-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ทำนาข้าว หลังน้ำท่วม.....
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ทำนาข้าว หลังน้ำท่วม.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ทำนาข้าว หลังน้ำท่วม.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 07/10/2011 5:38 pm    ชื่อกระทู้: ทำนาข้าว หลังน้ำท่วม..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

............. คิดใหม่ทำใหม่ คิดนอกกรอบ ออกไปสู่ความจริง ..............

FORGET THE PASS STRAT THE NEW & GOOD BEGINNING


...............................................................................................................................................


จากเดิม.... วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า........
กลับเป็น... บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + จินตนาการ + ประสบการณ์ + วิชาการ .......


บ้าบ้า .......
ถ้าจะบ้า ต้องบ้าให้เป็น ไม่งั้นเดี๋ยวบ้าเหมือนที่เขาว่า....
คนบ้าไม่มีหนี้ คนดีหนี้เต็มบ้าน....

เป็นคนดีมานานแล้ว ลองบ้าดูบ้างซิ มันน่าจะมีอะไรๆดีขึ้นบ้างนะ.....
บ้าก็บ้าวะ ก็ให้มันรู้ไป มันจะซักเท่าไหร่เชียว....

ฮาวแมนนี่ ยี่เจ้ย เฮ้ยเท่าไหร่....เตอร์ตี้ไฟว์ สามสิบห้า ซาจับโหงว



แรงบันดาลใจ.....
เราทำ เขาทำ ใครๆทำ ยิ่งทำยิ่งแย่ ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้....เลิกทำแบบเก่าเถอะ
เขา 10 นิ้ว 2 มือ 2 ขา 1 หัว เหมือนเรา ในเมื่อเขาทำได้ เราต้องทำได้ซีน่า

เพื่อลูกหลาน เพื่อศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิ เราก็คน ต้องทำได้ และต้องทำได้
ลบคำปรามาส ล้างคำดูถูก ทำเป็นตัวอย่าง

ถ้าไม่ลุกออกจากปลักเดิม ก็คงจมปลักอยู่กับความล้มเหลว ตลอดไป



จินตนาการ....
ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ตั้งความหวังแล้วทำย่อมสมหวัง
เมื่อมีคนทำได้ นั่นคือของจริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน

ยุคนี้ สมัยนี้ อยู่กับที่ เท่ากับถอยหลัง เพราะคนอื่นก้าวไปข้างหน้า
ป่วยการ เสียเวลาเปล่า กับการทนทำแบบเดิมๆ



ประสบการณ์.....
เปรียบเทียบ ...... เราทำ เมื่อก่อนนี้ วันนี้ ต่างกันหรือไม่ อย่างไร
เปรียบเทียบ ...... เขาทำ เมื่อก่อนนี้ วันนี้ ต่างกันหรือไม่ อย่างไร

เลิกลองผิดลองถูก เพราะมีแหล่งลองถูกให้ศึกษาอยู่แล้ว

ทำอย่างคนที่ประสบความสำเร็จ จะสำเร็จยิ่งกว่า
ทำอย่างคนที่ประสบความล้มเหลว จะล้มเหลวยิ่งกว่า

ทำอย่างเดิม วิธีเดิม จะแย่กว่าเดิม เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว



วิชาการ.....
รู้กระจ่าง รู้รอบ รู้จริง รู้ทุกมิติ เริ่มจากสิ่งที่ทำก่อน แล้วขยายผลไปเรื่องอื่น

วิชาการเพียวๆ ไม่รู้ เพราะไม่ได้เรียนมา
ภูมิปัญญาพื้นบ้านเดี่ยวๆก็ไม่ได้ เพราะไม่ครอบคลุม

ทางเลือกที่ดี วิชาการ + ภูมิปัญญาพื้บ้าน





คลิก....หลากหลายวิธีการฟื้นฟูดิน....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2319&sid=7ce35d6aba39721592ff1305c1322cd2
ฟื้นฟูดินหลังน้ำท่วม เพื่อการเพาะปลูกใหม่




เตรียมทำนาหลังน้ำท่วมแบบเหมาจ่าย :

1. ไถดะให้ได้ขี้ไถใหญ่ ตากแดด 10-15 แดดจัด

2. ปล่อยน้ำเข้าท่วมขี้ไถประมาณ 1 ฝ่ามือ แล้วสาดด้วยกากน้ำตาล 2-3 ล./ไร่ ผสมน้ำ มาก/น้อย ตามความเหมาะสม
สาดให้ทั่วแปลง หมักทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่น

3. ไถแปรครั้งที่ 1 ทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นกระจายทั่วแปลง

4. ใส่ "น้ำ 100 ล. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (5 ล.) + 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0+
16-16-16 (1:1) สูตรใดสูตรหนึ่ง 10 กก. คนเคล้าให้เม็ดปุ๋ยละลายดี แล้วสาดให้ทั่วแปลงเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วย่ำเทือก
สำหรับก่อนหว่านหรือดำตามปกติ



บำรุง :
- ระยะกล้า...ให้ไบโออิ 2-3 รอบ กับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ โดยแบ่งรอบการให้เท่าๆกัน

- ระยะแตกกอ...ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบยิดเถิดเทิง 30-10-10 (3 ล.) + + 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 +
16-16-16 (1:1) สูตรใดสูตรหนึ่ง 10 กก. คนเคล้าให้เม็ดปุ๋ยละลายดี แล้วฉีดที่โคนกอต้นข้าว (ปรับหัวฉีดให้เม็ดน้ำ
ใหญ่ๆ) ให้ทั่วแปลงเนื้อที่ 1 ไร่

- ระยะตั้งท้อง-ออกรวง....ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ระยะน้ำนม...............ให้ "ไบโออิ + ยูเรก้า" ทุก 7 วัน จนถึงเก็บเกี่ยว ระหว่างนี้ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ


หมายเหตุ :
- ระเบิดเถิดเทิง-ไบโออิ-ยูเรก้า-ไทเป-แคลเซียม โบรอน....สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ
- เนื่องจากดินยังไม่พร้อม สารอาหารธรรมชาติในดินยังมีน้อย ชดเชยด้วยการบำรุงทางใบให้ถี่ขึ้น
- แม้สภาพโครงสร้างดินจะยังไม่พร้อมหรือสมบูรณ์ดีนัก เทคนืคก่ารบำรุงทางใบบ่อยๆ สม่ำเสมอ และถูกต้อง ทำให้เชื่อว่า
จะต้องได้ผลผลิตไม่น้อยไปจากเดิมมากนัก
- การทำนารอบต่อไป เตรียมไถกลบฟางลงดิน เพื่อสร้างและเพิ่มปริมาณอิทรีย์วัตถุ





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/11/2011 2:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 30 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....


1. ข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด
2. ฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลด หนุนปลูกปอเทืองเพิ่มปุ๋ย
3. ระวังข้าวในช่วงฤดูหนาว
4. ผลกระทบของสภาพอากาศหนาวเย็น...กับการปลูกข้าว
5. ลดผลกระทบจากอากาศที่หนาวเย็นในการปลูกข้าวนาปรัง

6. ปลูกข้าวฤดูหนาว เสี่ยงผลผลิตตกต่ำ
7. เตือนอากาศเปลี่ยนอุณภูมิลด เกิดปัญหา "ข้าวกระทบหนาว"
8. ระวังโรคเมล็ดด่างในข้าวระยะใกล้ออกดอก-อากาศชื้นจัด
9. เกษตรจังหวัดอ่างทอง เตือน “ข้าวกระทบหนาว”
10. ประกาศกรมการข้าว เรื่องข้อควรปฏิบัติการทำนาหลังการเกิดอุทกภัย

11. ปลูกข้าวหลังน้ำลด

---------------------------------------------------------------------------------






1. ข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด


กรมการข้าว ได้ประชาสัมพันธ์ถึงข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด เพื่อให้
ชาวนาทราบและปรับตัวให้พร้อมก่อนการทำนารอบต่อไป





1. จากที่เกิดน้ำท่วมดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจากการพัดพาเอาตะกอนดิน
มากองหน้าดินทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากในการปลูกข้าว

2. ควรเริ่มปลูกข้าวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้ง
ท้องและออกดอกในช่วงอากาศหนาวในเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผลทำให้
ข้าวลีบ

3. ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชหรือเมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในดินจากฤดูที่ผ่านมา
งอกขึ้นก่อน แล้วไถทำลายในขั้นตอนการเตรียมดิน จะสามารถลดปริมาณข้าว
วัชพืช/ข้าวเรื้อจากฤดูปลูกที่ผ่านมาลงได้มาก

4. หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อสภาวะอากาศหนาว เช่น พิษณุโลก2 กข
29 กข41 เป็นต้น


5. ข้อควรระวัง
5.1 โรคไหม้และโรคขอบใบแห้งของข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีหมอกและน้ำ
ค้างมาก ประกอบกับดินมีความอุดมสมบูรณ์จากน้ำท่วม ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคกับ
ข้าวทุกระยะการเติบโต

5.2 หนอนกระทู้กล้าและหนอนกระทู้คอรวง โดยหนอนกระทู้กล้าจะเข้าทำลาย
ต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะแตกกอ การทำลายมักเป็นในเวลากลางคืน อาจเสีย
หายได้ภายใน 1-2 วัน ส่วนในช่วงข้าวออกรวง หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินคอ
รวง หรือ ระแง้ของรวง ในระยะสุกแก่ ทำให้คอรวงขาดการทำลายในช่วงกลางคืน
เช่นเดียวกัน




6. พันธุ์ข้าว
6.1 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหลังน้ำลด (เขตพื้นที่ชลประทาน) มีดังนี้

ภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลาง
– กข31 กข39 กข43 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 และบางแตน

ภาคใต้
– กข37 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2 (พื้นที่ภาคใต้ไม่มีผลกระทบกับอากาศหนาว
จึงสามารถปลูกได้)

6.2 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกฤดูหนาว (เขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน)
คือ พันธุ์ข้าที่มีอายุสั้นเก็บเกี่ยวสั้น มี 3พันธุ์ ได้แก่ กข43 สุพรรณบุรี 2 บางแตน
(โดยมีอายุการเก็บเกี่ยว 97-98 วัน เป็นนาหว่านนาตม ซึ่งการที่จะปลูกข้า 3 พันธุ์
นี้ได้ ต้องมีน้ำเพียงพออย่างน้อยสามารถหล่อเลียงต้นข้าวไปได้ อายุ 80-87 วัน
หรือ มีน้ำประมาณ 2 เดือนกว่าๆ จึงสามารถปลูกได้)


หมายเหตุ
- เมล็ดพันธุ์ดี มีจำหน่ายที่ศูนย์เล็ดพันธุ์/ศูนย์วิจัยข้าว/ศูนย์ข้าวชุมชน ในพื้นที่
- สามารถสืบค้น ข้อมูลพันธุ์ข้าวได้จากเว็บไซต์



http://www.ricethailand.go.th หรือ http://www.brrd.in.th หัวข้อ "องค์ความรู้เรื่องข้าว"



http://smg.brrd.in.th/web/index.php/2009-12-16-07-33-34/58-2010-11-16-06-25-00?4a68100e8a094f50667336979d73e445=b5cba1a103d524a42a624371bb7ebda2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 07/10/2011 7:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. ฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลด หนุนปลูกปอเทืองเพิ่มปุ๋ย







นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เผยว่า จากการสำรวจพื้นที่ประสบ
อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง เพื่อเตรียมแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำ
ลด คาดว่าในเดือนพฤศจิกายนนี้จะสามารถดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่เสียหายได้ โดย
กำจัดเศษซากวัสดุ เศษหิน ดิน ขยะออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งขุดลอก คลองระบายน้ำ
สร้างทางลำเลียง ปรับสภาพพื้นที่ไร่นา สำหรับพื้นที่นาข้าวจะปรับปรุงบำรุงดินด้วย
ปูนโดโลไมต์ ควบคู่กับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ใช้เวลา
ปลูก 50-60 วัน สามารถเก็บเมล็ดขายคืนเพื่อเป็นรายได้เสริม และยังสามารถไถ
กลบเพื่อเป็นปุ๋ยธรรมชาติทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ส่วนพื้นที่ปลูกพืชไร่หรือในพื้นที่ลาด
ชันสูงจะจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปลูกหญ้าแฝกและไม้ยืนต้น เพื่อชะลอน้ำ ลด
การพังทลาย เสร็จในเดือนเมษายน 2555

“แผนระยะยาวนั้นกรมจะดำเนินการขุดสระน้ำในชุมชน เพื่อให้มีแหล่งกักเก็บน้ำ
สาธารณะที่รองรับน้ำ ในยามฤดูน้ำหลากและมีน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ขณะนี้ได้ มอบ
หมายให้สำนักงานพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดไปประสานความร่วมมือกับทางกำนัน ผู้ใหญ่
บ้าน ตลอดจน องค์การบริหารส่วนตำบล ให้ช่วยกันสำรวจหาพื้นที่สาธารณะ
ประมาณ 20-30 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำ ชุมชน สำหรับชุมชนใดที่มีความ
ประสงค์จะทำแหล่งกักเก็บน้ำชุมชน แจ้งข้อมูลที่สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัด เพื่อ
รวบรวมข้อมูลเสนอของบประมาณจากรัฐบาล ดำเนินการให้อย่างรวดเร็วที่สุด” นาย
ธวัชชัยกล่าว.



ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหาข่าว คุณภาพดี จาก: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.blogspot.espicker.com/news/edu/%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 4:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. ระวังข้าวในช่วงฤดูหนาว





ระยะต้นกล้าอาจใบเหลืองจนถึงต้นกล้าแห้งตาย หากต้นข้าวอยู่ในช่วงระยะแตกกอ
หรือ กำเนิดช่อดอก จะส่งผลทำให้ออกดอกช้า รวงข้าวโผล่ไม่พ้นกาบใบธง หรือถ้า
ต้นข้าวอยู่ในระยะออกดอกหรือระยะผสมเกสร จะทำให้เกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์ …


นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง
เดือนมกราคม จะเป็นช่วงต้นของฤดูการทำนาปรังและช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยวของ
นาปี หากอุณหภูมิลดลงและมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า
"ข้าวกระทบหนาว" และหากเกิดขึ้นในระยะกล้า จะส่งผลทำให้การเจริญเติบโต ต้น
กล้าแคระแกร็น ใบเหลืองจนถึงต้นกล้าแห้งตาย หากต้นข้าวอยู่ในช่วงระยะแตกกอ
หรือ กำเนิดช่อดอก จะส่งผลทำให้ออกดอกช้า รวงข้าวโผล่ไม่พ้นกาบใบธง หรือถ้า
ต้นข้าวอยู่ในระยะออกดอกหรือระยะผสมเกสร จะทำให้เกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์ผสม
เกสรไม่ติดจะเกิดเมล็ดลีบมาก


อธิบดี กรมการข้าว กล่าวต่อว่า เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว กรมการข้าวขอแนะนำ
เกษตรกรควรชะลอการปลูกข้าว รุ่นต่อไป และติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยม
วิทยา ควรใช้ ข้าวพันธุ์ใหม่ เช่น กข 29, กข 31 ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงข้าวพันธุ์
พิษณุโลก 2 ซึ่งอ่อนแอต่อสภาพอากาศเย็นมาก ส่วนข้าวที่ชะงักการเจริญเติบโตใน
ขณะที่อุณหภูมิยังไม่สูงขึ้น เกษตรกรควรงดการใส่ปุ๋ยเพราะในช่วงดังกล่าวต้น
ข้าวจะไม่ ตอบสนองต่อปุ๋ย และจนกว่าอุณหภูมิจะสูงเป็นปกติ

สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงาน
ของกรมการข้าวใกล้บ้าน หรือที่ศูนย์บริการชาวนา 50 แห่งทั่วประเทศ.






ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 4:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. ผลกระทบของสภาพอากาศหนาวเย็น...กับการปลูกข้าว


อากาศจะเริ่มหนาวเย็นประมาณ เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป จะมีอากาศหนาวเย็น
และมีหมอกบางในตอนเช้า โยเฉพาะเดือนธันวาคม และเดือนมกราคม จะมีอากาศ
หนาวกับมีหมอกหนาในบางวัน และกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศจะอุ่นขึ้น และทำให้
มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งในช่วงฤดูหนาวจะมีฝนตกน้อย อาจเกิดความแห้ง
แล้งโดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน


อนึ่ง สภาพอากาศหนาวเย็นกระทบกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวที่ปลูก
ซึ่งปัญหาที่พบเกษตรกรที่ปลูกข้าวในช่วงฤดูหนาวต้นข้าวที่ออกรวงในช่วงที่มี
อุณหภูมิต่ำเกินไป ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หากมีอุณหภูมิลดลงติดต่อกัน
มากกว่า 1-4 องศาเซลเซียส ในช่วงที่ข้าวออกรวง จะทำให้เกิดปัญหาข้าวผสมไม่
ติด เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตของข้าวอาจลดลงได้



ปัจจุบันมีพันธุ์ข้าวออกมาใหม่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ของทางราชการ
หรือพันธุ์ข้าวของเอกชนตั้งชื่อเอง เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกข้าวในช่วงที่มี
สภาพอากาศหนาวเย็น ต้องคำนึงถึงการเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานสภาพอากาศ
เย็น โดยที่จะต้องรู้ลักษณะเด่นของพันธุ์ข้าว ที่สามารถต้านทานสภาพอากาศหนาวเย็น

สำหรับพันธ์ข้าวที่อ่อนแอต่อสภาพอากาศหนาวเย็น ได้แก่พันธุ์ ชัยนาท 1,
ปทุมธานี 1, พิษณุโลก 2, และพันธุ์ชัยนาท 80 (กข 29), ซึ่งล้วนเป็นพันธุ์ที่
มีคอรวงสั้น เมื่ออากาศหนาวเย็นจะทำให้รวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ ปลายรวงในส่วนที่
เหนือกาบใบธงจะตั้ง และไม่โน้มรวง เมล็ดในส่วนนี้จะลีบบางเมล็ด จนถึงเกือบหมด
รวง ส่วนโคนรวงถึงกลางรวงที่ถูกห่อหุ้มด้วยกาบใบธงเมล็ดจะลีบหมด โดยที่เมล็ด
ลีบสาเหตุเนื่องจากข้าวไม่ผสมเกสร

อุณหภูมิที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของข้าวโดยในช่วงกลางคืนอุณหภูมิที่ต่ำกว่า
15 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 10-14 วัน ก่อนการออกดอก และอุณหภูมิ ที่
วิกฤติที่มีผลกระทบต่อการผสมเกสรข้าว คือ 15-20 องศาเซลเซียส ทำให้เมล็ด
ข้าวลีบ เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ ควรเลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว ทน
สภาพอากาศหนาวเย็นเช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 1 เป็นต้น



ประเสริฐ วิชชากรวิวัฒน์
โดย....สะแกกรัง

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/144564


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 4:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. ลดผลกระทบจากอากาศที่หนาวเย็นในการปลูกข้าวนาปรัง


นางวิไล ปาละวิสุทธิ์ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพิษณุโลก เปิดเผยว่า
สิ่งที่น่าเป็นห่วงชาวนาขณะนี้หลังจากน้ำลดก็เข้าสู่ฤดูหนาว แต่ชาวนามีความจำเป็นที่
จะต้องลงมือไถหว่านปลูกข้าวในช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ซึ่งถือเป็นฤดูนากาลทำ
นาปรังครั้งที่1 ปี 2553/2554 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ข้าวจะได้รับความเสียหายจาก
อากาศที่หนาวเย็น เหตุเพราะกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ว่า ฤดูหนาวปีนี้อากาศ
จะหนาวกว่าปกติ และหนาวเย็นเป็นระยะเวลานาน ชาวนาจะปลูกข้าวพันธุ์อะไร
ดี ? ที่ทนต่ออากาศหนาวและทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพราะในช่วงนาปรัง
ครั้งที่ 1 ปี 2552 /2553 ที่ผ่านมา ต่างบอบช้ำอย่างหนักจากปัญหาเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดรุนแรงทำลายข้าวกว่าสองล้านไร่ และปัญหากรมชล
ประทานงดส่งน้ำเพื่อทำนาปรัง ครั้งที่ 2/2553 เพราะน้ำไม่เพียงพอ

ซ้ำพอหมดแล้งก็เจอด้วยปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื้อที่เสียหายกว่าห้าล้านไร่ทั่วประเทศ
ดังนั้น พอน้ำลดช่วงนี้ชาวนาต่างหวังจะปลดหนี้ในฤดูปรังครั้งที่ 1 ปี2553 / 2554
ที่กำลังมาถึง แต่ชาวนาจะรับมือกับภัยหนาวที่มาเยือนนี้อย่างไร

ก่อนอื่นชาวนาควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวพันธุ์ใดที่สามารถ
ทนต่ออากาศหนาวเย็นได้ในระดับไม่รุนแรงนัก (อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 องศา
เซลเซียส) และถ้าจะปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูงแ ต่ไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็น ควรจะ
ทำอย่างไร พันธุ์ข้าวที่ทนอากาศเย็นได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวในตระกูลจาปอนิกา
หรือข้าวญี่ปุ่น

สำหรับพันธุ์ข้าวในเมืองไทยที่ทนต่ออากาศเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มี
ลักษณะคอรวงยาว เช่น สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี 3, กข31( ปทุมธานี 80 ),
และ กข39 เพราะเมื่อกระทบอากาศเย็นในช่วงข้าวกำลังตั้งท้องหรือออกดอก ผล
ผลิตจะไม่เสียหายมากนัก เพียงแต่คอรวงและความยาวเมล็ดจะหดสั้นลง

แต่ขอย้ำข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง และข้าวพันธุ์ กข39 ก็ไม่ต้านทานเพลี้ยฯ ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นชาวบ้านที่จำเป็นต้องเร่งปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน เพื่อให้ข้าวสุกแก่
ก่อนน้ำจะหมด ก็ต้องเลือกพันธุ์ดังกล่าว เพราะทนหนาวแต่ไม่ต้านเพลี้ยกระโดด
และให้ระวังการระบาดของเพลี้ยฯที่ยังหลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่


ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ การปลูกข้าวหนีอากาศเย็นในระยะตั้งท้องและออกดอก เป็น
อีกคำแนะนำหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมานาน ทั้งนี้ เนื่องจากข้าวจะอ่อนแอ
ต่ออากาศหนาวเย็นที่สุดในระยะตั้งท้อง-ออกดอก โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อ
อากาศเย็น เช่น ชัยนาท1, ปทุมธานี1, พิษณุโลก2, กข29, กข41, กข47,
และข้าวอายุสั้นอีกหลายๆพันธุ์ ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ 50–100 เปอร์เซ็นต์

แต่หากกระทบอากาศเย็นในระยะกล้าหรือระยะแตกกอ ข้าวเพียงแต่ชะงักการเจริญ
เติบโต ต้นเหลืองและเตี้ย และเมื่ออากาศอุ่นขึ้นให้รีบใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นข้าวฟื้น
ตัว สามารถเจริญเติบโตต่ออย่างรวดเร็วให้ผลผลิตดี เพียงแต่อายุเก็บเกี่ยวจะมากขึ้น

ดังนั้นเกษตรกรที่ชอบพันธุ์ข้าวไม่ทนต่ออากาศเย็นดังกล่าว ควรเลี่ยงการปลูกข้าว
ในช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน ให้เริ่มปลูกข้าวได้ในเดือนธันวาคม และถ้า
กลัวว่าอากาศจะเย็นนาน ควรปลูกให้ล่าไปถึงกลางเดือนธันวาคม เพราะข้าวจะ
ตั้งท้องและออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนมีนาคม ซึ่งมี
อากาศอุ่นขึ้น

หากเป็นข้าวที่มีอายุสั้นกว่า 100 วัน ก็ควรเริ่มปลูกข้าวประมาณปลายธันวาคม เป็น
ต้นไป แต่ไม่ควรเกินกลางเดือนมกราคม เพราะช่วงข้าวออกดอกจะกระทบอากาศ
ร้อนของเดือนเมษายน จะทำให้ผลผลิตเสียหายได้อีก 50 เปอร์เซ็นต์

แต่สำหรับภาคเหนือตอนบนแล้วควรปลูกข้าวตั้งแต่กลางกุมภาพันธุ์เป็นต้นไป เพาะ
มีอากาศหนาวมากกว่าและเย็นนานกว่าภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง


อย่างไรก็ตามชาวนาควรทราบว่า ข้าวแต่ละพันธุ์ก็ทนต่ออากาศเย็นในระยะแรกได้
ไม่เท่ากัน เช่น พันธุ์ชัยนาท 1 และปทุมธานี1 ถ้ากระทบอากาศหนาวจัด คือ
อุณหภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ข้าวจะเหลืองเตี้ย จนไม่
สามารถฟื้นตัวได้อีก นอกจากนี้ข้าวทั้งสองพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยฯ ชาวบ้านต้อง
หมั่นเฝ้าระวังเพลี้ยฯให้ดี หรือเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านเพลี้ยฯดีกว่า เช่น พิษณุโลก2,
กข29, กข41, และ กข 47 เป็นต้น

สำหรับชาวนาท่านใดที่มีปัญหา หรือ ต้องการความรู้เรื่องการปลูกข้าวหน้าหนาวเพิ่ม
เติม สามารถสอบถามได้ที่ นางวิไล ปาละวิสุทธิ์ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัย
พันธุ์ข้าวพิษณุโลก โทร 089-639-0395 ในวันและเวลาราชการ




http://www.phichittoday.com/news/11.53/news15115301.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. ปลูกข้าวฤดูหนาว เสี่ยงผลผลิตตกต่ำ


เพชรบูรณ์ - นายพงศ์ชัย อุ่นเรือน เกษตรจังหวัด เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตร
จังหวัดเพชรบูรณ์ขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน
จากอุทก ภัยให้ระวังการปลูกข้าวในช่วงที่ต้นข้าวจะต้อง กระทบกับอากาศหนาวเย็น
เพราะอุณหภูมิ ต่ำจะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต จะใส่ปุ๋ยอย่างไรก็ไม่เป็นผล

นายพงศ์ชัยกล่าวอีกว่า ลักษณะอาการที่ข้าวได้รับความเสียหายจากอุณหภูมิต่ำจะ
ทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร หรือหากได้รับผลกระทบในระยะต้น
กล้าก็จะมีผลให้เจริญเติบโตช้า แต่ถ้าเกิดในระยะแตกกอความสูงและจำนวนต้นภาย
ในกอจะลดลง หากเกิดในระยะตั้งท้องจนถึงออกรวงอาจทำให้เมล็ดข้าวเป็นหมันได้
ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวควรประมาณระยะเวลาการปลูกข้าวในพื้นที่ให้ผ่านพ้นช่วง
อุณหภูมิต่ำไปก่อน หรือหากเกษตรกรมีความจำเป็นจะต้องปลูกข้าวในช่วงเวลานี้ควร
ใช้พันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่ออากาศหนาวเย็น



http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdOVEUzTURrMU5BPT0=&sectionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBeE1TMHdPUzB4Tnc9PQ==


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 5:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. เตือนอากาศเปลี่ยนอุณภูมิลด เกิดปัญหา "ข้าวกระทบหนาว"



นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ทำ
ให้สภาพอากาศหลายพื้นที่มีอุณหภูมิลดลงแล้ว หลายพื้นที่สภาพอากาศเริ่มมี
อุณหภูมิลดลง ทำให้มีความเป็นห่วงเกษตรกรที่ปลูกข้าวจะประสบกับปัญหา
"ข้าวกระทบหนาว" ไม่ได้ผลผลิตเต็มที่ โดยพันธุ์ข้าวที่มีความอ่อนแอต่อสภาพ
อากาศหนาวเย็น ได้แก่ พันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับข้าวทุกระยะ ดัง
นั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงนาและสังเกตความผิดปกติของต้นข้าว เพื่อตรียม
พร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที


สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดกับข้าวอยู่ในระยะกล้าจะทำให้
ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระแกรน ใบเหลือง และอาจหยุดการเจริญเติบโตจน
ถึงตายได้ในกรณีที่อุณหภูมิลดต่ำลงมาก ถ้าเกิดในระยะออกดอกหรือระยะผสม
เกสร จะทำให้การผสมไม่ติดและเกิดเมล็ดลีบมาก


อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เกษตรกรที่เตรียมจะปลูกข้าวในขณะนี้ควรติดตามสภาพ
อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้าวที่ปลูกอาจจะประสบปัญหา
ชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 โดย
สามารถใช้พันธุ์อื่นที่สามารถทนสภาพอากาศหนาวได้ดีกว่า เช่น กข31 (ปทุมธานี 80)


ส่วนข้าวที่ชะงักการเจริญเติบโตในขณะที่อุณหภูมิยังไม่สูงขึ้น ควรชะลอการใส่ปุ๋ย
จนกว่าอุณหภูมิจะสูงอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากข้าวจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยในภาวะ
อากาศหนาวเย็นเมื่ออุณหภูมิปรับสูง ขึ้นตั้งแต่ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไปแล้วข้าวจึง
จะมีการเจริญเติบโตและตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี



http://www.ftawatch.org/all/news/21064


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. ระวังโรคเมล็ดด่างในข้าวระยะใกล้ออกดอก-อากาศชื้นจัด

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในขณะนี้สภาพอากาศทุก
ภาคมีความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศเย็นลง
และมีฝนฟ้าคะนองกระจาย สภาพอากาศเช่นนี้จะมีผลทำให้ข้าวที่อยู่ในระยะตั้งท้อง
ใกล้ออกดอก มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเมล็ดด่างและข้าวอาจจะชะงักการเจริญเติบโต
ได้ เกษตรกรควรควบคุมด้วยสารป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างตามคำแนะนา
ของกรมการข้าว


โรคเมล็ดด่างของข้าวมักเกิดกับข้าวระยะใกล้ออกดอกและอากาศชื้นจัด ท้องฟ้า
ครื้มติดต่อกัน โดยมีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา เมื่อข้าวออกดอกและอากาศชื้น เชื้อราจะ
เข้าทำลายและพัฒนาทำให้เกิดอาการเมล็ดด่างและเมล็ดลีบในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำ
ให้ลดลงทั้งผลผลิตและคุณภาพ


ดังนั้น หากอากาศมีความชื้นจัด หรือฝนตก รวมทั้งอุณหภูมิที่ต่ำ ในระยะข้าวใกล้
ออกดอก จึงควรป้องกันโดยการใช้สารกำจัดเชื้อราพ่นป้องกัน เช่น โปรพิโคนาโซล
+ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โปรฟิโคนาโซล+โปคลอลาส หรือ คาร์เบนดาซิม-อีพ็อกซี่
โคนาโซล หรือ ฟลูซิลาโซล หรือ ทีบูโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ


สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นประมาณ 15-20 องศา
เซลเซียสนั้น หากเกิดขึ้นกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า จะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบ
โต แคระแกรน ใบเหลือง และข้าวในระยะออกดอก ช่อดอกอาจโผล่ไม่พ้นใบธง ใน
กรณีที่อุณหภูมิลดต่ำลงมาก (ต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส) ในระยะผสมเกสร จะทำ
ให้การผสมไม่ติดและเกิดเป็นเมล็ดลีบ แต่เกษตรกรไม่ควรตื่นตระหนกต่อสภาพ
อากาศหนาวเย็นในขณะนี้ ไม่ควรใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวแต่อย่างใด ขอให้
ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด หรือเฝ้าติดตามสภาพ
อากาศด้วยตนเอง ประมาณ 2–3 วัน หากอากาศเริ่มอุ่นขึ้น ต้นข้าวก็จะสามารถ
เจริญเติบโตได้ตามปกติ แต่หากต้นข้าวยังมีอาการชะงักการเจริญเติบโต เกษตรกร
ควรรีบปรึกษานักวิชาการของหน่วยงานของกรมการข้าวในพื้นที่ หรือศูนย์บริการชาว
นา 50 แห่ง ทั่วประเทศ




--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อี
เมล์: rachada@infoquest.co.th--

http://www.afet.or.th/v081/thai/news/commodityShow.php?id=4169


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/10/2011 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. เกษตรจังหวัดอ่างทอง เตือน “ข้าวกระทบหนาว”





ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว หลายพื้นที่สภาพอากาศเริ่มมีอุณหภูมิลดลง นายสม
พิศ พูลสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า เกษตรกรที่เตรียมจะปลูกข้าวใน
ขณะนี้ควรติดตามสภาพอากาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
ข้าวที่ปลูกอาจจะประสบปัญหาชะงักการเจริญเติบโตนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้
พันธุ์ข้าวพิษณุโลก 2 โดยสามารถใช้พันธุ์อื่นที่สามารถทนสภาพอากาศหนาวได้ดี
กว่า เช่น กข29 (ชัยนาท 80), กข31 (ปทุมธานี 80) ส่วนข้าวที่ชะงักการเจริญ
เติบโตในขณะที่อุณหภูมิยังไม่สูงขึ้นควรชะลอการใส่ปุ๋ยจนกว่าอุณหภูมิจะสูงอยู่ใน
ระดับปกติ เนื่องจากข้าวจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยในภาวะอากาศหนาวเย็น เมื่อ
อุณหภูมิปรับสูงขึ้นตั้งแต่ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไปแล้ว ข้าวจึงจะมีการเจริญเติบโต
และตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี


ทั้งนี้ อากาศที่หนาวเย็นมีผลทำให้ข้าวได้รับปัญหาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น โรคจาก
เชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต ชะงักงัน ไม่กินอาหาร คอรวงสั้น
ออกรวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ (โรคจู๋) มีความเสี่ยงต่อการที่รวงไม่ผสมเกสรจนเป็น
หมัน เมล็ดข้าวเล็ก แบน ลีบ ผลผลิตตกต่ำ ดังนั้นเกษตรกรควรวางแผนรับมือกับ
การปลูกข้าวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างรอบคอบ โดยการคัดเลือกพันธุ์ที่มี
ความต้านทานต่ออากาศที่หนาวเย็น หรือหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในระยะเวลาดัง
กล่าว ถ้ายังไม่มีความชำนาญเพียงพอ ตรวจวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มี
ความเหมาะสม ดูแลให้สภาพต้นสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความความต้านทานโดยการ
ใช้ ภูไมท์ซัลเฟต หว่านตั้งแต่ตอนเตรียมเทือก ฉีดพ่นไวตาไลเซอร์ และ ไรซ์กรีนพ
ลัส (ทั้งสองตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อสู้กับอากาศหนาว) ทุก ๆ 5–7 วัน ตั้งแต่ก่อนเข้า
หนาวก็จะยิ่งช่วยให้ข้าว มีการปรับตัว สร้างกลไกในการผลิตฮอร์โมนออกมาต่อสู้กับ
อากาศที่หนาวเย็นได้ดี ช่วยทำให้สถานการณ์ที่หนักผ่อนคลายเป็นเบา ผลผลิตได้
รับความเสียหายน้อยลง



ข่าว : ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง




http://www.angthongnews.com/welcome/?p=10345


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/11/2011 6:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 25/10/2011 6:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. ประกาศกรมการข้าว เรื่อง ข้อควรปฏิบัติการทำนาหลังการเกิดอุทกภัย


การแจ้งเตือนให้ชาวนาที่อยู่ในพื้นที่เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ปฏิบัติการภายหลัง
น้ำลด ดังนี้


๑. หากพบว่านาข้าวยังมีน้ำท่วมขัง ต้องรีบระบายน้ำออกโดยเร็ว ปล่อยทิ้งไว้จะทำ
ให้รากขาดออกซิเจน หรือเรียกว่าข้าวเมาตอซัง ทำให้ต้นและใบมีสีเหลืองและตาย
ในที่สุด

๒. หากต้นข้าวมีอายุไม่เกิน ๘๐ วัน ให้ถอนต้นข้าวเพื่อตรวจสอบราก ถ้าไม่มีสีดำ
หรือเน่าเสียหลังจากนั้น ๗ วัน ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งฟื้นฟู
ให้มีการเจริญทางใบใหม่

สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกร่วง ให้เร่งระบายน้ำออกจากนา แล้วรีบเก็บเกี่ยว นวด
ตาก อบความร้อน เพื่อไล่ความชื้นก่อนเก็บเข้ายุ้งฉาง

๓. ให้ระวังโรคกาบใบแห้ง และสามารถป้องกันและกำจัดด้วยสารเคมี วาลิดาซิน ฉีด
พ่นตรงบริเวณโคนต้น

๔. ควรสำรวจระวังบริเวณแปลงนา คันนา ว่ามีการระบาดของศัตรูข้าว เช่น
หนอนกระทู้ข้าว หรือไม่ หากพบให้รีบทำลายด้วยวิธีกล ไม่ควรใช้สารเคมี

๕. กรณีที่ต้นข้างถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงและต้องการปลูกทดแทน ควรเลือกใช้
พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นไม่ไวแสง คือ พันธุ์สุพรรณบุรี ๑ พันธุ์บางแดน พันธุ์พิษณุโลก
๒ และพันธุ์ชัยนาท ๑ และใช้เมล็ดข้าวจากแหล่งพันธุ์ดี(ศูนย์เมล็ดข้าว) ปลูกใน
อัตรา ๒๐ -๒๕ กิโลกรัม/ไร่

๖. การปลูกข้าวระยะดังกล่าว ควรปลูกโดยวิธีหว่านตม จะทำให้ข้าวเติบโตได้ดีและ
เก็บเกี่ยวได้เร็ว

๗. หากเกษตรกร ไม่ต้องการปลูกข้าวทดแทน แต่ต้องการเสริมรายได้ ควรปลูกพืช
ตระกูลถั่ว หรือพืชผักต่างๆ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงดินและช่วยลดการระบาดของโรค
แมลงด้วย

๘.ให้เกษตรกรติดตามประกาศเตือนภัยและการระบาดศัตรูข้าวของกรมการข้าว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถสอบถามข้อสงสัยได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์
เมล็ดพันธุ์ข้าว สำนักงานเกษตรจังหวัดหรือสำนักงานเกษตรอำเภอ ใกล้บ้าน



http://61.19.54.137/law/dpmlaw/main/content.php?page=sub&category=169&id=818


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2011 4:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 25/10/2011 3:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

11. ปลูกข้าวหลังน้ำลด


กรมการข้าว ได้ประชาสัมพันธ์ถึงข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด เพื่อให้
ชาวนาทราบและปรับตัวให้พร้อมก่อนการทำนารอบต่อไป

1. จากที่เกิดน้ำท่วมดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจากการพัดพาเอาตะกอนดิน
มากองหน้าดินทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากในการปลูกข้าว

2. ควรเริ่มปลูกข้าวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้ง
ท้องและออกดอกในช่วงอากาศหนาวในเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผลทำให้
ข้าวลีบ

3. ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชหรือ เมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในดินจากฤดูที่ผ่านมา
งอกขึ้นก่อน แล้วไถทำลายในขั้นตอนการเตรียมดิน จะสามารถลดปริมาณข้าว
วัชพืช/ข้าวเรื้อจากฤดูปลูกที่ผ่านมาลงได้มาก

4. หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อสภาวะอากาศหนาว เช่น พิษณุโลก 2, กข
29, กข41 เป็นต้น


5. ข้อควรระวัง
5.1 โรคไหม้และโรคขอบใบแห้งของข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีหมอกและน้ำ
ค้างมาก ประกอบกับดินมีความอุดมสมบูรณ์จากน้ำท่วม ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคกับ
ข้าวทุกระยะการเติบโต

5.2 หนอนกระทู้กล้าและหนอนกระทู้คอรวง โดยหนอนกระทู้กล้าจะเข้าทำลายต้น
ข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะแตกกอ การทำลายมักเป็น ในเวลากลางคืน อาจเสียหาย
ได้ภายใน 1-2 วัน ส่วนในช่วงข้าวออกรวง หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินคอรวง
หรือ ระแง้ของรวง ในระยะ สุกแก่ ทำให้คอรวงขาด การทำลายในช่วงกลางคืนเช่น
เดียวกัน


6. พันธุ์ข้าว
6.1 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหลังน้ำลด (เขตพื้นที่ชลประทาน) มีดังนี้

ภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลาง
– กข31, กข39, กข43, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณบุรี 90, และบางแตน


ภาคใต้
– กข37, ชัยนาท 1, และพิษณุโลก 2 (พื้นที่ภาคใต้ไม่มีผลกระทบกับอากาศ
หนาวจึงสามารถปลูกได้)


6.2 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกฤดูหนาว (เขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน)
คือ พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นเก็บเกี่ยวสั้น มี 3 พันธุ์ ได้แก่ กข43, สุพรรณบุรี 2, บาง
แตน (โดยมีอายุการเก็บเกี่ยว 97-98 วัน เป็นนาหว่านน้ำตม ซึ่งการที่จะปลูกข้าว
3 พันธุ์นี้ได้ ต้องมีน้ำเพียง พออย่างน้อยสามารถหล่อเลียงต้นข้าวไปได้ อายุ 80-
87 วัน หรือ มีน้ำประมาณ 2 เดือนกว่าๆ จึงสามารถปลูกได้)



http://www.nsw-rice.com/index.php/riceknowladge
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/11/2011 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

...
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©