ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 23/07/2010 3:13 pm ชื่อกระทู้: ตลุยสวนพี่หญิง |
|
|
รวบรวมรูปภาพครั้งที่ไปเที่ยวสวนพี่หญิง สมาชิกกล้อมแกล้ม.เน็ต#1 มาให้ชมกันครับ สวนอยู่ที่ ต.กองดิน อ.แกลง จ.ระยอง
ซึ่งไม่ไกลจากบ้านน้องโอเท่าไหร่ครับ
หลังจากโทรหาพี่หญิงซึ่งพี่หญิงก็บอกเต็มที่เลยน้อง อ้าว! แบบนี้ก็เสร็จพวกผมซิครับ พี่ยังรู้จักพวกทะโมนน้อยไปซะแล้วววว...
นำทีมโดยพี่สาวของเรานั่นเอง
ส่งพี่อ้อเป็นแนวหน้ารับกระสุน เอ้ย ! ให้พี่เข้าไปขออนุญาตลุงใจดีคนเฝ้าสวนครับ ลุงผู้ซึ่งถูกลดตำแหน่งจากเจ้าของสวน
มาเป็นคนเฝ้าสวนซะงั้น (เรื่องมันยาวครับ)
สวนพี่หญิงติดคลองใหญ่ สวยมากเลยครับ ทุกคนเห็นแล้วช้อบ..ชอบ
น้ำใหลทั้งปี แบบนี้สบายเลยครับ..... แต่งตลื่งทั้งสองฝั่งให้เรียบร้อย แข็งแรง ลงไม้ดอกไม้ประดับ มีศาลาริมน้ำ
ให้อาหารปลาไปเถอะเดี๋ยวปลาธรรมชาติมาอยู่เอง (เหมือนปลาหน้าวัด) ในน้ำมีเรือพาย หรือจักรยานน้ำ หรือจะมี
กิจกรรมพายเรือท่องเที่ยวไปตามลำน้ำ จะขึ้นหรือล่องก็ได้ สุดท้ายมาขึ้นฝั่งที่สวนเรา...........(ลุงคิม)
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
may-etc สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010 ตอบ: 87 ที่อยู่: จันทบุรี
|
ตอบ: 23/07/2010 3:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็นรูปแล้วเข้าใจ ทำไมคุณอ๊อดบอกว่า สวนพี่เค้าสุดยอด ดูดี มีอนาคตมากเลยอ่ะค่ะ มีที่ว่างโล่งๆ ด้วย(สวนตัวเองมันเต็มไปหมด)
สวนเรายังอีกไกลนัก พอเข้าใจคุณอ๊อด ถามเมย์ว่าเปลี่ยนได้มั้ยสวนนี้ ไม่ัทันแล้วค่า
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 23/07/2010 3:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวนนี้ได้เปรียบเรื่องดินครับ(ดินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง) เป็นที่ดินเหนียวปนทรายติดลำคลอง ต้นไม้ที่นี่จึงมีสภาพสมบูรณ์ตามที่เห็นครับ
ใบมังคุดใหญ่ สมบูรณ์ เจ้าแม่นกกระจิบเห็นแล้วชอบ...
บางส่วนแซมด้วยต้นหมาก เป็นรายได้เสริมอีกทางครับ
ปรับเรียบพื้นที่ให้เรียบร้อย ติดไฟฟ้า 2-3 ดวง ใช้เป็นลานกางเต๊นท์นอน ใกล้ๆ บริเวณกางเต๊นท์ปรับพื้นที่เล่น CAMP FIRE
สำหรับผู้มาเที่ยวแบบหมู่คณะ..... หรือทางสวนจัดโปรแกรม นัดสมาชิกซึ่งไม้รู้จักกันมาก่อน มาเข้าแคมป์ร่วมกันในฤดูกาล
ชม/ชิม/ซื้อ ผลไม้จากสวน หรือกลุ่มเครือข่ายก็ได้................................................................ (ลุงคิม)
กล้วยไข่ที่นี่งามและต้นสูงมากเลยครับ
ก่อนถึงวันเปิดสวนท่องเที่ยว ทำต้นกล้วยให้ "ออกปลีกลางต้น" เลือกกล้วยตานี (ขลังดี) ไปขอหน่อพันธุ์ที่สวนคุณไพบูลย์ฯ
คราวนี้แหละ ขายผ้าเหลืองผ้าแดง ธูปเทียน รวยกว่าขายมังคุด 100 ปีแน่.................................(ลุงคิม)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ott_club เมื่อ 23/07/2010 4:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
may-etc สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010 ตอบ: 87 ที่อยู่: จันทบุรี
|
ตอบ: 23/07/2010 3:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เข้ามาปาดคุณอ๊อด สวนพี่เค้า สมบูรณ์สุดยอด สวนแบบนี้ตอนซื้อเท่าไหร่คะเนี่ย เมย์เคยไปถามสวนลักษณะเกือบเท่านี้
เค้าว่า ไร่ละ 150,000 นี่เค้ายังไม่ขาย เออ เลยได้อย่างสภาพที่เห็นมาแทน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 23/07/2010 4:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอขอบคุณพี่หญิงที่ให้พวกทะโมนเข้าไปตลุยสวนในครั้งนี้ พวกเราต่างมีความเห็นเหมือนกันว่าต้นไม้ที่นี่งามและสมบูรณ์มาก
หากมีการใช้ฮอร์โมนเพื่อชักนำให้พืชเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราต้องการจะกระทำได้ง่าย และค่อนข้างดีด้วย
หากมีการเข้าถึงธรรมชาติของต้นไม้ในสวนและพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกัน
ไม่น่าเกิน 5 ปี น่าจะคืนทุนทั้งหมด
จากบรรดา"ทะโมนกล้อมแกล้ม"
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ott_club เมื่อ 23/07/2010 8:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 23/07/2010 5:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณเพื่อนๆมากนะคะ ที่เข้าไปแวะชมที่สวน
ที่เห็นตามภาพว่าสวนมันโล่งๆ สาเหตุเพราะคุณลุงตัดเงาะไปเกือบเกลี้ยง ตามที่เคยเล่าให้ฟังนะค่ะ เสียดายมากเลยนะ เพราะใครๆก็บอกว่าเงาะอร่อยมาก ถึงลูกจะไม่ใหญ่มาก แต่ตอนแรกก็ตั้งใจจะเอา ยูเรก้า ของลุงคิมมาฉีดไง...ให้ได้ลูกโตๆ แต่คุณลุงเขาถอดใจ เรื่องแรงงานเก็บเงาะ ต้องขับรถไปรับ-ส่งคนงาน และทำงานไม่ได้ดังใจ เก็บเงาะที่หล่นเสีย-เงาะลูกเล็ก(ที่เขาเรียกเงาะคัด...รึเปล่า) มารวมๆกันเพื่อให้ได้น้ำหนัก บอกแล้วบอกอีกก็ยังทำ ไม่รู้จะทำยังไง เพราะเงาะถ้ามีเสียรวมไป 1-2 ลูก นี่ มันจะพาให้เสียไปทั่วทั้งกระบะเลย งานไม่ได้คุณภาพแล้วต้องมาเหนื่อยตรวจ-คัดแยกอีก เลยเหนื่อยมาก พอมาเจอพวกพ่อค้าแม่ค้าคนกลางกดราคา ติโน่น ตินี่อีก เลยโมโหอีก จะให้ราคาเท่าไรก็บอกมา ถ้าราคาพอใจ ..ชั้นก็ขาย ไม่พอใจก็ไม่ขาย คนรอซื้อเยอะแยะ ไม่ง้อ แต่อย่ามาติ(นะโว้ย.....) คุณลุงเขารับไม่ได้ ก็เลยแอบตัดทิ้งซะเลย......
ตอนนี้ มีที่ว่าง ก็เลยต้องหาทุเรียนมาปลูกเพิ่ม และกะว่าจะลงกล้วยไข่แซมไว้ให้เต็มเลย เพราะกล้วยไข่แต่เดิมที่ปลูกไว้ในสวน คุณลุงไม่เคยสนใจเอาไปขายเลยนะ ปล่อยทิ้งไว้งั้น เพราะราคาได้แค่ กิโลละ 5-6 บาท เราไปสวนก็ลองเก็บมาขายที่กรุงเทพฯ ก็พอได้ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วนนะ ก็เลยกะทำจริงจัง ให้ได้คุณภาพส่งออกไปเลย ถ้าได้ก็ราคาเพิ่มมาตั้ง 4-5 เท่า แถมมีตลาดรับซื้อแถวนั้นด้วย ส่วนพวกตกเกรดก็ขนมาขายกรุงเทพฯ เป็นรายได้ประจำสัปดาห์น่าจะได้อยู่ ( ฝันหวาน.... )
อาทิตย์หน้า พริกไทยที่สั่งไว้ 200 ต้น จะมาส่งแล้ว ยังกังวลอยู่ว่า ถ้าปีนี้มันเจอน้ำท่วม 2-3 วัน ตามที่คุณลุงบอกว่าที่นี่มันมีน้ำท่วมเกือบทุกปี แต่ท่วมแค่ 2-3 วัน พริกไทยมันจะพอทนได้มั๊ย.... ขอให้อดทนหน่อยนะ รอดแล้วจะเลี้ยงดูอย่างดีเลย เอาสูตรสหประชาชาติไปเลย.... ( ฝันหวาน....อีกแระ ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 23/07/2010 5:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พอเห็นสวนคุณหญิง เห็นลุงที่ดูแลสวน คิดเล่นๆว่า เรื่องลดต้นทุนค่อยปรับไปเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ทำให้ได้เกรดเอ จัมโบ้ ไว้ก่อน
เพราะต้นไม้ค่อนข้างสมบูรณ์ ดินดี และการดูแลดี เห็นแล้วก็ เอาเถอะนะ ลุงแกจะดื้อก็ดื้อไป แต่ขอให้ดูแลต้นไม้เราให้ดีแล้วกัน
เรื่องการตัดแต่งกิ่งมังคุด ยังไม่มีรูปแบบ บางต้นตัด บางต้นไม่ตัด
สภาพสวนมีท้องร่อง ดูแลเรื่องความสะอาด ทำสะพานข้ามท้องร่อง ให้นักท่องเที่ยวไปเก็บมังคุด แล้วเราก็ทำข้าวห่อกาบหมากขาย
ดูจากปริมาณของผลผลิตและความหลากหลาย สามารถเปิดเป็นสวนท่องเที่ยวได้สบาย
ถ้าเปิดเป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถเชื่อมโยงกับสวนของน้องโอซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกันได้
น่าทำนะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 23/07/2010 6:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่องการตัดแต่งกิ่งมังคุด ยังไม่มีรูปแบบ บางต้นตัด บางต้นไม่ตัด
กำลังศึกษาอยู่ว่า ตัดยังไงอ่ะ คุณลุงไม่ยอมตัดเลย หวงมาก เห็นสวนอื่น เขาตัดกิ่งที่อยู่ข้างล่างขึ้นไป 2-3 กิ่ง ก็ดูโล่งสวยงามดี แกล้งถามคุณลุงว่า คุณลุง ดูซิสวนนั้น เขาตัดกิ่งข้างล่างออกทำไม คุณลุงบอก ไม่รุ มันจะตัดทำไม มังคุดตัดกิ่งออกมันก็ไม่แตกออกมาให้ใหม่นะ
เราว่ามังคุดที่สวน ใบมันทึบไป ลุงก็บอกว่า นี่โปร่งแล้วนะ ....
ยังไม่รู้จริง ก็เลยยังไม่กล้าไปตัดเองน่ะ.....
สภาพสวนมีท้องร่อง ดูแลเรื่องความสะอาด ทำสะพานข้ามท้องร่อง ให้นักท่องเที่ยวไปเก็บมังคุด แล้วเราก็ทำข้าวห่อกาบหมากขาย
เรื่องความสะอาด อยากทำมาก........ แต่สงสัยต้องรอแล้งก่อนจะเคลียร์ให้หมดเลย สะพานข้ามท้องร่องก็ซื้อแผ่นพื้นมาเตรียมไว้แล้ว รอให้คุณลุงหาแรงงานมายกอยู่ ทำเองไม่หวา...ย ว่าแต่ว่าข้าวห่อกาบหมากเป็นไงอ่ะ......
ดูจากปริมาณของผลผลิตและความหลากหลาย สามารถเปิดเป็นสวนท่องเที่ยวได้สบาย
ถ้าเปิดเป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถเชื่อมโยงกับสวนของน้องโอซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกันได้
ตั้งใจว่าจะทำเหมือนกันนะ กำลังวางแผนปลูกดอกไม้ ทำทางเดินสวยๆ อยู่
ถ้ามีตังค์เหลือเยอะๆ ไม่ต้องคิดมากก็ดีซินะ อยากทำศาลาริมน้ำไว้ที่บ่อปลา บ่อละ 1 ศาลา ไว้ให้นักท่องเที่ยว กินผลไม้ ชมสวน ชมปลา ให้อาหารปลา และทำศาลาอีก 1 ศาลาใหญ่ๆ ไว้ริมคลองดูน้ำใสไหลเย็น รับลมริมคลอง Happy.....สุด สุด...... ( Project นี้ รอก่อนนะ ขายพริกไทยได้กำไรแล้ว จะสร้างให้ ) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 23/07/2010 6:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลุงเค้าพูดถูกนะ ถ้าตัดแล้วจะไม่แตกกิ่งใหม่ เพราะฉะนั้นการตัดกิ่งล่างๆ อย่าตัดให้สูงจนเกินไป ถ้าตัดแล้วปลายกิ่ง
ยังติดพื้นดินอยู่ ให้ใช้วิธีตัดที่ปลายกิ่ง ตัดออกที่ละน้อย แล้วปลายกิ่งจะกระดกขึ้น ดูให้เหมาะสม ให้เราสามารถเก็บ
เกี่ยวผลผลิตสะดวก
เห็นแล้วหละ สะพานข้าม แผ่น slab ที่คุณหญิงซื้อไว้ แต่ดูเหมือนมันยาวมากเลยนะ ใช้งานจริง
จะต้องตัดหรือเปล่า
ส่วนเรื่องข้าวห่อกาบหมาก ลืมไปคุณหญิงไม่ใช่คนระยองฮิ เลยไม่รู้จัก
ก็ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป สร้างปีละอย่าง สุดท้ายฝันจะเป็นจริง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
somchai หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009 ตอบ: 1281
|
ตอบ: 23/07/2010 7:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณชมรม อ๊อด..ชวน..ชิม...และผู้รายงานข่าวด้วยครับ
เห็นสวนผลไม้แบบนี้ดูแปลกตาไปนะครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ไปเข้าไปเที่ยวชม ไว้โอกาศเหมาะๆช่วงที่มีผลผลิต เชิญชวน สมาชิก เกษตรลุงคิม ดอท คอม แวะเวียนเข้ามาชิม เข้ามาชม เข้ามาซื้อ ผลผลิตจากสวนโดยตรงหากมีโอกาศผ่านมาทางนี้นะครับ
สมชาย กลิ่นมะพร้าว |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Yuth-Jasmine สาวดี่
เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010 ตอบ: 384
|
ตอบ: 23/07/2010 8:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พี่หญิงครับ สวนของพี่ร่มรื่นดีจังเลยครับ คนละเรื่องกับไร่อ้อยผมเลย
หาต้นไม้ใหญ่ไม่ได้เลย (เพราะตัดออกหมด อ้อยไม่ชอบ)
โอกาสหน้า ผมขอนุญาต ไปผูกเปลนอนเล่นบ้างน่ะครับพี่
แอบขโมยอะไรแถวนั้นกินด้วยน่ะครับ
สุขภาพแข็งแรงน่ะครับพี่
ยู้ดดดด...ครับผม
thitiya บันทึก: |
ยังกังวลอยู่ว่า ถ้าปีนี้มันเจอน้ำท่วม 2-3 วัน ตามที่คุณลุงบอกว่าที่นี่มันมีน้ำท่วมเกือบทุกปี แต่ท่วมแค่ 2-3 วัน พริกไทยมันจะพอทนได้มั๊ย.... ขอให้อดทนหน่อยนะ รอดแล้วจะเลี้ยงดูอย่างดีเลย เอาสูตรสหประชาชาติไปเลย.... ( ฝันหวาน....อีกแระ ) |
ปล. พี่หญิงครับ แถวบ้านน่ะ (นครสวรรค์) ตรงไหนเป็นเขตน้ำท่วมถึง
หรือพื้นที่เฉอะแฉะ เห็นเขาดำต้นใบเตยกันเลยครับ โตไวน่ะ
เห็นเก็บขายกันแทบไม่ทันเลยครับพี่ ราคาดีด้วยน่ะครับพี่ เท่าไรก็ไม่พอขาย
(เป็นไปได้ว่า เขาส่งปากคลองตลาดหรือเปล่าไม่ทราบน่ะครับ) รายนี้เธอไม่เกี่ยงน้ำครับ
ปลูกกันเหมือนดำนาข้าวเลย ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย โตไวอีกต่างหาก ปลูกใต้ไม้ใหญ่ก็ได้ครับ
ศัตรูพืชน้อยมาก แต่ไม่ทราบว่าสภาพน้ำท่วมแถวสวนพี่หญิง จะเหมือนแถวบ้านผม
หรือเปล่าน่ะครับ บางรายปลูกกันเป็นเรื่องเป็นราวเลยน่ะ ขนาดใต้ถุนบ้านยังปลูกเลยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 24/07/2010 9:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ปิ๊งมากเลยค่ะลุงคิม กับกิจกรรมทางน้ำ ( Idea วัยรุ่น นะเนี่ย... ) เพราะริมคลองนี้ก็เป็นสวนผลไม้ทั้งนั้น ร่มรื่นดี น้ำก็มีทั้งปีด้วย ทำแบบจัดขึ้นรถไปลงเรือที่สวนเพื่อนลุงข้างบนเขาชะเมา แล้วปล่อยเรือลงมาขึ้นที่สวนเรา น่าสนุกนะ เด๋วไปซื้อเรือมา Survey เส้นทางก่อน........
จะทำสวนท่องเที่ยว... มันต้องมีจุดขายเด่นๆ อะไรซักอย่าง ยังนึกไม่ออก เพื่อนๆช่วยคิดหน่อยนะ.... จะเอากล้วยตานีออกปลีกลางต้น ทุเรียนไร้หนาม ? ? ? ยังนึกไม่ออก....
ข้าวห่อกาบหมาก ของคุณอ้อ.. น่าทานมากเลยนะ...ทานกับข้าวร้อนๆ น่าอร่อย..
ขอบคุณมากเลย คุณยู๊ด....คิดอยู่ว่าพอเคลียร์ท้องร่องได้แล้ว จะหาพืชอะไรที่ไปปลูกได้บ้าง ท้องร่องทำให้เสียพื้นที่ไปโขอยู่ บางร่องใหญ่ขนาดที่คิดว่าจะเลี้ยงหมูหลุมได้เลยนะ....
ได้ Idea เพื่อนๆ มาทดลองทำก่อน โน่นนิด นี่หน่อย รอดูน้ำปีนี้ ถ้าตัวไหนรอด ปีหน้าก็ลุยเลย... |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
pai หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 05/01/2010 ตอบ: 5
|
ตอบ: 25/07/2010 11:38 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็นสวนพี่หญิงแล้วสวยมาก น้ำท่าดี ทำเลเหมาะด้วยค่ะ โดยเฉพาะกล้วยไข่กำลังออกเครือ
ใกล้เก็บขายได้แล้ว ผลอวบอ้วนน่ากินจัง หนูว่าดีไม่ดีพิ่หญิงตัดกล้วยขายรวยกว่าขายมังคุด
ซะอีก เพราะกล้วยออกตลอดปี
ขอเอาใจช่วยพี่หญิงนะคะ ฝากความคิดถึง ถึงพี่ใหญ่ด้วย สุขภาพดีนะคะพี่หญิงใหญ่และชาวกล้อม
แกล้มดอทเน็ต ทุกคนค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 25/07/2010 12:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา: http://student.nu.ac.th/sanz/mai/maket.html
กล้วยไข่
คุณลักษณะเฉพาะ
- สายพันธุ์แนะนำ คือ กล้วยไข่กำแพงเพชร (ดีที่สุด). ทองร่วงหรือค่อมเบา (ผลใหญ่/รสหวานติดเปรี้ยวเล็กน้อย). เคบี-2 และ เคบี-3
- ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว (ส.ค.-ก.ย.) นอกจากช่วยให้ต้นโตเร็วแล้วยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ออกเครือช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย
- ชอบดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ โปร่ง ไม่ชอบอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไป
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อน้ำขังแฉะโคนต้นและดินเหนียวอุ้มน้ำ เพราะฉะนั้นนอกจากต้องเตรียมแปลงปลูกสูงๆแล้วยังต้องมีระบบระบายน้ำจากแปลงปลูก และระบบสะเด็ดน้ำไม่ให้ขังค้างในเนื้อดินโคนต้นอีกด้วย
- ปลูกในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจะออกเครือช้า ปลูกในพื้นที่อากาศร้อนเกินไปจะเกิดอาการใบไหม้ โตช้า บางครั้งถึงแคะแกร็น หรือต้นชะงักการเจริญเติบโต
- จัดแปลงปลูกแบบลูกฟูกยกร่องแห้งแล้วให้น้ำโชกๆผ่านไปตามร่องระหว่างสันลูกฟูกจะช่วยให้ดินมีน้ำและความชื้นพอดีต่อความต้องการของกล้วยไข่
- ช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโตถ้าเกิดอาการใบสลดแสดงว่าขาดน้ำ
- ระยะปลูกที่พอดี 2.5 X 2 ม. พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 320 ต้น ไม่ควรปลูกห่างหรือชิดกว่านี้เพราะแต่ละต้นต้องการอาศัยบังแดดและลมซึ่งกันและกัน
- ปลูกแบบขุดหลุมปลูกตื้น หรือให้บริเวณหัวเหง้าต่อกับลำต้นเสมอผิวดิน (ลึก 20-25 ซม.) แล้วใช้ดินปลูกถมพูนโคนต้นจะช่วยให้โตเร็วกว่าการปลูกลึกๆ การมีเศษหญ้าแห้งคลุมหนาๆโคนต้นกว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่มจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นหน้าดินส่งผลให้หน่อแตกรากใหม่เร็ว
- ปลูกหน่อลงหลุมแล้วกดดินพอกระชับราก พูนโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุ และเศษพืชแห้งหนาๆแผ่ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- อายุต้นหลังปลูก 3-4 เดือนเริ่มแทงหน่อ เมื่อหน่อสูง 50-80 ซม.ให้ตัดหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. และตัดซ้ำทุกครั้งที่หน่อสูง 50-80 ซม. โดยให้รอยตัดครั้งหลังสูงกว่ารอยตัดครั้งก่อน 5-10 ซม.เสมอ จนกระทั่งต้นแม่อายุ 7-8 เดือนให้เลือกหน่อชิด 1-2 หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังจากตัดเครือและล้มต้นแม่แล้ว หน่อที่เลือกไว้นี้ไม่ต้องตัดต้นอีก ส่วนหน่อตามหรือหน่ออื่นๆให้ตัดต้นตามปกติ
- ช่วงแทงปลียาวออกมาแล้ว (ยังไม่ตัดหัวปลี) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 15-45-15 (200 กรัม)/น้ำ 20 ล. ฉีดเข้าที่ก้านของปลีพอเปียก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันจะช่วยให้การติดผลได้จำนวนหวีมากขึ้น
- การไว้หน่อเพื่อแทนต้นแม่หลังตัดเครือแล้วสำหรับรุ่นปีต่อไปนั้น หน่อแต่ละรุ่นควรมีอายุห่างกัน 4-5 เดือนเสมอ
- แยกหน่อจากต้นแม้ด้วยความประณีตให้คงมีรากเดิมติดเหง้ามามากที่สุดเท่าที่จะมากได้และอย่าให้รากที่ติดมานั้นกระทบกระเทือนมากนัก การมีดินเดิมห่อหุ้มรากขณะเคลื่อนย้ายจะช่วยให้รากชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อนำลงปลูกจะยืนต้นได้เร็ว
* ได้หน่อมาแล้วควรนำลงปลูกโดยเร็วไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าจำเป็นต้องทิ้งไว้นานให้พรมน้ำแล้วห่อหุ้มเหง้าและรากด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ รากเดิมที่ติดมากับเหง้าไม่ควรตัดทิ้งแต่ให้ปลูกพร้อมรากเดิมเลย กับทั้งต้องระวังการขุดแยกจากต้นแม่ ขณะเคลื่อนย้าย นำลงปลูก อย่าให้รากที่ติดอยู่กับเหง้าช้ำหรือกระทบกระเทือนมากนัก เพราะรากของกล้วยไข่สามารถเจริญต่อจากรากเดิมได้
- เลือกหน่อพันธุ์ลักษณะโคนใหญ่ ปลายเรียว ใบแคบ อายุ 3-4 เดือน
- อายุต้นตั้งแต่เริ่มปลูกถึงออกปลี 190-200 วัน หลังจากตัดปลีแล้ว 45-50 วันเก็บเกี่ยวได้ หรือตั้งแต่ออกปลีถึงเก็บเกี่ยว 60-70 วัน
- ผลผลิตทั่วๆไปอกสู่ตลาดช่วงเดือน ส.ค.- พ.ย.
- ช่วงที่ยังไม่ออกเครือให้ไว้ใบ 10-12 ใบ และช่วงที่ออกเครือแล้วให้ไว้ใบ 8-9 ใบ จะทำต้นไม่เฝือใบ ไม่โทรม และให้ได้ผลผลิตดี
- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วัน ให้ห่อเครือด้วยถุงสีฟ้าขนาดใหญ่ เปิดก้นถุง เพื่อให้ลมผ่านและอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห่อด้วยใบของเขาเอง
- ช่วงที่ต้นกำลังออกเครือระบบรากค่อนข้างอ่อนแอจึงไม่ควรให้ปุ๋ยทางรากเพราะนอกจากอาจจะทำให้รากเน่าแล้ว ยังทำให้ผลแก่เร็วกว่ากำหนดทั้งๆที่ขนาดผลยังเล็ก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วยังบ่มให้สุกช้าอีกด้วย เมื่อให้ปุ๋ยทางรากไม่ได้ก็ต้องให้ทางใบแทน
- หลังจากห่อผลแล้ว 30 วัน ใบบางส่วนจะเริ่มแห้ง ผลกลมไม่มีเหลี่ยม แสดงว่าผลแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้ว
- ช่วงติดผลขนาดใหญ่ นำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าต้นรับน้ำหนักไหวก็อาจจะไม่ต้องมีไม้ค้ำต้นแต่ถ้าเห็นว่าต้นคงรับน้ำหนักไม่ไหวแน่ก็ให้ค้ำต้น
- ไม่ควรปล่อยให้แก่จนสุกคาต้นเพราะจะทำให้กลิ่นและรสด้อยลง
- กล้วยไข่แจ็คพอต หมายถึง กล้วยไข่ที่แก่จัดใกล้สุก (ห่าม) หรือสุกพอดีตรงหรือก่อนเล็กน้อยกับช่วงวันสารทไทย การปลูกกล้วยไข่ให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลดังกล่าว สามารถทำได้โดยการนับระยะอายุจากวันตัดเครือย้อนหลังมาถึงวันที่ยืนต้นได้ 9 เดือน ให้ลงมือปลูกหน่อกล้วยก่อนวันที่ยืนต้นได้ 1-2 เดือน จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนปกติ หรือลงมือปลูกหน่อก่อนวันสารทไทย 11-12 เดือน กล้วยไข่ต้นนั้นก็จะมีเครือให้ตัดได้ในวันสารทไทยพอดี
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
*************************************************************
กล้วยไข่กำแพงเพชร
หากจะเปรียบเทียบกล้วยชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในเมืองไทยแล้ว กล้วยไข่ก็นับว่าเป็นหนึ่งในกล้วยยอดฮิตที่คนไทยชอบกิน และปลูกกันมากในหลายจังหวัด เช่น ในอดีต จ.กำแพงเพชร ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ ราคาของกล้วยไข่ก็ค่อนข้างสูง และตอนนี้อาจขยับไปถึงกิโลกรัมละมากกว่า 20 บาท เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาน้อย
ถึงแม้กล้วยไข่จะเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไป แต่นักวิจัยที่ให้ความสนใจในการพัฒนาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับกล้วยไข่มีค่อนข้างน้อยมาก ก็เลยเป็นผลทำให้การปลูกกล้วยไข่ไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร เพราะหลายครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ไม่มีวิชาความรู้มาช่วยแก้ปัญหาได้ ผลก็คือผู้ผลิตหลายรายอาจต้องเลิกปลูกแล้วหันไปปลูกอย่างอื่นแทน
งานวิจัยที่เกี่ยวกับกล้วยไข่เท่าที่มีและใช้ประโยชน์ได้ตอนนี้ก็คงเป็นเรื่องของพันธุ์ และการปลูกดูแลรักษาในแง่มุมต่างๆ เช่น การให้ปุ๋ยพร้อมน้ำและเรื่องของโรคและแมลง เป็นต้น งานวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของ ศ.เบญจมาศ ศิลาย้อย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้พันธุ์ใหม่ออกมา มีลักษณะเด่นคือผลอ้วนป้อม และเปลือกหนา โดยตั้งชื่อว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ซึ่งตอนนี้มีการปลูกแพร่หลายในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่วนพันธุ์เดิมๆ ที่มีปลูกกันอยู่ก็ได้แก่พันธุ์กำแพงเพชร หรือสุโขทัย ซึ่งก็ปลูกกันมากทางภาคเหนือ
การปลูกกล้วยไข่ก็เหมือนการปลูกไม้ผลทั่วๆ ไป มีการเตรียมหลุมปลูก โดยใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม ให้ปุ๋ย ให้ยา และให้น้ำ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติทั่วไป แต่มีการวิจัยเกี่ยวกับการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ และเป็นการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลงานวิจัยของ รศ. ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้ทดลองวางระบบน้ำหยดในแปลง กล้วยไข่ แล้วมีการใช้ปุ๋ยผสมลงไปในน้ำเพื่อให้ต้นกล้วยได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ผลที่ได้รับคือกล้วยไข่มีคุณภาพดีขึ้น รวมทั้งประหยัดทั้งปุ๋ยและน้ำ เพียงแต่การลงทุนขั้นต้นค่อนข้างสูงเท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้วน่าจะคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกกล้วยไข่เพื่อการส่งออก ซึ่งต้องการความสม่ำเสมอและคุณภาพดี
นอกจากจะมีการศึกษาเรื่องการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำแล้ว ก็ยังมีการศึกษาระบบการให้น้ำ การให้ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืช โดยนักวิจัยอีกหลายคน แต่ที่สำคัญก็คือ เมื่อได้ความรู้เหล่านี้มาแล้ว ก็มีกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ปลูกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยทีมวิจัยซึ่งนำโดย รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกันจัดอบรมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออก และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยได้จัดทำคู่มือการผลิตกล้วยไข่คุณภาพขึ้นมา 1 เล่ม เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการอบรมดังกล่าว โดยได้รวบรวมผลงานวิจัยแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นขั้นตอนการผลิตกล้วยไข่คุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยรูปภาพแสดงขั้นตอนอย่างละเอียด เหมาะที่จะใช้เป็นคู่มือสำหรับเกษตรกรทั่วไป โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคู่มือนี้มาจากผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน
คราวหน้าจะนำเรื่องการให้ปุ๋ยกล้วยไข่พร้อมระบบน้ำมาเล่าให้ฟังต่อ เพราะเป็นประเด็นที่น่าสนใจและมีผู้นำไปใช้แล้วได้ผลดี เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางการผลิตกล้วยไข่คุณภาพสูงต่อไปครับ
รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ
ที่มา : คม ชัด ลึก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 25/07/2010 12:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 25/07/2010 12:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เคล็ด (ไม่) ลับกล้วยไข่ :
.... กล้วยไข่ซึ่งก็เหมือนกับกล้วยอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ" ดีมากๆ ให้ "ระเบิดเถิดเทิง (เน้น ขี้ค้างคาว) 8-24-24 เดือนละครั้ง ช่วยบำรุงต้นสมบูรณ์ เครือใหญ่ หวีมาก ผลดก รสชาดดี
.... กล้วยไข่ชอบให้พรวนดินรอบทรงพุ่ม เอาดินไปพูนโคนกอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง จะได้ต้นสมบูรณ์ เครือใหญ่ หวีมาก ผลดก รสชาดดี ...... ถ้าไม่มีการพรวนดิน ต้นเล็ก เครือเล็ก หวีน้อย ผลไม่ดก ลักษณะผลเล็กนี้เรียกว่า "กล้วยตีนเต่า" รสชาดดี เนื้อแน่น บางคนบอกว่าอร่อยกว่ากล้วยไข่ผลใหญ่
.... ก่อนตกเครือให้ "ฮอร์โมนไข่ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน จะช่วยบำรุงให้การออกเครือดี ส่งผลถึงคุณภาพผลผลิตด้วย
.... ปลีที่ออกมาแล้วขณะที่กำลังพัฒนาเป็นหวีนั้น ให้ประมาณดูว่าอีก 2 หวีที่ปลายปลีจะเป็น 2 หวีสุดท้ายของเครือแล้ว ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ จะทำให้ได้จำนวนหวีเพิ่มจาก 2 หวีสุดท้ายขึ้นอีก 2-3 หวี หมายความว่า จะทำให้ได้จำนวนหวีมากขึ้นจากปกติที่เคยได้ 2-3 หวีนั่นเอง
.... ก่อนตัดเครือ 1-2 อาทิตย์ ให้ "น้ำคั้นมะเขือเทศสุกสดใหม่" จนเมื่อครบกำหนดตัดเครือแล้วก็ให้ตัดตามปกติ จะได้คุณภาพของผลผลิตดีกว่าไม่ได้ให้
.... ก่อตัดเครือ 1-2 อาทิตย์ ให้ใส่ "แป้งข้าวหมาก) โดยเจาะรูที่ลำต้น รูขนาดเท่าดินสอดำ 3 รูจากด้านตรงข้าม 3 แฉกเหมือนตรารถเบ็นซ์ ให้ปลายไม้ที่แทงชนกันพอดีที่ใจกลางลำต้น ณ ความสูงประมาณ 3 ใน 4 จากพื้นของความสูงต้น ....... เจาะรูแล้วอัดแป้งข้าวหมากบดละเอียดลงไปให้เต็มรู จนเมื่อครบกำหนดตัดเครือแล้วก็ให้ตัดตามปกติ นำไปบ่มให้สุก กล้วยไข่ที่สุกแล้วจะมีกลิ่นแอลกอฮอร์นิดๆ เป็นกล้วยไข่สุกที่กลิ่นและรสแปลกน่ากินไปอีกแบบ
.... แบ่งพื้นที่ปลูกเป็นโซนๆ โซนละ 100-150 ต้น แต่ละโซนปลูกห่างกัน 3-4 เดือน จะทำให้มีผลผลิตกล้วยไข่ออกสู่ตลาดตลอดปี ในปริมาณที่ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป หรือเรียกว่าเหมาะสมกับตลาดระดับจังหวัดนั่นแหละ..... ทั้งนี้ กล้วยที่ปลูกในวันเดียวกัน 100-150 ต้น ก็มิได้หมายความว่าจะได้ตัดเครือวันเดียวกันทั้ง 100-150 ต้น เสียเมื่อไหร่..... อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ปลูกโซนแรก 100-150 ต้นลงไปก่อน เมื่อโซนแรกเริ่มแทงหน่อก็ให้ขุดแยกหน่อไปลงโซนที่สอง และเมื่อโซนที่สองเริ่มแทงหน่อ ก็ให้ขุดหน่อไปลงโซนที่สาม ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เชื่อเถอะ ปีเดียวสวนมังคุด. ทุเรียน. เงาะ. ลองกอง. จะกลายเป็นสวนกล้วยไข่ อย่างไม่ตั้งใจ
.... กล้วยไข่ชอบน้ำในแปลงปลูกระดับ "ชื้น" .... แยกให้ออกระหว่าง "ชื้น- ชุ่ม - โชก - แฉะ - แช่" ถ้าน้ำมากจนดินแฉะต้นจะชงักการเจริญเติบโต
.... ตั้งแต่หลังปลูกเริ่มยืนต้นได้ ให้ "ไบโออิ" ทางใบลงถึงดิน เดือนละครั้ง จะช่วยบำรุงต้นให้ใบเขียวถึงวันตัดเครือ
หลักการและเหตุผล :
- ธรรมชาติของกล้วยทุกชนิด เมื่อจำนวนหวีในเครือ 3 ใน 4 ส่วนโคนเครือใกล้แก่จัดแล้ว แต่ 1 ใน 4 ปลายเครือยังอ่อนอยู่นั้น จังหวะนี้ "ใบธง" จะเริ่มเหลืองแห้ง เนื่องจากหมดอายุขัยนั่นเอง เมื่อใบเริ่มเหลืองแห้งก็ไม่สังเคราะห์สารอาหาร เมื่อใบไม่สังเคราะห์สารอาหาร ผลส่วนที่ปลายเครือจึงไม่ได้รับสารอาหาร เมื่อไม่ได้รับสารอาหารก็เลยทำให้คุณภาพไม่ดี เป็นธรรมดา ดังนั้นการให้ "แม็กเนเซียม" จะช่วยบำรุงใบให้เขียวจนถึงวันตัดเครือได้ ส่งผลให้ต้นมีใบสังเคราะห์สารอาหารไปเลี้ยงผลได้จนถึงวันตัดเครือนั่นเอง......
- เนื้อของผลกล้วย แท้จริงคือ "แป้ง" ดังนั้นการบำรุงด้วย "สังกะสี" สม่ำเสมอจะทำให้ได้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น....
สรุป :
ใน "ไบโออิ" มี แม็กเนเซียม. สังกะสี. และไคโตซาน. ล้วนแต่มีประโยชนฺต่อกล้วยทั้งสิ้น
ลงเถอะ .... รกกล้วยดีกว่ารกคน
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/07/2010 9:15 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 27/07/2010 8:01 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณมากค่ะลุงคิม สำหรับข้อมูลกล้วยไข่ ถ้าคิดจะปลูกมากๆ เอาจริงเอาจัง ก็ต้องบำรุงกันบ้างแล้ว.......
ตอนนี้ก็ทะยอยลงเพิ่มไปเรื่อยๆค่ะ ชอบให้สวนรกๆค่ะ ไม่ชอบว่างๆ เสียดายที่ อาทิตย์นี้ก็ไปเก็บมาขายได้หลายเครือเหมือนกัน จริงแล้วก็มีที่น่าจะตัดได้อีกหลายเครือ แต่ขนมาไม่หมด ช่วงนี้ทิ้งระยะนานไม่ได้ ลูกมันชอบแตกอยู่เรื่อย แก้ปัญหาตรงนี้ยังไงคะลุง บางที่มันยังไม่ได้เวลาตัดเราปล่อยไว้ ไปอีกที่ลูกแตกซะแล้ว..... ช่วงนี้ยังไม่ได้เอากระสอบห่อ คนสวนบอกว่าต้นมันสูงไป ห่อลำบาก แต่ถ้าเราห่อจะช่วยเรื่องนี้ได้มั๊ยคะ.....
ขอบคุณค่ะ น้อง Pai รักษาสุขภาพเช่นกันนะคะ พี่กับพี่ใหญ่คิดถึง และเป็นกำลังใจให้นะคะ ว่างๆมาเที่ยวระยอง มาพักที่บ้านพักพี่ในสวนก็ได้นะ พาลูกไปเที่ยวทะเลก็ไม่ไกล 30 นาทีเอง.. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 27/07/2010 8:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลูกมันชอบแตกอยู่เรื่อย แก้ปัญหาตรงนี้ยังไงคะลุง....
ตอบ :
แคลเซียม โบรอน. ไง ป้องกันผลแตกผลร่วงในไม้ผลทุกชนิด นอกจากนี้แคลเซียม.ยังช่วยสร้างคุณภาพอีกด้วย..... หาโอกาสให้ "ยิบซั่ม" ซักครั้ง หว่านบางๆ ตอนเตรีมดิน แคลเซียม.ในยิบซั่มจะอยู่จนตลอดอายุของเขาเลยแหละ
ช่วงนี้ยังไม่ได้เอากระสอบห่อ คนสวนบอกว่าต้นมันสูงไป ห่อลำบาก แต่ถ้าเราห่อจะช่วยเรื่องนี้ได้มั๊ยคะ.....
ตอบ :
การห่อผล (เครือ) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำให้ผลใหญ่ แต่เกี่ยวอย่างมากๆ เรื่องสีผิว คิดดู ถ้ากล้วยไข่ผลใหญ่ เนื้อแน่น สีสวย เท่าไหร่ก็ไม่พอขาย....ใช้ "สูตรสหประชาชาติ" ให้ทางใบซัก 10-15 วัน/ครั้ง กับให้ทางดินด้วย "ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 หรือ 8-24-24" ก็ได้ ซักเดือนละครั้ง แค่นี้แหละเดี๋ยวดีเอง
เรื่องต้นสูงใหญ่เป็นธรรมดา ถ้าต้นไม่สมบูรณ์มันก็ไม่ใหญ่ไม่สูง ต้นสูงใหญ่เครือใหญ่ หวีมาก ผลดก จะเอาไหม ? ..... ต้นเล็กเตี้ยคือต้นไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นไม่สมบูรณ์ก็ได้เครือเล็ก หวีน้อย ผลไม่ดก น่ะซี บำรุงดีๆ ก็ได้แค่ "กล้วยตีนเต่า" จะเอาเหรอ ?
ข้ออ้างที่ว่า ต้นสูงใหญ่ ทำงานยาก นั่นพวกขี้เกียจ...................ประหารชีวิต 7 ชั่วโคตร
ต้นสูงใหญ่ เครือใหญ่ น้ำหมักมาก ต้นเอนอาจล้มได้ ให้ใช้ไม้เนื้อแข็ง หรือไม้รวกลำใหญ่ขนาดแขนผู้ใหญ่ ยาวเท่าความสูงต้นหรือยาวกว่า เสี้ยมปลายข้างหนึ่งแหลม 1 ต้นใช้อันเดียวก็พอ ใช้ปลายข้างแหลมแทงต้นด้านที่เอนลง พยายามให้ตั้งฉากกับทิศทางที่เอน แทงไม้ใกล้โคนเครือให้ลึกพออยู่ แล้วขยับปลายไม้ด้านล่างพร้อมกับดันลำต้นให้ตั้งฉากกับพื้นที่เท่าที่เครือไม่เบียดกับไม้ค้ำ เพราะอาจทำให้ผลช้ำได้ จากนั้นก็ปักไม้ค้ำลงดินเล็กน้อย แค่นี้ก็เสร็จแล้ว
ถ้าจะให้ดี ประณีตสุดๆ ..... ค้ำต้นด้วยไม้ 2 อัน ปลายไม้มีเชือกเส้นโตสักหน่อย ผูกปลายไม้ ห่างจากปลายเข้ามาประมาณ 1 ฟุต ความห่างของปลายไม้ทั้งสองข้างซัก 50-80 ซม. เวลาใช้งานก็สอดปลายไม้ทั้งสองปลายซ้ายขวาเข้าไปที่ใต้เครือ ให้เชือกส่วนที่ตกท้องช้างคล้องเข้าที่คองวงหรือโคนเครือ จากนั้นก็ดันลำต้นให้ตั้งฉากพอประมาณ ถ่างปลายไม้ด้านโคนออกให้กว้างพอประมาณอีกเหมือนกัน แล้วจัดการปักโคนไม้ค้ำนั้นลงดิน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว
อย่าลืม..... รสชาดกล้วยจะดีมากๆ ด้วย "ธาตุรอง/ธาตุเสริม" กับ "ระเบิดเถิดเทิง" ไม่ต้องบใส่ปุ๋ยเลยแม้แต่แหมะเดียว........ประสบการณ์นี้ ก.ทำมากับมือ
ลองดูนะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 27/07/2010 9:51 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณมากค่ะลุง รวดเร็วทันใจดีจัง..... ได้เวลาผสมแคลเซียม โบรอนแล้ว.......
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
nokkhuntong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010 ตอบ: 256
|
ตอบ: 28/07/2010 12:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เย็นวาน ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดสด ได้กล้วยไข่มาด้วย 1 หวีเห็นลูกเล็กๆ (กำลังพอดีคำ) หวีละตั้ง 25.- บาท (เล็กกว่ากล้วยน้ำว้าที่กิน ที่ไร่กล้อมแกล้มอีก) / กล้วยน้ำว้าหวีละ 40.- บาท
สิ่งที่สังเกตุเห็นอีกอย่างคือ ส่วนใหญ่จะเป็นกล้วยอ่อน ทั้งตลาด ยังแก่ไม่ได้ที่ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า ซึ่งเป็นกล้วยยอดนิยม หารสชาติที่หอมหวานอร่อยไม่ค่อยเจอ แค่ผลไม้ธรรมดาๆ กล้วย ๆ นี่แหละค่ะ อร่อยๆ มีเท่าไหร่ก็ขายหมด ยิ่งคัดคุณภาพด้วยนะ แค่มองเห็นลูกสวยๆ ก็อยากทานแล้ว..ว่ามั้ย (รึจะเป็นนกขุนทองตัวเดียว)
เห็นที.....ต้องเพิ่มหน่อกล้วย....ทั้งหลาย ปลูกอีกเท่าตัว ชิมลาง....คัดคุณภาพมาขายหลังตึกที่ทำงาน ชิมก่อนซื้อ
กล้อมแกล้มด็อทเน็ท ได้เครือข่ายผลไม้เพิ่มอีก 1 อย่าง กล้วยคุณหญิง (อุ๊ย...ชื่อดีจัง) กับนกขุนทอง ๆ คงต้องรอหน่อยนะ เพิ่งปักหน่อเองอะค่ะ
ดูซิ...แค่กล้วย ๆ หาที่กินอร่อย ๆ ยังไม่ได้เลย .......คุณหญิงลุย.....
นกขุนทอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 28/07/2010 2:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เคยไปนั่งฟังเสวนาวิชาการเรื่องเกี่ยวกับกล้วยไข่นี่แหละ ที่ ม.ราชภัฎรำไพ จันทบุรี เมื่อปีที่แล้ว ใจความที่พอจำได้คือ อนาคตของกล้วยไข่ไทยยังไปได้อีกยาว เพราะประเทศที่มีความต้องการอย่างมากๆ คือ จีน แต่จีนไม่สามารถที่จะปลูกกล้วยไข่ได้ดี เพราะประสบปัญหาเรื่องพายุมรสุม ช่วงเดือนที่ราคากล้วยไข่จะดีที่สุดก็คือ ช่วงหน้าแล้งของประเทศไทย (ธ.ค.- พ.ค.มั้ง) และเป็นช่วงที่ผลไม้ของเมืองจีนมีน้อย
สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ก็อยู่ในเวทีด้วย ได้นำเอาข้อมูลของงานวิจัยปุ๋ยเคมีที่ใส่ทางดินมาเผยแพร่ คล้ายๆ ว่าเขาจะเน้นปุ๋ยตัวท้าย (K.) สูงๆ ครับ
ในเวทีเสวนามีเกษตรกรท่านหนึ่ง ได้เผยเคล็ดลับที่จะทำให้กล้วยไข่มีคุณภาพคือ "การให้ปุ๋ยทางใบ" คือฉีดแคลเซี่ยม-โบรอน และปุ๋ยเกล็ด (นี่ขนาดชาวบ้านปลูกกล้วย เขายังรู้จักปุ๋ยทางใบกันแล้ว แต่ สกว. ยังวิจัยปุ๋ยทางดินอยู่เลย)
มีหลายคนบอกให้งดการใส่ขี้ไก่ เพราะขี้ไก่จะทำให้เกิดปัญหาราสนิมที่ผลได้ อันนี้เท็จจริงประการใดไม่ทราบครับ เพราะหลายคนบอก
รื้อฟื้นความจำ _________________ อ๊อด ระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
thitiya หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 17/06/2010 ตอบ: 16
|
ตอบ: 20/08/2010 10:34 am ชื่อกระทู้: |
|
|
หลังจากลุงคิมและเพื่อนๆ แนะนำให้ปลูกกล้วยเพิ่ม ช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เลยไปหาหน่อกล้วยและปลูกเพิ่มไปอีก และขนผลผลิตมาทดลองขายที่ตลาด (หน้าปากซอย ) ที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่าขายดิบขายดี เพราะลูกค้าบอกว่ากล้วยไข่ของเราลูกใหญ่ เนื้อแน่น หวานอร่อย หวีใหญ่ๆ 30++ ขายหมดก่อนเลย วันก่อนไปเดินสำรวจที่ตลาดเห็นแม่ค้าเอากล้วยไข่มาขายหลายเจ้าเต็มตลาด ก็กังวลว่าของเราจะขายไม่ได้ เพราะครั้งนี้เอามาเยอะและดันบ่มไปพร้อมกันหมด แต่ปรากฏว่าตอนเย็นๆ ได้รับแจ้งมาว่าขายหมดแล้ว ค่อยมีกำลังใจหน่อย....
แสดงให้เห็นจริงๆเลยว่า ตลาดสำหรับสินค้าคุณภาพ นั้นไปได้สวยทีเดียว....
[img]
Thanks: ฝากรูป dictionary |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|