kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 07/10/2011 6:54 am ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 7 OCT |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 7 OCT
**********************************************************
สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.1009.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986
*********************************************************
จาก : (081)526-56xx
ข้อความ : ตอนนี้ข้าวเหลือง อยากทราบว่า มันเป็นอะไร มันจะเกี่ยวกับข้าวเมาตอซังหรือเปล่า และช่วยอธิบายเรื่อง
ข้าวเมาตอซังดวย......ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
น่าเสียดายที่รายละเอียดในคำถามน้อยไปหน่อย โดยเฉพาะอายุต้นข้าว ถ้างั้นตอบแบบรวมๆ ก็แล้วกัน
- เมาตอซัง เป็นเพราะแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจน ซัลไฟด์) ซึ่งเกิดจากฟางที่กำลังเริ่มย่อยสลายแล้วไม่มีจุลินทรัย์
หรือมีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ จึงทำให้เกิดแก๊สดังกล่าว.....แก้ไขโดย
1) ใส่จุลินทรีย์ประเภทย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ (ขยายเชื้อมาจากฟาง)
2) ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น
3) ใส่กากน้ำตาลเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
4) ใส่น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง (สูตรหน้าเว้บ) ซึ่งจะได้ทั้งแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น จุลินทรีย์ชุด
ใหม่ และสารอาหารสำหรับพืช
(.....เศษซากพืชสดใหม่ทุกชนิด ปุ๋ยคอกใหม่ ใส่ลงไปในดินหรือคลุมโคนต้น แล้วต้นเกิดอาการใบเหลือง เหี่ยว ยืน
ต้นตาย ที่เกษตรกรเรียกว่า "ร้อน" นั้น ก็มาจากสาเหตุแก๊สไข่เน่าตัวนี้เช่นกัน....)
- ต้นข้าวที่จะเมาตอซัง มักเกิดกับต้นข้าวระยะกล้าช่วงแรกๆ ต้นสูงราวฝ่ามือ ถึง 1 คืบมือเท่านั้น หลังจากนั่นมักไม่
ค่อยเป็น เพราะฟางถูกย่อยสลายหมดแล้ว.....
แก้ไขโดย..... หลังจากหมักฟางและก่อนเริ่มลงมือทำเทือก ให้ตรวจสอบการย่อยสลายของฟางโดยเดินย่ำลงไป
จะมีฟองอากาศที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน ถ้าฟองมีกลิ่นเหม็นแสดงว่าในฟางมีแก๊สไข่เน่า ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา
ให้หมด แล้วสาดน้ำจุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือกากน้ำตาล หรือน้ำมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ไม่ +ปุ๋ยเคมี) แล้วทิ้ง
ไว้ 7-10 วัน จึงสูบน้ำเข้าแปลง พร้อมกับเติมจุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือกากน้ำตาล หรือน้ำมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
(+ปุ๋ยเคมี) อีกครั้ง หมักต่ออีก 7-10 วัน แล้วตรวจสอบโดยการย่ำลงไปในแปลงแบบเดิมเพื่อพิสูจน์กลิ่นแก๊สไข่เน่า
จากฟางอีกครั้ง
ถ้ามีฟองแต่ไม่เหม็นหรือมีกลิ่นหอมของฟางข้าว แสดงว่าไม่มีแก๊สไข่เน่า ให้ลงมือทำเทือกได้เลย.....
- ต้นข้าวที่โตแล้ว หรืออายุเกินระยะกล้าแล้ว มีอาการใบเหลือง หรือใบไหม้ แสดงว่าเป็นโรค (รา-แบคทีเรีย) แก้ไข
โดยฉีดพ่น สารสมุนไพร + สารอาหาร หรือ สารสมุนไพร + สารเคมี + สารอาหาร ตามความเหมาะสม
อ้างอิง :
โรคเมาตอซัง (Akiochi)
สาเหตุ :
เกิดจากการสะสมของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในดิน
อาการ :
พบตั้งแต่ระยะแตกกอถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว ต้นข้าวแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน คือ ต้นแคระแกรน ใบซีดเหลือง
จากใบล่างๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งสาเหตุของปัญหาเกิดจากการทำนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนา ทำให้เกิดการหมัก
ของตอซังระหว่างข้าวแตกกอ เนื่องจากกระบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ คือ สารซัลไฟด์
ซึ่งไปทำลายรากข้าว ทำให้รากเน่าดำ ไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และต้นข้าวยัง
สร้างรากใหม่เหนือระดับผิวดิน
การแพร่ระบาด :
เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีเชื้อสาเหตุ จึงไม่มีการระบาดติดต่อกัน
การป้องกันกำจัด :
1) ควรพักดินประมาณ 1 เดือน หลังเก็บเกี่ยวข้าว และหลังไถพรวนควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักเพื่อสลายตัวให้สมบูรณ์
อย่างน้อง 2 สัปดาห์
2) ระบายน้ำเสียออกจากแปลง และทิ้งดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่
เข้าและหว่านปุ๋ย
3) ควบคุมระดับน้ำในนาไม่ให้สูงเกินไป และควรมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ
อ้างอิง : สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว
http://www.tgi4u.com/pages/knowlage%201-7.html
------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (089)902-7891
ข้อความ : เว้บลุงคิม ชื่ออะไร ต้องลงทะเบียนหรือเปล่า.....
ตอบ :
------------------------------------------------------------------------------------------ |
|