-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ส้มเขียวหวานบางมด...ประสบการณ์ตรง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ส้มเขียวหวานบางมด...ประสบการณ์ตรง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ส้มเขียวหวานบางมด...ประสบการณ์ตรง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11633

ตอบตอบ: 03/04/2010 11:33 am    ชื่อกระทู้: ส้มเขียวหวานบางมด...ประสบการณ์ตรง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส้มเขียวหวานบางมด

วิธีการปลูก
ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม
กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
รดน้ำให้โชก
ทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำระยะเพิ่งปลูกใหม่ ๆ ควรให้น้ำทุกวัน หลังจากปลูก 2 สัปดาห์ ส้มเริ่มตั้งตัวได้แล้ว การให้น้ำควรให้วันเว้นวันแต่เมื่อส้มโตแล้วการให้น้ำจะต้องควบคุมให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงการเจริญเติบโตและสภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ในระยะก่อนออกดอกจะต้องการน้ำน้อยเพื่อให้มีช่วงเก็บสะสมอาหาร แต่เมื่อติดผลแล้วต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงผลแก่ เมื่อเข้าสีแล้วควรลดปริมาณน้ำลงจากปกติจะช่วยให้ผลส้มแก่เร็วขึ้นวิธีการให้น้ำมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเช่นการให้น้ำทางสายยาง การใช้เรือรดน้ำ และการให้น้ำโดยระบบน้ำเหวี่ยง
การให้ปุ๋ย

ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 1 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอกผสมไปที่ดินบนโขดส้มประมาณ 10 ก.ก. หรือ 2 บุ้งกี๋ /ต้น หลังจากปลูกประมาณ 1 เดือน หว่านปุ๋ยยูเรียต้นละ 1 ช้อนแกง หรือ 30 กรัม ส่วนปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 15-15-15 ต้นละ 100 กรัม ประมาณ 3 เดือน / ครั้งสำหรับปุ๋ยคอกให้อัตรา 2-3 บุ้งกี๋ หรือ 10-15 ก.ก. ทุก 4 เดือน

ในระยะปีที่ 2-3 ควรใส่ปุ๋ยคอกทุก 4 เดือน อัตรา 2-3 บุ้งกี๋ หรือ 10-15 ก.ก. และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัม / ต้น ประมาณ 3 เดือน / ครั้ง

ในช่วงอายุ 3 ปี อาจมีการติดผลด้วย ในช่วงใกล้แก่ควรให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อช่วยให้ส้มมีคุณภาพดีขึ้น วิธีใส่ปุ๋ย โรยปุ๋ยรอบ ๆ รัศมีทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่งที่ควรใช้มีกรรไกรตัดแต่งกิ่งเลื่อย มีด และ บันได กิ่งที่ควรพิจารณาตัด เช่นกิ่งแขนงที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้นออกเพื่อให้แสงแดดสามารถส่องถึงโคนต้นกิ่งปลายยอดที่ห้อยลงชิดดินกิ่งที่อ่อนแอ กิ่งน้ำค้าง กิ่งที่มีลักษณะคดงอไขว้กัน ทับกันหรือกิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย การกำจัดวัชพืช ไม่ควรปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกควรดายออกหรือใช้เครื่องมือตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ซึ่งสามารถตัดต้นวัชพืชได้อย่างดีไม่นิยมใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชใกล้ ๆ กับส้ม เพราะปกติแล้วส้มเขียวหวานเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นอาจจะได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช บางประเภทได้


โรคส้มเขียวหวาน

โรครากเน่าโคนเน่า

ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดจากเชื้อราจะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดินเมื่อเริ่มเป็นเปลือกจะเป็นจุด ๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่า เปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา ใบเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้ง และตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้สะอาด ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องถึงโคนต้นได้ อย่าให้น้ำขังหรือท่วมบริเวณโคนต้นเป็นเวลานาน ๆ เวลาปลูกส้มอย่าปลูกลึก ควรปลูกในลักษณะเป็นโคก และอย่าใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากเกินไป หรือใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น อาลีเอท อัตรา 100-120 กรัม / น้ำ 1 ลิตร โดยทาตรงส่วนโคนต้นที่เป็นโรค

โรคกรีนนิ่ง
ลักษณะอาการ เพลี้ยกระโดดเป็นแมลงพาหะนำเชื้อโรค ใบมีสีเหลืองจนถึงเหลืองซีดใบมีขนาดเล็กเรียว และตั้งขึ้นใบหนากว่าปกติผลมีขนาดเล็กเมล็ดลีบ ร่วงก่อนกำหนด

การป้องกันกำจัด คัดกิ่งพันธุ์ที่จะนำมาปลูกจากต้นในสวนที่แน่ใจว่าปราศจากโรค หรือฉีดสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดส้ม เช่น ไดเมทโธเอท อัตรา 30 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร ทำลายส่วนต่าง ๆ ที่เป็นหรือสงสัยจะเป็นโรคนี้

โรคแคงเกอร์
ลักษณะอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใบจะเป็นแผลกลมนูนแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ในใบอ่อนจะเห็นวงสีเหลืองล้อมรอบแผล บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วยอาการที่กิ่งจะเป็นแผลมีสะเก็ดที่เปลือก

การป้องกันกำจัด กิ่งที่จะนำไปปลูกต้องปราศจากโรคนี้ ไม่ปลูกมะนาวในสวนส้มเขียวหวาน เพราะมะนาวมักจะเป็นโรคนี้ ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดหนอนชอนใบในระยะแตกใบอ่อน ดอกและผลอ่อน เพราะหนอนจะทำให้ใบเป็นแผลเชื้อโรคเข้าไปได้ง่าย

แมลงศัตรูส้มเขียวหวาน
แมลงศัตรูที่สำคัญได้แก่ หนอนชอนใบ หนอนแก้วส้ม ไรสนิมส้ม เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย

หนอนชอนใบ
ตัวหนอนจะชอนไชกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าใบ และหลังใบ มองเห็นเป็นทางสีขาว คดเคี้ยวไปมา ใบจะไม่เจริญเติบโต และต้นมะนาวจะแคระแกรนไม่ติดดอกออกผล แมลงชนิดนี้พบระบาดได้ตลอดทั้งปี ทำความเสียหายให้กับส้มเขียวหวานในช่วงแตกใบอ่อนมากที่สุด

การป้องกันกำจัด ตัดยอดอ่อนที่ถูกทำลายไปเผาไฟ กำจัดวัชพืชในสวน ระยะเริ่มแตกใบอ่อน ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน ไซฟลูธริน

หนอนแก้วส้ม
จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อหนอนฟักออกเป็นตัว จะเริ่มทำลายใบส้มทันที แต่ทำลายอย่างช้า ๆ เมื่อหนอนอายุได้ 5-6 วัน การทำลายจะรวดเร็ว และทำความเสียหายให้กับใบส้มมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเป็นต้นส้มเล็ก อาจทำให้ส้มตายได้

การป้องกันกำจัด เก็บไข่ จับหนอนทำลาย ถ้าพบระบาดมาก ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมทธามิโดฟอส

ไรสนิมส้ม
เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบและผลดูดกินทั้งด้านบนใบ และด้านใต้ใบ ผลส้มที่ถูกไรสนิมดูดกิน สีผลจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีน้ำตาลสนิม ผลมีลักษณะสกปรก ไม่สวยงาม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

การป้องกันกำจัด หมั่นสำรวจแปลงส้มอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงอากาศแห้งแล้ง เมื่อพบระบาดมากให้ทำการฉีดพ่น ด้วยสารเคมีโปรปาไจท์ หรือกำมะถันผง

เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลส้ม ผลที่ถูกทำลาย จะปรากฎรอยสีเทาเงินเป็นวงบริเวณขั้วผล และกันผล หรือเป็นทางสีเทาเงินตามความยาวของผลส้ม

การป้องกันกำจัด เด็ดผลที่แคระแกรน และพบการทำลายของเพลี้ยไฟทิ้ง ใช้สารเคมีเมื่อพบมีการระบาด ได้แก่ คาร์โบซัลแฟน อิมิคาโคลปิด

เพลี้ยอ่อน
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถเข้าทำลายส้มเขียวหวานได้โดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน และใบเมื่อเริ่มผลิออกมาใหม่ทำให้ใบหยิกงอ ไม่เจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด หากพบเพียงเล็กน้อย อาจใช้น้ำฉีดแรง ๆ จะทำให้ตัวเพลี้ยอ่อนหลุดออกไปได้ ถ้าพบระบาดมากควรกำจัดด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น คาร์บาริล มาลาไธออน

เพลี้ยหอย
เป็นแมลงปากดูดชนิดหนึ่ง ชาวบ้านบางแห่งเรียกว่า เพลี้ยสะเก็ต ตัวแก่ปกคลุมด้วยวัตถุแข็งเหนียว คล้ายเกราะหรือมีเกราะอ่อน ๆ คล้ายขี้ผึ้งหนา ๆ คลุมตัวไว้ การทำลายของเพลี้ยหอยโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ กิ่ง ดอก และผล ทำให้เป็นรอยยุบเล็กน้อยหรือเป็นจ้ำ ๆ เขียวตามใบ หากเพลี้ยหอยเกาะที่กิ่งมาก อาจทำให้กิ่งส้มแห้งตายได้


การป้องกันกำจัด ถ้าแดดไม่ร้อนจัดหรืออุณหภูมิไม่สูงมากนักอาจพ่นด้วยไวท์ ออยล์ หรือ ออยล์ อีมัลชั่น จะช่วยลดการระบาดลงได้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เสร็จแล้วให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีพวกมาลาไธออน หรือยาดูดซึมพวกไดเมทโธเอท
การเก็บเกี่ยวการตลาดและการคัดเกรด

การเก็บผลส้มเขียวหวานจะเริ่มเก็บได้เมื่อผลมีอายุประมาณ 8-9 เดือน นับจากดอกบานการเก็บนิยมใช้วิธีปลิดผลการปลิดผลนี้ใช้มือจับทางด้านใต้ผลขึ้นไปแล้วหักทับตรงบริเวณขั้วผลไปทางด้านใดด้านหนึ่งผลก็จะหลุดออกมาได้โดยง่าย สำหรับการซื้อขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวนและเจ้าของสวนนำออกไปขายยังตลาดกลางเอง ส่วนใหญ่จะชั่งขายเป็นกิโลกรัมซึ่งราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาล ส่วนพ่อค้าเมื่อซื้อส้มแล้วจะมาทำการคัดขนาดเพื่อสะดวกในการกำหนดราคาขายต่อไปช่วงคัดขนาดของส้มมีทั้งหมด 6 เบอร์ คือ

เบอร์ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซ.ม. เป็นส้มขนาดเล็กที่สุดมีราคาต่ำ ผู้ซื้อส่วนใหญ่จะนำไปคั้นน้ำทำน้ำส้ม

เบอร์ 2 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 1/2 ซ.ม. มีขนาดใกล้เคียงกับส้มเบอร์ 3

เบอร์ 1 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซ.ม. เป็นส้มที่มีขนาดกลางผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนิยมซื้อไปรับประทานสด

เบอร์ 0 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 1/2 ซ.ม. ขนาดใกล้เคียงกับส้มเบอร์ 1 เป็นขนาดที่ผู้บริโภคนิยมเช่นกัน

เบอร์ 00 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 ซ.ม. เป็นส้มที่มีขนาดใหญ่มากผู้บริโภคไม่ค่อยนิยมเพราะมีคุณภาพไม่ค่อยดี

เบอร์ 000 เบอร์นี้จะไม่มีช่องให้ลงเป็นส้มที่มีขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

หลังทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วคัดขนาดกับบรรจุลงภาชนะกล่องกระดาษหรือตระกร้าพลาสติกส่งไปจำหน่าย การเก็บรักษา ส้มเขียวหวานในการรอจำหน่ายนั้นทำได้หลายวิธีเช่น การเก็บในห้องเย็น เก็บไว้ในห้องมืด และวิธีเคลือบผิวส้มด้วยน้ำยา


ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 5:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11633

ตอบตอบ: 03/04/2010 3:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อนิจจจัง วัฏสังขารา....ส้มเขียวหวาน

ส้มเขียวหวานบางมด ปลูกที่ จ.น่าน หรือ จ.แพร่ (ไม่แน่ใจ....ไม่ใช่ประเด็น) ปัจจุบันอายุต้นกว่า 40 ปี นอกจากยังไม่ตายแล้วยังให้ผลผลิตดีเหมือนเดิมเมื่อครั้งต้นยังสาว ......... ส้มฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอายุต้นเกิน 100 ปี นอกจากยังไม่ตายแล้วยังให้ผลผลิตดีเหมือนเดิมเมื่อครั้งต้นยังสาว……แล้วทำไม ต้นส้มย่าน รังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง ฯลฯ จึงมีอายุเพียง 4-8 ปี เท่านั้น หลังจากปลูกรุ่นแรกลงไปแล้ว เมื่ออายุต้นขึ้นที่ 4 ชาวสวนจะเริ่มปลูกส้มรุ่นน้องแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก นัยว่าเพื่อจะได้มีต้นส้มให้ผลผลิตต่อจากรุ่นพี่ แล้วก็ทำเช่นนี้เรื่อยๆ มา

เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ เจ้าของฉายาระบบน้ำหยด แห่ง จ.ชุมพร ปลูกส้มโชกุน บอกว่า “สู้โรคไม่ไหว” โค่นทิ้งทั้งสวนแล้วลงลำไยแทน ก็ให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ไม่รู้จักโรคส้ม แล้วรู้จักโรคลำไยหรือ.....ส้มโชกุน.ก็คือพืชตระกูลส้ม เช่นเดียวกันกับ ส้มเขียวหวาน. ส้มโอ. มะกรูด. มะนาว. พวกนี้โรคเดียวกัน

ส้มเขียวหวานย่าน รังสิต. ธัญญะ. หนองเสือ. วิหารแดง. ฯลฯ มีต้นทุนค่า “ปุ๋ยและสารเคมี” ตกราว 100,000 บาท/ไร่/รุ่น บนเนื้อที่ย่านนี้กับย่านใกล้เคียงรวมกันกว่า 100,000 ไร่ เมื่อคิดรวม 100,000 x 100,000 = ? ถามว่าเงินจำนวนมหาศาลนี้ไปอยู่ในมือใคร

เมื่อวันที่สวนส้มบางมดล่มสลายนั้น วิเคราะห์สาเหตุลึกๆ แล้วพบว่าเกิดจาก สารเคมี (ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีกำจัดโรคและแมลง) และปุ๋ยเคมี. เป็นหลัก......สวนล่มไปหลายปี วันหนึ่งเกิดอัศวินม้าขาว (กุนซือ แปะแบ๊) เข้ามากู้สถานการณ์ ส่งเสริมให้ปลูกส้มเขียวหวานบางมดอีกครั้ง คราวนี้ระมัดระวังในเรื่องของสารเคมีอย่างมาก แต่ก็ไปไม่รอดเพราะ “น้ำทะเล” เปลี่ยนแปลง (ส้มเขียวหวานบางมดชอบน้ำแบบ ลักจืดลักเค็ม) เปลี่ยนจากน้ำทะเลสะอาดเป็นน้ำทะเลเสีย เนื่องจากสภาพแวดล้อม แต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างไม่กี่สวนที่ยังยืนหยัดสู้น้ำทะเลเสียได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอึดไปได้สักกี่น้ำ



เมื่อครั้งชาวสวนส้มย่าน รังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง ฯลฯ ประท้วงโรงฟ้าฟ้าวังน้อย อยุธยา กล่าวหาว่าโรงไฟฟ้าเป็นต้นเหตุปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้า ออกมาทำให้ต้นส้มตาย เรียกร้องค่าเสียหายไร่ละ 20,000 บาท โดยมีน้องสาว สส.ใหญ่ แห่ง จ.ปทุมธานี เป็นแกนนำ ออกเรี่ยไรชาวสาวนส้มที่ได้รับความเสียหายให้ลงขันไร่ละ 50 บาท ถ้าใครไม่ลงขัน เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือก็จะไม่ได้รับเงินนั้น เบื้อหลังจริงๆ น้องสาว สส.ใหญ่ คนนี้มีสวนส้มเขียวหวานอยู่ที่ อ.วิหารแดง 3,000 ไร่

โรงไฟฟ้าวังน้อยในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ต้องร้องขอนักวิชาการจาก กรมวิชาการเกษตร. และกรมส่งเสริมการเกษตร. มาให้คำตอบถึงสาเหตุที่แท้จริง นักวิชาการจากทั้ง 2 กรม ไม่สามารถยืนยันถึงผลเสียจากโรงไฟฟ้าโดยตรงได้ เพราะไม่เคยมีงานวิจัยเรื่องนี้มาก่อน ทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ คำยืนยันจากปากนักวิชาการจึงออกมาแบบ อ้อมแอ้ม ๆ ไม่เต็มปากเต็มคำ แต่ค่อนข้างจะเข้าข้างชาวสวนส้ม ซึ่งก็สร้างความพอใจให้แก่ชาวสวนส้มระดับหนึ่งถึงช่องทางที่จะมีโอกาสได้รับค่าชดชยความเสียหายไร่ละ 20,000 สุดท้ายจริงๆ ก็คือไม่มีข้อสรุป

โรงไฟฟ้าไม่อาจจ่ายค่าชดเชยความเสียหายทันทีโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันได้ จึงร้องขอนักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มาชี้ถึงสาเหตุที่แท้จริง คราวนี้นักวิชาการจาก 3 สถาบันหลักดังกล่าว ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันถึงสาเหตุต้นส้มยืนต้นตายเพราะ

1. ดินเป็นกรดจัด เนื่องจากชั้นดินตามธรรมชาติด้านล่างเป็นกรดจัด (กำมะถัน) การขุดร่องน้ำจึงเท่ากับเป็นการเจาะตาดินให้กำมะถันขึ้นมาได้

2. สภาพโครงสร้างดินชั้นบนเสียอย่างรุนแรง สาเหตุมาจาก น้ำในร่องแปลงปลูก. สะสมสารพิษจากยาฆ่าหญ้า. และสารเคมีกำจัดโรคและแมลง. อย่างต่อเนื่องยาวนานหลาย 10 ปี

3. ต้นขาดสารอาหารที่จำเป็น (แม็กเนเซียม. สังกะสี.) กับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน. อย่างรุนแรง ต่อเนื่องมานานหลาย 10 ปี ผลจากการวิเคราะห์ดินแล้วพบว่า ในดินมีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. ตกค้างสะสมอยู่ในปริมาณมากจนเป็นอันตรายแก่ต้นส้ม

4. ภายในต้นสะสมสารเคมีกลุ่ม “ค็อปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์” ที่ชาวสวนใช้กำจัดโรคแคงเคอร์.จำนวนมาก สารกลุ่มนี้เมื่อสะสมภายในต้นมากๆ จะยับยั้งขัดขวางระบบลำเลียงสารอาหารจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของต้น ทำให้ต้นไม่ได้รับสารอาหารจึงตาย

5. น้ำในร่องสวนเป็นกรดจัด สาเหตุมาจากกำมะถันใต้ดินซึมขึ้นมา กับส่วนหนึ่งเกิดจากละอองสารเคมีฆ่าแมลงปลิวลงไป แล้วชาวสวนก็นำน้ำนั้นขึ้นมารดให้แก่ต้นส้ม

6. ต้นส้มส่วนใหญ่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเธอร่า) หรือ “รากถอดปลอก” สาเหตุมาจากดินเป็นกรดจัด

7. ต้นส้มส่วนใหญ่ปลายรากด้วนและเน่า สาเหตุเพราะเมื่อรากเจริญยาวไปถึงน้ำในร่องแล้วจะหยุดการเจริญยาว กลายเป็นรากด้วนไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้


เมื่อแนะนำถึงสาเหตุพร้อมคำอธิบายอบย่างละเอียด มีหลักวิชาการรองบรับแล้ว ก็ได้แนะนำวิธีแก้ไข คือ

1. เปลี่ยนวิธีการให้ปุ๋ยโดย ลดธาตุหลัก แล้วเพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน

2. ยกเลิกระบบน้ำหล่อในร่อง โดยนำน้ำออกให้หมด หรือลดระดับผิวน้ำให้ต่ำกว่าสันแปแลง 1-1.20 ม.

3. เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า แล้วใช้วิธีตัดแทน

4. เลิกใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงโดยเฉพาะ ค็อปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์. อย่างเด็ดขาด แล้วหันมาใช้วิธีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชแบบ ไอพีเอ็ม. หรือสารสมุนไพร.แทน


จากคำแนะนำแบบมีเหตุมีผล ทั้งจากภาพลักษณ์ของนักวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เคมีเพี่อการเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ สร้างความไม่พอใจแก่ชาวสวนส้มเป็นอันมาก ถึงขนาดโห่ฮาขับไล่ แล้วไม่ยอมรับคำแนะนำแบบนี้อีกต่อไปอย่างเด็ดขาด

วันเวลาผ่านไปนานนับปี การชุมนุมเรียกร้องจากชาวสวนยังดำเนินไปหลายครั้ง ทุกครั้งก็จะมีการเชิญนักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร. และกรมส่งเสริเมการเกษตร. หน่วยเดิม แต่เปลี่ยนหน้าคนใหม่เท่านั้น ซึ่งคำแนะนำจากหน่วยงานทั้งสองก็ยังอ้อมแอ้มๆ ไม่เต็มปากเต็มคำ เข้าข้างชาวสวนเหมือเดิม

สุดท้ายของเกมส์นี้ :
1. โรงฟ้าฟ้าสนับสนุนให้ชาวสวนที่มีสวนอยู่ติดโรงไฟฟ้าให้ทำสวนส้มบางมด โดยมีนักวิชาการจาก พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร. จุฬาลงกรณ์. และธรรมศาสตร์. เป็นผู้ให้คำแนะนำ ด้วยระยะเวลาผ่านไปเพียง 1-2 ปี ส้มเขียวหวานบางมดสวนนี้เจริญเติบโตให้ผลผลิตดี ถึงวันนี้ที่เวลาผ่านไป 5-6 ปีแล้วก็ยังยืนต้นสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณ ทั้งๆที่อยู่ติดรั้วโรงไฟฟ้า

2. กลุ่มชาวสวนส้มที่เคยเรียกร้องความเสียหาย ได้อพยบไปหาเช่าที่ดินย่าน กำแพงเพชร. ขอนแก่น. ลพบุรี. ถึง ฝาง เชียงใหม่ รายละ 100-500-1,000 ไร่ แล้วทำสวนส้มเขียวหวานตามแบบเดิม (ยกร่องน้ำหล่อ. สารเคมี-ปุ๋ยเคมี) ทุกอย่าง สูตรเดิมวิธีเดิม ...... สวนส้มแหล่งใหม่บางรายอยู่ได้เพียง 2 ปี ส้มยืนต้นตายทั้งแปลง บางแปลงอยู่ 4 ปียังไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน ...... ถึงวันนี้จริงๆ เหลือน้อยรายมากที่ยังคงทนทำต่อไป แต่ส่วนใหญ่กลับมา รังสิต. ธัญญะ. หนองเสือ. วิหารแดง. ฯลฯ กลับมาแล้วเห็นคนที่ไม่ได้อพยบไปต่างประสบความสำเร็จจากการปรับทัศนคติแนวคิดเรื่องทำการเกษตรใหม่บนแผ่นดินผืนเดิม เห็นแล้วอดกลืนน้ำลายตัวเองไม่ได้



ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©