ตามสไตล์ของนักวิจัย....ก็เป็นไปตามที่นำเสนอในตอนที่ 3 นั่นแลฯ

เสร็จภาระกิจ กลับขึ้นปาย ....ระหว่างทางได้ยินเสียง โอ๊ก อ๊าก ดังมาจากท้ายรถ ของคนที่ไม่เคยนั่งรถเจอทางโค้ง วกเวียนบนเขา เพราะจากเชียงใหม่ถึงปาย ทางโค้งขึ้นเขา 178 โค้งแบบไม่เกรงใจคนนั่ง

...แค่นี้ทำเป็น อ๊วก....ถ้านั่งเข้าทางแม่สะเรียงนะเอ็งเอ๊ยกว่าจะถึงปาย ...พันแปดร้อยกว่าโค้ง หนักยิ่งกว่านี้นะเว๊ย...





(38 ) .แวะเอารถไปคืนลุงรัตน์...เปลี่ยนรถคันใหม่เพื่อลุยขึ้นดอยด้วย.เพื่อนเก่าคันนี้แหละ...มันส์อย่าบอกใคร.
... อย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นรถราชการ แต่เป็นรถที่ปลดประจำการ ประมูลขาย มีคนประมูลซื้อต่อมาครับ .สีรถ อนุรักษ์ของเดิม..แต่อุปกรณ์ภายใน ....ใช้ระบบสัมผัส ไม่ตบด้วยมือ ก็ทุบด้วยกำปั้น..หรือไม่ก็ กระทืบด้วยเท้า...

....ขอบอก... เวลาขับลุยเข้าหมู่บ้านชาวดอย จะมีบางคนวิ่งออกหลังบ้าน เผ่นกันกระจุย ป่าราบเป็นแถบ ....ไอ้เราก็มาดี ๆ แท้ ๆ วิ่งหนีกันทำไมก็ไม่รู้ ....ถามไปถามมา ได้ความว่า ผมมาโดยไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า ใครจะกล้าอยู่ให้เจอหน้า เห็นท่าไม่ดี เผ่นเอาตัวรอดก่อนดีกว่า ปลอดประสบการณ์(ปล่อยน้ำแห้งหมดทุกเขื่อน) เอ๊ย ไม่ใช่ ... ปลอดภัยไว้ก่อน


จากปายขึ้นไปจุดนัดพบที่บ้าน อจ.ต้วน ปราชญ์ชาวดอย ที่บ้านแม่นาเติง เพื่อเดินทางต่อไปดูแปลงข้าวที่ แม่ฮ่องสอน...




(39)



(40)

(39 – 40) ดอกกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย แขวนอยู่ที่บ้าน อจ.ต้วน..สีน้ำเงินอ่อนอมฟ้า ลายสมุกขึ้นเด่นชัด ช่างงามยั่วกิเลสซะจริง ๆ .....
ดอกฟ้ามุ่ยนี้ กะเหรี่ยงบางกลุ่ม นับถือว่าเป็นไม้มงคล จะมีแขวนไว้ทุกบ้าน ผมจะหักคอเอาไปปลูกนครปฐมก็เกรงใจ รอจากเจ้าเพื่อนตัวแสบ บอกจะหามาให้ก็ไม่ได้ซักที





(41) ดอกเสาวรสครับ ธรรมชาติช่างสร้างสรรค์ได้สวยงามจริง ๆ




(42)



(43)

(42 – 43) ดอกดาหลา....สีชมพู กับสีแดง ...สวยงามสะดุดตา โดยเฉพาะ สีแดง แสบตาจริง ๆ





(44) ลูกกาแฟกำลังสุก เห็นมีปลูกกันบ้านละหลายต้น เก็บเล็กผสมน้อย กิโลละ 120 ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ





(45) ออกจากปาย มาแวะตลาดบนดอยที่ปางมะผ้า ห่างจากปายขึ้นมา 45 กม. คันนี้เค้าให้เอาไว้จ่ายตลาดจ๊ะ...เท่ห์ซะไม่มีละ




(46)



(47)

(46 – 47) ชุดจ่ายตลาด ของ Lady Bee…ผ้าห่มผืนนี้ จะเห็นทุกงาน ซักแต่ละครั้ง ปลาลอยตายเป็นแพ




(48 )



(49)

(48 – 49) พริกหวาน สีสันสะดุดตาดีจังเลย กินจืด ๆ ไม่อร่อย..สวยแต่รูป... สำหรับผม แต่คนอื่นอาจจะชอบ





(50) ทีแรกนึกว่าแตงไท แต่กลายเป็นเมล่อนชาวดอยครับ ไม่แน่ใจว่ารสชาติจะอร่อยซักแค่ไหน




(51)



(52)



(53)

(51 – 53) ผักกาด หลากหลายชนิด ใหม่สดจากไร่บนดอย ราคาไม่แพงเลย แต่ไร้สารพิษหรือเปล่าไมได้ถาม




(54)



(55)

(54 – 55) ผมจำชื่อไม่ได้ว่าเค้าเรียกผักอะไร ..ผักชนิดนี้ ต้นคล้ายกระเทียม เค้ากินแต่รากครับ รากมีกลิ่นออกฉุน รสซ่า ๆ นิด ๆ




(56)



(57)

(56 – 57) มันฝรั่งบนดอย หัวค่อนข้างใหญ่ ...ล้างน้ำให้สะอาด ลวกน้ำร้อนซักครู่...เอาผึ่งให้เย็น เอามือบื้ ๆ เปลือกจะร่อนหลุดออกมาอย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้มีดปอกเปลือก ทีนี้เนื้อจะเอาไปต้ม ตุ๋น อุ่น อบ ทอด ...ทำอะไรก็ได้ตามชอบใจ





(58 ) คนบนดอยชอบกินน้ำขิงร้อน ๆ คู่กับกินน้ำชา.แกล้มด้วยน้ำตาลก้อนที่ทำจากอ้อยเคี่ยวจนแห้ง ..เค้าบอกว่า กินแล้วร่างกายจะอบอุ่น....ผมว่า สู้เหล้าข้าวโพดไม่ได้ มันร้อนวาบตั้งแต่กลืนลงลำคอจนถึงกระเพาะ เวลาอ้าปากใส่ไฟ มันลุกวาบเลยแหละ....





(59) มะเขือเทศสด ๆ สีสวย กิโลละ 35 บาทเอง....แพงเหมือนกันนิ คนดอยชอบกินมะเขือเทศครับ ต้นแบบทำซุบ ใส่เนื้อ ใส่มันฝรั่งลงไปด้วย เคี่ยวให้เปื่อย





(60) นอนยิ้มแบบนี้ แสดงว่าหลับอย่างมีความสุข.....





(61) แผ่นถั่วเน่า ทำจากถั่วเหลืองหมัก แล้วทำเป็นแผ่น เอาไปนึ่ง สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารหลายอย่างครับ ....ลุงคิมเคยบอกว่า เอามาทำน้ำหมัก อินทรีย์ ดีเหลือที่จะกล่าว......





(62) เด็กน้อย มูเซอ ครับ หน้าตาน่าเอ็นดู

(63) เด็ก ลีซู ครับ ..

..ผึ้งบอกว่า ...น่ารักนะพ่อ....
คำตอบคือ ..อืม์.....

....อืม์ นี่ใคร ....
...ทั้งแม่และเด็ก เอ๊ย ไม่ใช่ เด็กน่ารัก.......

....ปีนต้นงิ้วนะพ่อ....
...เฮ่ย บนนี้ไม่มีต้นงิ้ว มีแต่ต้นสนสามใบ หนามไม่มี แล้วไอ้พวกนั้นไปทางไหนกัน....

...นู่นแน่ะ...แหม รีบตัดบทเลยนะ...
....ไป ๆ ยังอีกไกล...


คนบนดอย อยู่บนดอย ต้องต่อสู้ชีวิตตั้งแต่ยังแบเบาะ ...ไปทุกที่ทั่วไทย ไม่สะพายข้างหน้า ก็สะพายข้างหลัง ..ถ้ากำลังคลานได้ละก็ อย่าให้ละจากสายตาโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นจะต้อง ปั้น กันใหม่ เพราะอาจกลิ้งลงจากดอยคว้าไม่ทัน....เคยมีมั๊ย มีซีครับ ไม่มีจะพูดได้ยังไง ...แล้วถ้าเป็นผู้ใหญ่ล่ะ ..ถ้าพูดจาไม่เข้าหู..ถูกถีบตกเขามาหลายรายแล้วจ๊ะ...





(64) ไม่ใช่มีเฉพาะ ตับปิ้ง...อย่างอื่นปิ้งก็มี...เจ้านี้อร่อยมากครับ อร่อยจริง ๆ ...วันละ 400 – 500 ไม้ ๆ ละ 10 บาทข้าวเหนียวอีกประมาณ 200 ห่อ 6 โมงเช้าถึง 11 โมงเช้า หมดเกลี้ยงทุกวัน...





(65) เส้นทางไปแม่ฮ่องสอน จากตรงนี้ยังต้องขึ้นดอย คดเคี้ยวไปอีกยาวไกล...อยากสอยดอกฟ้า ก็ต้องทน.....





(66) เอ้า บรรดา ลิงทั้งหลาย ขึ้นรถ ลุยต่อ อย่าดูถูกว่าเก๋า...เจ้าของที่ประมูลซื้อมาเปลี่ยนจากเกียร์ธรรมดาเป็นเกียร์ออโต้ ...แหร่ม ซะไม่มีละ





(67) อากาศบนยอดดอยเปลี่ยนแปลงไม่แน่ ไม่นอน เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวหมอก เดี๋ยวฟ้าครึ้มฝน ...ถ้าฝนตกลงมาละก็ ชุ่มฉ่ำ หนาวเย็น แน่ ๆ ....ทำไมถึงเปียก....[/color[color=red]]...ก็กระจกรถด้านข้างมันไม่มีน่ะซี....

แบบนี้ แล้วเมื่อไหร่จะถึงแปลงข้าวซะทีล่ะ.....

ชื่อกระทู้ บอกแล้วว่า เกษตรสัญจร ครับ สัญจรไปมันเรื่อยเปื่อย ถึงเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ...อยากให้ พยายามดู วิถีชีวิตของคนบนดอย แล้วเอามาประยุกต์ใช้กับเรื่องใกล้ตัวของคุณ .

..โดยเฉพาะ คนบนดอย อยู่ง่าย กินง่าย มีที่ดินทำกินเพียงคนละไม่กี่ไร่ ไม่มีหนี้ แต่มีรถปิ๊คอัพใช้กันแทบทุกบ้าน ซื้อด้วยเงินสด ๆ ด้วย ...เค้าทำยังไงครับ แล้วคุณล่ะครับ บางคนมีที่ดินเป็นร้อยไร่ ....แล้วมีหนี้กะเค้าบ้างหรือเปล่าล่ะครับ.....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/01/2014 8:03 am    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

DangSalaya บันทึก:





(61) แผ่นถั่วเน่า ทำจากถั่วเหลืองหมัก แล้วทำเป็นแผ่น เอาไปนึ่ง สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารหลายอย่างครับ ....

ลุงคิมเคยบอกว่า เอามาทำน้ำหมัก อินทรีย์ ดีเหลือที่จะกล่าว......




- เจ้าตัวนี้ ทางเหนือเขาเรียกว่า "กะปิแม้ว" ที่ตลาด อตก. ใน กทม. มีขายแผ่นละ 3
บาท เอาไปทำอะไรกินไม่รู้ คงไม่ใช่เอามาแทนกะปิที่ทำจากเคย ทำน้ำพริกกะปิหรอกมั้ง

- ทำน้ำหมักได้ดีเพราะ ตัวมันทำมาจากอะไร เมื่อถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย อะไรที่ว่านั้นจะ
ออกมากลายเป็นสารอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) ได้

- ในน้ำหมักมีสารอาหารอะไร มากหรือน้อย ให้ดูจากวัสดุที่เอามาทำเป็นหลักเบื้องต้น นั่น
หมายความว่า เมื่อถั่วเหลืองที่เอามาทำมีโปรตีน ผ่านกระบวนการจุลินทรีย์แล้วย่อมได้
โปรตีน เหลือแแต่ว่า โปรตีนตัวนี้มีโครงสร้างทางโมเลกุลผ่านปากใบพืชไปเป็นอาหารพืช
ได้หรือไม่ ทั้งนี้ มนุษย์ สัตว์ มีกระเพาะ ลำไส้ ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างของโมเลกุลก่อน
แล้วจึงไปกับเลือดสู่อวัยวะร่างกายได้ แต่ต้นพืชไม่มีกระเพาะจึงต้องอาศัยจุลินทรีย์ ไงล่ะ

- จากงานวิจัยระบุว่าในกะปิแม้วมีจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่ง ที่กำจัดเชื้อราโรคพืชได้ เชื้อราโรค
พืชตัวนั้นชื่ออะไรไม่รู้ รู้แต่ว่าก่อนใช้งานจริง "ปลุก" ให้เขาตื่นซะก่อน ก็เท่้านั้นแหละ


คลิก :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=38&start=45
อะมิโนโปรตีน.....




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 30/01/2014 8:55 pm    ชื่อกระทู้: Re: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
DangSalaya บันทึก:


----------------------


- เจ้าตัวนี้ ทางเหนือเขาเรียกว่า "กะปิแม้ว" ที่ตลาด อตก. ใน กทม. มีขายแผ่นละ 3
บาท เอาไปทำอะไรกินไม่รู้ คงไม่ใช่เอามาแทนกะปิที่ทำจากเคย ทำน้ำพริกกะปิหรอกมั้ง

- ทำน้ำหมักได้ดีเพราะ ตัวมันทำมาจากอะไร เมื่อถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย อะไรที่ว่านั้นจะ
ออกมากลายเป็นสารอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) ได้

- ในน้ำหมักมีสารอาหารอะไร มากหรือน้อย ให้ดูจากวัสดุที่เอามาทำเป็นหลักเบื้องต้น นั่น
หมายความว่า เมื่อถั่วเหลืองที่เอามาทำมีโปรตีน ผ่านกระบวนการจุลินทรีย์แล้วย่อมได้
โปรตีน เหลือแแต่ว่า โปรตีนตัวนี้มีโครงสร้างทางโมเลกุลผ่านปากใบพืชไปเป็นอาหารพืช
ได้หรือไม่ ทั้งนี้ มนุษย์ สัตว์ มีกระเพาะ ลำไส้ ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างของโมเลกุลก่อน
แล้วจึงไปกับเลือดสู่อวัยวะร่างกายได้ แต่ต้นพืชไม่มีกระเพาะจึงต้องอาศัยจุลินทรีย์ ไงล่ะ

- จากงานวิจัยระบุว่าในกะปิแม้วมีจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่ง ที่กำจัดเชื้อราโรคพืชได้ เชื้อราโรค
พืชตัวนั้นชื่ออะไรไม่รู้ รู้แต่ว่าก่อนใช้งานจริง "ปลุก" ให้เขาตื่นซะก่อน ก็เท่้านั้นแหละ


คลิก :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=38&start=45
อะมิโนโปรตีน.....


.



ขอบคุณครับลุง.....ข้อมูลยาวเพียบเลย อ่านสามวันสามคืนจะจบหรือเปล่ายังไม่รู้เลย....

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 03/02/2014 10:17 am    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 2 ตอนที่ 5 บัวตองริมทางผ่าน

กระทู้ของผม ให้ชื่อว่า เกษตรสัญจร เป็นการเขียนเล่าเรื่องที่ผมชอบเกี่ยวกับการเกษตรในรูปแบบต่างๆ บอกเล่าตามสิ่งที่ผมได้รู้ ได้เห็นมา อาจผิดหรือถูก ไม่ตรงกับความคิดเห็นของคนอื่น และไม่เป็นวิชาการ บนความถูกย่อมมีสิ่งที่ผิด บนความผิดย่อมมีสิ่งที่ถูก แต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน ผมเห็นของผมแบบนี้ ก็เล่าตามที่รู้ที่เห็น

เกษตรสัญจร คือการพาเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะพาเที่ยวชมงานเกษตรบนดอย ซึ่งเป็นแนวที่ผมชอบ... เที่ยวไปด้วย ดูการเกษตรของชาวดอย ชาวเขา ไปด้วย ...ซึ่งชาวเราไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็น ...เพื่อนๆ ดูแล้วก็อย่าเพียงผ่านเลยแค่เพียงสนุก แต่ขอให้เก็บเอามาประยุกต์ใช้กับการเกษตรของคุณเอง แล้วทำให้ดีที่สุดครับ เพราะเปิดโลกอาเซี่ยนเมื่อไหร่ เกษตรกรไทยมีแต่จะแห้งตาย เอาแค่รอบบ้านเรา ลาว เขมร เวียตนาม พม่า งานเกษตรของเค้าไปไกลลิบเกินกว่าคนไทยจะตามทัน.....

.... ผมไม่เข้าใจว่า ภาครัฐมัวแต่ทำอะไรกันอยู่ ถึงไม่คำนึงถึงตรงนี้ ไม่มองความสำคัญของการเกษตร มัวแต่ไปเน้นเรื่องการอุตสาหกรรม ซึ่งทั่วโลกเค้าเจ๊งกันมาแล้ว...นักวิชาการ และคนเก่งๆ มีมากมาย แต่พูดไม่ออกได้แต่กรอกหน้า ต้องทำตามคำสั่ง......เซ็ง ถ้ามีแต่สินค้าอุตสาหกรรม แต่ไม่มีอาหารกิน

เพื่อนๆ บางคนทำนาเป็นร้อยๆ ไร่ บนพื้นราบ ทำสบายอย่างที่สุด แต่เป็นหนี้...
ชาวเขา ชาวดอย ทำนาบนเขา ลำบากยากแค้น แสนสาหัส ต่อสู้กับธรรมชาติทุกรูปแบบ พื้นที่ก็นิดเดียว แต่ทำแล้วไม่มีหนี้ มีข้าวกิน มีเหลือขาย มีเงินซื้อรถด้วยเงินสด
...ลุงคิมพยายามนำเสนอเรื่องต่างๆ ให้เพื่อนๆ ได้แนวคิด ส่วนเพื่อนจะคิดหรือไม่คิดเป็นเรื่องของคุณ ....ถ้าเพื่อนๆ ยังขืนทำนา หรือทำเกษตรแบบใช้สารเคมีและฉีดยาฆ่าแมลง ลงทุนต่อไร่สูง ปลูกข้าว กข.....เพื่อขายแค่โรงสี เกวียนละไม่ถึง 10,000 (กก.ละ 10 บาท) มีแต่จะตายกับตายครับ.

...ชาวนาบนดอย ได้แนวความรู้จากโครงการหลวง กำลังพัฒนาปลูกข้าวพื้นเมืองทุกสายพันธุ์ โดยเฉพาะข้าวที่มีเมล็ดสีดำทุกชนิด รวมกลุ่มกันทำ ตั้งราคาขายเท่าเทียมกัน .
.เมื่อเดือน พ.ย. 56 ถึง วันนี้ เป็นฤดูท่องเที่ยว คนบนดอยปลูกข้าวลืมผัว ข้าวหอมนิล ข้าวหอมดอย แม้กระทั่งข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวกะเหรี่ยงเมล็ดสีดำสายพันธุ์ต่างๆ.. ฯลฯ ...สีเป็นข้าวกล้องใส่ถุงขายนักท่องเที่ยว เฉลี่ยลิตรละ 30 บาทเท่ากันหมด... ข้าวสาร 20 ลิตร ตามมาตราชั่งตวงวัด คือ 1 ถัง ก็เท่ากับถังละ 600 บาท.... 100 ถังเท่ากับ 1 เกวียน ...ก็เท่ากับคนบนดอยขายข้าวได้เกวียนละ 60,000 บาท ในขณะที่คนพื้นราบขายข้าวเกวียนละ 10,000 ต่างกันฟ้ากับเหว.....

.....ชาวนาบนดอย เคยรู้จักแต่การทำเกษตรแบบธรรมชาติ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยเคมี เนื่องจากลูกหลานคนดอย ได้เรียนเกษตรถึงขั้นจบปริญญา มีตั้งแต่ ตรี โท เอก เรียนจบกลับขึ้นดอย ไปหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมจาก โครงการหลวงแทบทุกแห่ง ขอทำงานแบบไม่รับเงินเดือน เพื่อถวายให้พ่อหลวง เพียงขอให้มีที่พัก มีอาหารให้กิน เมื่อถึงเวลา กลับไปทำของตัวเอง ขาดเหลือสิ่งใด กลับมาที่ศูนย์ ...ผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มีราคา ที่สำคัญ ไม่ง้อคนซื้อ ....

....เป็นเรื่องแปลกที่คนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องการเกษตรแบบปลอดสารพิษ แต่คนบนดอยทำเกษตรปลอดสารพิษ ทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ...(อาจยกเว้นแม้วที่ ภูทับเบิก)

... ไม่เพียงแต่คนไทย แม้กษัตริย์จากต่างแดน ยังทรงมาศึกษางานของในหลวง เพื่อทรงนำกลับไปประยุกต์ใช้กับประเทศของพระองค์.....ผมมีรูปอะไรจะให้เพื่อน ๆ ดู......

.....มีเพื่อนๆ เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อท่าน "ครูบาบุญชุ่ม" พระอริยสงฆ์ ที่เคารพนับถือของชาวเขาชาวดอยบ้างไหมครับ ..และ ศิษย์ของท่านองค์หนึ่ง ไม่ใช่คนธรรมดา




(1) ภาพที่หาดูได้ยาก และคิดว่า บางคนไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ซะด้วยว่าจะมี.... กษัตริย์จิกมี กับครูบาบุญชุ่ม เป็นภาพที่เห็นแล้วประทับใจเหนือคำบรรยาย กษัตริย์ภูฏาน เป็นศิษย์ของท่านครูบาบุญชุ่ม ใครอยากพบพระองค์ ไปคอยดักที่โครงการหลวงดอยอ่างขางครับ มีโอกาสเข้าเฝ้าแน่ๆ เสด็จบ่อยเลยแหละ





(2)



(3)
(2–3) ภาพของท่านครูบาบุญชุ่ม ท่านชอบอยู่ตามป่าเขา ตามดอยครับ เวลานี้ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำราชคฤห์ เมืองงาว จ.ลำปาง

ออกนอกเรื่องมายาวไกล เดินทางต่อครับ....




(68 ) ฟ้าคลุ้มฝน....บนยอดดอย อากาศจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วแบบนี้แหละครับ




(69) บนยอดดอยกิ่วลม อากาศหนาว ลมแรงพัดเข้าหู หวีด หวิว




(70) มีตู้รับ จม. คอยบริการนักท่องเที่ยว เพื่อส่งไปรษณียบัตรว่า มาถึงที่นี่แล้วนะจ๊ะ




(71) จากจุดนี้ มองไปข้างหน้าทิศทางที่เราจะต้องไป จะเห็นทางคด เคี้ยว เลี้ยว ลด ไปตามยอดดอย
หนานปันถามว่า.....ตางตี้เฮาจะต้องไป ตางจะอั๊นใจ้ก่อ.....
........ทางนั้นแหละ....
....ธัมโม สังโฆ อิหยังโก๊งแต็โก๊งบอด ....




(72)



(43)
(72–73) ป้ายบอกว่าทางโค้ง คดเคี้ยว ลงเขา ยาว 5 กม (5 กิโลแม้ว)




(74) ขับมาได้ซัก 15 นาที ขอให้จอดรถเพื่อยิงกระต่าย อะไรว๊า ตอนจอดเมื่อตะกี๊ ไม่เสือกยิงซะให้เสร็จ คนไหนไม่ยิงก็มานั่งชมวิวถ่ายรูป....




(75) อากาศบนยอดดอยเปลี่ยนแปลงเร็วครับ จู่ๆ ก็หมอกครึ้ม




(76) เตรียมตัวเข้าทางโค้งมิคสัญญีโว๊ย ใครเมารถเตรียมถุงไว้ด้วย




(77) โค้งขวาที่ 1......แล้ว..........ดิ่งลงจากดอย




(78 )



(79)
(78–79) จากโค้งที่ 1 หักขวา 90 องศา แล้วดิ่งลงซ้าย รถเสือกไม่มีเพาเวอร์ ต้องวิ่งชิดขวาว๊อย รถสวนมาหลบไปเลย



(80)



(81)
(80–81) ชะลอจอดก่อนโว๊ย ดันมีรถวิ่งสวนขึ้นมา....ให้เค้าผ่านขึ้นไปก่อน




(82) เราโค้งลงไปทางซ้าย ชแว๊บ บบบ




(83) ดิ่งลงมาแล้วเข้าโค้งขวาอีกที เสียงเจ้าหนานปัน
......ดอกบัวตองอยู่ตางหน้า จ๊าดงาม....
....ดูเสยๆ ซิบ่ะ ห้ามอู้ เสียสมาธิ.....




(84)



(85)



(86)



(87)



(88 )



(89)



(90)
(84–90) .....ตางลงเขา ซื่อไปปู๊น... จอด ๆๆๆๆ อ้ายหนาน จอด ..
ความงามของดอกบัวตองริมทางผ่าน ....ไม่ต้องไปถึงทุ่งบัวตองก็งามได้ไม่แพ้กัน....




(91) ถ้าเจอโบกไม้ โบกมือตอนกลางคืน ห้ามจอดรับนะครับ อาจจะเหลือแต่ร่างที่ไร้วิญญาณ ....


เมื่อไหร่จะถึงศูนย์พันธุ์ข้าวซะที.....
เคยดูละครน้ำเน่าทาง ทีวี. ไม๊ครับ....Same same


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 05/02/2014 1:19 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 1 (1) เยี่ยมชมศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน
ไม่ได้มาศึกษา เพราะเวลามันน้อย เอาแค่มาเยี่ยมชมเท่านั้นนะครับ

ผมพาเพื่อน ๆ รอนแรม ขึ้นดอยผ่านทางโค้ง คดเคี้ยวเลี้ยวลด มาตามไหล่เขามานานกว่า 2 เดือน ในที่สุดผมก็พามาถึงศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนซะที (ความจริงผมไปถึงตั้งแต่ 25 พย.56 แล้วละครับ ทำไงได้ล่ะ งานแยะน่ะ)





(92) ประตูทางเข้า ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ถนนที่โค้งอ้อมไปทางเขานู่น ทางไปแม่ฮ่องสอนครับ





(93) เลยประตูทางเข้า เนื้อที่ศูนย์กว้างไกลสุดสายตา..ผ่านป้อมยามมาน้อยเดียว เห็นแปลงนาอยู่ทางซ้ายมือ......แต่เจอดอกไม้แปลงนี้ เสียงสมาชิกในรถบอก..
.. หยู๊ด ๆๆๆๆๆๆ ว๊าว ดอกอะไรว๊า เล็กน่ารัก เหลืองสดุดตาจังเลย

เสียงเจ้าหนานปัน....ผ่อยะบ่ะหยาง ดอกดาวกระจาย บ้านเฮามีเป้อเลอะ.....
ยามบอกว่า ....บ่ะใจ้ครับ ดอกไนเจอร์ งาญี่ปุ่น เอาไว้สกัดน้ำมัน......

……เป็นไง โส น้า น่า โทษของการปากพล่อย ไม่ถามไม่ดูให้ถี่ถ้วนซะก่อน หน้าแหก หมอไม่รับเย็บเลยมั๊ยล่ะ ไอ้หริ่งเอามาทำ ซะมี ได้ยังไงวะ ....
เสียงไอ้หริ่ง......ก็เมื่อก่อนมันไม่เฉิ่มแบบนี้น่ะทิด ไปที่ไหน อายที่นั่น.....

.....เปิ้นใจ๊อะหยังไปสกัดน้ำมันครับอ้าย.....
....ใจ๊เมล็ดมันครับ ผมก็บ่อฮู้ว่าเปิ้นไปยะจะได.โฮงสกัดอยู่ แม่สาย เจียงฮายครับ...

งานเข้าอีกแล้วละครับ..แต่ก่อนจะถึงลุง ขอผมหาข้อมูลก่อน ขาดเหลืออย่างไร ลุงคิมคือคำตอบสุดท้าย

..ดอกไนเจอร์ เอาเมล็ดไปสกัดน้ำมัน ไม่เคยได้ยินชื่อ ฝากไว้ก่อน เดี๋ยวคงรู้เรื่องจาก หน.ศูนย์ฯ




(94)



(95)



(96)



(97)



(98 )

(94 – 98 ) นี่แหละครับ ดอก ไนเจอร์ ดาวกระจายของเจ้าหนานปัน ผึ้งบินตอมเกสรยั้วเยี้ยไปหมด





(99) งานไหนงานนั้น ขาดไม่ได้ จด ๆ จ้อง ๆ กลัว ๆ กล้า ๆ ...จะเข้าใกล้ก็กลัวผึ้งจะต่อยเอาน่ะครับ





(100) ชั่วแว๊บเดียว อากาศครึ้มเหมือนฝนจะตกมาอีกแล้ว ก็ดีครับ จะได้ไม่ร้อน


ยังไม่ถึงแปลงนาข้าวซักที....มีเรื่องดอกไนเจอร์มาขัดจังหวะอีกซะแล้ว ...เรื่องมันน่ารู้ น่าสนใจอ่ะครับ.

ถ้าคุณ songpon03122526... คุณ chet3614... ป้า hans เข้ามาอ่าน ...น้ำมันจากดอกไนเจอร์ ชาวไฮโซชอบใช้ เพราะมัน แพง.(ขวด 250 ซีซี 150 บาท)
...ที่บ้านคุณทั้ง 3 คนน่าจะปลูกได้นะครับ พื้นที่ 1 ไร่ เก็บเมล็ดได้ประมาณ 70 กิโล ราคากิโลละประมาณ 40 บาท ดีกว่าปลูกข้าวนะครับ ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง แต่ไม่แล้งน้ำใจนะครับ คอยติดตามก็แล้วกัน เด๊อ....


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 05/02/2014 11:18 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน

ตอนที่ 1 (2) ไนเจอร์ ..หรือทานตะวันหนู...น้ำมันพืชชาวเขา....เพื่อสุขภาพชาวไฮโซ


มาหาข้อมูลเรื่องข้าวขาวดอกมะลิ105 ไม่ไวแสง....ดันออกนอกเรื่องมาเรื่อง ไนเจอร์ซะนี่....เกษตรสัญจรก็แบบนี้แหละครับ ของอะไรที่ใหม่กว่า ย่อมมีค่ากว่าของตาย ....เรื่องข้าว เป็นของตายอยู่แล้ว ยังไง ๆ ก็ต้องได้เรื่อง ส่วน ไนเจอร์ ของใหม่ น่าศึกษาและทดลองปลูกนะครับ (ความจริงเก่างั่ก เพราะชาวเขาเผ่ามูซอ ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ปลูกสกัดเอาน้ำมันมาใช้ตั้งแต่รุ่นปู่ทวดปู๊นแล้ว)




(101)



(102)

(101 – 102) ดอกไนเจอร์ในอีกมุมมองหนึ่ง...

ไนเจอร์ (NIGER)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Guizotia abyssinica
สกุล: Guizotia
วงศ์: Asteraceae
ชื่อสามัญ: noog/nug, niger, nyger, nyjer, niger seed, ramtil (ramtilla), inga seed, blackseed.

ไนเจอร์ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1.4 เมตร มีดอกสีเหลืองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 15-50 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปลูกได้ในดินหลายประเภท และเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่า pH ระหว่าง 5.2 และ 7.3

ไนเจอร์เป็นพืชน้ำมัน เช่นเดียวกับดอกทานตะวัน ในประเทศเอธิโอเปียและอินเดียมีการปลูกไนเจอร์ เพื่อนำเมล็ดมาผลิตเป็นน้ำมันสำหรับการบริโภคและการส่งออก ไนเจอร์ถือได้ว่าเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญ ซึ่งในประเทศเอธิโอเปียและประเทศอินเดียมีการผลิตน้ำมันเมล็ดไนเจอร์กันอย่างแพร่หลาย

เมล็ดไนเจอร์ที่ปลูกได้ในประเทศอินเดียส่วนใหญ่ถูกนำไปสกัดเป็น น้ำมันเพื่อใช้ในการบริโภคและส่งออก นอกจากน้ำมันแล้วยังมีการส่งออกเมล็ดไนเจอร์เพื่อใช้เป็นอาหารนกไปขายยังต่างประเทศ ได้แก่ อเมริกา ยุโรป อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน เยอรมัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลีย เป็นต้น

คุณสมบัติน้ำมันเมล็ดไนเจอร์
ในเมล็ดไนเจอร์มีปริมาณน้ำมันมากถึง 30-50% โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความสมบูรณ์ของเมล็ด น้ำมันเมล็ดไนเจอร์มีสีเหลืองอ่อนใส คุณภาพของน้ำมันเป็นไปตามมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำมันและไขมัน น้ำมันเมล็ดไนเจอร์เป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็น ได้แก่
โอเมก้า 9 ร้อยละ 4.8-8.3
โอเมก้า 6 ร้อยละ 74.8-79.1 ………..และยังพบ..
โอเมก้า 3 ร้อยละ 0.0-0.9 ..อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี....
วิตามินอี หรือ โทโคเฟอรอล (Tocopherol) 720-935 ไมโครกรัมต่อน้ำมัน 1 กรัม และยังพบ….
สารต้านอนุมูลอิสระ กลุ่ม Beta-sitosterol 38-43% ของ sterol ทั้งหมด

ทั้งนี้ปริมาณของสาระสำคัญเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับพื้นที่การเพาะปลูกด้วย (1) จากรายงานการวิจัยในประเทศแถบยุโรปพบว่าน้ำมันเมล็ดไนเจอร์สามารถลดระดับ LDL ในเส้นเลือดได้ถึงร้อยละ 15

น้ำมันไนเจอร์มีดีอย่างไร
วิตามิน อี. หรือโทโคเฟอรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเป็นประจำทุกวัน วิตามินอีมีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองละลายได้ดีในน้ำมันและไขมัน วิตามินอีมีหลายชนิด แต่วิตามินอีชนิด แอลฟา-โทโคเฟอรอล (alpha-tocopherol) เป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด

ประโยชน์ของวิตามิน อี.
ช่วยลดการเกิดกระบวนการออกซิเดชันของไขมันชนิด LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีในเลือดที่จะมีผลทำให้เส้นเลือดเกิดความเสียหายอย่างมาก และช่วยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด (Platelet Aggregation) ส่งผลให้ “ ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น และยังช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดสมอง”

ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและอนุมูลอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ (Potent Antioxidant) ซึ่งมีผลในการป้องกันการทำลายเซลล์ หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ จึง“ช่วยชะลอความแก่ได้”
ช่วยปกป้องการเสื่อมสลายของเยื่อหุ้มเซลล์ (Stabilize) ที่บุอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา ตับ หลอดเลือด และเม็ดเลือดแดง ทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันผิวจากการไหม้เกรียม ริ้วรอยเหี่ยวย่นและรอยแผลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานหรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง

Beta-sitosterol
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (LDL) ในเส้นเลือด และความดันในเส้นเลือด
ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาต่อมลูกหมากโต

เอกสารอ้างอิง
1. A. Getinet and S.M. Sharma, Niger Guizotia abyssinica (L. f.) Cass., International Plant Genetic Resources Institute, (1996) : 6-44.
2. Agricultural Situation in India.
3. Weststrate J. and Meijer G., Plant sterol-enriched margarines and reduction of plasma total- and LDL cholesterolconcentrations innormocholesteroaemic and mildy hypercholesterolaemic subjects. Eur. J. Clin. Nutr. (1998), 52: 334-343.

ข้อมูล – จาก ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ซึ่งทดลองปลูกไนเจอร์ เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์......

ข้อมูลเพิ่มเติม.....

http://www.teaoilcenter.org/index.php/2013-12-01-03-05-52/publication/general-publication/16-niger

ผมไม่ค่อยชอบอ่านเรื่องที่เป็นภาษาวิชาการ อ่านแล้วต้องตีความ ถึงจะพอเข้าใจ บางครั้งก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน…..



ยังไม่จบนะครับ


.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 06/02/2014 12:25 pm    ชื่อกระทู้: กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ตอน ไนเจอร์ พืชน้ำมันราคาแพง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน

ตอนที่ 1 (3) ไนเจอร์ ..หรือทานตะวันหนู...น้ำมันพืชชาวเขา....เพื่อสุขภาพชาวไฮโซ


ไนเจอร์ (NIGER) พืชน้ำมันราคาแพง
อีกซักครั้ง
มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ไนเจอร์ เป็นชื่อพืชน้ำมัน ที่บรรดาผู้รักสุขภาพทั้งหลายโดยเฉพาะชาวไฮโซ จะต้องบอกลาน้ำมันพืชเดิม ๆ ที่เคยรู้จักกันมา

น้ำมันจากเมล็ดไนเจอร์ อุดมไปด้วยกรดโอลิค.....โอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งเป็นตัวช่วยบำรุงสมอง – ปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล – เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีวิตามินอีสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณทั้งที่เป็นสาวและไม่สาว ให้ชุ่มชื่น ชะลอความแก่ ......คุณสมบัติคล้ายคลึงน้ำมันจากเมล็ดชา ที่ขายกันลิตรละเป็นพัน ๆ บาท กันเลยทีเดียว...(รู้จัก และเคยได้ยินชื่อของแพง ๆ พวกนี้กันมั่งไม๊ครับ)

ความเป็นมา...........

ด้วย สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนต่างประเทศ ทรงเห็นน้ำมันสกัดจากเมล็ดไนเจอร์วางจำหน่ายในราคาที่สูงมาก จึงมีพระราชดำริให้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำมาปลูกในบ้านเรา เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เนื่องจากพืชชนิดนี้ปลูกกันแพร่หลายในอินเดีย.....ประเทศไทยก็น่าจะปลูกได้

ศูนย์วิจัยฯ จึงได้ออกเสาะหา จึงได้รู้ว่า ในบ้านเรามีปลูกไนเจอร์มานานนักหนาแล้ว ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ....ดอกไม้ขนาดจิ๋วคล้ายทานตะวัน ชาวบ้านเรียกว่า “ ทานตะวันหนู “ ที่แท้ชื่อดั้งเดิมคือ “ ไนเจอร์ “ นี่เอง (เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย หน้าแตกเลยมั๊ยล่ะ)





รูปที่ 1 (103) ดอกไนเจอร์
ทานตะวันหนูหรือไนเจอร์ ปลูกโดยชนกลุ่มน้อยเผ่า มูเซอ ที่อพยพจากพม่า นำเมล็ดพันธุ์ไนเจอร์พันธุ์อินเดียมาปลูกเพื่อสกัดเอาน้ำมันใช้บริโภคในครัวเรือนมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดโน้นแล้ว จนฝรั่งชาวยุโรปและอเมริกาที่ขึ้นไปเที่ยวบนดอย รู้เรื่องได้ติดต่อขอซื้อเมล็ดไปขายต่างประเทศ ปี ๆ หนึ่งไม่ใช่น้อย คิดเป็นจำนวน 10 ตัน แต่คนไทยไม่รู้ว่า บ้านตัวเองมีของดีอยู่.....

ขณะนี้ การวิจัยอยู่ในขั้นตอนคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ระหว่างไนเจอร์พันธุ์อินเดีย กับพันธุ์เอธิโอเปีย ว่า พันธุ์ไหนจะให้ผลผลิตสูงเหมาะกับประเทศไทย เพื่อนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรต่อไป





รูปที่ 2 (104) เมล็ดไนเจอร์จากดอกที่ใกล้จะแก่
ไนเจอร์เป็นพืชเหมาะที่จะปลูกในหน้าแล้งมาก ต้องการน้ำน้อย ให้น้ำแค่สัปดาห์ละครั้ง ปุ๋ยก็ใช้น้อย ใช้ปุ๋ยคอกตอนเตรียมดินปลูกแค่ครั้งเดียว หลังจากหว่านเมล็ด 2 อาทิตย์ จะเริ่มติดดอก อายุได้ 90 – 100 วันดอกจะเหี่ยว ต้นแห้ง เก็บเกี่ยวทั้งต้น นำไปฟาดนวดเอาแต่เมล็ด

คุณสมชาย ไทยสมัคร นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บเมล็ดได้ประมาณ 70 กิโลกรัม ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน รับซื้อจากเกษตรกร ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท (ตันละ 40,000 บาท) เพื่อนำไปสกัดผลิตน้ำมันไนเจอร์ จำหน่ายภายใต้แบรนด์ “ ภัทรพัฒน์ “ เป็นการทดลองตลาด ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงจนผลิตออกไม่ทันต่อความต้องการ ทั้ง ๆ ที่ราคาขวดขนาด 250 ซีซี 150 บาท ....ลิตรละ 600 บาทเท่านั้นเอง......





รูปที่ 3 (105) น้ำมันจากเมล็ดไนเจอร์ ภายใต้แบรนด์ “ ภัทรพัฒน์ “ มีเลข ๙ ไทย อยู่ข้างบนใกล้คอขวด ....นึกมโนภาพเอาเองว่า ภัทระ พัฒน์ และเลข ๙ หมายความถึงอะไร





รูปที่ 4 (106) ข้อมูลจาก " ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน " ตำบล เวียงพางคำ อำเภอ แม่สาย จังหวัด เชียงราย

ขอขอบคุณ หัวหน้าศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ....โอกาสหน้าจะมาช่วยกิน ข.ไข่(พร้อมไก่)ในเล้า....(อยากบ่นว่า ไก่แน่นเล้า ก็ได้พวกเปรตที่ตายอดตายอยากมาช่วยลดปริมาณลงแล้งยังไงล่ะครับ)

ไม่มีสมาชิกท่านใด สนใจเรื่อง ชาน้ำมันมั่งเหรอครับ....ราคาดีเหมือนกันนะครับ ...จะได้ยืดเรื่องข้าวมะลิ105 ไปอีกหน่อย อิอิ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 06/02/2014 7:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

สวยเนอะอยากปลูกไว้เชยชมจัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 06/02/2014 9:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hans บันทึก:
.

สวยเนอะอยากปลูกไว้เชยชมจัง


สวัสดีครับลุงคิม ป้าห่าน

อย่าแค่ปลูกไว้เชยชม บ้านป้าน่าจะปลูกได้ ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ราคาผลผลิตไม่เลว ลองอ่านเรื่องดูครับ ปลูกแล้วหีบน้ำมันใช้เองก็ได้ รับรอง สาวขึ้นอีก 10 ปี เหอ ๆๆๆ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ampolk
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 14/01/2013
ตอบ: 53

ตอบตอบ: 07/02/2014 3:06 pm    ชื่อกระทู้: ใคร่สนใจอยู่เหมือนกัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ ลุงคิม, พี่ทิดแด งและ สมช.ทุกๆ ท่านครับ

พี่แดงครับ ข้าวหอมมะลิไม่ไวแสงก็สนใจ ดอกไนเจอร์ นี่ก็น่าสนใจ ถ้าแถวสุรินทร์ปลูกได้ คงจะดีไม่น้อย เพราะทำนาทั้งปี
ได้ขายแค่ครั้งเดียว เหลือเวลาตั้ง 6-8 เดือนก็นอนรอ ผมว่าคงดีเหมือนกันนะครับ เป็นรายได้เสริมหลังจากทำนาปี

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากพี่ทิดแดง มากๆครับ

อำพล เกษตรกรฝึกหัด ครับผม


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 07/02/2014 8:03 pm    ชื่อกระทู้: Re: ใคร่สนใจอยู่เหมือนกัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ampolk บันทึก:



ถ้าแถวสุรินทร์ปลูกได้ คงจะดีไม่น้อย



.


แถวสุรินทร์ อบต.ห้ามปลูกเหรอ หรือว่าปลูกแล้วตำรวจจับ....

ไม้ทุกอย่าง พืชทุกชนิด ปลูกได้ทั่วประเทศ

เท่าที่ติดตามมา วันนี้มีแต่ "แอ๊ปเปิ้ล" เท่านั้น ที่ยังไม่เจอข้อมูลทั้งงานวิจัยนักวิชาการ งานวิจัยนักประสบการณ์ชาวบ้าน ว่าปลูกในประเทศไทยได้

ปลูก ได้/ไม่ได้ อยู่ที่ใจน่ะ



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 07/02/2014 8:12 pm    ชื่อกระทู้: Re: ใคร่สนใจอยู่เหมือนกัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ampolk บันทึก:
สวัสดีครับ ลุงคิม,พี่ทิดแดงและสมช.ทุกๆท่านครับ

พี่แดงครับ ข้าวหอมมะลิไม่ไวแสงก็สนใจ ดอกไนเจอร์ นี่ก็น่าสนใจ ถ้าแถวสุรินทร์ปลูกได้ คงจะดีไม่น้อย เพราะทำนาทั้งปี ได้ขายแค่ครั้งเดียว เหลือเวลาตั้ง 6-8 เดือนก็นอนรอ ผมว่าคงดีเหมือนกันนะครับ เป็นรายได้เสริมหลังจากทำนาปี
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากพี่ทิดแดง มากๆครับ

อำพล เกษตรกรฝึกหัด ครับผม


สวัสดีครับลุงคิม คุณอำพล

ไนเจอร์ มีลักษณะการดำรงค์ชีพคล้าย ดาวกระจาย และทานตะวันป่า ทนแล้ง ...อย่างดาวกระจาย ตอนงอกใช้น้ำนิดเดียว หลังจากขึ้นเป็นต้นแล้ว ผมไม่เคยเห็นทีใครไปรดน้ำมันเลย มันก็ออกดอกสวยงามซะด้วย แล้วก็ไม่แน่ใจว่า ดอกดาวกระจายจะมีน้ำมันหรือเปล่า....

สำหรับ ไนเจอร์ ผมก็คิดว่าที่สุรินทร์น่าจะปลูกไปได้ ไม่ลองก็ไม่รู้ จะลองขอเมล็ดพันธุ์มาให้เอาไปลองปลูก ....ระหว่างที่รอปลูกข้าวอีก 6 - 8 เดือน น่าจะปลูกไนเจอร์ได้ 2 รอบ ไม่บ้าก็ไม่รู้ละน่า..ปลูกซัก 15 ไร่ก็ได้แล้ว 1 ตัน ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ

..กิโลกรัมละ 40 บาทตันละ 40,000 บาท ถ้ามีผลผลิต บรรทุกรถเอาไปขายให้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ที่แม่สาย เชียงราย หักค่าน้ำมันรถไปกลับ สุรินทร์ - แม่สาย 5,000 เหลืออีก 35,000 ดีกว่าจำนำข้าวไม่ได้เงินว่ะ เปิดตลาดครั้งแรก เที่ยวมันตั้งแต่แม่สาย ยันสุรินทร์ ไปเลย.....ถ้าไปก็อย่าไปคนเดียวล่ะ พกเมียไปด้วย....เพลงยุ๊ยเค้าร้องน่ะ แหม มาแค่เนี๊ยะต้องพกเมีมาด้วย...

สดุ้งตกใจตื่น... ขออภัยหลับฝันไป แต่เป็นฝันที่อาจเป็นจริงก็ได้ใครจะคิด....

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 07/02/2014 9:38 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม ...และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

เกษตรสัญจร 2 กะเหรี่ยงปลูกข้าวบนดอย ภาค 2 ว่าด้วยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไม่ไวแสง

บทที่ 3 ตอนที่ 3 - ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน – แปลงทดลองพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์

เรื่อง ไนเจอร์ ..น้ำมันไนเจอร์น้ำมันไฮโซ ก็ผ่านไป แต่ยังจบไม่สมบูรณ์นะครับ พักไว้ก่อน.... ไม่มีใครสน ชาน้ำมันมั่งหรือครับ มีของแปลกมาอีกแล้ว


เมื่อมาถึงถิ่นท่าน.....ก่อนอื่น ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ เรื่องราวของศูนย์ก่อนครับ

ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน เปิดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์หลักให้กับเกษตรกรทำเมล็ดพันธุ์ในฤดูนาปี 2557

ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน เปิดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์หลักให้กับเกษตรกรทำเมล็ดพันธุ์ในฤดูนาปี 2557

นายศิวะพงศ์ นฤบาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน บอกว่า ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน เปิดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์หลักให้กับเกษตรกรที่จะใช้ทำเมล็ดพันธุ์ในฤดูนาปี 2557 จำนวน 4 พันธุ์ ดังนี้

พันธุ์ กข 21 จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท
พันธุ์ กข 39 จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท
พันธุ์สันป่าตอง 1 จำหน่ายกิโลกรัมละ 26 บาท
พันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตอง จำหน่ายกิโลกรัมละ 20 บาท

เกษตรกรผู้สนใจสามารถติดต่อขอซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวดังกล่าวได้ที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์
หมายเลข 053 – 617-144 หรือ 053 – 617-145 ในวันและเวลาราชการ

(กข 21 กับ กข 39 กินอร่อยนะครับ หอมนิดๆ กินนุ่มลิ้นดีจัง เหมาะสำหรับปลูกบนพื้นที่สูง.)

อันดับต่อไป.......

ท่องศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน.......ดูพัฒนาพันธุ์ข้าวเด่น 'พื้นที่สูง’


ความเป็นมา
กว่า 30 ปีที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนได้ก่อกำเนิดขึ้นมาภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีภารกิจสำคัญในด้านการศึกษา วิจัย ทดสอบ พัฒนาด้านพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีการผลิตข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ตลอดจนร่วมปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพิเศษต่าง ๆ

ศูนย์วิจัยข้าวแห่งนี้ ตั้งอยู่บ้านท่าไคร้ ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เดิมคือศูนย์พัฒนาลุ่มน้ำลาง(ปางมะผ้า) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2522 หรือเมื่อ 35 ปีมาแล้ว

จากนั้นในปี 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานพระราชดำริให้กองทัพภาค 1 และ 3 ตลอดจนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลางตามพระราชดำริ

ต่อมาในปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการ

ก่อนที่กองทัพภาคที่ 3 จะส่งมอบโครงการฯให้ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนและกรมวิชาการเกษตรในปีต่อมา พร้อมได้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า สังกัดสถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร โดยในปี 2549 จึงได้ปรับเปลี่ยนภารกิจเป็นศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนถึงปัจจุบัน




(101)



(102)
(รูป 101-102) บริเวณแปลงทดลอง

พื้นที่ตั้งศูนย์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 560-570 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มหุบเขา ที่เหลือเป็นภูเขาและป่าไม้ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 310 ไร่ แบ่งเป็นอาคารสิ่งก่อสร้างและถนน 70 ไร่ แปลงทดลองและแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 185 ไร่ เส้นทางน้ำ 15 ไร่และ พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกประมาณ 40 ไร่ มีลักษณะพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงค่อนข้างสูง ในฤดูฝนจะอาศัยน้ำฝน ส่วนฤดูแล้งอาศัยน้ำจากฝายทดน้ำของกรมชลประทาน

"ปัจจุบันที่นี่มีผลงานวิจัยเด่นอยู่ 3 อย่างคือ ข้าวสาลี ข้าวญี่ปุ่นและข้าวไร่
ข้าวสาลีนี่มีอยู่ 6 สายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกร คือ ฝาง60 ข้าวญี่ปุ่นใช้เพื่อเป็นพืชทางเลือกที่จะปลูกร่วมกับระบบข้าวไร่
ส่วนข้าวไร่ชาวบ้านจะนิยมปลูกในพื้นที่นาระบบขั้นบันได มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ เจ้าขาว และ เจ้าฮ่อ"

สำหรับงานวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนนั้น ขณะนี้ดำเนินการอยู่ด้วยกัน 13 โครงการ เช่นโครงการวิจัยและพัฒนาข้าวไร่ในภาคเหนือระยะที่ 2 ซึ่งทำการวิจัยร่วมกับกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบน จนได้ข้าวไร่สายพันธุ์ดีเด่นสายพันธุ์ SPT92029 - PMP - 3 - 10 - 1 ….เป็นข้าวเจ้าไวต่อแสงอย่างอ่อน ผลผลิตเฉลี่ย 380 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ข้าวเจ้าขาวร้อยละ 21 และสูงกว่าพันธุ์เจ้าลีซอร้อยละ 32 เมล็ดเรียวยาว เปลือกสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว ท้องไข่น้อย ปริมาณแอมีโลสต่ำ ส่วนข้าวที่หุงสุกจะมีลักษณะอ่อนนุ่มและมีกลิ่นหอม

"จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวนาที่สูงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนตามโครงการวิจัยและพัฒนาข้าวนาที่สูงในภาคเหนือตอนบนระยะที่ 2 พบว่า พันธุ์ละอูบ(PMPC95009) เป็นข้าวนาที่สูงที่มีลักษณะดี จึงได้มาปลูกคัดเลือกแบบ mass selection ศึกษาพันธุ์เปรียบเทียบผลผลิตและปลูกทดสอบในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนกระทั่งได้ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงสูงประมาณ 124 เซนติเมตร ผลผลิตเฉลี่ย 500 กก./ไร่ ถ้าเป็นข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนข้าวสารมีสีขาว ท้องไข่น้อย ข้าวสุกร่วน ไม่แข็งกระด้าง และไม่หอม"

ข้อดีของข้าวสายพันธุ์นี้คือต้านทานโรคไหม้ในสภาพธรรมชาติและปรับตัวได้ในสภาพพื้นที่นาที่ขังน้ำได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ สำหรับพื้นที่แนะนำให้ปลูกคือนาที่สูงที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 800-1,100 เมตรหรือนาขั้นบันไดที่ปรับใหม่เริ่มขังน้ำได้

ปัจจุบันได้กระจายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ (1) โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินในลุ่มน้ำของอ.ปางมะผ้า, (2) โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินล่ำน้ำแม่สะงา อ.เมืองแม่ฮ่องสอน (3) โครงการธนาคารอาหารชุมชน(food bank)อ.เมืองแม่ฮ่องสอนและ (4) โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืนบ้านแกงหอมม้ง ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน รวมพื้นที่ประมาณ 150 ไร่

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนบอกว่าในส่วนของการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีนั้น ขณะนี้ได้ข้าวสาลีสายพันธุ์เด่นจำนวน 6 สายพันธุ์ได้แก่ สะเมิง1 สะเมิง2 ฝาง60 แพร่60 อินทรี1 และอินทรี2 ซึ่งปัจจุบันศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนได้จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกข้าวสาลีในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการหลวง พร้อมกับให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสาลี อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนอีกด้วย




(รูป 103) สีเหลืองเป็นแถวยาวที่เห็น นั่นคือแปลงดอกไนเจอร์ หรืองาญี่ปุ่น ครับ

"ล่าสุดทางศูนย์ฯได้มีการศึกษา งาญี่ปุ่นหรือไนเจอร์ เพื่อเป็นพืชทางเลือก ซึ่งไนเจอร์เป็นพืชน้ำมันในตระกูลเดียวกับทานตะวัน สามารถนำไปใช้ในการบริโภค เภสัชกรรมและอุตสาหกรรม โดยเมล็ด 4 ถังสามารถผลิตน้ำมันพืชได้ 1 ถัง ส่วนการซื้อขายในตลาดท้องถิ่นอยู่ที่ลิตรละ 200 บาท แต่ถ้าตลาดทั่วไป 350 บาท ส่วนเมล็ดขายได้ราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท"

หัวหน้าศูนย์ฯ กล่าวทิ้งท้าย ก่อนพาไปชมแปลงทดลองปลูกข้าวฟ่างและข้าวบาเลย์ ซึ่งปัจจุบันพืชทั้งสองประเภทนี้ได้รับความนิยมจากเกษตรกรน้อยลงเนื่องจากมีปัญหาทางด้านการตลาดนั่นเอง

ทั้งหมดเป็นผลงานของศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ที่เหมาะกับพื้นที่สูง ก่อนนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่ต่าง ๆของภาคเหนือต่อไป


แต่มีข้อมูล(ที่แอบเห็น)เพิ่มเติม
ปีที่ผ่านมา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ชั้นพันธุ์หลัก 43 ตัน
กข21 = 15,000 กิโลกรัม
ขาวดอกมะลิ 105 = 15,000 กิโลกรัม
สันป่าตอง 1 = 3,000 กิโลกรัม
กข39 = 5,000 กิโลกรัม
เจ้าขาวเชียงใหม่ = 3,000 กิโลกรัม
เจ้าฮ่อ = 1,000 กิโลกรัม
เจ้าลีซอสันป่าตอง = 1,000 กิโลกรัม

ตอนต้นประชาสัมพันธ์ว่า ข้าวที่มีขายคือ
พันธุ์ กข 21 จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท
พันธุ์ กข 39 จำหน่ายกิโลกรัมละ 25 บาท
พันธุ์สันป่าตอง 1 จำหน่ายกิโลกรัมละ 26 บาท
พันธุ์เจ้าลีซอสันป่าตอง จำหน่ายกิโลกรัมละ 20 บาท

วี ซะ จู (ภาษากะเหรี่ยงแปลว่า ขออภัย ขอโทษ) ด้วยความที่ผมเป็นคนขี้สงสัย...ก็นึกในใจว่า....แล้ว....ข้าวพวกนี้....

ขาวดอกมะลิ 105 = 15,000 กิโลกรัม

เจ้าขาวเชียงใหม่ = 3,000 กิโลกรัม
เจ้าฮ่อ = 1,000 กิโลกรัม

Where is where where แวร์ อีส แวร์ แวร์ …ข้าวกลุ่มนี้ มันหายไปไหนหว่า แปลกนิ แล้วข้าวขาวดอกมะลิ 105 ก็ไม่ได้บอกว่า ไวแสง หรือไม่ไวแสง ข้าวไวแสง ต้นมันสูง แต่ที่เห็นต้นมันเตี้ย .จะรู้ไปใย...ทั้งหมดเป็นเรื่องการดำเนินงานของศูนย์ ซึ่งผมบอกไว้แต่แรกแล้วว่า

บางเรื่องผมพูดได้....บางเรื่องผมพูดไม่ได้ มันเป็นความลับ (แต่ไม่ลึก... แต่นั่นแหละขอให้ผมรู้ไอ้ตรงลึกๆ เอาไว้คนเดียว อ้อ ไม่ใช่ รู้กันทุกคนที่ไปด้วย แต่กำชับแล้วว่า รู้แล้วก็เหยียบเอาไว้ที่นี่ ใครปากโป้ง โดนกูเหยียบ..แค่นั้นแหละ ....นี่แหละครับประเทศไทย)

ลุงคิมเคยอยู่หน่วยสืบราชการลับ แต่ผมอยู่หน่วยล้วงลับราชการ....มันเป็นของลับที่ต้องล้วง คือว่า

ตอนขากลับที่ผมได้รับมามันเป็น "ข้าวลืมผัว" อ่ะนะ แล้วก็ยังมีข้าวไร่ กับข้าวดอยอื่น ๆ อีก แล้วก็ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" ที่กำลังตากอยู่กลางลานอีก

ดังนั้น ข้าวพวกนี้เค้าปลูกที่ไหนล่ะ..ในตอนต้น จะมีบอกว่า มีพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกประมาณ 40 ไร่ เมื่อศูนย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ตรงนี้ แปลงนี้มันอยู่หลังแปลงทดลองของศูนย์นี่หว่า .....ดังนั้น ถ้าใครจะปลูกอะไรมันก็ไม่เกี่ยวกับของศูนย์แล้วใช้มั๊ยล่ะ...ถ้าไม่ใช่ของศูนย์แล้วมันของใครล่ะ ..

...มันเหมือนกับที่ไร่กล้อมแกล้ม....ด้านภายในต้นไม้ผลไม้ทุกอย่างเป็นของของลุงคิม รอบบริเวณไร่ก็ของลุงคิม แต่รั้วมันเป็น "ชะอม" ซึ่งสองตาลุงคิมไม่เคยแล ก็มีนายยิ้มกับป้าแย้ม คอยตัดแต่งให้เตี้ย เพื่อให้มันแตกยอด เก็บขายเป็นรำไพ่ นานๆ ครั้งก็เอาชะอมมาชุบไข่ทอดให้ลุงคิมกินกับน้ำพริกซักครั้ง ...ผมอุปมาอุปมัยแบบนี้แล้วมีใครเข้าใจ และตามผมทันมั๊ยครับ ไม่เข้าใจหรือตามไม่ทันก็ช่วยไม่ได้....นี่แหละครับที่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่บางเรื่องพูดได้ บางเรื่องพูดไม่ได้ .

..คอยติดตามผมต่อไปก็แล้วกัลย์.....


มีคนบ้าสองคนเข้ามา Comment แล้ว ป้าห่าน กับคุณอำพล ผมจะจำคุณไว้ ....ใจเย็น ๆ ความรักที่ต้องรอคอยครับ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
anonsoneel
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2013
ตอบ: 44

ตอบตอบ: 08/02/2014 8:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ คุณลุงคิม อ้ายหนานแดง

ยังมีคนบ้านี่อีกคนเน้อครับอ้ายหนาน

มัวแต่ไปรับจ้าง ถอนหอม ไม่ได้เข้ามาอ่านเสียนาน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hans
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013
ตอบ: 146

ตอบตอบ: 08/02/2014 11:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงคิม ทิดแดง และสมาชิกทุกๆๆท่าน

แดงจ๋าป้าน่ะมันเป็นพวกอยากปลูกทุกอย่าง แดก ดอก ดู มันยังไงเรื่องข้าวมะลิ 105 นี่มันเข้าใจยากจัง
ถามที่เชียงใหม่ก็บอกงั้นงี่โง่น แดงเสาะหาให้ป้าเข้าใจหน่อยเด้อ


ฮักเด้อบักหล่า
ป้าห่าน


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 09/02/2014 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hans บันทึก:
สวัสดีค่ะลุงคิม ทิดแดง และสมาชิกทุกๆๆท่าน

แดงจ๋าป้าน่ะมันเป็นพวกอยากปลูกทุกอย่าง แดก ดอก ดู มันยังไงเรื่องข้าวมะลิ 105 นี่มันเข้าใจยากจัง
ถามที่เชียงใหม่ก็บอกงั้นงี่โง่น แดงเสาะหาให้ป้าเข้าใจหน่อยเด้อ


ฮักเด้อบักหล่า
ป้าห่าน


.


สวัสดีครับลุงคิม...ป้าห่าน....

ป้าห่านคนสวย ของลุง Hans Mayer จ๋า....
ป้าก็ถามอาจารย์ด้วยตัวเอง ได้คำตอบมาด้วยตัวเองแล้ว จะให้ บักหล่า ตอบว่ายังไงดีล่ะ .....ป้าลองอ่านตรงนี้อีกครั้ง....

บทคัดย่อ…มาจาก

เมื่อวันที่ 08/01/2014

บทที่ 2 ตอนที่ 1 - เตรียมลุย แปลงทดลองข้าวขาวดอกมะลิ 105 บนดอย

............

ท่านผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ (อยู่ จว.เชียงใหม่นะครับ) ได้รวมทีมงาน ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าว 3 สายพันธุ์ยอดฮิต คือ พันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และ สังข์หยดพัทลุง ซึ่งเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี เป็นข้าวต้นสูง และจะหักล้มง่าย ทำให้ผลผลิตต่ำ … ก็จะพัฒนาให้กลายเป็นข้าวที่ไม่ไวแสงอีกต่อไป..
..ต้นจะเตี้ยลง ปลูกได้ตลอดปี และสามารถเกี่ยวได้ด้วยรถเกี่ยว ....และทีมงานก็จะพัฒนาทั้งสายพันธุ์ข้าวเจ้า และข้าวเหนียวด้วย

ในการพัฒนานั้นเค้าทำยังไง.....
เค้าเอามาผสมกลับแบบใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกพันธุ์ ...

ท่านอาจารย์ วราภรณ์ ได้นำพันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ซึ่งมีลักษณะต้นเตี้ย และเป็นข้าวไม่ไวแสง(จากนาแปลงของใคร ไม่ได้บอก) เอามาเป็นพ่อพันธุ์ แล้วก็เอาข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ทีเอ่ยชื่อมาเป็นแม่พันธุ์...

....หลังจากปรับปรุงพันธุ์มา 3 ปี (กับอีกกี่เดือน กี่วันไม่ได้บอก) ก็ประสบความสำเร็จ ได้ข้าวพันธุ์ กข15, ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสังข์หยดพัทลุง ออกมาเป็นข้าวไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี ทุกฤดูกาล และมีลักษณะต้นเตี้ย โดยยังคงรสชาติ สี กลิ่น ความนุ่มหอมเหมือนเดินทุกประการ.... ที่สำคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้นเตี้ยลง สามารถต้านทานการหักล้ม ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 15 – 20 %

อย่างไรก็ตาม ทาง สกว. เค้าต้องส่งพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, เชียงราย, และพัทลุง ทดสอบเพื่อยืนยันผลผลิตให้ได้ผลเป็นที่แน่นอนอีกครั้ง จึงจะนำพันธุ์ข้าวออกส่งเสริมให้เกษตรกรต่อไป.....

หากสมาชิกท่านใดสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเอาเองได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน)...02 – 579 – 7435 ในวันและเวลาราชการ....หรือ www.arda.or.th ติดต่อได้เลย ไม่ต้องห่วงผมครับ.....

สมาชิก... คุณ wit และ ป้าห่าน รวมทั้งผม ได้ติดต่อถามไปที่ต้นตอคืออาจารย์ ดร.วราภรณ์ ด้วยตัวเอง ก็ได้คำตอบแล้วว่า ทาง สกว. เค้าต้องส่งพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์ ให้ศูนย์วิจัยข้าวแพร่, ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย, และศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ทดสอบเพื่อยืนยันผลผลิตให้ได้ผลเป็นที่แน่นอนอีกครั้ง จึงจะนำพันธุ์ข้าวออกส่งเสริมให้เกษตรกรต่อไป.....

ข้าวสังข์หยด เค้าส่งกลับไปต้นสังกัดที่พัทลุง...แล้วป้ารู้หรือเปล่าว่า ข้าว กข 15 กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 เค้าส่งไปที่ไหน ระหว่างศูนย์วิจัยข้าวแพร่ กับศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย...

ก็คงต้องรอกันต่อไป....น้ำท่วมหลังเป็ด....แต่ผมทิ้งท้ายเอาไว้ว่า .......ไม่ต้องห่วงผมครับ.. …ครับ ไม่ต้องห่วงผมครับ....
...เชื่อหรือไม่เชื่อตามใจ คอยติดตามผมต่อไป คงเห็นนนนน. เด๊อ....


แล้วก็ลองอ่าน

บทที่ 3 ตอนที่ 3 - ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน – แปลงทดลองพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ผมเพิ่งนำเสนอไปเมื่อวันที่ 07/02-2014 ...ยังหมาด ๆ อยู่เล๊ย...

.....ไม่น่าเข้าใจยากเล๊ยป้า..เรื่องบางเรื่อง มันพูดออกอากาศไม่ได้ ถามกันโต้ง ๆ ใครเค้าจะบอก เกิดเค้าโดนสั่งย้าย ผมก็ตายซีครับป้า...ติดตามต่อไปก็แล้วกันครับ.....



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©