ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
twohandcrikky สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2011 ตอบ: 47
|
ตอบ: 22/08/2012 9:13 pm ชื่อกระทู้: พริกโดนไรขาวเล่นงาน |
|
|
ลุงคิมครับ
พริกผมโดนไรขาวเล่นงาน อยากทราบว่าลุงเคยใช้สมุนไพรจัดการกับไรขาวบ้างไหมครับ เราสามารถเอาอะไรไปวาง ใช้กลิ่นไล่มันได้ไหมครับ ไม่รู้ว่ามันประสาทรับกลิ่นไหม
อีกข้อนะครับ ลุงเคยใช้พวกศัตรูธรรมชาติไหมครับ ผมอยากได้ไรตัวห้ำ ไปลองใช้ไว้ไล่กินไรน่ะครับ จะซื้อได้ที่ไหนครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/08/2012 6:54 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ไรขาวพริก (Broad mite)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Polyphagotarsonemus latus Banks
รูปร่างลักษณะ
เพศเมีย : รูปร่างเป็นรูปไข่ผิวของลำตัวใสเป็นมันคล้ายหยดน้ำมัน ด้านหลังจะมีแถบสีขาว คล้ายโบว์พาดอยู่กลางลำตัวจนถึงส่วนท้าย เมื่อโตเต็มที่จะมีสีเหลืองอำพัน ตัวกว้างเฉลี่ย 0.111 มม. และยาว 0.195 มม.
เพศผู้ : รูปร่างเล็กเรียวและแคบกว่าเพศเมีย ส่วนท้ายลำตัวทำหน้าที่แบกดักแด้เพศเมีย เคลื่อนที่ตลอดเวลา ขาคู่ที่ 4 ใหญ่ และแข็งแรงกว่าขาคู่อื่น ๆ ใช้จับซ้อนดักแด้ไว้ส่วนท้ายลำตัว ลำตัวกว้างเฉลี่ย 0.078 มม. และยาว 0.174 มม. การเจริญเติบโตจากระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยกินเวลานาน 4-5 วัน เพศเมียวางไข่ทีละฟอง เพศเมีย 1 ตัว วางไข่ได้เฉลี่ย 32 ฟอง และมีชีวิตอยู่ได้นาน 12 วัน
ลักษณะการทำลาย
ไรชนิดนี้มีอวัยวะ ส่วนปากไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ดูดกินเฉพาะใบอ่อนและผลอ่อนเท่านั้น ส่วนมากดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบ หากการทำลายรุนแรงทำให้ขอบใบม้วนลง ใบเรียวเล็ก มีสีเหลืองเข้ม ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนการทำลายที่ผลอ่อน หากได้รับความเสียหายทั้งผล ทำให้ผิวส้มเป็นแผลสีเทา เป็นร่างแหต้องปลิดทิ้งเพราะว่าแคระแกรน หากถูกดูดกินเป็นบางส่วนเมื่อโตขึ้นจะมีเปลือกหนาเนื้อน้อย น้ำหนักเบา ต้องปลิดทิ้ง พบว่ามีปริมาณสูงในฤดูฝน และฤดูหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแตกใบอ่อน และออกดอก
ศัตรูธรรมชาติ
ไรตัวห้ำ ด้วงเต่า แมงมุม
การป้องกันและกำจัด
1. สำรวจปริมาณไรขาวพริกที่ผลตั้งแต่ติดผลอ่อน จนอายุ 2 เดือน ทุก 7 วัน โดยใช้แว่นขยายตรวจ จำนวน 5 ผล/ต้น สุ่มสำรวจผลที่อยู่ในทรงพุ่ม ถ้าพบให้ถือว่าผลนั้นถูกทำลาย ให้ทำการป้องกันกำจัด เมื่อพบเกิน 10%
2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ โดยรักษาวัชพืช ที่มีดอกเป็นอาหารของไรตัวห้ำ
3. เมื่อสำรวจที่ผลอ่อนพบไรขาวพริกทำลายเกิน 10 % ให้พ่นสารเคมี กำจัดไร เช่น wettable sulfur (Kumulus DF 80% WG) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ amitraz (Mitac 20% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ propargite (Omite 30% WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นมื่อพบไรขาวพริกระบาดทำลายผลอ่อนส้มโอที่ติดผลแล้วจนกระทั้งผลมีอายุประมาณ 2 เดือน และพ่นซ้ำทุก 5 วัน เมื่อยังมีการรระบาด ไม่ควรใช้สารฆ่าไรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับกันเพื่อป้องกันมิให้ไรต้านทานต่อสารฆ่าไรเร็วเกินไป การพ่นสารฆ่าไรแต่ละชนิดไม่เกิน 4 ครั้ง หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน
รูปภาพประกอบ
http://forecast.doae.go.th/web/pummelo/308-flea-of-pummelo/986-broad-mite.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|