-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ทุเรียน-มังคุดร้อยปีสวนคุณไพบูลย์ (AORRAYONG)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ทุเรียน-มังคุดร้อยปีสวนคุณไพบูลย์ (AORRAYONG)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 09/06/2010 1:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประมาณเฮียอ๊อดว่าเลยครับ ปีนี้ตลาดหมดแล้วแล้วครับ ต้องรอดูปีหน้า ผมเคยนั่งรอขายถึง 2 ทุ่มครับ กว่าจะขายออกราคาไม่ต้องพูดถึง ยิ่งมืดยิ่งถูกเลือกเอาจะขายถูกหรือจะเอากลับบ้าน ไม่สนว่าทุเรียนจะแก่มากขนาดไหน (แต่ไม่เอาทุเรียนอ่อนนะครับ) ที่นี่เป็นสุสานของผลไม้ทุกชนิดที่มีในแถบอำเภอแกลง เขาชะเมา วังจันทร์ มีนายายอามเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ เรียกว่าตลาดตาย

จะมีทั้งแม่ค้าขายส่งหรือแม่ค้าแผง (ตลาดไท ตลาดเขมร ฯลฯ) จะมีแผงประจำ พ่อค้าแม่ค้าทั่วๆไป ถ้าเป็นพวกแม่ค้าที่ขายของจังหวัดใกล้ระยอง เช่น ชลบุรี พัทยา ฉะเชิงเทรา พวกนี้จะมาซื้อผลไม้ตอนเช้า กลับประมาณบ่ายๆ ประมาณรีบมารีบไป พวกนี้ซื้อของแพงครับ ไม่เรื่องมากแต่เอาของปริมาณไม่มาก แต่เอาผลไม้หลายๆ ชนิด

ที่สำคัญคือ พวกพ่อค้าแม่ค้าจับเอากำไรประมาณ 0.50 บาทเป็นต้นไป ชุดนี้จะเป็นตัวกดราคาเพราะถ้าเขาซื้อของได้ถูก เขาก็จะได้กำไรมากขึ้น พวกนี้จะยืนรออยู่ตรงปากทางเข้า

วันไหนที่ทุเรียนออกมากันเยอะๆ วันนั้นพวกพ่อค้าแม่ค้าจะกดราคาลง โดยเฉพาะช่วงเย็นๆ ปีที่แล้วผมจะตัดทุเรียนแก่ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็น ปีนี้ลองตัด 80 เปอร์เซ็นขึ้นไป เพื่อทดลองตลาด ดูบางลูกสุกในปลิงเลย ผลคือ ถ้าเราได้ขายกับพ่อค้าแกะ (แกะทุเรียนขาย) ผมขายได้ราคาดี คือ ราคาที่เราต้องการไม่ได้แพงมากนะครับ ขนาด 2.8-5 กิโลกรัม หรือเรียกว่าเบอร์หัว(ไม่ใช่เบอร์กล่อง) ราคาที่ 29 บาท/กิโลกรัม ขั้วหักไม่เอา (ปีก่อนไม่เคยต่อรอง)

แต่โชคไม่ได้เข้าข้างเสมอ วันต่อมาผมก็นำทุเรียนแบบนี้ไปขายอีก แต่ต้องเอากลับบ้านเพราะไม่ยอมลดราคาลงเหลือ 27 บาท กลับบ้าน 2 ทุ่ม และเป็นอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง เพราะพวกแม่ค้าจะจำได้ว่าเราชอบบอกราคาแพง เขาจะไม่มาสนใจของเราเลย ไม่ถาม ผมเคยถูกแม่ค้าแซวว่า "เป็นไงขายของแก่ ขายออกหรือเปล่า"

ที่จริงผมจะขายทุเรียนตัวเองในราคาถูกๆ ก็ได้ เพราะเป็นของตัวเองแต่ทำไมเราต้องยอมให้พวกพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ใน 1 ปีพ่อค้าแม่ค้าทำงานแค่ เดือนกว่าๆ รวยกว่าชาวสวนที่ต้องทำงานทั้งปี ชาวสวนหลายคนที่ยอมพ่อค้าแม่ค้า หลายคนก็ไม่ยอม (หมายถึงยอมให้กดราคาต่ำจนน่าเกลียด เช่น จาก 28 บาทเหลือ 25 บาท)

ทางแก้ไขอย่างที่คุณอ้อแนะไว้ก็เป็นทางออกที่ดี แต่ผมยังไม่พบ ปีหน้าคงต้องค้นหาหน่อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 09/06/2010 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชอบประโยคนี้จริงๆ
คำพูด:
ของตัวเอง แต่ทำไมเราต้องยอมให้พวกพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง ..... ใน 1 ปีพ่อค้าแม่ค้าทำงานแค่เดือนกว่าๆ รวยกว่าชาวสวนที่ต้องทำงานทั้งปี




ศัพท์การแบ่งเกรดทุเรียน

1.ไอ้เข้ = ทุเรียนผลใหญ่สุดประมาณ 5 กก.ขึ้น ทรงดีพูเต็ม แก่จัด (ราคาดี รับซื้อไม่อั้น)

2. เบอร์กล่อง = ทุเรียนเบอร์สวยที่สุด ทรงสวย มี 4 พูเต็ม หนามสวย (หนามบริเวณขั้วไม่ติดกัน) ไม่มีตำหนิ น้ำหนักประมาณ 2.7 - 4.5 กก. เปอร์เซ็นต์แก่ 80 ขึ้น ใช้ไม้เคาะต้องไม่มีเสียงปุ (ทุเรียนกำลังจะสุก) เรียกเบอร์กล่อง เพราะพ่อค้าจะซื้อใส่กล่อง (ลังกระดาษ) ส่งนอก

3. เบอร์กลาง = ทุเรียนเบอร์รองจากเบอร์กล่อง ทรงสวย มี 3 พูครึ่ง - 4 พู หนามสวย น้ำหนักประมาณ 2 - 4 กก. แก่ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้น เคาะไม่ปุ หากเป็นช่วงที่ทุเรียนขาด (น้อย) อาจขยับตำแหน่งเป็นเบอร์กล่องได้

4. เบอร์หาง = ทุเรียนผลเล็กกลม ขนาด 1-2 กก. หรือทุเรียนผลใหญ่ แต่รูปทรงแป้ว (มีแค่ 2 พูครึ่ง) หนามที่ขั้วอาจติดกันได้บ้าง เคาะไม่ปุ

5. ป๊อกแป๊ก = ทุเรียนตกไซด์ที่กล่าวมาทั้งหมด เคาะไม่ปุ หรือผลใหญ่แต่มีแค่พูเดียว

6. สุก แตก หล่น = ทุเรียนส่งเขมร หรือเอาไปกวน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 11/06/2010 11:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคุณอ๊อด

"ทุเรียนอ่อนขายดี ทุเรียนแก่ขายไม่ได้" ...... ปัญหาโลกแตก อยากจะรู้นักว่าใครจะช่วยได้

ทุกวันนี้ที่สวนคุณไพบูลย์ทุเรียนหมอนทองยัังอยู่บนต้นอีกเกือบตัน เลือกตัดเฉพาะที่แก่จัดเท่านั้น ที่เหลือเก็บเอาไว้บนต้นรอลูกค้าที่ยังไม่ได้ทาน ยังไม่ได้เที่ยว ก็เห็นว่าทุเรียนยังอยู่บนต้นได้ ไม่เห็นจะร่วงเลย กลับเป็นโอกาสที่ดีเสียด้วย จะขายแพงเท่าไหร่ก็ไม่มีใครว่า เพราะทุเรียนในท้องตลาดแทบจะไม่มีแล้ว สวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรส่วนใหญ่ก็ปิดฤดูกาลกันไปทุกสวนแล้ว เหลือสวนคุณไพบูลย์สวนเดียวที่ยังมีทุเรียนให้ลูกค้าทานอยู่ มีลูกค้าโทรเข้ามาจองเที่ยวสวนจำนวนมากในช่วงเสาร์-อาทิตย์นี้ .......นี่เป็นโอกาสใช่หรือเปล่า?

แล้วที่ตัดกันโครมๆ เมื่อ 1-2 เดือนที่แล้ว คิดเองแล้วกันว่าทุเรียนจะแก่ซักกี่เปอร์เซ็นต์ (หรือว่าอ่อน 100%) แปลกดีนะ ปีนี้ปริมาณผลผลิตทุเรียนลดลง แต่ทำไมราคาต่ำกว่าปีที่แล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 12/06/2010 9:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลง-หลิน เมืองลับแล (หยั่งรากผลิใบ)



ต้นฤดูผลไม้ปีนี้เจอทุเรียนอ่อน จนรู้สึกได้ว่า ถ้าเกษตรกรชาวสวนยังคิดกันแบบนี้ อนาคตผลไม้ไทยก็ไม่น่าจะไปได้ไกล

ต้นฤดูทุเรียนอ่อน เพราะราคาดี เลยรีบเก็บออกขาย คนซื้อก็ไม่ได้ของคุณภาพทั้งที่ราคาแพง

แม้ฟ้าช่วงฝนหนักดูน่ากลัวน่าหดหู่ แต่ฟ้าหลังฝนมันก็สดใสจริงๆครับ ผมมีโอกาสได้ลิ้มชิมรสทุเรียนพันธุ์นกกระจิบจากสวนคุณไพบูลย์ อรัญนารถ (082)210-0188 แห่ง ต.นาตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง นอกจากคุณภาพเยี่ยมแล้ว กระบวนการผลิตและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ทำให้นกกระจิบที่ระยองสามารถสร้างราคาได้กิโลละ 90 บาท ถือเป็นราคาที่ดีมาก

จริงๆที่สวนคุณไพบูลย์ยังมีทุเรียนพันธุ์หลง กับพันธุ์หลิน แห่งเมืองลับแล แต่ไม่มีโอกาสลิ้มชิมรส จนกระทั่งพรรคพวกเพื่อนฝูงผู้มีอุปการคุณส่งทุเรียนมาให้ชิม 2 รอบ

รูปโฉมโนมพรรณสำหรับคนกินสมัครเล่นอย่างผม มองแล้วมันก็ไม่ต่างจากพันธุ์นกกระจิบ ขนาดลูกเล็กไม่เกิน 1 กิโล เปลือกบาง สุกแล้วปอกด้วยสองมือโดยไม่พึ่งมีดเลยก็ยังได้ เนื้อหวานละเอียด อร่อยครับ เม็ดลีบเล็ก เหมาะสำหรับทานคนเดียวเหมือนอย่างที่เคยคิดอ่านว่า เมื่อไหร่นักวิจัยจะสร้างพันธุ์ทุเรียนที่กินคนเดียวได้หมด ไม่ต้องแกะใส่ตู้เย็น

หลงลับแลไม่มีกลิ่นรัญจวน ผิดกับหลินกลิ่นแรงหน่อย คอทุเรียนไม่ว่าสมัครเล่นหรืออาชีพรับได้หมด

ปีนี้ถือว่าโชคดีมาก ที่ได้สัมผัสลิ้มรสทุเรียนพันธุ์ดี 3 ชนิด คือกระจิบ หลง และหลิน สำหรับผมนั้น เรียกว่า ลืมหมอนทอง ชะนี ก้านยาวไปได้เลย

เชื่อว่า ในปีต่อๆไปทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในตลาดทุเรียนมากขึ้น ทั้งที่ราคาดีตั้งแต่ระดับ 90 บาทจนถึง 150-250 บาทต่อกิโล

สำหรับทุเรียนเมืองลับแล หรืออุตรดิตถ์นั้น ความจริงมีมานานแล้วเป็นพันธุ์พื้นเมืองของเขา แต่บริโภคกันภายในถิ่น เพิ่งเริ่มขยายตลาดกันไม่น่าจะนานนัก

ถามว่า พันธุ์เหล่านี้เป็นพันธุ์ใหม่ไหม ตอบได้เลยว่า ไม่ ตรงข้ามเป็นพันธุ์เก่ากี่ถูกลืมด้วยซ้ำ

นี่คือคำตอบว่า ถ้ามีวิธีคิดที่ถูกต้อง บริหารจัดการถูกต้อง พันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลายก็จะอยู่รอดได้ เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ ต้องนั่งพิจารณามากกว่า แค่จะคิดง่ายๆ ขายง่ายๆเอาความสะดวกเป็นเกณฑ์

ทั้งสองกระทรวงคิดเหมือนคนสร้างหนังไทย ละครไทย นึกเอาแต่ว่า จะยัดเยียดอะไรให้กิน ให้เสพ ให้ชม คนไทยก็จะเอาอย่างนั้น โดยไม่เคยนึกว่า ความหลากหลายของสายพันธุ์นั้นคือมรดกอันยิ่งใหญ่ที่สามารถขยายผลได้ สร้างชื่อ สร้างราคาได้

ทุกวันนี้หมอนทองกลายเป็นพันธุ์พื้นฐานที่นักกินทุเรียนอาชีพแล้ว เขาไม่อยากกิน เขาอยากกินอะไรที่มันหลากหลายกว่านี้ ได้รส ได้ชาติกว่านี้

พูดไปแล้วก็เหมือนพนักงานบริการบนเครื่องบิน สารการบินแห่งชาติ แอบนินทาหลับหลังว่า บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยทั้งหลาย ขนาดเสิร์ฟไวน์หมดอายุแล้ว ยังบอกว่าอร่อยๆอยู่นั่นแหละ เพราะไม่เคยรู้ว่าไวน์ดีรสชาติเป็นยังไง

เรื่องผลไม้ เรื่องพืชผลการเกษตร หน่วยงานรัฐต้องเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการผลิตได้แล้ว เปลี่ยนวิธีคิดในการทำตลาดเสียที

ไม่งั้นเป็นได้แค่ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หรือไม่ก็ละม้ายผู้ใหญ่กินไวน์นั่นแหละครับ


ชีวินตัย


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/06/2010 10:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นี่คือเรื่องจริง ทุกวันนี้กระแสทุเรียนพื้นเมืองกำลังมาแรง ยิ่งแปลก ยิ่งน่าสนใจ อีกทั้งราคาก็ไม่สูงจนเกินความสามารถที่คนไทยจะเลือกสรรหามารับประทาน

หลงลับแล.กับหลินลับแล. ที่สวนได้พันธุ์มาจากเพื่อนบ้านที่ปลูกไว้ เนื่องจากมีแม่ค้าขายกิ่งพันธุ์เร่รถขายตามสวน แปลกดีนะไม่มีกลิ่นทุเรียน รสหวานจัด นำไปเปิดตลาดที่เสรีเซ็นเตอร์พร้อมกับทุเรียนนกระจิบ. ราคาขายที่เสรีเซ็นเตอร์อยู่ที่ 280 บาทต่อกิโลกรัม จำไม่ได้เหมือนกันว่าตัวเองตั้งราคา 280 บาทเพราะเหตุใด รู้แต่ว่าที่สวนมีแค่ 10 ต้น เป็นของดีและมีน้อยจริงๆ จึงตั้งราคาไว้สูง ณ ขณะนั้นราคาหลงลับแลที่อุตรดิตถ์อยู่ประมาณ 40-50 บาท เมื่อคนอุตรดิตถ์ได้มารับประทานและนำข้อมูลไปเผยแพร่ ทำให้ปัจจุบันราคาหลงลับแลที่อุตรดิตถ์สูงถึง 180 บาทและกลายเป็นของหายาก ถึงจะมีเงินแต่หามารับประทานไม่ได้

จะว่าไปแล้วการสร้างราคา หาตลาดไม่ใช่เรื่องยาก แต่ดูเหมือนหน่วยงานภาครัฐ "ทำเรื่องง่าย ให้เป็นเรื่องยาก" ทนดูความล้มเหลวของภาคเกษตรได้อย่างหน้าตาเฉย หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบขาดจิตสำนึก ขาดอุดมการณ์ นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น อย่าว่าแต่จะพัฒนาเลย ดูเหมือนเรากำลังถอยหลังเสียด้วยซ้ำ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
meninblack
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 81

ตอบตอบ: 14/06/2010 12:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เยี่ยมครับสำหรับกลไกตั้งราคา แต่สำหรับของที่มีตัวเลือกเยอะๆ เช่น ชะนี หมอนทอง เราจะสร้างกลไกได้อย่างไร Shocked Shocked

นกจิบ - นกกระจิบ - กระจิบ .... ชื่อเดียวกันใช่ไหมครับ ?

ปล.
ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า ทุเรียนลงกล่องบริษัทไหนที่มันทุบตู้เพื่อดั้มพ์ราคา เขาว่าตีกลับตั้ง 7 ตู้ แจ๋วจริงๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/06/2010 3:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แน่นอนของที่มีตัวเลือกเยอะ มีข้อเปรียบเทียบเรื่องราคา ถ้าอยู่ในพื้นที่เดียวกัน...ว่ามั้ย?

ทุเรียนหมอนทองที่สวนขายกิโลละ 70 บาท ตลอดฤดูกาล ส่วนชะนี 30 บาท แปลกดีนะ...ไม่พอขาย

ลูกค้าถามว่าทำไมแพงจัง ก็ถ้าพี่อยากได้ของเกรดตลาด ราคาตลาด พี่ก็ต้องไปตลาด ประเภทตาดีได้ตาร้ายเสีย ..... แต่ที่นี่รับประกันให้ทุกลูก นั้่นคือ แยกตัวเองออกมาจากตลาด กำหนดราคาให้สูงเทียบเท่ากับคุณภาพของสินค้า เริ่มต้นต้องกล้าได้กล้าเสีย เหลือก็เอามาแปรรูป

ทุเรียนกวนที่ไม่ผสมแป้ง ขายดีมาก พัฒนารูปแบบ ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย มีโอกาสถึงขั้นผลิตเพื่อการส่งออกได้ด้วยซ้ำ เพราะเคยมีคนมาติดต่อจะส่งออก

ทุเรียนทอดกรอบ ของฝากยอดฮิต เท่าไหร่ก็ไม่พอขายเช่นกัน ทั้งที่ราคา 400-500 บาทต่อกิโลกรัม ทุเรียนหมอนทองที่บำรุงผลขยายขนาดอย่างต่อเนื่อง เหมาะที่จะนำมาทำเป็นทุเรียนทอดกรอบอย่างมาก.....ทุเรียนทอดกรอบทำจากทุเรียนดิบ ทุเรียนดิบเร่งโตอย่างเดียวไม่ต้องเร่งหวาน แบบนี้บำรุงง่าย

ถ้าเราตกอยู่ในสถานะที่เป็นตัวเลือกเยอะ ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้เป็น "ของดี มีน้อย" ให้ได้

นกจิบ - นกกระจิบ - กระจิบ หรือแม้แต่ "นกหยิบ" จากการค้นคว้าข้อมูล นกกระจิบกับนกหยิบ คนละสายพันธุ์กัน ส่วนนกจิบหรือกระจิบ อันนี้ไม่แน่ใจ ต้องเห็นด้วยตาถึงจะบอกได้ แต่ตอนนี้นกกระจิบดังมาก จนมีพ่อค้าแม่ค้าเอาทุเรียนพันธุ์แปลกๆ มาอ้างว่าเป็นนกระจิบ ลูกค้าเจอมาหลายรายแล้ว นี่แหละนิสัยคนไทย

ถ้าไม่มีการส่งออกสินค้า เศรษฐกิจของประเทศจะไม่โต เห็นด้วยเป็นอย่างมาก แต่ถ้าส่งออกแล้วราคาที่ชาวสวนได้รับยุติธรรมสมเหตุสมผลก็ว่าไปอย่าง แต่ทุกวันนี้ราคาเฉลี่ยที่ส่งออกกับราคาที่ขายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แบ่งส่วนต่างกันจนสมใจ สุดท้ายเหลือเศษเงินเอามาให้เกษตรกร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/06/2010 7:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.naewna.com/news.asp?ID=216310

สวนผลไม้สวรรค์บนดิน (เกษตรสร้างสรรค์)

ความรู้สึกอิ่มเอมมักจะเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ผมเขียนถึงเรื่องทุเรียนพันธุ์นกกระจิบ สวนคุณไพบูลย์ อรัญนารถ (082) 210-0188 ที่ ต.นาตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง ต่างกรรมต่างวาระด้วยความรู้สึกที่ดี ที่ได้แลเห็นเกษตรกรไทยลืมตาอ้าปากได้

ปกติคนทำสวนผลไม้ อาจจะรวยซักปีหนึ่ง แล้วจนไปหลายปี วนเวียนอยู่ท่ามกลางกองทุกข์เหล่านี้ คุณไพบูลย์เองไม่ได้เลี่ยงพ้นกรรมอันนี้ แต่ความไม่ยอมแพ้ บวกกับมีครอบครัวที่มุ่งมั่น ทำให้สวนทุเรียนหมอนทองที่ล่มสลาย กลายเป็นสวนทุเรียนพันธุ์นกกระจิบ ซึ่งเกือบล่มสลายซ้ำสอง ได้ฟื้นคืนชีพอย่างสง่างาม

นอกจากใจสู้แล้ว กระบวนความคิดต้องถูกต้องด้วย เริ่มต้นตัวสินค้าก่อน มั่นใจว่าอร่อย ได้คุณภาพ ชิมแล้วต้องติดใจ และกระบวนการตลาดที่ถูกต้อง มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อ เพราะกลยุทธ์ราคากิโลละ 90 บาท คนทั่วไปคงเมิน แต่คนมีกำลังซื้อ เขาต้องการทุเรียนดี ราคาไม่อยู่ในความคิด เทียบทุเรียนเมืองนนท์ลูกละหลายร้อยจนถึงพันบาท เขายังสอยมากินเฉยเลย

ช่วงที่ผ่านมา คุณสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง โปรโมทสวนผลไม้ระยอง สวนทุเรียนคุณไพบูลย์เป็นสถานที่คัดเลือกให้คณะผู้สื่อข่าวเข้าไปชม กลับมาเขียนถึงทุเรียนพันธุ์นกกระจิบด้วยความทึ่งในการเป็นสวนที่กำหนดราคา เองได้ เท่านั้นเองบรรดาคอทุเรียน ทั้งจากกรุงเทพฯและจังหวัดอื่น ขับรถไปเสาะหานกกระจิบกันให้ว่อน

ขายดี....จนกระทั่งเกลี้ยงสวนในเวลาอันรวดเร็ว

ยังเหลือหมอนทองจนถึงวันนี้ ทั้งที่สวนอื่นวายไปแล้ว ถามคุณสุภาภรณ์ อรัญนารถ ลูกสาวและหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ได้รับคำตอบว่า ที่ยังเหลืออยู่ เพราะรอเก็บเกี่ยวจนถึงช่วงเวลาที่แก่จัด ถึงจะตัดขายลูกค้า ฟังแล้วอยากเห็นชาวสวนผลไม้คิดอย่างนี้ คำนึงถึงคุณภาพ ทำได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นกำหนดราคาได้เอง ทั้งที่เป็นผลไม้เหมือนกัน ชนิดเดียวกัน แต่ทำไมราคาที่ขายได้ต่างกัน คำตอบมันโต้งๆอยู่แล้วว่า คุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการผลิตตั้งต้น ท่ามกลาง และสุดท้าย

ทำสวนเป็นอาชีพอยู่แล้ว อย่าทำแค่เป็นอาชีพ แต่จงทำให้เป็นมืออาชีพที่ลูกค้าซูฮก ยอมรับราคา

เท่าที่สอบถาม คุณสุภาภรณ์เล่าว่า พอลูกค้าได้ชิม ซึ่งที่นี่ไม่หวงปอกให้ชิม ไม่มีใครเกี่ยงเรื่องราคา ตรงข้ามสั่งว่า จะเอากี่กิโล กี่ลูก กลับบ้านฝากคนนั้นคนนี้

ผมเขียนถึงสวนทุเรียนคุณไพบูลย์ สวนลองกองของคุณสุนทร ราชวัฒน์ ด้วยความประทับใจในความมุ่งมั่นผลิตผลไม้คุณภาพ เคารพต่อลูกค้า ไม่เอาเปรียบลูกค้า แล้วก็หวังว่าหลายๆสวนน่าจะลองศึกษา และลงมือแก้ปัญหาให้ตัวเองแทนการรอรัฐช่วยอย่างเดียว ซึ่งไม่ทันการณ์ ไม่ยั่งยืน และไม่สารพัดไม่ที่จะแก้ปัญหาจริงจัง

ไม่อยากเห็นระยองเต็มไปด้วยต้นยางพารา ซึ่งที่ไหนในโลกมีมากพอควร ผมอยากเห็นสวนผลไม้ระยอง และที่อื่นๆในเมืองไทย อยู่ได้อย่างดีท่ามกลางสินค้าเกษตรอื่น โดยไม่โลภ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และทำสวนผลไม้ให้เป็นสมบัติของประเทศตลอดไป

คนทำสวนผลไม้อยู่ได้ คนกินผลไม้อยู่ได้ ประเทศไทยคือสวรรค์บนดินดีๆนี่เองครับ

พอใจ สะพรั่งเนตร
วันที่ 23/6/2010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 23/06/2010 7:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







ผมเจอเจ้าของสวนทุเรียนกับสวนมังคุด ซอยวัดบางกร่าง ย่านสะพานพระราม5เลยขอเบอร์ไว้ ซึ่งสวนอยู่ซอยเดียวกับบ้าน พี่นุ้ยในกระทู้ ทำไมทุเรียนนนท์จึงแพง เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผมเข้าไปในซอยนั้น ผมถามพี่นุ้ยว่า รู้จักสวนทุเรียน คุณยายจ๋าย(เสื้อลาย)หรือเปล่า พี่นุ้ยบอกว่า รู้จักดีเลย ไว้วันหลังเข้าไปอีกครั้งครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/06/2010 7:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หยุดพักท่องตำรา พาลูกบุกสวน "ผลไม้ไทย" กันดีกว่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 มิถุนายน 2553 09:18 น.

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยทุกวันนี้ พ่อแม่ส่วนหนึ่งมักจะปล่อยให้ลูกอยู่กับการเรียน หรือการติว แต่ไม่ค่อยมีเวลาพาลูกไปเปิดโลกกว้างที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติ เด็กจึงไม่รู้รอบ และรู้กว้าง แม้แค่ในเรื่องของทรัพย์ในดินสินในน้ำ ของดีของบ้านเรา โดยเฉพาะ "ผลไม้ไทย" ส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่ถือเป็นสินค้าได้รับความนิยมสูง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เด็กไทยจำนวนไม่น้อย รู้จักผลไม้ไทยเพียงไม่กี่ชนิด เฉพาะที่คุณพ่อคุณแม่ซื้อมาให้รับประทานในครัวเรือนเท่านั้น

ด้วยแนวคิดนี้เอง ส่งผลให้ "สวน ไพบูลย์" โดย "สุภาภรณ์ อรัญนารถ" หรือ "อ้อ" เกษตรกรรุ่นที่ 4 เจ้าของสวนไพบูลย์ สวนผลไม้เชิงอนุรักษ์ จ.ระยองปิ๊งไอเดียน่าชื่นชมขึ้นมา และเปิดสวนเป็นแหล่งศึกษาเรื่องผลไม้ไทย รวมไปถึงองค์ความรู้การเกษตรอื่นๆ ให้เป็นตำรานอกห้องเรียนเล่มใหญ่สำหรับทุกครอบครัว

เกษตรกรสาวรายนี้ บอกเล่าว่า ต้องการให้เด็กๆ ได้รู้จักผลไม้ไทยมากขึ้น ประกอบกับให้เด็กได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่อนุรักษ์ความเป็นดั้งเดิม และเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวสวน โดยเชื่อว่า ถ้าหากเด็กได้เห็นผลไม้ไทย ทั้งเงาะ มังคุด ทุเรียนที่อยู่บนต้นจริงๆ เด็กจะมีความสุข เพราะนอกจากจะได้กินแล้ว ยังได้เห็นถึงที่มาของผลไม้ชนิดนั้นๆ เป็นการประดับความรู้ไว้ใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

"เด็กๆ บางคนได้เห็นผลไม้ที่อยู่บนต้น จะรู้สึกตื่นเต้น ผู้ใหญ่ก็ไม่ต่างกัน ตอนที่ไปเปิดตลาดขายทุเรียนที่กรุงเทพ มีผู้ใหญ่คนหนึ่งถามว่า ต้นของทุเรียนมันเป็นยังไง และนี่ก็เป็นเหตุผลที่อยากจะเปิดเป็นสวนผลไม้เชิงอนุรักษ์ โดยต้องการให้ทุกคนมีความรู้ว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น ทุเรียนจะออกผลตามลำต้น ส่วนต้นมังคุดก็มีกิ่งแตกออกมาจากลำต้นมีลักษณะคล้ายๆ กับขั้นบันไดแบบไขว้ ทำให้เด็กเห็นว่ากว่าที่มันจะออกผลให้ได้กินกันนั้น จะต้องมีการดูแลและใช้เวลาในการเติบโตหลายปี" เจ้าของสวนบอกถึงสิ่งที่เด็กๆ จะได้รับ


อย่างไรก็ดี ภายในสวนแห่งนี้ ยังเป็นสวนที่ให้เข้ามาชมการทำเกษตรเชิงอนุรักษ์ การทำสวนผลไม้แบบดั้งเดิม การเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวไร่ชาวสวนในอดีต รวมถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำการเกษตรบนพื้นที่ 200 ไร่ เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา โดยได้รวบรวมผล ไม้ไทยนานาชนิด เช่น มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะยงชิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหลากหลายสายพันธุ์ที่หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ทุเรียนพันธุ์นกกระจิบ พันธุ์หลงลับแล และมังคุดร้อยปี

"อยากให้ผู้ใหญ่ปลูก ฝังให้เด็กรู้คุณค่าของผลไม้ไทย คุณค่าในที่นี้นอกจากสารอาหารที่จะได้รับแล้ว ยังเป็นคุณค่าจากจิตใจที่ได้ช่วยกันอนุรักษ์ความเป็นไทย อีกทั้งเป็นการสร้างชีวิตใหม่ โดยการต่อลมหายใจของเกษตรกรไทยด้วย โดยเฉพาะลูกชาวสวน อยากให้เด็กรุ่นใหม่หันมาสืบทอดเจตนารมณ์ของพ่อแม่ชาวสวน และกลับมาพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้า โดยเรียนรู้ด้วยวิวัฒนาการของเกษตรกรรมที่เกิดขึ้น และต้องเป็นคนที่เข้ามาแก้ปัญหาได้ด้วย เช่น ราคาสินค้าตกต่ำ ต้องคิดเสมอว่าจะทำอย่างไรที่จะปรับความสมดุลให้เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยน ไปได้"

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่จะต้องบอกลูกให้วางตำรา หรืองดเรียนพิเศษ แล้วหาเวลาว่างพาลูกไปลุยสวนทำความรู้จักกับผลไม้ไทยกันบ้าง เพราะไม่เช่นนั้น ผลไม้ไทยอาจจะสูญพันธุ์ไปกับเด็กยุคใหม่ก็เป็นได้

*** ครอบครัวที่สนใจพาลูกลุยสวนผลไม้ ตลอดจนเรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรแบบไทย หรือบ้านที่ทำการเกษตร และมีปัญหาเรื่องการทำการเกษตรปรึกษาได้ฟรี โทร.08-2210-0188 และ 08-1567-6368 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.paiboonrayong.com
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 24/06/2010 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

TO คุณอ้อระยอง และ/หรือ สมาชิกท่านอื่นๆ

ช่วยโพสต์ภาพสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วให้ดูหน่อยซี่ จะดูว่าสภาพต้น โทรม/ไม่โทรม มากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับต้นไม้ผลที่จะทำให้ออกดอกติดผลเป็นผลผลิตในรุ่นการผลินปีต่อไป

เอา "ทุกมะฯ" เลยนะ


ขอบคุณล่วงหน้า
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 01/07/2010 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตามคำขอค่ะ :
สภาพต้นทุเรียนน "กระจิบ" และ "หมอนทอง " ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่เกษตรเข้ามาบอกว่า "ปีนี้ต้องใส่ปุ๋ยเคมีให้เยอะหน่อยนะ เพราะทุเรียนดกมาก ต้นโทรม"

ตอนติดดอกออกผลก็โทรมจริงๆนะ แต่เลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา หลังจากเก็บผลผลิตลูกสุดท้ายหลุดจากต้น วันรุ่งขึ้นก็เริ่มบำรุง โดยเน้นทางดินก่อน ให้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรเจริญเติบโต(30-10-10)" ทั้งหมด 3 รอบ (รอบละ 15 วัน) ทางใบให้ "สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ+แคลเซียม-โบรอน)" 3 รอบ เท่าที่เห็นทุเรียนฟื้นเร็วมาก จนพ่อชอบใจ บอกว่าใบเป็นมันสะท้อนแสง หูใบใหญ่ โรคและแมลงไม่รบกวน

ที่แน่ๆยังไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีซักแหมะเดียว













กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 01/07/2010 3:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีค่ะลุงคิม พี่และเพื่อนๆ Razz

ดูภาพ "มะ" สวยๆ ของคุณอ้อ ไปแล้ว ตอนนี้ดู "มะ" ไม่สวยของนกขุนทองบ้าง

- มะม่วงแก้วสวนนี้ เทวดาเลี้ยง (เพิ่งซื้อสวนนี้มา 2 ไร่กว่า) เก็บลูกขายไปแล้วค่ะ เลยผ่ากบาล ต้นใหญ่หน้าสวน ท้ายๆ สวนต้นจะเล็ก
ไม่ทราบว่าเพราะเป็นที่เนินหรือเปล่า

ภาพถ่ายเมื่อกลางเดือน มิ.ย.นี้เองค่ะ ใส่ยิปซั่ม กระดูกป่น เจริญเติบโตแล้ว รอฝน ทางใบยังไม่ได้ฉีดอะไรเลย

เทวดาเลี้ยง ต้นมะม่วงท้ายไร่ต้นจะเล็กเพราะเป็นที่เนิน ?


ผ่ากบาลต้นใหญ่หน้าสวน (ที่ราบ) เห็นแล้วตกใจ!!!!




เริ่มตัดกิ่งหลังเก็บลูก (ตัดเฉพาะต้นใหญ่ ทรงพุ่มแน่น)


งานนี้จะโดน "มะเหงก" ลุงคิม ป่าวเนี่ย
ดูไว้เป็นอุทาหรณ์นะค่ะ ประสบการณ์คดๆ งอๆ Laughing

" หูใบ " คือตรงไหนของใบเอ่ย ? (นึกถึงใบหูตัวเอง)

ขอบพระคุณค่ะ
นกขุนทอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 01/07/2010 5:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมไม่มีมะเหงก เพราะฉนั้นมั่นใจได้ในโลกนี้จะไม่มีใครโดนมะเหงกลุงคิมแน่

หูใบ. ก็คือ ก้านใบ ไงล่ะ....ใบประกอบด้วย ขอบใบ. ปลายใบ. เนื้อใบ. ก้านใบ. ใบบอนสีเรียกแปลกไปอีก กระดูก. สะโพก. หู. ติ่ง. ก็ว่ากันไป.... ภาษาไทย คนไทยพูดกันไม่รู้เรื่องหรอก เพราะมันมีภาษาท้องถิ่น ภาษาการตลาด เข้ามาเกี่ยวน่ะ



มองดูรูปการณ์แล้ว มะม่วงสวนนี้พัฒนาอีกนิด รับรองไปได้สวยแน่ เอาเถอะ ก.ทำกับมือ ถึงวันนั้นความภูมิจะเกิด หน้าจะบานเท่ากระด้ง.....ดีนะ หน้าบานๆ

ไร่กล้อมแกล้มซะอีก ลงไม้ไปแล้ว 3 ปี เพิ่งพบคำตอบว่า "ไม่ใช่" ก็ต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ อย่างที่บอกนั่นแหละ ต้องอาศัยระบบรากแก้วไงล่ะ แม้แต่รากแก้วจะเป็นคำตอบว่า "ใช่เลย" หรือไม่ ก็ยังพยากรณ์ไม่ได้อีกนั่นแหละ

ใจเย็นๆ สวนเกษตรดีเด่นระดับชาติผ่านเวลามาไม่น้อยกว่า 20 ปีทั้งนั้น กิจกรรมหลายอย่างเป็นเองด้วยธรรมชาติ เรียกว่า "ฟลุก" บางอย่างเท่านั้นที่ออกแบบสร้างขึ้นมาเองแบบจงใจ แม้แต่ปราชญ์ชาวบ้านก็ต้องผ่านเวลามาไม่น้อยกว่า 20 ปีเหมือน ขนาดเป็นปราชญ์ชาวบ้านแล้วยังไม่ร้จักแม็กเนเซียม.ก็มี ในขณะที่ของเราเพิ่งผ่านเวลามาไม่กี่ปี ทุกอย่าง คิด-วางแผน ล่วงหน้าแล้วจึงสร้างจึงปลูก แบบนี้ไม่ใช่ "ฟลุก" แน่นอน...... ถ้าดินไร่กล้อมแกล้มเหมือนคนอื่นซี่ เชอะ ป่านนี้ขายไปแล้ว

ทำไปเถอะทั้งล้มเหลวและสำเร็จมีประโยชน์ทั้งนั้น อย่างไร่กล้อมแกล้มมีให้เรียนรู้ทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ สำคัญแต่ว่า ประเด็นที่ล้มเหลวน่ะ เพราะอะไร ? แก้ไขอย่างไร ? ต่างหาก ที่ต้องค้นหาคำตอบให้ได้

คิดง่ายๆ ปุ๋ยสูตรลุงคิม สวนคนอื่นเอาไปใช้ O.K. แต่สวนลุงคิมไม่ O.K. ถามว่า เพราะอะไรน่ะเหรอ คำตอบก็คือ "ขี้เกียจ" แก้ไขอย่างไรน่ะเหรอ คำตอบก็คือ "ขยัน" ไงล่ะ


ชอบคิดแต่ไม่ชอบทำ
ลุงคิมครับผม

ปล.
คนมีหู 2 หู อยู่ซ้ายขวา..... ถ้ามีหูเดียวล่ะ มันควรจะอยู่ตรงไหน ? เพราะอะไร ?


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/07/2010 6:57 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 01/07/2010 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ปล.
คนมีหู 2 หู อยู่ซ้ายขวา..... ถ้ามีหูเดียวล่ะ มันควรจะอยู่ตรงไหน ? เพราะอะไร ?


Question อยู่ตรงสะดือจะดีไหมนะ...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 07/07/2010 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมคะ

ทุกปีที่ผ่านมาพ่อจะสั่งให้เรียกใบอ่อนมังคุดเพียงชุดช่วงเดือนสิงหาคม

ปีนี้ทดลองเรียกใบอ่อนมังคุดชุดแรกตั้งแต่กรกฎาคมเลย ด้วยการเพิ่มไธโอยูเรีย 300 กรัม ผสมกับฮอร์โมนน้ำดำ 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

วางแผนว่า ถ้าได้ใบอ่อนชุดแรกแล้วจะบำรุงอย่างต่อเนื่อง ถ้าฝนทิ้งช่วงนาน จะลองเปิดตาดอกดู ผลเป็นอย่างไรจะรายงานให้ทราบค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 07/07/2010 9:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สอบถามพี่อ้อครับ



ไผ่ในภาพนี้พันธ์อะไรครับ ชอบมากๆเลย หาซื้อยากไหมจะหามาปลูกที่บ้านบ้างครับ
ร่มรื่นดีจริงๆครับ มีเตียงผ้าใบนอนเล่นลมเย็นใต้ร่มไผ่ กลิ่นมะลิหอมโชยมา

พี่อ้อ คิดว่าไงครับ

อีกคำถามครับ



ที่เห็นในภาพเป็นท่อให้ปุ๋ยทางใบเหรอครับพี่ แล้วเราใช้หัวสปริงเกอร์แบบไหนครับ
จะลองนำมาดัดแปลงกับมะม่วงที่บ้านดูบ้าง มีอยู่หลายต้นเหมือนกัน
ครับผม
ยุทธ สวนมะลิ

ปล. สวนพี่อ้อ ไม่ดีเลยครับ ไม่ดีจริงๆ
ไม่ดียังไง ไม่ดีตรงไหน ติ๊กต็อกติ๊กต็อก ให้ปวดหัวเล่นๆน่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 07/07/2010 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป็นไผ่ที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยอากง ไม่แน่ใจว่าพันธุ์อะไร ที่บ้านมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ เวลาลูกค้าถามจะจำมั่วไปหมด ที่ถูกที่ควร ควรจะเขียนชื่อสายพันธุ์ไว้ให้ลูกค้าดูเน๊าะ

รู้แต่ว่าถ้าได้ยินเสียงปึกปัก โป๊กแป๊ก อยู่ที่ไผ่กอนี้ สี่ชั่วโมงให้หลัง จะได้กลิ่นปลาทอด เสียงตำน้ำพริก พร้อมกับหน่อไม้ต้มใหม่ๆ ล้อมวงกินข้าวเย็นกัน อร่อยอย่าบอกใครเชียว
(ของโปรดคุณไพบูลย์)

"อยากได้มาขุดเอาเอง"(จะรอ)

สปริงเกอร์ของต้นมังคุด 100 ปี ตอนนี้ยังไม่ WORK (Laughing) เพราะแรงดันน้ำไม่พอ หัวสปริงเกอร์แบบเดียวกับที่ไร่กล้อมแกล้มนั่นแหละ

วางแผนไว้ จะให้น้องๆกลุ่มระยองมา Learning by Doing and Learning by eating ที่สวนอีกซักรอบหนึ่ง เรื่องระบบสปริงเกอร์ล้วนๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 07/07/2010 10:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลุงคิมคะ ถ้าเราจะเอาใบอ่อนแค่ชุดเดียว คือใบอ่อนช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ เมื่อใบอ่อนแผ่กางและเพสลาด เริ่มสะสมตาดอกไปเรื่อยๆ จน 9 สัปดาห์ ประมาณกลางตุลาคมถ้าอั้นตาดอกเต็มที่ ฝนทิ้งช่วง งดน้ำ เราเปิดตาดอกไปเรื่อยๆ ถ้ามังคุดออกดอกจะได้ผลผลิตช่วงเมษายน ออกก่อนฤดูนิดหน่อย

โดยทั่วไปพ่อบอกว่า มังคุดจะออกดอกก็ต่อเมื่อกระทบหนาวช่วงสั้น และเมื่ออากาศเริ่มอุ่น มังคุดก็จะออกดอก แต่แท้ที่จริงน่าจะเกี่ยวกับการสะสมอาหารที่เพียงพอและการปรับ C/N Ratio มากกว่า...... ใช่หรือเปล่าคะ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 08/07/2010 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


มังคุดทีผลิใบอ่อนพร้อมกันทั้งต้น เนื่องจากความสมบูรณ์ของต้นหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
ในวันรุ่งขึ้นให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ "ระเบิดเถิดเทิงสูตรเจริญเติบโต (30-10-10)" ทางดิน 1 รอบ ทางใบให้
"ฮอร์โมนน้ำดำ" 1 รอบ

บางต้นเริ่มผลิใบอ่อนออกมา แต่ไม่พร้อมกันทุกต้น จึงเพิ่ม "ไธโอยูเรีย ผสมกับ ฮอร์โมนน้ำดำ" ฉีดพ่นเพื่อ
เรียกใบอ่อนอีก 1 รอบไปเมื่อวาน และวันนี้ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ "ระเบิดเถิดเทิงสูตรเจริญเติบโต
(30-10-10)" ทางดินอีก 1 รอบ พร้อมกับเพิ่ม 30-10-10 ไปอีก 400 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร


ภาษามังคุด-1 :
- ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ความสูงกับความกว้างทรงพุ่มควรเท่ากัน หรือกลม หรือความสูงมากกว่าความกว้างเล็กน้อย
กิ่งไม่ยาวเก้งก้าง แต่ละช่วงข้อในกิ่งยาวเท่าๆกัน กิ่งล่างไม่ถึงพื้น กิ่งในทรงพุ่มชี้ขึ้น 45 องศา ใบรอบทรงพุ่มมาก
แต่ใบในทรงพุ่มน้อย ต้นประเภทนี้เกิดจาก ต้นที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ด (เพาะเมล็ด) หรือยอดประธาน (เสียบยอด)
- ลักษณะทรงพุ่มที่ไม่ดี ความสูงน้อยแต่ความกว้างมาก (แบน) กิ่งยาวเก้งก้างหรือกิ่งเลื้อย กิ่งล่างยาวคลุมพื้น
ต้นประเภทนี้เกิดจาก ต้นที่ขยายพันธุ์จากกิ่งข้าง
- มังคุดต้นนี้มีความสมบูรณ์สูงมากๆ อันเป็นผลมาจากได้รับสารอาหาร "ครบสูตร/สมดุล" (ธาตุหลัก. ธาตุรอง.
ธาตุเสริม. ฮอร์โมน และอื่นๆ บน "ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร" ที่เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอ จนเกิด การ "สะสม" ........................................................................................................... ลุงคิม



มังคุดที่ยังไม่ผลิใบอ่อน



ภาษามังคุด-2 :
ตรวจความสมบูรณ์ของต้นผ่านใบ ใบใหญ่ เป็นมันวาว เนื้อใบหนา เขียวเข้ม เส้นแกนใบใหญ่นูน ขอบใบเป็นสัน
หูใบใหญ่อวบอ้วน ระยะห่างระหว่างใบต่อใบสั้นและเท่าๆกัน ใบที่มีลักษณะดังกล่าวควรมากกว่า 75% ของจำนวน
ใบทั้งต้น และเป็นใบรุ่นหรืออายุเดียวกัน ..........................................................................ลุงคิม





ใบอ่อนคู่ปลายสุดเป็นใบอ่อนที่ผลิออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ส่วนคู่ถัดไปเป็นใบของปีที่แล้ว


แขนงที่แตกออกมาพร้อมกับใบอ่อนชุดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดทิ้ง

ภาษามังคุด-3 :
กิ่งแบบนี้เรียกว่า "กิ่งกระโดง" เป็นกิ่งที่เกิดผิดตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล นอกจากสิ้นเปลือง
น้ำเลี้ยงแล้ว ยังเป็นเหตุให้ทรงพุ่มแน่นทึบ เป็นแหล่งอาศัยของโรคแมละแมลง ควรเด็ดทิ้งต้องแต่เริ่มเกิด......................................................................................................ลุงคิม






ต้นมังคุดที่ยังไม่ได้ลงมือตัดแต่งกิ่ง

ภาษามังคุด-4 :
หลักทางธรรมชาติวิทยาพืช ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ย่อมสดใสกว่าใบเก่า แต่ลักษณะอาการของใบเก่ายัง
สดใสเช่นนี้ เป็นสิ่งชี้วัดถึงความสมบูรณ์ของต้นในรุ่นปีการผลิตที่ผ่านมา (คุณภาพและปริมาณผลผลิตเป็นสิ่ง
บ่งชี้) ซึ่งจะส่งผลไปสู่รุ่นปีการผลิตต่อไป ดังนั้นจึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบำรุงต้นแบบ "สะสม
ต่อเนื่อง ปีต่อปี หรือรุ่นต่อรุน" ................................................................................. ลุงคิม



10 นาทีผ่านไป





อินทรีย์วัตถุทั้งนั้น อาจจะดูรก แต่มีคนบอกว่ามองให้เป็นศิลปะ


ศิลปิน ศิลปินกับศิลปะ แม้แต่กองขยะ มองให้เป็นศิลปะก็จะเป็นศิลปิน.......................................ลุงคิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 08/07/2010 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Yuth-Jasmine บันทึก:


ปล. สวนพี่อ้อ ไม่ดีเลยครับ ไม่ดีจริงๆ
ไม่ดียังไง ไม่ดีตรงไหน ติ๊กต็อกติ๊กต็อก ให้ปวดหัวเล่นๆน่ะ


ยอมแพ้...เฉลยได้แล้ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 09/07/2010 10:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

COPY.......ลุงคิมคะ ถ้าเราจะเอาใบอ่อนแค่ชุดเดียว คือใบอ่อนช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ เมื่อใบอ่อนแผ่กางและเพสลาด เริ่มสะสมตาดอกไปเรื่อยๆ จน 9 สัปดาห์ ประมาณกลางตุลาคมถ้าอั้นตาดอกเต็มที่ ฝนทิ้งช่วง งดน้ำ เราเปิดตาดอกไปเรื่อยๆ ถ้ามังคุดออกดอกจะได้ผลผลิตช่วงเมษายน ออกก่อนฤดูนิดหน่อย

โดยทั่วไปพ่อบอกว่า มังคุดจะออกดอกก็ต่อเมื่อกระทบหนาวช่วงสั้น และเมื่ออากาศเริ่มอุ่น มังคุดก็จะออกดอก แต่แท้ที่จริงน่าจะเกี่ยวกับการสะสมอาหารที่เพียงพอและการปรับ C/N Ratio มากกว่า...... ใช่หรือเปล่าคะ?



ตอบ :
คิดอยู่หลายวัน วันละหลายครั้ง ครั้งละหลายตลบ ตลบละหลายตื่น..... หาคำตอบ

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ข้อมูลทางเอกสารตำราหลายเล่ม จากนักวิจัยหลายคน วันนี้ลุงคิมว่า "ฉีกทิ้ง" ได้แล้ว เพราะ "ประสบการณ์ตรง" กับ" วิชาการ" มันคนละเรื่องเดียวกันเลย

ที่ออสเตรเลีย. อเมริกา. (สารคดีดิสคัพเวอรี่) เขาตรวจวัดหาปริมาณอัตราส่วนระหว่าง C. กับ N. ในต้นแอ๊ปเปิ้ลด้วยเครื่องมือ LAB เมื่อรู้อัตราส่วนระหว่าง C กับ N แน่นอนแล้วจึงลงมือเปิดตาดอก ซึ่งแอ๊ปเปิ้ลต้นนั้นออกดอกติดผลดกมากๆ ...... ในสารคดีเขาทำกับแอ๊ปเปิ้ล 3 ต้น ในขณะที่ทั้งสวนมีแอ๊ปเปิ้ลนับพันต้น ก็แสดงว่า ปฏิบัติการใน LAB ไม่เรื่องง่ายๆ จึงไม่สามารถทำกับแอ๊ปเปิ้ลทุกต้นทั้งสวนได้

แนววิเคราะห์ :
มังคุดปลูกกันมากในเขตภาคใต้ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว มิหนำซ้ำกลับมีฝนเสียอีกทั้งๆที่ภาคอื่นหนาว ถ้ามังคุดต้องการหนาว ภาคเหนือคงปลูกกันมาก หรือมากพอๆกับลิ้นจี่แล้ว

ช่วงหน้าหนาว (ธ.ค.- ม.ค.)ภาคตะวันออก อากาศคล้ายคลึงกับภาคเหนือ (หนาวนิดๆ) กับคล้ายภาคใต้ (มีฝนแต่ไมมากเท่า) การที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุให้ระบบสรีระพืชมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตด้วย

ปัจจัยอุณหภูมิจำเป็นหรือไม่ ? เมื่อลำไยภาคเหนือต้องกระทบหนาว 20 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 20 วัน จึงจะออกดอก (อ้างอิง : เอกสารงานวิจัย) แต่ลำไยที่ อ.เมือง ราชบุรี. อ.รัตตภูมิ สงขลา. อ.หนองเสือ ปทุมธานี. อ.โป่งน้ำร้อน จันทบุรี. อ.ปากช่อง นครราชสีมา. ไทรโยค กาญจนบุรี เหล่านี้ออกดอกเดือน ก.ค. ทั้งสิ้น ทั้งออกดอกด้วยการบังคับ (โปแตสเซียม-โซเดียม คลอเรต) และการบำรุง ทั้งๆ ที่เดือน ก.ค. ไม่มีจังหวัดใดของประเทศไทยหนาว ตรงกันข้าม ร้อนตับแทบแตกซะอีกแน่ะ.....ว่ามั้ย

เมื่อตรวจวิเคราะห์แล้ว ลำไยออกดอกในหน้าร้อนได้เป็นเพราะปริมาณอัตราส่วน C กับ N เหมาะสมต่อการออกดอก นั่นคือ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น เพราะต้นที่ไม่สมบูรณ์ปรากฏว่าไม่ออกดอก หรือออกน้อย ออกมาก็ไม่สมบูรณ์ จนไม่อาจพัฒนาเป็นผลได้ นี่ก็ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา

กับทั้งลิ้นจี่ อ.ดำเนินสะดวก อ.บ้านแพ้ว ราชบุรี อ.อัมพวา สมุทรสงคราม ออกดอกติดผลปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี เว้น 3 ปี ต่างกับลิ้นจีเชียงราย. เชียงใหม่. แม่ฮ่องสอน. ปากช่อง นครราชสีมา. กลับออกดอกติดผลทุกปี...... ความต่างของลิ้นจี่ภาคกลางกับภาคเหนือ เรื่องอุณหภูมิอาจจะ (เน้นย้ำ...อาจจะ) มีส่วนเกี่ยวกับการออกดอกด้วย เพราะทุกปีลิ้นจี่ภาคเหนือมีโอกาสกระทบหนาวส่วนใหญ่จึงออกดอกไม่ว่าต้นจะสมบูรณ์มากหรือน้อย ออกทั้งนั้น ในขณะที่ลิ้นจี่ภาคกลาง หากปีใดหนาวกว่าปีก่อนๆ ก็ออกดอกได้ แต่ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะบางต้นก็ไม่ออกเอาเอาซะเฉยๆ งั้นแหละ แต่ลิ้นจี่ภาคเหนือกับภาคกลางที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ล้นจี่ภาคเหนือเป็นสวนพื้นราบ ส่วนลิ้นจี่ภาคกลางเป็นสวนยกร่องน้ำหล่อ เพราะปัจจัยน้ำในร่องนี่แหละที่ส่งผลไปถึงปริมาณอัตราส่วนระหว่าง C กับ N ทำให้ลิ้นจี่ออกดอกหรือไม่ออกดอก.....ลิ้นจี่เป็นไม้ผลที่ต้องสะสมสารอาหารปริมาณมากๆ การเรียกใบอ่อนต่อ 1 รุ่นการผลิต ต้องให้ได้ใบอ่อนถึง 4 ชุด (อ้างอิง : เอกสารงานวิจัย) แต่ลิ้นจี่เชียงราย. เชียงใหม่. บางสวนบางปีเรียกใบอ่อนชุดเดียว บางสวนเรียกใบอ่อน 2 ชุด ต่างก็ออกดอกได้เหมือนๆ กัน.....วันนี้กำลังตามผลงาน ลิ้นจี่ อ.ทองผาภูมิ อ.ไทรโยค กาญจนบุรี สวนพื้นราบ สามารถออกดอกติดผลได้ทุกปี ไม่เคยเว้น ด้วยการบำรุงแบบ "อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม" ..... สรุป : สาเหตุที่ลิ้นจี่ภาคกลางเว้นการออกดอกติดผลเป็นเพราะ C/N RATIO ไม่ถูกต้อง


มังคุด....มังคุด....มังคุด....
วันนี้ยังไม่มีทั้งงานวิจัยและงานจากประสบการณ์ตรง ดังนั้นจึงขอให้บำรุงตามแนวทางนี้ต่อไป โดยเน้นให้ต้นได้รับและสะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม C และกลุ่ม N ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อถึงระยะเวลาอันพอสมควรจึงเริ่มปรับ C/N RATIO ดังนี้

ความรู้เรื่อง C/N RATIO :
1. C คือ สารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล ประกอบด้วย P. K. TE. & Ect. รวมเรียกว่า CARBON ได้มาจาก ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยเคมี, และแหล่งอื่นๆ

2. N คือ สารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น ประกอบด้วย N. (เพียงตัวเดียว) เรียกว่า NITROGEN ได้มาจาก ปุ๋ยไนโตรเจน (อินทรีย์และเคมี). น้ำ. (รดน้ำ. ฝน. ใต้ดิน. น้ำค้าง. ความชื้นสัมพัทธ์. ฯลฯ)

3. ก่อนลงมือเปิดตาดอก ถ้า C > N จะได้ดอก...... ถ้า C < N จะได้ใบ...... ถ้า C = N จะได้ใบแซมดอก

วัตถุประสงค์ของการปรับ C/N RATIO :
เพื่อ "เพิ่ม" ปริมาณ C และ/หรือ "ลด" ปริมาณ N ให้ต้นออกดอกเมื่อเปิดตาดอก


การปฏิบัติ :
1. ก่อนเริ่มลงมือปรับ C/N RATIO ต้องตรวจสอบข่าวสภาพอากาศ ให้มั่นใจว่า 1-2 เดือนหลังเริ่มลงมือจะต้องไม่มีฝน
2. ช่วงเรียกใบอ่อน ควรให้สารอาหาร (ธาตุหลัก - ธาตุรอง - ธาตุเสริม - ฮอร์โมน และอื่นๆ) ครบทุกตัว เท่าๆกันไปก่อน
3. ช่วงสะสมตาดอก ควรให้สารอาหารกลุ่ม C เป็นหลัก
4. ช่วงปรับ C/N เรโช ปฏิบัติดังนี้.....

ทางใบ :
- ให้ 0-42-56 เดี่ยวๆ หรือ 0-42-56 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม
- เสริมหรือสลับด้วย "นมสด" (C/N RATIO = 39 : 1), แคลเซียม โบรอน
- ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ ไม่ควรเปียกโชกจนตกลงพื้น เพราะจะกลายเป็นให้น้ำไป

ทางราก :
- งดให้น้ำเด็ดขาด
- เปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม เพื่อให้น้ำหน้าดินระเหยออกและแห้ง
- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อ ต้องสูบน้ำออกให้หมด


ปัจจัยเสริมที่จำเป็น :
- การรมควันให้ทั่วทรงพุ่มช่วงหลังค่ำก็เป็นเทคนิคการเพิ่มคาร์บอน.ได้อย่างหนึ่ง
- การควั่นกิ่ง, รัดกิ่ง การตัดปลายกิ่ง, ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถทำไม้ผลออกดอกหลังจากเปิดตาดอกได้
- การให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (กลูโคส) เป็นการเสริม "น้ำตาลและแป้ง" ซึ่งพืชต้องการใช้เพื่อการออกดอกโดยตรง
- การปล่อยให้ท่วมบริเวณโคนต้นขังค้างนาน 5-7 วัน แม้จะมีน้ำแต่ต้นไม่สามารถนำไปใช้ได้ ในขณะที่ต้นต้องคาย N ตลอดเวลา ไม่นานต้นก็จะเกิดอาการใบสลด นั่นคือปริมาณ N ภายในต้นเริ่มลดลงแล้วนั่นเอง

ลักษณะอาการต้นที่เกิดจากการปรับ C/N เรโช :
- ใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด, ใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ, สีใบเขียวข้มจัด, เนื้อใบกรอบ, เส้นใบนูน, หูใบอ้วน, ข้อระหว่างใบสั้น, กิ่งช่วงปลายกลม-เปราะหักง่าย, ตุ่มตาโชว์นูน
- ใบสลดตั้งแต่ก่อนเที่ยงแล้วฟื้นช่วงบ่าย 4-5 โมงเย็น ติดต่อกัน 3 วัน
- ลักษณะอาการเหล่านี้ บางรายการเกิดกับไม้ผลบางชนิด หรือไม้ผลแต่ละชนิดแสดงอาการไม่เหมือนกันทุกรายการ เช่น ตุ่มตามะม่วงกับตุ่มตาทุเรียนไม่เหมือนกัน, ตุ่มตามะพร้าวกับตุ่มตาฝรั่งไม่เหมือนกัน เป็นต้น มังคุดไม่มีตุ่มตา ลองกองก็ไม่มีตุ่มตา เมื่อไม่มีตุ่มตาให้สังเกตุก็ให้สังเกตุจากรายการอื่นแทนไงล่ะ


เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ให้กล่าวคำว่า...... "บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพเจ้าของเปิดตาดอก ณ บัดนี้...." กล่าวจบก็ให้พนักงานเปิดเพลงมหาฤกษ์ มหาชัย เป็นอันจบพิธี.....ผ่างๆ ๆๆ ตะลุ้งตุ๊งแช่


ลุงคิมครับผม




การทำมังคุดออก "ก่อน/หลัง" ฤดู

หลักการและเหตุผล :
ปัจจุบันยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใด บังคับหรือควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ผลให้ออกดอกติดผลนอกฤดู (ก่อน หรือ หลัง ฤดูกาลปกติ) แบบเป็นการเฉพาะได้

สารหรือฮอร์โมนที่นิยมใช้เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ผลได้แก่ พาโคลบิวทาโซล. อีทีฟอน. โปแตสเซียม ไนเตรท. โซเดียม คลอเรต. และไม้ผลยืนต้นที่ตอบสนองต่อสารหรือฮอร์โมนดังกล่าวได้แก่ มะนาว. ชมพู่. มะม่วง. สับปะรด. ทุเรียน. ลำไย.

"8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล"
ขั้นตอนที่ 1 ......................................................................... เรียกใบอ่อน
ขั้นตอนที่ 2 ......................................................................... สะสมตาดอก
ขั้นตอนที่ 3 ......................................................................... ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ขั้นตอนที่ 4 ......................................................................... เปิดตาดอก
ขั้นตอนที่ 5 ......................................................................... บำรุงดอก
ขั้นตอนที่ 6 ......................................................................... บำรุงผลเล็ก
ขั้นตอนที่ 7 ......................................................................... บำรุงผลกลาง
ขั้นตอนที่ 8 ......................................................................... บำรุงผลแก่

การปฏิบัติบำรุงเพื่อให้ต้นไม้ผลออกดอกติดผล "ก่อน" ฤดูกาล :
1. บำรุงต้นแบบ "สมบูรณ์สะสม" ต่อเนื่อง สม่ำเสมอมาแล้วหลายๆ รุ่นปีการผลิต
2. ไว้ผลในรุ่นปีการผลิตปัจจุบันน้อยๆ แต่บำรุงเต็มที่ เพื่อให้มีสารอาหารเหลือสำหรับรุ่นปีการผลิตหน้า
3. บำรุงผลรุ่นปีการผลิตปัจจุบันให้แก่เร็ว แล้วเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ด้วยสูตร "บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว"
4. เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงมือบำรุงเรียกใบอ่อนทันที เป้าหมาย เอาใบอ่อน 1 ชุด
5. ใบอ่อนออกมาแล้วบำรุงด้วยสูตร "เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่" 1-2 รอบ
6. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ ได้ใบกลางอ่อนกลางแก่แล้วบำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
7. บำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ 1-2 รอบแล้วให้ลงมือเปิดตาดอก
8. ช่วงผลใกล้แก่ ให้บำรุงด้วยสูตร "บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว" ทันที

หมายเหตุ :
- การเร่งผลบนต้นรุ่นปัจจุบันให้แก่เร็วกว่าปกติ สามารถย่นระยะเวลาของรุ่นปีการผลิตถัดไปได้ 10-15 วัน
- การเร่งใบอ่อนให้แก่เร็ว สามารถย่นระยะเวลาได้ 20-30 วัน
- การเร่งผลให้แก่เร็วกว่าปกติ สามารถย่นระยะเวลาได้ 7-10 วัน
- เทคนิคบำรุงที่ได้ผลดีสุด คื่อ บำรุงแบบ "ให้น้อยบ่อยครั้ง"


การปฏิบัติบำรุงเพื่อให้ต้นไม้ผลออกดอกติดผล "หลัง" ฤดูกาล :
1. บำรุงต้นแบบ "สมบูรณ์สะสม" ต่อเนื่อง สม่ำเสมอมาแล้วหลายๆ รุ่นปีการผลิต
2. เก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นปีการผลิตปัจจุบันแล้ว ทิ้งเวลา 10-15 วัน จึงเริ่มบำรุงด้วยสูตรเรียกใบอ่อน
3. ใบอ่อนออกมาแล้ว ปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติ
4. เรียกใบอ่อน 2 ชุด
5. บำรุงด้วยสูตรสะสมตาดอกให้นานขึ้น (เพิ่มรอบ)
6. บำรุงผลกลางให้นานขึ้น อาจเพิ่ม ยูเรีย จี.เกรด + แคลเซียม โบรอน.
7. ให้น้ำมากๆ เท่าที่ต้นรับได้ (ไม่ทิ้งผลแล้วแตกใบอ่อน)
8. งดการบำรุงผลแก่ด้วยสูตรบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว แต่ปล่อยให้ผลแก่เองบนต้น

หมายเหตุ :
- ช่วงบำรุงที่สามารถยืดระยะเวลาให้นานขึ้นได้ ได้แก่ เรียกใบอ่อน. สะสมตาดอก. บำรุงผลกลาง. และบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- ช่วงบำรุงที่ไม่สามารถยืดระยะเวลาให้นานขึ้นได้ ได้แก่ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก.


ตกลงจะเอา "ก่อน หรือ หลัง" ในต้นเดียวกันน่ะเลือกได้อย่างเดียวนะ ถ้าเอา 2 อย่าง จะไม่ได้เลยซักกะอย่าง



อื้อฮือ กว่าจะจบได้ ส่งหาย ส่งหาย....แล้วทำไงเหรอ ก็ต้องพิมพ์ใหม่น่ะซี.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/07/2010 2:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/07/2010 12:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:


แนววิเคราะห์ :
มังคุดปลูกกันมากในเขตภาคใต้ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว
มิหนำซ้ำกลับมีฝนเสียอีกทั้งๆที่ภาคอื่นหนาว ถ้ามังคุดต้องการหนาว
ภาคเหนือคงปลูกกันมาก หรือมากพอๆกับลิ้นจี่แล้ว


ลุงคิมครับผม


ใช่เลย

ขออนุญาตเอาเรื่อง C/N Ratio ไปตั้งกระทู้ใหม่ค่ะ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 09/07/2010 12:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 09/07/2010 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ใช่เลย..." น่ะ รู้แล้ว....อยากรู้ที่ "ไม่ใช่เลย..." น่ะ มีไหม ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/07/2010 1:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มังคุดที่นาตาขวัญ ปีหนึ่ง ปีหนึ่ง หว่านปุ๋ยเคมี เคมี-อินทรีย์ ขี้ไก่ ฯลฯ หนึ่งครั้ง

ใส่ปุ๋ยเคมี 13-13-21 อีกครั้งตอนบำรุงผล....เท่านี้จริงๆ

ไม่เคยให้สารอาหารทางใบกันเลย

เคยไปสัมมนาเรื่องการดูแลมังคุด ตอนนั้นยังไม่ใช่ศิษย์กล้อมแกล้ม ได้แต่โพสต์ถามลุงทางเว็บบอร์ด

ผู้เข้าร่วมสัมมนามีืั้ทั้งเจ้าหน้าที่เกษตรและ "ผู้นำเกษตรกรการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก" ด้วยความร้อนวิชา ที่ลุงสอน จึงยกมือถามว่า "แคลเซียม-โบรอน" มีความจำเป็นกับการบำรุงมังคุดหรือไม่ ? ....... งงกันเป็นไก่ตาแตก ..... ยัง ยังไม่หยุด ถามอีกว่า การใชปุ๋ยทางใบมีประโยชน์อย่างไร ?

หลังเวที ทั้งเจ้าหน้าที่เกษตรและเกษตรกร มามุงถามว่า เมื่อตะกี้พูดว่าอะไรนะ แคลอะไรนะ แล้วปุ๋ยทางใบสูตรอะไรนะจดไม่ทัน

โหย...เกษตรกรไม่เท่าไหร่แต่เจ้าหน้าที่นี่สิ

นี่งัย...ไม่ใช่เลย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©