kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 31/12/2023 1:51 pm ชื่อกระทู้: * ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เกษตรไทย |
|
|
.
.
ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เกษตรไทย :
1. ฮอร์โมนไส้เดือน :
สูตร 1
ใช้วัสดุส่วนผสม เศษพืชแห้งหรือสดสับเล็ก 10 กก. มูลไก่แห้ง 2 กก.รำละเอียด 1 กก.คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี เตรียมถังเจาะรูติดก๊อกที่ก้นถัง ใส่วัสดุส่วนผสมที่เตรียมไว้ลงไปในถังให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 6-10 นิ้ว แล้วพรมวัสดุส่วนผสมด้วย น้ำซาวข้าว 1 ล. น้ำมะพร้าว 250 ซีซี. กากน้ำตาล 50 ซีซี.ให้ได้ความชื้น 80-100 % อัดวัสดุส่วนผสมให้แน่นพอประมาณปิดฝาสนิทไม่ให้แสงส่องถึง อากาศผ่านได้เล็กน้อย หมักทิ้งไว้ในร่ม 5-7 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุส่วนผสมก่อน จากนั้นให้ใส่ไส้เดือนลงไป (ไส้เดือนมากตัวและหลายสายพันธุ์ดีกว่าน้อยตัวและสายพันธุ์เดียว) เก็บถังไว้ในร่ม ทิ้งไว้ 10-15 วัน ให้เปิดก๊อกก้นถัง น้ำที่ไหลออกมาจากก๊อก คือ "ฮอร์โมนไส้เดือน" พร้อมใช้
สูตร 2
ใช้ไส้เดือนตัวโตๆ หลายๆตัว ยิ่งมากยิ่งโตยิ่งดีใส่กะละมัง เติมน้ำพอท่วมครึ่งตัวไส้เดือนทิ้งไว้ค้างคืนให้ไส้เดือนคายเมือกออกมาน้ำเมือกที่ออกมา คือ "ฮอร์โมนไส้เดือน" พร้อมใช้งาน
อัตราใช้และพืชเป้าหมาย :
ฮอร์โมน 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบให้แก่พืชระยะกล้า หรือพืชกินใบ/กินยอด ช่วงเย็นอากาศไม่ร้อน จะช่วยบำรุงให้แตกยอดใหม่ดี ใบเก่าจะหนาเขียวเข้ม
2. สับปะรดไร้สารไนเตรท :
ระยะที่หัวสับปะรดโตขนาดเท่ากระป๋องนม การแกะจุก (เด็ดหรือแคะยอด 3-4 ใบ) ที่ยอดออกทิ้งจะช่วยให้ได้หัวขนาดใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะไนโตรเจนไม่ต้องไปเลี้ยงยอดหรือใบทียอดจุก แต่จะส่งไปเลี้ยงผลแทนจนทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นและใหญ่กว่าหัวที่ไม่ได้แคะจุกกรณีนี้ทำให้ในเนื้อสับปะรดมีไนโตรเจนมากด้วย หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วนำไปทำสับปะรดกระป๋องจะเกิดไนเตรท จนผิวกระป๋องดำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
แนวทางแก้ไข คือ ระยะบำรุงผล ให้ลดไนโตรเจนในปุ๋ย แล้วให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนน้อย เช่น 1:1:7 แทน ควบคู่กับการให้ฮอร์โมนสมส่วน (น้ำคั้นไชเท้า+น้ำคั้นเมล็ดงอก+น้ำมะพร้าว+ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคส) สลับครั้งกับการให้ปุ๋ยทางใบ จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากขนาดผลสับปะรดจะใหญ่ขึ้นแล้ว ในหัวยังไม่สะสมไนเตรทอีกด้วย(สับปะรดสะสมสารไนเตรทไว้ที่แกนกลางหัว) หรือช่วงผลขนาดเท่ากระป๋องนม แกะจุกแล้วบำรุงด้วย "ฮิวมิค แอซิด + ปุ๋ยทางราก" ละลายน้ำให้ทางดินเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับให้ทางใบด้วย "น้ำ 100 ล.+ ฮิวมิค แอซิด 100กรัม + กลูโคส 100-200 ซีซี." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกลงดินเป็นการให้น้ำไปในตัว เดือนละ 1 ครั้ง จนถึงเก็บเกี่ยวก็ได้ผลเหมือนกัน
7. เสียบยอดมังคุดบนตอมะพูด :
ต้นมังคุดที่ขยายพันธุ์จากกิ่งตอนมักมีระบบรากไม่สมบูรณ์และมีจำนวนน้อย ทำให้โตช้า เมื่อต้นโตขึ้นให้ผลผลิตได้แล้วยังให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่ดีอีกด้วย ต่างจากมังคุดที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดซึ่งมีรากแก้ว ระบบรากจะสมบูรณ์ แข็งแรง แต่จะให้ผลผลิตช้า....กรณีนี้แก้ไขโดยปลูกต้น "มะพูด" ลงไปก่อนเมื่อมะพูดยืนต้นได้ดีแล้วจึงเปลี่ยนยอดมะพูดเป็นยอดมังคุดก็จะช่วยให้มังคุดต้นนั้นมีระบบรากดี ต้นจะเจริญเติบโตเร็วสมบูรณ์แข็งแรงและให้ผลผลิตดี
8. กุหลาบพันธุ์ดี ระบบรากไม่ดี :
กุหลาบพันธุ์ดีที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนหรือชำกิ่ง เมื่อโตขึ้นระบบรากมักไม่ดี ไม่สมบูรณ์ไม่แข็งแรง ให้ดอกน้อย และอายุต้นสั้นเพียง 2-3 ปี กรณีนี้แก้ไขโดยปลูกต้นตอกุหลาบป่า (ตอน หรือเพาะเมล็ด) ลงไปก่อน เมื่อต้นตอกุหลาบป่ายืนต้นได้ดีแล้วให้ติดตาหรือเสียบยอดด้วยกุหลาบพันธุ์ดีที่ต้องการ ด้วยวิธีติดตาหรือเสียบยอดตามปกติ กุหลาบพันธุ์ดีบนตอกุหลาบป่าจะมีอายุยืนนานหลายๆ สิบปี ให้ดอกดกและคุณภาพดี
9. ยืดอายุกล้วยดิบ :
ผลกล้วยแก่จัดเมื่อตัดเครือลงมาจากต้นแล้วจะเริ่มกระบวนการสุกตามธรรม
ชาติทันที หากยังไม่ต้องการให้กล้วยสุกหรือยังคงเป็นกล้วยดิบอยู่อย่างนั้นให้นำผลกล้วยดิบที่ตัดเครือลงมาจากต้นใหม่ๆ ตัดแยกเป็นหวีๆ หรือทั้งเครือ ล้างน้ำทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง แล้วหมกในข้าวสารในโอ่งจนมิดเครือ ระหว่างที่ผลกล้วยถูกกลบด้วยข้าวสารนั้นจะไม่สุก หรือยังคงเขียวอยู่อย่างนั้นได้นานนับเดือน จนเมื่อนำขึ้นจากข้าวสารแล้วบ่ม ผลกล้วยก็จะสุกตามปกติ
10. ยืดอายุกล้วยสุก :
กล้วยสุกที่รับประทานไม่ทัน หรือต้องการยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น แนะนำให้นำผลกล้วยที่สุกพอดีๆแล้ว ตัดเป็นหวีๆ ลงแช่ในน้ำเดือดนาน 2-3 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาเก็บ (แขวนหรือวางตามปกติ) ผลกล้วยจะหยุดสุกต่อนาน 15-20 วัน จากนั้นจึงจะสุกหรือสุกงอม
42. ฟักทองยักษ์ :
ข้อมูลจากภาพยนต์สารคดีดิสคัพเวอรี่ นำเสนอเรื่องฟักทองในงานประกวดที่อังกฤษ ผลที่ชนะเลิศมีน้ำหนัก 700 ปอนด์ สูงท่วมศีรษะฝรั่งผู้ใหญ่ คำนวณเส้นรอบวงโดยเปรียบเทียบกับร่างกายคนที่ยืนเคียงข้างแล้วน่าจะประมาณ 3 คนกางแขนโอบ....รายละเอียดจากสารคดีบอกว่า เตรียมดินด้วยอินทรีย์วัตถุเป็นสัดส่วนกับดิน 1:1 บำรุงต้นด้วยปุ๋ยทางดินและทางใบเหมือนฟักทองทั่วไป แต่ที่พิเศษกว่า คือ รดโคนต้นด้วย เบียร์สด วันละ ½ ล. เป็นประจำตั้งแต่ก่อนออกดอกจนถึงติดผล หลังจากติดผลแล้วก็ยังบำรุงต่อจนถึงวันเก็บเกี่ยว
(ข้อมูล : สารคดีดิสคัพเวอรี่ / ฟักทองผลละ 450 ปอนด์)
14. ปุ๋ยสูตรเร่งหวาน :
ใช้ "เกลือสมุทร 1 แก้ว + มูลค้างคาว 1 กก.+ ฟางขี้เห็ดฟางเปื่อยยุ่ยจนเกือบเป็นดิน 2 กก.+ แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน + น้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว + ปูนขาว 1 แก้ว" ผสมคลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี ใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าได้ ทิ้งไว้ 3-5 วัน นำไปใส่โคนต้นไม้ผผล อัตรา 1 กก./ต้น/3 เดือน นอกจากจะช่วยให้ไม้ผลต้นนั้นออกดอกติดผลตลอดปีได้แล้วยังช่วยให้ได้คุณภาพกลิ่นรสดีอีกด้วย หรือหากใส่ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 10-15 วัน ก็จะช่วยให้ผลกลิ่นดี รสหวานจัด
(บุญลือ สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้)
5. โซดาแก้เฝือใบ :
เมื่อให้แก่ต้นพริกหรือมะเขือที่เฝือใบก็เท่ากับเพิ่มปริมาณ ซี ใน ซี/เอ็น เรโช นั่นเอง นอกจากนี้หากมีการเสริมฮอร์โมนไข่ และธาตุร พืชสวนครัวกินผลพุ่มเตี้ยอายุปีเดียวหรือข้ามปี เช่น มะเขือ พริก เป็นต้น เป็นพืชที่ออกดอกติดผลได้เองภายใต้สภาพ ซี/เอ็น เรโช (เกิดจากอินทรีย์วัตถุ) ในสภาพที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล หาก ซี/เอ็น เรโช เหมาะสมต่อการแตกยอดและใบก็จะทำให้มะเขือหรือพริกต้นนั้นมีแต่ใบหรือเรียกว่าเฝือใบนั่นเอง กรณีนี้แก้ไขโดยการใช้ "โซดาเปิดขวดใหม่ 250-500 ซีซี.+ น้ำ 100 ลิตร" ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเช้าแดดจัด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะทำให้มะเขือหรือพริกหยุดแตกยอดใหม่ ใบอ่อนเดิมที่มีจะกลายเป็นใบแก่ จากนั้นไม่นานก็จะออกดอกติดผลและออกเรื่อยๆ ไปจนต้นโทรม ในโซดามีคาร์บอน รอง/เสริม ร่วมเข้าไปด้วยก็จะทำให้อัตรา ซี/เอ็น เรโช เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลมากยิ่งขึ้น
6. เปิดตาดอกแก้วมังกร :
แก้วมังกรก็เหมือนไม้ผลยืนต้นอื่นๆ ที่ต้นสมบูรณ์อั้นตาดอกดีแล้ว ให้เปิดตาดอกด้วย โปแตสเซียม ไนเตรท หรือ ไธโอยูเรีย หรือ 0-52-34 หรือ ฮอร์โมนไข่ หรือสาหร่ายทะเล อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างรวมกันตามความเหมาะสม ปัจจุบันมีชาวสวนแก้วมังกรตั้งข้อสังเกตุว่า "ไธโอยูเรีย" ก็คือ "ยูเรีย" ตัวหนึ่ง เมื่อเห็นว่าไธโอยูเรียสามารถเปิดตาดอกแก้วมังกรได้ จึงตัดสินใจใช้ยูเรีย หรือ 46-0-0 เปิดตาดอกแก้วมังกรแทน ปรากฎว่าในแก้วมังกรต้นที่อั้นตาดอกเต็มที่แล้วออกดอกได้ไม่ต่างจากใช้ไธโอยูเรีย แต่ในต้นที่อั้นตาดอกไม่ดีกลับแตกเป็นใบหรือกิ่งอ่อนแทน
12. ปุ๋ยเร่งดอกกล้วยไม้-กุหลาบ :
ใช้ "ฉี่" คนหรือสัตว์ใส่ถังไม่ใช่โลหะ วางไว้กลางแจ้ง ปิดฝาพอหลวม
ตากแดดทิ้งไว้นานข้ามเดือนเพื่อให้กากตกตะกอนและกลิ่นไม่พึงประสงค์หายไปจนไม่มีกลิ่น ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้งาน....ใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 20-30 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 5-10 กรัม ฉีดพ่นกล้วยไม้ กุหลาบ ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้า ทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ออกดอกดี
13. จุลินทรีย์สับปะรด :
เลือกสับปะรดสดใหม่แก่จัด (ตัดจากต้นใหม่ๆ) ล้างทำความสะอาด สับเล็กทั้งเนื้อและเปลือก 5 กก.+ น้ำตาลทายแดง 1 กก.+ ยิสต์ทำขนมปัง 100 กรัม ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี บรรจุลงภาชนะทึบแสง (ลนไฟแอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อแล้ว) ปิดฝาภาชนะด้วยสำลี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน (อุณหภูมิปกติ) หรือหมัก 10 วัน (อากาศเย็น) ก็จะได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสและแอลกอฮอร์" เข้มข้น พร้อมใช้งาน.......ใช้ "หัวเชื้อ 20-30 ซีซี.+ น้ำ 20 ล." ราดรดลงดินทุก 7-10 วัน จุลินทรีย์และแอลกอฮอร์จะช่วยกำจัดเชื้อราไฟธอปเทอร่า (โรครากเน่าโคนเน่า) ปรับสภาพโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุยดี และแก้ปัญหาค่า EC ในดิน
. |
|