ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 4:26 pm ชื่อกระทู้: แคลเซียม-โบรอน.... ธาตุอาหารพืช |
|
|
หน้าที่สำคัญของธาตุอาหารพืช แคลเซียม (Ca)
หน้าที่ในพืช :
- สร้างเซลล์ใหม่ รากใหม่ ทำให้แข็งแรง
- มีหน้าที่นำพาสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงจากใบ ไปสู่ผล,ส่วนอื่นๆ
- ลดการหายใจของพืช
- ให้พืชมีการดูดกินธาตุอาหารหลัก อื่นๆ (N. P. K.) อย่างมีประสิทธิภาพ
- Ca ที่มีในพืช ต้องอยู่ในภาวะสมดุลกับธาตุอาหาร Mg. K. และ B. ในพืช
- Ca จำเป็นในการพัฒนาผนังเซลล์พืชให้หนา และเชื่อมต่อกันตามชนิดพันธุ์พืช
- ควบคุมการดูดน้ำเข้าไปในเซลล์พืช และป้องกันผลแตก
ดินและอาการพืชขาดธาตุ :
- ดินที่เป็นกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.0)
- ดินที่มีการใช้ปุ๋ย N. P. K. สูง
- ต้นพืชโตช้า รากไม่เจริญ รากสีน้ำตาล
- ยอดกิ่งกุด ไม่เจริญ ใบยอดม้วน และแห้งตาย
- ให้มีการสะสมธาตุไนโตรเจน มากขึ้น
- Ca จะเคลื่อนย้ายโดยตรงไปที่ยอดอ่อน ไม่เคลื่อนย้ายจากใบแก่ไปสู่ใบอ่อน
http://www.dktgypsum.com/info_th.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 5:10 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 4:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แคลเซียม (Ca)
แคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ หน้าที่หลักภายในพืชจึงเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและเซลล์พืช
นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อีกด้วย การดูดใช้แคลเซียมของพืชจะขึ้นกับอิออนตัวอื่นในสารละลาย โดยเฉพาะเมื่อมีไน เตรทจะทำให้ดูดใช้แคลเซียมได้ดีขึ้น
รูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ แคลเซียมอิออน (Ca2+) แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดคือ แคลเซียมไนเตรท เนื่องจากละลายง่าย ราคาไม่แพง อีกทั้งยังให้ธาตุไนโตรเจนได้ด้วย
ความเข้มข้นของแคลเซียมที่มากเกินไปจะมีผลต่อการนำโพแทสเซียมและแมกนีเซียมมาใช้
http://www.pantown.com/board.php?id=38487&area=3&name=board3&topic=1&action=view |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
โบรอน ต่อการเจริญเติบโตของพืช
โบรอน ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายของฮอร์โมน การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการแบ่งเซลล์ ถ้าพืชขาดธาตุนี้ ตายอดจะตายแล้วเริ่มมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายอีก ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปราะ
http://osl101.ldd.go.th/easysoils/s_prop_nutri01.htm |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ธาตุแคลเซี่ยม
ธาตุแคลเซี่ยม มีหน้าที่ต่างๆในพืชดังนี้คือ
1) เป็นองค์ประกอบในสาร calcium pectate ซึ่งจำเป็นในการแบ่งเซลล์ของพืช
2) เป็นตัวแก้ฤทธิ์ของสารพิษต่างๆ เช่น กรดอินทรีย์
3) เป็นตัวต่อต้านฤทธิ์ของสารออกซิน (auxin) ซึ่งเป็นสารเร่งการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวออก ถ้าไม่มีแคลเซียมแล้ว จะทำให้เซลล์ยาวผิดปกติ
4) ช่วยในการสร้างโปรตีน เนื่องจากแคลเซี่ยมทำให้พืชดูดไนโตรเจนได้มากขึ้น
5) ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและโปรตีนในขณะที่พืชกำลังสร้างเมล็ด
6) ส่งเสริมการเกิดปมของรากถั่ว
รูปของธาตุแคลเซี่ยมในดิน
ก) Mineral forms ได้แก่แคลเซี่ยมที่เป็นองค์ประกอบในหินแร่ต่างๆ เช่น แคลไซท์ โดโลไมท์
ข) แคลเซี่ยมในรูปของเกลือ เช่น CaCO3 CaSO4 Ca(PO4) 2 เป็นต้น
ค) Adsorbed calcium ได้แก่แคลเซี่ยมที่ถูกดูดยึดไว้ที่ผิวของสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ หรือถูกไล่ที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้
ง) Ca++ ใน soil solution
รูปของแคลเซี่ยมที่พืชใช้ได้ คือ Calcium ion (Ca++) ใน soil solution
การแก้ไขดินที่ขาดแคลเซี่ยม
- ใส่ปุ๋ยคอก
- ใส่ปูน
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=srisurat&month=20-05-2010&group=1&gblog=6 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:20 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สูตรและวิธีการทำ แคลเซียม โบรอน...
+ + ส่วนผสม++
1. แคลเซียมไนเตรดหรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0 ที่มีขายยู่ตามท้องตลาดทั่วๆ ไป จำนวน 1,200 กรัม
2. กรดบอริก จำนวน 400 กรัม
++ วิธีการทำ ++
นำแคลเซียมไนเตรด(หรือปุ๋ยสูตร 15-0-0) ไปแยกผสมในน้ำสะอาด จำนวน 10 ลิตร คนให้เกิดการละลายและ นำกรดบอริกไปแยกผสมในน้ำสะอาด จำนวน 10 ลิตร คนให้ละลาย เช่นกัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ที่ได้จากการละลายสารทั้ง 2 ชนิด มาผสมเข้าด้วยกัน แค่นี้ก็จะได้สารละลายแคลเซียมโบรอนต้นทุนต่ำไว้ใช้ในสวน
** ตามสูตรนี้ จะทำให้ได้สารละลายแคลเซียมโบรอนทั้งหมด ประมาณ 20 ลิตร **
++ การนำสารละลายแคลเซียมโบรอนที่เตรียมได้ไปใช้ ++
ให้นำสารสารละลายแคลเซียมโบรอนอัตรา 10 ซีซี ไปเจือจางในน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะนาว ในระยะก่อนดอกบาน ,หลังติดผลอ่อน และ ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 เดือน ในช่วงเย็น 2-3 ครั้งติดต่อกัน โดยเว้นระยะการฉีดพ่นให้ห่างกัน ครั้งละ 5-7 วัน จะลดการหลุดร่วงของดอกและช่วยให้มะนาวติดผลได้ดีขึ้น ส่วนสารละลายแคลเซียมโบรอนที่เหลือให้เก็บรักษาไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท ตั้งวางไว้ในที่ร่ม เพื่อรอการนำไปใช้งานครั้งต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
นิตยสารไม่ลองไม่รู้ ประจำเดือน มกราคม 2553.ศุภวรรณ์ ใจแสน.ไม้ผลเศรษฐกิจ:สารพันสูตรสมุนไพร เพื่อบำรุงรักษามะนาวด้วยตนเอง หน้า 36-37
http://www.bannokclub.net/forum/index.php?topic=107.0 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผลของแคลเซียมและโบรอน
การศึกษาอิทธิพลของสารละลาย แคลเซียม-โบรอน (ชื่อการค้า Calbron plus ประกอบด้วย Ca 5.4 เปอร์เซ็นต์ และ B1.4 เปอร์เซ็นต์) ต่อการงอกของละอองเกสรและการติดผลของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2540 โดยนำละอองเกสรในระยะดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ และ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่พ่นสารละลาย แคลเซียม โบรอน ในระดับความเข้มจ้นต่างๆ คือ 0.05, 1.0 และ 2.0 มล./ล. ซึ่งเท่ากับ Ca และ B 0 27, 54, 108 และ 0, 7, 14, 21 ppm ตามลำดับ ในระยะแทงช่อดอก มาเลี้ยงบนอาหารวุ้นที่เคลือบบนแผ่นสไลด์ โดยใช้อาหารสูตรของ Brewbaker และ Kwack (1963) โดยลดปริมาณ แคลเซียมไนเตรท และกรดบอริก เหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ต้องใส่ในอาหาร และใช้ซูโครส 10 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับ pH 5.6 แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ผลปรากฎว่า สารละลาย แคลเซียม-โบรอน ที่พ่นต้นมะม่วงในระดับความเข้มข้น 0.5-2.0 มล./ล. ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเกสร ซึ่งสูงกว่าต้นที่ไม่ได้พ่นสารละลาย แคลเซียม-โบรอน โดยการใช้สารละลายแคลเซียม-โบรอน ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 มล./ล. มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด ทั้งในระยะดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ และ 100 เปอร์เซ็นต์ คือมีเปอร์เซ็นต์การงอกอยู่ในช่วง 66.4-64.1 เปอร์เซ็นต์ และ 37.5-33.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agre.exe?rec_id=003999&database=agre&search_type=link&table=mona&back_path=/agre/mona&lang=thai&format_name=TFMON
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 5:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การจัดการปุ๋ยต่อคุณภาพหัวมันฝรั่ง
ผู้ดำเนินงาน
ศศิธร วรปิติรังสี 1 / วิวัฒน์ ภานุอำไพ 2 /
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ 3 / วีระ วรปิติรังสี 1 /
บทคัดย่อ
ดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2552 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ตาก อ.พบพระ จ.ตาก วางแผนการทดลองแบบ RCB 9 กรรมวิธี 4 ซ้ำ
กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยทางดิน 15-15-15 100 กก./ไร่ 46-0-0 และ 0-0-50 (25 กก.)/ไร่ ไม่พ่นปุ๋ยทางใบ
กรรมวิธีที่ 2-8 ใส่ปุ๋ยทางดินชนิดและอัตราเดียวกับกรรมวิธีที่ 1 แต่พ่นปุ๋ยทางใบ แคลเซียม โบรอน (CaB 10 มล./น้ำ 20 ลิตร) โพแทสเซียม 0-52-34 (50 กรัม)/น้ำ 20 ลิตร) แคลเซียม โบรอน + โพแทสเซียม, แมกนีเซียม (แมกนีเซียมซัลเฟต 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) แมกนีเซียม + แคลเซียม โบรอน, แมกนีเซียม +โพแทสเซียม, แมกนีเซียม + โพแทสเซียม + แคลเซียม โบรอน โดยพ่นเมื่อมันฝรั่งอายุ 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน
ผลการทดลอง พบว่า ที่ อ.ฝาง กรรมวิธีที่ 6 การพ่นปุ๋ยทางใบแมกนีเซียมเซลเฟต + แคลเซียม โบรอน มันฝรั่งให้ผลผลิตสูงสุด 3,008 และ 4,204 กก./ไร่
ในปี 2551 และปี 2552 เปอร์เซ็นต์หัวขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 45 มม. เท่ากับ 85% แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการไม่พ่นปุ๋ยทางใบซึ่งให้ผลผลิต 2,237 และ 2,504 กก./ไร่ ขนาดหัวใหญ่ 75 และ 72% ในปี 2551 และ 2552 ตามลำดับ
ที่ จ.เชียงรายในปี 2551 กรรมวิธีที่ 6 การพ่นแมกนีเซียม + แคลเซียม โบรอน ให้ผลผลิตสูงสุด 1,800 กก./ไร่ ขนาดหัวใหญ่ 87% แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการไม่พ่นปุ๋ยให้ผลผลิต 1,089 กก./ไร่ ขนาดหัวใหญ่ 83%
ส่วนปี 2552 กรรมวิธีที่ 2 การพ่น แคลเซียม โบรอน ให้ผลผลิตสูงสุด 1,615 กก./ไร่ ขนาดหัวใหญ่ 73% เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่พ่นปุ๋ยให้ผลผลิต 1,045 กก./ไร่ ขนาดหัวใหญ่ 67% ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
ที่ จ.ตาก กรรมวิธีที่ 8 การพ่นแมกนีเซียม + โพแทสเซียม + แคลเซียม โบรอน มันฝรั่งให้ผลผลิต 1,011 กก./ไร่ เปอร์เซ็นต์หัวใหญ่ 80% ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีอื่นๆ
ส่วนผลในด้านคุณภาพอื่นๆ คือ อาการหัวแตกและหัวกลวง การพ่นปุ๋ยทางใบเห็นผลไม่เด่นชัดในทางสถิติทั้ง 3 พื้นที่ทดลอง
http://doachiangrai.com/V4.kanaogdog.htm
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 5:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แคลเซียม โบรอน ต่อมะม่วง...
1.ระยะแตกใบอ่อน ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง พ่นปุ๋ยทางใบกระตุ้นการสะสมอาหารเพื่อสร้างดอกสูตร 0-52-34 จำนวน 2 ครั้ง ห่าง 7-10 วัน
2.ช่วง เปิดตาดอก โดยใช้ปุ๋ยทางใบ ไทโอยูเรีย หรือ 13-0-46 + สาหร่ายทะเล ฉีดพ่นจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ช่อดอกยาวประมาณ 1 นิ้ว ฉีดพ่นสารเคมี(คาร์โบซัลเฟน + แมนโคเซป หรือ แอนทราโคล)
- พ่นปุ๋ยทางใบบำรุงช่อดอก แคลเซียม โบรอน สาหร่ายทะเล จิบเบอเรลลิน
- นสารเคมีทุก 10-15 วันต่อครั้ง จนถึงระยะดอกบานควรหยุดการใช้สารเคมี
- นสารเคมีครั้งต่อไปเมื่อดอกบาน 50% ขึ้นไป ใช้สารเคมีจำพวกโปวาโด้ โปคลอราท
เอพพอเรีย เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟ ไร เพลี้ยแป้ง โรคแอนแทรคโนส
3.ช่วงระยะดอกบานถึงติดผลเล็ก ระวังเพลี้ยไฟ ไร เพลี้ยแป้ง โรคแอนแทรคโนส ควรพ่นสารเคมีทุก 10 วัน จนผลขนาดเส้นรอบวง 3-4 เซนติเมตร
4.ช่วงเริ่มติดผลเล็กพ่นจิบเบอเรลลิน + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน เพื่อเพิ่มขนาดผลและป้องกันการหลุดร่วง
- ใช้วัสดุคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น ให้น้ำระยะ 7 วัน/ครั้ง
- พ่นสารเคมี + ธาตุอาหารเสริม แคลเซียม โบรอน + สาหร่ายทะเล ทุก 15 วัน
- ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 300 กรัม (3 ขีด/ต้น)
- ก่อนเก็บเกี่ยวกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาดเพื่อป้องกันโรคแมลง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย
- ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-1221 อัตรา 300 กรัม (3 ขีด/ต้น)
http://chiangdao.chiangmai.doae.go.th/CD%20mango.htm
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 21/11/2010 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11656
|
ตอบ: 21/11/2010 5:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แคลเซียม โบรอน อาการขาดธาตุอาหาร
บทคัดย่อ:
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมผักมูลนิธิโครงการหลวงรายงานอาการผิดปกติในผักหลายชนิด อาการผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการขาดโบรอนและแคลเซียม เนื่องจากดินบนพื้นที่สูงมีปริมาณธาตุทั้งสองต่ำ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบอาการขาดโบรอนและแคลเซียมในแรดิช เทอร์นิพ กะหล่ำปมเขียว เฟนเนล และมะเขือเทศ การทดลองประกอบด้วย 3 กรรมวิธี
กรรมวิธี 1 ให้แคลเซียม
กรรมวิธี 2 ให้โบรอน
กรรมวิธี 3 ให้โบรอนและแคลเซียม
ผลการทดลองปรากฏว่า
- การขาดโบรอนเป็นสาเหตุของอาการฟ่ามในแรดิช ผิวตกกระและแตกด้านข้างในกะหล่ำปมเขียว ใบไหม้ ก้านตกกระ และโคนก้านแตกในเฟนเนล และตกสะเก็ดสีเนื้อที่ก้นผลมะเขือเทศ
- การขาดแคลเซียมเป็นสาเหตุอาการผิวเป็นร่องในเทอร์นิพ และใบไหม้ในเฟนเนล
http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id=060048&database=agdb1&search_type=link&table=mona&back_path=/agdb1/mona&lang=thai&format_name=TFMON |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|