ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 26/07/2009 10:51 pm ชื่อกระทู้: อะมิโนโปรตีน |
|
|
ลุงครับ รบกวนขอความรู้เรื่อง อะมิโนจากถั่วเหลือง และอะมิโนจากปลาด้วยครับ
จากเมนูหลัก เรื่อง อินทรีย์ชีวภาพ
ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 27/07/2009 8:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โปรตีน. คือ สารอาหาร มีในเนื้อสัตว์ทุกชนิด ในพืชมีมากสุดใน "ถั่วเหลือง" ในพืชอื่นมีน้อยคนกินเจต้องกินถั่วเหลืองเพื่อชดเชยโปรตีนจากเนื้อสัตว์
โปรตีน.เมื่อแตกตัวแล้วจะเป็น "อะมิโน โปรตีน"
คนกินเนื้อสัตว์ ระบบย่อยในลำไส้เล็กจะเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นอะมิโน โปรตีน. แล้วส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ซุปไก่ในท้องตลาด ทำมาจากไก่สด ด้วยกรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนโปรตีนจากเนื้อไก่ให้เป็นอะมิโน โปรตีน. เมื่อคนกินเข้าไป ร่างกายได้รับเร็วเพราะส่งไปใช้งานได้ทันที
เอาไก่เป็นๆ มา 1 ตัว ไม่ต้องถอนขนก็ได้ เพราะในขนไก่มีฟอสเฟต. ยัดไก่เป็นๆ ทั้งตัวลงหม้อนึ่งความดัน ขนาดจุ 20 ล. ปรับความดัน 124 องศาเซลเซียส นึ่งนาน 30 นาที ไก่ทั้งตัวจะเหลวเป็นน้ำ เรียกว่า "น้ำอะมิโน โปรตีน " กรองน้ำอะมิโน โปรตีน.ด้วยความละเอียด 1 เมทช์ ได้มาแล้ว "แต่งกลิ่น - แต่งสี - ติดยี่ห้อ - โฆษณาบ้าเลือด" ไก่ 1 ตัว ทำได้ 100 ขวด ขายขวดละ 95 บาท......ใครรวย-ใครจน
อะมิโน โปรตีน. คือสารอาหารที่ มนุษย์ สัตว์ พืช ดูดซึมไปใช้พัฒนาสรีระ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายใดๆอีก
วิธีทำโปรตีนในถั่วเหลืองให้เป็น "อะมิโน โปรตีน" แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ก็คือ "น้ำเต้าหู้" ไง แม้จะได้ปริมาณไม่มากเท่ากับ "หม้อนึ่งความดัน" ก็ยังดี
ในน้ำนึ่งปลาก็มีอะมิโน โปรตีน.
ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของอะมิโน โปรตีน. ต่อ พืช นี้ จึงเกิดประกายความคิด BIODREAM ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรใหม่ขึ้นมา หลังพบ BIODREAM แล้วปรากฏว่ามี OHIO ตามพ่วงมาอีก 1 สูตร ณ เวลานี้ เริ่มมองเห็น HOTLINE ที่วาดฝันไว้นานแล้วชัดเจนยิ่งขึ้น
ทั้งหมดทุกสูตร ทีม "NWF-TU-KK" โดย AORRAYONGรู้เรื่องนี้ดี...... ฉนี้ NWF. TU. ที่พลาดขบวนรถไปไร่กล้อมแกล้มรุ่นที่แล้ว เสียดายไหม
IDEA IS INNOVATION
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2009 7:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 28/07/2009 8:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
น้ำหมักชีวภาพ จากปลา ก็มีอะมิโนโปรตีนใช่ไหมครับลุง
หน้าที่ของอะมิโนโปรตีนสำหรับพืช มีประโยชน์กับพืช
อย่างไรบ้างครับ
สามารถสังเกตุหน้าที่ของอะมิโนโปรตีนที่ก่อประโยชน์
ให้กับพืช ได้อย่างไรบ้างครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 28/07/2009 8:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มี.....แต่มีข้อแม้....
1. เป็นปลาทาะเลสดใหม่
2. ย่อยสลายโดยสารโบมาเลน
3. หมักนานข้ามปี
4. นอกจากอะมิโนโปรตีน.แล้วยังมี แม็กเนเซียม. โซเดียม. โอเมก้า-3 (ปลาน้ำจืดไม่มี) ไซโตไคนิน. และ ท็อกซิก.ส่วนสารอาหารอื่นๆไม่ต้องเอ่ยถึง มีแน่นอนแม้ไม่มากแต่ก็ถือว่าพอเพียงสำหรับยพืชบางชนิดที่ต้องการใช้น้อย ส่วนพืชที่ต้องการมากเราก็ใส่เพิ่มเข้าไป ก็เท่านั้นเอง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2009 7:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 02/08/2009 9:21 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สารโบมาเลน เกิดขึ้นเองในขั้นตอนการหมักไหมครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/08/2009 10:02 am ชื่อกระทู้: |
|
|
5 - 5 - 5 .......
ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง แต่เจตนาใส่ลงไปครับ
บอกที่นี่ไม่ได้ เพราะโจรปล้นความคิดเยอะแต่ถ้าเอาหูมาจ่อที่ปากแล้วจะบอกให้ บอกแล้วร้อง อ๋อออออ
เอาตาดูในถัง นิ้วจุ่มจิ้มชิมด้วยปาก แบบนี้แถวบ้านผมก็มี มีเยอะด้วย
รู้ไหม ?
เนื้อ ก็คือ โปรตีน แล้วเนื้อวัวอีแกลบมาจากภูผีโห่ กาฬสินธุ์ในจานสะเต๊กถึงได้นุ่มยังกับเนื้อวัวออสเตรเลียได้ล่ะ ก็เพราะเจ้า โบมาเลน. ตัวนี้นี่แหละ ร้านขายสะเต๊กเลยถือโอกาสมั่วนิ่ม โกหกว่าเป็นเนื้อนำเข้าจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา ไปโน่นแน่ะ
บอกแล้วบ่อฟัง...... ไปไร่กล้อมแกล้มซี่ บอกให้หมดเลย
รู้แล้วขำกลิ้ง ตกโต๊ะ ลุกขึ้นมาได้......ลืม
ยังไม่ได้แจ้ง UPDATE ข้อมูลเรื่องนี้เลย แล้วคำถามนี้มัน
เกิดขึ้นมาได้ไง......สงสัย สงสัย
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2009 7:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/08/2009 10:18 am ชื่อกระทู้: |
|
|
โปรตีน.ที่สิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช) ใช้เพื่อพัฒนาร่างกายยนั้น อยู่ในรูป "อมิโนโปรตีน" ครับ
คนเรากิน "เนื้อสัตว์-ถั่ว" จะได้โปรตีน แต่โปรตีนที่เกิดจากการย่อยของกระเพาะยังไม่อาจใช้พัฒนาร่างกายได้ ต้องส่งไปที่ "ลำไส้เล็ก" เพื่อเปลี่ยนรูปโปรตีนธรรมดาให้ "แตกตัว"เสียก่อน
โปรตีน.แตกตัว ก็คือแตกตัวเป็น "อมิโนโปรตีน" ไงล่ะ
ทั้งหมดนี้คือ เรื่องของสรีระคน......แล้วเรื่องของสรีระพืชล่ะพืชไม่มีกระเพาะ ไม่มีลำไส้เหมือนคน ในขณะที่พืชก็ต้องการอมิโนโปรตีนเหมือนกัน แล้วพืชทำยังไงจุลินทรีย์. ไงล่ะ เป็นผู้ดำเนินการให้
ถ้าเรารอแต่จุลินทรีย์อาจจะไม่ทันการ หรือได้ปริมาณน้อยกว่าปกติ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องช่วยจุลินทรีย์ โดยการเปลี่ยนโปรตีนธรรมดาๆให้แตกตัวเป็น "อมิโนโปรตีน" เสียก่อน
เมื่อพืชได้รับอมิโนโปรตีน สามารถนำไปใช้ได้ทันที นี่คือ "ทางด่วน" ใช่ไหม และนี่ก็คือ "OHIO" ที่โม้ล่วงหน้าไงล่ะ.......
สูตรนี้เปิดสอนที่ไร่กล้อมแกล้ม ไม่เชื่อถามที่ NWF-KKF-TU รุ่น AORRAYONG ซี่ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้จะ "จำ" ได้หรือเปล่า
เสียดายไหมที่ไม่ได้ไปเพิ่มประสบการณ์ที่ไร่กล้อมแกล้ม
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2009 7:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 02/08/2009 8:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้ "ยังคงจำได้ไม่มีวันลืม"
ท่อ pvc ขนาดประมาณ 4 นิ้ว ผ่าครึ่ง ปลูกผัก hydropronic
โดยให้ OHIO
ถ้าอยากรู้ว่าทำยังไงต้องเอา "ตัวกับหัวใจ" ไปที่ไร่กล้อมแกล้ม
อ้อเองวางแผนจะกลับไปไร่กล้อมแกล้มอีก...ไม่รู้เหมือนกันว่าต้อง
ไปอีกกี่ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/08/2009 9:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตัวกับหัวใจแค่นี้ไม่พอ ต้อง "รอยยิ้ม" ด้วย.......
จำแม่นจริงๆคนนี้ ขนาดถอดคำพูดได้เลยเชียวหรือนี่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/08/2009 9:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เผลอลบ ไอคอน ของคุณ (มือไว) ส่งใหม่.....
สอบถาม ผลการ ต/ส (ตรวจสอบ) AMERICANO
ว่า สี. กลิ่น. กาก. ฝ้า. ฟอง. รูป. ฯลฯ เปลี่ยน
แปลงจากเดิมอย่างไรบ้าง......แจ้งผลด้วย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/08/2009 9:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 02/08/2009 9:46 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สี,กลิ่นดี ไม่มีกาก ไม่มีฟอง มีแต่ฝ้าขาวลอยอยู่บริเวณผิวน้ำนิดหน่อยค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/08/2009 10:01 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฝ้าสีขาวอมเทา คือ เชื้อรา เป็นราดีมีประโยชน์ ราพวกนี้ปกติล่องลอยอยู่ในอากาศอยู่แล้ว เมื่อพบสารอาหารจะเข้าไปกิน ครั้นหมดอายุขัยก็ตายกลายเป็นฝ้าให้เห็น ถ้าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็จงอย่าให้ปุ๋ยสัมผัสอากาศ
ราประเภทนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า นี่คือสารอาหาร (ปุ๋ย) ได้เป็นอย่างดี
ทดสอบต่อ.....กรอกใส่ขวดพลาสติก 1.5 ล. ปิดฝาสนิท ใส่รถเดินทางไปทั่ว หลายๆวัน เพื่อดูว่าจะ "ขวดบวม หรือ ระเบิด" หรือไม่
แต่งกลิ่นหรือเปลี่ยนกลิ่นใหม่ดีไหม
ถึงตอนนี้ ทำเองได้หรือยัง......
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2009 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 03/08/2009 6:01 am ชื่อกระทู้: |
|
|
รับทราบและจะรีบปฏิบัติค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Shark หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 04/08/2009 ตอบ: 16
|
ตอบ: 04/08/2009 2:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
โบมาเลน
รู้แล้วขำกลิ้ง ตกโต๊ะ ลุกขึ้นมาได้......ลืม
ผมคิดว่า มีคนอยากรู้หลายคนแหงๆ ด้วยความอยากรู้ ก็เลยลองค้นหา
ลุงคิมไม่บอก ผมขออนุญาติบอกเองล่ะกัน
ไช่ สับปะรด รึป่าวครับ
โบรมีเลนหรือโบรมีลีน เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของสับปะรด (Ananas bracteatus และ Ananas comosus) มีสีขาวปนน้ำตาลอ่อนหรือสีออกเหลืองเล็กน้อย เป็นเอนไซม์จากพืชที่ยอมให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารได้ ในประเทศอังกฤษและแคนาดากำหนดให้โบรมีเลนเป็นสารประเภท GRAS(GenerallyRecognizedASSave) ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา โบรมีเลนได้รับอนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารได้โดย the U.S. CFR 1981. (Enzymespecially permitted for use in food by the U.S. Code of Federal Regulation 1981)
ประโยชน์ของโบรมีเลน มีการนำโบรมีเลนไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์ ผลิตอาหารสัตว์ ผลิตเบียร์ ไวน์ และน้ำผลไม้ รวมทั้งอุตสาหกรรมการฟอกหนัง อุตสาหกรรมเส้นใย การทำกระดาษ การทำยาสีฟันและสารซักฟอก นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา ได้แก่ ยาช่วยย่อย และยาลดการอักเสบบางชนิด ปัจจุบันมีการนำโบรมีเลนไปใช้เป็นอาหารเสริมกันมาก เพราะเชื่อว่าทำให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรงและสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ความต้องการโบรมีเลนมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Shark หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 04/08/2009 ตอบ: 16
|
ตอบ: 04/08/2009 2:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม....
บรอมีเลน (Bromelain) สามารถพบได้ทุกส่วนของสับปะรดไม่ว่า
จะเป็นผล ใบ หรือลำต้น แต่ส่วนที่สามารถพบสารบรอมีเลนได้มาก
ที่สุดคือแกนลำต้น และเหง้า บรอมีเลน สามารถย่อยโปรตีนได้ดี
มีคุณสมบัติคล้ายตัวยาแอสไพริน ซึ่งสามารถลดการจับตัวของ
เกล็ดเลือดได้ และยังมีการนำสารเหล่านี้ไปใช้ในทางการแพทย์
อื่นๆด้วยเช่น นำไปควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้องอก และชิ้น
ส่วนเนื้อร้ายหรือที่เรียกว่ามะเร็ง มีการนำบรอมีเลนไปใช้ในการช่วย
สมานแผล เช่นแผลจากการผ่าตัด ลดการอักเสบ และช่วยให้รอย
แผลเป็นดูดีขึ้นด้วย บรอมีเลน ที่สามารถสลายลิ่มเลือด หรือลดการ
จับตัวของเกล็ดเลือดได้นั้น ยังสามารถลดการเกิดโรคที่เกิดจาก
การอุดตันในเส้นเลือดเช่น โรคหัวใจ และ หลอดเลือดอุดตัน
กรดจากสับปะรดที่เราใช้รับประทาน ก็ยังมีคุณสมบัติในการช่วยย่อย
อาหารที่อยู่ในกระเพาะได้ทั้งสภาวะที่เป็นกรดและด่างได้อีกด้วย
และเนื่องจากบรอมีเลนเป็นสารที่เกิดขึ้นจาดธรรมชาติจึงแทบไม่พบ
ผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค (เท่าที่พบมากที่สุดคืออาการแสบลิ้น ที่เกิด
จากกรดในผลสับปะรด |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/08/2009 7:31 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ถูกต้องคร้าบบบบบ......โบมาเลน.....โบมาลีน....สับปะรด
ลุงคิม.ได้ข้อมูลมาจากอาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ (กราบขออภัย จำชื่อท่านไม่ได้......) นัยว่า อาจารย์ท่านสนใจเรื่อง "ยาสมุนไพรสำหรับคน" ศึกษาจนรู้จริง รู้ว่าเรื่องยาสมุนไพรเป็นเรื่องของ "ลางเนื้อชอบลางยา" คนสองคนเป็นโรคเดียวกัน แล้วกิน
สมุนไพรตัวเดียวกัน คนหนึ่งหาย คนหนึ่งไม่หาย คนที่หายก็ดีไป ส่วนคนที่ไม่หาย มันรู้สึกเหมือนเป็นบาป จึงเปลี่ยนใจหยุดศึกษาสมุนไพรคน แล้วมาจับสมุนไพรสำหรับพืชและสัตว์อย่างจริงจัง ท่านมีโอกาสอ่านหนังสือในเครือเกษตรใหม่ ได้ฟังรายการวิทยุที่ลุงคิมจัด พร้อมๆ กับอ่านหนังสืออื่นๆ ฟังรายการวิทยุอื่นๆ ด้วย แล้วลงความเห็นว่า ของเราให้ "หลักการและเหตุผล" ชัดเจนที่สุด.....คุยกับท่านอยู่นาน เรื่องยาวๆทั้งนั้น เรื่องที่ท่านสนใจเป็นพิเศษ คือ "ประสบการณ์ตรง" ของลุงคิมนี่แหละ.....จนกระทั่งรู้ว่าในสับปะรดสดใหม่ผลสมบูรณ์ มีสาร "โบมาเลน" เรื่องจึงถึงบางอ้อ......ฉนี้แล
สารคดีดิสคัพเวอรี่....บอกว่า ฝรั่งในยุโรบเอาเนื้อวัวทั่วๆไปมาหั่นเป็นชิ้นๆ เรียบร้อยแล้วหมักในน้ำคั้นสับปะรด ไม่ได้บอกว่าหมักนานกี่ชั่วโมง กี่นาที แล้วเอาเนื้อนั้นไปทำสะเต๊ก รสชาติเนื้อจะนุ่มลึก อร่อยพอๆกับเนื้อวัวชั้นดี
สารคดี NGP ...... บอกว่า การกินสับปะรดสด 2-3-4-5 ชิ้นก่อนกินอาหารหลัก เป็นการช่วยเพิ่มสาร "โบมาเลน" ในกระเพาะ สารตัวนี้จะช่วยปรับระบบย่อยอาหารในกระเพาะให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการย่อยอาหารประเภทโปรตีนดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับเปอร์เซ็นต์สารโปรตีนจากอาหารที่กินเข้าไปมากขึ้น เรื่องนี้จึงถึงบางอ้ออีกครั้ง......ฉนี้แล
เหตุผลที่ไม่บอกผ่าน "สื่อสารธารณะ" เพราะเบื่อ "โจรปล้นความคิด" แต่พร้อมบอกทุกคนที่เอาหน้าเอาตัวมาให้เห็น เหมือนเมื่อครั้งที่ NWF ไปเรียนรู้ที่ KKF ก็ใส่สับปะรดลงไปให้เห็นกันจะจะ ยังบอกอีกว่า สับปะรดฟรีใส่ 5 หัว สับปะรดในสวนตัวเองใส่ 3 หัว สับปะรดซื้อใส่ 2 หัว........คราวนี้รู้ละ ใช้ไส้ในส่วนลำต้นประหยัดกว่า ว่าแต่ค่าเดินไปทางไปเก็บต้นสับปะรดน่ะ มันเป็นเท่าไรกันล่ะ
ขอบคุณมากๆ
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2009 7:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Shark หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 04/08/2009 ตอบ: 16
|
ตอบ: 04/08/2009 9:37 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ยัดไก่เป็นๆ ทั้งตัวลงหม้อนึ่งความดัน ขนาดจุ 20 ล. ปรับความดัน 124 องศาเซลเซียส นึ่งนาน 30 นาที
ปรับความดัน หรือความร้อนครับ?
ถ้าการผลิต อมิโนโปรตีนด้วยวิธีนึ่งในหม้อความดัน แล้วทำได้รวดเร็วเราก็น่าจใช้วิธีนี้ซิครับ แล้วทำไมต้องไปหมักเป็นปีเลยล่ะครับ
หรือว่า มันมีอะไรที่มากกว่านั้นครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/08/2009 4:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ระบบการทำงานของหม้อนึ่งความดัน "ความดัน กับ อุณหภูมิ" จะไปพร้อมกันโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ความดันมาก อุณหภูมิก็จะสูงมากตาม
การที่จะใช้ความดันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ วัสดุที่เราจะนำมานึ่ง
การเลือกใช้วิธี "นึ่งความดัน" กับการ "หมัก" ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคนทำ
เรื่องนี้ลุงคิมเพิ่งได้ข้อมูลมา ใหม่ๆซิงๆ กันเลย ได้มาปุ๊บก็เอามาเล่าสู่กันฟังปั๊บนี่แหละ
เรื่องของเรื่องอยู่ที่ จากอมิโนโปรตีนธรรมดาๆ จะพัฒนาให้เป็น "อมิโนโปรตีน ซุปเปอร์" ได้หรือไม่ อย่างไร นั่นต่างหาก
ยังมีอีกหลายข้อมูลใหม่ที่เพิ่งได้มา คอยติดตามเว้บนี้ต่อเนื่องไว้เถอะ เวลาคุยกับใครจะได้ไม่ถูกมองว่าขี้โม้
ลุงคิมครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/11/2009 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 04/08/2009 8:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณครับลุง และพี่ๆเพื่อนๆสมาชิก ที่ร่วมแถลงไข |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Shark หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 04/08/2009 ตอบ: 16
|
ตอบ: 15/08/2009 3:00 am ชื่อกระทู้: |
|
|
กระทู้นี้ มีคนสนใจเยอะเลยน่ะลุงผมขอ up ให้อีกหน่อยดีกว่า น่ะ
นอกจากสัปปะรดแล้ว ยังมีเอนไซม์อีกหลายตัวเลย ทีช่วยย่อยโปรตีนได้เลือกกันเอาเองเลย ตัวไหนถูก หาง่ายก็เลือกตัวนั้น
Source of Enzyme
PLANT
Malted grains or tubers Amylase
Pineapple Bromelin (Protease)
Fig Tree Ficin (Protease)
Papaya Papain (Protease)
ANIMAL
Liver Catalase (Peroxide Breakdown)
Calf Stomach Rennet/Chymosin (Milk Clotting)
Hog Stomach Pepsin (Protease)
Hog Pancreas Pancreatic Enzymes (Several)
Digestive Tract Trypain (Protease)
MICROBIAL
Fungi (Molds and Yeast) amylase, beta glucanase, hemicellulase, protease, cellulase, pectinase, lipase, (many types of each), lactase
BACTERIA
Amylase, protease, isomerase, lactase (many types of each), rennet, oxidase, catalase, beta-glucanase, hemicellulase.
ขอบคุณ http://www.microtack.com/ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 19/08/2009 7:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
กระทู้นี้เริ่มจาก "อะมิโน โปรตีน" แล้วไหงกลายเป็น โบมาเรน" ไปได้.....เง็ง
กลับมาที่ "อะมิโน โปรตีน. อย่างเก่า.....
ผลิตภัณท์เสริมอาหารในท้องตลาดตัวหนึ่ง คือ "แบลนด์" นัยว่านั่นคือซุปไก่
ทราบว่าผลิตภัณท์เสริมอาหารประเภทนี้ อย.สหรัฐ. ระบุว่าอุดมไปด้วย "อะมิโนโปรตีน"
ปุจฉา - วิสัชนา :
โปรตีน.ที่ มนุษย์ - สัตว์ - พืช ต้องการนั้นอยู่ในรูปของ อะมิโน
ถึงจุดนี้ ทำอย่างไร ด้วยเทคโนโลยีอะไร จึงจะผลิต อะมิโน โปรตีน. ให้พืชเราได้
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/10/2009 6:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mangotree สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009 ตอบ: 95
|
ตอบ: 19/08/2009 9:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุง
อะมิโนโปรตีน มีประโยชน์กับพืชอย่างไรบ้างครับ?
คน/สัตว์ ได้รับอะมิโนโปรตีน ถ้าตามปกติก็จากอาหารที่บริโภคในทุกๆมื้อและ
จากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เสริมอาหาร จำแนกได้ 3 ประเภท คือ ย่อยโปรตีนด้วยจุลินทรีย์
ย่อยโปรตีนด้วยเทคโนโลยี ( ไก่ดำตุ๋นยาจีน ) และสารช่วยย่อยโปรตีน ฯ
อะมิโนโปรตีน มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์ อย่างไร?
จากการดูหนังจีนกำลังภายใน พระเอกที่ได้รับบาดเจ็บจากการประมือกับคู่ต่อสู้ฝีมือดี
มักได้รับการเยียวยารักษาด้วยน้ำแกงซุปไก่ตุ๋น เพื่อฟื้นคืนกำลังภายในและสุขภาพร่างกาย
ก่อนกลับไปฝึกฝนวิชาวิทยายุทธภายในหุบเขา ใต้น้ำตกเพื่อค้นสัจธรรม
ต้นไม้ ก็ต้องกินซุปไก่( อะมิโน ) เพื่อเสริมบำรุงขบวนการต่างๆภายในต้น
ถ้าต้นไม้ไม่เคยได้รับอะมิโนโปรตีนเลย ต้นไม้จะมีสุขภาพเช่นไรครับ?
คน/สัตว์/พืช มีกระบวนการสังเคราะห์อะมิโนโปรตีน แตกต่างกันอย่างไรครับ ?
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 19/08/2009 9:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
TO K.AORRAYONG
ช่วยหาข้อมูลเรื่อง "อะมิโน" ที่เป็นวิชาการแท้ๆ COPY มาลงไว้ให้ด้วย
แล้วลุงคิมจะเสริมข้อมูลที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านเพิ่มเติมให้ เพื่อการ
ตัดสินใจ "ทำเอง" ต่อไป
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/10/2009 6:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 19/08/2009 10:17 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B
8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%
E0%B9%82%E0%B8%99
กรดอะมิโน
กรดอะมิโน (อังกฤษ: amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า α-คาร์บอน
เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเปปไทด์
โครงสร้างทั่วไป
กรดอะมิโนเป็นหน่วยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโปรตีน โดยสร้าง พอลิเมอร์ ที่เป็นโซ่สั้นๆ เรียกว่า เปปไทด์ หรือ พอลิเปปไทด์ และกลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าโปรตีน โครงสร้างทั่วไปของโปรตีโนเจนิก แอลฟ่า อะมิโน แอซิด คือ:
COOH
|
H-C-R
|
NH2
หมู่ "R" แทน โซ่ข้าง (side chain) หรือหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งมีความเฉพาะสำหรับกรดอะมิโนแต่ละตัว กรดอะมิโนแบ่งตามคุณสมบัติของหมู่ฟังก์ชัน ได้เป็น [1]
กรดอะมิโนที่นอกเหนือจากกรดอะมิโนมาตรฐาน
กรดอะมิโน 20 ตัวถูกตั้งรหัสโดยมาตรฐานรหัสพันธุกรรม และถูกเรียกว่า โปรตีโนเจนิก หรือกรดอะมิโนมาตรฐาน นอกเหนือจากกรดอะมิโน 20 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนแล้ว ยังพบกรดอะมิโนอื่นๆอีก เช่น
* ในโครงสร้างของโปรตีน มีกรดอะมิโนที่ดัดแปลงโครงสร้างไปจากกรดอะมิโน 20 ชนิดข้างต้น ตัวอย่างเช่น
o เดสโมซิน (desmosine) พบในเส้นใยอีลาสติน
o ซีลีโนซิสทีอีน มีหมู่ Se แทนที่ O ในโมเลกุลของซิสทีอีน พบในโมเลกุลของเอนไซม์ กลูตาไทโอน เปอรอกซิเดส (Glutathione peroxidase)
o ไทโรซีน (thyrosine) พบในไทโอโกลบบูลินที่สังเคราะห์โดยต่อมธัยรอยด์
o กรดอะมิโนอะดิปิก (aminoadipic acid) พบในโปรตีนในข้าวโพด
* มีอีกอย่างน้อย 2 ตัวที่กำหนดรหัสโดย DNA ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ได้มาตรฐานดังนี้:
o ซีลีโนซิสตีอีน (Selenocysteine) ถูกใส่เข้าไปในโปรตีนบางตัวที่ UGA โคดอน, ซึ่งเป็นโคดอนสำหรับหยุด
o ไพร์โรไลซีน (Pyrrolysine) ถูกใช้โดย เมตทาโนเจน (methanogen) บางตัวใน เอนไซม์ ที่มันใช้สำหรับผลิตมีเทน มันถูกกำหนดรหัสให้เหมือน ซีลีโนซิสตีอีน แต่กับ UGA โคดอน แทน
* กรดอะมิโนและอนุพันธ์ที่ไม่เป็นองค์ประกอบของโปรตีน แต่มีหน้าที่สำคัญทางชีวภาพอื่น เช่น
o กาบา (GABA) เป็นสารส่งสัญญาณประสาท
o อีพิเนปพริน (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากไทโรซีน
o เพนิซิลลามีน (Penicillamine) เป็นส่วนประกอบของเพนนิซิลิน
o ไกลซีน และ กลูตาเมต เป็นสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitters)
o คาร์นิตีน (carnitine) ใช้ประโยชน์ในการขนย้าย ลิพิด ภายใน เซลล์
o ออร์นิทีน (ornithine)
o ซิตรูลลีน (citrulline)
o โฮโมซิสตีอิน (homocysteine)
o ไฮดรอกซิโพรลีน (hydroxyproline)
o ไฮดรอกซิไลซีน (hydroxylysine)
o ซาร์โคซีน (sarcosine)
* กรดอะมิโนหลายตัวสามารถใช้สังเคราะห์โมเลกุลอื่นได้ เช่น:
o ทริปโตแฟน (tryptophan) เป็น สารตั้งต้น ของสารส่งผ่านประสาท เซอโรโทนิน (serotonin) ;
o ไกลซีน (glycine) เป็นหนึ่งใน ตัวทำปฏิกิริยา ในกระบวนการสังเคราะห์ พอร์ไฟริน (porphyrins) เช่น ฮีม (heme)
* กรดอะมิโนอื่นที่มีในโปรตีนธรรมดาเกิดขึ้นโดย การปรับแต่งหลังทรานสเลชัน, (post-translational modification) คือปรับแต่งหลัง ทรานสเลชัน ใน การสังเคราะห์โปรตีน การปรับแต่งเหล่านี้บ่อยครั้งมีความสำคัญต่อหน้าที่ของโปรตีน เช่น
o โปรลีน (Proline) เป็นกรดโปรตีโนเจนิกอะมิโน เท่านั้นที่ หมู่ข้าง เป็นไซคลิก และเชื่อมต่อกับ หมู่ เอ-อะมิโน เกิดเป็นหมู่ทุติยภูมิอะมิโน เดิมทีโปรลีนถูกเข้าใจผิดเรียกเป็น กรดอิมิโน
กรดอะมิโนมากกว่า 100 ชนิดพบในธรรมชาติบางตัวถูกตรวจพบได้ใน มีทีโอไรต์ (meteorite) โดยเฉพาะประเภทที่รู้จักกันในชื่อ คาร์บอนาซีอัลคอนไดรต์ (carbonaceous chondrite) จุลินทรีย์ และ พืช บางครั้งผลิตกรดอะมิโนชนิดผิดปกติมากๆ ออกมา ซึ่งสามารถพบได้ใน ยาปฏิชีวนะ ประเภทเปปทีดิก เช่น นิซิน (nisin) หรือ อะลาเมตทิซิน (alamethicin) แลนไทโอนีน (Lanthionine) เป็นไดเมอร์ของอะลานีนที่เชื่อมกันด้วยพันธะแบบซัลไฟด์ซึ่งพบร่วมกับกรดอะมิโน อิ่มตัว ในแลนติไบโอติก (lantibiotics-แอนติไบโอติกเปปไทด์ของ แหล่งกำเนิดจุลินทรีย์) 1-อะมิโนไซโคลโพรเพน-1-คาร์บอกซิลิก แอซิก (1-Aminocyclopropane-1-carboxylic acid-ACC) เป็นกรดอะมิโนไซคลิกlic และเป็นผลผลิตระหว่างทางของการผลิต ฮอร์โมน พืช เอตทิลีน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 21/08/2009 5:44 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 19/08/2009 10:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
กรดอะมิโนจำเป็น
บางตัวใน 20 ตัวของกรดอะมิโนมาตรฐานเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) เพราะว่ามันไม่สามารถสังเคราะห์ ได้โดย ร่างกาย แต่ได้จาก สารประกอบ ผ่าน ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเราได้รับโดยการกินเข้าไป ใน มนุษย์ กรดอะมิโนจำเป็นได้แก่
* ไลซีน (lysine)
* ลิวซีน (leucine)
* ไอโซลิวซีน (isoleucine)
* เมตไทโอนีน (methionine)
* ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine)
* ทรีโอนีน (threonine)
* ทริปโตแฟน (tryptophan)
* วาลีน (valine)
ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้
* ฮีสติดีน (histidine)
* อาร์จินีน (arginine)
คำว่า กรดอะมิโนโซ่สาขา หมายถึงกรดอะมิโนอะลิฟาติกซึ่งได้แก่: ลิวซีน, ไอโซลิวซีน และ วาลีน
ลักษณะทางโครงสร้าง
ไอโซเมอริซึม (Isomerism)
ยกเว้น ไกลซีน ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชัน R = H กรดอะมิโนที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ที่จะมี 2 ออพติคัล ไอโซเมอร์ เรียกว่า D และ L กรดอะมิโน L จะแทนกรดอะมิโนจำนวนมากมายที่พบใน โปรตีน กรดอะมิโน D พบใน โปรตีน ที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดพิเศษ เช่น หอยทากกรวย (cone snail) และพบเป็นส่วนประกอบจำนวนมากของ ผนังเซลล์ (cell wall) ของ แบคทีเรีย
ปฏิกิริยา (Reactions)
โปรตีนจะถูกสร้างโดยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน ของกรดอะมิโนโดย พันธะเปปไทด์ ในกระบวนการที่เรียกว่า ทรานสเลชัน (translation)
การเกิดพันธะเปปไทด์
1. กรดอะมิโน ; 2, โครงสร้างzwitterion; 3, แสดงพันธะเปปไทด์ระหว่างกรดอะมิโน 2 ตัว (ดูด้วย พันธะเคมี) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|