ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 23/02/2011 6:13 pm ชื่อกระทู้: สปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ไร่ทานตะวัน... |
|
|
สปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ไร่ทานตะวัน..พุทธมณฑล...
เป้าประสงค์ของการนำเสนอ.....
- ระบบการให้น้ำแบบโอเวอร์เฮด หรือ TOP GUN แก่พืชไร่
- การประยุกต์ใช้อุปกรณ์แบบ APPLY ไม่ใช่ COPY
- ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเนื้องาน
- ระยะเวลาทำงาน และจำนวนแรงงาน
- ทฤษฏีว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การลงทุน.....ลงทุนเพื่อลดต้นทุน
- น้ำกับการเจริญเติบโตอย่างถาวรของพืช
- สภาพหรือโครงสร้างดินที่สะสมความสบูรณ์ ซึ่งจะมีผลต่อการเพาะปลูกระยะยาว
- สามารถให้ "น้ำ + ปุ๋ย/ฮอร์โมน/จุลินทรีย์ + สารสมุนไพร + อื่นๆ" ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้
- ฯลฯ
1. รัศมีพ่นน้ำได้ไกล 20-25 ม. เท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ม. หรือ 1 ไร่ สำหรับการส่าย 180 องศา
และหากทำงานแบบส่าย 360 องศา ย่อมได้พื้นที่งานมากขึ้นด้วยระยะเวลาทำงานเท่ากัน
2. แปลงขนาดใหญ่พอสมควรเมื่อเทียบกับขนาดอาคาร ซึ่งขนาดแปลงก็น่าจะพอๆกันกับที่ฃาวไร่อาชีพทำ
3. ให้น้ำแปลงปลูกใหม่ (หยอดเมล็ด) เนื้อที่ 4 ไร่ ด้วยแรงงานคนเดียว ใช้เวลาราว 15 นาที....ไม่กังวลเรื่องวัชพืช
ที่อาจโตเร็ว เพราะกว่าวัชพืชจะโตได้ ทานตะวันก็โตจนใบบังแสงแดดแล้ว วัชพืชหรือหญ้าก็ไม่สามารถโตได้
4. ทำงานสบายๆ สไตล์ตามใจนายเภอ ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ แต่ทำดีกว่าไม่ทำ อยากทำหรือไม่อยากทำ ถามทานตะวัน
ถ้าเขาตอบ หมายความว่า ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าไม่ตอบ นั่นแหละ ต้องทำ
5. ข้อต่อแบบมาตรฐานสากล ทั่วโลกใช้แบบนี้ทั้งนั้น สดวก รวดเร็ว ง่ายๆ สบาย มั่นใจ แน่นอน แข็งแรง บึกบึน
ทนทาน ไม่เป็นสนิม ขะโมยไม่ชอบ .... ถ้ายังอยู่แสดงว่าไม่หาย
6. เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ปั๊มแบบอะไรไม่รู้ รู้แต่ว่า เป็นแบบมาตรฐาน เท่าที่พานพบมา ที่ไหนๆก็ใช้แบบนี้ทั้งนั้น
ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างที่เห็นๆ ถ้าของใครทำงานแล้วประสิทธิภาพไม่ได้ตามนี้ ถือว่า แบบผิดมาตรฐาน
สากล.....อันที่จริงมีไว้ซักชุด นอกจากใช้งานในแปลงตัวเองแล้ว ยังรับจ้างแปลงข้างเคียง เท่ากับเป็นการหารายได้อีก
ทางหนึ่งด้วย
7. สายแบบนี้ ทั่วๆไปใช้ในงานดับเพลิง ขนาด 2 นิ้วครึ่ง ม้วนหนึ่งยาว 20 ม. ม้วนเก็บหรือขยายยาว
ออกเพื่อใช้งาน รวมทั้งยกขึ้นยกลงด้วยแรงงานคนเดียว อายุใช้งาน ถ้าไม่โดนจอบสับ ใบมีดเครื่อง
ตัดหญ้า หรือไฟไหม้ แทร็คเตอร์ตีนตะขาบย้ำซ้ำหลายๆรอบ ก็น่าจะอยู่ได้หลายๆปีเผลอๆ ถึงลูกหลาน
เหลนโหลนได้
8. ชุดหลุมลึก 1 หน้าจอบ กว้าง 2 หน้าจอบ ใส่อินทรีย์วัตถุ (ขุยมะพร้าว + ปุ๋ยคอก + ฯลฯ.....ก็ว่ากันไป)
เสร็จแล้วหยอดเมล็ดลงไป 4 เมล็ด/หลุม รู้ได้จากต้นที่งอกขึ้นมา แต่ไม่รู้ว่าในจำนวนนี้ถึงเวลาจริงๆ จะเอาไว้
กี่ต้น หรือถอนทิ้งกี่ต้น คงต้อง "ตามไปดู" อีกรอบ ประมาณนั้น
9. ไม่ไถ ไม่พรวน ไม่ชักร่อง ไม่ยาฆ่าหญ้า ไม่ปุ๋ยรองพื้น ไม่ปุ๋ยแต่งหน้า ไม่ปุ๋ยทำรุ่น นึกอยากปลูกตรงไหน
ก็หยอดเมล็ดลงไป ในอีกมุมพิจารณาหนึ่ง มีการให้ "น้ำ+จุลินทรีย์ หรือแหล่งพลังงานจุลินทรีย์" ลงไปก่อน
ทิ้งเวลาให้จุลินทรีย์ได้ปรับโครงสร้างสภาพดินให้ดีพร้อมสำหรับการเพาะปลูก เมื่อถึงเวลาปลูกจริง แค่จอบขุด
ดินจึ๊กสองจึ๊ก หยอดเมล็ดแล้วตีนเหยียบ สบัดก้นผ่านไปได้เลย คิดว่าประหยัดต้นทุนไหม ? ...เท่าที่สังเกตุดู
ที่นี่เขาปลูกห่างระหว่างกอ ระหว่างแถว 50 x 50 ซม. หรืออาจจะน้อยกว่าเล็กน้อย ที่นี่เน้นขอบด้านนอก
ให้อยู่ในกรอบตามบล็อคข้างทางเดินเป็นหลัก ส่วนข้างในจะไม่เป็นแถวหรือแนวอะไร เน้นแค่ระยะห่างเท่านั้น
พอโตขึ้นอะไรๆก็ดูดีเอง
10. จัดแปลงปลูกเป็นโซนๆ แต่ละโซนปลูกไม่พร้อมกัน แบบนี้ทำให้มีทานตะวันให้ชมตลอดทั้งปี ตราบเท่า
ที่ยังปลูกทานตะวันอยู่.....สังเกตุในแปลงทานตะวันไม่มีหญ้า เพราะใบทานตะวันบังแสงแดดจนหญ้าเจริญ
เติบโตไม่ได้นั่นเอง
11. ถามว่า......ทานตะวันเลิกหันหน้า หรือหมุนดอกตามตะวัน เมื่อใด และถามอีกว่า ทำไมต้องมีป้ายห้ามเด็ด
ดอกทานตะวันด้วย ?
12. ปกติแปลงนี้มีคนงานรับผิดชอบ 2 คน ที่เห็นแค่คนเดียวก็ทำงานได้ ถามว่า อีกคนไหน ตอบว่า ญาติมา
เยี่ยมที่ป้อมยาม อั้ยเราก็นึกๆ เอ้....เมื่อกี้เราเดินมาจากป้อมยาม ก็ไม่เห็นมีญาตใครมาเยี่ยมใครนี่หว่า งานนี้
แสดงว่า "อู้" ชัดๆ....นี่ขนาดคนหนึ่งอู้ เหลือแค่คนเดียวยังทำงานได้
13. สังเกตุ 1. แท่นติดตั้งหัวโอเวอร์เฮด ออกแบบสร้างโดยวิศวะระดับไหน ?....สังเกตุ 2. วัสดุที่ใช้ทำหาซื้อ
ได้ตามซาเล้ง....สังเกตุ 3. แท่นติดตั้งน้ำหนักเบา ด้วยแรงงานคนเดียวเคลื่อนย้ายไปไหนต่อไหนได้สบายมาก....
สังเกตุ 4. ความมั่นคงแข็งแรง รับแรงดันน้ำไหวขณะทำงาน....สังเกตุ 5. ฯลฯ
14. น้ำโคนต้นมากขนาดนี้ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงซึมลงใต้ดินหายไปหมด....จากน้ำเปล่า เป็น "น้ำ + สารอาหาร +
ฯลฯ" ไปพร้อมกันรอบเดียวเลย ก็จะช่วยให้อะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับทานตะวันดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
นี่คือประโยชน์โดยแท้ของเครื่องทุ่นแรง "โอเวอร์เฮด สปริงเกอร์" ..... จากประโยชน์ทุกรายการที่ได้รับ
เชื่อว่าเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงรุ่นเดียวก็ได้ทุนคืนอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ด้วยความสมบูรณ์ของดินที่สะสมไว้ ยัง
ส่งผลดีต่อการปลูกพืชรุ่นต่อไปอีกด้วย
15. เทียบปริมาณน้ำขนาดนี้ ก็น่าจะซักขนาดฝนตกใหญ่ ตกแค่ห่าเดียว แบบนี้ทานตะวันหรือแม้แต่พืชไร่
อื่นๆ ก็ชอบ เห็นแล้วให้นึก "....ใคร (หว่า) สอนชาวไร่ว่า ทานตะวันเป็นพืชไร่ ไม่ต้องให้น้ำ แค่น้ำฝนก็อยู่
ได้แล้ว...." ว่าแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำ ไม่มีน้ำยืนต้นแห้งตายก็ช่างหัวมัน
16. ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ ต่างกันที่ต้องการมากต้องการน้อย "ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่" พืชที่ได้น้ำ
ย่อมมีความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ย่อมนำมาซึ่งปริมาณและคุณภาพผลผลิต นอกจากนี้สภาพโครงสร้างดินที่มี
น้ำย่อมหมายถึงจุลินทรีย์ในเนื้อดิน ทำให้ดินดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ นี่คือ "ดีอย่างยั่งยืน" เลิกปลูก
ทานตะวันเปลี่ยนเป็นปลูกอย่างอื่น อะไรก็ได้
17. ให้น้ำประมาณนี้อาทิตย์ละครั้ง ต้นไม่บ้าใบแต่ยังออกดอกปกติ กับทั้งต้นยังสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง
เหมือนทานตะวันทั่วๆไปทุกประการ
18. ในแปลงไม่มีหญ้า (มีน้อยมากๆ หรือน้อยกว่าใช้ยาฆ่าหญ้า) ทั้งๆที่น้ำบริบูรณ์ เพราะใบทานตะวันบังแดดจน
วัชพืช เจริญเติบโตไม่ได้ เข้าไปดูใกล้ชิด ขนาดจับใบมาดู ไม่มีโรคแมลงใดๆให้เห็น ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้สารเคมีใดๆ.....
สังเกตุ กอนี้มี 4 ต้น แสดงว่า เมล็ดที่งอก 4 เมล็ด เป็น 4 ต้นเอาไว้ทั้งหมดเลย ถามว่า แล้วมันไม่เบียดกันจน
เกินไปหรอกหรือ คำตอบก็อยู่ที่ภาพนั่นแหละ
19. ละอองน้ำปลิวตามลมลอยไปไกลทั่วบริเวณ นอกจากสร้างความชื้นแก่ดินแล้ว ยังสร้างความชื้นสัมพัทธ์
ในอากาศได้อีกด้วย สภาพแวดล้อมแบบนี้นี่แหละที่พืชและจุลินทรีย์ชอบ
20. "....น้ำต้องมาก่อน....น้ำต้องมาก่อน...." ที่ดิน 100 ไร่ ไม่มีน้ำ หรือจะเท่า 10 ไร่ มีน้ำ
21. จินตนาการ นี่ไม่ใช่แปลงทานตะวัน แต่เป็นแปลงอ้อย. สำปะหลัง. สับปะรด. ข้าวโพด. ถั่วเขียว-เหลือง-
แดง-ดำ. งา. ฯลฯ ปลูกแล้วให้น้ำบ้าง อะไรๆ คงดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นนะ....ว่ามั้ย
22. รถวิ่งผ่านเฉลี่ยวันละเกือบ 100,000 คน จำนวนคนกว่า 200,000 คน ทานตะวันทุ่งนี้เป็นยิ่งกว่าเป้าสายตา
เมื่อรถเกือบทุกคัน คนเกือบทุกคน ต้องเหลียวไปมอง นั่นถือเป็นปกติวิสัย แต่ที่น่าสงสัยยิ่งกว่า คือ จำนวนคน จำนวนรถ
ขนาดนี้จำนวนไม่น้อยที่เป็นเกษตรกรโดยตรง หรือมีญาติสนิทมิตรสหายเป็นเกษตรกร หรือมีโอกาสออกไปส่งเสริม
ภาคเกษตร แล้วจะมีสักกี่คนเห็นความสำคัญของน้ำต่อพืชไร่บ้าง ต่างหากล่ะ
เอวัง ก็มีด้วยประการฉนี้.....สวัสดี ประเทศไทย
ลุงคิมครับผม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/10/2012 5:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 25/04/2011 5:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
90. ทานตะวันหน้าแล้ง หลังจากปลูก ควรให้น้ำครั้งแรกเมื่อกี่วัน
น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การใช้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดย ไม่ต้องรดน้ำ
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วันหลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก
การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด
http://www.kasetonline.net/newsite/index.php?id=45 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 25/04/2011 7:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
มหัศจรรย์ "ทานตะวันสีแดง"
ใกล้ ถึงเทศกาลดอกทานตะวันบานสะพรั่งเต็มท้องทุ่งกันอีกแล้ว ที่สำคัญปีนี้ดูเหมือนจะพิเศษกว่าทุกปี เมื่อล่าสุดเกษตรกรไทยสามารถทดลองปลูก ทานตะวันสีแดง ได้เป็นผลสำเร็จ โดย จะนำผลงานมาโชว์ให้เห็นเป็นขวัญตาครั้งแรกในงาน เชียงใหม่ ฟลอร่า บลอสซั่ม เซเลเบรชั่น (Chiangmai Flora Blossom Celebra- tion) ซึ่งจัดขึ้นที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2553
งานนี้ หากใครมีโอกาสขึ้นเหนือแอ่วเชียงใหม่ อย่าลืมแวะไปชมทานตะวันสีแดงก่อนใคร ๆ ทั้งนี้กว่าจะเพาะเลี้ยงจนประสบความสำเร็จดังที่เห็นไม่ใช่เรื่องง่ายต้อง ใช้เวลาหลายปี โดย วัฒนะ แย้มเจิม เจ้าของผลงาน วัย 47 ปี เจ้าของไร่ทานตะวันจำปี ซันฟลาวเวอร์ปาร์ค จ.ลพบุรี เล่าถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนาทานตะวันสีแดงให้ฟังว่า ตั้งแต่เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณปลายปี พ.ศ. 2542 ทำให้ตนเห็นดอกทานตะวันเหลืองอร่ามเต็มทุ่งและมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมกัน เป็นจำนวนมาก จึงมีความคิดอยากปลูกทานตะวันบ้าง เมื่อปลูกมาได้ 2 ปี เริ่ม รู้สึกว่าอยากคิดอะไรนอก กรอบบ้าง ไม่ใช่แค่มีทุ่งทาน ตะวันสีเหลืองเหมือนทุ่งอื่น ๆ เพราะจากการศึกษาค้นคว้าจากเว็บไซต์ของต่างประเทศพบว่ามีดอกทานตะวันหลายสี คือ สีเหลือง สีขาว สีฟ้าและสีแดง
เหตุผลที่เลือกดอกทาน ตะวันสีแดง เพราะหากปลูกสีขาวจะดูไม่โดดเด่นและสวยสู้สีเหลืองไม่ได้ แต่ถ้าปลูกสีฟ้าก็จะกลมกลืนไปกับท้องฟ้า จึงตัดสินใจเลือกสีแดง เพราะตัดกับดอกทานตะวันสีเหลือง ตัดกับท้องฟ้าและดูสวยเด่น กว่าสีอื่น ๆ จึงทุ่มเทศึกษาเพิ่มเติมจนทราบอีกว่าดอกทานตะวันสีแดงไม่ได้มีแค่พันธุ์ เดียว แต่ยังมีอีกมากมายหลากหลายสายพันธุ์ จึงได้ติดต่อไปยังบริษัทจำหน่ายเมล็ดทาน ตะวันสีแดงที่ต่างประเทศเพื่อขอ ตัวอย่างเมล็ด แต่ละพันธุ์มาทดลองปลูก โดยเลือกปลูกทานตะวัน สีแดงได้ 3 พันธุ์ ได้แก่ แดงประกายส้ม แดงเข้ม และแดงจาง
นอกจากนี้ยังได้ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ของทานตะวัน สีเหลืองแบบอื่นมาปลูกอีก 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์กำมะหยี่และปุยฝ้าย แต่ช่วงแรกที่ขอตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มาปลูกได้ทดลองปลูกอยู่หลายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ไม่เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราจนได้พันธุ์ที่เหมาะสม 5 สายพันธุ์นี้
ผมเริ่มสั่งลอตแรกมาปลูกซึ่งราคาก็แตกต่างกันมาก เช่น เมล็ดทานตะวันธรรมดาบ้านเรากิโลกรัมละ 500 บาท แต่เมล็ดทานตะวันสีแดงของต่างประเทศ กิโลกรัมละ 90,000 บาท ถามว่าทำไมถึงยอมลงทุนมากขนาดนี้ เหตุผลก็เพราะอยากเห็นความต่างและใจก็รักในด้านนี้ด้วย รวมทั้งรู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่เห็นนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมแล้วมีรอย ยิ้มพอใจกับทุ่งทานตะวันของเราทำให้อยากนำสิ่งใหม่ ๆ มาให้นักท่องเที่ยวได้ชมกัน
สำหรับการปลูกใหม่ ๆ ยอมรับว่ามีปัญหาบ้างเพราะมันไม่เหมือนดอกทานตะวันทั่วไป การเพาะปลูกต้องจัดการเรื่องน้ำ ดิน ปุ๋ย เมล็ด ให้ดีเพราะถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปจะส่งผลลัพธ์ที่ไม่ดี ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาที่เราสามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหาเรื่องอากาศร้อนมากไป ฝนตกชุกมากเกินไป ซึ่งปัญหาตรงนี้เราไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้บางครั้งทานตะวันตายหมด แต่เราก็พยายามทำการทดลองมาเรื่อย ๆ โดยสั่งเมล็ดพันธุ์เข้ามาไว้ให้เพียงพอต่อ 1 ฤดูกาล บางปีฝนตกหนักก็เสียหายมาก แต่ถามว่าท้อไหม ขอตอบ ว่าด้วยใจรักไม่ เคยคิดว่าจะลดจำนวนหรือเลิกปลูกมีแต่จะปลูกเพิ่มให้เป็นทุ่งกว้าง และต่อไปในอนาคตจะดัดแปลงสายพันธุ์เองให้มีคุณภาพมากกว่าเดิมด้วย
ความแตกต่างระหว่างดอกทานตะวันสีเหลืองกับดอกทานตะวันสีแดง แตกต่างกันตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกเลย ก็ว่าได้ เพราะว่าต้องดูแลมาก กว่าปกติหากดอกทานตะวัน สีแดงตายไป 1 ดอก ถ้าตีเป็นราคาก็เท่ากับเมล็ดละ 20 บาททีเดียว จึงต้องดูแลทุกวัน เช้า-เย็น คอยฉีดยาฆ่าแมลงไม่ให้มีแมลงมารบกวน แต่ถ้าเป็นดอกสีเหลืองทั่ว ๆ ไปดูแลอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนการใส่ปุ๋ยหากใส่มากเกินไปมันก็จะช็อกตายได้ เพราะเคยมีอยู่ครั้งหนึ่งด้วยความที่อยาก ให้มันโตเร็ว ๆ จึงเร่งใส่ปุ๋ยบ่อย ๆ ทำให้มันตาย สำหรับขนาดของดอกทานตะวันสีแดงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว ส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 1.50 เมตร แต่ดอกทานตะวันสีเหลืองบางสายพันธุ์สูงถึง 2 เมตร ก็มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ก็มากกว่าสีแดงประมาณ 12 นิ้ว แต่คำว่าพิเศษคือ ดอกทานตะวันสีแดงมีต้นหนึ่งประมาณ 5 ดอก แตกต่างจากสีเหลืองที่มีต้นละ 1 ดอก
ปัจจุบันทุ่งทานตะวันจำปีซันฟลาวเวอร์ปาร์คมีเนื้อที่ทั้งหมด 50 ไร่ แยกปลูก 1 ไร่ ต่อ 1 แปลง ช่วงแรก ๆ ที่ปลูกทานตะวันสีแดงได้แล้ว เราจะติดป้ายบอกนักท่องเที่ยวว่าทุ่งเรามีดอกทานตะวันสีแดงด้วย และทำลูกศรชี้ให้เดินไปชม ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้สึกประหลาดใจมาก บางคนดูอย่างเดียวไม่เชื่อบอกว่าเอาสีมาทาบ้าง ดอกไม้ปลอมบ้าง ก็หยิบจับดอกทานตะวันมาขยี้ดูบ้าง แต่เพื่อให้นักท่องเที่ยวสบายใจว่าเราไม่ได้หลอกลวงก็จะไม่ได้ว่าอะไร
เจ้าของไร่ทานตะวันสีแดงทิ้งท้ายว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประทับใจกับผลงานการคิดค้น และทำให้รู้สึกหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งก็คือ ความประทับใจของนักท่องเที่ยวที่เห็นทุ่งทานตะวันของเราแล้วมีความสุข รวมทั้งทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดลพบุรีเรื่องการท่องเที่ยวด้วย เพราะ มีทุ่งเราทุ่งเดียวเท่านั้นที่มี ดอกทานตะวันสีแดง
หากใครที่อยากตามไปพิสูจน์ดอกทานตะวันสีแดง ว่าจะสวยงามแปลกตาสมคำร่ำลือหรือไม่ ไปพบกันได้ในงานฯ ก่อนจะไปเที่ยวชมกันต่อในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า นี้.
ทีมวาไรตี้
ที่มา : เดลินวส์
http://entertain.bungkan.com/data/9/0297-1.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11625
|
ตอบ: 06/03/2012 6:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด ไร่ทานตะวัน ที่พุทธมณฑล
ราว 10 โมงเช้า ของวันอังคารที่ 5 มี.ค. 5555 มีโอกาสผ่านหน้าพุทธมณฑล พบเห็นโอเวอร์เฮดตัวเดิม
ทำงานเดิม โดยคนเดิม จึงถ่ายภาพมาให้ดู อาจจะเกิด ไอเดียร์ใหม่สำหรับบางคน....ภาพนี้ถ่ายจากบนรถ
6.
7.
8.
9.
10.
11.
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|