-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 7 MAY *มะม่วง-แต่งกิ่ง,หมัดกระโดด,กล้วยไม้
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 6 MAY *มังคุดไม่ออกดอก, ใจชาวนามือใหม่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 6 MAY *มังคุดไม่ออกดอก, ใจชาวนามือใหม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/05/2013 9:05 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาวิทยุ 6 MAY *มังคุดไม่ออกดอก, ใจชาวนามือใหม่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 6 MAY


***********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางสถานีวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่ม
รายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

***********************************************************


จาก : (089) 288-17xx
ข้อความ : มังคุดปีที่แล้ว ให้ 13-0-46 + ไธโอยูเรีย อัตรา 2 : 1 ให้ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน ส่วนใหญ่แตกใบอ่อน ไม่มีดอกเลย บางส่วนมีทั้งใบอ่อนกับดอก ส่วนน้อยที่ออกดอก คาดว่าใช้ส่วนผสมผิด ปีนี้เอาใหม่ ผมควรปรับอัตราส่วนเท่าไรจึงจะได้ผล .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
@@ สาเหตุ :
- เปิดตาดอกมังคุดแล้วแตกใบอ่อนเป็นเพราะ “ไธโอยูเรีย” นั่นเอง เพราะไธโอยูเรีย. ก็คือ เคมีรูปหนึ่งของไนโตรเจน ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างใบโดยตรง .... เมื่อใช้ไธโอยูเรียแล้วแตกใบอ่อนก็ให้เลิกใช้ แล้วเปลี่ยนมาใช้ 0-52-34 แทน

- เปิดตาดอกแล้วออกเป็นใบก็เพราะ ซี/เอ็น เรโช ไม่เหมาะสม หรือ ซี. น้อยกว่า เอ็น. นั่นเอง

- อุณหภูมิไม่เหมาะสม ทำให้การคาย N ไม่ดีหรือไม่มากพอ ส่งผลต่ออัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ไม่เปลี่ยนแปลง หรือ C เท่ากัน N หรือ C มากกว่า N ไม่พอต่อการออกดอก .... ทั้งนี้ อากาศหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อย ทำให้ต้นต้องคาย N ออกมาก จนเป็นเหตุให้ N น้อยลง น้อยลง จนกระทั่งน้อยกว่า C ได้ .... ต้นไม้จะคาย N มากหรือน้อยก็ช่าง เราให้ C เพิ่มเข้าไป นี่ก็เป็นวิธีทำให้ C มากกว่า N หรือ N น้อยกว่า C ได้ เช่นกัน .... การปฏิบัติก็คือ ให้สารอาหารกลุ่ม C ทางใบสม่ำเสมอ พร้อมกับลดหรืองดสารอาหารกลุ่ม N ลงอย่างเด็ดขาด รอกระทั่งต้นโชว์อาการ N น้อยกว่า C แน่นอนแล้ว จึงลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตร “กระชากตาดอก”


@@ ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 200 ล + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (50 กรัม)” ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น

ทางราก :
- งดน้ำ เปิดหน้าดินโคนต้น


หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนชุดที่สองแก่จัด

- ก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติจะต้องตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้รู้แน่ว่าช่วง 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนหรือไม่ จากนั้นจึงเริ่มงดน้ำ หรือเลื่อนการปรับ ซี/เอ็น เรโช ออกไป

- สภาพอากาศมีผลต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช อย่างมาก กล่าวคือ สภาพอากาศต้องเปิด (แล้งหรือไม่มีฝน) หากสภาพอากาศปิด ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือฝนตกจะทำให้การงดน้ำปรับ ซี/เอ็น เรโช ล้มเหลว ต้นไม่เกิดอาการใบไม่สลด

- ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช หรืองดน้ำ ควรอยู่ระหว่าง 20-30 วัน

- ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช แม้สภาพอากาศจะอำนวยจนสามารถทำให้ใบสลดได้ภายในกำหนด แต่สภาพต้นไม่สมบูรณ์จริง ก็เปิดตาดอกไม่ออกเหมือนกัน

- งดน้ำจนต้นเกิดอาการใบสลด จากนั้นจึงลงมือระดมให้น้ำพร้อมกับเริ่มเปิดตาดอกได้ ซึ่งหลังจากระดมให้น้ำแล้วถ้าต้นมีความสนมบูรณ์สูงจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกตามออกมาด้วย .... ถ้างดน้ำจนใบสลดแล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอก ภายใน 1-2 อาทิตย์ ปรากฏว่าดอกไม่ออก ให้เริ่มงดน้ำใหม่เป็นรอบที่สอง งดน้ำจนกว่าใบจะสลดเหมือนครั้งแรกเมื่อใบสลดแล้วก็ให้ระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกอีกครั้ง คราวนี้ถ้าต้นมีความสมบูรณ์ ต้นก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกมาด้วย .... ช่วงระหว่างงดน้ำ ทั้งครั้งแรกและครั้งที่สองควรมีการให้อาหารกลุ่ม ซี. ทางใบสม่ำเสมอ ให้พอสัมผัสใบ ไม่ควรให้จนโชกลงถึงพื้นดินเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ ซึ่งอาจจะส่งผลให้มาตรการงดน้ำไม่ได้ผล


@@ เปิดตาดอก :
ทางใบ :
- ให้ “น้ำ 200 ล. + 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม” หรือฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี. (สูตรใดสูตรหนึ่ง) หรือใช้ทั้ง 2 สูตร สลับกัน 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ทางราก :
- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.) / ต้น (ทรงพุ่ม 3-5 ม.)
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น .... ให้น้ำพอหน้าดินชื้น


หมายเหตุ :
- ในกรณีงดน้ำจนต้นใบสลดแล้วเปิดตาดอกไม่ออก ซึ่งเป็นผลมาจากความสมบูรณ์ของต้นไม่เพียงพอนั้น แก้ไขโดยการระดมให้ “น้ำ” และให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทางใบต่ออีก 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน โดยไม่ต้องเรียกใบอ่อนชุดใหม่ จากนั้นให้สำรวจความสมบูรณ์พร้อมต่อการเปิดตาดอก (อั้นตาดอก) ถ้าต้นสมบูรณ์ดีเห็นได้ชัดก็ให้งดน้ำอีกครั้ง จากนั้นจึงลงมือเปิดตาดอก

- ถ้ามังคุดออกดอกยาก จะด้วยเหตุผลทางสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก) หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่อำนวยก็สูดแท้ ให้สะสมตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-35 อัตราส่วน 1 : 3 (ฮอร์โมนไข่ไทเป ปกติ) แล้วเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 อัตราส่วน 3 : 1 คือ “น้ำ 20 ล. + ไทเป 20 ซีซี. + 13-0-46 (2 ช้อนกินข้าว)”

– สารอาหารที่เป็นพื้นฐานต่อการออกดอกของมังคุด คือ สังกะสี. โบรอน. ดังนั้นจึงควรให้ แม็กเนเซียม-สังกะสี-ธาตุรอง/ธาตุเสริม (ไบโออิ) สลับกับ แคลเซียม โบรอน. ตลอดปี ทั้งช่วงที่มีผลและไม่มีผลอยู่บนต้น บำรุงต้นให้อยู่ในสภาพ “ความสมบูรณ์สะสม” อยู่เสมอ

----------------------------------------------------------------------------



จาก : (NET : ข้อความส่วนตัว วันที่ 6 พ.ค. 13 เวลา 02.04 น. )
ข้อความ : หนูเพิ่งฟังรายการนี้ 2 ครั้ง เมื่อวานกับวันนี้ ครั้งแรกฟังตอนเช้าค่ะ แล้วมารู้ว่ารายการกลางคืนมีด้วย หนูเคยฟังวิทยุหลายรายการ แต่รายนี้ฟังแล้วเห็นชัดเลยว่าต่างจากรายการอื่น หนูเป็นลูกชาวนาแต่ไม่เคยทำแค่เคยเห็นเท่านั้น เป็นลูกคนเดียว เรียนจบก็ไปทำงานบริษัท ชีวิตหักเหต้องลาออกจากงานกลับมาอยู่บ้านที่นครสวรรค์ พ่อแม่เสียแล้วยกที่นาให้ 50 ไร่ ที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำบริบูรณ์ ตัดสินใจทำนาตามพ่อแม่พี่น้อง ทำรุ่นหน้านี้จะเป็นรุ่นที่ 2 คุณลุงขา เชื่อไหม ตอนทำรุ่นแรกขาดทุน 7 หมื่น ค่าปุ๋ย ยา น้ำมัน แรงงาน สารพัด เพราะทำตามบ้านญาติ แล้วมารู้ทีหลังว่าบ้านญาติเป็นหนี้มากกว่าเรา หนูคิดหนักจนเป็นไมเกร็น ตอนนี้ถึงเดือน พ.ค.- มิ.ย. แล้ว เริ่มเข้าหน้าฝนจะต้องทำต่อ คิดว่าถ้าทำแบบเดิมก็ต้องขาดทุนอีกแน่ๆ พอมาได้ฟังคุณลุงเลยได้ไอเดียใหม่ ตามมาอ่านในเน็ตก็ยิ่งได้ไอเดียชัดเจนขึ้นอีก ปลูกข้าวตามใจข้าวไม่ใช่ตามใจคน ทำตามคนล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า ทำตามคนสำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะคำพูดนี้จึงตัดสินใจมาเดิมตามเท้าคุณลุง วันนี้ขอเริ่มคำถามแรกก่อนนะคะว่า จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์คนกับควาย ยิบซั่ม ไร่ละเท่าไร จะทำปุ๋ยอินทรีย์กับยิบซั่มให้เป็นซุปเปอร์ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงเท่าไร คุณลุงกรุณาตอบในเน็ตแล้วตอบในวิทยุด้วยนะคะ....ศรัทธาค่ะ

ปล.
ขณะที่โพสข้อความนี้ ได้คุยแบบเปิดอกกับเพื่อนบ้าน เริ่มรู้แล้วว่า ทำไมชาวนาจึงเป็นหนี้ กำลังคิดหาวิธีที่จะแนะนำเขา ให้เขาทำนาตามแนวทางที่ถูกต้อง เพราะเราเองก็ยังมือใหม่ ยังไม่แม่นสูตรแม่นหลักการ อาจจะต้องปรึกษาคุณลุงมากกว่านี้

ตอบ :
- ใจ ใจต้องมาก่อน เรื่องนี้ ยาก/ง่าย ที่ใจ ....ไม่รู้จะทำยังไงก็อย่าทำตามอย่างคนที่ล้มเหลวเท่านั้นแหละ ว่าแต่ว่า มองออกไหม คนไหนล้มเหลว-คนไหนสำเร็จ

- ลำดับงานที่จะต้องทำ ตั้งแต่เริ่มต้นถึงเกี่ยว ว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น เทือก + กำจัดวัชพืช, หว่าน/ดำ, บำรุง-ระยะกล้า-ตั้งทอง-ออกรวง-น้ำนม-เกี่ยว-สูบน้ำ-ฉีดพ่น

- คำนวนค่าใช้จ่ายในงานที่ทำ จ้าง/ทำเอง
- มองว่า ทำแบบนี้อนาคตจะดีขึ้นหรือแย่ลง ดีขึ้น = ลดต้นทุน, แย่ลง = เพิ่มต้นทุน


@@ ฟันธง ฉากที่ 1 (ทำเทือก กำจัดวัชพืช ดำ/หว่าน)
1) ย่ำเทือก .... สูบน้ำเข้าลึกครึ่งหน้าแข้ง, แช่ทิ้งไว้ 10-15 วัน,

2) หว่านยิบซั่มเฟอร์มิกซ์ + ปุ๋ยอินทรีย์ คนกับควาย หว่านให้ทั่วแปลง, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.) + น้ำ 100 ล. คนเคล้าให้ปุ๋ยละลายดี แบ่งใส่ถังเล็ก เดินสาดให้ทั่วแปลง

3) ย่ำเทือกรอบที่ 1 ด้วยอีขลุบ (ลูกทุบ) ย่ำประณีต 3 รอบใน 1 กระทง ลูกทุบจะกวาด ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ไปทั่วแปลงเอง

4) ย่ำเทือกรอบ 2 ห่างจากรอบแรก 7 วัน ด้วยอีขลุบ (ลูกทุบ) ย่ำประณีต 3 รอบใน 1 กระทง

4) ย่ำเทือกรอบ 3 ห่างจากรอบสอง 7 วัน ด้วยอีขลุบ (ลูกทุบ) ย่ำประณีต 3 รอบใน 1 กระทง แล้วทำร่องน้ำ เตรียม หว่าน/ดำ ต่อไป


หมายเหตุ :
- รวมเวลา หมักดิน + ย่ำเทือก 3 รอบ = 1 เดือน
- การไถ 1 ครั้ง + ย่ำเทือก 1-2 ครั้ง (ย่ำผ่านๆ ไม่ประณีต) ไม่สามารถกำจัดหญ้าวัชพืชได้ แต่กลับช่วยให้หญ้าวัชพืชเจริญงอกงามดีกว่าเดิม เพราะการไถเพียง 1 ครั้งกับย่ำเทือกแบบย่ำผ่านไม่ประณีตนั้น เป็นการพรวนดินอย่างดีนั่นเอง
– ย่ำเทือกประณีต ครบ 3 รอบแล้วพบว่าเทือก (เหนือตาตุ่ม เกือบครึ่งแข้ง) ดีกว่าไถก่อนแล้วย่ำเทือกแบบย่ำผ่าน (ระดับตาตุ่ม)
– หลังจากย่ำแต่ละรอบเสร็จ จะพบว่าหญ้าวัชพืชหายไป หายไปเองเพราะถูกย่ำ หรือเหลือน้อยมากๆ
- ทำนาดำด้วยเครื่อง ประหยัดเวลา แรงงาน เมล็ดพันธุ์
- สิ่งที่ได้ เทือกดีถึงรุ่นหน้า, ไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า, ถอนหญ้าวัชพืชที่หลงเหลือด้วยมือ, ได้ข้าวดี ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้,



ถามมาอีกเมื่อข้าวถึงระยะนั้นๆ หรือปัญหาใหม่ที่ไม่คาดคิด :
@@ ฟันธง ฉาก 2 (บำรุงระยะกล้า)
@@ ฟันธง ฉาก 3 (บำรุงระยะตั้งท้อง)
@@ ฟันธง ฉาก 4 (บำรุงระยะออกรวง)
@@ ฟันธง ฉาก 5 (บำรุงระยะน้ำนม)

----------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©