ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 19/08/2010 9:36 pm ชื่อกระทู้: นโยบายจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนาไทย |
|
|
ที่มา http://thairecent.com/Business/2010/701073/
ตั้งกองทุนสวัสดิการกู้ศักดิ์ศรีอาชีพชาวนา-ห่วงไร้ทายาทสืบทอด
รัฐบาลตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยชาวนา 17 ล้านคน เพื่อต้องการให้เป็นอาชีพที่มีศักดิ์ศรี ควรต้องได้สิทธิประโยชน์เท่าเทียม ป้องกันทายาททิ้งอาชีพเดิมเข้าโรงงาน แจงลักษณะคล้ายกองทุนประกันสังคม ทั้งเงินบำเหน็จบำนาญ เงินสงเคราะห์บุตร โดยการเข้าเป็นสมาชิกแบบสมัครใจ เตรียมยกร่าง กม. เป็น พ.ร.บ. ตั้งตุ๊กตาจ่าย 3% ของรายได้ รัฐสมทบ 2% ด้านบอร์ด กขช.มีมติคงประกันรายได้ชาวนาปี 53/54 เท่าปีก่อน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยระบุว่า ที่ประชุม กขช.เห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปยกร่างกฎหมายการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมานำเสนอในรูปแบบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แต่การดำเนินงานจะต้องพิจารณาดูความสัมพันธ์ระหว่างกองทุนสวัสดิการชาวนา กับกองทุนเงินออมแห่งชาติด้วย ซึ่งได้รับรายงานว่าคณะกฤษฎีกาได้ดำเนินการตรวจร่างเสร็จเรียบร้อย และจะมีการนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเร็วๆ นี้
“หลักการในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนามีลักษณะคล้ายกับกองทุนเงินออม แห่งชาติ โดยชาวนาจะจ่ายเงินสมทบ ส่วนหนึ่งจากการขายข้าวในแต่ละปีเข้าสมทบในกองทุน และรัฐบาลจะออกเงินสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะใช้ระบบสมัครใจของชาวนาเองไม่มีการบังคับ”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุม กขช.ยังเห็นชอบให้คงราคา และปริมาณข้าวเปลือกนาปี ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรฤดูกาลผลิตปี 2553/2554 ในอัตราเดียวกับการดำเนินงานโครงการประกันรายได้ ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าต้นทุนในการปลูกข้าว และสถานการณ์ราคาข้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากปีที่ผ่านมามากนัก มีเพียงองค์ประกอบอื่นที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยใช้เงินไม่เกิน 40,000 ล้านบาทและได้ตั้งงบประมาณไว้เรียบร้อยแล้ว
นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กขช.เห็นชอบการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา มีรูปแบบคล้ายๆ กับกองทุนสวัสดิการสังคม โดยจะทำในรูปแบบสมัครใจ โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปยกร่างกฎหมายเพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พร้อมทั้งพิจารณาว่าจะสามารถร่วมกับกองทุนเงินออมแห่งชาติ ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาได้หรือไม่ โดยการพิจารณาครั้งนี้มีการตั้งตุ๊กตา เช่น ให้ชาวนาสมทบ 3% ของรายได้จากการขายข้าวเปลือกในแต่ละปี ขณะที่รัฐสมทบ 2 เท่า แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะต้องให้กระทรวงเกษตรฯ ไปจัดทำข้อมูลโดยละเอียดเพื่อออกมาเป็น พ.ร.บ.ก่อน
สำหรับสวัสดิการของชาวนาที่ร่วมโครงการประกอบด้วยเงินบำเหน็จบำนาญ เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เงินสงเคราะห์บุตร รวมทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิตโดยไม่ซ้ำซ้อนกับส่วนที่รัฐบาลจัดหาให้อยู่ แล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล โดยการบริหารกองทุนนี้จะประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล ชาวนา และผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรฯ ต้องหาวิธีบริหารจัดการกองทุนสำหรับสมาชิกบางรายไม่ให้ซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่น รวมทั้งกรณีที่ชาวนาบางรายที่ในบ้างครั้งก็เข้ามาอยู่ในระบบของกองทุนประกัน สังคม และบางครั้งก็กลับไปทำนา
ทั้งนี้ กรณีที่รัฐบาลเห็นควรจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อต้องการให้เป็นอาชีพที่มีศักดิ์ศรี เพราะเห็นว่าประเทศไทยมีชาวนามากถึง 3.7 ล้านครัวเรือน หรือ 15-17 ล้านคน หรือคิดเป็น 64% ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด โดยในแต่ละปีสามารถปลุกข้าวได้ผลผลิตมากถึง 30 ล้านตัน สร้างรายได้เข้าประเทศปีละ 180,000-200,000 ล้านบาท และมีการบริโภคในประเทศ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 230,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ข้าวนับเป็นวิถีชีวิตของคนไทย และชาวนาเป็นอาชีพยากลำบาก ตากแดดตากฝน ฐานะยากจน ที่สำคัญชาวนามีอายุมากขึ้น ขณะที่คนรุ่นใหม่ปฏิเสธการสืบทอดอาชีพชาวสวน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ยืนราคาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประจำปีการผลิต 53/54 เท่ากับปีก่อน โดยข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท รับประกันไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน โดยกำหนดให้ใช้ราคานี้เป็นเวลา 1 ปี จากเดิมที่คณะอนุกรรมการ กขช. เสนอให้คงไว้ 3 ปี แต่นายกฯเห็นว่าในการกำหนดราคาประกันรายได้แต่ละปีต้องคำนึงถึงต้นทุนที่แท้ จริง เช่นในปีนี้ที่ราคาต้นทุนไม่ต่างจากปีที่แล้ว |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 19/08/2010 9:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็นด้วยกับโครงการนี้ แต่สวัสดิการที่ชาวนาจะได้รับนอกจากเงินบำเหน็จบำนาญ เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต
เงินสงเคราะห์บุตรแล้ว ในส่วนของการจัดหาปัจจัยการผลิต ทำไมภาครัฐต้องเข้าไปยุ่ง เชื่อว่าชาวนาทุกคนรู้ดีว่าเขาควรจะจัด
หาปัจจัยการผลิตอย่างไร หรือว่ามีผลประโยชน์แอบแฝง...อีกแล้วครับท่าน
คิดมากไปหรือเปล่า(วะ) แต่พวกคุณทำตัวน่าสงสัย ไว้ใจไม่ได้นี่เน๊าะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nukul สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 05/09/2009 ตอบ: 32
|
ตอบ: 19/08/2010 10:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิมและเพื่อนๆทุกท่าน..........
สำหรับนโยบาลของรัฐบาลดังกล่าวนั้น ในความคิดของผมก็เหมือนรัฐบาลทำตัวเป็นกระปุกออมสินนั้นแหละครับ คือการเอาเงินจากชาวนาเวลาขายข้าวได้นำมาเก็บไว้แล้วบวกเงินจากภาครัฐนิดหน่อยซึ่งก็คือกำไรจากการขายข้าวของรัฐบาล แล้วส่งคืนให้ในเวลาที่ชาวนาต้องการ??????? ใครก็เป็นได้รัฐบาลเนี่ย.............
ตามทัศนะของผม ผมว่าหากรัฐบาลต้องการช่วยชาวนาหรือเกษตรกรทุกคนในประเทศอย่างเป็นการถาวรนั้น รัฐบาลควรจัดตั้งกรมปุ๋ยแห่งชาติขึ้นมาให้อยู่ภายใต้กระทรวงเกษตรก็ได้ แล้วชาวนาหรือเกษตรกรท่านใดที่ต้องการปุ๋ยจากกรมปุ๋ยแห่งชาตินี้ให้มาขึ้นทะเบียนแล้วให้เจ้าหน้าที่แนะนำวิธีการใช้ปุ๋ย / ยา / โฮโมน ต่างๆที่ถูกต้อง แล้วรัฐบาลจะหักค่าปุ๋ยร้อยละ 2-3 ของรายได้ก็ไม่แปลก เพราะเราก็รู้ๆกันอยู่ว่าปุ๋ยกระสอบหนึ่งต้นทุนที่แท้จริงมันซะเท่าไร เผลอๆนะครับผมว่ารัฐบาลแจกฟรีเลยก็ยังได้ ดีกว่าเอาเงินมาสร้างถนน ที่ประจวบบ้านผมนะครับ ถนนมันก็ยังดีๆอยู่ พวกล่อทุบแล้วลาดยางทำใหม่ ( ถนนปลอดฝุ่น ) งบเป็นร้อยๆล้าน เดี๋ยวนี่ใครขับรถเปิดกระจกแล้วดูดฝุ่นเข้าปอดบ้างล่ะครับ ปิดกระจกเปิดแอร์กันทั้งนั้น........
หากทัศนะของผมที่เสนอไปเป็นจริงนะครับ ผมว่าชาวนาขายข้าวแค่เกวียนละ 5000 - 6000 ก็พอแล้ว เพราะไม่ต้องไปเสียค่าปุ๋ย / ยา ให้ร้านเถ้าแก่ / กำนัน คนไทยก็จะได้กินข้าวในราคาถูกลง แต่สำหรับจะขายต่างประเทศเท่าไรก็เชิญตามสบาย......... อย่างไรเราก็ต้องเอาคนไทยของเราไว้ก่อน เพื่อนๆว่าจริงไหม?
นุกูล.......... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nukul สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 05/09/2009 ตอบ: 32
|
ตอบ: 19/08/2010 11:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิมและเพื่อนๆทุกท่าน............
หากเพื่อนๆยังไม่ลืมเพลงนี้ ลองร้องอีกครั้งแล้วจะเข้าใจชาวนามากขึ้นนะครับ.......
เพลง : ชาวนา
ศิลปิน : แฮมเมอร์
ค่ำลงมืดแล้ว เสียงแว่วมาแต่ไกล
ก่อเกิดกำเนิดเกิดกาย เป็นเด็กชายที่เกิดมา
ท้องฟ้าเป็นสีดำ มืดค่ำในท้องนา
กำเนิดเกิดมา พอลืมตาก็ยากจน
*ชาวนา ชาวนา หลังสู้ฟ้า เอาหน้าลงสู้ดิน
ชาวนา ชาวนา กำเนิดเกิดมา พอลืมตาก็ยากจน
วิ่งเล่นตามท้องนา ประสาเด็กเลี้ยงคว าย
รอยตีนที่ก้าวไป เหมือนตี นคว ายที่ก้าวเดิน
ฝุ่นฟุ้งข้างกองฟาง ไม่เห็นทางจะก้าวเดิน
ผู้คนเขาหมางเมิน เขาสรรเสริญเพื่อเอาใจ
*ชาวนา ชาวนา หลังสู้ฟ้า เอาหน้าลงสู้ดิน
ชาวนา ชาวนา กำเนิดเกิดมา พอลืมตาก็ยากจน
คันไถมีคว ายนำ ตากแดดจนตัวดำ
ลำบากและตรากตรำ ต้องทนทำเพื่อได้กิน
เหงื่อไหลลงโทรมกาย เป็นสายลงพื้นดิน
เหมือนเลือดให้ดื่มกิน แต่หนี้สินยังเต็มนา
*ชาวนา ชาวนา หลังสู้ฟ้า เอาหน้าลงสู้ดิน
ชาวนา ชาวนา กำเนิดเกิดมา พอลืมตาก็ยากจน
แก่เฒ่ายังยากจน รอฝนไม่ตกมา
แสงแดดที่แผดกล้า ในดวงตาก็ฝ้าฟาง
ตะวันตกลับไป เหมือนหัวใจที่หมดทาง
ดวงตาที่ฝ้าฟาง ก็ดับลงที่ข้างนา
ชาวนา ชาวนา หลังสู้ฟ้า เอาหน้าลงสู้ดิน
ชาวนา ชาวนา กำเนิดเกิดมา
เมื่อหลับตายังยากจน.
นุกูล............ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
piglatte หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/08/2009 ตอบ: 17
|
ตอบ: 20/08/2010 5:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็นจัดกันกี่โครงการ ก็ไม่ค่อยตกถึงเกษตรกรจริงๆสักเท่าไหร่ ตราบใดที่อารยะการบริหารบ้านเมืองยังเสื่อมถอย คนในชาติยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ประเทศคงพัฒนาไปไม่ทันคนอื่น
ดูอย่างประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฯลฯ ที่เคยผ่านสงครามกันหนักหนาสาหัส คนในประเทศถึงเห็นแก่ความทุกข์ยากตรากตรำ จนต้องรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อสู้ชีวิตโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ เพื่อผลักดันให้ประเทศของตนก้าวสู่แนวหน้าแห่งการพัฒนาได้ และเมื่อทุกคนต่างทำงานภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน คือ "เพื่อประเทศชาติ" สิ่งดีๆย่อมสนองต่อผู้ที่ตั้งใจทำ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 20/08/2010 7:55 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แก้ปัญหาไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน ไม่แก้ที่ต้นเหตุ ....อีกแล้ว ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร
กองทุนฯเห็นด้วยว่าสมควรมี ถ้าเกษตรขายผลผลิตแล้วมีเงินเหลือพอให้เก็บออม (นิสัยคนไทย ไม่ชอบเก็บเงินออม)
และถ้าจริงใจบริหารเป็นก็ควรมี แต่ถามว่าตอนนี้จะมีชาวนากี่% ที่มีเงินพอส่ง
กองทุนนี้ก็คล้ายๆ ประกันชีวิต (คล้ายประกันสังคม ตอนนี้เงินประกันสังคมเอาไปทำอะไรบ้าง จ่ายชดเชยอยู่ในกลุ่มก็ดีอยู่หรอก เฉลี่ยๆ กันไป ไม่มีอะไรในกอไผ่ใช่ไหม .... โดนหักอยู่ทุกเดือนเนี่ย )
ทำไมไม่แก้ปัญหาที่ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ยา น้ำ สภาพดิน และให้ความรู้ที่แท้จริงในการทำเกษตรก่อนสำคัญมาก ๆ ......
อ๋อลืมไป มันยาก สะดุดตอบ่อย ทำอันใหม่ขึ้นมาดีกว่า...... ถ้าแก้เรื่องเหล่านี้ได้แล้ว จะตั้งกองทุนก็เอา เอาสักสิบกองทุนไหม
นักการเมือง ชอบสร้างแต่โครงการใหม่ๆให้ดูว่ามีผลงาน แล้วทิ้งปัญหาเดิม ๆ ไว้ อย่างนั้นหรือ ....พวกชอบคิด แต่ไม่ลงลึกและไม่เคยสัมผัสถึงปัญหาที่แท้จริง
หมอถ้าเขาล้างแผลที่เน่าแฟะให้คนไข้ ต้องขูดเนื้อที่เน่าออกก่อน(เจ็บปวดน่าดู) ใส่ยาแล้วปิดผ้าไว้ ต้องล้างบ่อยๆ ทำให้สะอาด ถ้าไม่ขูดเนื้อที่เน่าออก ทายาดีแค่ไหน ปิดด้วยผ้าสะอาด ๆ ไว้ดูสวย .......ยังไงก็ยังเน่าอยู่ดี |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
eawbo สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010 ตอบ: 52
|
ตอบ: 20/08/2010 10:33 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ความคิดที่จะตั้งกองทุน ฯ น่ะดี แต่วิธีการทำสุดท้ายจะลำบากชาวนา
แต่ที่ได้ประโยชน์คือ นักการเมือง ข้าราชการ และอาจจะมีนายทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11627
|
ตอบ: 22/08/2010 1:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บ้านเมืองที่มีแต่เฉพาะหน้า (เกษตรสร้างสรรค์)
กรมทางหลวงชนบทบอกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) จำพวกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)โอดครวญและขอคืนงานจำพวก ก่อสร้าง และซ่อมบำรุงถนน กลับคืนกระทรวงคมนาคม โดยให้เหตุผลว่า งบประมาณมีน้อย และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ
สภาพจริงกำลังหลอกหลอนแทบทุกงานที่หน่วยงานรัฐส่วนกลางเคยถ่ายโอนไปให้อปท. เห็นไหมละว่า หลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นสวยหรูในตำรารัฐศาสตร์ แต่เมื่อถ่ายโอนโดยอีกฝ่ายไม่พร้อม มันถึงพลอยวิบัติไม่รู้กี่มากน้อย
แทบทุกอย่างก็ว่าได้ครับที่ อปท.ไม่มีความพร้อม หรือพร้อมแต่น้อย ไม่ว่างานโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน อ่างเก็บน้ำ ฝายขนาดเล็ก ไปจนกระทั่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิด เช่นงานการศึกษา การทำมาหากิน
ทุกวันนี้ถ่ายโอนไปก็จริง จริงแท้ยิ่งกว่านั้นหน่วยงานรัฐเดิมยังต้องคอยเข้าไปช่วยเหลือเจือจาน ถามว่าเกิดประโยชน์อะไรหรือ? นอกจากไม่เกิดแล้ว ซ้ำร้ายยังทำลายความเข้มแข็งเดิมๆเสียย่อยยับ ชาวบ้านแทนที่จะได้ประโยชน์กลับเสียประโยชน์
ผมอยากบอกว่า นี่คือความไม่รับผิดชอบของนักการเมืองในฐานะผู้ออกกฎหมายที่ไม่ใคร่ครวญถ่องแท้ว่า สังคมไทยเป็นอย่างไร และไม่เตรียมการรองรับผลจากข้อกฎหมายที่บังคับใช้ ไม่ต่างจากข้อกำหนดว่า รัฐต้องเจียดเงินงบประมาณให้อปท.เพิ่มขึ้นปีละเท่าไหร่จนถึงเพดานกำหนดหากจำไม่ผิด 35% ของวงเงินงบประมาณ เอาเข้าจริงก็ทำไม่ได้
ผลพวงนี้ยังสร้างความระส่ำระสายให้เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นที่ต้องถูกโอนไปอยู่กับอปท.ทั้งหลาย เพราะตระหนักดีว่า อปท.ทั้งหลายหามีความพร้อมประการใดไม่ ทั้งความคิดอ่าน กำลังคน และงบประมาณ
ยิ่งไปกว่านั้นบังเกิดช่องว่างช่องโหว่ที่แต่ละฝ่ายใช้ไปกล่าวอ้าง เช่น ส่วนกลางก็บอกว่า ถ่ายโอนให้ท้องถิ่นแล้ว ข้างท้องถิ่นก็บอกว่า ถึงจะรับถ่ายโอนก็เพียงตามกฎหมาย อย่างอื่นยังไม่พร้อม
สรุป ประชาชนตกเป็นตัวประกันของเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง และองค์กรปกครองท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ต้องรีบทบทวนอย่างจริงจังโดยเร็ว หรือหาทางออกที่ดีกว่าสภาพปัจจุบันที่เข้าลักษณะหัวมังกุ ท้ายมังกร ได้ไหม
ที่จริงผมไม่ได้ขัดข้องกับการถ่ายโอนอำนาจ แต่มันน่าจะมีกระบวนการเตรียมความพร้อมที่ชัดเจนมากกว่าแค่ปล่อยไปก่อน มีปัญหาเดี๋ยวค่อยมาแก้
สังคมไทยเป็นสังคมแปลกและไม่น่าเอาอย่าง ตรงที่ไม่เคยวางแผน ไม่เคยบริหารจัดการ หากปล่อยสถานการณ์พาไปในทุกเรื่องของปัญหา ยกตัวอย่างการลดต้นทุนเกษตรกรเพื่อแข่งขันกับต่างประเทศรองรับเขตการค้าเสรีรูปแบบต่างๆ พูดให้ตาย เตือนให้ตาย ก็ไร้ผล ไม่มีใครขยับโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐหาคนกระตือรือร้นได้ยาก คิดแต่ว่ากว่าจะถึงตอนนั้น ตัวเองย้ายไปตำแหน่งอื่นแล้ว
เรื่องของเรื่องจึงมีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ต่อให้มีการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว สุดท้ายแต่ละระยะจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทั้งสิ้น น่าประหลาดไหม
บ้านเมืองไหนเป็นแบบนี้ จะบอกว่า เจริญก็ไม่คงถูก มิหนำซ้ำจะหวังพึ่งอนาคตก็เป็นเรื่องยากโดยแท้
พอใจ สะพรั่งเนตร
www.naewna.com/ - |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|