kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11666
|
ตอบ: 15/09/2017 7:51 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 15 SEP *VISION-MOTIVATION นาข้าว |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 15 SEP
AM 594 เวลา 07.35-08.00 (ทุกวัน) และ 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
----------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......
**********************************************************
จาก : (094) 653-1959xx
ข้อความ : ทำนา 20 ไร่ สองคนผัวเมีย อยากลดต้นทุนแต่ได้ข้าวมาก คุณภาพดี ต้องทำอย่างไรบ้าง....จากชาวนาอุบล
จาก : (068) 798-24xx
ข้อความ : นารอบนี้ขาดทุนจริงๆครึ่งหนึ่ง เพราะน้ำท่วม นารอบที่แล้วขาดทุนกำไรครึ่งหนึ่ง เพราะข้าลีบ ข้าวปน ข้าวไม่มีน้ำหนัก วันนี้ยอมรับแล้วว่า นี่คือผลของ ยูเรีย 16-20-0 ที่นา 50 ไร่ รอบหน้าจะทำแค่ 10 ไร่ ทำตามสูตรลุงคิมครับ....
ตอบ :
* ชาวนายุคใหม่ 2 คน/20 ไร่ :
- ปรับทัศนคติ สร้าง VISION (วิสัยทัศน์) & MOTIVATION (มูลเหตุจูงใจ) ให้กับตัวเอง
- แบ่งพื้นที่งานคนละ 10 ไร่
- ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ + สารสมุนไพร 2 วัน (วันละ 5 ไร่)
- ถอนวัชพืช, ข้าวปน 1 วัน (ตลอดอายุต้นข้าว ทำ 2 ครั้ง)
- สูบน้ำ เข้า/ออก 1 วัน (ตลอดอายุต้นข้าว ทำ 2-3 ครั้ง)
- ทำปุ๋ยใช้เอง (ที่เหลือแบ่งขายข้างบ้าน)
- ทำยาสมุนไพรใช้เอง (ที่เหลือแบ่งขายข้างบ้าน)
- แรงงาน ทำเองมากที่สุด จ้างน้อยที่สุด
- ดูแลข้างบ้าน อย่ากะรวยคนเดียว แต่ให้รวยทั้งหมู่บ้าน
- นา 20 ไร่ ต้นทุนเฉพาะค่าปุ๋ย (ยูเรีย + 16-20-0 รวม 40 กส. ๆละ 700) เป็นเงิน 28,000
- สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยเคมีเพียง 2 ตัว คือ ไนโตรเจน. กับฟอสฟอรัส. .... สิ่งที่เสีย คือ .... 1) ข้าวลีบ, 2) เมล็ดไม่ใส, 3) เมล็ดไม่แกร่ง, 4) เป็นท้องไข่, 5) ไม่มีน้ำหนัก, 6) โรคมาก, 7) ต้นสูงล้ม, 8 ) ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้, 9) ดินเสีย, 10) จุลินทรีย์ตาย, 11) สิ้นเปลือง, ๅ12) ฯลฯ
ต้นทุนที่ลดได้ :
- ไม่ไถแต่ย่ำประณีต : ย่ำ 3 รอบ/กระทง .... ย่ำ 4 เที่ยว ห่างกันเที่ยวละ7-10 วัน.... สิ่งที่ได้ เปรียบเทียบระหว่าง ปกติไถ 2 รอบ ย่ำด้วยอีขลุบ 2 รอบ รวมเป็น 4 รอบ ได้ขี้เทือกไม่ลึกนัก ไม่ได้กำจัดวัชพืช กับ ไม่ไถแต่ย่ำด้วยอีขลุบ 4 รอบ จำนวนรอบเท่ากันแต่ ได้เทือกลึกกว่า กำจัดวัชพืชได้มากกว่า .... รถไถติดผานไถดินใช้น้ำมันมากกว่ารถไถเดินตามลากอีขลุบ
- ทำนาดำเครื่อง : ต้นทุนรวม ค่าเมล็ดพันธุ์ + ค่าตกกล้า + ค่าดำ สิ่งที่ได้ ต้นข้าวขึ้นห่าง ต้นโต แตกกอดี โรคแมลงน้อย แยกข้าวปนได้ คุณภาพดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกต่อได้ ไม่มีแรงงาน ..... นาหว่าน เมล็ดพันธุ์มาก ต้นข้าวขึ้นถี่ ต้นเล็ก โรคแมลงมาก แยกข้าวปนไม่ได้ คุณภาพไม่ดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกไม่ได้ จ้างแรงงาน
- ใช้สารสมุนไพร : ทำเอง ทำไว้ล่วงหน้าสำหรับ 1 รุ่น ฉีดพ่นพร้อมปุ๋ยทางใบไม่ต้องจ้างแรงงาน หรือจ้างแต่ไม่เสียเวลา
- ขายข้าวปลูก : ปลูกข้าวพันธุ์ในพื้นที่นิยม ไม่มีข้าวปน ไม่มีข้าวนกข้าวดีด เมล็ดข้าวสมบูรณ์ดี ไม่มีเมล็ดลีบ ท้องไข่
- ข้าวข้าวพันธุ์นิยม : ไรซ์เบอร์รี่, หอมนิล, ลืมผัว, สังข์หยด, หอมมะลิ. ขายเป็นข้าวเปลือก หรือข้าวกล้อง แบบขายส่งหรือขายปลีก
- อนาคต : ทำติดต่อกัน 3 รุ่น จะพบประวัติดินดีขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ การใช้ปุ๋ยทางดิน 16-8-8 จะลดลง ใช้แต่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ตอนทำเทือกก็พอ, การกำจัดวัชพืชลดลง, คุณภาพข้าวดีขึ้นๆ
- รวมกลุ่มทำเอง : น้ำหมักฯ. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. .... รวมเนื้อที่สั่งซื้อ ประหยัดค่าขนส่ง .... ข้าวทุกแปลงคุณภาพเกรดเดียวกัน คนรับซื้อพอใจ รวมกลุ่มเทคโนโลยี-รวมกลุ่มทำ-รวมกลุ่มขาย รวยทุกบ้าน รวยทั้งหมู่บ้าน
ต้นทุนค่าปุ๋ย 20 ไร่
- ปุ๋ยลุงคิม (ระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า) ครบสูตร .......... 10,000
- ค่าปุ๋ยอินทรีย์ (ยิบซั่ม, ตราคนกับควาย, กระดูกป่น) ครบสูตร ...... 10,000
- ค่าปุ๋ยเสริม (16-8-8, 18-38-12, 0-52-34) ................. 5,000
** รวม 25,000 ..... หรือ 25,000 หาร 20 = ไร่ละ 1,250
- ปุ๋ยเคมีจากร้าน ยูเรีย + 16-20-0 (40 กส.) = 50 x 950 = .... 38,000 (+)
- ค่าสารเคมี .............................................................. 10,000
** รวม 48,000 ..... หรือ 48,000 หาร 20 = ไร่ละ 2,400
- ผลที่ได้รับจากปุ๋ยลุงคิม อินทรีย์/เคมี + สารปรับปรุงบำรุงดิน ได้ปุ๋ยครบ 14 ตัว ข้าวที่ได้ เมล็ดลีบน้อย, ข้าวท้องไข่น้อย, เมล็ดแกร่งใสดี, น้ำหนักดี, ใช้ทำพันธุ์ได้, โรคแมลงน้อย, ต้นทุนต่ำ, อนาคตดินดีขึ้นๆ.
- ผลที่ได้รับจากปุ๋ยเคมี ยูเรีย + 16-20-0 ได้ปุ๋ย 2 ตัว, +สารเคมีฆ่าแมลง, +สารเคมีฆ่าหญ้า แต่ข้าวที่ได้ เมล็ดลีบมาก, ข้าวท้องไข่มาก, เมล็ดไม่ใสไม่แกร่ง, น้ำหนักไม่ดี, ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้, โรคแมลงมาก, ต้นทุนสูง, อนาคตดินเลวลงๆ.
หมายเหตุ :
- ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน .... นาข้าว 1 รอบ ฉีดปุ๋ยทางใบ + ยาสมุนไพร 9 ครั้ง (แตกกอ 3 ครั้ง, ออกรวง 2 ครั้ง, น้ำนม 4 ครั้ง) ห่างกันครั้งละ 7 วัน ทำงานอาทิตย์ละครั้งเท่ากับถือโอกาสฉีดยาสมุนไพรไปด้วย .... ทำได้ไหม ?
- สารสมุนไพร .... ทำเอง ใช้เอง ประหยัดต้นทุน ฉีดบ่อยๆ โรคแมลงจะอยู่ได้ไง .... ทำได้ไหม ?
- แรงงาน .... ใช้คนในบ้านแทนการจ้าง เพื่อประหยัดต้นทุน เนื้องานประณีต คนในบ้าน 4 คน แบ่งงานทำคนละ 4 ไร่ .... ทำได้ไหม ?
- ข้าวปลูก .... เลือกพันธุ์ข้าวที่นาข้างบ้านนิยม ทำให้ดี ได้ข้าวมาแล้วขายเป็นข้าวปลูกให้แปลงข้างบ้าน ดีกว่าขายให้โรงสีไหม ?
------------------------------------------------------------------------------
ต้นทุนในการปลูกข้าวของชาวนา (ผู้จัดการนา) :
1. ค่าไถนา หรือค่าย่ำเทือก : ราคาค่าจ้างอยู่ที่ไร่ละ 250-300 บาท แต่หากใช้รถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ทำซึ่งใช้เวลารวดเร็วกว่า ราคาต่อไร่ก็จะอยู่ที่ 400 บาท
2. ค่าลูบเทือก : ราคาค่าจ้างอยู่ที่ไร่ละ 250-300 บาท
3. ค่าเมล็ดพันธุ์ : เมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ในที่นี้ใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ราคา 26 บาท/กก. โดยพื้นที่ขนาด 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กก. คิดเป็นราคา 650-780 บาท/ไร่
4. ค่าจ้างหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว : ราคามีตั้งแต่ 50-100 บาท2ไร่
5. ค่าปุ๋ยเคมี : การปลูกข้าวต่อ 1 ฤดูกาลจะให้ปุ๋ยเคมี 2-3 รอบ ให้อย่างต่ำครั้งละประมาณ 25 กิโลกรัม (ครึ่งกระสอบ) ต่อไร่ ราคาปุ๋ยยูเรียอยู่ที่ 650-700 บาทต่อกระสอบ เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อฤดูกาลจะอยู่ประมาณ 700-1,000 บาท/ไร่
6. ค่าจ้างหว่านปุ๋ยเคมี : ระดับราคาจะอยู่ที่ 50-100 บาท/ไร่ ซึ่งในหนึ่งฤดูกาลจะหว่าน 2-3 รอบ คิดเป็นต้นทุนประมาณ 100-300 บาท บาท ค่าขนข้าวราคาเกวียนละ 100 บาท เมื่อรวมต้นทุนในกระบวนการเก็บเกี่ยวจะมีราคาอยู่ที่ 580 บาท
7. ค่าสารเคมี : ยาคุมหญ้า ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันแมลง ยาฆ่าแมลง รวมถึงฮอร์โมน ต้นทุนต่อไร่จะได้ 180-200 บาท
8. ค่าจ้างฉีดสารเคมี : ราคาค่าจ้างฉีดสารเคมีจะอยู่ที่ประมาณ 50 บาทต่อไร่ต่อรอบ ซึ่งปกติจะฉีดประมาณ 4 ครั้งต่อฤดูกาล จึงคิดเป็นราคา 200 บาทต่อไร่
9. ค่าเกี่ยวข้าว : ไร่ละ 500 บาท ค่าขนข้าวราคาเกวียนละ 100 บาท รวมต้นทุนการเก็บเกี่ยวจะมีราคาอยู่ที่ 580 บาท
10. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง : สูบน้ำกันโดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อ 10 วัน ในหนึ่งฤดูกาลจึงสูบน้ำเฉลี่ย 10 ครั้ง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนที่ประมาณ 750 บาท/ไร่
11. ค่าเช่านา : แบ่งจากผลผลิตที่ได้ หรือเก็บเป็นรายปี หรือเก็บเป็นรายครั้ง ครั้งละ 1,000-1,200 บาท/ไร่ต่อการปลูก 1 ครั้ง
https://thaipublica.org/2014/02/cost-of-famer/
-------------------------------------------------------------------------------
. |
|