kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11788
|
ตอบ: 14/08/2014 8:37 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 14 AUG **ส้มเขียวหวานเป็นใบแก้ว |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 14 AUG
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........
-----------------------------------------------------------
จาก : (082) 183-50xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ส้มเขียวหวาน อายุ 2-3 ปี สวนพื้นราบ ฝนตกชุกแล้วมีน้ำขังโคนต้น แตกใบอ่อนใหม่ พอแก่แล้วเป็นใบแก้ว แก้ไขอย่างไร .... สวนส้มชลบุรี
ตอบ :
- พืชตระกูลส้ม (ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มแก้ว มะนาว มะกรูด) มีโอกาสเกิดโรค ใบแก้ว ใบเหลือง หรือกรีนนิ่ง (โรคเดียวกัน) เสมอ
- ส้มชอบน้ำ ชื้น (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) สวนพื้นราบน่าจะทำร่องทางเดินน้ำระหว่างแถว ให้น้ำไหลจากสูงไปต่ำ พร้อมกับพูนโคกหรือสันแปลงให้สูงเข้าไว้ เขาชอบอย่างนั้น
- แตกใบอ่อนแล้วเป็นใบแก้ว เกิดจากความแข็งแรง ความสมบูรณ์สะสม หรือภูมิต้านทานในต้นมีน้อย สาเหตุหนึ่งมาจากระบบรากไม่ดี รากไม่ดีเพราะน้ำขังค้าง งานนี้อาจะมีรากเน่าโคนเน่าแถมด้วย
@@ โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ :
- โรคกรีนนิ่ง : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีแมลงเพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Diaphorina citri) เป็นพาหะ
- โรคทริสเตซ่า : เกิดจากเชื้อไวรัส มีแมลงเพลี้ยอ่อนส้ม (Toxoptera citricidus) เป็นพาหะนำโรค
- โรครากเน่าโคนเน่า : เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora parasitica) เป็นเชื้อราในดิน
- โรคแคงเกอร์ : มีหนอนชอนใบเป็นพาหะ
- เพลี้ยไฟพริก : พบการระบาดช่วงยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยง
- เพลี้ยไก่แจ้ส้ม : ดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อนส้มที่แตกใหม่ ยอดจะหงิกงอและแห้งตายได้ เป็นพาหะของโรคกรีนนิ่ง
- เพลี้ยอ่อน : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนส้ม ทำให้ใบอ่อนม้วนและหงิกงอ ทำให้เกิดราดำบนใบ เป็นพาหะนำโรคไวรัสทริสเตซ่า
- ไรแดงแอฟริกัน : ดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบส้มด้านหน้าใบทำให้ใบส้มเปลี่ยนเป็นสีเขียวจางหรือซีดและหน้าใบเป็นมัน และเป็นคราบฝุ่น หรือผงสีขาวอยู่ตามบริเวณหน้าใบ นอกจากนี้ทำลายผลส้มอ่อนอาจทำให้ผลเปลี่ยนเป็นสีชีดและกระด้าง
- ไรสนิมส้ม : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผลส้ม ทำให้เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลคล้ายสนิม หากทำลายในระยะผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้
- หนอนชอนใบส้ม : หนอนกัดกินเนื้อใบใต้เยื่อผิวใบและชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบ การทำลายทั้งด้านหลังใบและหน้าใบ มองเห็นเป็นฝ้าสีขาวกวนตามทางที่หนอนทำลาย ทำให้ใบหงิกงอ และลดประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบ เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์ เข้าทำลายได้ง่าย
- หนอนแก้วส้ม : กัดกินใบอ่อนและใบเพสลาด เมื่อพบเห็นเก็บตัวทำลายได้เลย
http://www.growforprincess.in.th/tree_detail.php?id=41
หมายเหตุ :
โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร เนื่องจากต้นส้มต้องการธาตุอาหารครบทั้ง ๑๖ ธาตุ และมีความอ่อนแอต่อการขาดธาตุอาหารรอง คือ ธาตุแมกนีเซียม ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก ต้นส้มที่ขาดธาตุอาหารต่างๆ จึงมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ขนาดใบเล็กลง ใบสีเหลืองเขียวซีด.... การขาดธาตุแมกนีเซียม. ทำให้ใบส้มมีสีเหลือง โดยเส้นกลางใบและพื้นที่ใบบริเวณโคนใบมีสีเขียวเป็นรูปลิ่ม หรือตัววี (V) กลับหัว แต่ถ้าต้นส้มขาดธาตุสังกะสี. ใบส้มจะเขียวซีดหรือเหลือง โดยที่เส้นกลางใบและเส้นแขนงมีสีเขียว โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารนี้ เกิดจากการที่ต้นส้มได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ หรือต้นส้มไม่สามารถดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินไปใช้ประโยชน์ได้ การปรับปรุงสภาพและคุณสมบัติของดินที่ปลูกให้มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะ สม โดยการใช้อินทรีย์วัตถุ การให้ธาตุอาหารอย่างสมดุล และเพียงพอแก่ต้นส้มจะสามารถป้องกันและแก้ไขโรคนี้ได้
ประสบการณ์ตรงที่ไร่กล้อมแกล้ม :
- แคงเคอร์ ..............................ใช้น้ำปูนใส
- หนอนแก้ว ............................ เลี้ยงมดแดงจับหนอนกิน
- เชื้อราต่างๆ ........................... ใช้สมุนไพร เผ็ด + ร้อน
- เพลี้ยอ่อน ............................ ใช้ เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู
- เพลี้ยไฟ .............................. ฉีดน้ำเปล่าตอนเที่ยง
- กรีนนิ่ง (ใบแก้ว), ตริสเตรซ่า (ยางไหล) ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม. สังกะสี. ธาตุรอง ธาตุเสริม)
@@ เกร็ดความรู้เรื่องส้ม :
* เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี ทรงพุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ส้มโอ ส้มแก้ว และส้มเช้ง ที่ปลูกในประเทศไทยมีอายุยืนนานเกิน 10 ปี บางสวนถึง 20 ปียังให้ผลผลิตดี แต่ส้มเขียวหวานกลับมีอายุเพียง 4-6 ปีต้นตายแล้ว ในขณะที่ส้มเปลือกล่อนของอเมริกา (ฟลอริด้า ซันเครส ฟรีมองต์ ฯลฯ) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับส้มเขียวหวานอายุนานถึง 100 ปี
* พืชตระกูลส้ม ได้แก่ ส้มเขียวหวาน. ส้มโชกุน. ส้มเช้ง (ส้มตรา-ส้มซ่า-ส้มกา). ส้มแก้ว. ส้มโอ. ส้มมือ. ส้มจี๊ด. ส้มทองเฮง. ส้มเปลือกหวาน. มะนาว. มะกรูด. มะสัง. มะขวิด. สามารถขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง ติดตาหรือเสียบยอดซึ่งกันและกันได้
* ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน เรียกว่ากลุ่ม ส้มเปลือกล่อน เนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวที่มีเปลือกบาง ล่อนหรือลอกออกจากเนื้อได้ง่ายซึ่งต่างจาก ส้มโอ ส้มเช้ง มะนาว มะกรูด
* ส้มสายพันธุ์ปลูกในกระถาง (ไม้ประดับ) ได้ผลผลิตดี ได้แก่ ส้มกิมจ๊อหรือกัมควอท(รับประทานได้ทั้งเปลือก). ส้มจี๊ด (คาราเมนติน). ส้มหลอด (ผลหวาน/ผลเปรี้ยว) และส้มใบด่าง.
* ส้มจุก. ของไทยเคยนิยมปลูกมากในเขตภาคใต้ มี 2 สายพันธุ์ คือ จุกใหญ่ และ ไม่มีจุก ปัจจุบันพอมีให้เห็นบ้าง
* เป็นพืชรากลอย ชอบหาอาหารบริเวณหน้าดินไม่ลึกนัก
* ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม 3 ส่วน + มูลไก่ 1 ส่วน..... หมักข้ามปี.)ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. หญ้าคลุมผิวดินโคนต้น แต่ไม่ชอบยาฆ่าหญ้า-วัชพืช. สารเคมีกลุ่มทองแดง (ค็อปเปอร์ออกซี่คลอไรด์). รากแช่น้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ.
* ติดดอกออกผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นหรือฤดูกาล เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้
* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
* ปรับปรุงบำรุงดินด้วยยิบ ปุ๋ยคอก ซั่มธรรมชาติและกระดูกป่น ต้นจะตอบสนองดีกว่าใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ และหินภูเขาไฟ
* การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล (หมักใหม่) ค่าความเป็นความกรดสูง (พีเอช 3.0-4.0) นอกจากทำให้หยุดการเจริญเติบโตของผลแล้วยังเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อรามีลาโนสอีกด้วย
* การใช้สารกลุ่มคอปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์(กำจัดโรคแคงเคอร์)บ่อยๆ จนเกิดอาการสะสมในต้น สารคอปเปอร์ ออกซี คลอไรด์.(ทองแดง) จะขัดขวางการลำเลียงสารอาหารจากรากไปยังส่วนต่างๆของต้น เป็นเหตุให้ต้นไม่ได้รับสารอาหารที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ
* โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว). โรคตริสเตรซ่า (ยางไหล). เป็นเชื้อไวรัสที่ติดมากับสายพันธุ์ซึ่งแพร่หลายออกไปทั่วประเทศจนพูดได้ไม่มีต้นพันธุ์ไม้ผลตระกูลส้มใดปลอดโรคดังกล่าวนี้ และปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีใดๆ กำจัดให้หายขาดได้ แนวทางแก้ไข คือ บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อกดเชื้อไว้ไม่ให้อาการกำเริบ ถ้าต้นอ่อนแอหรือขาดความสมบูรณ์เมื่อใด อาการโรคจะปรากฏออกมาทันที
* ต้นพันธุ์เสียบยอดหรือติดตาบนตอมะสัง. มะขวิด. มะกรูด. ทรอยเยอร์ (ส้มสามใบ). คลีโอพัตรา. สวิงเกิ้ล. มักได้ผลดีเฉพาะช่วงต้นเล็กอายุยังน้อยเท่านั้น เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะมีอาการโคนต้น (ตอเดิม) ใหญ่และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามอายุ เรียกว่า ตีนช้าง ในขณะที่ส่วนของพันธุ์ที่นำมาเสียบหรือติดตาจะเล็กหรือโตตามปกติ นอกจากนี้ระบบรากเคยดีเมื่อช่วงต้นเล็กก็จะเปลี่ยนเป็นเลวลง
* ต้นลำเปล้าเดี่ยวๆหรือมีกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. ระบบลำเลียงน้ำเลี้ยงจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของต้นดีกว่าต้นไม่มีลำเปล้าหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ชิดพื้นดิน
* การให้สารรสหวาน (กลูโคส น้ำตาล) เป็นอาหารทางด่วนมากหรือบ่อยเกินไปจะทำให้เกิดอาการใบกร้านและชะงักการเจริญเติบโตได้
* สวนยกร่องน้ำหล่อควรลดระดับน้ำจากสันแปลงถึงผิวน้ำไม่น้อยกว่า 1-1.20 ม. เนื้อดินที่สันแปลงเหนียวแก้ไขด้วยการฉีดอัดจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศลงไปลึกๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ช่วยลดความเหนียวจัดของเนื้อดินได้ พร้อมกันนั้นให้ใช้หลักการล่อรากจากใต้ดินลึกให้ขึ้นมาอยู่ที่ผิวดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ รากเกิดใหม่ที่ผิวดินจะทำหน้าที่แทนรากส่วนที่อยู่ลึกใต้ดินได้
* เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่าเป็นเชื้อโรคส้มเพราะลักษณะบางอย่างอาจเกิดจากการขาดธาตุรอง ธาตุเสริม หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็ได้
* ช่วงที่ผลกำลังเจริญเติบโตแล้วได้รับอากาศหนาวเย็นสีเปลือกจะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมแสด แต่หากได้รับอากาศร้อนสีเปลือกจะมีสีเขียวจัดหรือมีสีเหลืองเล็กน้อย
* ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับไนโตรเจนน้อยผลจะโตช้าหรือไม่โต แต่ถ้าช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวต้นยังคงได้รับไนโตรเจนมาก จุก (เปลือกติดขั้ว) สูง เปลือกหนา รสเปรี้ยว กลิ่นไม่ดี
* ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ ผลส้มจะมีเส้นรกมาก เปลือกหุ้มกลีบหนาและเหนียว รับประทานแล้วมีชานมาก
* ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วได้มีฝนตกชุก และผลอายุแก่เกินมากตัวกุ้ง(เนื้อ) จะแข็งกระด้าง (ข้าวสาร) ล่อนกระจายไม่เกาะกัน แต่หากอายุยังไม่ถึงกำหนดตัวกุ้งเล็ก ฉ่ำน้ำ รกหนา รับประทานไม่อร่อย
* หลังเก็บเกี่ยวลงมาแล้วทิ้งไว้ 3 วัน 1 เดือน (แล้วแต่ชนิด) ให้ลืมต้นจะได้รสชาติดีขึ้น
* เนื่องจากธรรมชาติของส้มเขียวหวานที่ต้นสมบูรณ์มากมักติดผลดกมาก จึงเป็นภาระที่ต้นต้องหาอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นจำนวนมาก ต้นจึงมักจะโทรม กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้แม็กเนเซียม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
* อัตราการใส่ปุ๋ยทางราก ½ กก./ต้น/เดือน สำหรับต้นที่ติดผลไม่ดกนัก และอัตราใส่ 1/2 กก./ต้น/15 วัน สำหรับต้นที่ติดผลดกมาก
* การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหมักจากปลาทะเล และมีส่วนสมของกากน้ำตาล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายๆเดือนจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ไม่แตกใบอ่อน) ดังนั้นการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงต้องให้อย่างระมัดระวังหรือต้องเฝ้าสังเกตการเจริญเติบโตของต้นอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งอาจต้องหยุดหรือเว้นระยะห่างของการให้บ้าง
* การใช้มูลสัตว์ปีก (ไก่-นกกระทา) เพื่อเสริมการออกดอกนั้นไม่ควรใช้มากจนเกินจำเป็น โดยเฉพาะมูลค้างคาวไม่ควรใช้กับส้มเพราะจะทำให้มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่
* ต้นทรงพุ่มรกทึบ ใบมาก จนแสงแดดผ่านรอดเข้าไปไม่ทั่วถึง บริเวณเปลือกลำต้นและกิ่งแก่จะมีราต่างๆ (หลายสี) เกาะจับ แก้ไขด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยบ่อยๆควบคู่กับตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ความร้อนจากแสงแดดจะช่วยกำจัดราจับเปลือกได้
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=107
หนังสือ ไม้ผลแนวหน้า
-------------------------------------------------------
. |
|