ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 02/10/2009 8:19 pm ชื่อกระทู้: เจ้าหน้าที่เกษตรในฝัน |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://e-learning.doae.go.th/courseware/doae/exe/__10.html
บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ในฐานะผู้ถ่ายทอดความรู้ (educator) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีหน้าที่เสมือนครูผู้สอนที่มีบทบาทหน้าที่ในการนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับให้อยู่ในรูปเหมาะสมที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ แล้วถ่ายทอดไปสู่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมาย
2.ในฐานะ ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาร่วมกับบุคคลเป้าหมาย(advisor) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องกระตุ้นและร่วมกับบุคคลเป้าหมายศึกษาทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง ครบถ้วนเกี่ยวกับสภาพทางกายภาพชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมอื่นๆ แล้ววิเคราะห์ประเด็นปัญหา ความจำเป็น และตัดสินใจแก้ไขปัญหา โดยให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือเพื่อตนเองให้มากที่สุด
3. ในฐานะเป็นผู้กระตุ้นให้เกษตรกรรู้จักปัญหาและพัฒนาตนเอง (stimulator) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องกระตุ้นให้เกษตรกรได้รับรู้และเข้าใจปัญหาที่แท้ จริง และความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในการประกอบอาชีพ จัดทำแผนและดำเนินการพัฒนาตนเองเพื่อให้วิถีชีวิตมีความสงบสุขสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ
4. ในฐานะเป็นผู้ประสานงาน (coordinator) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องทำหน้าที่ในการประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงาน ต่างๆ หน่วยงานวิจัย สถาบันการเงิน แหล่งจำหน่าย เพื่อให้งานส่งเสริมการเกษตรบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
5. ในฐานะเป็นผู้ให้บริการ (service) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น ให้บริการแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิต สินเชื่อ ปัจจัยการผลิต ราคาและการตลาดแหล่งรับซื้อผลผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ
6. ในฐานะเป็นผู้จัดการความรู้ทักษะประสบการณ์ (knowledge manager) ในการเชิญผู้รู้หรือนักวิชาการในสาขาต่างๆจากหน่วยงานต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้ทักษะประสบการณ์ตามความจำเป็น หรือความสนใจของชาวบ้าน หรือเชิญเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมา เป็นวิทยากรให้แก่เพื่อนบ้าน ภายหลังที่ได้กระตุ้นให้บุคคลเป้าหมายเข้าใจปัญหาและความจำเป็นของตน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 02/10/2009 9:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จากประสบการณ์...การใช้ชีวิตเป็นเกษตรกร
ถ้าจะพูดถึงหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในฐานะผู้ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตร แต่ผู้ที่ถ่ายทอดมีวิชาความรู้ด้านการเกษตรมากแค่ไหน ถึงแม้จะเรียนจบด้านการเกษตรมา แต่เป็นความรู้แบบกว้างๆเท่านั้น มิได้เฉพาะเจาะจงพืชที่ปลูกในพื้นที่ ที่รับผิดชอบ
เจ้าหน้าที่ก็ควรจะขวนขวายหาความรู้ เพื่อให้ตนเองเป็นผู้ชำนาญการในพืชนั้นๆ แต่จากประสบการณ์ การอบรมเรื่องมังคุด ผู้เข้าร่วมอบรมยกมือถามวิทยากร เรื่องการให้ปุ๋ยทางใบแก่มังคุด เจ้าหน้าที่เกษตรแต่ละคนให้ความสนใจมาก เหมือนไม่เคยรู้มาก่อน หรือแม้แต่ตัวเกษตรกรเอง ที่ใช้ชีวิตการทำสวนมังคุดมาครึ่งชีวิต ไม่รู้จักCa.Br. นี่คือความล้มเหลวของการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร
การตั้ง "ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรประจำตำบล " มีอยู่ไม่กี่ครั้งที่มีการเชิญนักวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝง มาเป็นวิทยากร ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทปุ๋ยหรือบริษัทยา
การเอางบประมาณพาเจ้าหน้าที่หรือกรรมการศูนย์ฯ ไปศึกษาดูงานนับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่เคยเอามาถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร ที่ไม่มีโอกาสได้ไป ได้รับความรู้เลย
แล้วเราจะเรียกว่า เป็นการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ได้อย่างไร?
ในฐานะให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่ที่ผ่านมาปัญหาของเกษตรกร เป็นปัญหาที่เกิดซ้ำซากเป็นประจำ เหมือนกันทุกปี ดูเหมือนว่าทุกปัญหาจะถูกแก้ไขแบบเฉพาะหน้า ยกตัวอย่างเช่นราคาผลผลิตตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด การแก้ปัญหาก็รูปแบบเดิมๆ หางบประมาณมาพยุงราคา แทรกแซงราคา รับซื้อแล้วเอาไปกองทิ้ง
เขาทำกันเป็น...แค่นั้นจริงๆ
เคยได้รับคำถามจากจ้าหน้าที่ว่า"ตอนนี้ราคา...มังคุด เป็นยังงัยบ้าง"
ชวนให้สงสัยในใจว่า คุณเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องเกาะติดสถานการณ์หรือแม้แต่การคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ปีนี้ ปีหน้า ผลผลิตทางการเกษตรอะไร ออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเวลาไหน ประมาณการราคาต่ำสุด สูงสุด เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข หรือแม้แต่การสำรวจจำนวนประชากรของ
พืชชนิดนั้น ในแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล คงไม่ต้องพูดถึงZoning
เพียงแต่เราตั้งเป้าหมายให้ตรงกันคือ"ให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หมดภาระหนี้สิน พึ่งพาตนเองได้" เงินภาษีอากรของประชาชน ทุกบาททุกสตางค์ จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
uthanasamut สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 23/07/2009 ตอบ: 23 ที่อยู่: 366 ถ.ปัทมานนท์ อ.เมือง สุรินทร์
|
ตอบ: 03/10/2009 12:28 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เสียงเบามาก.............. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 03/10/2009 5:52 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การจัดให้เกษตรกรเดินทางไปอบรม สัมมนาหรือแม้แต่การศึกษาดูงาน เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่ทำไมเกษตรกรกลับเอาความรู้นั้น มาใช้ประโยชน์น้อยมาก หรือแทบไม่ได้ใช้เลย
ยกตัวอย่างเช่น การเอางบประมาณของทางราชการ พากรรมการศูนย์ถ่ายทอดฯ ไปศึกษาดูงานต่างจังหวัดเป็นเวลาหลายวัน ใช้งบประมาณไปไม่ใช่น้อย แต่กลับมาแล้ว ไม่เห็นมีใครมาเลี้ยงหมูหลุม หรือทำตามแนวทางที่ไปดูงานมา คงจะเข้าข่าย"ผลาญงบ"อีกเช่นเคย
ทำไมไม่เอางบประมาณก้อนนั้นมาใช้ในการเพิ่มพูนความรู้และเทคโนโลยีให้เกษตรอย่างจริงจัง
ทำให้นึกถึงแนวคิด" FARMER CENTER " ของลุงคิม " เกษตรกรปลูกอะไร ก็ควรให้ความรู้เรื่องนั้นๆแก่เกษตรกร " |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 03/10/2009 11:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เอาง่ายๆ พี่ๆ เจ้าหน้าที่เขามีใจให้เกษตรกรหรือป่าวหละ..........? _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 05/10/2009 9:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://www.mindcyber.com/content/data/0021-1.html
ผู้มีอุดมการณ์
ท่าน ขงจื้อกล่าวว่า ผู้มีอุดมการณ์ ผู้มีเมตตาธรรมย่อมไม่รักตัวกลัวตาย จนทำให้เสียอุดมการณ์ หรือสิ้นเมตตาธรรม ตรงกันข้ามกลับจะยอมพลีชีพเพื่อพิทักษ์ธรรมตามอุดมการณ์และเมตตาธรรม
คน บางคนเหมือนต้นกล้าที่เติบโตแข็งแรง แต่กลับแตกแต่ใบไม่ออกดอก
คนบางคนเหมือนต้นกล้าที่แข็งแรงแล้วออกดอกแต่ไม่ออกรวง
คือคนที่ไม่มีความสำเร็จ และไม่สร้างคุณประการให้แก่โลก
ทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ไม่แน่นอน ก็จะเป็นเช่นเดียวกับ ต้นกล้า เหล่านี้
ผู้ มีคุณธรรมจิตใจย่อมกว้างขวาง รู้จักปล่อยวางรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนปุถุชนนั้น มักกลัดกลุ้มวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา จนทำให้บุญวาสนาผ่านเลยไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pitipol เว็บมาสเตอร์
เข้าร่วมเมื่อ: 22/07/2009 ตอบ: 332 ที่อยู่: 114/2 ม.11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง
|
ตอบ: 05/10/2009 11:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แล้วผู้มีอุดมการณ์ กับ มีปรัชญา มันต่างกันอย่างไรเหรอครับ? _________________ เกษตรกรฝึกหัด
โอ ระยองครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 06/10/2009 5:04 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://www.tidso.com/board_1/view.php?id=41
คำว่า "อุดมการณ์" หมายถึงสิ่งที่เป็นความคาดหวังอันสูงของคน หรือกลุ่มคนที่จะไปให้ถึง จะทำให้ได้ เป็นสิ่งที่ดีงาม
ความหวังที่จะก้าวไป ของทุกคนคงไม่เหมือนกัน ปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานด้วยใจ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ก่อเกิดความคิดที่จะแปลเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดี
..................................................................................................................................................
ที่มา คัดลอกจาก http://learning.eduzones.com/offy/5069
ปรัชญา คืออะไร ?
ศัพท์คำว่า “ ปรัชญา ”
ปรัชญา มาจากคำสันสกฤตคำว่า
“ ปร (อุปสรรค) ” แปลว่า รอบ, ประเสริฐ กับคำว่า
“ ชญา ” แปลว่า รู้, เข้าใจ
รวมความแล้ว ปรัชญา จึงมีความหมายว่า ความรู้รอบโดยทั่ว, ความรู้อย่างแท้จริง, ความรู้อันประเสริฐ
ศัพท์คำว่า “Philosophy”
ส่วนศัพท์คำว่า “Philosophy” ( love of wisdom) นั้น มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ
Philos ( loving or dear ) แปลว่า ความรัก, ความเลื่อมใส, ความสนใจ
Sophia ( wisdom or knowledge) แปลว่า ปัญญา, ความรู้, วิชาการ
รวมความทั้ง 2 คำแล้ว ได้ความหมายว่า ความรักในปัญญา, ความรักในความรู้, ความรักในวิชาการ
ปรัชญา นั้นมีความหมายกว้างมาก ยากที่จะจำกัดความลงไปได้ เพราะเหตุที่ วิชาปรัชญานั้นเป็นวิชาที่ ศึกษาหาความจริงตามหลักเหตุและผลอย่างกว้าง ๆ กับธรรมชาติ
ิ ของ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่ เราจะเห็นว่า นักปรัชญาแต่ละคนก็ล้วนแต่ให้ความหมายของคำว่า “ ปรัชญา ” ที่แตกต่างกันออกไป ดังจะได้ยกตัวอย่างมาดังนี้
โสคราเต็ส – ปรัชญา คือ ความรักในความรู้
เพลโต – นักปรัชญา คือ คนที่ศึกษาถึงธรรมชาติที่แท้จริง
ของสิ่งทั้งหลาย ปรัชญามีเป้าหมายเพื่อเข้าถึงความรู้ที่แท้
จริง เป็นนิรันดร์
อริสโตเติล – ปรัชญา คือ ทฤษฎีความรู้ หรือทฤษฎีคุณค่า
ปรัชญาคือ ศาสตร์ซึ่งค้นหาถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีเป็นอยู่
ู่ ด้วยตนเอง และคุณสมบัติตามธรรมชาติของสิ่งนั้นด้วย
ค้านท์ – ปรัชญา คือ ศาสตร์แห่งความรู้และการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้
นักปรัชญาแต่ละคนต่างก็มีความเห็นเป็นของตนเอง
แต่ใจความโดยรวมของความหมายของปรัชญานั้นอยู่ที่
ปรัชญา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ ความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติ และชีวิตอย่างลึกซึ้ง
เพื่ออธิบายเหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ โดยใช้หลักการของเหตุผลในวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงหรือความรู้ที่แน่นอน
ปรัชญาเริ่มต้นขึ้นจากความสงสัยต่อโลก ต่อตัวเราเอง ต่อสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ....
เราเกิดมาทำไม ?
ทำไมเราต้องตายด้วย มีชีวิตอยู่ตลอดไปหรือมตะไม่ได้หรือ ?
คำถาม ทำไมสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น ทำไมสิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ ทำไม อย่างไร เพราะอะไร เหล่านี้
ที่ตัวเหตุผลเป็นคำตอบ แต่เมื่อเราตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นมาแล้ว
คนส่วนมากมักไม่สนใจค้นหาคำตอบอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา
นั่นคือ นักคิด นักปรัชญา
พวกเขาตั้งใจค้นคว้าคิดหาคำตอบ หาเหตุผลต่าง ๆ มาทำให้ความจริงปรากฏ
เมื่อเหตุผลสอดคล้องกับคำถาม นั่นคือ เราได้คำตอบที่เป็นความรู้
ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาจึงกลายมาเป็น
ศาสตร์ที่มีผู้สนใจมากที่สุดในโลก
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรารู้คืออะไร และเรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร
แต่ปรัชญากลับเสนอความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่รู้คืออะไร
ตรงนี้เองที่ทำให้วิทยาศาสตร์กับปรัชญานั้นแตกต่างกัน ต่อมาเมื่องานของวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าออกไปจนปรัชญาทำงานตามไม่ทัน
เมื่อนั้น ศาสตร์ 2 ศาสตร์นี้จึงแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
ไม่ เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่แยกตัวออกมาจากปรัชญา วิทยาการด้านต่าง ๆ หลายด้านเมื่อมีวิธีการที่พัฒนาเฉพาะด้านมากขึ้น มีเนื้อหาที่ศึกษาเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น จึงได้แยกตัวออกมาจากปรัชญาได้
ศาสตร์แรกที่แยกตัวออกจากปรัชญา ก็คือ ศาสนา เพราะเมื่อศาสนามีหลักการต่าง ๆ
คำสอน และเนื้อหาที่แน่นอนและมากขึ้น ศาสนาจึงไม่ต้องพึ่งปรัชญาอีกต่อไป
ต่อมาก็เป็น คณิตศาสตร์ ที่แยกตัวออกมา ต่อจากนั้นก็เป็นสังคมศาสตร์ จิตวิทยา
เรา จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ปรัชญาจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ต่าง ๆ ข้างต้นมาแล้วเท่านั้น แต่ปรัชญายังเป็นศาสตร์แม่หรือศาสตร์ต้นกำเนิดของวิทยาการต่าง ๆ ด้วย |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Aorrayong หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009 ตอบ: 869
|
ตอบ: 06/10/2009 5:12 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ที่มา คัดลอกจาก http://pittajarn.lpru.ac.th/~chitlada/WEBPAGE/ed/philosophy.pdf
ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง
ปรัชญา (Philosophy) คืออะไร ?
พจนานุกรมได้นิยามคำว่า ปรัชญาหมายถึงวิชาที่ว่าด้วยความรู้ และความจริง
อุดมการณ์ (Ideology) คือ ลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความเชื่อเจตคติ และแนวความคิดหลักซึ่งจะมีอิทธิพลกำหนดความคิดของบุคคลที่อยู่ในกลุ่ม หรือสังคมเดียวกัน เช่น พรรคการเมือง
ดังนั้น.... ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตน จึงหมายถึงหลักการที่บุคคลยึดถือ สำหรับพัฒนาตนนั่นเอง.....
เราจะสร้างปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนได้อย่างไร ?
ตอบคำถามเหล่านี้เสียก่อน
- ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ของเรานั้นควรมีลักษณะอย่างไร ?(ชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว/การงาน/สังคม)
- เราอยากจะปรับปรุงชีวิต และความเป็นอยู่ในวันนี้ พรุ่งนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานที่ผ่านไปหรือไม่
- เราควรทำ อย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเองดี(จะรอให้เป็นไปตามโชคชะตาฟ้าลิขิตหรือ แสวงหาด้วยตัวเอง)
- เรารู้สึกภูมิใจในตนเองหรือไม่ที่ได้พยายามปรับปรุงตนเองไม่ว่าผลของมันจะเป็นเช่นไร
- เราสามารถประเมินผลและตรวจสอบผลการพัฒนาตนเองได้หรือไม่เพื่อนำ ผลที่ได้ไปหาวิธีที่ดี และเหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเองต่อไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|