-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* เล่าสู่ฟัง .............. ................ 2929
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เล่าสู่ฟัง .............. ................ 2929
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เล่าสู่ฟัง .............. ................ 2929

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:29 pm    ชื่อกระทู้: * เล่าสู่ฟัง .............. ................ 2929 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

************ เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง ****************



นักวิจัยเยอรมัน VS สารสะเดา

เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว ลุงคิมมีโอกาสติดตาม ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งกรมวิชาการเกษตร นักวิจัยจากเยอรมัน กับ อ.สำรวล ดอกไม้หอม ไป ตรวจ/ดู ผลงานการใช้สารสะเดากับมะม่วงของลุงเฉียดฯ บ้านเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มะม่วง 20 ไร่ อายุต้น 10 ปี ทำนอกฤดู ไม่มีร่องรอยใดๆ จากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชประจำมะม่วงปรากฏแม้แต่น้อย ....

ลุงเฉียดฯ บอกว่า เมื่อก่อนใช้สารเคมียาฆ่าแมลงหนักมาก ถึงขนาดเมียต้องเข้า ร.พ. หมอบอกเป็นหลายโรค ทุกโรคที่เกิดจากภูมิแพ้สารเคมียาฆ่าแมลงทั้งนั้น ต้องเสียค่ารักษา พยาบาลเดือนละ 10,000 กว่า ทุกเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน กระทั่งเลิกใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้สารสมุนไพรจากสะเดาแทน ด้วยความตั้งใจแน่วแน่มุ่งมั่น ทำตามคำที่นักวิจัยเยอรมันบอกทุกขั้นตอน แค่ 3-4 เดือนเท่านั้น อาการของเมียทุเลาลง จากจ่ายค่ารักษาพยาบาลงวดละ 10,000 ลดลงเหลืองวดละ 1,000 จากต้องไปหาหมอเดือนละครั้ง ลดเป็น 3 เดือนครั้ง....

เรื่องการใช้สารสะเดากับมะม่วงที่สวนนี้ ชาวบ้านย่านนั้นรู้ดี เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความลับ แต่เป็นเรื่องที่ควร “เผย แพร่/ส่งเสริม” ด้วยซ้ำ รู้ทั้งรู้ เห็นกับตาจับกับมือกินกับปาก กลับไม่เชื่อ ไม่เอาตาม ไม่ต่อยอดขยายผล บางรายหนักหน่อย หาว่าลุงเฉียดฯ “บ้า” ซะอีก ....

ลุงเฉียดฯ เลยบอกศาลาบ๊ายบาย ตัวใครก็ตัวใคร เลิกสอน เลิกบอก ว่าแล้ว ไปเที่ยวหาเก็บ “ขวด/กล่อง/ซอง/ถุง/โบชัวร์ สารเคมียาฆ่าแมลง” สารพัดชนิด ทุกยี่ห้อ เอามากองไว้ที่บ้าน กองสูงท่วมหัว ไว้ให้คนดู แล้วบอกว่า “มะม่วงที่นี่ไม่มีโรคแมลง เพราะสารเคมียาฆ่าแมลงในกองนั่นไง....

จากงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยเยอรมันจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย เพราะมีนักวิชาการไทยร่วมงานอยู่แล้ว กับขอซื้อลิขสิทธิ์ไปด้วย ส่วนไทยเรา โดยคุณ “ชาตรี จำปาเงิน” เอาไปทำสารสะเดา ออกขาย ตั้งชื่อยี่ห้อว่า “สะเดาไทย 111” วันนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้

เรื่องสารสะเดา ไทย-เยอรมัน ..... เอวัง ก็มีด้วยประการะ เช่นนี้

-------------------------------------------------------------------------


หมอใหญ่ VS เกษตรตำบล

วันนั้น สุภาพสตรี สมช.รายการวิทยุ มาที่ RKK สอบถามแล้วทราบว่า อาชีพเป็นพยาบาล สังกัด ร.พ.บ้านโป่ง ราชบุรี ทำสวนผักข้างบ้านเป็นงานอดริเรก มาขอความรู้เรื่องปุ๋ยธรรมชาติแท้ๆ ยาสมุนไพรแบบที่ใช้กำจัดแมลงได้ทุกชนิด งานนั้นลุงคิมจัดให้ฟรี ไม่คิดตังค์

คุณพยาบาลเล่าสู่ฟังว่า ระยะ 3-4-5 เดือนที่ผ่านมา มีคนไข้มาหาหมอ หมอใหญ่ตรวจแล้วพบอาการป่วย แต่หาสมุห์ฐานหรือสาเหตุของการเกิดโรคแล้ววิเคราะห์โรคไม่ได้ จึงสั่งยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ โดยตรงไม่ได้ ต้องให้ยาแบบบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาสู้กับโรคนั้นเอง

หมอใหญ่ตรวจสอบประวัติส่วนตัวคนไข้แล้วพบว่า 9 ใน 10 คนมีอาชีพเป็นเป็นเกษตรกร ตัดสินใจไปที่บ้านของคนไข้ เพื่อว่าอาจจะได้ข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับคนไข้บ้าง และแล้วหมอใหญ่ก็พบกับของจริง ถึงกับตะลึง ....

ที่ไต้ร่มไม้หน้าบ้าน โคนเสาไต้ถุนบ้าน ริมผนังห้องภายในบ้าน มี “ขวดสารเคมียาฆ่าแมลง” หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งพื้นฐานของหมอใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยว่า สารเคมีเหล่านั้น ชื่ออะไร ? ยี่ห้ออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? เข้าไปอยู่ในบ้านได้ 2-3-4 นาที กลิ่นสารเคมีโชยมากระทบจมูกอย่างแรง กระทั่งเกิดอาการเวียนหัว ต้องออกมาคุยนอกบ้าน...

บ้านแรก บ้านที่ 2-3-4-5- สภาพภายในบ้านอยู่ในสภาวะเดียวกัน จึงสรุปได้เลยว่า สมุห์ฐานหรือสาเหตุของโรคของคนไข้ มาจากร่างกาย “ได้รับ/สะสม” สารเคมียาฆ่าแมลงจนเกินพลังภูมิต้านทานที่ร่างกายจะรับได้แน่นอน

ความคิดของหมอใหญ่ ณ เวลานั้น คือ ผู้ที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือ “จนท.เกษตร” เท่านั้น เมื่อระบบราชการเพื่อประชาชน 2 ท่าน ระหว่างหมอใหญ่กับเกษตรอำเภอพบกัน การพูดคุยคนละเรื่องเดียวกันก็อุบัติขึ้น

หมอใหญ่ : เกษตรครับ ผมอยากให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี มีทางเป็นไปได้ไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : ผมพยายามมากว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มมารับหนาที่ ที่นี่แล้วครับ

หมอใหญ่ : ได้ผลไหมครับ ?
เกษตรอำเภอ : เรียนคุณหมอตามตรง ผมไปสอน ไปทำให้ดู เอาไปแจก อะไรเขาก็ไม่เอา

หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 1) เพระอะไรครับ ?
เกษตรอำเภอ : เขาบอกว่า ช้า ไม่ทันใจ ยุ่งยาก เสียเวลา กลัวจะไม่ได้ผล

หมอใหญ่ : (ตีหน้า ซื่อ+งง 2) แต่มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่า ไม่ใช่เหรอครับ ?
เกษตรอำเภอ : ก็นั่นน่ะซีครับคุณหมอ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาต้องการอะไรแน่

หมอใหญ่ : แสดงว่า เขาไม่ได้กลัวพิษภัยจากสารเคมีเลย
เกษตรอำเภอ : ประมาณนั้นนั่นแหละครับคุณหมอ

------------------------------------------------------------------


เอกบุรุษผู้ “ยึดติด”

วันนั้น ลุงคิมมีโปรแกรมธุระที่ตัวจังหวัดเมืองกาญจน์ ผ่าน อ.ท่าม่วง ช่วงเวลาประมาณเที่ยงวัน เกิดฝนตกขึ้นมากระทันหัน ประมาณครึ่ง ชม.ฝนหยุด หยุดแล้วแดดออกต่อ ที่ภาษาชาวบ้านเรียบกว่า “ฝนต่อแดด” เหลือบสายตามองข้าทางเห็นแปลงปลูก คะน้า ผักกาด 2-3 แปลง ขนาดแปลง 2-3 ไร่ มองผ่านๆก็ว่าปกติ แต่มีแปลงหนึ่งไม่ปกติ ตรงที่เปิดสปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำรดแปลงผัก ตัดสินใจจอดรถข้างทาง มองซ้ายขวา หาเจ้าของแปลงนั้นไม่เห็น แต่เห็นเจ้าของแปลงข้างเคียง ซึ่งพอจะเดาได้ว่าไม่ใช่เจ้าของแปลงที่เปิดสปริงเกอร์ จึงเลียบๆ เคียงๆ เข้าไปคุยด้วย

“ลุง สำรวจแปลงผักเหรอ ?” [color=red] ส่งยิ้มนำ แล้วตามด้วยคำถามแทนคำทักทาย
“ดูหน่อย น้ำขังหรือเปล่า” ลุงเจ้าของแปลงตอบ แต่สายตายังมองอยู่ที่พื้นแปลงผัก

“ลุงไม่ฉีดน้ำแบบแปลงนั้นบ้างเหรอ ?” ถามพร้อมกับเหลียวมองไปทางแปลงที่เปิดสปริงเกอร์
“ไม่เอา” ตอบสั้นๆ เหมือนไม่สนใจ

“อ้าว แล้วแปลงนั้นเขาเปิดน้ำทำไมล่ะ ?” ถามตรงๆ
“อ๋อ นั่นมันบ้า ฝนตกยังรดน้ำ”

หางเสียงคำว่า “บ้า” ฟังแล้วทะแม่งๆ คล้ายกับไม่พอใจอะไรซักอย่าง ประมาณนั้น ไม่ถามเรื่องนี้ต่อแต่เถลไถลเลี่ยงไปดูน้ำขังค้างหน้าดินบนแปลง พอรู้เรื่องจึงบอกขอบคุณแล้วขอตัวกลับ

จากวันนั้นเว้นไป 2 วัน ลุงคิมเจตนาย้อนกลับไปที่แปลงผักเจ้านั้นอีกครั้ง ด้วยวัตถุประสงค์บางอย่าง ไปถึงช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ภาพปรากฏคราวนี้เป็นเจ้าของแปลงผักที่เคยสำรวจน้ำขังค้างเมื่อ 2 วันก่อน กำลังสะพายเป้ถังพ่นยา โยกขาปั๊ม เดินฉีดพ่นละอองฝอยไปตามยอดผักอย่างประณีตพิถีพิถัน กะให้โดนยอดทุกยอด อาบไล้ทั่วทั้งต้นทุกต้น แล้วไหลย้อยลงพื้นดิน ทันทีที่เข้าใกล้ระยะ 10 ม. เริ่มมีกลิ่นสารเคมีโชยมาชัดเจน

“ลุง ทำอะไรน่ะ ?” ส่งเสียงถามนำไปก่อนแทนการทักทาย
“ฉีดยาน่ะซี” เจ้าของแปลงตอบห้วน ไม่รู้ว่าใจจริงอยากตอบหรือเปล่า

“ผักมันเป็นอะไรล่ะลุง ?” ถามเพราะมารยาทมากกว่าอยากรู้จริงๆ
“เชื้อราใบจุด” ลุงเจ้าของแปลงตอบสั้นๆ

“อืมมม แปลงลุงเป็นเชื้อรา แล้วแปลงข้างๆนั่น ไม่เป็นเหรอ ?” เจตนาแกล้งถามซะมากกว่า
“ไม่รู้มัน” ลุงตอบไม่มองหน้า น้ำเสียงห้วน หางเสียงเหมือนไม่พอใจอะไรซักอย่าง

“เดี๋ยวเขาคงออกมาฉีดมั้งลุง” ระงับหางเสียงกลั้วหัวเราะเล็กไม่อยู่ หยุดเดินเข้าไปหาลุงคนฉีด เพราะไม่อยากสัมผัสกับกลิ่นสารเคมี ซักพักเล็กๆ ถือโอกาสบอกลา

นึกๆ อยากบอกความจริงว่านี่มันคืออะไร แต่เห็นท่าทางชาวสวนคนนี้ตั้งแต่แรกแล้วเกิดอาการไม่กล้าขึ้นมาทันที นี่คือลักษณะของเอกบุรุษผู้ “ยึดติด” อย่างแท้จริง พูดไปบอกไปก็ไม่เชื่อ

ในความเป็นจริงคือ เชื้อแอนแท็คโนสหรือโรคใบจุด เชื้อโรคตัวนี้เกิดเองในดิน ดินที่เป็นกรดจัด เมื่อเจริญขึ้นมาจะเป็นสปอร์ก็ล่องลอยไปตามลม ครั้นเมื่อฝนตก โดย ธรรมชาติน้ำฝนตกใหม่เป็นกรดอ่อนๆอยู่แล้ว เชื้อตัวนี้จึงเข้าไปแฝงตัวอยู่กับน้ำฝน จนเมื่อน้ำฝนแห้ง เชื้อโรคก็จะแทรกเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช แล้วแพร่ขยายพันธุ์ เป็นแผลขนาดใหญ่ตามจุดต่างๆบนส่วนของพืชที่เข้าไปแฝงอยู่

การฉีดพ่นน้ำเปล่าทันทีที่ฝนหยุด หรือฉีดพ่นก่อนน้ำฝนแห้ง จึงเป็นการชะล้างเชื้อแอนแทร็คโนสที่แฝงตัวอยู่กับน้ำฝนให้ตกลงดิน ซึ่งเท่ากับได้กำจัดเชื้อโรคไปในตัวนั่นเอง แปลง “คนบ้า” ที่เปิดสปริงเกอร์หลังฝนหยุดจึงรอดพ้นจากเชื้อโรคตัวนี้

กรณีที่ชาวสวนใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ฉีดพ่นหลังจากเชื้อโรคแพร่ระบาดแล้ว แม้จะกำจัดเชื้อโรคให้ตายได้ แต่ก็ไม่ได้ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อโรคทำลายไปแล้ว ฟื้นสภาพคืนดีอย่างเดิมได้ นั่นคือ “คนดี” นอกจากไม่ได้ผลผลิตแล้ว ยังเสียเงิน เสียสุขภาพ เสียเครดิตอีกด้วย .... ว่ามั้ย

------------------------------------------------------------------------



ต้นทุนลด คนกลางไม่ปฏิเสธ คนกินไม่รังเกียจ

จำได้แม่น ปทุมธานี เขต อ.เมือง ต.อะไรไม่ใส่ใจรู้ หะแรก นั่งคุยกับ สมช.ที่ปลูกผักตามแนวทางสีสันชีวิตไทย อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของผักกินใบ อายุสั้นฤดูกาลเดียว อยู่ริมแปลงผักที่บ้านตามลำพังตามประสาคนชอบพอกัน แล้วเพื่อนบ้านของ สมช.แปลงติดกันก็เข้ามาคุยด้วย

รู้เบื้องต้นพอคร่าวๆ เกี่ยวกับเพื่อนบ้านแปลงติดกันคนนั้น ปลูกผักเนื้อที่ 6 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ผักที่ปลูก คะน้า/ขาวปลี/ผักแก้ว/ผักหอม/บุ้งจีน/ชีใบฝอย (เรียกชื่อตามพื้นบ้าน) บังเอิญได้ปะหน้ากัน รายการ-ถามตอบ จึงอุบัติขึ้น....

ข้างบ้าน : สวัสดีค่ะลุงคิม ได้ยินชื่อลุงมานาน วันนี้เจอตัวจริง โชคดีจัง
ลุงคิม : (หัวเราะนำ เตรียมสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง) โชคดี แล้วดวงดีด้วยรึเปล่า ?

ข้างบ้าน : คงดีค่ะลุง ลุงคะ อยากถามปัญหาหน่อยค่ะ ?
ลุงคิม : ว่ามา ยกเว้นปัญหาหัวใจนะ

ข้างบ้าน : หัวใจไม่มีปัญหาค่ะลุง แต่ผักซิคะ ปัญหามากจัง
ลุงคิม : ปัญหาตรงไหน ว่ามาซิล่ะ

ข้างบ้าน : ต้นทุนค่ะลุง หนูอยากลดต้นทุนค่ายา คนกลางที่รับซื้อก็อยากให้เลิกใช้ยาด้วย เพราะคนกินเขากลัว แต่ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
ลุงคิม : อืมม ถ้าเราใช้น้อยลงต้นทุนก็ลด เลิกใช้คนกินก็เลิกกลัว ไม่ใช่เหรอ ?

ข้างบ้าน : ใช่ค่ะลุง ใช้น้อย เลิกใช้ แล้วทำยังไงล่ะคะ ?
ลุงคิม : เอาเรื่องยาก่อน ยาถูกใช้ถูก โอเค ได้ผล .... ยาถูกใช้ผิดหรือยาผิดใช้ถูก ไม่โอเค ไม่ได้ผล .... แมลงก็เหมือนคน คนกินยาฆ่าแมลง ตาย แมลงกินยาฆ่าแมลงแล้วไม่ตายเหรอ ?

ข้างบ้าน : ตายค่ะลุง แล้วที่หนูให้มันกิน แล้วทำไมมันไม่ตายล่ะคะ ?
ลุงคิม : นั่นแหละที่เขาเรียกว่า มันดื้อยา

ข้างบ้าน : ตอนนี้ หนูผสมยาใช้ครั้งละ 6 ตัว งั้นเราแยกใช้ทีละตัว แล้วก็สลับกัน จะดีไหมคะลุง ?
ลุงคิม : ดี .... แต่แค่เกือบดีนะ เพราะยาแต่ละตัวจะตรงศัตรูพืชเฉพาะแต่ละตัวเท่านั้น บางครั้ง ยาคนละตัวกัน ผสมกันแล้วเสื่อมก็มี งานนี้เหมาจ่ายไม่ได้ แล้วเรารู้เหรอว่า ตอนนี้ศัตรูพืชอะไรจะต้องใช้ยาตัวไหน หรือยาอะไรผสมกันได้ ผสมกันไม่ได้ นี่ไง ยาถูกยาผิด ศัตรูพืชถูกศัตรูพืชผิด มันถึงไม่ได้ผล ไงล่ะ

ข้างบ้าน : แล้วเราจะรู้ได้ไงคะลุงว่า ยาตัวไหนตรง ไม่ตรงกับศัตรูพืชตัวไหน ? ยาตัวไหนผสมกันได้ ผสมกันไม่ได้ ?
ลุงคิม : ถามร้านขายซี่ เขาขายเขาต้องรู้

ข้างบ้าน : ไม่จริงหรอกลุง พวกนี้หลอกเกษตรกรทั้งนั้นแหละ
ลุงคิม : อ้าววว แบนี้ รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก นี่หว่า

ข้างบ้าน : สงสารเกษตรกรเถอะลุง
ลุงคิม : แล้วจะให้ทำยังไงล่ะ ที่จริง เกษตรกรไม่ได้สงสารตัวเอง แล้วจะให้ลุงคิมสงสาร ยังงั้นเหรอ ?

ข้างบ้าน : โธ่ลุง คนไม่รู้ก็คือไม่รู้นะลุง
ลุงคิม : ใช่ ไม่รู้คือไม่รู้ เมื่อไม่รู้แล้วไม่รับรู้ ปิดประตูรับรู้ทุกเรื่อง แม้แต่ที่ลุงจะบอกนี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถึงบอกไปก็ไม่เอา ไม่เชื่อ ไม่ใช้

ข้างบ้าน : เพราะอะไรคะลุง ?
ลุงคิม : ใจไง ใจไม่เอา ยุ่งยาก เสียเวลา ไม่ได้ผล ทั้งๆที่ยังไม่ได้ใช้ แล้วไอ้ที่ใช้น่ะ ไม่ได้ผลแต่ไม่คิด ไม่ยอมรับ

ข้างบ้าน : หมายความว่าไงลุง หนูไม่เข้าใจ ?
ลุงคิม : อืมมม มันก็คงไม่เข้าใจอยู่อย่างนี้แหละนะ เรื่องนี้ถ้าพูดเป็นวิชาการ 4ปีไม่จบ แต่ถ้าใจเอาใจรับ 4ชั่วโมงรู้เรื่อง ทำได้เลย

ข้างบ้าน : ทำไงเหรอลุง ?
ลุงคิม : เอางี้ ลองยาสมุนไพรดูมั่ง เอา บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร. สะเดา. น้อยหน่า. ยาฉุน. สาบเสือ. ยูคา. อันนี้แมลงปากกัดปากดูดวางไข่ทุกแมลงกับหนอนกัดกินพืช ....

พริก. ขิง. ข่า. ขมิ้น. ดีปลี. หอม. กระเทียม. ตะไคร้. กระชาย. หมาก. อันนี้แก้โรคทุกโรค ....

วิธีทำก็ให้เอาทั้งสมุนไพรแมลง สมุนไพรโรคทั้งหมดมาต้มรวมกัน ต้มพอเดือด ต้มแล้วปล่อยให้เย็นก็ใช้ได้ ....

ส่วนโรคในดิน ใช้จุลินทรีย์ จะเป็นจุลินทรีย์โดยเฉพาะหรือจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพก็ได้ ก็เท่านี้แหละ

ข้างบ้าน : ใช้บ่อยไหมลุง ?
ลุงคิม : ถามจริง งานนี้เอาจริงเหรอ ?

ข้างบ้าน : เอาซี่ลุง วันนี้มันไม่ใช่ต้นทุนสูงอย่างเดียว ราคาก็ตก ขายแล้วขาดทุน ขาดทุนไม่พอกลับเป็นหนี้อีก ไม่เลิกยาเคมีไปไม่รอดแน่ลุง
ลุงคิม : (หัวเราะ) นี่มั้ย ที่เขาว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

ข้างบ้าน : ไม่ใช่เห็นอย่างเดียวนะลุง ลงไปนอนในโลงด้วย
ลุงคิม : เอาเป็นว่า สมุนไพรแมลงกับสมุนไพรโรค ที่เอามาต้มนั่น ระยะ3วัน 5วันแรก ฉีดพ่นทางใบทุกวัน พอเห็นว่าเอาอยู่แล้วค่อยเลื่อนให้เป็น วันเว้นวัน หรือวันเว้น2วันก็ได้ ส่วนจุลิน ทรีย์ให้ 15 วันครั้ง

ข้างบ้าน : ลุงมีอะไรแนะนำอีกไหมคะ ?
ลุงคิม : ไอ้ที่จะแนะนำน่ะ ยังมีอีกเยอะแยะ พูด 4 ปียังไม่จบเลย แต่ถ้าใจเอาจริง ลองทำลองใช้ 4 นาทีบรรลุโสดาบัลย์ได้ คราวนี้แหละ ต้นทุนจะลด คนกลางไม่ปฏิเสธ คนกินจะไม่รังเกียจ

ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : หาสมุนไพรทำยาแต่ละสูตรให้มากชนิดกว่านี้ สมุนไพรยิ่งมากชนิดยิ่งดี เพราะสมุนไพรตัวหนึ่งมีฤทธิ์กับศัตรูพืชตัวหนึ่ง เท่านั้น เราต้องใช้วิธีดักทาง แล้วก็ฉีดพ่นบ่อยๆ เอาเถอะ หนอนแมลง โดยยาสมุนไพรบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก มันอยู่ไม่ได้หรอก ว่ามั้ย

ข้างบ้าน : จริงค่ะลุง
ลุงคิม : แล่นเรือปากเป็ด ฉีดพ่นทุกวัน วันและครั้ง ทำทันเหรอ ?

ข้างบ้าน : ไม่ทันก็ต้องทันค่ะลุง รุ่นหน้าหนูวางแผนจะติดสปริเกอร์แบบของลุงค่ะ
ลุงคิม : ก็ลองดู

-------------------------------------------------------------------



สัจจะธรรมแห่งผักกางมุ้ง

แปลงผักกางมุ้ง รังสิต : อยู่รังสิต 2-3-4 ปีแรก ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก .... ขึ้นปีที่ 5-6 เริ่มวูบๆ วาบๆ รายได้ลด เพราะ ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด ทั้งคุณภาพ ปริมาณ และตลาดรองรับ

“ฟู่ฟ่า รายได้ดี ระดับส่งออก” : เพราะแปลงปลูกกางมุ้งตาข่ายแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ไม่ได้จึงไม่มีหนอน.... มุ้งตาข่าย เพลี้ยไฟเข้าได้ แต่เพลี้ยไฟไม่เข้าเพราะไม่มีพืชเป้าหมาย ผักแปลงนี้จึงรอดจากสารเคมียาฆ่าแมลง

“วูบๆ วาบๆ รายได้ลด ต้นทุนเพิ่มแต่รายได้ลด” : เพราะปริมาณผลผลิตผักแต่ละรุ่น แต่ละล็อต ที่ได้ มากน้อยเอาแน่ไม่ได้ ผักที่เก็บมาแล้วต้องคัดทิ้ง

“คุณภาพ ปริมาณ ลด” : เพราะโรคที่มาจากทางรากทำให้ผักไม่สมบูรณ์ ขนาดเล็ก น้ำ หนักเบา ตกเกรด สาเหตุมาจากในมุ้งตาข่าย อุณหภูมิสูงกว่าภายนอกตาข่าย 4 องศา ซ. อุณห ภูมิที่สูงกว่าระดับนี้ส่งเสริมให้เชื้อโรคในดินพัฒนาเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและสูงกว่าปกติ ผลคือ ผักในมุ้งแปลงนี้ไม่มีศัตรูพืชบนต้น แต่มีศัตรูพืชในดินไฟธอปเทอร์ร่า, พิเทียม, ฟูซาเลียม, สเคลโรเทียม, ไรซ็อคโทเนีย ไส้เดือนฝอย. กับอีก 10 กว่าโรค ไม่ได้ท่องมา

“ตลาดต่างประเทศปฏิเสธ” : ส่งตามออร์เดอร์ไม่ได้ต้องถูกปรับ แนวทางแก้ปัญหา คือ ไปเอาผักที่ใช้สารสมุนไพร 100% ส่งออร์เดอร์แทน

“รูปแบบเกษตร” : ไม่ได้ใช้สารเคมี แต่ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าเลือด แม้จะใช้ครั้งละไม่มาก แต่ไม่เคยใช้อินทรีย์ร่วม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ ทั้งที่มีในธรรมชาติและที่สร้างแล้วใส่ลงไป

(ปัญหาทำนองนี้ ดอกเตอร์ไม่รู้.....ก.ไม่เชื่อ)

แปลงผักกางมุ้ง กำแพงแสน นครปฐม : แปลงนี้ปลูก กระเพา โหระพา แมงลัก อย่างละ 3 ไร่ สำหรับส่งออกสวิสส์เซอร์แลนด์ตามเกษตรพันธะสัญญา (contract farming) กางมุ้ง ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงเด็ดขาด ใช้กับดักกาวเหนียวได้ ไม่ห้ามปุ๋ยเคมี

เกมส์นี้น่าสน คือ
1. ราคาสูงกว่าตลาดในประเทศ 3 เท่า
2. บริษัทมาตรวจ 2-3 เดือน/ครั้ง และ
3. ก่อนมาตรวจจะแจ้งล่วงหน้า ....

เรื่องราคาดีกว่า อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว บริษัทมาตรวจก็ดี แต่แจ้งล้วงหน้าก่อนมานี่ดี เพราะบางอย่างเปิดเผยไม่ได้ ... เรื่องของเรื่องก็คือ เพราะอุณหภูมิในมุ้งสูงกว่าอุณหภูมินอกมุ้ง (ตอนบ่ายๆ คนเข้าไปอยู่มุ้งจะรู้สึก) ทำให้เชื้อโรคในดินมาก แก้ไขด้วยการ “เปิดด้านข้างมุ้ง” ตอนกลางวันเพื่อปรับอุณหภูมิ ตกกลางคืนก็ปิดอย่างเดิม การที่บริษัทแจ้ง ล่วงหน้าว่าจะมาตรวจ จึงช่วยให้การ ปิด/เปิด ข้างมุ้งทำได้แนบเนียนดี นอกจากนั้นยังมีการใช้ “สารสมุนไพร” ร่วมด้วย เพราะตัวนี้บริษัทไม่ได้ห้าม

ในความเป็นจริง ตลาดผักอินทรีย์ มีการตรวจเฉพาะ “สารเคมียาฆ่าแมลง” เท่านั้น ไม่เคยได้ข่าว หรือเคยเห็นเขาตรวจ “ปุ๋ยเคมี หรือ สารสมุนไพร” เลย

(ฝรั่งสวิสส์เซอร์แลนดิ์ เอาผักพวกนี้ไปเยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดน กินกับแซนด์วิช บอกว่าเป็นทั้งอาหารและยา แถมบอกว่าคนไทยโง่ที่ไม่กินผักพวกนี้ คนไทยเลยสวนว่า ยูนั่นแหละโง่ คนไทยกินมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว กินผักสมุนไพรมากชนิดกว่านี้ด้วย ฝรั่งเลยกินทั้งเซ่อทั้งผัก)

แปลงผักกางมุ้ง ใกล้เสาส่ง ทีวี.ช่อง 3 บางแค กทม. : แปลงผักกางมุ้ง ขนาด 5 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ ครึ่งไร่ รวม 10 โรง ราคาโรงละ 200,000 (วัสดุ + ค่าแรง) ทุกขั้นตอนทำตามสเป็คที่บริษัทส่งออกกำหนดทุกปะการ .... ระยะเวลาก่อสร้างราวครึ่งเดือน วันนี้เนื้องานเสร็จกว่า 95% แล้วนั้น เหมือนบุญมีแต่กรรมบัง พระสุรัตน์วดีหรือพระยายมราช สั่งให้เกิดพายุใหญ่ ล้มเรือนกางมุ้งทั้ง 10 หลังลงกองเอ๊าะเยาะกับพื้น

(เกมส์นี้ หยุด/ถอย/เลิก หรือว่า เดินหน้าใหม่ ไม่รู้ เพราะขาดการติดต่อตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้)

-----------------------------------------------------------



คนปลูก VS คนซื้อ

เรือนกล้วยไม้ ขนาด 20 ไร่ ที่สามพราน นครปฐม ....

นึกภาพ (1) : เรือนกล้วยไม้ หลังคาซาแลน แสงส่องได้ไม่ถึงครึ่ง ผนังทั้ง 4 ด้านปิดซาแลนอีก ฉะนี้ อากาศด้านบน ด้านข้าง จะระบายเข้าระบายออกยังไง

นึกภาพ (2) : กล้วยไม้ศัตรูพืชมาก ดอก-ใบ-ต้น-ราก วางขายตามท้องตลาด ชาวสวนกล้วยไม้รู้จักดีกว่า 30 ยี่ห้อ

(ยี่ห้อ คือ แบลนด์ ชื่อการค้า ไม่ใช่ชื่อสามัญ นั่นหมายความว่า ในจำนวน 30 ยี่ห้อทั้ง หมดนี้อาจจะมีเพียง 3-4 ตัว หรือชื่อสามัญเท่านั้น)

ฉีดสารเคมีแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานเท่าไร นั่นคือ คนฉีดต้องได้รับสารเคมีนั้นนานเท่าเวลาที่ฉีด .... ฉีดทุก 3-5-7 วัน สารเคมีตัวเดิม นั่นคือ ได้รับสารเคมีตัวนั้น สะสมๆ ๆๆ ๆๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับคนฉีด

นึกภาพ (3) : สารเคมี ทุกยี่ห้อ/ทุกแบลนด์/ทุกชื่อการค้า โครงสร้างทางเคมีน้ำหนักมาก ไม่ล่องลอยไปเอง ถ้าไม่มีลมพัดก็จะตกลงพื้น วันแล้ววันเล่า วันเดือนหลายๆเดือนถึงเป็นปี สารเคมีตกลงพื้นทับซ้อนกัน ๆๆ เกิดปฏิกิริยาทางเคมี จากสารเคมีตัวหนึ่งกลายเป็นอีกตัวนึ่ง ตัวแรกว่าร้ายแรงต่อคนต่อสภาพแวดล้อมแล้ว มีตัวใหม่มาจากไหนไม่รู้เกิดขึ้นมาอีก.... ฉะนี้ ร่าง กายคนจะปรับตัวรับไหว .... มั้ยเนี่ย
(ข้อมูลทางวิชาการนี้ คนขายสารเคมีไม่เคยบอก คนซื้อไม่เคยถาม....)

นึกภาพ (4) : ฝ่ายสามี ถือขวดขนาดลิตรครึ่ง ใส่หนอนสดๆ ดิ้นกระแด่วๆ มาค่อนขวด ให้ดูเป็นหลักฐาน .... บอกว่า :

- ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเก็บ 3 ชม. ..................... เก็บเสร็จแล้วมาเลย
- ใช้ยาฆ่ามาครบทุกยี่ห้อแล้ว เอาไม่อยู่ .......... ต้องใช้ตัวไหนดี
- มีคนแนะนำให้ใช้สมุนไพร ........................ ไม่อยากใช้ เพราะไม่เชื่อ
- บางคนแนะนำให้ใช้กับดักกาวเหนียว ............. ไม่อยากใช้ เพราะไม่เชื่อ
(แบบนี้ไม่เรียกว่า “ยึดติด” แล้วเรียกว่าอะไร....)

นึกภาพ (5) : ฝ่ายเมีย ไม่กล้าออกจากบ้าน 2 ปีกว่าแล้ว เพราะผิวเสียเป็นเด็กดักแด้ วันๆ รอแต่สาวมิสทีน ให้ช่วยหายารักษาผิวเด็กดักแด้...
(เป็นแผนการของฝ่ายผัว ให้เมียอยู่เฝ้าบ้าน ตัวเองจะได้แร่ดคนเดียว....)

นึกภาพ (6) : กล้วยไม้ คือ ดอกไม้ สัญชาติญาณของคน เมื่อหยิบดอกไม้ขึ้นย่อมยกขึ้นดม ดมมากดมน้อย ดมจื๊ดเดียวหรือดมนานๆ ก็ดมเหมือนกัน เมื่อดมก็ต้องหายใจเอาสารเคมีในดอกไม้เข้าไป แต่ยังดี คนซื้อแล้วดม นานๆดมครั้ง ถึงดมบ่อยก็ไม่ได้ดมดอกไม้จากสวนเดิม คนดมมีโอกาสเว้น นั่นหมายความว่า ร่างกายคนดมมีโอกาสผ่องถ่ายสารเคมีออกจากร่างกายได้ แต่คนทำคนฉีด ระหว่างฉีด รับเนื้อๆ ฉีดเสร็จแล้วกลับเข้าบ้านก็ยังได้รับอีก รับซ้ำ ๆๆ ๆๆ จะเกิดอะไรกับร่ายกายของตัวเอง
(งานนี้คนทำกล้วยไม้ขายไม่คิด แต่ผลที่เกิด นั่นคือ “กรรม” ใช่หรือไม่ ?)

นึกภาพ (7) : ฝ่ายผู้ฟัง ถ้าเหตุการณ์อีหร็อบนี้เกิดกับตัวเอง .......... คุณจะทำยังไง ?
(คำตอบ คือ “คนในกระจก” เท่านั้น....)

-------------------------------------------------------------------



ฟูราดาน คือ อะไร ?

ที่สุพรรณบุรี อำเภอ/ตำบล/บ้าน ไม่บอก แหล่งรับซื้อแห้วสด ปอกแห้ว ต้มแห้ว ส่งโรง งานแห้วกระป๋อง ถึงฤดูกาลจะมีแรงงานมารับจ้าง 10-20 คนประจำ ทำงานเช้าถึงค่ำ ตลอด 10-20 วัน ทำแบบนี้ต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี

วันนั้น งานต้มแห้วหยุดลงเพราะคนงานทั้งโรงงานไปงานเผาศพเพื่อนคนงานด้วยกัน .... รู้จากเพื่อคนงานด้วยกันที่อ้างผลชันสูตรจากหมอว่า คนตาย ตายเพราะร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน

ปีนี้ไม่ใช่ปีแรกหรือคนแรก เมื่อ 2 ปีก่อน ปีเดียว หัวปีท้ายปี ตาย 2 ศพ ผลชันสูตรจากหมอกรณีเดียวกัน คือ ร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน กับให้เหตุผลที่ทุกฝ่ายตรงกันพูดตรงกันว่า....

- หมอบอก ร่างกายสะสมฟูราดานจากการต้มแล้วหายใจเข้าไป
- เกษตรบอก เพราะใช้ฟูราดานมากเกิน จากการรุ่นต่อรุ่น ทุกรุ่น จนเกิดสะสม
- เกษตรกรบอก ถ้าไม่ใส่ฟูราดานก็จะไม่ได้กินแห้ว
- เจ้าของโรงงานต้มแห้งบอก ทำได้แค่ช่วยงานศพ เพราะบอกให้เลิกใช้แล้วไม่เลิก

ฟูราดาน คือ อะไร ? : ....

-------------------------------------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/01/2023 7:48 am, แก้ไขทั้งหมด 20 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


ร้อยมาลัยนิ้วกุด

สาวพิการ ขาลีบเดินไม่ได้มาตั้งแต่เกิด ตอนเป็นเด็กไม่ได้เข้าโรงเรียนเพราะความไม่สะดวกนานับประการ ครั้นโตพอเริ่มรู้เรื่อง วันหนึ่งมีคนเอาพวงมาลัยมะลิมาให้ สาวพิการรับไว้ด้วยความปลื้มปีติ พลันความคิดช่วยตัวเองก็บังเกิดขึ้น สาวเชื่อว่าตัวเองสามารถ ฝึก/หัด ร้อยมาลัยได้เหมือนคนปกติ เพราะงานแบบนี้ไม่ต้องเดิน เพียงนั่งอยู่กับที่ก็ทำได้ ขอแต่ทำให้ มาลัยออกมา ดีกว่า/สวยกว่า/เหนือกว่า/ราคาถูกกว่า ที่คนอื่นก็แล้วกัน

สาวพิการเริ่มจาก ค่อยๆบรรจงแกะมาลัยมะลิพวงนั้น ทีละดอก ๆๆ ๆๆ ตอนที่มะลิแต่ละดอกออกมานั้นก็ครุ่นคิดอยู่เสมอว่า ตอนเข้า มันเข้าไปแล้งต่อกันได้อย่างไร แกะออกมาแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ เข้าไปแล้วแกะออกมาอีก ทำซ้ำ 2-3-4 รอบ จนดอกมะลิช้ำทำอะไรไม่ได้อีก

ด้วยอุปนิสัยแม้จะพิการเดินไม่ได้ก็ไม่เคยคิดพึ่งใครให้ช่วยถ้าไม่จำเป็นหรือเหนือกว่าที่ร่างกายจะรับได้จริงๆ แล้วงาน ฝึก/หัด ร้อยมาลัยมะลิก็เริ่มขึ้น โดยคนในบ้านช่วยจัดหา วัสดุ/อุปกรณ์ ทุกอย่างมาให้ พร้อมกับตัวอย่างพวงมาลัยแบบต่างๆมาให้เรียนรู้

จากมาลัยฝึกหัดพวงแรก ต่อเป็นพวงที่ 2-3-4-5-10-20
จากมาลัยมะลิดอกรัก มาลัยมะลิกุหลาบหนู มาลัยมะลิจำปี มาลัยมะลิดาวเรือง
จากมาลัยคล้องข้อมือ สู่มาลัยคล้องคอ
จากมาลัยคล้องข้อมือ คล้องคอ สู่พานมาลัยจาก

มาลัยซื้อขายข้างถนน มาลัยสั่งทำพิเศษ สู่มาลัยประกวดชนะเลิศ

ชีวิตสาวร้อยมาลัยวัยกระเตาะกระทั่งสู่วัยสาวใหญ่ รายได้จากมาลัยสร้างสถานะเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ในหมู่บ้านและต่างบ้าน มีโฉนดที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มตู้

ใครจะคิดว่าทรัพย์สฤงคา สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ มากมายจะบันดาลความสุขทุกอย่างตามต้องการได้ เมื่อ....

*** สภาพร่างกายซูบผอม ผอมลงๆ กำลังวังชาเหลือน้อยลง เพราะสูดกลิ่นสารเคมีจากดอกมะลิเป็นประจำ ติดต่อนานต่อเนื่องนับสิบๆ ปี กระนั้นหัวใจแกร่งของสาวพิการก็หายอมแพ้ไม่

*** นิ้วชี้มือซ้าย บวมช้ำ เป็นแผล มีหนองไหล เพราะเข็มร้อยมาลัยสัมผัสกับสารเค มีจากมะลิ สะกิดผิวหนังปลายนิ้วเป็นประจำ ติดต่อนานต่อเนื่องนับสิบๆ ปี กระนั้นหัวใจแกร่งของสาวพิการก็หายอมแพ้ไม่ เมื่อนิ้วชี้ใช้งานไม่ได้ก็เปลี่ยนให้นิ้วกลางทำหน้าที่แทน

ลงท้ายชีวิตของสาวพิการหัวใจแกร่งต้องยอมเข้า ร.พ. ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย สร้างความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา กับยอมให้หมอตัดนิ้วชี้นั้นทิ้ง เพื่อไม่ให้แผลขยายลามไปถึงนิ้วอื่น

ถึงกระนั้น สาวพิการขาลีบ +นิ้วด้วน ก็ยังไม่ละความสู้ชีวิต ประกาศลั่นว่า เมื่อไม่มีนิ้วชี้แทงเข็มร้อยมาลัยได้ ก็จะใส่ถุงมือนิ้วกลาง แล้วให้ทำหน้าที่แทน.... เย !

สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ด้วยการสูดดมไอของสาร ผลคือ ละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ สารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้โลหิตเป็นพิษ

การเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ เกษตรกรที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือผู้คนที่อยู่ใกล้กับผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชผ่านทางการหายใจได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่อันตรายที่สุดคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีกลิ่น เพราะเกษตรกรจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้สูดดมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไป

--------------------------------------------------------------




ความหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ :

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน

เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือกเย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาติแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นา นับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาชายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อม จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ ,น้ำเชื่อม เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้

แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวงมาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=10

-----------------------------------------------------------------------



เตือนระวังฟอร์มาลีน ในพวงมาลัย !

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

สสจ. ตรัง ระวังสารฟอร์มาลีนในพวงมาลัย หลังสุ่มเก็บตัวอย่างในตลาดและบริเวณสี่แยกไฟแดงในเขตกรุง เทพฯ 27 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีนทั้งในดอกมะลิสดและดอกมะลิที่ร้อยเป็นพวงมาลัย ถึงจำนวน 17 ตัวอย่าง ชี้เป็นสาร เคมีที่มีความเป็นอันตรายมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

นายแพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ตรัง เปิดเผยว่า พวงมาลัยดอกไม้สดที่มีขายกันตามสี่แยกไฟแดง มีการแช่สารฟอร์มาลีนในพวงมาลัย ทำให้ผู้ที่ซื้อพวงมาลัยสูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนศรีษะในขณะขับรถ และจากการสุ่มเก็บตัวอย่างพวงมาลัยดอกมะลิที่ขายในตลาดและบริเวณสี่แยกไฟแดงในเขตกรุงเทพฯ 27 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีนทั้งในดอกมะลิสดและดอกมะลิที่ร้อยเป็นพวงมาลัย ถึงจำนวน 17 ตัวอย่าง อันตรายของฟอร์มาลีน เป็นสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายโดยมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

นายแพทย์วิฑูรย์ เปิดเผยต่อไปว่าหากมีการสูดดมไอของฟอร์มาลีน จะทำให้เกิดอาการแสบจมูก ไอ เจ็บคอ ปอดอักเสบ ระคายเคืองนัยน์ตา และถ้าสูดดมไอของฟอร์มาลีนมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการน้ำท่วมปลอดแน่นหน้าอก และอาจเสียชีวิตในที่สุด

"นอกจากนี้ ฟอร์มาลีนยังมีฤทธิ์กัดกร่อนหากผิวหนังมีการสัมผัสกับฟอร์มาลีนโดยตรง อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังไหม้ และหากได้รับสารฟอร์มาลีนสะสมเป็นระยะเวลานานในปริมาณ จะก่อให้เกิดมะเร็งได้ ทั้งนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบที่ขายดอกไม้ตามสี่แยกต่าง ๆ ให้ไปตรวจสอบและขอความร่วมมือต่อไป" นายแพทย์วิฑูรย์กล่าว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429601781

-----------------------------------------------------------------------



กลิ่นหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ

เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือกเย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาดแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นานับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาขายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อม จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ , น้ำเชื่อม เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้

แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวงมาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม

อ้างอิง : กระทรวงวิทยาศาสตร์
http://comvariety.com

-------------------------------------------------------------------------




ผลกระทบจากสารเคมีที่มีต่อสุขภาพของคนใช้ :

ปัจจัยที่ทำให้สารเคมีมีผลต่อสุขภาพของคน จากการศึกษาของ
Dr.Helen Marphy ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิษวิทยา จากโครงการ Community IPM จาก FAO ประเทศอินโดนีเซีย พบว่าปัจจัยที่มีความเสี่ยงของสุขภาพของคนอันดับต้น ๆ คือ

1. เกษตรกรใช้สารเคมีชนิดที่องค์การ WHO จำแนกไว้ในกลุ่ม 1a และ 1b คือ ที่มีพิษร้ายแรงยิ่ง (Extremely toxic) และมีพิษร้ายแรงมาก (Very Highly toxic) ตามลำดับ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดการเจ็บป่วยแก่เกษตรกร ซึ่งใช้สารพิษ โดยเฉพาะสารทั้งสองกลุ่ม ดังกล่าว

2. การผสมสารเคมีหลายชนิดฉีดพ่นในครั้งเดียว ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้ม ข้นสูง เกิดการแปรสภาพโครงสร้างของสารเคมี เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแพทย์ไม่สามารถรักษาคนไข้ได้เนื่องจากไม่มียารักษาโดยตรง ทำให้คนไข้มีโอกาสเสียชีวิตสูง

3. ความถี่ของการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งหมายถึงจำนวนครั้งที่เกษตรกรฉีดพ่น เมื่อฉีดพ่นบ่อยโอกาสที่จะสัมผัสสารเคมีก็เป็นไปตามจำนวนครั้งที่ฉีดพ่น ทำให้ผู้ฉีดพ่นได้รับสารเคมีในปริมาณที่มากและสะสมในร่างกาย และผลผลิต

4. การสัมผัสสารเคมีของร่างกายผู้ฉีดพ่น บริเวณผิวหนังเป็นพื้นที่ ๆมากที่สุดของร่างกาย หากผู้ฉีดพ่นสารเคมีไม่มีการป้องกัน หรือเสื้อผ้าที่เปียกสารเคมี และโดยเฉพาะบริเวณที่มือและขาของผู้ฉีดพ่น ทำให้มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้เพราะสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชถูกผลิตมาให้ทำลายแมลงโดยการทะลุทะลวง หรือดูดซึมเข้าทางผิวหนังของแมลง รวมทั้งให้แมลงกินแล้วตาย ดังนั้น ผิวหนังของคนที่มีความอ่อนนุ่มกว่าผิวหนังของแมลงง่ายต่อการดูดซึมเข้าไปทางต่อมเหงื่อนอกเหนือจากการสูดละอองเข้าทางจมูกโดยตรง จึงทำให้มีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าแมลงมากมาย

5. พฤติกรรมการเก็บสารเคมี และทำลายภาชนะบรรจุไม่ถูกต้อง ทำให้อันตรายต่อผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะเด็กๆ และสัตว์เลี้ยง

องค์การอนามัยโลกได้จัดลำดับความรุนแรงของสารเคมีในรูปของการจัดค่า LD50 ซึ่งค่า LD50 นี้หมายถึงระดับความเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ โดยคำนวณบนฐานของการทดลองกับหนู ซึ่งจะคิดจากปริมาณของสารเคมีเป็น
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนูเป็นกิโลกรัม ที่สามารถมีผลต่อการฆ่าหนูจำนวน 50% ของหนูทดลองทั้งหมด

ระดับความรุนแรงจากพิษของสารเคมีในแต่ละระดับ สามารถมองรายละเอียดในรูปของปริมาณของสารเคมี ซึ่งมีผลต่อการทดลองในหนูตามรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

-------------------------------------------------------------------



การสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา

การสัมผัสกับผัวหนังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่พบได้อยู่เสมอในอัตราที่ค่อนข้างสูงในระหว่างการปฏิบัติงาน สารเคมีหลให้เกิดความระคายเคือง ไปจนถึงอาการแพ้ สารกัดกร่อนทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังในบริเวณที่สัมผัส และสารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าไปสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตได้

การเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส อาจเกิดผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิเช่น รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และผิวหนังชั้นนอก เป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้การเข้าสู่ร่างกายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับ ความเข้มข้นของสารเคมีความว่องไวหรือความรุนแรงในการทำปฏิกิริยาเคมีของสารเคมี ความสามารถในการละลายน้ำ สภาพและลักษณะความหนาบางของผิวหนังบริเวณที่ได้รับการสัมผัส และระยะเวลาที่สัมผัส

การสัมผัสบริเวณดวงตาเป็นเรื่องอันตรายที่รุนแรงที่สุดเนื่องจากดวงตาเป็นส่วนของร่างกายที่ละเอียดอ่อนมากที่สุดส่วนหนึ่ง ดวงตาเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทและเส้นโลหิตฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมายจึงเป็นแหล่งที่จะดูดซับสารพิษต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สารเคมีส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อดวงตาตั้งแต่ทำให้เกิดการระคายเคือง สร้างความเจ็บปวด สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ไปจนถึงทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้ พบว่ามีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา

----------------------------------------------------------------------



คนใช้ตายก่อนคนกิน :

วันนั้น ลืมเดือนปี พ.ศ. แต่จำได้แม่นว่าที่ อ.ไทรน้อย นนทบุรี ลุงคิมฯ ในนามรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ผู้ส่งเสริมการใช้สารสมุนไพรแทนสารเคมี คุณหมอฯ ประจำสถานีอนามัยพระพิมล ไทรน้อย นนทบุรี

วันนั้นเป็นการบรรยายให้ความรู้เรื่อง “พิษภัยจากสารเคมียาฆ่าแมลงในผัก และพืชต่อคนกิน” แก่เกษตรกรชาวสวนผักและผู้สนใจทั่วไปในย่านนั้นและใกล้เคียง ภายไต้โครงการริเริ่มโดยสถานีอนามัยพระพิมล เป็นที่น่ายินดีที่มีผู้สนใจเข้ามารับฟังกว่า 300 คน .... โปรแกรมบรรยายวันนั้น

ช่วงเช้า 9โมงถึง 10โมงครึ่ง ลุงคิมฯ พูดเรื่อง สารสมุนไพรแทนสารเคมี
ช่วง 10โมงครึ่ง ถึงเที่ยง เป็นคิวเกษตรอำเภอไทรน้อย นนทบุรี บรรยายเรื่องน้ำหมักชีวภาพ
ช่วงบ่ายต่อถึงบ่าย 2โมง ถึงคิวคุณหมอฯ พูดเรื่อง พิษจากสารเคมีต่อร่างกายคน ระยะสั้นและระยะยาว

ช่วงพักเที่ยง ขณะนั่งทานอาหารกลางวันด้วย กันกับชาวบ้าน 3-4 คน

ลุงคิม : คุณหมอคิดว่า ทุกอย่างที่ผมสอนเขาไป เขาจะเอาไปทำ เอาไปต่อยอดไหมครับ
คุณหมอ : (หัวเราะในลำคอ) น่าจะได้นะซัก 2-3 ราย

ลุงคิม : ร้อยละ 1 เท่านั้นเหรอ ?
คุณหมอ : ก็เขาบอกแล้วไงว่า ยุ่งยาก เสียเวลา ถ้าไม่ได้ผลแล้วใครจะรับประกัน

ลุงคิม : (มองหน้าชาวบ้านที่ร่วมวงกินข้าวด้วย) ลุงคิดว่ายังไง ชาวบ้านเราจะเอาด้วยไหม ?
ชาวบ้าน : ผมเอาอยู่แล้ว ที่มาวันนี้อยากรู้ว่า จะทำยังไงให้ตัวยามันแรงกว่าเดิมที่เคยทำ

ลุงคิม : (มองไปทางเกษตรอำเภอ) คุณเกษตรล่ะครับ คิดว่า 300 คนวันนี้ จะเอาด้วยซักกี่คน
เกษตร : หวังยากครับ เพราะเกษตรกรเราฝังหัวอยู่กับสารเคมีมานาน

ลุงคิม : (ใช้ซ่อมจิ้มชิ้นคะน้าขึ้นดูก่อนใส่ปาก) คุณหมอว่า ถ้าในคะน้าชิ้นนี้มีสารเคมี คนกิน อย่างเราจะอันตรายซักแค่ไหนครับ ?
คุณหมอ : (คุณหมอถือโอกาสใช้ซ่อมในมือจิ้มชิ้นคะน้าแล้วส่งเข้าปาก หัวเราะในลำคอเบาๆ แล้วเหลือบสายตาไปที่ชาวบ้านคนนั่งข้างๆ) เราคนกินไม่ค่อยเท่าไหร่หรอก แต่คนฉีดสารเคมีซี่ รับเต็มๆ

ชาวบ้าน : จริงครับคุณหมอ ทุกรายมีประวัติอยู่ที่อนามัย ยาฆ่าแมลงเป็นพิษทั้งนั้น ลุงคิม : (มองไปที่คุณหมอ) ในจำนวนคนไข้ในประวัติ มีคนกินที่ไม่ใช่คนใช้ซักกี่คนครับ
คุณหมอ : ไม่มีเลยนะ เท่าที่ดู มีแต่เกษตรกร แล้วก็เป็นเกษตรกรปลูกผักสวนครัวด้วย

ลุงคิม : (วางช้อนแล้วมองหน้าคุณหมอ) เหตุผลครับ
คุณหมอ : เพราะคนกินรับสารเคมีน้อย กินทีได้รับที ไม่ได้กินก็ไม่ได้รับ แต่เกษตรกรคนใช้คนฉีด รับทุกครั้ง ฉีดทุกวันได้รับทุกวัน ฉีดวันเว้นวันก็รับวันเว้นวัน

ลุงคิม : ไม่เข้าใจครับคุณหมอ ?
คุณหมอ : (จิ้มซ่อมชิ้นคะน้าแล้วยกขึ้นมา ประกอบคำอธิบาย) คืองี้ ถ้าในคะน้าชิ้นนี้มีสารเคมี มื้อนี้เรากินเข้าไปเราก็จะได้สารเคมีตัวนี้ มื้อหน้าเราไม่ได้กินคะน้าเราก็จะไม่ได้รับสารเคมี หรือถ้ากินคะน้าซ้ำอีกแต่เป็นคะน้าสวนอื่น เราก็จะได้สารเคมีตัวอื่นๆ ไม่ใช่ตัวเดิม ระหว่างมื้อที่เราไม่ได้รับสารเคมี แต่ร่างกายเราขับถ่ายออกไปเองได้ สารเคมีก็จะไม่เกิดอาการสะสม แล้วคนกินคนไหนจะกินคะน้าอย่างเดิม จากสวนเดิม ทุกมื้อๆๆ ล่ะครับ ....

(คุณหมอเหลือบสายตาไปมองชาวบ้าน แล้วอธิบายต่อ) แต่คนปลูก เป็นคนฉีดสารเคมี ฉีดสารเคมีตัวเดิม ฉีดซ้ำ ๆ ๆ มองออกไหมว่า ตัวคนฉีดคนใช้ก็คือเกษตรกรน่ะ รับสารเคมีเนื้อๆ เลย ....

ที่จริง ไม่มีสารเคมีอะไรเลยที่ไม่มีพิษ คนใช้คนกินทุกคนที่สัมผัสกับมัน อันตรายเหมือนกันทั้งนั้น เพียงแต่จะมากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว เท่านั้น....

นอกจากนั้น วิธี การล้างผัก การปรุงผักด้วยความร้อน ก็ช่วยลดปริมาณสารเคมีลงได้ สุดท้ายคือ บำรุงร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะเกิดภูมิต้านทานในตัวเอง สู้กับพิษของสารเคมีได้....

สรุปก็คือ :
คนใช้
เกษตรกรคนใช้ รับประจำ รับทุกตัว รับติดต่อกันนานนับปี ปีเดียว หลายปี ฉีดสารเคมีตัวเดียวรับตัวเดียว ผสมสารเคมีหลายตัวแล้วฉีดก็ได้หลายตัว รับทุกครั้งที่ฉีดพ่น นี่คือคนฉีด รับเต็มๆ ร่างกายขับถ่ายสารเคมีเก่ายังออกไม่หมด สารเคมีใหม่ทับมาอีก รับสาร เคมีสะสมมากๆ ๆๆ ร่างกายไม่มีโอกาสสร้างภูมิต้านทาน ความรุนแรงของสารเคมีก็จะหนักขึ้นๆ ๆๆ ยิ่งเกษตรกรที่ฉีดสารเคมีแบบใช้หลายตัวผสมกัน อันนี้ยิ่งรักษายาก ลงท้ายคือไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ต้องให้บำรุงร่างกาย ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเอง สร้างได้สร้างทันก็รอด สร้างไม่ได้สร้างไม่ทันก็ไม่รอด

คนกิน ไม่ได้รับทุกมื้อหรือทุกครั้งที่กิน กินผักชนิดเดิมแต่ต่างสวน กินผักแล้วเว้นช่วงกินให้ร่างกายขับถ่ายออกได้ ร่างกายมีโอกาสปรับตัว สร้างภูมิต้านทานให้ตัวเองได้

ลุงคิม : (พยักหน้าช้า เหมือนคิดอะไรออก) ถ้างั้น คนขายผักบนแผงก็ด้วย เพราะรับผักสาร พัดผัก จากสวนทั่วทุกทิศ นั่นแหละสารพัดสารเคมี แล้วต้องหายใจเอาสารเข้าไปทุกวัน ๆ จะรอดเรอะ

คุณหมอ : ใช่ครับ (พูดแล้ววาดสายตาไปที่ชาวบ้าน ต่อด้วยเกษตรอำเภอ)
ชาวบ้าน : เกษตรกรเขาก็รู้นะ แต่เพราะยึดติดนั่นแหละครับ
เกษตร : ไม่ใช่ยึดติดอย่างเดียว บางทีเห็นแก่ของแจกของแถม ประเภทลดแลกแจกแถม เรื่องทำนองนี้ไม่ใช่ที่นี่ที่เดียวหรอกครับ ทั่วประเทศนั่นแหละ

ลุงคิม : (มองหน้าคุณหมอเต็มๆ แล้วหัวเราะ) งานนี้ต้องคุณหมอแหละครับ บอกเขาไปเลยว่า ถ้าไม่เลิกสารเคมีละก็ ตายลูกเดียว ถึงไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต ขายผักได้ก็ต้องเอาเงินมารักษาตัว เผลอๆบางรายขายผักได้ก็ต้องเอาเงินมาใช้หนี้อีก แบบนี้ชีวิตจะเหลืออะไร

เกษตร : ที่จริง ผมก็เคยเอาเรื่องนี้คุยกับเกษตรกรอยู่เหมือนกัน แต่เขาก็ไม่เอาด้วย เมื่อปีก่อน ที่กรมใหญ่ สัมมนาเรื่อง ลด/ละ/เลิก สารเคมี จัดโครงการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบ ไอพีเอ็ม. ทำแปลงสาธิตให้ เอาวัสดุอุปกรณ์ไปแจกให้ใช้ พาคนกลางรับซื้อผักปลอดสารพิษไปเจรจาตกลง แม้แต่เชิญวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรปลอดสารพิษไปบรรยาย อะไรก็ไม่เอาซักอย่าง สุดท้ายก็สารเคมี

ลุงคิม : (มองหน้าชาวบ้าน แต่ไม่พูดอะไร)
ชาวบ้าน : คงต้องปล่อย ตัวใครตัวมันแหละครับ

ลุงคิม : ที่จริง เกษตรกรชาวสวนผักก็รู้นี่ว่า ผักอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงน่ะ แม่ค้าคนกลางให้ราคาสูงกว่าผักใช้เคมี แม้แต่แม่ค้าบนแผงก็รู้อีกว่า ผักอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี รสชาติอร่อยกว่าผักใช้สารเคมี อันนี้ลูกค้าที่มาซื้อผักเขาเป็นคนบอกเอง แล้วทำไมเกษตรชาวสวนผักเราไม่ยอมปรับเปลี่ยน หรือหาวิธีการเลิกใช้สารเคมีแล้วมาใช้สารสมุนไพรแทน
ชาวบ้าน : ไม่ใช่คนรับซื้อให้ราคาดีกว่าอย่างเดียว ต้นทุนที่ต้องจ่ายลงไปก็ต่ำด้วย ขายแล้วกำไรชัด แต่ไม่ยอมทำก็เพราะยึดติดนั่นแหละครับ

ลุงคิม : น่าจะมีเหตุผลอื่นเหนือกว่ายึดติดนะ
เกษตร : เพราะใจไม่เอาครับ ปีก่อนผมมาสอนที่นี่ ที่เรานั่งอยู่นี่แหละ สอนแล้วก็แอบรู้มาว่าไม่เอาไม่ทำไม่ใช้ ปีถัดมาผมมาอีกครั้ง คราวนี้ทั้งสอนวิธีทำแล้วก็เอาที่ทำสำเร็จรูปพร้อมใช้งานมาด้วย เอามาแจกทุกคน ก็แอบรู้อีกว่าไม่เอาไม่ทำไม่ปีถัดมาเขาถาม ไอ้ที่แจกเมื่อปีที่แล้ว ยังใช้งานได้อยู่ไหม หมายความว่าไง ก็หมายความว่า สอนให้ทำก็ไม่ทำ เอามาแจกก็ไม่ใช้ จะว่าไม่มีความรู้ก็ไม่ใช่เพราะสอนแล้ว จะว่าไม่ได้ผลก็ไม่ใช่เพราะใกล้ๆบ้านมีคนใช้แล้วได้ผล ทั้งรู้ ทั้งเห็น แต่ไม่เอา เจอเกษตรกรแบบนี้ผมก็จนปัญญาเหมือนกันแหละคุณหมอ

ชาวบ้าน : แต่ผมใช้นะเกษตร
ลุงคิม : หัวเราะ
คุณหมอ : หัวเราะ

การสนทนาในวงข้าวหยุดลง แต่ละคนตั้งหน้าตั้งตาโซ้วข้าวในจานจนหมด ดื่มน้ำล้างปากพอเป็นพิธี แล้วลุกขึ้นเดินไปยังที่นั่งตัวเอง ขณะที่คุณหมอเดินตรงไปหน้าห้องสัมมนาประชุม เตรียมทำหน้าที่บรรยายต่อไป

-----------------------------------------------------------------------




20

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2021 11:33 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

วิธีลดสารพิษตกค้างในผักผลไม้


ผักผลไม้บ้านเรา ใช้ยาฆ่าแมลงกันเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่ตกค้างแบบไม่รู้ตัว ถึงแม้จะมีผักออแกนิคเป็นอีกทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ แต่เมื่อสำรวจราคาผักออแกนิกตามท้องตลาดพบว่า มีราคาสูงลิ่วจนหลายคนต้องกลับมารับประทานผักสารเคมีกันเช่นเดิม ในผู้ใหญ่หากมีสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณที่ไม่มาก ร่างกายมีความแข็งแรงพอ ที่จะต่อต้านกับสารแปลกปลอม แต่สำหรับเด็กๆความต้านทานของร่างกายยังต่ำมาก คุณพ่อ คุณแม่ควรใส่ใจกับการทำความสะอาดผักผลไม้ให้มากๆ เพื่อลดการสระสมสารเคมีในร่างกายจนทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้ วิธีล้างผักผลไม้มีหลากหลายวิธีดังนี้

1. ล้างผักผลไม้ด้วยด่างทับทิม
ด่างทับทิม หรือ Potassium Permanganate มีลักษณะเป็นเกร็ดแข็งสีม่วงสามารถละลายได้ในน้ำ และเมื่อนำไปละลายน้ำจะให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม ด่างทับทิมจัดเป็นสารประ กอบประเภทเกลือ ในการล้างผักผลไม้ควรใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20-30 เกล็ดเท่านั้น ผสมในน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดวิธีนี้สามารถลดสารพิษตกค้างลงได้ร้อยละ 35-43

ข้อควรระวัง : ควรใช้ในปริมารที่พอเหมาะเพราะการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

2. ล้างผักด้วยน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู หรือ Vinegar เป็นของเหลวที่ได้จากกระบวนการหมัก มีองค์ประกอบหลักคือกรดน้ำส้ม (กรดน้ำส้ม) น้ำส้มสายชูทั่วไปมีความเข้มข้นของกรดตั้งแต่ 4% ถึง 8% โดยปริมาณและอาจสูงถึง 18% สำหรับ picklingน้ำส้มสายชูหมักโดยธรรมชาติยังมีกรดชนิดอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย เช่น tartaric acid และ citric acid การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5% ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84

ข้อควรระวัง : ผักหรือผลไม้ อาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดค้าง และผักบางอย่าง เช่นผักกาดขาว หรือเมื่อรับประทานอาจมีรสเปรียวปนมาได้ ไม่ควรใช้ชามพลาสติกในการล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพราะกรดอาจกัดกร่อนพลาสติกได้

3. ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดไหลผ่าน
การล้างผักด้วยน้ำสะอาด จำเป็นต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเพราะสารเคมีจะได้หลุดไหลไปตามแรงน้ำไหล วิธีการง่ายๆ โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที การใช้น้ำไหลล้างผักและผลไม้ต้องพิถีพิถันและใช้ เป็นวิธีที่ประหยัดและดีมาก สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของผู้ล้างเป็นสำคัญ

ข้อจำกัด : เสียเวลานานและใช้น้ำในปริมาณมาก

4. ล้างผักผลไม้ด้วยเกลือ
เกลือมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ (NaCl2) คือเกลือที่ใช้สำหรับใส่และเตรียมอาหารมีรสเค็ม ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษและสารเคมี ลงได้ร้อยละ 27-38


5. ลดสารเคมีจากผักผลไม้ด้วยการปลอกเปลือกทิ้ง
ผักประเภทหัว หรือ ประเภทห่อใบ การปอกเปลือกหรือการลอกใบชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72

6. ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำยาล้างผักผลไม้โดยเฉพาะ
น้ำยาล้างผักผลไม้ ประกอบด้วย
โซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol)
โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate)
โซเดียม ออกไซด์ (sodium oxide)
โซเดียม คาร์บอเนต (sodium carbonate) เอธานอล (ethanol)
กลีเซอรอล (glycerol)
โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท (potassium permanganate)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์ประกอบของน้ำยาล้างผักดังข้างต้น เช่น
โซเดียมโพลีออกซีเอธิลีน แฟตตี อัลกอฮอล์ (sodium polyoxyethylene fatty alcohol)
โซเดียม อัลคิลเบนซีน ซัลโฟเนต (sodium alkyl benzene sulfonate)

กลีเซอรอล เมื่อนำมาใช้ล้างผักสด แม้ว่าจะช่วยลดปริมาณการตกค้างของสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ แต่หากแช่ผักในน้ำที่ผสมน้ำยาล้างผักและตามด้วยการล้างน้ำไม่ดีพอ สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาล้างผักอาจเกิดการปนเปื้อนและดูดซึมเข้า สู่ร่างกายได้ สำหรับการใช้โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนท ยังอาจทำให้ผักบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีม่วง และหากใช้ในปริมาณสูงและล้างออกไม่หมดก็อาจทำให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้เช่น กันวิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70

ข้อควรระวัง : ต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

7. ล้างผักผลไม้ด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต
โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือที่คุ้นๆหูกัน คือ เบกกิ้งโซดา ลักษณะเป็นผงผลึกหรือผงละเอียดสีขาว ละลายน้ำได้ดี รสชาติแปร่งเค็มเล็กน้อย มีคุณสมบัติเป็นด่าง หากต้องการล้างผักผลไม้ให้ใช้ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95

ข้อควรระวัง : เบกกิ้งโซดามีส่วนผสมของเกลือหลังแช่ควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดและหากมีเบกกิ้งโซดาตกค้างในผักผลไม้ปริมาณมาก อาจทำให้ท้องเสียได้

8. ลดสารเคมีจากผักผลไม้ด้วยความร้อน
วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อนสามารถ ลดปริมาณสารพิษในผักผลไม้ได้ ประมาณร้อยละ 50 การต้มอาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการของผักผลไม้ลดลงได้ โดยเฉพาะ วิตามิน ซี. วิตามิน บี.1 ไนอะซิน

การลดปริมาณสารเคมีในผักผลไม้มีให้เลือกหลากหลายวิธีแต่ไม่มีวิธีไหนเลยจะสามารถกำจัดสารพิษตกค้างได้100% คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ควรล้างน้ำสะอาดหลังแช่น้ำยาต่างๆ อย่างน้อย 3 น้ำ เพื่อลดปริมาณสารเคมีให้ได้ มากที่สุด ระมัดระวังเรื่องการรับประทานผักสดในเด็กให้มากขึ้น หลังรับประมาณ หากพบว่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

พว. นฤมล เปรมปราโมทย์
http://www.mamaexpert.com/topic/10366


-----------------------------------------------------------------------


วิธีล้างพืชผักเพื่อลดพิษภัย

จากวารสารหมอชาวบ้าน :

1. ใช้โซดาทำขนมปัง (โซเดียมไบคาร์บอเนต) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษได้ 90-95 %

2. น้ำส้มสายชู 0.5 % โดยใช้น้ำส้มสายชู อสร. 1 ขวดผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 60-84 %

3. น้ำไหลแรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก ล้างนาน 2 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 54-63 %

4. แช่ในอ่างน้ำนาน 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 7-33 %
5. ลวกผักด้วยน้ำร้อนลดสารพิษได้ 50 % ส่วนการต้มนั้นลดสารพิษได้ 50 % เช่นเดียวกัน แต่จะมีสารพิษตกค้างในน้ำแกง จึงควรล้างผักลดสารพิษก่อนทำแกง

6. ปอกเปลือก หรือลอกใบชั้นนอกออก เช่น กะหล่ำปลี ฯลฯ ช่วยลดสารพิษลงได้
7. ผงปูนคลอรีน ½ ช้อนชากับน้ำ 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15-30 นาทีจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก
8. ผสมด่างทับทิม 5 เกล็ดต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้
9. น้ำปูนใสอิ่มตัวผสมน้ำเท่าตัว แช่ผักทิ้งไว้
10. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้
11. น้ำซาวข้าวล้างผัก

https://www.gotoknow.org/posts/6540


------------------------------------------------------------------------



เทคโนโลยีการเกษตร

ชัด ขำเอี่ยม chinchainat@hotmail.com

น้ำต้มสมุนไพร กำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุน :
กำไรจากการทำนาของเกษตรกรเกิดความแตกต่าง เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการของเกษตรกร ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชสูงมาก บางรายอาจมีต้นทุนสูงมากกว่า 5,000 บาท/ไร่

ในขณะที่เกษตรกรบางส่วนได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานตามที่ได้รับการถ่ายทอด

ความรู้แบบโรงเรียนเกษตรกรจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สอดคล้องกับคำที่กล่าวว่า "เพียงเปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน"

เกษตรกรนิยมใช้สารเคมี เพราะยังคงติดกับการแข่งขันการทำนาที่ตัดสินกันด้วยปริมาณผลผลิตที่ได้รับ ต่างจากเกษตรกรบางส่วนที่มีต้นทุนต่ำ ตัดสินผลลัพธ์ความสำเร็จของการทำนาด้วยกำไร ด้วยการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรค-แมลง ศัตรูพืชได้ดีไม่แพ้สารเคมี อย่างประหยัด และปลอดภัย ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การใช้สมุนไพรในการเกษตร น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันและอนาคต ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

คุณสัมฤทธิ์ ไม่ยาก เกษตรกรทำนา วัย 57 ปี บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 11 ตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า ได้ทำนาข้าว 28 ไร่ มานานแล้ว ตั้งแต่จบการศึกษาภาคบังคับ แต่พบว่ายิ่งทำนา ยิ่งมีต้นทุนมากขึ้น เนื่องจากแมลงศัตรูพืชดื้อยา "สร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมี บางครั้งสารเคมี 3-4 ชนิด ผสมกันฉีดพ่น แต่ไม่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ จึงได้ศึกษาการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรร่วมกับเพื่อนเกษตรกรในกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยจากสารพิษ จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชัยนาท สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และศูนย์บริหารศัตรูพืชชัยนาท

จากการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ตั้งแต่การเตรียมดินด้วยลดการเผาตอซังและฟางข้าว หมักด้วยน้ำหมักชีวภาพ อัตราเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ (ตัวห้ำ-ตัวเบียน) ด้วยการใช้สารสมุนไพร ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจ เพราะต้นทุนการผลิตในปีที่ผ่านมาประมาณ 3,200 บาท/ไร่ ในขณะที่ผลผลิตประมาณ 850 กิโลกรัม/ไร่ รอดพ้นจากการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยน้ำสมุนไพรต้ม แต่ต้องพ่นซ้ำบ่อยๆ คือ 7-10 วัน/ครั้ง ในขณะที่เพื่อนเกษตรกรบางส่วนใช้สารเคมีจำนวนมาก แต่ผลผลิตเสียหายอย่างน่าเสียดาย

การทำน้ำต้มสมุนไพรไม่ยุ่งยากนัก เตรียมวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น คือ ใบน้อยหน่า หรือ ใบน้อยโหน่ง ใบต้นรัก สาบเสือ เถามะระขี้นก อย่างละ 1 กิโลกรัม และใบสะเดา 5 กิโลกรัม ส่วนผสมสมุนไพรแต่ละชนิดมีทั้งสารที่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูพืช ทำลายตัวอ่อน ตัวแก่ และไข่ อีกทั้งกลิ่นที่แรงไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าในแปลงนา แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช (ตัวห้ำและตัวเบียน)

เมื่อได้สมุนไพรดังกล่าวแล้ว นำมาสับให้แหลกละเอียด นำไปใส่ในถังก่อนเทน้ำส้มสายชู 5% และเหล้าขาว อย่างละ 1 ขวด เทลงไปคนให้ทั่ว ปิดฝาทิ้งไว้ อย่างน้อย 5 ชั่วโมง เทลงปี๊บเติมน้ำให้เต็ม นำไปต้มด้วยไฟกลาง จนน้ำเดือดทิ้งไว้รอจนน้ำเหลือครึ่งปี๊บ ทิ้งให้เย็นนำไปกรอง ควรใช้ให้หมด แต่ถ้าจะเก็บควรเก็บในที่เย็นๆ ไม่ควรเก็บนานเกินไป อัตราส่วนที่ใช้ 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน

เวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่น คือ เวลาเช้าหรือเวลาเย็น แดดไม่ร้อนมากนัก เพื่อป้องกันการสลายตัวของสารสมุนไพร สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้เป็นที่น่าพอใจ ไม่แพ้สารเคมีที่มีราคาแพง ในขณะที่น้ำต้มสมุนไพรมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เหล้าขาว น้ำส้มสายชู และค่าก๊าซสำหรับต้มเท่านั้น ซึ่งสามารถผสมน้ำฉีดพ่นได้หลายพันลิตร นำไปฉีดพ่นในพื้นที่นาหลายไร่

การใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้น เกษตรกรต้องมีความมั่นใจ แต่ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ลองทำก่อน อย่าเพิ่งปฏิเสธ แต่ขอให้ศึกษารายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหรือเกษตรกรที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จ ก็จะสามารถทำนาให้ได้กำไรงาม ไม่ต้องรอให้ขายข้าวได้ราคาเป็นหมื่นบาท เพราะถ้าลงทุนในอัตรา 3,200 บาท ผลผลิตข้าว 800 กิโลกรัม/ไร่ นั่นหมายถึง มีต้นทุนที่ 4 บาท/กิโลกรัม ถ้าราคาข้าวเพียง 6 บาท/กิโลกรัม ก็จะมีกำไรที่ 2 บาท/กิโลกรัม หรือ 1,600 บาท/ไร่

คุณวีระศักดิ์ อัตถะไพศาล เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมถึงการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลว่า ได้ดำเนินการตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานด้วยการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนที่กระจายอยู่ในพื้นที่

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นสถานที่สำหรับเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้านการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรและชุมชน โดยจัดทำแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เรื่องระบบนิเวศในแปลงนา โดยมีการเก็บข้อมูลศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม นำมาจำแนก วิเคราะห์ และตัดสินใจร่วมกันของแกนนำและสมาชิกที่ร่วมกันเรียนรู้ และเลือกวิธีควบคุมศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการผลิตขยายจุลินทรีย์ และศัตรูธรรมชาติได้ด้วยตนเอง โดยมีกลไกท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ เกษตรกร องค์กรท้องถิ่น และภาครัฐ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชอยู่หลายส่วน เช่น ส่วนกลาง ได้แก่ ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์บริหารศัตรูพืช สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต และสำนักงานเกษตรอำเภอ ซึ่งการใช้สารสมุนไพร สารชีวะภัณฑ์ ไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ เป็นการแก้ปัญหาได้ในระยะยาว ช่วยให้ธรรมชาติสมดุล ไม่มีศัตรูพืชระบาด ประหยัด เพราะวัสดุส่วนใหญ่มีอยู่ในท้องถิ่น

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณชัด ขำเอี่ยม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท หมู่ที่ 2 ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 17000 โทร. (056) 421-512 โทรสาร (056) 421-513

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05046010354&srcday=&search=no


------------------------------------------------------------------


หน่วยพิฆาตหนอน

แมลงตัวห้ำ (Predators) : เป็นแมลงที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร เช่น แมงมุม แมลงปอ ตั๊กแตน มวน แมลงหางหนีบ ด้วงเต่า เป็นต้น

แมลงตัวเบียน (Parasitoids) : เป็นพวกปรสิต ที่จะหากินหรืออาศัยอยู่ในตัวเหยื่อ (ศัตรูธรรมชาติ) ลักษณะการฆ่า ได้แก่ การวางไข่ในตัว ในดักแด้ ในไข่ของเหยื่อ และจะกัดกินจากภายใน เช่น แตนเบียน แมลงวัน

ในธรรมชาติจะมีแมลงมากมายหลายชนิดที่กินหรือทำลายแมลงที่เป็นศัตรูพืช แมลงพวกนี้เรียกว่า ตัวห้ำ และ ตัวเบียน ซึ่งเราควรที่จะอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ เนื่องจากว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์ คือ ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เรานั่นเอง ควรจะอนุรักษ์หรือไม่ทำลายแมลงกลุ่มนี้ โดยปล่อยให้ขยายพันธุ์ต่อไป ตัวอย่างของแมลงกลุ่มนี้ ได้แก่

ตั๊กแตนตำข้าว : มีอยู่หลายชนิด สีสันแตกต่างกันไป ไข่มีสีฟางข้าว และมีสารคล้ายฟองน้ำหุ้มไข่อยู่ โดยยึดติดอยู่กับกิ่งไม้หรือใบหญ้า ตั๊กแตนตำข้าวสามารถจับเพลี้ยอ่อนกินเป็นอาหาร ส่วนตัวใหญ่ ๆ ก็สามารถจับตั๊กแตนหนวดสั้น ผีเสื้อ กินได้เช่นกัน

ด้วงเต่า : ในเมืองไทย มีประมาณ 100 ชนิด ทั้งประเภทที่มีลายจุด หรือสีพื้น เช่น สีเหลือง แดง ดำ ด้วงเต่าจัดเป็นนักล่าเพลี้ยอ่อนเป็นอาหาร คือ สามารถจับเพลี้ยอ่อนกินได้ 40 ตัวในหนึ่งชั่วโมง

นอกจากเพลี้ยอ่อนแล้วยังกินพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งน้อยหน่า หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ไร ด้วงเต่า จึงมีประโยชน์ในไร่ข้าวโพด ฝ้าย ยาสูบ สวนผักและผลไม้มีอายุ 2 – 3 เดือน ปีกท่อนบนมีสีดำ ท่อนกลางสีเหลือง ๆ ส่วนปลายเป็นสีน้ำตาล วางไข่เป็นกลุ่มไว้ตามกิ่งไม้

มวนเพชฌฆาตมีปากแหลม :
สารมารถเจาะลำตัวแมลงศัตรูพืช ดูดของเหลวจากตัวแมลงเหล่านั้น ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่กินเป็นอาหาร เช่น เจาะกินพวก หนอนกระทู้ หนอนต้นฝ้าย หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อข้าวสาร มวนเขียว เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ จนต่อมาตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัยที่ถูกดูดของเหลวจากลำตัวก็จะตายไป แมลงพวกนี้เป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ในสวนส้ม มะม่วง ลำไย ไร่ฝ้าย ไร่ยาสูบ เป็นต้น

แมลงปอ : จะบินโฉบเฉี่ยวหาอาหารไปเรื่อย ๆ จับแมลงที่ตัวเล็กกว่ากินเป็นอาหาร เช่น ศัตรูพืชพวกเพลี้ยต่าง ๆ และแมลงอื่น ๆ หลายชนิด แมลงปอบินได้เร็ว จับแมลงเล็ก ๆ เป็นอาหารได้คล่องแคล่ว แมลงปอจึงมีประโยชน์ต่อพืชไร่และพืชสวน

แมลงช้างปีกใส : จะจับแมลงศัตรูพืชกินเป็นอาหาร เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่น ไข่หนอนผีเสื้อ หนอนดิน หนอนกินใบฝ้าย หนอนเจาะสมอฝ้าย จัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อชาวไร่ชาวนา ชาวสวนได้มาก

แตนเบียนไข่ : เป็นแมลงที่วางไข่บนตัวแมลงต่าง ๆ คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีชมพู หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ไข่ผีเสื้อ หนอนเจาะลำต้นอ้อย หนอนกระทู้ผัก ต่อมาไข่ก็จะเจริญเป็นตัวอ่อนกัดกินตัวหนอนที่มันเกาะอยู่เป็นอาหาร จนตัวหนอนเหล่านั้นตาย จะเห็นได้ว่าแตนเบียนไข่เป็นแตน “เบียน” สมชื่อ เพราะวาง ไข่ทำลายแมลงได้หลายชนิด แมลงเหล่านี้สามารถที่จะทำลายแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้อีกทางหนึ่ง


----------------------------------------------------------------------



ม้ง จ.ตาก ไม่กินผักตัวเอง :

เมื่อครั้ง ดร.พิจิต รัตตกุล ขึ้นมาเป็นผู้ว่า กทม. คาดเดาว่า ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเรื่องหนึ่งว่า อาหารที่ประชาชนบริโภคนี้มีสารเคมีปนเปื้อน จึงคาดเดาอีกว่า ผู้ว่า กทม. ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างมาก ถึงกับวางแผนล้วงลึก เพื่อให้รู้ว่า ตัวปัญหาจริงๆมันคืออะไร อยู่ที่ไหน เพราะตระหนักดีว่า หากแก้ปัญหานี้ได้ เท่ากับได้รับใช้ประชาชนที่เลือกเข้ามาแล้ว ประเดิมไปพูดคุยกับแม่ค้าขายผักในตลาด

ผู้ว่าฯ : แม่ค้าขายผักสดแบบนี้มานานหรือยัง ?
แม่ค้า : ปีนี้ครบ 20 ปีพอดีค่ะ

ผู้ว่าฯ : รายได้ดีไหม ?
แม่ค้า : จะว่าดีก็ดีค่ะ พอส่งลูกเรียน

ผู้ว่าฯ : เป็นแม่ค้าขายผัก แค่ขายทำไมต้องมีผ้าปิดจมูกด้วยล่ะ ?
แม่ค้า : อ๋อ หมออนามัย กทม.นั่นแหละค่ะ แนะนำให้ปิดจมูกด้วย

ผู้ว่าฯ : เพราะอะไรเหรอ หมออนามัยได้บอกเหตุผลไหม ?
แม่ค้า : หมอบอกว่า ในผักมีสารเคมีฆ่าแมลงที่เกษตรกรเขาฉีด ถ้าเราหายใจเข้าไปบ่อยๆ ประจำๆ อาจทำให้เราเจ็บป่วยได้

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ เหลือบมองแม่ค้ารอบข้าง หลายคนมีผ้าปิดจมูก เห็นชัดว่านี่คือ ผลงานของทีมงานสาธารณสุข .... หันมาสนใจแม่ค้าต่อ) แล้วเกษตรกรที่เอาผักมาส่ง เขาบอกหรือเปล่าว่า เขาฉีดมากหรือน้อยแต่ไหน ?
แม่ค้า : โฮ้ยยยย เขาจะบอกอะไรค่ะ ถามเขาๆก็บอกว่า ฉีดนานแล้ว ฉีดหลายวันแล้ว วันนี้ยาหมดฤทธิ์แล้วทั้งนั้นแหละ

ผู้ว่าฯ : แล้วคนกินคนซื้อล่ะ เขาว่ายังไงบ้างไหม ?
แม่ค้า : ก็ไม่เห็นใครว่าอะไรนี่คะ ถ้าผักไม่สวยนั่นแหละ เขาจะติ แล้วขอลดราคา

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองผัก วางหน้าคิ้วย่น แล้วพูดลอยๆ) ผักสวย ผักไม่สวย
แม่ค้า : ใช้ค่ะ เกษตรกรเขาบอกว่า ถ้าไม่ฉีดยา หนอนจะเข้ามากัดกินผัก ทำให้ผักไม่สวย

ผู้ว่าฯ บอกกล่าวขอบคุณกับอวยพรขอให้ขายดีๆ เดินต่อไปที่แม่ค้าถัดไป 2-3 แผง

พูดคุยสอบถามทุกเจ้า ไม่น่าเชื่อว่า ทุกคำถามเดิมล้วนได้คำตอบแบบเดียวกันทั้งสิ้น

กระทั่งหันมาพูดคุยกับ จนท.เกษตร ที่ร่วมทีมตรวจเยี่ยมมาด้วย

ผู้ว่าฯ : คุณเกษตรฯ การเกษตรของไทยกับสารเคมีนี่ต้องคู่กันเลย ใช่ไหม ?
เกษตร : ไม่จำเป็นหรอกครับ อยู่ที่ตัวเกษตรกรเองว่า จะใช้หรือไม่ใช้ เพราะถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่สารเคมีแทน แต่เกษตรกรเลือกใช้แต่สารเคมีเท่านั้น

ผู้ว่าฯ : แล้วเกษตรกรเขารู้ถึงอันตายของสารเคมีไหม
เกษตร : รู้ยิ่งกว่ารู้อีกครับ ไม่ใช้รู้อันตรายอย่างเดียว คนที่ตายเพราะสารเคมีก็รู้ แต่เขาก็ยังใช้ เขาอ้างว่า ง่ายดี สะดวกดี เร็วดี

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ มองหน้าบรรดาคณะผู้ติดตามแล้วพบรอยยิ้มที่ไม่สดชื่นนัก และแล้วเหมือนผู้ว่าฯ จะคิดอะไรได้บางอย่าง หันไปทางแม่ค้าขายผัก แล้วออกปากถาม) แม่ค้า บอกได้ไหม ผักบนแผงตลาดนี้ มาจากจังหวัดไหน แม่ค้ารู้ไหม ?
แม่ค้า : มาจากจังหวัดตากค่ะ ส่งถึงตลาดนี่ราว ตี.2 ทุกวันค่ะ

ผู้ว่าฯ : คือว่า ผมจะตามไปดูผักในแปลงเลย ไปดูว่า เกษตรกรคนปลูกเขาจะแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนได้ไหม ?
แม่ค้า : ดีค่ะท่าน นอกจากเขาจะปลอดภัยเองแล้ว คนขายบนแผงที่นี่ คนซื้อคนกินที่บ้าน ก็จะปลอดภัยด้วย

จากวันพบแม่ค้าผักในตลาด รวมเวลาได้ราว 7 วัน คณะผู้ตรวจนำโดย ผู้ว่า กทม.กับคณะชุดเดิมก็ปรากฏตัวที่สวนผัก เกษตรกร จ.ตาก

ผู้ว่าฯ : ปลูกผักเยอะไหม ? ซี่กี่ไร่ ?
ม้ง : เฉพาะของผมคนเดียว 20 ไร่ ของญาติพี่น้องอีก รวมแล้ว 100 ไร่ครับ

ผู้ว่าฯ : ทำมานานหรือยัง ?
ม้ง : 10 20 ปีแล้วครับ

ผู้ว่าฯ : ทำแล้วส่งกรุงเทพมาตลอดเลยเหรอ ?
ม้ง : ใช่ครับ ส่งประจำ เป็นขาประจำครับ

ผู้ว่าฯ : ผักที่นี่ใช้สารเคมีไหม ?
ม้ง : ใช้ครับ ใช้มากด้วยครับ

ผู้ว่าฯ : ไม่ใช้ไม่ได้หรือ ?
ม้ง : ไม่ได้ครับ ผักไม่ฉวย คนกรุงเทพโง่ ชอบกินแต่ผักฉวยๆ

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มเจื่อนๆ แล้วถามม้งต่อ) แล้วม้งก็กิน ไม่กลัวตายหรือ ?
ม้ง : ม้งไม่ได้กิน หมาม้งก็ไม่กิน ม้งกินผักแยกปลูกต่างหาก

ผู้ว่าฯ : (ผู้ว่าฯ คณะผู้ติดตาม ยิ้มแหยๆ ส่านหัว ไม่ถามต่อ) ขอบคุณมาก

ผู้ว่า กทม. ก้มหน้าครุ่นคิดอย่างหนัก ก้าวเท้าถอยห่างออกมา ท่าทางเหมือนจะเดินไปที่รถ ผิดปากเงียบ แม้แต่คำขอบคุณ คำบอกลา เจ้าของสวนก็ไม่มี เช่นเดียวกับทุกคนในคณะที่ต่างพากันปิดปากเงียบ ไม่พูดแต่กำลังคิด คิดอย่างหนัก คิดอยู่ว่า ในเมื่อคนซื้อคนกินต้อง การ “ผักฉวยๆ-ผักฉวยๆ” ฉะนี้แล้วจึงจำเป็นต้องระดมสารเคมียาฆ่าแมลงให้จงหนัก นั่นแล


------------------------------------------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2021 3:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะสารเคมี :

กว่าทศวรรษ จำ พ.ศ.ไมได้ แต่จำได้แม่นไม่เคยลืมว่า รายการสีสันชีวิตไทย ตรงนี้มี BIOKING เป็นสปอนเซอร์ ได้ไปร่วมออกงานที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายไต้กรอบของงานสัมมนา “ส้มสีทองแห่งล้านนา” เพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนส้มกุน ย่านเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง รวมแล้วกว่า 3,000 คน

งานนี้เริ่มด้วย นักวิชาการด้านไม้ผลโดยเฉพาะ จากมหาลัยเชียงใหม่ โหมโรงส้มโชกุนดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ปลูกแล้วรวย รวย รวย เป็นส้มเปลือกล่อนสายพันธุ์เดียวที่ผลเป็นสีเหลืองทอง เป็นโหงวเฮ้งแห่งโชคลาภ ปลูกแล้วจะสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของสวน แรงงานลูกจ้างมีรายได้แน่นอน เศรษฐกิจท้องถิ่นทุกวงการดีไปถึงระดับชาติ ทุกอย่างดีทั้งนั้น ฟังแล้วเคลิ้ม ราวกับว่าเป็นผลไม้วิเศษ .... นักวิชา การจบแล้ว ต่อด้วยเกษตรกรเจ้าของสวน

รายแรก ..... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงใหม่ สาธยายถึงรายได้ที่คาดว่า (เน้นย้ำ....คาดว่า) จะได้ เป็นตัวเลขหลักล้าน กว่า 10 ล้าน แต่วันนี้รายได้นี้ยังลอยอยู่ในอากาศ ไม่สามารถจับมาไว้ในกำมือได้ เนื่องจาก “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้.....ฯลฯ

รายที่สอง .... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงราย วันนี้รวมกลุ่มมาได้ 10 แปลง รวมเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ผลผลิตโชกุนส่งเข้าตลาด จีน พม่า ไม่ได้เพราะส้มโชกุนของจีน พม่า ราคาถูกกว่าของไทย โชกุนเชียงรายจึงต้องส่งกรุงเทพตลาดเดียว ปัญหาวันนี้คือ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้.....ฯลฯ

รายที่สาม ....ทำสวนโชกุน อยู่ลำพูน ส่งตลาดที่หนองคาย ขายปลีก กก.ละ 22 บาท โดนโชกุนจากฝั่งลาวเข้ามาตีตลาด ขาย กก.ละ 14 บาท ส้มจากลำพูนขายต่ำกว่านี้ไม่ได้เพราะต้นทุนอยู่ที่ กก.ละ 8 บาท จึงอยากให้รัฐบาลห้ามนำเข้าส้มโชกุนจากประเทศลาว...ฯลฯ

รายที่สี่ .... ทำสวนโชกุน อยู่ลำปาง ต้องส่งตลาดกรุงเทพ ต้องเสียค่าขนส่งแพง ปัญหาวันนี้เหมือนที่เชียงราย คือ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ

รายที่ห้า .... ทำสวนโชกุน อยู่เชียงใหม่ รวมกลุ่มทำ รวมเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ ทุกสวนกู้เงินสหกรณ์ กู้เงิน ธ.ก.ส. จนเต็มเพดานกู้แล้ว วันนี้ “ไม่มีทุน” ที่ต้องจ่าย ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ

รายที่หก .... เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ
รายที่สิบ .... เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ
รายที่สิบห้า .... เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ

เจ้าของสวนโชกุนทุกราย พบกับปัญหาเดียวกัน ..... เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อยเงินกู้ .....ฯลฯ

บัดดลนั้น ชายหนุ่ม นั่งอยู่แถวท้ายสุดของห้องประชุม ลุกขึ้นเดินผ่ากลางห้องประชุม ตรงขึ้นเวที ด้วยบุคลิกที่ไม่ใช่ชาวสวน แล้วเขาเป็นใคร.....?

“สวัสดีครับ ท่านผู้จัดการสวนส้ม ทุกๆท่าน .... ผม ในนามของกลุ่มธนาคารพานิช 12 สาขา เชียงราย เชียง ใหม่ ลำพูน ลำปาง ขอชี้แจงต่อท่านผู้จัดการสวนส้มทุกท่านด้วยความจริงใจว่า..... (เว้นวรรค อึดใจใหญ่ๆ) ทุกท่านมีความสามารถในการผลิตส้มเป็นอย่างมาก ยอมรับจริงๆ ท่านมีฝีมือบำรุงส้มจนได้ผลผลิตอย่างที่เห็นๆ แต่น่าเสียดายที่ท่านไม่มีแผนการบริหารต้นทุนเลย การที่ผลผลิตของท่านขายแล้วได้ต่ำกว่าทุน นั่นคือขาดทุน นั่นคือความผิดพลาดที่แท้จริงที่ไม่อาจะปฏิเสธ ..... อาชีพของธนาคาร คือ ปล่อยเงินกู้เพื่อเอาดอกเบี้ย ดอกเบี้ยคือรายรับของธนาคาร เราต้องการให้ท่านมาเป็นลูกค้าของธนาคารเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเราพิจารณาแผนการบริหารต้นทุนอย่างละเอียดแล้ว ขอบอกว่า เงินกู้ที่ออกไปนั้นต้องสูญเปล่าแน่ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ สหกรณ์ ธ.ก.ส. เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด .... สุดท้ายนี้ ผมขอยืนยันว่า ธนาคารทุกสาขา ยินดีปล่อยเงินกู้ แต่มีข้อแม้ว่า ผู้กู้ต้องมี แผนการบริหารต้นทุน ที่ดี และชัดเจนกว่านี้....”

ผู้แทนธนาคารเดินลงจากเวที ย้อนกลับมาที่นั่งเดิม โดยไม่มีเสียงปรบมือแม้แต่แปะเดียว สักครู่ผู้แทนธนาคารทั้งหมดก็ลุกออกไปจากห้องประชุม

บรรยากาศในห้องประชุมต่อจากนั้น อื้ออึงด้วยเสียงคนเป็นร้อยๆ จนฟังกันไม่รู้เรื่อง เจ้าของสวนหลายคน กับนักวิชาการ เริ่มเดินออกจากห้องประชุม ไม่นานความเงียบก็เข้าครอบคลุมห้องประชุม นั่นคือ “ปิดประชุม....”

------------------------------------------------------------------------



เซียนส้ม บ.สารเคมี :

ได้รับการเชิญชวนไปงานเลี้ยงโต๊ะจีน ที่บริษัทขายสารเคมียาฆ่าแมลงจัดขึ้น เป็นวัฒนธรรมของบริษัทขายสารเคมีอยู่แล้วว่า เมื่อครบกำหนดปิดงบประจำปี จะรู้ตัวเลขรายได้ของบริษัทประจำปีนั้นเป็นเท่าใด ซึ่งแน่ละว่าต้องมี “กำไร” ส่วนจะกำไรหลักร้อยล้าน หรือพันล้านค่อยว่ากัน โอกาสเยี่ยงนี้ต้องจัดงานเลี้ยง “คืนกำไร” ให้กับลูกค้า แม้จะต้องตัดกำไรส่วนหนึ่งมาจัดงาน ในความเป็นจริง ใช่ว่าจะต้องจ่ายก็หาไม่ เพราะในงานเลี้ยงนี้ยังสามารถ MAKE MONEY ได้อีกด้วย

บริษัทร่อนการ์ดเชิญไปยังลูกค้ารายใหญ่ๆ ก่อนอันดับแรก แล้วเลือกลูกค้ารายรองลงมาเป็นอันดับสอง ซึ่งน้อยกว่าอันแรก แล้วยังเผื่อแถมลูกค้าใหม่แห่งอนาคตอีกส่วนหนึ่งด้วย

งานเลี้ยงโต๊ะจีน 300 โต๊ะ โต๊ะละ 10 คน ถือว่าไม่มากเลยสำหรับบริษัทขายสารเคมีที่กำไรหลักพันล้าน ในขณะเดียวกัน ในงานยังมีโปรโมชั่นให้จองสินค้าล่วงหน้าสำหรับรุ่นการผลิตหน้า หรือสั่งซื้อในงานวันนี้ ทั้งสั่งจองสำหรับรุ่นการผลิตหน้าและสั่งซื้อในงานวันนี้เลย จะได้รับส่วนลดชนิดที่ผู้ซื้อพอใจสุดๆ

ภาษิตยิวบอกว่า “ไม่มีพ่อค้าใดในโลกยอมขาดทุนกำไร” งานนี้แม้จะลดราคาสุดๆ แล้ว บริษัทก็ยังกำไร แล้วที่ว่า บริษัทคืนกำไรให้แก่ลูกค้า มันอยู่ที่ไหน นี่คือ อีกรูปแบบหนึ่งกลยุทธการตลาด ของการทำธุรกิจสารเคมียาฆ่าแมลงไหม ?

เวลาในนาฬิกาเพิ่งจะเริ่มค่ำ อาหารเริ่มวางได้ 2 อย่างใน 10 อ ย่าง งานเลี้ยงวันนี้ไม่มีคนตรีแต่มีเวทีขนาดใหญ่ ได้เวลาโฆษกที่บริษัทจัดมาเป็นการเฉพาะกับงานวันนี้

“สวัสดีครับ ท่านพ่อแม่พี่น้องเกษตรกร ชาวสวนส้ม สวนไม้ผล ชาวนาข้าว และชาวสวนผัก ....
สวัสดีครับ เถ้าแก่ผู้มีน้ำใจสำหรับเกษตรกร ทุกร้าน ทุกอำเภอของจังหวัด ....

ขอพูดจากใจจริงว่า วันนี้บริษัทของเรามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสตอบแทนบุญคุณ คืนกำไร แก่ทุกท่าน และที่น่ายินดีอย่างยิ่ง สำหรับเถ้าแก่สวนส้มรุ่นใหม่ ที่ทำรายได้ได้สูงอย่างคาดไม่ถึง เรียกว่า สูงกว่าทุกปีในอดีต หรือจะเรียกว่าทำลายสถิติ ทั้งของตัวเองและของคนอื่น ก็ว่าได้....”

โฆษกรับหน้าที่พูดก็ต้องพูด เพราะบริษัทจัดงานมอบหมาย เมื่อพูดนำเข้าพิธีเรียบ ร้อยแล้ว ทิ้งช่วงเวลาเล็กน้อยก่อนเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า “ไคลแม็กซ์” ของงาน .... โฆษกเริ่มบรรเลงบรรลัยไม่ไล่ไม่เลิกตามสูตร ด้วยลีลามืออาชีพอย่างแท้จริง เริ่มด้วยโฆษณาสารเคมียาฆ่าแมลงสินค้าตัวเก่าที่ทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้วก่อน แล้วต่อเติมเสริมเพิ่มด้วยสารเคมียาฆ่าแมลงตัวใหม่ กับปุ๋ยทางใบตัวใหม่ ใหม่เอี่ยมแกะกล่องป้ายแดงจริงๆ

“สวัสดีครับ ท่านพ่อแม่พี่น้องเกษตรกร บัดนี้ได้เวลาที่พวกเราจะได้รู้จัก เกษตรกรชาวสวนส้มระดับ “เซียน” (.... ฝ่ายควบคุมเสียง ปรับแอมพลิฟลายเออร์เป็นสัญญาณที่คำว่า “เซียน” เพื่อให้ฟังแล้วขลังขึ้น) เป็นที่น่ายินดีว่า ปีนี้เรามีเซียนมากขึ้นจากปีที่แล้วถึง “4 เซียน” (.... ฝ่ายควบคุมเสียง ปรับแอมพลิฟลายเออร์เป็นสัญญาณที่คำว่า “4 เซียน” เพื่อให้ฟังแล้วขลังขึ้น อีกครั้ง) ปีนี้เซียนเล็ก ระดับกำไร ล้านขึ้น 6เซียน ระดับกำไร 10ล้านขึ้น 4เซียน และระดับกำไร 20ล้านขึ้น 2เซียน (.... ฝ่ายควบคุมเสียง ปรับแอมพลิฟลายเออร์เป็นสัญญาณที่คำว่า “ล้านขึ้น 10ล้านขึ้น 20ล้านขึ้น” เพื่อให้ฟังแล้วขลังขึ้น ทุกครั้ง)

หมายเหตุ :
ระดับเซียน 1 ล้านขึ้น คือ สวนส้มขนาด 10-20 ไร่
ระดับเซียน 5 ล้านขึ้น คือ ส่วนส้มขนาด 50-100 ไร่
ระดับเซียน 10 ล้านขึ้น คือ สวนส้มขนาด 200-300 ไร่

สวนส้มเขียวหวาน คลองเก้า บึงกาสาม หนองเสือ ปทุมธานี เจ้าของสวนส้ม 300 ไร่ (ที่ตัวเอง 50 ไร่ ที่เช่า 250 ไร่) วันนี้รับโล่เซียน 10 ล้านขึ้น เป็นโล่อันที่ 3 จากการรับ 3 ปีซ้อน จากบริษัทนี้ ....

ส้มเขียวหวาน 300 ไร่ ต้นทุนค่าสารเคมียาฆ่าแมลงอย่างเดียว ตกไร่ละ 50,000-70,000 ตามสภาพอากาศ นี่คือรายได้ของบริษัทเจ้าของโล่ คุ้ม/ไม่คุ้ม คิดเอาเอง ....

ต้นทุนค่าสารเคมีอย่างเดียว 5-7 หมื่น นี่ไม่รวม ค่าปุ๋ย ค่าแรงงานวันละ 10 คน ค่าน้ำมันเรือปากเป็ดรดน้ำ เป็นไปได้ไหม ต้นทุนส้มเขียวหวานแปลงนี้ตกไร่ละ 100,000ขึ้น ต่อรุ่น ....

แรงงาน 10คน .... 5คนรับงานรับงานแล่นเรือปากเป็นรดน้ำทุกวัน แต่ต้นไม้ได้รับน้ำ 3 วัน/ครั้ง .... 5คนรับงานแล่นเรือแอร์บลาสส์ฉีดสารเคมีทุกวัน แต่ต้นไม้ได้รับสารเคมี 3 วัน/ครั้ง....

สวนนี้สารเคมีแรงมาก ทำส้มผิวบางมดโดยปล่อยให้เพลี้ยจักจั่นให้เข้าเกาะผิวส้ม เข้าเกาะ 3 วันแล้วต้องเร่งระดมฉีดสารเคมีฆ่าเพลี้ยจักจั่น ฉีดให้เสร็จสิ้นใน 3 วัน ระยะนี้ระยะเดียวต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก (ส้มผิวบางมด ผิวจะตกกระ แต่เนื้อในรสชาติดีกว่าส้มผิวสวยปกติ ทำให้ราคาแพงกว่าส้มผิวนวลสวย กก.ละ 3-4 บาท สั่งล่วงหน้า)

ปีที่ลุงคิมไปร่วมรับโล่ เป็นโล่อันที่ 3 รู้มาว่า ขายส้มรุ่นนั้นปีนั้นเสร็จแล้ว ส่วนที่เป็นกำไรแท้ๆ ถอยจี๊บเซโรกี ป้ายแดง ออกมาได้....

----------------------------------------------------------------------



ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ได้ 1 เสีย 10

ได้ ..... 1. สะใจ หนอนแมลงตายต่อหน้าต่อตา
เสีย .... 1. เงิน
2. แรงงานไม่อยากฉีด
3. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนฉีดเสีย
4. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนในบ้านเสีย
5. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนกินเสีย
6. ลูกค้า ร่างกาย/จิตรใจ เสีย
7. แมลงธรรมชาติ เสีย
8. ดิน/น้ำ/อากาศ ธรรมชาติ เสีย
9. รักษาพยาบาลยาก ถึงรักษาไม่ได้
10. เศรษฐกิจชาติ ชื่อเสียง/เครดิต ประเทศชาติ เสีย เสียลง เสียลงเรื่อยๆ

ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ได้ 10 เสีย 1

ได้ ..... 1. ประหยัดเงิน
2. แรงงานพอใจฉีด ได้เงิน ไม่อันตราย
3. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนฉีดดี
4. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนในบ้านดี
5. สุขภาพ ร่างกาย/จิตรใจ คนกินดี
6. ลูกค้า ร่างกาย/จิตรใจ ดี
7. แมลงธรรมชาติ เสีย
8. ดิน/น้ำ/อากาศ ธรรมชาติ ดี
9. เจ็บป่วยรักษาพยาบาลง่าย รักษาเองได้
10. เศรษฐกิจชาติ ชื่อเสียง/เครดิต ประเทศชาติ ดี ดีขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ

เสีย .... 1. เงินค่า ทำเอง/ซื้อ แต่ถูกกว่าสารเคมียาฆ่าแมลง 100-1,000 เท่า

-------------------------------------------------------------------



สาบเสือ สมุนไพร 500 ชื่อ

วันนั้นอยู่ที่ ชมรมสีสนชีวิตไทย สาขาไร่เลิศสรานนท์ บ้านหนองจาน หัวลำ ท่าหลวง ลพบุรี ภารกิจบรรยายเรื่อง การเกษตรแบบอินทรีย์ นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม โดยมีสำปะหลังเป็นพืชนำ วันนี้มี สมช.สายไร่เลิศสรานนท์มารับฟังราว 30 คน

ระหว่างเตรียมการบรรยาย คทาชาย 4 คน นั่งอยู่ใกล้ๆ กำลังถกแถลงเรื่องสาบเสือ แม้ไม่ได้ฟังเสียงมันเข้าหู

ชาย ก. : นี่แหละสาบเสือ ฆ่าหนอนได้ ฆ่าเชื้อราได้
ชาย ข. : ไม่ใช่ นี่มันเสือหมอบ ไม่ใช่เหรอ ?
ชาย ค. : แถวบ้านผมเรียกฝรั่งรุกที่
ชาย ง. : ทั้งหมดที่ว่ามาไม่ถูกชักคน เขาเรียกบ้านร้าง คิดซี่ ถ้ามันขึ้นรอบบ้านมาก คนจะเข้าบ้านไม่ได้ บ้านก็ร้างไง

ชาย ข. : มึงก็ว่าเรื่อยเปื่อย หญ้ามันขึ้นในบ้านก็ถางออกซี่ แล้วบ้านจะร้างได้ไง
ชาย ค. : คงไม่แค่นี้หรอกมั้ง หญ้าตัวนี้มาจากเมืองนอกเหมือนฝรั่ง หญ้ามันรุกที่ก็เหมือนฝรั่งรุกที่ ว่ามั้ย

ชาย ข. : แล้วที่ต้นสูงๆ ขึ้นเป็นดงแน่น เสือเข้าไปหลบได้ ไม่เรียกว่าเสือหมอบเหรอ ?
ชาย ก. : ญาติกันอยู่ราชบุรี ที่นั่นเรียกผักคราด รกแน่นมาก ปลูกสำปะหลังไม่ได้เลยแหละ
ชาย ง. : อือว่ะ ญาติที่ชลบุรี บอกว่าที่นั่นเรียกหมาหลง หญ้ามันขึ้นแน่นมาก ขนาดหมาเดินไปเข้าไปแล้วมองไม่เห็นทาง ออกไม่ได้

ชาย ข. : ที่จริง อยู่ที่ไหนน่าจะเรียกชื่อตามที่นั่นนะ
ชาย ง. : งั้นอยู่ที่นี่ พูดกับคนที่นี่เรียกชื่อตามที่นี่ แล้วพูดกับคนที่อื่นล่ะ เขาจะรู้ด้วยไหม ?
ชาย ก. : งั้นก็ต้องเรียกตามที่ ที่คนนั้นอยู่ซี่
ชาย ค. : ว่านะ เรียกอะไรก็ได้ เรียกแล้วขอให้คนที่คุยด้วยรู้เรื่องก็แล้วกัน....ถามลุงดีกว่า

ลุงคิม : อืมมม ไอ้ตัวนี้ ไร่กล้อมแกล้มเรียก “อั้ยง่องแง่ง” ว่ะ
ชาย ก. ชาย ข. ชาย ค. ชาย ง. : ไอ้ง่องแง่ง.....

ลุงคิม : (คทาชายทั้ง 4 อุทานพร้อมกัน) เอาน่า มันจะเชื่ออะไรก็สุดแท้เถอะนะ ขอแต่ให้บอกกันพูดกัน แล้วรู้เรื่องด้วยกันก็พอแล้ว เรื่องชื่อเนี่ย ไม่รู้เหรอ คนไทยน่ะเก่งทั้งนั้น รู้มากรู้น้อย รู้จริงไม่จริง ตั้งชื่อเอาเอง บ้านละชื่อๆ ๆๆ นี่ไง หญ้าเสือหมอบ, รำเคย, ผักคราด, บ้านร้าง, ยี่สุ่นเถื่อน, ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่, หญ้าดอกขาว, หญ้าเมืองวาย, พาทั้ง, หญ้าดงรั้ง, หญ้าพระสิริไอสวรรค์, มุ้งกระต่าย, หญ้าลืมเมือง, หญ้าเลาฮ้าง, สะพัง, หมาหลง, นองเส้งเปรง, ไช้ปู่กุย, หญ้าเมืองฮ้าง, หญ้าเหมือน, หญ้าฝรั่งเศส, เบญจมาศ, เซโพกวย, มนทน, ปวยกีเช่า, เฮียงเจกลั้ง. ตัวเดียวกันที้งนั้น .... รึจะชื่อ “ไอ้ห้าร้อยชื่อ” ดีไหม ?

--------------------------------------------------------------------



เรือแอร์บลาสส์ติดแอร์ คันละ 250,000 :

“สาวหอม” กับ “หนุ่มเหม็น” เพื่อนต่างเพศ หญิงจริงๆชายแท้ๆ อายุเท่ากัน บ้านติด กัน คบกันมาตั้งแต่เด็ก ทำสวนชมพู่ทับทิมจันทร์เหมือนกัน ยกร่องน้ำหล่อเหมือนกัน เนื้อที่ 20 ไร่เท่ากัน รดน้ำด้วยเรือปากเป็ดเหมือนกัน ให้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงตัวเดียวกัน ทำพร้อมกัน เก็บเกี่ยวพร้อมกัน ขายส่งตลาดพร้อมกัน .... สายแล้วของวันนั้น

สาวหอม : อั้ยเหม็น หว่านปุ๋ยเสร็จรึยัง ?
หนุ่มเหม็น : เสร็จแล้ว

สาวหอม : วันนี้ให้น้ำเลยไหม ?
หนุ่มเหม็น : ก็ได้ ของมึงมีใครช่วยไหม ?

สาวหอม : ไม่มี วันนี้พ่อไม่อยู่ ไปธุระ ต้องทำคนเดียว
หนุ่มเหม็น : อืมมมม

หมายความว่า สวนยกร่องน้ำหล่อ ให้ปุ๋ยทางรากโดยหว่านปุ๋ยเปล่าๆไปก่อน แล้วแล่นเรือปากเป็ดรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย ราว 9 โมงเช้า ทั้งสองเริ่มแล่นเรือทำงาน เที่ยงกว่าๆ ทั้งสองขึ้นบ้านตัวเอง กินเข้าเที่ยง บ่ายโมงกว่าลงแปลงต่อรอบสอง เกือบบ่าย 3 โมงจึงเสร็จกับสวนยกร่องน้ำหล่อขนาด 20 ไร่

สาวหอม : เมื่อเช้าฟังรายการวิทยุทหาร เขาบอกว่า ใช้สปริงเกอร์ให้น้ำ สวนขนาด 20 ไร่นี่ใช้เวลา 4 ชม. นี่ถ้าเราทำงาน 9 โมง แค่บ่ายๆก็เสร็จแล้ว ว่ามั้ย
หนุ่มเหม็น : สปริงเกอร์น้ำไม่แรง ไม่พอให้ชมพู่หรอก

สาวหอม : ไม่แรงก็ปรับให้มันแรง ไม่พอก็ให้นานๆ จะไม่พอได้ไง
หนุ่มเหม็น : สปริงเกอร์มันได้แต่แปลงผัก แปลงไม้ผลไม่ได้หรอก

สาวหอม : ในวิทยุเขาบอกว่า เขาให้กับมะม่วง มะม่วงกับชมพู่มันก็เหมือนกันนี่นา
หนุ่มเหม็น : เป็นไปไม่ได้ กูไม่เชื่อว่ะ

สาวหอมครุ่นคิด ในความคิดนั้นมองเห็นภาพ หัวสปริงเกอร์พ่นน้ำเหนือทรงพุ่ม กับหัวสปริงเกอร์พ่นน้ำอยู่โคนต้น จะทำงานพ่นน้ำเหนือทรงพุ่มก็เปิดวาวล์เหนือทรงพุ่มแล้วปิดวาวล์โคนต้น จะทำงานพ่นน้ำโคนต้นก็เปิดวาวล์โคนต้น แล้วปิดวาวล์เหนือทรงพุ่ม สาวหอมคิดซ้ำวาดจินตนาการซ้ำ ซ้ำหลายๆรอบ 2วัน 3วัน ซ้ำจนมั่นใจว่าทำได้ สาวหอมตัดสินใจคุยกับพ่อกับแม่ วาดแผนผังสปริงเกอร์บนแผ่นกระดาษ พร้อมคำอธิบายให้พ่อกับแม่ฟัง

ใช้เวลา 2 อาทิตย์ สาวหอมกับแรงงานผู้ชายข้างบ้าน 2 คน โดยมีพ่อกับแม่คอยซักคอยถามเพราะไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อน แล้วทุกอย่างก็สมบูรณ์แบบ พร้อมใช้งาน

ฝ่ายเพื่อนหนุ่มเหม็นถือโอกาสเข้ามาดูเขาทำงาน ดูจริงๆ ดูอย่างเดียว ไม่ได้ช่วย แถมตลอดเวลาอยากคัดค้านระบบสปริงเกอร์ แต่พูดไม่ออกเพราะพ่อกับแม่ของเพื่อนสาวเออออ ห่อหมกแล้วทุกอย่าง งานนี้สิ้นงบไปแสนกว่าๆ รวมค่าแรง ค่าขนส่งด้วย ....

แล้วงานประเดิมสปริงเกอร์ตัวใหม่ก็เริ่มขึ้น ทันที่หัวสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มพ่นน้ำออกมา สาวหอมพอใจ เข้าไปกอดพ่อ พ่อยิ้มกว้างด้วยความภูมิใจในลูกสาว สาวหอมเหลียวไปมองเพื่อน

สาวหอม : แบบนี้มึงว่าใช้ได้ไหม ?
หนุ่มเหม็น : ข้างบนทางใบ แล้วข้างล่างทางรากล่ะ

สาวหอม : ได้ เปลี่ยนวาวล์เลย
หนุ่มเหม็น : กูว่า ได้น้ำน้อยกว่าเรือว่ะ กับทางใบก็เปียกไม่ทั่วต้น

สาวหอม : ทั่วซิวะ มึงคอยดู

สาวหอมปล่อยให้ทางรากนาน 3-5-10 นาที เสียงแม่บอกให้หยุดน้ำได้แล้ว เพราะถ้าไม่หยุดน้ำมีหวังรากเน่าแน่

หนุ่มเหม็น : แล้วทางใบล่ะ

คราวนี้พ่อเดินไปเปลี่ยนวาวล์เปิดด้วยตัวเอง มองหน้าแม่ของลูกสาว มือหมุนวาวล์กับปากพูด ปิดวาวล์ราก.... เปิดวาวล์ใบ.... เอ้า เปิด....

สาวหอม : (สาวหอมส่งเสียงเชียร์พ่อ) เปิดเต็มที่เลยพ่อ
หนุ่มเหม็น : กูว่ามันก็ดีอยู่นะ แต่แพงจังว่ะเพื่อน

สาวหอม : คิดระยะสั้น คิดแค่ฉีดพ่นน้ำ ก็ว่าแพง แต่คิดระยะยาว ใช้งานได้ 10-20-30 ปี ตลอดอายุชมพู่ คิดถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลที่ลุงทหารพูด ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้ยาสมุนไพร ให้ยาเคมี ให้ได้ทุกเวลา เช้าสายเที่ยงบ่ายค่ำแม้แต่ฝนตกต่อแดด แรงงานคนเดียว ใช้ไฟฟ้าเดี๋ยวเดียว ไม่ต้องตากแดดหน้าดำ ไม่ต้องคร่ำเครียดให้มะเร็งกินอารมย์

หนุ่มเหม็น : (อ้าปากค้าง ยอมรับว่า ทุกคำที่เพื่อนหญิงพูด ก๊อปปี้คำพูดในรายการวิทยุเป๊ะๆ แต่ใจไม่ยอมรับ) แล้วแต่มึงเถอะ กูไปละ

สาวหอม : โชคดีเพื่อน

นับแต่วันเริ่มมีสปริงเกอร์ บัดนี้ในความขยันของสาวหอมมีความฉลาดเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งกระทง ไม่ว่าจะเปิดสปริงเกอร์ให้ทางใบเหนือทรงพุ่ม หรือให้ทางรากที่โคนต้น สาวผู้ใช้ “สมองแทนกำลัง” เดินแหวกละอองน้ำอยู่ที่โคนต้น ในมือถือกรรไกคอยไล่เล็มกิ่งที่ไม่ต้องการออก เหลียวมองไปทางพ่อกับแม่ก็เห็นว่าสดชื่นกับงานดี ทั้งร่างกายและจิตรใจเย็นสบาย

1 เดือนเต็ม ที่หนุ่มเหม็นเปรียบเทียบเนื้องานระหว่าง แล่นเรือปากเป็ดแบบชาวบ้าน กับระบบสปริงกอร์ บนเนื้อที่ 20 ไร่เท่าๆกัน อย่างแรกที่ไม่อาจปฏิเสธคือ ระยะเวลาในการทำงาน เรือปากเป็นใช้เวลา เช้า 3 ชม. บ่าย 3 ชม. รวมเป็น 6 ชม. แต่สปริงเกอร์ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ชม.เท่านั้น กระนั้นก็ยังไม่ลดละทิฐิ
หนุ่มเหม็น : เฮ้ยหอม กูว่าจะลงทุนซื้อเรือแอร์บลาสส์ เอามาแทนปากเป็ด มึงว่าจะดีไหม ?

สาวหอม : ราคาเท่าไหร่ล่ะ ไอ้แอร์บลาสส์ที่มึงว่าน่ะ
หนุ่มเหม็น : รุ่นเล็ก แค่แสนกว่าๆ

สาวหอม : ไม่แพงนี่หว่า พอๆกับสปริงเกอร์ของกูเลย แต่ดีกว่าสปริงเกอร์เพราะไมต้องวางท่อว่ะ เอาชิวะ จะได้ประหยัดเวลางาน แค่ข้ามวันเดียว เครื่องฉีดพ่นแบบติดตั้งบนเรือปากเป็ดก็มาสั่งถึงบ้าน พร้อมช่างเทค นิคทำการติดตั้ง ใช้เวลาอีกแค่ 2 ชม. เรือแอร์บลาสส์ใหม่เอี่ยมป้ายแดงก็พร้อมใช้งาน

หนุ่มเหม็น : เจ๋งว่ะหอม สุดยอดเลย
สาวหอม : (คิดเยี่ยงคนใช้สมองแทนกำลัง มองเห็นปัญหาเรือแอร์บลาสส์ .... 1.ใช้เวลานานกว่าสปริงกอร์ ....
2. น้ำที่พ่นขึ้นเหนือทรงพุ่มแล้วตกลงพื้น น้อยกว่าหัวพ่นสปริงเกอร์ ....
3. คนขับเรือโดนละอองน้ำเปียก ถ้าละอองน้ำนั้นเป็นสารเคมี จะเกิดอะไรขึ้น ....
4. ระหว่างใช้น้ำ ทำงานอื่นไม่ได้ ....
5. พ่อกับแม่ไม่เอาด้วย .... แต่ก็ยังให้กำลังใจเพื่อน) ดีว่ะ เอาซิวะ
6 เดือนผ่านไป ระหว่างแอร์บลาสส์เครื่องละแสนกว่า กับสปริงเกอร์ราคาแสนกว่า
เท่ากัน แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องานต่างกันชัดเจน

หนุ่มเหม็น : (ค่อยๆ ก้าวขาขึ้นจากเรือแอร์บลาส ท่าทางไม่ค่อยมีแรงเหมือนคนสุขภาพไม่ดี มองหน้าเพื่อสาวแล้วยิ้มไม่สดใสนัก) กูว่าแอร์บลาสส์นี่สู้สปริงเกอร์มึงไม่ได้ว่ะ

สาวหอม : (พยายามกลั้นหัวเราะ ไม่อยากถูกมองว่าซ้ำเติมเพื่อน) มันเป็นยังไงล่ะ
หนุ่มเหม็น : กูไปหาหมอมาเมื่อวานนี้ หมอบอกร่างกายกูรับสารเคมีมากไปหน่อยว่ะ

สาวหอม : แล้วมึงจะทำยังไงต่อไปล่ะ
หนุ่มเหม็น : สปริงเกอร์มึง ฉีดยายังไง ยาเคมีนะ ?

สาวหอม : สปริงเกอร์กู มีถังยาอยู่ที่ปั๊ม วันไหนฉีดยากูก็ไม่เข้าไปในสวน ฉีดยาแล้วปล่อยไว้ 2-3 วัน ให้ยาหมดกลิ่นจริงๆก่อน ค่อยเข้าไปก็ได้
หนุ่มเหม็น : แล้วมึงมีแผนอะไรอีกไหม ?

สาวหอม : มี อนาคตกูจะเลิกสารเคมียาฆ่าแมลง หรือใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ แล้วหันมาใช้ยาสมุนไพรแทน
หนุ่มเหม็น : แต่วันนี้มึงก็ใช้สารเคมีน้อยอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ ?

สาวหอม : ไม่ใช่ใช้น้อยอย่างเดียวนะมึง ชมพู่กูรสชาติดีกว่าเดิม อันนี้คนกินเขาบอกมา นี่แหละความสมบูรณ์ของต้น ที่รายการวิทยุเขาบอก ความสมบูรณ์สะสมไงล่ะ
หนุ่มเหม็น : อือว่ะ กูเชื่อมึง

สาวหอม : เชื่ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำด้วยโว้ย
หนุ่มเหม็น : เอากูรู้ พรุ่งนี้กูจะติดสปริงเกอร์แบบมึง

สาวหอม : ดี กูจะช่วย

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า สมองเหนือกว่ากำลัง ผู้หญิงก็เหนือกว่าผู้ชายได้....

---------------------------------------------------------------------------





40

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2021 4:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


ปลอดภัย (กว่า) จากสารเคมีการเกษตร :

ในงานศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เด็กอเมริกันโดยเฉลี่ยในแต่ละวันจะได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชราว 10-13 ชนิด จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งการเปลี่ยมให้เด็กมาบริโภคอาหารออร์แกนิค จะช่วยลดปริมาณสารเคมีในร่างกายได้ ซึ่งมีรายงานที่น่าสนใจหลายฉบับ เช่น

- งานวิจัยพบว่า เด็กที่กินอาหารและน้ำผลไม้ออร์แกนิค จะมีสารเคมีในปัสสาวะเพียง 1 ใน 6 ของเด็กที่บริโภคอาหารทั่วไป

- งานวิจัยพบว่า เมื่อเด็กเปลี่ยนมาบริโภคอาหารออร์แกนิค ปริมาณสารเคมีพวก malathion และ chlorpyrifos ในปัปัสสาวะลดลงจากระดับที่ตรวจพบได้เป็นระดับที่ไม่สามารถตรวจพบได้ ในทันที่เปลี่ยนการบริโภคอาหาร

- งานวิจัยของ USDA พบว่า การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารให้เป็นอาหารออร์แกนิคทั่วประเทศจะทำให้ความเสี่ยงในการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรลงได้มากกว่า 95%

หลายคนเชื่อว่า การบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรน้อยลง ย่อมดีต่อสุขภาพ ซึ่งมีงานวิจัยที่สนับสนุนความเชื่อนี้

- คณะกรรมการมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสุขภาพและบริการของสหรัฐอเมริกา (President's Cancer Panel, U.S. Department of Health and Human Service) ได้ระบุในรายงานประจำปี 2553 ว่า การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกา และมีข้อเสนอแนะในคนอเมริกันเปลี่ยนมาบริโภคอาหารที่ผลิตโดยการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ ในรายงานนี้ยังได้ระบุถึงความเสี่ยงของคนงานและเกษตรกร ที่ใช้สารเคมีการเกษตรว่า มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่เด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่การเกษตร ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น

- งานวิจัยที่เพิ่มเผยแพร่ในเดือนเมษายน 2554 ระบุถึงผลกระทบของผลกระทบของสารเคมีในกลุ่ม organophosphate ต่อการพัฒนาระบบประสาทและไอคิวของเด็กที่แม่ได้รับสารเคมีในกลุ่มนี้ โดยแม่ที่ตรวจพบสารเคมีกลุ่ม organophosphate ในปัสสาวะในระดับสูง ลูกที่คลอดออกมามีระดับไอคิวต่ำกว่า 7 จุด เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่แม่มีสารเคมีนี้ต่ำ

- งานวิจัยในปี 2553 ที่สำรวจเด็กกว่า 1,000 คนในสหรัฐอเมริกา พบว่า เด็กที่มีสาร organophosphate ในปัสสาวะสูงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคไฮเปอร์แอคทีฟมากกว่าเด็กทั่วไปถึง 2 เท่า

- งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspectives ในปี 2553 ที่ติดตามเด็ก 300 คน ตั้งแต่ในช่วงแม่ตั้งครรภ์จนเด็กอายุได้ 5 ขวบ พบว่า แม่ที่มี organophosphate ในปัสสาวะสูง 10 เท่าในช่วงตั้งครรภ์ จะมีโอกาสที่ลูกที่เกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิสั้น (attention disorders) ในช่วง 5 ปีแรกสูงขึ้น 500%

[ข้อมูลจากนิตยสาร Organic Processing, Vol 9 No 2, March/April 2012]

----------------------------------------------------------------------



ภาพรวมสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย 2558 :

เกษตรอินทรีย์ไทยในปี พ.ศ. 2558 ดูเหมือนจะเริ่มกลับเข้าสู่โหมดของการขยายตัวอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวลงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมา ยกเว้นในส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ประสบปัญหาอย่างมาก จนผู้ผลิตหลายรายเลิกการขอการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การผลิตชา-กาแฟ ผลไม้ และฟาร์มผสมผสาน ดูจะมีการเติบโตค่อนข้างดีเป็นพิเศษ ทั้งนี้น่าจะมีผลมาจากความมีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศและต่างประ เทศ ที่ส่งผลให้เกษตรอินทรีย์พลิกฟื้นตัวเองได้อย่างค่อนข้างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ ที่ดูเหมือนจะมีการขยายตัวค่อนข้างสูงมาก

(ตลาดออร์แกนิคในสหรัฐอเมริกาในปี 2557 ขยายตัว 11%, ฝรั่งเศส 10%, เยอรมัน 5% ขยายตัวมากที่สุด คือ ประเทศสวีเดน 38%)

ในส่วนของการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของภาครัฐ ความพยายามในการผลักดันแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (ที่สิ้นสุดลงในปี 2554) ก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก การที่ภาครัฐไม่ได้มีแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ กลับดูเหมือนจะไม่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของเกษตรอินทรีย์เท่าไหร่นัก

ทั้งนี้เพราะเกษตรอินทรีย์ไทยขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นหลัก ตราบใดที่ภาคเอก ชนและประชาสังคมยังมีความพร้อมและความเข้มแข็ง เกษตรอินทรีย์ไทยก็ยังคงขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าก็คือ บรรยากาศ/สภาพแวดล้อมทางนโยบาย ดังที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2558 ที่รัฐบาลมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า มีความหละหลวม และจะเกิดผลกระทบโดยตรงต่อขบวนการเกษตรอินทรีย์ในประเทศ แต่ก็เป็นโชคดีว่า รัฐบาลได้ประกาศยุติการเดินหน้าพระราชบัญญัติดังกล่าว หลังจากที่หลายฝ่ายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

การผลิตเกษตรอินทรีย์ไทย
จากการสำรวจข้อมูลโดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการ “รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 213,183.68 ไร่ ในปี พ.ศ. 2556 เป็น 235,523.35 ไร่ ในปี พ.ศ. 2557 (เพิ่มขึ้น 9.48%)

ในส่วนของจำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในช่วงเวลาดังกล่าวขยับเพิ่มขึ้นจาก 9,281 ฟาร์มในปี พ.ศ. 2556 เป็น 9,961 ฟาร์ม ในปี พ.ศ. 2557

ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย
เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างมากในปี 2558 ที่สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์ ได้สนับ สนุนให้มีการศึกษาภาพรวมของตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย ทั้งที่จำหน่ายในประเทศและการส่งออก รวมทั้งยังได้ทำการสำรวจทัศนะและความเข้าใจของผู้บริโภคทั่วประเทศ ซึ่งทำให้มีฐานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดเกษตรอินทรีย์ไทยอย่าง ที่สามารถใช้ในการอ้างอิงได้

จากการศึกษาของโครงการพบว่า ตลาดสินค้าออร์แกนิคไทยในปี 2557 มีมูลค่ารวม 2,331.55 ล้านบาท โดย 1,1817.10 ล้านบาทเป็นตลาดส่งออก (77.9%) และ 514.45 ล้านบาทเป็นตลาดในประเทศ (22.06%) ....

โดยช่องทางตลาดออร์แกนิคในประเทศที่ใหญ่ที่สุด คือ โมเดิร์นเทรด (59.48%) รองลงมาคือ ร้านกรีน (29.47%) และร้านอาหาร (5.85%) ....

โดยการส่งออกนั้น ในปี 2557 ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นสินค้าออร์แกนิคส่งออกที่สำคัญที่สุดของประเทศ โดยมีมูลค่าสูงถึง 1,201.00 ล้านบาท/ปี (66.1%) รองลงมาคือ ข้าว ออร์แกนิค ซึ่งมีมูลค่าส่งออกราว 552.25 ล้านบาท (30.4%) ....

โดยตลาดออร์แกนิคในภูมิภาคยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดในทุกหมวดสินค้า รองลงมาคือ อเมริกาเหนือ ส่วนตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียน เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ ส่วนตลาดออร์แกนิคในประเทศไทยมีจุดจำหน่ายปลีก (sale point) สินค้าออร์แกนิคประมาณ 251 แห่ง โดยช่องทางของโมเดิร์นเทรด ซึ่งมีอยู่ 8 บริษัท 171 จุดจำหน่าย เป็นช่องทางที่มีจำนวนมากที่สุด มีสินค้าออร์แกนิค 150-1,500 รายการในจุดจำหน่าย มีมูลค่าการขายรวม 306 ล้านบาท/ปี รองลงมาคือช่องทางร้านกรีน ซึ่งมีจุดจำหน่าย 33 แห่ง มีรายการสินค้าออร์แกนิคเฉลี่ย 229 รายการ มียอดขายรวม 151.62 ล้านบาท/ปี

นอกจากข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตลาดเกษตรอินทรีย์ไทยแล้ว ผลการศึกษาอีกเรื่องที่น่าสนใจมากก็คือ ระดับการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภค

* ผู้บริโภคในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 92% ที่สุ่มสัมภาษณ์ทั่วประเทศ

* ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกษตรอินทรีย์อย่างไม่ถูกต้อง 6.51% ของผู้บริโภคทั่วประเทศ

* กรุงเทพและปริมณฑล เข้าใจเกษตรอินทรีย์มีเพียง 10.9% ของผู้บริโภค

ประเด็นปัญหาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีเข้าใจคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดพลาด คือ
* มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เหมือนกันกับมาตรฐานปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ผักปลอดสารพิษ,

* พืชไฮโดรโปนิคเป็นเกษตรอินทรีย์,
* โลโก้ Q เป็นโลโก้ของสินค้ารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์, และ
* เกษตรอินทรีย์อนุญาตให้ใช้ จีเอ็มโอ

http://www.greennet.or.th/article/411

----------------------------------------------------------------------



‘อียู’ จี้ตรวจพืชผัก

พบสารพิษอื้อ กระทบส่งออก 4 ปี สูญกว่าหมื่น ล. แนะรัฐวางกรอบอาหารปลอดภัย

วรลักษณ์ ศรีใย

แฉ อียู ตีกลับผักผลไม้ไทยปนเปื้อนสารเคมี ตลบหลังตรวจจากข้อมูลและปริมาณการนำเข้าสารเคมีที่ประเทศในยุโรปส่งเข้ามาขายให้ไทย สถาบันมาตรวิทยาเผยหลังอียูตรวจพบสารพิษตกค้างในผักของไทยที่ส่งไปขายเพียบ ทำให้ 3 ปีที่ผ่านมาเสียรายได้ไปกว่าหมื่นล้าน จี้รัฐเร่งสร้างระบบตรวจสอบคุณภาพ และลดการใช้สารเคมีอย่างเร่งด่วน ก่อนเสียหายไปกว่านี้

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การส่งออกพืชผักของไทยไปยังตลาดต่างประเทศ ค่อนข้างประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากมีการตรวจพบปริมาณการปนเปื้อนของสารเคมีในพืชผักเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป หรือ อียู ส่งผลให้เกิดภาพลบกับประเทศไทยในหลายด้าน เช่น ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจากสายตาต่างชาติ รวมไปถึงมูลค่าการส่งออกที่ลดลงกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน ที่จะแก้ปัญหาเรื่องสารเคมีตกค้างในพืชผัก ในทางกลับกันกลับมีกระแสข่าวว่า รัฐบาลกำลังมีความพยายามที่จะขึ้นทะเบียนสารเคมีร้ายแรงอีกหลายชนิด

อียู สุ่มตรวจผักไทย ตามข้อมูลนำเข้าสารเคมี

ดร. จรัญ ยะฝา หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อนินทรีย์เคมี ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาอย่างมาก ในการส่งพืชผักไปขายยังต่างประเทศ เนื่องจากพืชผักที่ส่งออกนั้น ถูกตรวจพบสารเคมีในปริมาณที่มากเกินมาตรฐานที่กำหนด โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) จากข้อมูลสถิติการส่งสินค้าไปสหภาพยุโรป ผักผลไม้ไทยถูกตรวจพบสารเคมีปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่อียูกำหนดเกือบทุกครั้ง

ทั้งนี้การที่ประเทศในสหภาพยุโรปตรวจพบสารเคมี ยาฆ่าแมลง ชนิดต่างๆ จากผักของไทยนั้น เนื่องเพราะ อียู มีฐานข้อมูลการนำเข้ายาฆ่าแมลง สารเคมีที่ประเทศไทยสั่งและนำเข้ามาใช้ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้บางชนิดหลายประเทศสั่งห้ามใช้ในประเทศของตนเองแล้ว แต่ยังมีการผลิตขายให้กับประเทศอื่นอยู่ ทั้งนี้การตรวจพืชผักของไทย อียู จะตรวจสอบจากพื้นฐานของข้อมูลการนำเข้าสารเคมีของไทย แต่ไม่ได้ตรวจตามมาตรฐานที่ยุโรปกำหนด ทำให้การตรวจแทบทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอของ อียู จะพบการปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งเป็นผลลบกับประเทศอื่น ในประเด็นความสามารถในการตรวจวิเคราะห์

ซึ่งสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงที่ประเทศไทยยังนำเข้ามาใช้ และกำลังจะขึ้นทะเบียน เป็นสารเคมีที่หลายประเทศยกเลิกการใช้ไปแล้ว เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง 4 ชนิด ประกอบด้วย คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น

------------------------------------------------------------------



ปุ๋ย สารพิษ สารเคมี ยาฆ่าแมลง กับชีวิตเกษตรกร

กว่าสี่พันล้านคนทั่วโลกกินข้าวเป็นอาหารหลัก ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก กว่า 6 ล้านตันต่อปี แต่คนไทยกินข้าวไทยรึเปล่า ?

ในอดีตผืนนาเป็นผืนดินที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษไทย ควายไทยช่วยไถคราดให้ชาวนาไทย กินหญ้าที่เกิดจากผืนแผ่นดินที่มีสารอินทรีย์จากป่าไทย ควายไทยให้มูลที่เป็นปุ๋ยไทยเพิ่มสารอาหารให้กับผืนแผ่นดินที่กำเนิดของข้าวไทย ข้าวผลจากเกวียนที่ทำจากมือคนไทย จากพลังสามัคคีรวมแรงลงแขก ทั้งนวด ทั้งฝัก ทั้งเกี่ยวด้วยกระด้ง กระบุงและเคียวไทย เข้าเครื่องสีที่ปั้นจากดินและไม้ไทย เป็นข้าวที่มีวิตามินสารอาหารมากมาย อย่างนี้ซิ จึงจะพูดได้เต็มปากว่า “ข้าวไทยตักเข้าปากคนไทย”

แต่วันนี้ที่นาถูกจำนองจำนำเป็นของนายทุน ควายไทยจากสัตว์ที่มีคุณ กลายเป็นสัตว์ไร้สกุล เคยสร้างอาหารให้คนไทย กลับต้องมาเป็นอาหารคนไทยในวันนี้ ควายเหล็กสัญชาติอื่นมาแทนทีไม่ยอมกินหญ้าไทยแต่ซดน้ำมันจากต่างชาติปีละหลายแสนล้านบาท ดินไทยที่มีสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยสัญชาติไทยช่วยกันสร้างอาหารให้กับต้นข้าว ถูกทำลาย ถูกเข่นฆ่า ล้างผลาญ จนไม่มีอาหารที่จะเลี้ยงต้นข้าวอีกต่อไป ต้นข้าวที่ถูกป้อนด้วยอาหารที่สร้างขึ้นจากขยะน้ำมัน ตั้งชื่อว่าปุ๋ยเคมีมีสารอาหารเพียง 3 อย่างจากอาหาร 93 อย่าง ที่ข้าวต้องกิน เมื่อต้นข้าวอ่อนแอ ก็รั้งแต่จับเป็นอาหารของแมลงนานาชนิด ต้นข้าวจึงต้องถูกพ่นลมโทรมโหมกร้านด้วยยาฆ่าแมลง เป็นสินค้านำเข้ากว่าสี่หมื่นล้านบาทต่อปี ไม่ว่าจะสีข้าว เกี่ยวข้าว ล้วนใช้เครื่องจักรจากต่างชาติทั้งสิ้น

แล้วจะพูดได้อย่างไรว่า “คนไทยกินข้าวไทย” ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย แต่นับจากเริ่มต้นตลอดเส้นทางจนเป็นข้าวสวยเข้าปากคนไทย ล้วนอาศัยปัจจัยนอกประเทศทั้งสิ้น “ถ้าข้าวไทยไม่เป็นไทยแล้วคนไทยล่ะ เป็นไทยรึเปล่า”

ความแรงของสารพิษจากเกษตรกรถูกแนะนำให้ใช้ไม่ได้ส่งให้เฉพาะเค้าเท่านั้น แต่คนกินอย่างเราทุกคนก็ได้รับด้วย คนส่วนใหญ่เริ่มรู้กันแล้ว ถามว่าผู้บริหารประเทศรู้มั้ย สื่อรู้มั้ย นักวิชาการรู้มั้ย เป็นไปได้มั้ยว่าไม่รู้ ในขณะที่คนทั่วโลกเค้ารู้กันถึงขั้นส่งกลับสินค้าเกษตร จนผู้ส่งออกไทยหลายรายต้องพังไปแล้ว เพราะเค้ากลัวคนของเค้าจะได้รับอันตราย ในขณะที่เมืองไทยกลับปล่อยให้คนไทยรับสารพิษเหล่านั้นทุกวี่ทุกวัน จนเจ็บป่วย ล้มตาย อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว ตอบไม่ยากครับ ใครจะตอบไม่ได้ ที่ตอบได้ตอนนี้ก็คือ คนกินอย่างเราซิเป็นยังไง

สารเคมีที่ตกค้างจะแทรกซึมปนเปื้อนในอาหารแปรรูปต่างๆ ทั้งในรอบแรกจากการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ในรอบที่สองในการรักษาความสดของสินค้าให้ได้มากที่สุด พ่อค้าบางรายแช่ผักในน้ำละลายยาแก้ปวดหรือใช้สารส้มละลายในน้ำราดหรือจุ่มแช่ผัก แต่ที่ร้ายกว่านั้น ใช้น้ำยาดองสดราดทั้งพืชผักและอาหารทะเล ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อผู้ผสมและผู้ใช้ยาเอง

การเป็นพิษในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดจากสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมากกว่าการที่ปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือแบคทีเรียนะครับ ซึ่งในส่วนนี้เอง ถ้าเกษตรกรได้รู้จักการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยนะครับ ผู้บริโภคก็จะปลอดภัยจากสารเคมีส่วนหนึ่งด้วย

โดยทั่วไป ยังมีการสนับสนุนให้มีการใช้สารเคมีในการเกษตรเป็นสินค้าที่นำเงินออกนอกประเทศปีละหลายแสนล้านบาทต่อปี

ทางออกมี แต่ต้องทำพร้อมกันทุกคน ทุกฝ่าย ถ้าคนไทยแสดงออกอย่างหนักแน่นว่าไม่ต้องการอาหารที่เป็นพิษตามสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คนไทยมีสิทธิ์อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนคนญี่ปุ่น ยุโรป และอีกหลายๆ ชาติที่ปฏิเสธอาหารจากเกษตรเคมีอย่างเด็ดขาด และเมื่อผู้ซื้อปฏิเสธ ผู้ขายก็ต้องผลิตอาหารใหม่ตามความต้องการของลูกค้าในที่สุด

ภูมิปัญญาชาวบ้านคือผู้รู้ที่คิดค้น ปฏิบัติจริง ที่ถูกถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ ปุ๋ยธรรมชาติ ภูมิปัญญาไทยที่ทั่วโลกยอมรับนำมาปฏิบัติ แต่คนไทยในวงวิชาการกลับไม่เชื่อถือ จนกลายเป็นความยากลำบากในการพัฒนาเกษตรไทยให้เป็นผู้นำ แหล่งสร้างอาหารไร้สารพิษของประชากรโลก

ประชาชนต้องการอาหารปลอดภัย เกษตรกรต้องการหลุดพ้นจากอันตรายของสารพิษ โปรดร่วมสนับสนุน องค์ความรู้ของคนไทยเพื่อความอยู่รอดของประเทศและพลเมืองไทย

ในขณะที่กระแสความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรไร้สารพิษเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ปรากฏว่ามีการจัดผักใส่ถุงวางขาย บรรจุหีบห่อสวยงามได้รับมาตรฐานพืชผักอนามัยจากทางราชการ แต่เมื่อตรวจถึงต้นตอกลับไม่เป็นจริงตามที่ติดประกาศไว้

สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากจะไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อผู้จัดจำหน่ายสินค้าปลอดสารพิษที่ซื่อตรงอีกด้วย และเป็นการสร้างความยากลำบากให้กับผู้บริโภคซ้ำสอง เพราะต้องไปหาซื้อสินค้าโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตอาหารไร้สารพิษในต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม เกษตรกรเองก็มีความตื่นตัวในเรื่องกสิกรรมธรรมชาติอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทีมีหน่วยงานของรัฐให้ความสนใจและสนับสนุนก็มักจะเห็นผลอย่างชัดเจน

สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมยืนยันได้ว่า ความสำเร็จในกระบวนการสร้างอาหารปลอดภัยแก่คนไทยทั้งชาติ จะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากคนในภาครัฐ ท่านคือคนหนึ่งในความหวังของประชาชน ตำนานสวนส้มรังสิตมีอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งหมดเนื้อหมดตัวในพริบตา อีกกลุ่มหนึ่งตั้งหน้าตั้งตาพลิกฟื้นสวนของตนเองจนได้ดี

เจ้าของส้มท่านแรก :
ส้มของผมอายุประมาณ 18 ปี ก็เริ่มโดนระบาดมาเรื่อยเลย ผมใช้สารเคมีจนมาก จนบางทีเกินความจำเป็นนะฮะ เริ่มมาประมาณสัก 6 ปีที่มาทำสวนส้มอันนี้ ตอนนี้ก็เลยมาคิดทำใหม่ มีแต่คนเค้าบอกว่า หาว่าผมบ้ารึเปล่า ผมคิดว่ามันน่าจะปรับสภาพดินได้ระดับหนึ่ง

เจ้าของส้มท่านที่สอง :
เช่าต่อของลุงมา ตั้งแต่สภาพไม่ดีจนเดี๋ยวนี้ดี ทั้งดกด้วย ผมประเมินเลิกสารเคมี ปุ๋ยเคมีหมด แล้วผมก็มาใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพนี้ ก็พอใจมากเลยทำมาหนึ่งปีได้ผลดี ไม่ร่วงด้วย ลูกก็ดกโต ต้นก็ฟื้น

โฆษก :
นี้คือความสำเร็จของเจ้าของสวนส้มรังสิตรายใหม่ ผู้พลิกฟื้นสวนส้มร้างที่คนรังสิตรุ่นเก่าทำแล้วประสบปัญหาล้มเหลว เพราะใช้ยาฆ่าแมลงจนดินไม่เหลืออาหารของพืชอีกเลย ทำให้ต้นส้มอ่อนแอ เป็นโรคง่าย และเกิดศัตรูพืชมากมาย

หยุดเป็นเหยื่อเคมี หยุดสร้างความร่ำรวยให้กับผู้อื่นด้วยการสละชีวิตตนเอง และแผ่นดิน ท่านจะหยุดวันนี้หรือจะรอให้มันหยุดชีวิตของท่านก่อน

น่าคิดที่ว่า นักวิชาการไทย ดีกรีต่างประเทศบางกลุ่ม ยืนยันว่า สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าไม่มีปลูกพืชไม่ได้ผลเลย แต่เกษตรกรที่เคยหมดตัวกับยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี กลับประสบความสำเร็จ เพิ่มผลผลิต ปลดหนี้ได้หลังจากการสลัดปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงออกจากวงจรชีวิต มีข้อพิสูจน์จากการวิจัยของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ห้า ชัยนาท ในการผลิตส้มโอที่ใช้สารเคมีและใช้น้ำสกัดชีวภาพต่อหนึ่งไร่ของนายเฉลิม อ่อมดี จังหวัดชัยนาทดังนี้ ไร่ที่ใช้น้ำสกัดชีวภาพมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไร่สารเคมีถึง 7,135 บาท ได้ผลผลิตมากกว่า 93 กิโลกรัม ได้รายได้มากกว่า 9,460 บาทต่อไร่ และได้กำไร 46,534 บาทต่อไร่

ประชาชนต้องการอาหารปลอดภัย เกษตรกรต้องการหลุดพ้นจากอันตรายของสารพิษ โปรดร่วมสนับสนุน องค์ความรู้ของคนไทยเพื่อความอยู่รอดของประเทศและพลเมืองไทย

เกิดประเด็นสงสัยที่นักวิชาการจากต่างประเทศบางท่านอ้างว่า NPK ที่พืชต้องการแต่เพียงพอเฉพาะที่ได้จากปุ๋ยเคมีเท่านั้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ใช้ต้นทุนจากธรรมชาติในแผ่นดินซึ่งนอกจากมี NPK แล้วยังมีสารอื่นๆ ที่พืชต้องการแต่นักวิชาการคนไทยกลับอ้างว่า พิสูจน์ไม่ได้ว่ามี NPK แค่ไหน จึงไม่ให้การรับรองมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาจนทุกวันนี้

นี้คือประเด็นที่น่าสนใจค้นหา การล้มสลายของเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการโดยนักวิชาการร่วมกับนักบริหารและกลุ่มธุรกิจเคมี ได้วางระบบให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการเกษตร และด้วยความไว้ใจในภูมิปัญญาของคนใช้สมอง เกษตรกรจึงขานรับอย่างไม่กังขา

แต่ในทางกลับกัน ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยที่ชาวบ้านดิ้นรนช่วยตนเองเพื่อหยุดการซื้อสินค้านอก และเพื่อหยุดการทำลายชีวิตทั้งพืช สัตว์ และคน รวมถึงสิ่งแวดล้อม กลับถูกปฏิเสธที่จะค้นคว้าทดลองหรือพิสูจน์ให้เห็นจริง ทั้งๆ ที่มีการใช้จนเป็นผลสำเร็จกันทั่วโลกและต่างประเทศรับรอง

การที่เราเอาธาตุอาหารออกไปจากดินเพื่อการเพาะปลูกแต่ไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ดินก็จะเสื่อมคุณภาพลง

บางท่านคิดว่าการเพิ่มสารอาหารให้แก่ดิน ทำได้โดยการเติมปุ๋ยเคมีลงไป แต่ที่จริงปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มสารเฉพาะอย่างมากจนเกินไป จนเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ที่ย่อยอาหารให้แก่พืช เป็นเพียงสารกระตุ้นให้พืชโตเร็วระยะสั้นๆ เท่านั้น เหมือนสารกระตุ้นต่างๆ ในคน

พืชเป็นแหล่งผลิตวัตถุอินทรีย์จำนวนมากมาย เศษเหลือจากการเก็บเกี่ยวพืช ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มข้าว ตอซังข้าวโพด เศษต้นพืชต่างๆ รวมแล้วนับสี่สิบล้านต้นต่อปี สามารถนำกลับคืนมาเป็นอาหารให้แก่ดินในรูปแบบของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัตถุคลุมดิน ให้เศษพืชนี้ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ป้องกันการระเหยของน้ำและค่อยๆ สลายตัวเป็นอาหารของดินต่อไป

นี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของต้นทุนธรรมชาติในแผ่นดินที่ไม่ต้องหาซื้อแม้แต่บาทเดียวแล้วทำไมยังต้องซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ มาทำลายชีวิต ทำลายแผ่นดิน ร่วมกันทำกสิกรรมธรรมชาติ รักษาชีวิต รักษาแผ่นดิน

มันมากับอาหาร สารพัดพิษที่คนไทยรู้ว่า อาหารบ้านเราต้องระวัง ซึ่งหมายความว่า อาหารเกือบทุกประเภทล้วนเป็นอาหารที่เสี่ยงต่อการสะสมพิษเข้าสู่ร่างกายอย่างเป็นที่ยอมรับ และถ้าจะหลีกเลี่ยงก็ต้องทุ่มเทเวลา ระวังทุกฝีก้าวกับอาหารทุกมื้อ ทุกชิ้น เพื่อแน่ใจว่า จะได้อาหารที่ปลอดภัยจริง

แต่ทางออกที่ยั้งยืนคือ การแก้ที่ต้นเหตุ ซึ่งจะมีผลต่อคนไทยโดยรวม ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้อของนอก รักษาสิ่งแวดล้อมให้กับแผ่นดิน คือการแก้ที่ขั้นตอนการผลิต เริ่มจากการ เกษตรที่ปลอดภัยไม่ต้องใช้สารเคมี หันสู่กสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นไปได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในแผ่นดินไทย

http://www.gofertilizerplus.com

----------------------------------------------------------------------



เกษตรแบบใช้สารเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดปัญหามากมาย :

1. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำเกษตรแผนใหม่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติตามมาที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ ปัญหาการพังทลายของหน้าดิน ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและปัญหาการระบาดของโรคและแมลง ตัวอย่างเช่น จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า ในพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่านส่วนใหญ่ถูกชะล้างพังทลายในอัตราที่มากกว่า 16 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงกว่าที่ยอมให้มีได้ถึง 20 เท่า และที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ที่มีความลาดชัน 9% มีการสูญเสียหน้าดินถึง 26 ตันต่อไร่ต่อปี

เกษตรกรรมแผนใหม่ที่มุ่งเน้นเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของโครงสร้างดินและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่การบำรุงดิน แต่เป็นการอัดแร่ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยไม่มีการเติมอินทรียวัตถุเพิ่มลงในดิน และการใช้ปุ๋ยเคมียังเร่งอัตราการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน ทำให้โครงสร้างของดินเสื่อมลง ดินจึงกระด้างมีการอัดตัวแน่น ไม่อุ้มน้ำในฤดูแล้ง

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชในแต่ละครั้งจะใช้ประโยชน์ได้เพียง 25% ที่เหลืออีก 75% จะกระจายสะสมในดิน น้ำ และอากาศในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ทำลายเฉพาะศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยังทำลายแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นการทำลายความสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติ และผลที่ตามมาคือ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุ่นแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ทำลายผลผลิตข้ามในประเทศไทย เมื่อปี 2533-2534 ซึ่งมีพื้นที่การแพร่ระบาดมากถึง 3.5 ล้านไร่
การทำเกษตรแผนใหม่ได้นำไปสู่การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการขยายพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าธรรมชาติ ทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญในโลกและแหล่งต้นน้ำที่สำคัญลงด้วย

2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
การทำเกษตรแผนใหม่เป็นการทำการเกษตรที่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก เพื่อนำมาเพิ่มผลผลิตให้ได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็มิได้หมายความว่าเกษตรกรจะประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจเสมอไป ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่าเกษตรกรที่ทำการเกษตรแผนใหม่จำนวนมากประสบปัญหาภาวะขาดทุน และหนี้สิน เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ในประเทศไทยการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่กลับเป็นการผลักดันให้เกษตรกรต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบริษัท เนื่องจากต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีต่างๆ จากบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นการทำการเกษตรที่ถูกผูกขาดจากบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำเกษตรแผนใหม่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่มากกว่าเกษตรกรที่แท้จริง

3. ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค จากการตรวจพบสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย พบว่า ผลผลิตมีสารพิษตกค้างอยู่สูงจนในผลผลิตบางชนิดไม่ผ่านมาตรฐานมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้การที่คนไทยบริโภคผลผลิตที่มีสารพิษตกค้างอยู่ทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายเป็นระยะเวลานาน และเกิดการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเครียด โรคมะเร็ง ฯลฯ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติคนไทยที่ป่ายเป็นโรคมะเร็งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี

4. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกษตรกรรมแผนใหม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ทำลายฐานการเกษตรแบบยังชีพของเกษตรกร ทำลายระบบสังคมของชุมชน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลย ด้วยเข้าใจว่าเป็นความเชื่อ หรือวิธีการปฏิบัติที่ไม่ทันสมัย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และไม่มีประสิทธิภาพ โดยลืมไปว่าความรู้และภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาได้มาจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนมานานหลายรุ่น ที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นที่พวกเขาอาศัยอยู่ ซึ่งความคิดนี้ได้รุนแรงมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติเขียว ความรู้และแนวทางการพัฒนาการเกษตรจะถูกรวมไปอยู่ในสถาบันการเกษตรต่างๆ ของรัฐ และบริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ การพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรกลายเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทการเกษตรที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีชีวิตของการทำการเกษตร โดยที่เกษตรกรกลายเป็นเพียงผู้รับเท่านั้นเอง ซึ่งหากองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับความเสียหายคือตัวของเกษตรกรเอง

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาแม่โจ้

http://ibc.rid.go.th/web/culturesys.htm

--------------------------------------------------------------------



52

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2021 6:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


หนุนกระทรวงเกษตรฯแบนสารเคมีทางการเกษตรก่อมะเร็ง


เวที สช.เจาะประเด็นระดมความเห็นทุกภาคส่วนเพื่อยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หลังพบสถานการณ์โรคร้ายกับผู้บริโภคและเกษตรกร ทั้งมะเร็ง เบาหวาน ภูมิแพ้ หวั่นลามไปถึงหญิงมีครรภ์และลูกในท้อง เร่งยกเลิกทันที 4 รายการ ได้แก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น เชื่อเป็นวัตถุอันตรายร้ายแรง พบหลายประเทศทั่วโลกหันหลังให้ แต่ประเทศไทยยังวางขายเกลื่อน

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง "นโยบายเกษตรเพื่อสุขภาพ : แบน 4 สารเคมีเกษตรก่อมะเร็ง" ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.อัมรา เวียงวีระ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.พิบูลย์ อิสระพันธ์ รองผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ ชาวบ้าน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมให้ข้อมูล

นพ.พิบูลย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เจ็บป่วยจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเมื่อปี 2555 ด้วยวิธีตรวจเลือดเกษตรกรในพื้นที่ 16 จังหวัด จำนวน 152,846 คน พบผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวน 46,016 คน คิดเป็นสัดส่วน 30% และเกษตรกรที่อยู่ในสภาวะปลอดภัยจำนวน 106,830 คน คิดเป็นสัดส่วน 70% เนื่องจากเกษตรบางส่วนฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่มีการป้องกันตัวเอง มีโอกาสเป็นโรคร้ายหลายชนิด ทั้งระยะสั้น ได้แก่ โรคผิวหนังอักเสบ มึนงง เวียนศรีษะ คลื่นไส้ หัวใจเต้นช้า ปอดเป็นผังผืด จนถึงเสียชีวิต และในระยะยาวมีผลต่อการพัฒนาสมองผิดปกติ ความจำเสื่อม ผิวหนังแข็ง และเกิดความผิดปกติของทารก

ขณะที่ตัวเลขปริมาณนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช ก็มีมูลค่าสูงขึ้นมากจาก 14,643 ล้านบาท เมื่อปี 2550 มาเป็น 20,875 ล้านบาท ในปี 2554 และเมื่อรวมปริมาณที่นำเข้าทั้งหมดในช่วง 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2548-2552 แล้ว การนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยจะมีปริมาณมากถึง 520,321 ตัน คิดเป็นความสูงเทียบเท่าตึกใบหยก 2

ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 4 รายการ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนโดยตรง หรือเกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเวลานาน มีโอกาสรับสารพิษเหล่านี้ได้โดยตรง ส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบประสาท หรือหากสะสมไว้ในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน เพราะสารมีพิษเหล่านี้จะซึมลึกเข้าไปถึงระดับ ดีเอ็นเอ โครโมโซม หรือ ยีน ในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าเป็นจุดตั้งต้นของการมีชีวิต นำไปสู่ความบกพร่องของการสร้างเอ็นไซม์หรือฮอร์โมนต่างๆขึ้นมา

นอกจากนั้น ในงานวิจัยทางการแพทย์ ยังเคยตรวจพบสารเคมีทางการเกษตรหลายชนิด ตกค้างอยู่ในน้ำคร่ำของหญิงมีครรภ์ ขณะที่เด็กทารกซึ่งคลอดออกมาแล้ว ก็พบสารเคมีทางการเกษตรอยู่ในปัสสาวะ จะเห็นได้ว่า มหันตภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเพียงแค่ 4 ชนิดนี้เท่านั้น มีโอกาสเข้าไปสะสมในดีเอ็นเอ ยีน และเอ็นไซม์ของเด็กแรกเกิด ทำให้มีโอกาสเป็นเด็กออทิสติก เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ในอนาคตได้

ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ทำเรื่องเสนอไปยังรัฐบาลขอให้ยกเลิกการขึ้นทะเบียน การนำเข้า การส่งออก รวมถึงห้ามมีสารเคมีเกษตรทั้ง 4 ชนิดไว้ในครอบครองโดยเด็ดขาด ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบแล้ว อยู่ระหว่างการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาและเสนอความเห็นกลับมายังครม.อีกครั้ง โดยทางสภาที่ปรึกษาฯเห็นว่าสารเคมีทางการเกษตรชนิดใด ที่ประเทศต้นทางของผู้ผลิต ได้สั่งห้ามไม่ให้มีการใช้แล้ว ก็ไม่ควรอนุมัติให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้อีก

สำหรับสารเคมีทั้ง 4 ชนิดดังกล่าวมีการใช้ในประเทศไทยมานาน ส่งผลให้แมลงศัตรูพืชอาจเกิดการดื้อยา เกษตรกรผู้ปลูกจำเป็นต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเกิดการสะสมทั้งในร่างกายของเกษตรกรผู้ปลูกเอง และปนเปื้อนมากับพืชผักที่ผู้บริโภคซื้อไปรับประทาน

ดังนั้น สภาที่ปรึกษาฯจึงเห็นควรให้มีการทบทวนและปรับวิธีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายใหม่ทั้งระบบและเสนอให้ มีคณะกรรมการเคมีแห่งชาติ เปิดให้นำเสนอข้อมูลและเอกสารทางวิชาการมาประกอบการพิจารณา มีการจำกัดระยะเวลาในการใช้ ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนแล้วจะวางจำหน่ายได้ตลอดไป เช่น เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วทุกๆ 3 ปี ต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณา นอกจากนั้น ยังควรมีการควบคุมการโฆษณาการขายสารเคมีเกษตรที่เป็นวัตถุเคมีอันตรายอย่างเคร่งครัด

นางอรพรรณ กล่าวว่า มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง “ความปลอดภัยทางอาหาร: การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช” นี้ เป็นฉันทามติของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกว่า 1,800 คน จากหลากหลายองค์กร/เครือข่าย เป็นมติที่ประกาศร่วมกันอย่างชัดเจนว่า ต้องการสนับสนุนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ประกาศเดินหน้าแบนสารเคมีทางการเกษตร 4 ชนิด

โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรทบทวนการอนุญาตการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะคาร์โบฟูราน เมโทนิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น เพื่อเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง นับเป็นการทำหน้าที่ที่น่าชื่นชมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ

ในฐานะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่นำข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ไปประกอบการพิจารณาร่วมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดจากการตีคืนสินค้าเพราะการปนเปื้อนของสารเคมีเกษตรที่เป็นอันตรายเหล่านี้ในสินค้าเกษตรของไทย รับเป็นการประกาศนโยบายสาธารณะทางการเกษตรที่ห่วงใยสุขภาพ ซึ่งสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคงจะได้เฝ้าติดตามและสนับสนุนการประกาศนโยบายนี้ให้เป็นจริงโดยเร็วด้วย

ดร.อัมรา ตัวแทนจากกรมการข้าว กล่าวว่า ปัจจุบันกรมการข้าวไม่แนะนำให้มีการใช้สารเคมีเกษตรทั้ง 4 ชนิดในการปลูกข้าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะพิษของสารเคมีจะไปทำลายตัวห้ำ ตัวเบียน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ในการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และยังมีผลให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการระบาดเพิ่มขึ้น ชาวนาก็ต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีมากขึ้นทุกปี ผลผลิตข้าวลดลง ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่ธรรมชาติก็เสียความสมดุล

“เวลามีการอบรมเกษตรกร กรมการข้าวจะย้ำเตือนว่าไม่ให้ใช้สารเคมีเหล่านี้อย่างเด็ดขาด ซึ่งเท่าที่พบขณะนี้ก็ถือว่ามีเพียงส่วนน้อยมากเท่านั้นที่ยังใช้อยู่ เราจะแนะนำว่าหากจำเป็นก็มีสารชนิดอื่นทดแทนและต้องไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ดร.อัมรากล่าว

นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ ชาวบ้านอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้เคยมีประสบการณ์ใช้สารเคมีมานานถึง 10 ปี แต่ปัจจุบันหันมาทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ กล่าวว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 4 รายการ คือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น มีการใช้มา 40-50 ปีแล้ว ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่รู้ถึงผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ การฉีดพ่นส่วนใหญ่ไม่ใส่หน้ากากและเสื้อแขนยาวในการปกป้องผิวหนัง เมื่อสูดดมสารเคมีเข้าไปจำนวนมากทุกวัน ทำให้บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังเป็นผื่นคันหรือมีน้ำเหลืองไหลออกมา บางคนเกิดปัญหาสายตาฝ้าฟาง กระทั่งผลการสำรวจล่าสุดที่ออกมา พบภาวะผิดปกติของเลือดในร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งตับเนื่องจากมีสารพิษไปสะสมจำนวนมาก

“ผู้บริโภคก็ไม่มีโอกาสรับรู้ได้ว่าผักผลไม้ที่ซื้อไปรับประทานนั้นจะมีสารเคมีอยู่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากความเร่งรีบของชีวิตคนเมือง ทำให้พฤติกรรมการบริโภคต้องทำแบบเร่งด่วน ไม่มีโอกาสเลือกหรือตรวจสอบสินค้าว่าจะมีสารปนเปื้อนอยู่หรือไม่ สุดท้ายแล้วจึงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” นายน้ำค้างกล่าว

นายน้ำค้าง ระบุว่า เสนอให้รัฐบาลเร่งยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย และหากมีสินค้าที่ออกวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดก็ให้เร่งเก็บคืนให้หมดโดยเร็ว รวมถึงพัฒนาเกษตรกรรมทางเลือกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พืชสมุนไพรไทย ซึ่งสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี แต่อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งเชื่อว่าจะลดปัญหาสุขภาพและสร้างสมดุลให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

สำนักสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 02-832-

9140http://www.nationalhealth.or.th/node/388

-------------------------------------------------------------------



การดูดของพืช (Plant uptake)

สารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์กาโน ฟอสเฟตหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารในกลุ่มดูดซึม (systemic) เช่น โมโนโครโตฟอส. ไดเมทโธเอท. สามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้ทางปากใบและผิวใบ สารที่ดูดซึมผ่านเข้าไปแล้วจะเคลื่อนย้ายลงสู่ราก โดยผ่านท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นการเคลื่อนย้ายซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากนั้นจะเคลื่อนย้ายไปสู่ท่อลำเลียงน้ำ (xylem) ซึ่งจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืชอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ต้นพืชแล้วสารเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปสารดั้งเดิม (Parent compound) หรือเปลี่ยนรูปไปโดยกระบวนการทางชีวเคมีและเมทาบอลิซึมในเนื้อเยื่อพืช สารที่เปลี่ยนรูปไปอาจไม่มีความเป็นพิษต่อมนุษย์หรือสัตว์ หรือมีความเป็นพิษรุนแรงกว่าเดิมก็ได้ ดังเช่นในแมลง เมื่อสารมาลาไธออน. เข้าสู่ลำตัวแมลงจะมีการเปลี่ยนรูปโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยระบบเอนไซม์โมโนออกซิจีเนส. (Monooxygenase system) ได้สารมาลาออกซอน (Malaoxon) ซึ่งมีพิษสูงขึ้นกว่ามาลาไธออน. มาก ดังนั้นสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต. ที่ตกค้างในส่วนต่างๆ ของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่ใช้บริโภค จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ สำหรับสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดินและถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชนั้นจำเป็นต้องมีสภาพที่เหมาะ และอัตราการดูดสารกำจัดศัตรูพืชเข้าไปในต้นพืชนั้นขึ้นกับชนิดของยาและความคงทนของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดนั้นๆ ในดิน เช่น Heptachlor จะถูกดูดได้ง่ายกว่า Aldrin และในดินร่วนทราย พืชจะดูดสารกำจัดศัตรูพืชได้มากกว่าดินเหนียวที่มีอินทรีย์วัตถุในปริมาณสูง

กรณีของสัตว์ในดินสัตว์ขนาดเล็ก (Invertebrates) เช่น ไส้เดือน และหอย ที่อาศัยอยู่ในดินสามารถดูดซับเอาสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในดินเข้าสู่ร่างกายของมัน โดยสะสมไว้ในเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นไขมัน และสามารถทำให้สารกำจัดศัตรูพืชนั้นมีความเข้มข้นที่สูงขึ้นกว่าความเข้มข้นของสารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในดินรอบ ๆ ที่มันอาศัยอยู่ถึง 10 เท่า จากการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารตกค้างในดินแตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาปรับเปลี่ยน จึงจำเป็น ต้องมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ใช้ในการอ้างอิงและเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับ จึงจัดทำโครงการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ขึ้น

http://www.chumphon2.mju.ac.th/km/?p=471

--------------------------------------------------------------------


ประสบการณ์ตรง

วันดูข้าว :
ก่อนวันเกี่ยวราว 15 วัน ออกอากาศขอเชิญคนมาดูแปลงข้าว "นาข้าวแบบไบโอ ไดนามิก" ด้วยปุ๋ยทำเองทุกสูตร ทุกขั้นตอน เนื้อที่ 5 ไร่ ท้ายไร่กล้อมแกล้ม....จากการสุ่มหาค่าเฉลี่ยทราบว่า ผลผลิตได้กว่า 120 ถัง

งานนี้มี สมช.ผู้ฟังให้ความสนใจจากทั่วสารทิศมาดูราว 200 คน ยืนเรียงกันเต็มคันนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ในจำนวนนี้มี จนท.เกษตร ปลอมตัวมาด้วย ราว 4-5 คน สมช.บางคนรู้จักแล้วมากระซิบบอกว่า คนนั้นเป็นเกษตรอำเภอนั้น คนนี้เป็นเกษตรจังหวัดนี้ ..... ก็ว่าไป

ลุงคิมพูดผ่านโทรโข่ง เลียบๆเคียงๆโฉบเข้ามาใกล้ๆ จนท.เกษตร เพื่อดูหน้าเท่านั้นในเมื่อเขาไม่ประสงค์แสดงตัวก็ไม่ต้องไปวอแวกับเขาให้มะเร็งกินอารม....แต่ละคนเห็นข้าวแล้วร้อง อื้อฮือ ! แสดงว่ายอมรับ แต่ไม่ (แม้แต่คิด) ยอมรับแล้วเอาแนวทางไปเผยแพร่

วันเกี่ยวข้าว :
วันที่แปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้มพร้อมเกี่ยว รถเกี่ยวมีเด็กหนุ่มเป็นคนขับ ดูมาดแล้วบอกว่า "ทำเป็น" แน่นอน จากนาแปลงข้างเคียงมาถึงแปลงเรา

คนขับ : (มองต้นข้าว) ลุงครับ ข้าวยังเกี่ยวไม่ได้นะครับ
ลุงคิม : เพราะอะไรเหรอ ?

คนขับ : มันยังไม่แก่ครับ
ลุงคิม : รู้ได้ไง ?

คนขับ : (ตอบทันที) ใบยังเขียวอยู่เลยครับ
ลุงคิม : (กวักมือเรียก) มึงลงมานิ

ลุงคิม : (เด็ดรวงข้าวข้างคันนา แล้วเด็ดเมล็ดสุดท้ายโคนรวงส่งให้) พิสูจน์ซิ
คนขับ : (เด็กหนุ่มรับไปแล้วใส่ปากใช้ฟันหน้าขบ ตีหน้าเหรอหรา) แก่แล้วนี่

ลุงคิม : ไหนมึงว่ายังไม่แก่ไงล่ะ ?
คนขับ : ก็ใบยังเขียวอยู่เลย ลุงทำไงน่ะ

ลุงคิม : ไป ขึ้นรถ ทำงาน ไม่ต้องพูดมาก

เด็กหนุ่มท่าทางทำงานแบบสบายๆ เพราะไม่มีข้าวล้มให้ไม่ต้องเลี้ยวรถเกี่ยวเข้าหาต้นข้าวบ่อย เดินหน้าตรงอย่างเดียว มุมคันนาชนมุมคันนา ต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วเหลือตอซังต่ำกว่าหัวเข่า....

งานนี้ได้ 127 ถัง/ไร่ เทออกจากกระบะรถลงกองกับแล้วขายเป็นข้าวปลูกได้ 90 บาท/ถัง (เกวียนละ 9,000 ราคามิตรภาพ) ทันที หากส่งโรงสีจะได้ราคาเพียง 60 บาท/ถัง (เกวียนละ 6,000) เท่านั้น....รุ่งเช้าคนที่รับซื้อไป (อ่างทอง) คุยกลับมาว่า ขายต่อได้ถังละ 120 บาท ไม่พอขาย

ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน :
นาข้าว 200 ไร่ ของชาวนาย่านบ้านแพรก อยุธยา วันนั้นในปี 51 มีหนี้ในธนาคาร อยู่ 1 ล้าน ด้วยคำพูดในรายวิทยุเพียงคำเดียว “ต้นทุนท่วมราคาขาย” ทำให้ต้องคิดหนักค้นหาแนวทางใหม่ เพราะที่ทำมา ทั้งของตัวเองและของเพื่อนบ้านข้างเคียงว่า “มันไม่ใช่-มันไม่ใช่” ตัดสินใจสั่งซื้อปุ๋ยจากบริษัทร่มทอง ที่โฆษณาใน รายการวิทยุ ซื้อทุกตัวแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงวันเกี่ยว .....

ปีนั้นแม้จะเป็นปีแรก ที่เปลี่ยนวิธีการทำนาข้าวจากแบบเคมีเพียวๆ ทั้งหว่าน ทั้งฉีด มาเป็นอินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหาะสมของต้นข้าว ลดการหว่านปุ๋ยทางดิน มาเป็นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ผลที่ออกมาเห็นชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100 (-) ถัง/ไร่ เหนืออื่นใด ผลผลิตที่ได้ เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ กับต้นทุนที่ลดต่ำกว่าเดิม 50-70% ไม่น่าเชื่อว่า นาข้าว 2 รุ่น สามารถล้างหนี้ธนาคาร 1 ล้านได้ .....

จากรุ่นแรกเมื่อเริ่มอ่าน LINE ของนาข้าวออก นาข้าวปี 53 ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100(+)/ไร่ กับต้นทุนต่ำจากเดิมมาอีก ด้วยนาข้าว 2 รุ่น/ปี ตัวเลขเงินฝากในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงเป็นตัวดำด้วยเงินกว่า 1 ล้าน....

ปี 54 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ นา ข้าวแปลงนี้หยุดสนิท ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอนกินมาม่าด้วยความสบายใจ .... ปี 55 เริ่มใหม่อีกครั้งด้วยความมั่นใจสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี วันนี้ครอบครัวนี้มีเงินสดในธนาคารกว่า 2 ล้าน .....

ล้านแล้วจ้า

100 ไร่ ใส่ N+P 3 แสน ได้ 70 ถัง :
เสียงผู้หญิงมาทางโทรศัพท์ ไม่รู้จักตัวกัน ไม่ได้ถามชื่อ เป็นเพียง สมช.ผู้ฟังรายการวิทยุเท่านั้น เธอเล่าให้ฟังด้วยเสียงปนสะอื้น ....
ทำนาข้าว 100 ไร่ ใส่ยูเรียไร่ละ 2 กส. ใส่ 16-20-0 อีกไร่ละ 1 กส. รวมเป็น 3 กส./ไร่ ทั้งแปลงรวมเป็น 300 กส. ราคา กส.ละ 1,000 บาท เป็นค่า เครดิต+ดอกเบี้ย+ส่ง รวมทั้งรุ่นตก 300,000 บาท เฉพาะค่าปุ๋ยอย่างเดียว ยังไม่รวม ค่าไถ ทำเทือก หว่านเมล็ดพันธุ์ สารเคมีฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลง-ฆ่าหอย ค่าจ้างฉีดพ่น ค่าน้ำมันสูบน้ำ ค่าเกี่ยว กับค่าจ้างอย่างอื่นอีกเท่าที่จำเป็น ได้ข้าว 70 ถัง หักค่าเมล็ดลีบ เมล็ดป่น เมล็ดท้องปลาซิว แทบไม่เหลืออะไรเลย เป็นอย่างนี้มา 4-5 ปี ติดต่อกันแล้ว วันนี้มีหนี้ ในระบบ-นอกระบบ เกือบ 2 ล้าน .....
ปล่อยโอกาสให้เธอได้ระบายความอัดอั้นจนเป็นที่พอใจ

ในฐานะที่คุณ สมช.รายการวิทยุ ทั้งภาคเช้าภาคค่ำมาตลอด ก็พูดมาตลอดว่า....

- ต้นข้าวกินปุ๋ย 14 ตัว ทั้งทางใบทางราก ทำไม่ให้แค่ 2 ตัว ..... ต้นข้าวกินปุ๋ย 10 กก.ธาตุหลัก ครบทั้ง 3 ตัว ถึงคุณจะใส่มากถึง 150 กก. ก็ยังได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว คือ ตัวหน้ากับตัวกลางเท่านั้น

- ถ้าดินไม่ดี ใส่ปุ๋ยเคมีมากเท่าไหร่ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ ไม่ใช่สิ้นเปลืองเปล่าๆ แต่ยังทำให้ดินเสียหนักขึ้นไปอีก แถมคุณไม่ปรับปรุงบำรุงดินเลย
- ฯลฯ

แม้จะพยายามอธิบาย ยกเหตุและผล อ้างทั้งหลักวิชาการและประสบการณ์ตรง ยกแม่น้ำทั้งห้า มหาสมุทรทั้งหกมาบอกแล้ว ดูเหมือนคุณเธอจะยืนยันคำเดียว ต้องการซื้อปุ๋ยลุงคิม ขอเครดิตก่อน อ้างว่าไม่มีเงินสด แล้วก็ไม่มีแหล่งเงินกู้ที่ไหนเขาให้กู้ยืมด้วย รับรองว่าเกี่ยวข้าวแล้วจะส่งมาให้.....โห ใครจะให้

ประสบการณ์ตรง (5)
ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท :
“ทิดมั่น” คทาชายนายหนุ่มใหญ่ อายุ 50 ขึ้น นิวาสสถานไม่ห่างจากไร่กล้อมแกล้มมากนัก ยึดอาชีพทำนาข้าว 15 ไร่ บนที่เช่ามาตั้งแต่กำเนิด ทำนาอย่างเดียว ปีละ 2 รุ่น มีหนี้ในบ้านเท่าไร ไม่รู้ ....

รู้แต่ว่า ตะวันโพล้เพล้วันนั้น ทิดมั่นส่งเสียงดังโขมงโฉงเฉงตั้งแต่หน้าวัดได้ยินกันทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจ กระทั่งทิดมั่นเข้าบ้าน เสียงทิดมั่นเงียบไป แต่เสียง “ยัยแม้น” ผู้เป็นเมียดังขึ้นมาแทน ถึงไม่ถามก็รู้ว่า ยัยแม้นโกรธจัด แล้วที่ต้องออกมาด่าผัวนอกบ้านก็เพราะโนผัวเตะนั่นเอง .....

เสียงยัยแม้นร้องด่าง ใครๆ ก็ได้ยิน

“อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้ตั้งแสน เหลือเงินมาให้กูแค่ 40 บาท แล้วทีนี้จะเอาอะไรแดกกัน”

เหตุผลก็คือ ทิดแม้นต้องเอาเงินที่ขายข้าวได้ไปจ่ายค่าเครดิต ปุ๋ย-ยา ให้เถ้าแก่เส็ง ร้านหน้าวัด ไม่งั้นรุ่นหน้าจะไปเครดิตอีกไม่ได้นั่นเอง.....งานนี้ ยัยแม้น กลับเข้าบ้านตอนไหม แหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง

-----------------------------------------------------------------------


สายตรง : (082) 794-32xx

..?.. : ลุงคิมคะ หนูฟังรายการลุงคิมมานานแล้ว ฟังทั้งเช้าทั้งค่ำ หนูสนใจทำเกษตรแบบพอเพียง แต่ไม่เคยได้ยินลุงคิมพูดเรื่องนี้เลย อยากปรึกษาลุงคิมโดยตรงเลยว่า ควรทำอย่างไร เริ่มต้นอย่างไร
ลุงคิม : อืมมม ที่จริงที่ลุงคิมพูดน่ะ เกษตรพอเพียงทั้งนั้นเลยนะ ลุงคิมว่า รู้สึกว่าคุณ FIGHT WORD มากไปหน่อย

..?.. : หมายความว่าไงคะ ?
ลุงคิม : ก็หมายความว่า คุณตีความแค่ตามตัวอักษรน่ะซี คำว่า "พอเพียง" เนี่ย เป็นปรัชญานะ ไม่ใช่ทำอะไรแค่นี้ก็ "พอ" แล้ว แล้วเรียกว่าพอเพียง .... ในหลวงทรงตรัส เกษตรพอพียงไม่ได้หมายความว่า ให้ทุกคนทอผ้าใส่เอง แต่ทรงหมายถึง ให้เริ่มจากทำเพื่อกินเพื่ออยู่ก่อนโดยไม่ต้องซื้อ จากทำกินจนเหลือกินแล้วให้ขาย จากขายหน้าบ้านคนเดียวแล้วให้ร่วมกับบ้านข้างๆ ขายด้วยกัน จากขายร่วมกันในหมู่บ้านแล้ว ให้ขยับขยายเพิ่มปริมาณขายให้คนกลางรายใหญ่หรือบริษัท การทำต้องทำให้ดีๆ ทั้งคุณภาพ ปริมาณ ใช้เทคโนโลยี ใช้วิชาการความรู้ที่เหมาะสมถูกต้อง .... คุณคิดดู คุณทำแค่กินในบ้าน ไม่ทำขาย แล้วคุณจะเอาเงินไหนเข้าบ้าน แล้วคุณจะเอาเงินที่ไหนจ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าลูกไปโรงเรียน ... แม้แต่ทำกิน คุณปลูกผักคะน้า 1 แปลง คุณกินคะน้าอย่างเดียวทุกวันจนกว่าจะหมดแปลง คุณปลูกมะม่วง คุณกินมะม่วงอย่างเดียวทุกวัน คุณต้องปลูกคะน้าให้เหลือขาย ขายได้เงินมาแล้วเอามาซื้อน้ำปลา ซื้อพริก หรือคุณจะทำน้ำปลากินเองในบ้าน ปลูกพริกขี้หนู 1 ต้น พริกชี้ฟ้า 1 ต้น ปลูกต้นหอม 2 ต้น มันทำได้เหรอ สู้คุณได้มะม่วง แล้วขายมะม่วงมาซื้อเสื้อผ้า ให้ลูกไปโรงเรียน แบบนี้ไม่ถูกต้องกว่าเหรอ....ลุงคิมอาจจะพูดยาว หรือเรียกว่าพูดมากล่ะ....

..?.. : ไม่มากหรอกค่ะ ลุงคิมเก่งจัง หนูเรียนมาสูงแท้ๆ ยังคิดไม่ถึงขนาดนี้เลย
ลุงคิม : อย่าดูถูกตัวเอง อ๊อกฟอร์ด ฮาวาร์ด จุฬา ธรรมศาสตร์ รวมทั้งรามคำแหง สอนเหมือนกันทั้งนั้น หลักการและทฤษฎีเดียวกัน ทุกมหาลัยในโลกสอนแค่นับ 1 เท่านั้น คนเรียนต่างหากเมื่อนับ 1 เป็นแล้วต้องนับ 2-3-4-5 จนถึง 1,000,000 ต่อด้วยตัวเอง ที่จริงการนับต่อน่ะเขาสอนแล้ว แต่คนสอนไม่ได้เน้นให้เห็นความสำคัญ ว่าแล้วคนเรียนก็เลยเอาแต่ท่องท่องท่อง ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่ไม่เคยคิด ไม่เคยวิเคราะห์ คนสอนก็สอนแต่วิชาการ ใม่สอนประสบการณ์ .... เคยสังเกตุไหม คนที่ประสบความสำเร็จ มีใครบ้างที่ทำงานอาชีพตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา แล้วใครบ้างที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่ได้ร่ำเรียนสาขาวิชาการนั้นมาก่อนเลย..

..?.. : จริงๆ ค่ะ คนเรียนพ่อค้าพานิชเป็นนายก แต่คนเรียนกฏหมายการเมืองแล้วไปเป็นอะไรก็ไม่รู้
ลุงคิม : เอาละ สอนสังฆราชมากเกินไปแล้ว....มาเกษตรพอเพียงที่คุณสนใจดีกว่า....เห็นว่ามีมะพร้าวตั้ง 80 ไร่ ไม่ใช่เหรอ ?

..?.. : ค่ะ 80 ไร่ ของหนู ของบ้านอื่นแถวนั้นก็เยอะค่ะ
ลุงคิม : นี่แหละ ทำ "มะพร้าวพอเพียง" ไงล่ะ

..?.. : หมายความว่าไงคะ ?
ลุงคิม : อืมมม เรื่องมะพร้าวพอเพียงนี่ ยากเหมือนง่าย-ง่ายเหมือนยาก ยากหรือง่ายอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่เอาใจไม่มุ่งมั่นซะแล้ว ยังไงๆก็ทำไม่ได้ .... คุณต้องรู้จักตัวเองก่อน วันนี้คุณเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ของลูกชาย คุณเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัวแทนพ่อกับแม่ที่แก่มากแล้ว ถ้าคุณล้ม หมายถึงทุกคนในบ้านล้มหมด .... คุณเข้าใจไหม ?

..?.. : เข้าใจค่ะ ลูกหนูเท่าที่ดู เขาเป็นเด็กดีนะคะ ไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับเพื่อนฝูงนัก
ลุงคิม : คุณกำหนดชตาชีวิตใครไม่ได้หรอก ลูกน่ะเลี้ยงได้แต่ตัว ใจเลี้ยงไม่ได้ เขาเพิ่งจะเป็นวัยรุ่น THE LIFE JUST BEGIN ต่อไปเขาต้องมีเพื่อน มีสังคมของเขา แล้วเราจะรู้เหรอว่า เพื่อนที่เขาคบเป็นคนแบบไหน คุณสั่งได้เหรอ....

..?.. : จริงค่ะคุณลุง งานนี้ไม่ใช่เล็กๆ เลยนะคะ พ่อแกก็ไม่มี ตากับยายก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก เหลือแม่คนเดียว...
ลุงคิม : เอาละ มาเรื่องมะพร้าวพอเพียงดีกว่า อันนี้อาจจะยากกว่าลูกก็ได้

..?.. : ฟังคุณลุงแล้ว ไม่อยากทำอะไรเลยค่ะ
ลุงคิม : คุณไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ เว้นเสียแต่ตายแล้วเท่านั้น ทำได้เหรอ ?

..?.. : ค่ะ
ลุงคิม : เริ่มจากมะพร้าวที่มีอยู่แล้ว คุณต่อยอดขยายผล ขายมะพร้าวนี่แหละ โดยทำให้ได้ คุณภาพ-ปริมาณ ให้ดีที่สุดตามความต้องการของตลาด แล้วคุณติดต่อคนรับซื้อรายใหญ่ๆมารับที่สวน ก็เคยเห็นนะ คนรับซื้อเอาแรงงานมาด้วย เสร็จก็หักลบกันที่ราคาขาย...นอกจากสวนคุณคนเดียวแล้ว อาจจะชวนบ้านข้างเคียงเข้าร่วมโครงการด้วย โดยคุณช่วยเหลือแนะนำเขาในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิต อันนี้ถ้าปริมาณผลผลิตมากๆ คุณก็อาจจะติดต่อกับบริษัทใหญ่ๆหน่อย ประเภทบริษัทส่งออก ประมาณนั้น เพราะคุณมีประสบการณ์เรื่องส่งออกอยู่แล้วนี่

..?.. : แล้วบำรุงยังไงคะ ?
ลุงคิม : เรื่องนี้เดี๋ยวว่ากันทีหลัง ถ้าคุณจะทำแนวนี้จริง....คุณลงทุนเครื่องจักร เตรียมทำแบบ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เก็บผลผลิตมาทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ขายส่งขายปลีก ส่งในประทศ ส่งต่างประเทศ สร้างแบลนด์ดีๆ .... กะลามะพร้าว กาบมะพร้าว กากมะพร้าวที่หีบเอาน้ำมันออกไปแล้ว พวกนี้ทำเป็น BYPRODUCT ได้ทั้งนั้น .... ผลผลิตมะพร้าวในสวนตัวเองไม่พอ รับซื้อจากบ้านข้างเคียงด้วยก็ได้

..?.. : หนูเบื่อประเภทมีคนงาน อยากสาบส่งเลยค่ะ
ลุงคิม : คุณเบื่อไม่ได้ ถ้าคุณจะทำแบบนี้ ที่จริงน่าจะเอาประสบการณ์ที่เคยล้มเหลวมาวางแผนบริหารใหม่นะ ... คุณอย่าลืมซี่ ทำแบบนี้มันหมายถึงลูกคุณที่จะเป็นทายาทต่อด้วยนะ

..?.. : มีเกษตรพอเพียงแบบอื่นอีกไหมคะ ?
ลุงคิม : ตัดมะพร้าวออก 10 ไร่ มาปลูกผักแบบเก็บขายได้ทุกวัน ลงชะอม 3ไร่ ผักหวานบ้าน 3ไร่ มะกรูดตัดใบ 4ไร่ หรือจะจัดสรรพื้นที่ปลูก มะเขือ พริก บวบ มะระ ขิง ข่า ตะไคร้ เนื้อที่ 10 ไร่ ติดสปริงเกอร์ แรงงานทำเองคนเดียว รายได้วันละ 1,000-2,000 .... อันนี้คุณอาจจะจ้างแรงงานมาเก็บ หักค่างแรงงานครึ่งหนึ่ง ไหวไหม .... มะพร้าวที่เหลือ 70 ไร่ ให้เขาเช่า

..?.. : น่าสนใจค่ะคุณลุง มีแบบอื่นอีกไหมคะ ?
ลุงคิม : เช่า ให้เขาเช่าไปเลย รอเก็บค่าเช่าอย่างเดียว

..?.. : แล้วถ้าทำแบบไร่กล้อมแกล้มล่ะคะ จะดีไหม ?
ลุงคิม : ไม่ดี คุณทำไม่ได้หรอก งานมันมาก ตัวแปรมันเยอะ ที่นั่นไม่ใช่แปลงเกษตรพอเพียง ไม่ใช่เกษตรแบบไหนทั้งนั้น

..?.. : อ้าว แล้วมับแบบไหนล่ะคะ ?
ลุงคิม : แบบบ้าบ้าไงล่ะ ไม่รู้เหรอ ใครเห็นใครก็ว่า เกษตรแบบนี้กินอะไร

..?.. : แต่หนูจะไปค่ะ เดือนนี้หนูต้องไปประเทศจีน 20 วัน กลับมา หนูไปแน่
ลุงคิม : ก็ไปซี่ อย่าลืมดูดวงก่อนไปด้วยนะ

..?.. : (หัวเราะ) ขอบคุณค่ะคุณลุง หนูจะไปเอาเทคนิคบำรุงมะพร้าว กับเทคนิคปลูกผักด้วยค่ะ
ลุงคิม : WELCOME

..?.. : ขอบคุณค่ะ

--------------------------------------------------------------




62

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/11/2021 4:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 15/11/2021 4:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

มรดกชาวนา กระดาษ 1 แผ่น :

ค่ำวันหนึ่งนานมาแล้วนานมากจนจำไมได้ ทีวี.ช่องนนทรี รายการ “คนค้นคน” พูดคุยกับชาวนาสูงอายุ 60-70 แห่งบ้านภาชี อยุธยา

ชาวนา : โฮ้ยยย ทำนาน่ะ มันไม่ได้อะไร อย่างดีก็แค่พอกินไปวันๆ เท่านั้นแหละคุณเอ๊ย
ทีวี. : อ้าว แล้วลุงทำ ทำไม่ล่ะครับ ?

ชาวนา : ก็ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีใครมาส่งเสริม
ทีวี. : วันนี้มีหนี้ซักเท่าไหร่ครับ ?

ชาวนา : ก็มากโขอยู่นะ บางปีก็ได้ส่งดอก บางปีก็ไม่ได้ส่ง แต่ต้นยังอยู่
ทีวี. : ลุง...ขอโทษนะ อย่าหาว่าแช่งเลย...ถ้าลุงตายปุบตายปับไปเลย หนี้สินนี่ จะจัดการให้ลูกหลานยังไง

ชาวนา : (หัวเราะ...) ก็มีกระดาษให้มันแผ่นนึง เป็นมรดกไงล่ะ
ทีวี. : กระดาษอะไรครับ ?

ชาวนา : สัญญาเงินกู้ไงล่ะ
ทีวี : หมายความว่าไงลุง ?

ชาวนา : ก็หมายความว่า ปล่อยให้ลูกหลานมันจัดการของมันเอง
ทีวี : เอางั้นนะลุง.....

----------------------------------------------------------------------



สวนส้มเขียวหวาน

ที่ อ.วังน้อย ใช้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1 ล. + น้ำ 200 ล. ให้ทางรากแก่ส้มเขียวหวาน เนื้อที่ 2 ร่อง คิดพื้นที่หน้าดินราวครึ่งไร่ ให้ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 อาทิตย์ พบว่า ต้นส้มเขียวที่กำลังโทรม แตกใบอ่อนออกมาจำนวนมาก เจ้าของเชื่อมั่นว่าได้ผลแน่นอน จึงเพิ่มอัตราใช้เป็น 5 ล.+ น้ำ 200 ล. ปรากฏว่าให้แค่ครั้งเดียว 2 อาทิตย์ ยอดที่แตกใหม่เหี่ยวเหลือง อีก 2 อาทิตย์ ใบแก่เริ่มเหลืองเหี่ยวแล้วร่วง อีก 2 อาทิตย์ใบร่วงเกลี้ยงทั้งต้น อีก 2 อาทิตย์ยืนต้นตาย ....

คราวนี้เจ้าของโมโหโกรธามาก ประกาศลั่นสวน “ก.ไม่เชื่อผู้พันคิมอีกแล้ว....”

ผู้พันคิมไปทันที สอบถามแล้วถามย้อนว่า “ไม่เชื่อผมน่ะดีแล้ว แต่อยากถามว่าเชื่อใคร ไม่ได้ว่าอะไร จะตามไปเชื่อด้วย....”

คำตอบ คือ “ไม่มี ที่ใส่มากขึ้นเพราะต้องการให้ต้นส้มโตเร็วๆ”

งานนี้ต้องอธิบายกันยาว ธรรมชาติตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีโวลลุ่มเหมือนวิทยุโทรทัศน์ เคยใช้ 1 : 500 ดีอยู่แล้ว แต่พอเพิ่มมากขึ้นเลยเสีย เหมือนยาที่คนกิน หมอให้กิน 1 เม็ด แล้วคนไข้กิน 10 เม็ด เหมือนคนกินจ้าว 1 จานอิ่มพอดี ถ้ากิน 10 จานจะเป็นยังไง ....

บำรุงต้นไม่ก็เหมือนกัน ปุ๋ยอะไรก็ไม่ใช่ของวิเศษ ถ้า “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สายพันธุ์-โรค” ไม่เหมาะสม ปุ๋ยหรือสารอาหารก็ช่วยอะไรไม่ได้

---------------------------------------------------------------------



ส้มโอ ยาเหลืองยาเขียว


สวนส้มผู้ว่าฯ


สารเคมี ทดสอบนอกประเทศ จดทะเบียนในประเทศ


ยาฆ่าหญ้า (องุ่น กะเฉด บัว)


เกษตรกร อเมริกา ยุโรป กับสารเคมี :


แอสปารากัส 20 ไร่

ที่บ้านโป่งติดต่อโพธาราม ราชบุรี สวนยกร่องน้ำหล่อ หน่อไม้ฝรั่ง 50 ไร่ แรงงานคนไทย 4 คนเก็บหน่อ คนงานพม่า 2 คน แล่นเรือปากเป็ด ให้น้ำหว่านปุ๋ย ทุกวัน


หัวน้ำหยด หัวละ 6 บาท เจอ 2 บาท .... ป.โท จะขายอะไร


ท่องโบชัวร์ พูดตามโบชัวร์ .... เกษตรกรโง่


สารเคมี 1- 2-3 ไม่ได้ผล ....ตัวที่ 4 โค่นทิ้งแล้ว


คนขายไม่รู้ กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ


ตาคิม อีกแล้วเหรอ ?


คิมเปอร์ !


เชื่อตาคิม หมามีเขา เต่ามีหนวด


ศาลเข้าข้างคนจน


เครดิตปุ๋ย เขียนบิลตู้เตียง


แอร์บลาสส์ V.S. สปริงเกอร์


ปุ๋ยอินทรีย์ ได้ผลช้า


มานิตย์ แย้มประยูร เสนา V.S. นศ.ป.โท ญี่ปุ่น


ปราชญ์ชาวบ้าน น้ำหมักมีหนอน O.K.


ก.อำเภอโทรโยค แจกน้ำหมัก


วิชาเกษตรไม่มีภาษาไทย


รู้เรื่องแต่ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องแต่รู้เรื่อง


อนุรักษ์ภาษาไทย


ทำแคลเซียม โบรอน เอง


ปุ๋ยแพงยาแพง เพราะดี


พ่อ-แม่-ลูกชาย ที่ RKK .... ต้นทุนท่วมราคาขาย


พิจิตร พ่อ-แม่-ลูกชาย ปลูกผักบนคนนา 2 ปีล้างหนี้ได้


สิรินธร ทำนาในป่าสงวน จะเอาโฉนดไปกู้เงินลงทุน ทหารแจกพันธุ์ผัก พันธุ์ไก่


ไทรโยค ทหารห้ามบุกป่าสงวน แนะปลูกผักหวานป่า ข่า หน้าวัว



----------------------------------------------------------------------






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/11/2021 5:55 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 05/01/2023 7:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©